นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖
๑. ธรรมอะไร สามารถคุ้มครองโลกให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้ ?
ตอบ : ธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายต่อบาปทุจิต
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาปทุจริต ฯ
๒. บุพพการีและกตัญญููกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ?
ตอบ : บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทน ฯ
๓. รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง ? มีคุณอย่างไร ?
ตอบ : มี พระพุทธเจ้า ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
มีคุณอย่างนี้้ คือ
๑. พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วสอนผู้อื่น ให้รู้ตาม
๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอน ผู้อื่นให้ทำตาม ฯ
๔. มูลเหตุที่ทำให้คนทำความชั่ว มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๓ คือ
๑. โลภะ อยากได้
๒. โทสะ คิดประทุษร้าย
๓. โมหะ หลง ไม่รู้จริง ฯ
๕. ธาตุ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความร้อนจัดเป็นธาตุอะไร ?
ตอบ : มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
จัดเป็นธาตุไฟ ฯ
๖. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจ ข้อไหน ?
ตอบ : มี ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย
๓. นิโรธ ๔. มรรค ฯ
จัดเป็นทุกข์ ฯ
๗. โลกธรรม ธรรมที่ครอบงำสัตวโลก ๘ อย่างนั้นมีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ มีลาภ ๑ เสื่อมลาภ ๑
มียศ ๑ เสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. มิตรแท้ที่ควรคบ ๔ ประเภท มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. มิตรมีอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะประโยชน์
๔. มิตรมีความรักใคร่ ฯ
๙. อบายมุข ๔ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. ความเป็นนักเลงหญิง
๒. ความเป็นนักเลงสุรา
๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร ฯ
๑๐. สังคหวัตถุ ๔ มอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรใหปัน
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕
๑. สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
ตอบ : สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ
เพราะป้องกันความเสียหาย และอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
๒. ธรรมที่ทำบุคคลให้งามคือธรรมอะไร ?
ตอบ : คือ ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
๓. ที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ฯ
โดยย่อมี ๓ คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ
๔. พระธรรม คืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : พระธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๕. ธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คืออิทธิบาท ๔ ฯ
มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๖. คุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. เมตตา ความรักปรารถนาจะให้อยู่เป็นสุข
๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ ฯ
๗. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด เรียกว่าอะไร ? เลือกตอบมา ๓ ข้อ
ตอบ : เรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกกัน ฯ
(เลือกตอบ ๓ ข้อ)
คิหิปฏิบัติ
๘. ศิษย์ที่ดีพึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์อย่างไร ?
ตอบ : พึงปฏิบัติต่อท่านอย่างนี้ คือ
๑. ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๒. ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้
๓. ด้วยเชื่อฟัง ๔. ด้วยอุปัฏฐาก
๕. ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ฯ
๙. บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร ?
ตอบ : พึงปฏิบัติต่อท่านอย่างนี้ คือ
๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒. ทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ฯ
๑๐. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่
๑. เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔
๑. ในโลกนี้ มีบุคคลประเกทใดบ้างที่พระพุทธศาสนาสอนว่า หาได้ยาก ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท คือ
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทนท่าน ฯ
๒. ธรรมคุ้มครองโลกมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ อย่าง ฯ
คือ ๑. หิริ ความละอายต่อบาป
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
๓. รัตนะ ๓ อย่าง คืออะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๒ มีคุณอย่างไร ?
ตอบ : คือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ฯ
ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๔. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
ตอบ : ทุจริต คือประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย ฯ
จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ
๕. เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอยยินดีกับเขาด้วย ชื่อว่าปฏิบัติตามพรหมวิหารธรรมข้อใด ?
ตอบ : มุทิตา ฯ
๖. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ?
ตอบ : มี ๑. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
จัดเป็นข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ฯ
๗. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเจรจาอย่างไร ?
ตอบ : คือเว้นจากพู ดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ และเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างไร ?
