นักธรรม ชั้นเอก วิชา ธรรมวิจารณ์

นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑. บุคคลเช่นไรชื่อว่าติดอยู่่ในโลก ? ผู้ติดอยู่่ในโลกจะได้รับลอย่างไร ?
        ตอบ :
บุคคลผู้ไร้พิจารณ์ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ หลงระเริงจนเกินพอดีีในสิ่งอันอาจให้้โทษ และติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ ชื่อว่าหมกอยู่่ในโลก ฯ
 ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุข ก็เป็นเพียงสามิสสุข คือ มีีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้ ฯ

๒. คำว่า มารและบ่่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
        ตอบ :
คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ชวนให้้ใคร่่ ได้้แก่่ ตัณหา ราคะ และอรติิ เป็นต้น
 คำว่า บ่่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุุกาม ได้้แก่่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ฯ

๓. คำว่า มะทะนิมมะทะโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร ?
        ตอบ :
หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น ชาติิ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็็ดี เยาว์์วัย ความหาโรคมิได้ และชีวิต ก็็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้ ฯ

๔. วัฏฏะ ในคำว่า วัฏฏูปัจเฉโท นั้น หมายถึงอะไร ? และตัดวัฏฏะได้อย่างไร ?
        ตอบ :
หมายถึง ความเวียนเกิดเวียนตายด้วยอำนาจกิเลส กรรมและวิบาก ฯ
 ตัดด้วยอาการที่ละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย ฯ

๕. โลกามิส คืออะไร ? ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
คือกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ฯ
 เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ ฉะนั้น ฯ

๖. คติ คืออะไร ? สัตว์โลกตายไปแล้ว มีคติเป็นอย่างไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ ภูมิหรือภพเป็นที่ไปหลังจากตายแล้ว ฯ
 มีคติเป็น ๒ คือ
 ๑. ทุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ซึงเกิดจากการประพฤติทุจริตทางกายวาจาใจ
 ๒. สุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ซึ่งเกิดจากการประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจ ฯ

๗. ผู้เจริญเมตตาเป็นประจำ ย่อมได้รับอานิสงส์อะไรบ้าง ? จงตอบมา ๓ ประการ
        ตอบ :
ได้รับอานิสงส์อย่างนี้
 ๑. หลับอยู่ก็เป็นสุข
 ๒. ตื่นอยู่ก็เป็นสุข
 ๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก
 ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
 ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
 ๖. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
 ๗. ไฟไม่ไหม้ พิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายไม่อาจประทุษร้าย
 ๘. จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลัน
 ๙. ผิวพรรณย่อมผ่องใสงดงาม
 ๑๐. ไม่หลงทำกาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได้สติ
 ๑๑. เมื่อตายแล้วแม้เกิดอีก ก็ย่อมเกิดในที่ดีเป็นที่เสวยสุข ถ้าไม่เสื่อมจากฌาน ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ

๘. สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้ผลต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ให้ผลต่างกันดังนี้
 สมถกัมมัฏฐาน ให้ผลอย่างต่ำ คือทำให้ระงับนิวรณ์บางอย่างได้ อย่างสูงคือทำให้บรรลุุฌานต่าง ๆ มีปฐมฌาน เป็นต้น
 วิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้ผลอย่างต่ำ คือทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจจธรรม อย่างสูง คือทำให้บรรลุพระนิพพาน ฯ

๙. คนสัทธาจริตมีนิสัยอย่างไร ? คนประเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐานใดบ้าง ?
        ตอบ :
มีนิสัยเชื่อง่ายโดยไม่พิจารณาถึงเหตุผล ฯ
 ควรเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน ๖ ประการ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
 สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯ

๑๐. อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่อะไร ?
        ตอบ :
ได้แก่สังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ (หรือธรรมในวิปัสสนาภูมิ คือขันธ์์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น) ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕


๑. นิพพิทาคืออะไร ? ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ?
        ตอบ :
นิพพิทาคือความหน่ายในทุกข์ฯ
 อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา ความหน่ายในทุกขขันธ์ไม่เพลิดเพลินยึดมั่นหมกมุ่น
 อยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา ฯ

