เกมจับคู่ภาพ
เณรน้อย
นักเรียน
ครูและพระสงฆ์
พระพุทธเจ้า
พุทธประวัติ
อุปกิเลส ๑๖
เกร็ดความรู้พุทธประวัติ
จากการ์ด ด่านที่ 5
๑. ตอนประสูติ
สมัยก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ มีพระประสงค์จะเสด็จไปประสูติที่ราชตระกูลเดิมของพระองค์ตามประเพณี ครั้นขบวนเสด็จถึงลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ พระนางก็ประชวรพระครรภ์จะประสูติ เหล่าราชบริพารที่ตามเสด็จ จึงจัดที่ประสูติถวาย ณ โคนต้นสาละใหญ่๑ ต้นหนึ่ง พระโพธิสัตว์กุมาร จึงประสูติจากพระครรภ์มารดา๒ ที่ลุมพินีวัน ตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
๒. ได้ปฐมฌาน
วันหนึ่ง พระราชบิดาพาเจ้าชายไปร่วมงานพิธีแรกนาขวัญ ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นหว้าเพียงลำพัง ทรงนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจจนจิตแน่วแน่ถึงชั้นปฐมฌาน และเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือเงาของต้นหว้า ไม่คล้อยไปตามแสงอาทิตย์ ยังคงให้ร่มเงาอยู่เช่นเดิม พระราชบิดาเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้นก็ประนมพระหัตถ์ ถวายความเคารพเป็นครั้งที่ ๒
๓. ออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตระหนักถึงทุกข์ในความแก่ความเจ็บ และความตายซึ่งย่ำยีสรรพสัตว์ไม่ยกเว้นแก่ใคร มีพระทัยน้อมไปในการเสด็จออกบรรพชา ในที่สุดคืนหนึ่ง ได้ตัดสินพระทัยละความอาลัยในพระราชสมบัติ ครั้นได้ทอดพระเนตรพระชาย และโอรส ที่ประสูติได้เพียงวันเดียว เป็นการอำลาแล้ว เสด็จขึ้นหลังม้ากัณฐกะ ที่นายฉันนะ เตรียมพร้อมไว้ เสด็จออกบรรพชา มีนายฉันนะตามเสด็จ โดยตั้งพระทัยว่าเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะเสด็จกลับมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติภายหลัง พระองค์เสด็จออกขณะมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา
๔. ตรัสรู้
ณ ใต้ต้นโพธิ์ หลังจากที่พระมหาบุรุษได้มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว ในยาม๑๙ ต้นของคืนนั้นพระองค์ได้หยั่งรู้อดีตอันยาวไกลได้ตลอดหลายแสนชาติไม่มีที่สิ้นสุด (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) ในยามที่สองได้หยั่งรู้ว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ ทำให้พระองค์เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า สรรพสัตว์นั้นเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในโลกนี้อย่างไร (จุตูปปาตญาณ) และในยามสุดท้ายพระองค์ทรงทราบหนทางซึ่งเมื่อบุคคลปฏิบัติตามแล้วจะสามารถชนะทุกข์ทั้งปวงในโลกนี้และประสพสุขที่แท้จริง (อาสวักขยญาณ) นั่นคือหยั่งทราบถึงทุกข์และสาเหตุของมัน ทราบความดับทุกข์และวิธีการดับทุกข์ (อริยสัจ ๔) นับได้ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ (วิสาขปุณณมี) ขณะมีพระชนม์ได้ ๓๕ พรรษา
๕. บัว ๔ เหล่า
พระองค์ทรงรับด้วยมีพระทัยกรุณาด้วยทรงพิจารณาเห็นว่าเวไนยสัตว์มีความแตกต่างกัน เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า คือ 1. อุคฆฏิตัญญู ผู้มีปัญญาดีฟังเพียงหัวข้อธรรมก็สามารถเข้าใจได้ทันที เปรียบเหมือนบัวพ้นน้ำพอถูกแสงอาทิตย์ก็บานทันที 2. วิปจิตัญญู ผู้มีปัญญาปานกลางเมื่อฟังหัวข้อธรรมและคำอธิบายประกอบก็จะเข้าใจได้เปรียบเหมือนบัวปริ่มน้ำจะบานในวันถัดไป 3. เนยยะ ผู้มีปัญญาน้อยเมื่อได้ฟังธรรมซ้ำๆ และปฏิบัติด้วยความพากเพียรก็จะเข้าใจได้ เปรียบเหมือนบัวที่อยู่ในน้ำรอบานในวันต่อๆ ไป 4. ปทปรมะ ผู้อับปัญญาไม่สามารถเข้าใจธรรมได้เปรียบเหมือนบัวที่อยู่ในโคลนตมมีแต่จะเป็นอาหารของปลาและเต่า
