เกมจับคู่คำ

โปรดอ่านคำศัพท์
และความหมาย ก่อนเล่นเกม !

คำศัพท์ และความหมาย

วิชา ธรรมวิภาค

ธรรมวิภาค หมวด ๒

คำศัพท์ความหมาย
สติความระลึกได้
สัมปะชัญญะความรู้ตัว
หิริความละอายแก่ใจ
โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อบาป
ปุพพการีบุคคลที่ทำอุปการะก่อน
กตัญญู กตเวทีผู้รู้คุณ และทำตอบแทน
ขันติความอดทน
โสรัจจะความเสงี่ยม

อิทธิบาท ๔

หลักธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จในกิจการที่ทำ

คำศัพท์ความหมาย
ฉันทะมีความชอบในสิ่งที่จะทำ
วิริยะมีความพากเพียรในสิ่งที่จะทำ
จิตตะเอาใจใส่ สม่ำเสมอ
วิมังสาตรวจสอบข้อผิดพลาด

พรหมวิหารธรรม ๔

หลักธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม

คำศัพท์ความหมาย
เมตตาปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณาปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ลำบาก
มุทิตาพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
อุเบกขาวางใจเป็นกลาง

อริยทรัพย์ ๗

 ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียก อริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ :-

คำศัพท์ความหมาย
สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ.
สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย.
หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต.
โอตตัปปะ สะดุ้งกลัว เกรงกลัวต่อบาป.
พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก.
จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน.
ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.

มรรค ๘

หนทางปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับทุกข์

คำศัพท์ความหมาย
สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔.
สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม ๑ ดำริในอันไม่พยาบาท ๑ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑.
สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔.
สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓.
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด.
สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในหลักปธาน ๔ (ดู ปธาน ๔)
สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔.
สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือตั้งจิตไว้ในฌานทั้ง ๔.

อุปกิเลส ๑๖

กิเลสที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ควรกำจัดออกไปจากขันธสันดาน

คำศัพท์ความหมาย
อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง.
โทสะ. ร้ายกาจ.
โกธะ มักโกรธ.
อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ผูกความแค้น.
มักขะ ลบหลู่คุณท่าน.
ปลาสะ ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน.
อิสสา ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้.
มัจฉริยะ ตระหนี่.
มายา มารยา คือเจ้าเล่ห์.
สาเถยยะ โอ้อวด.
ถัมภะ หัวดื้อ.
สารัมภะ แข่งดี.
มานะ ถือตัว.
อติมานะ ดูหมิ่นท่าน.
มทะ มัวเมา.
ปมาทะประมาท เลินเล่อ.