๒. อนิจจตา ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร กำหนดรู้ในทางง่ายได้ด้วยอาการอย่างไร ?
        ตอบ :
ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นไปในเบื้องปลาย ฯ

๓. ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับที่ไหน ? ตัณหานั้นย่อมสิ้นไปเพราะธรรมอะไร ?
        ตอบ :
เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับย่อมดับในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลกนั่นเอง ฯ
 ย่อมสิ้นไปเพราะวิราคะคือพระนิพพาน ฯ

๔. ความหลุดพ้นอย่างไรเป็นสมุจเฉทวิมุตติ? จัดเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ?
        ตอบ :
ความหลุดพ้นด้วยการตัดกิเลสได้เด็ดขาด ได้แก่อริยมรรค ฯ
 จัดเป็นโลกุตตระ ฯ

๕. สันติความสงบ เกิดขึ้นที่ใด ? มีปฏิปทาที่จะดำเนินอย่างไร ?
        ตอบ :
เกิดขึ้นที่ไตรทวาร คือ กาย วาจา ใจ ฯ
 มีปฏิปทาที่จะดำเนิน คือ ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้สงบจากโทษเวรภัย ด้วยการละโลกามิส คือกามคุณ ๕ ฯ

๖. ในส่วนสังสารวัฏฏ์ สัตวโลกตายแล้วมีคติคือที่ไปเป็นอย่างไร ? มีอุทเทสบาลีแสดงไว้อย่างไร ?
        ตอบ :
สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็น ๒ คือ สุคติและทุคติฯ มีอุทเทสบาลีแสดงว่า
 จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
 จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ฯ

๗. สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง ? การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อไหน ?
        ตอบ :
คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ
 จัดเข้าในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ

๘. คนวิตกจริตมีนิสัยอย่างไร ? คนประเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?
        ตอบ :
ชอบคิดฟุ้งซ่าน ตรึกตรองไม่ค่อยลง รู้เห็นไม่ตลอด นึกคิดเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ฯ
 ควรเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ

๙. ท่านว่า ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาปัญญา พึงรู้ฐานะ ๖ ก่อน ทั้ง ๖ ประการนั้นมีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มี ๑. อนิจจะ สภาวะอันไม่เที่ยง
 ๒. อนิจจลักขณะ เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
 ๓. ทุกขะ สภาวะอันสัตว์ทนได้ยาก
 ๔. ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์
 ๕. อนัตตา สภาวะอันไม่ใช่ตัวตน
 ๖. อนัตตลักขณะ เครื่องหมายที่จะกำหนดรู้ว่าเป็นอนัตตา ฯ
๑๐. วิปัลลาสคืออะไร ? วัตถุที่วิปัลลาส มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง ฯ
 มี ๔ อย่าง คือ
 ๑. วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
 ๒. วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
 ๓. วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
 ๔. วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔


๑. อุทเทสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้” โลกในที่นี้ หมายถึงอะไร ? คนมีลักษณะอย่างไรชื่อว่าติดอยู่ในโลก ?
        ตอบ :
หมายถึง โลก โดยตรงได้แก่แผ่นดินเป็นที่อาศัย โดยอ้อมได้แก่หมู่สัตว์ผู้อาศัย ฯ
 คนผู้ไร้วิจารณญาณไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ หลงระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ จนถอนตนไม่ออก ได้รับสุขบ้างทุกข์บ้าง แม้สุข  ก็เป็นเพียงสามิสสุข สุขอันมีเหยื่อต่อใจเป็นเหตุให้ติด ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น ฯ

๒. ทุกข์ และ ทุกขลักขณะ เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน ? จงอธิบาย
        ตอบ :
ต่างกันคือ
 ทุกข์ ได้แก่ปัญจขันธ์
 ทุกขลักขณะ ได้แก่ปัญจขันธ์ที่ถูกเบียดเบียนถูกบีบคั้นจากเหตุปัจจัยอันเป็นข้าศึก เช่น ความเย็น ความร้อน เป็นต้น ฯ

๓. บุคคลจะพึงกําหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาด้วยอาการอย่างไรบ้าง ? ตอบมา ๒ ข้อ
        ตอบ :
ด้วยอาการอย่างนี้ คือ
 ๑. ด้วยไม่อยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา
 ๒. ด้วยแย้งต่ออัตตา
 ๓. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
 ๔. ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่าง หรือหายไป
 ๕. ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ฯ

๔. คําว่า วัฏฏูปัจเฉโท ธรรมอันเข้าไปตัดซึ่งวัฏฏะ วัฏฏะนั้นหมายถึงอะไร ? และตัดขาดได้อย่างไร ?
        ตอบ :
หมายถึง ความเวียนเกิดด้วยอํานาจ กิเลส กรรม วิบาก
 ตัดขาดได้โดยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย

๕. โลกามิสคืออะไร ? ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
คือกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ฯ
 เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น ฯ

๖. คติ คืออะไร ? สัตว์โลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ ภูมิหรือภพเป็นที่ไปหลังจากตายแล้ว ฯ
 มีคติเป็น ๒ คือ
 ๑. ทุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ซึ่งเกิดจากการประพฤติทุจริตทางกายวาจาใจ
 ๒. สุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ซึ่งเกิดจากการประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจ ๆ

๗. สมถะ กับ วิปัสสนา ให้ผลต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ให้ผลต่างกันดังนี้ สมถะ ให้ผลอย่างต่ำทำให้ระงับนิวรณ์ได้ อย่างสูง ทำให้เข้าถึงฌานต่าง ๆ ได้
 ส่วนวิปัสสนา ให้ผลอย่างต่ำทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจธรรม อย่างสูงทำให้ได้บรรลุอริยผล
 พ้นจากสังสารทุกข์ ฯ

๘. คนสัทธาจริตมีนิสัยอย่างไร ? คนประเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?
        ตอบ :
มีนิสัยเชื่อง่าย ๆ ในถ้อยคําวาจาที่กล่าวดีและชั่ว ที่เป็นบุญและเป็นบาป เป็นต้น ฯ
 ควรเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน 5 ประการ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ ฯ

๙. จงแสดงวิธีเจริญมุทิตา พร้อมทั้งอานิสงส์แห่งการเจริญพอเป็นตัวอย่าง ?
        ตอบ :
วิธีเจริญมุทิตานั้นดังนี้ เมื่อได้เห็นหรือได้ยินมนุษย์หรือสัตว์ เป็นอยู่สุขสบาย เจริญรุ่งเรืองด้วยสุขสมบัติ จึงทําจิตใจให้ชื่นชม ยินดีแล้ว แผ่มุทิตาจิตไปว่า สัตว์ผู้นี้หนอบริบูรณ์ยิ่งนัก มีสุขสมบัติมาก จงเจริญยั่งยืนด้วยสุขสมบัติยิ่งๆ เถิด เมื่อเจริญอยู่เนือง ๆ ย่อมได้รับ ผลดีคือจะละความริษยาในสมบัติของผู้อื่นได้ ฯ

๑๐. ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ต้องประกอบด้วยธรรมใดบ้าง จึงจะกําจัดอภิชฌาและโทมนัสออกได้ ?
        ตอบ :
ต้องประกอบด้วยธรรม ๓ คือ
 ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
 ๒. สัมปชาโน รู้ทั่วพร้อม
 ๓. สติมา มีสติ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓


๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร กําหนดรู้ในทางง่ายได้ด้วยอาการอย่างไร ?
        ตอบ :
ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย ฯ

๒. คําว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
        ตอบ :
คําว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น
 คําว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ฯ

๓. ไวพจน์แห่งวิราคะ ได้แก่อะไรบ้าง ? เลือกตอบมา ๕ อย่าง
        ตอบ :
ได้แก่
 มทนิมฺมทโน แปลว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง
 ปิปาสวินโย แปลว่า ความนําเสียซึ่งความกระหาย
 อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย
 วฏฺฏูปจฺเฉโท แปลว่า ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
 ตณฺหกฺขโย แปลว่า ความสิ้นแห่งตัณหา
 วิราโค แปลว่า ความสิ้นกําหนัด
 นิโรโธ แปลว่า ความดับ
 นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้ ฯ