๖. แสดงปฐมเทศนา
ในวันเพ็ญเดือน ๘ (อาสาฬหปุณณมี) พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมแก่พระปัจจวัคคีย์ ๒๖ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ทำให้เกิดมีพระสงฆ์องค์แรกขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม นับเป็นวันที่พระรัตนตรัย (คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) เกิดขึ้นครบองค์ครั้งแรกพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงครั้งแรกนี้เรียกว่า ปฐมเทศนาหรือธรรมจักกัปปวัตนสูตรมีเนื้อหาให้งดเว้นทางสุดโต่ง ๒ สาย คือกามสุขัลลิกายุโยค ได้แก่ ทำตนเองให้ลำบาก ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ๒๗ อันเป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์ และอริยสัจ ๔ ๒๘ ตามลำดับ อนึ่ง วันนี้ชาว พุทธถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา
๗. แสดงยมกปาฏิหาริย์
พระพุทะเจ้าประทับ ณ โคนต้นคุณฑามพพฤกษ์(ต้นมะม่วง) ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เพื่อข่มพวกเดียรถีย์โดยเนรมิตรจงกลมแก้วในอากาศแล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกลมนั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมาก โดยวิธีต่างๆ สลับการแสดงพระธรรมเทศนา มีพุทธบริษัทจำนวนมากได้บรรลุธรรม เพราะความเลื่อมใสที่ได้เห็นยมกปาฏิหาริย์และได้ฟังธรรมกถาของพระพุทธเจ้าพร้อมๆกันไป
๘. ปรินิพพาน
หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาเป็นเวลา ๔๕ พรรษา ในคืนที่จะปรินิพพาน ณ เตียงใต้ต้นสาละคู่หนึ่ง เมืองกุสินารา หลังจากที่ทรงแสดงธรรมและตอบข้อสงสัยในพระธรรมวินัยจนไม่มีใครสงสัยแล้วก็ได้ประทานโอวาทครั้งสุดท้าย แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันในสถานที่นั้น ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ เราขอเตือนพวกท่านว่า สังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมานั้น ล้วนมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลาย ทำกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” จากนั้นพระพุทธองค์ทรงนิ่งเงียบ เข้าสู่ฌานสมาบัติอันลึกไปโดยลำดับ ออกจากฌาสมาบัติแล้วกลับเข้าอีกในระหว่างนี้ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ๔๘ ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี
อุปกิเลส ๑๖
กิเลสที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ควรกำจัดออกไปจากขันธสันดาน
คำศัพท์ | ความหมาย |
---|---|
อภิชฌาวิสมโลภะ | ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง. |
โทสะ. | ร้ายกาจ. |
โกธะ | มักโกรธ. |
อุปนาหะ | ผูกโกรธไว้ ผูกความแค้น. |
มักขะ | ลบหลู่คุณท่าน. |
ปลาสะ | ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน. |
อิสสา | ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้. |
มัจฉริยะ | ตระหนี่. |
คำศัพท์ | ความหมาย |
---|---|
มายา | มารยา คือเจ้าเล่ห์. |
สาเถยยะ | โอ้อวด. |
ถัมภะ | หัวดื้อ. |
สารัมภะ | แข่งดี. |
มานะ | ถือตัว. |
อติมานะ | ดูหมิ่นท่าน. |
มทะ | มัวเมา. |
ปมาทะ | เลินเล่อ. |