จับคู่คำสุภาษิต

วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
ระดับประถมศึกษา

โปรดอ่านสุภาษิต
ก่อนเล่นเกม !

พุทธศาสนสุภาษิต

หลักสูตรสำหรับธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับประถม

ปาปานิ ปริวชฺชเย

พึงละบาปทั้งหลาย

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


ปาปานํ อกรณํ สุขํ

การไม่ทำบาปเป็นสุข

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ

บุคคลควรพูดให้ไพเราะ

ที่มา : ขุททกนิกาย สคาถวรรค


มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ

คนพูดไม่ดี ย่อมเดือดร้อน

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต


สุขํ ยาว ชรา สีลํ

ศีล นำสุขมาให้ตราบชรา

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี

นักปราชญ์พึงรักษาศีล

ที่มา : ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ

สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร

ความรอบคอบในทุกๆ เรื่อง เป็นการดี

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ

ควรเชื่อฟังคนที่หวังดี

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก ทสกนิบาต


สุกรํ สาธุนา สาธุ

คนดีทำดีได้ง่าย

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


น หิ สาธุ โกโธ

ความโกรธ ไม่ดีเลย

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก ฉักกนิบาต


อนตฺถชนโน โกโธ

ความโกรธ ก่อความพินาศ

ที่มา : ขุททกนิกาย สัตตกนิบาต


โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ

กำจัดความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

ที่มา : ขุททกนิกาย สคาถวรรค

พุทธศาสนสุภาษิต

หลักสูตรสำหรับธรรมศึกษา ชั้นโท ระดับประถม

ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ

ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


ททมาโน ปิโย โหติ

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต


ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ

เมื่อให้บุญก็เพิ่มขึ้น

ที่มา : ขุททกนิกาย อุทาน


ขนฺติ หิตสุขาวหา

ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข

ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง


มนาโป โหติ ขนฺติโก

ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง


อกฺโกเธน ชิเน โกธํ

พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

อสาธุํ สาธุนา ชิเน

พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


สจฺเจนาลิกวาทินํ

พึงชนะคนพูดปดด้วยความจริง

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ

โจรขโมยบุญใครไม่ได้

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ

บุญนำความสุขให้ตราบเท่าชีวิต

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

หมั่นขยันทำความดี ก่อเกิดความสุข

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


ยํ เว เสวติ ตาทิโส

คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้น

ที่มา : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวซิรญาณวโรรส

พุทธศาสนสุภาษิต

หลักสูตรสำหรับธรรมศึกษา ชั้นเอก ระดับประถม

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


อตฺตนา โจทยตฺตานํ

จงเตือนตนด้วยตนเอง

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา

คนดีย่อมฝึกตน

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ

การฝึกจิตเป็นความดี

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี

ผู้มีปัญญาพึงคุ้มครองจิต

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก

ผู้ทรยศมิตร เป็นคนเลว

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก ทสกนิบาต


นตฺถิ พาเล สหายตา

เพื่อนแท้ หาไม่ได้ในอันธพาล

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ

ความเพียรช่วยให้ผ่านทุกข์ไปได้

ที่มา : ขุททกนิกาย สุตตนิบาต


อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ

ควรรีบทำความเพียรในวันนี้

ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต


สติมา สุขเมธติ

คนมีสติ ย่อมมีความสุข

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


สติมโต สทา ภทฺทํ

คนมีสติ เจริญตลอดเวลา

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หลักการอ่านคำบาลี

คำในภาษาบาลีมีหลักการอ่านเบื้องต้นดังนี้

๑. พยัญชนะที่ไม่มีจุดพินทุ (.) อยู่ล่าง และนิคหิต ( ํ ) อยู่บน ให้อ่านออกเสียง อะ เช่น ภควา อ่านว่า ภะคะวา, อรหโต อ่านว่า อะระหะโต

๒. พยัญชนะที่มีจุดพินทุ (.) อยู่ล่าง ให้อ่านเป็นตัวสะกดของตัวหน้า เช่น ทุกฺโข อ่านว่า ทุก-โข, อุจฺจโย อ่านว่า อุด-จะ-โย, หากอักษรตัวหน้าไม่มีสระอุ สระอู สระโอ ให้ออกเสียงมีไม้หันอากาศ เช่น รกฺเขถ อ่านว่า รัก-เข-ถะ, อตฺตนา อ่านว่า อัด-ตะ-นา

๓. พยัญชนะที่มีนิคหิต ( ํ ) อยู่บน ให้อ่านเป็น สะกด เป็น -ัง, -ิง, -ุง เช่น สุกรํ อ่านว่า สุ-กะ-รัง, ธมฺมจารึ อ่านว่า ทำ-มะ-จา-ริง, กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง

๔. ย ร ล ว ส ห ฬ พยัญชนะ ๗ ตัวนี้ ถ้ามีจุดพินทุ (.) อยู่ล่าง หรือวางอยู่หลังพยัญชนะ ที่มีจุดพินทุ (.) ถ้าเป็นพยัญชนะต้นคำให้อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงควบกับพยางค์หลัง เช่น สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต, พฺรหฺม อ่านว่า พะระ-หะมะ (พรำ-มะ) ถ้าตามหลังพยัญชนะตัวอื่นให้อ่านเป็นตัวสะกดของตัวหน้า และออกเสียง อะ กึ่งเสียงควบกับพยางค์หลัง เช่น กลฺยาณํ อ่านว่า กัน-ละยา-นัง, วากฺยํ อ่านว่า วาก-กะยัง