ตอบ : เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างนี้ คือ มักจะถูกคนชั่ว ชักจูงไปในทางที่ชั่ว เช่น คนไม่เคยเป็นนักเลงหญิง ไม่ติดสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่เป็นอันธพาล ก็ย่อมถูกชักจูงไปจนกลายเป็นนักเลงหญิงได้ เป็นต้น ฯ
๙. อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
ตอบ : คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ฯ
มีโทษ ๖ อย่าง คือ
๑. เสียทรัพย์ ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท
๓. เกิดโรค ๔. ถูกติเตียน
๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
๑๐. ความสุขของผู้ครองเรือนตามหลักพระพุทธศาสนาเกิดมา จากเหตุอะไรบ้าง ?
ตอบ : เกิดจากเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓
๑. สติแปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการมาก ?
ตอบ : สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ
เพราะอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
๒. พบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัด จัดเป็นโอตตัปปะได้ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
ตอบ : ไม่ได้ ฯ
เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
๓. พระธรรมคืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๔. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึงรากเหง้าของอกุศลฯ มี ๓ คือ
๑. โลภะ อยากได้
๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ
๕. ธาตุ ๔ คืออะไรบ้าง ? ฟันจัดเป็นธาตุอะไร ?
ตอบ : คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
เป็นธาตุดิน ฯ
๖. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? สังขารขันธ์ จัดเป็นรูปหรือนาม ?
ตอบ : ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ
จัดเป็นนาม ฯ
๗. โลกธรรม ๘ คืออะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑
มียศ ๑ ไม่มียศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร ?
ตอบ : พึงปฏิบัติอย่างนี้
๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒. ทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์กุล
๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ฯ
๙. มิตรแท้ที่ควรคบ มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๔ ประเภท ฯ
คือ ๑. มิตรมีอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะประโยชน์
๔. มิตรมีความรักใคร่ ฯ
๑๐. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่ อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่
๑. เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ แห่งขโมย
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒
๑. โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ?
ตอบ : เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายบาป ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ
๒. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ?
ตอบ : เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะความรู้ตัวในขณะทำ ฯ
๓. บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ?
ตอบ : บุพพการี ได้แก่ บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่ บุคคลผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นทำแก่ตน แล้วทำตอบแทน ฯ
๔. สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ฯ โดยย่อมี ๓ คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ
๕. รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง ? รัตนะ ๓ นั้น มีคุณอย่างไร ?
ตอบ : มี พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
มีคุณอย่างนี้ คือ
๑. พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อน แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตาม ฯ
๖. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรม อะไรบ้าง ?
ตอบ : เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง คือ
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๗. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คืออะไรบ้าง ?
ตอบ : มีชื่อเรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ
คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิต ให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ผู้หวังประโยชน์ปัจจุบันจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้สมหวัง ?
ตอบ : ต้องปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจการงาน ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่ ของตน
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาทั้งทรัพย์และการงานไม่ให้เสื่อมไป
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ ที่หาได้ ฯ
๙. อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
ตอบ : คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ฯ มีโทษ ๖ อย่าง คือ
๑. เสียทรัพย์ ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท
๓. เกิดโรค ๔. ถูกติเตียน
๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
๑๐. ความสุขของผู้ครองเรือนตามหลักพระพุทธศาสนาเกิดมา จากเหตุอะไรบ้าง ?
ตอบ : เกิดจากเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑
๑. ธรรมคุ้มครองโลก มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ อย่าง ฯ คือ
๑. หิริ ความละอายบาป
๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ
๒. พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? จงอธิบาย
ตอบ : พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอน ให้รู้ดีรู้ชอบตามพระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ
๓. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
ตอบ : ทุจริต คือ ความประพฤติชั่ว ฯ จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ
๔. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจ ข้อไหน ?
ตอบ : มี ๑. ทุกข์
๒. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
จัดเป็นทุกข์ ฯ
๕. สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเนือง ๆ มีอะไรบ้าง ? ทรงให้พิจารณาอย่างไร ?
ตอบ : มี ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพราก และกรรม ฯ ทรงสอนให้พิจารณาว่า
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปได้
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตัวเรา ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ
๖. อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ ฯ
๗. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือทำอย่างไร ?
ตอบ : คือ ทำโดยเว้นจากกายทุจริต ๓ ได้แก่
เว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการลักทรัพย์
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวนำใจของผู้อื่นไว้ได้ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ สังคหวัตถุ ๔ ฯ
มี ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ
๙. ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ?
ตอบ : ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ
๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓. ขันติ อดทน
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ
๑๐. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คืออะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่
๑. เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ แห่งขโมย
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. สังคมทุกวันนี้เกิดความวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ : เพราะขาดธรรมเป็นโลกบาล ๒ อย่าง คือ
๑) หิริ ความละอายแก่ใจในการประพฤติชั่ว
๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของการประพฤติชั่ว ฯ
๒. สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมี อุปการะมาก ?
ตอบ : สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ
เพราะช่วยให้สำเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
๓. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ?
ตอบ : เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิล จินดามีค่ามาก นำประโยชน์ และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
๔. ไตรลักษณ์ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ๑) อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓) อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ฯ
๕. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรม อะไรบ้าง ?
ตอบ : เพราะขาดอิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง คือ
๑) ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๖. ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ นิวรณ์ ๕ ฯ มี
๑) กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒) พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓) ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕) วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงใจ ฯ
๗. คำว่า เจรจาชอบ ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น คือเจรจาอย่างไร ?
ตอบ : คือเว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ และเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. มิตรแท้ที่ควรคบ มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๔ ประเภท ฯ คือ
๑) มิตรมีอุปการะ
๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓) มิตรแนะประโยชน์
๔) มิตรมีความรักใคร่ ฯ
๙. อบายมุข ๔ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑) ความเป็นนักเลงหญิง
๒) ความเป็นนักเลงสุรา
๓) ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
๔) ความคบคนชั่วเป็นมิตร ฯ
๑๐. ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
ตอบ : มีโทษ ๖ อย่าง คือ
๑) เสียทรัพย์ ๒) ก่อการทะเลาะวิวาท
๓) เกิดโรค ๔) ถูกติเตียน
๕) ไม่รู้จักอาย ๖) ทอนกำลังปัญญา ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙
๑. ในทางโลก ดูคนงามที่รูปร่างหน้าตา ส่วนในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามที่ไหน ?
ตอบ : ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้ งาม ๒ ประการ คือ
๑) ขันติ ความอดทน
๒) โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
๒. ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่หาได้ยาก ?
ตอบ : มีบุคคลที่หาได้ยาก ๒ ประเภท คือ
๑) บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒) กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทน ฯ
๓. พระรัตนตรัย กับไตรสรณคมน์ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกันอย่างไร ? การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๓ เป็นที่พึ่ง จัดเป็นอย่างไหน ใน ๒ อย่างนั้น ?
ตอบ : ต่างกัน คือ พระรัตนตรัย หมายถึงสิ่งที่เป็นที่พึ่ง ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนไตรสรณคมน์ หมายถึง การยอมรับนับถือพระรัตนตรัยไว้เป็นที่พึ่ง ฯ
จัดเป็นไตรสรณคมน์ ฯ
๔. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ?
ตอบ : ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คือ
๑) อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อหน่ายต่อคำสอน ขี้เกียจทำตาม
๒) เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้
๓) เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๔) รักผู้หญิง ฯ
๕. กายกับใจของเรานี้แบ่งออกเป็นกี่กอง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่าขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ
๖. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
ตอบ : มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้ คือ
๑) อาศัยรูปกระทบนัยน์ตาเกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ
๒) อาศัยเสียงกระทบหูเกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ
๓) อาศัยกลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น เรียกฆานวิญญาณ
๔) อาศัยรสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ
๕) อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกายเกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ
๖) อาศัยธรรมเกิดกับใจเกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ ฯ
๗. เมื่อโลกธรรม ๘ เกิดขึ้นแก่ตน ควรพิจารณาอย่างไร
ตอบ : ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้น ก็แต่ว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามเป็นจริงอย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ?
ตอบ : ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ ประการ คือ
๑) สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน
๒) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓) ขันติ อดทน
๔) จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ
๙. การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างไร ?
ตอบ : เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ดังนี้
๑) ทำให้เป็นนักเลงการพนัน
๒) ทำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓) ทำให้เป็นนักเลงเหล้า
๔) ทำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
๕) ทำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า
๖) ทำให้เป็นนักเลงหัวไม้ ฯ
๑๐. ศิษย์ที่ดีพึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ อย่างไรบ้าง ?
ตอบ : พึงปฏิบัติอย่างนี้
๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ
๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้
๓) ด้วยเชื่อฟัง
๔) ด้วยอุปัฏฐาก
๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘
๑. บุพพการีและกตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลเช่นไร ?
ตอบ : บุพพการี หมายถึง บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน ฯ
๒. พระธรรมคืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : พระธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๓. บุญกิริยาวัตถุคืออะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ
มี ๓ ฯ คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ
๔. ธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? จงบอกมา สัก ๒ ข้อ
ตอบ : เรียกว่า จักร ฯ ได้แก่
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
(เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)
๕. บุคคลผู้รักษาความยุติธรรมไว้ได้ ควรเว้นจากธรรมอะไร ? ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ?
ตอบ : ควรเว้นอคติ ๔ ฯ มี
๑. ความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ
๒. ความลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกว่า โทสาคติ
๓. ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ
๔. ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ ฯ
๖. กรรมอันเป็นบาปหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน คือ กรรมอะไร ? จงยกตัวอย่างสัก ๓ ข้อ
ตอบ : คือ อนันตริยกรรม ฯ มี
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิต ให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
๗. อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ธรรม ๔ ประการ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขในปัจจุบัน เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ฯ มี
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจอันควร
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ทั้งทรัพย์และการงานของตนไม่ให้เสื่อมไป
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคบชั่ว
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีพตามสมควรกำลังทรัพย์ที่หาได้ ฯ
๙. มิตรมีหลายจำพวก อยากทราบว่ามิตรแท้ ๔ จำพวก มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. มิตรมีอุปการะ ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะประโยชน์ ๔. มิตรมีความรักใคร่ ฯ
๑๐. บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร ?
ตอบ : พึงปฏิบัติอย่างนี้
๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒. ทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗
๑. ธรรมที่ชื่อว่ามีอุปการะมาก คือธรรมอะไร ? เพราะเหตุไร จึงจัดว่ามีอุปการะมาก ?
ตอบ : คือ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ เพราะเป็นคุณธรรมอุดหนุนให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลในกิจทั้งปวง ฯ
๒. รัตนะ ๓ อย่าง คืออะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๒ มีคุณอย่างไร ?
ตอบ : คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ฯ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๓. คุณธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : อิทธิบาท ๔ ฯ มี
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๔. เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอยยินดีกับเขาด้วย ชื่อว่าปฏิบัติตามพรหมวิหารข้อใด ?
ตอบ : มุทิตา ฯ
๕. เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร ?
ตอบ : คือตัณหา ความทะยานอยาก ฯ
๖. การจะเป็นนักเทศน์ที่ดี จะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? จงตอบมาสัก ๓ ข้อ
ตอบ : ๑. แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนเสียดสี ผู้อื่น ฯ
(เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
๗. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
๑. ธัมมัญญุตา ๒. มัตตัญญุตา ๓. กาลัญญุตา
ตอบ : ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้ เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
๒. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้ประมาณในการบริโภคแต่พอสมควร
๓. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้นๆ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. อบายมุข คืออะไร ? ความเป็นนักเลงสุราจัดเป็นอบายมุข เพราะเหตุไร ?
ตอบ : คือเหตุเครื่องฉิบหาย ฯ เพราะเป็นเหตุให้เสียทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เกิดโรค ต้องติเตียน ไม่รู้จักอาย ทอนกำลังปัญญา ฯ
๙. อุบาสกอุบสิกาควรตั้งอยู่ในคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ตอบ : ในคุณสมบัติ ๕ อย่างคือ
๑. ประกอบด้วยศรัทธา
๒. มีศีลบริสุทธิ์
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา ฯ
๑๐. ในทิศ ๖ ทิศเหล่านี้หมายถึงใคร ?
ก. ทิศเบื้องหน้า ข. ทิศเบื้องขวา ค. ทิศเบื้องหลัง
ง. ทิศเบื้องซ้าย จ. ทิศเบื้องบน
ตอบ : ก. มารดาบิดา ข. ครูอาจารย์ ค. บุตรภรรยา
ง. มิตร จ. สมณพราหมณ์ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖
๑. หิริ และ โอตตัปปะ ได้ชื่อว่าธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร ?
ตอบ : เพราะเป็นคุณธรรมทำบุคคลให้รังเกียจและเกรงกลัว ต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ฯ
๒. การทำบุญโดยย่อมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๓ อย่าง ฯ
คือ ทาน ศีล ภาวนา ฯ
๓. เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจคืออะไร ?
ตอบ : คือตัณหา ความทะยานอยาก ฯ
๔. อภิณหปัจจเวกขณ์ คือข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ อย่าง ทรงสอนให้พิจารณาอะไรบ้าง ?
ตอบ : ทรงสอนให้พิจารณา
๑) ความแก่ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒) ความเจ็บไข้ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓) ความตาย ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔) ความพลัดพราก ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น
๕) กรรม ว่าเรามีกรรมเป็นของตัวเรา ทำดีจักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว ฯ
๕. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ย่อเป็น ๒ อย่างไร ?
ตอบ : ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
อย่างนี้คือ รูปขันธ์ คงเป็นรูป เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ๔ ขันธ์นี้ เป็นนาม ฯ
๖. บรรพชิตผู้พิจารณาเนือง ๆ ว่าวันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เรา ทำอะไรอยู่ จะได้รับประโยชน์อะไร ?
ตอบ : จะได้รับประโยชน์ คือเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร งดเว้นสิ่งที่เป็นโทษ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
๗. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
ก. พาหุสัจจะ ข. อกุศลมูล
ค. อินทรียสังวร ฆ. อนัตตตา ง. กามฉันท์ ?
ตอบ : ก. ความเป็นผู้ศึกษามาก
ข. รากเหง้าของอกุศล
ค. ความสำรวมอินทรีย์
ฆ. ความเป็นของไม่ใช่ตน
ง. ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. มิตรแท้มีกี่จำพวก อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๔ จำพวก คือ
๑) มิตรมีอุปการะ
๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓) มิตรแนะประโยชน์
๔) มิตรมีความรักใคร่ ฯ
๙. คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี
๑) ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
๒) ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓) อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔) สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ
๑๐. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิจคือศีลอะไร ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ศีล ๕ ได้แก่
๑) เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒) เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่ง ขโมย
๓) เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔) เว้นจากพูดเท็จ
๕) เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕
๑. พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สำหรับคุ้มครองโลก ?
ตอบ : ทรงสอนธรรมไว้ ๒ ข้อ คือ
๑. หิริ ความละอายต่อบาป
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ
๒. คำต่อไปนี้มีความหมายว่าอย่างไร ?
๑) สัมปชัญญะ ๒) กตัญญูกตเวที
๓) กายทุจริต ๔) มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๕) ปุพเพกตปุญญตา
ตอบ : ๑) สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว
๒) กตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน
๓) กายทุจริต หมายถึง ความประพฤติชั่วทางกาย
๔) มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง การบำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
๕) ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ
๓. การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร ?
ตอบ : ได้แก่ การระวังอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
ได้รับประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น ฯ
๔. ผู้จะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ต้องประพฤติอย่างไรบ้าง ?
ตอบ : ต้องประพฤติดังนี้ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน อันเรียกว่า ฉันทาคติ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน อันเรียกว่า โทสาคติ
๓. ไม่ลำเอียงเพราะเขลา อันเรียกว่า โมหาคติ
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว อันเรียกว่า ภยาคติ ฯ
๕. คิดอย่างไรเรียกว่าพยาบาท คิดอย่างนั้นเกิดโทษอะไร ?
ตอบ : คิดปองร้ายผู้อื่น
เกิดโทษ คือ ปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี ฯ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรอย่างไร ?
ตอบ : เพียรในที่ ๔ สถาน คือ
๑. เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. เพียรให้กุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ
๗. โลกธรรม ๘ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑
มียศ ๑ ไม่มียศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุอะไร ?
ตอบ : เพราะเหตุ ๔ อย่างคือ
๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน ฯ
๙. การอยู่ครองเรือนนั้น ควรมีธรรมอะไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : ควรมีฆราวาสธรรม ๔ คือ
๑. สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน
๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน
๓. ขันติ ความอดทน
๔. จาคะ การสละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ
๑๐. มารดาบิดาได้เลี้ยงดูบุตรธิดาแล้ว บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อท่านอย่างไร ?
ตอบ : ๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
๒. ทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔
๑. บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ?
ตอบ : บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน ฯ
๒. พระพุทธเจ้าคือใคร ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ?
ตอบ : คือท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
๓. เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
ตอบ : คือเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่า บุญบาปไม่มี บิดามารดา ไม่มีพระคุณ เป็นต้น, จัดเข้าในมโนทุจริต ฯ
๔. รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงควรละเสีย ?
ตอบ : เรียกว่า อกุศลมูล มี โลภะ โทสะ โมหะ, เพราะเมื่ออกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่ อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็เจริญมากขึ้น ฯ
๕. ทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ?
ตอบ : คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือ ตัณหา ความทะยาน อยาก ฯ
๖. อภิณหปัจจเวกขณ์ข้อว่า ควรพิจารณาทุก ๆ วัน ว่าเราจะ ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดังนี้ ผู้พิจารณาได้รับ ประโยชน์อย่างไร ? จงอธิบาย
ตอบ : ได้รับประโยชน์ คือ สามารถบรรเทาความพอใจ รักใคร่ ในของรักของชอบใจ และป้องกันความทุกข์โทมนัส ในเวลาเมื่อตนต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ฯ
๗. อายตนะภายใน ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. คนชักชวนในทางฉิบหาย มีลักษณะอย่างไร ?
ตอบ : มีลักษณะดังนี้
๑. ชักชวนดื่มน้ำเมา
๒. ชักชวนเที่ยวกลางคืน
๓. ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น
๔. ชักชวนเล่นการพนัน ฯ
๙. ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้เรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า สังคหวัตถุ มี
๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ
๑๐. อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่บุคคลเช่นไร การค้าขายที่ห้ามอุบาสกอุบาสิกาประกอบ คืออะไรบ้าง ?
ตอบ : ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือ
๑. ค้าขายเครื่องประหาร
๒. ค้าขายมนุษย์
๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
๔. ค้าขายน้ำเมา
๕. ค้าขายยาพิษ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓
๑. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ?
ตอบ : มี สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ
๒. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ?
ตอบ : ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๓ ข้อ คือ
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ
๔. ทุจริต คืออะไร ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ?
ตอบ : คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ, จัดเป็นมโนทุจริต ฯ
๕. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ฯ
๖. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ
๗. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ?
ตอบ : ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อมีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะ และเกิดความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้นนี่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้อง ที่เรียก วิมังสา ดังนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากากรดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ
๙. จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง
ก) จะทำดีทำชั่ว ก็ต้องคล้อยตาม ๑) มิตรดีแต่พูด
ข) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๒) มิตรหัวประจบ
ค) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๓) มิตรมีความรักใคร่
ง) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๔) มิตรมีอุปการะ
จ) ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย ๕) มิตรแนะประโยชน์
ตอบ : ข้อ ก คู่กับ ข้อ ๒
ข้อ ข คู่กับ ข้อ ๔
ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑
ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕
ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓
๑๐. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ
ตอบ : มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
๑. เสียทรัพย์
๒. ก่อการทะเลาะวิวาท
๓. เกิดโรค
๔. ต้องติเตียน
๕. ไม่รู้จักอาย
๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒
๑. บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่
ตอบ : บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบ :แทน (ตอบ เพียง ๒ คู่)
คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรธิดา
คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์
คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร
คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ
๒. อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนกี่อย่าง ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ?
ตอบ : มี ๓ อย่าง, คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
๓. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : เรียกว่า อกุศลมูล มี
๑.โลภะ อยากได้
๒.โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓.โมหะ หลงไม่รู้จริง
เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสียด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ
๔. ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ เพราะเหตุไร ?
ตอบ : ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
๕. ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง คืออะไรบ้าง ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์เพราะเหตุไร ?
ตอบ : คือ ๑. สัทธา ความเชื่อ ๒. วิริยะ ความเพียร ๓. สติ ความระลึกได้ ๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๕. ปัญญา ความรอบรู้
เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ
๖. คารวะ คืออะไร มีกี่อย่าง ข้อว่า คารวะในความศึกษา หมายถึงอะไร ?
ตอบ : คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ, มี ๖ อย่าง, หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ
๗. มละ คืออะไร เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?
ตอบ : มละคือมลทิน จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. อบายมุข คืออะไร คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษอย่างไร ?
ตอบ : คือ ทางแห่งความเสื่อม มีโทษอย่างนี้ คือ
๑. นำให้เป็นนักเลงการพนัน
๒. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓. นำให้เป็นนักเลงเหล้า
๔. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
๕. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
๖. นำให้เป็นคนหัวไม้ ฯ
๙. ธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มีดังนี้
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี่ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียกก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตนไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
๓. กัลป์ยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก ฯ
๑๐. มิจฉาวณิชชา คืออะไร การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การค้าขายเบ็ดตกปลา จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด ?
ตอบ : มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม
การค้าขายเด็ก จัดเข้าในค้าขายมนุษย์
การค้าขายยาเสพติด จัดเข้าในค้าขายน้ำเมา
การค้าขายเบ็ดตกปลา จัดเข้าในค้าขายเครื่องประหาร ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
ตอบ : ไม่ได้, เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
๒. พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ?
ตอบ : ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ
๓. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่างมีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ
๔. อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ
๕. ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่าอะไร มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง มี
๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ฯ
๖. ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ธาตุมีลักษณะแข็นแข็ง คือ ธาตุอะไร ?
ตอบ : คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม, คือ ธาตุดิน ฯ
๗. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง โดยย่อเรียกว่าอะไร ?
ตอบ : ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, เรียกว่า นามรูป ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. ข้อว่า “แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้” ดังนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้ประเภทใด ?
ตอบ : มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ฯ
๙. คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ สังคหวัตถุ ๔ มี
๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไปถือตัว ฯ
๑๐. การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร ?
ตอบ : ทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม เป็นข้อห้าม อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ
นักธรรม ชั้นตรี
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิภาค
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐
๑. ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่ไหน ?
ตอบ : ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่คุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
๒. มโนสุจริตคืออะไร มีอะไรบ้าง?
ตอบ : คือ การประพฤติชอบด้วยใจ มี
๑.ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒.ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓.เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ
๓. อิทธิบาท คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ของบุคคล ส่วนธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร มีอะไรบ้าง?
ตอบ : คือ นิวรณ์ ๕ มี
๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงได้ ฯ
๔. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ สำรวมอินทรีย์นั้นคืออย่างไร?
ตอบ : คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ ฯ
๕. ควรพิจารณาทุก ๆ วัน ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ข้อความนี้อยู่ในหมวดธรรมอะไร ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร ?
ตอบ : อยู่ในธรรมหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ
๖. มรรคมีองค์แปดจัดเข้าในสิกขา ๓ ได้หรือไม่ ? ถ้าได้จงจัดมาดู
ตอบ : ได้, จัดดังนี้ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในปัญญาสิกขา, สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลสิกขา, สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา ฯ
๗. มละ คืออะไร เป็นศิษย์ได้ดีและทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?
ตอบ : มละ คือมลทิน, จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณทานแล้วตอบแทน ฯ
คิหิปฏิบัติ
๘. เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว ควรทำอะไรบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ในโภคทรัพย์ที่ได้มานั้น ?
ตอบ : ควรทำ
๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก
๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔) ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากร เป็นต้น
๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
๕. บริจาคทานให้สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ ฯ
๙. การค้าขายสัตว์เพื่อเอาไปฆ่าเป็นอาหาร เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ เพราะเหตุไร อุบาสกควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้ ?
ตอบ : ไม่ผิด เพราะไม่ได้เป็นผู้ฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า อุบาสกควรเว้นการค้าขายชนิดนี้เสีย ฯ
๑๐. ทิศ ๖ ในคิหิปฏิบัติ มีอะไรบ้าง แต่ละทิศหมายถึง ใคร ?
ตอบ : มี ดังนี้
๑. ทิศเบื้องหน้า หมายถึง มารดาบิดา
๒. ทิศเบื้องขวา หมายถึง อาจารย์
๓. ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตรภรรยา
๔. ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง มิตร
๕. ทิศเบื้องต่ำ หมายถึง บ่าว
๖. ทิศเบื้องบน หมายถึง สมณพราหมณ์ ฯ