๔. สันติ ความสงบ หมายถึงสงบอะไร ? ผู้มุ่งสันติสุขอย่างแท้จริง ท่านสอนให้ละอะไร ?
        ตอบ :
หมายถึง สงบกาย วาจา ใจ ฯ
 ท่านสอนให้ละโลกามิส คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ฯ

๕. สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ต่างกัน คือ
 สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
 ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ฯ

๖. อบาย คืออะไร ? ในอรรถกถาแจกไว้เป็น ๔ อย่าง อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ฯ
 มีนิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสยะ อสุรกาย ฯ

๗. สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง ? การกําหนดลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐานข้อไหน ?
        ตอบ :
คือ
 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ
 ชื่อว่าเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ

๘. ในพระพุทธคุณ ๙ ประการนั้น ส่วนไหนเป็นเหตุ ส่วนไหนเป็นผล ? เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
พระพุทธคุณ ส่วนอัตตสมบัติ เป็นเหตุ ส่วนปรหิตปฏิบัติ เป็นผล ฯ
 เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติก่อนแล้วจึงทรงบําเพ็ญพุทธกิจให้สําเร็จประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ ฯ

๙. วิปัลลาสคืออะไร ? วัตถุที่วิปัลลาส มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง ฯ
 มี ๔ อย่าง คือ
 ๑. วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
 ๒. วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
 ๓. วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
 ๔. วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม ฯ

๑๐. ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ต้องประกอบด้วยธรรมใดบ้าง จึงจะกําจัดอภิชฌาและโทมนัสออกได้ ?
        ตอบ :
ต้องประกอบด้วยธรรม ๓ คือ
 ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
 ๒. สัมปชาโน รู้ทั่วพร้อม
 ๓. สติมา มีสติ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒


๑. บุคคลเช่นไรชื่อว่าติดอยู่ในโลก ? ผู้ติดอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร ?
        ตอบ :
บุคคลผู้ไร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ ระเริง จนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ ชื่อว่าติดอยู่ในโลก ฯ
 ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียงสามิส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ด เกี่ยวไว้ ฯ

๒. นิพพิทาคืออะไร ? ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ?
        ตอบ :
นิพพิทา คือความหน่ายในทุกข์ ฯ
 อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดมั่น ไม่หมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา ฯ

๓. ทุกข์ประจำสังขารกับทุกข์จร ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ทุกข์ประจำสังขาร เป็นทุกข์ที่ต้องมีแก่คนทุกคน ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงพ้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย
 ส่วนทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ประจวบด้วยคนหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็น ที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง ฯ

๔. คําว่า วัฏฏูปัจเฉโท ธรรมอันเข้าไปตัดซึ่งวัฏฏะ วัฏฏะนั้น หมายถึงอะไร ? และตัดขาดได้อย่างไร ?
        ตอบ :
หมายถึง ความเวียนเกิดด้วยอำนาจ กิเลส กรรม วิบาก ฯ
 ตัดขาดได้โดยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย ฯ

๕. วิมุตติ ๕ อย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตตระ ?
        ตอบ :
ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ เป็นโลกิยะ
 สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ เป็นโลกุตตระ ฯ

๖. ธรรมอะไรพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นยอดแห่งสังขตธรรม ? เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
อัฏฐังคิกมรรคเป็นยอดแห่งสังขตธรรม ฯ
 เพราะองค์ ๘ แต่ละองค์ ๆ ของอัฏฐังคิกมรรค ล้วนแต่เป็นธรรมที่ดี ยิ่งรวมกันเข้าทั้ง ๘ องค์ ย่อมเป็นธรรมดียิ่งนัก และเป็นทางเดียว นำไปถึงความดับทุกข์หรือถึงความหมดจดแห่งทัสสนะ ฯ

๗. พระพุทธพจน์ว่า ผู้เพ่งความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย คำว่าอามิสในโลก หมายถึงอะไร ? และละอามิสเหล่านั้นได้ด้วยวิธีใด ?
        ตอบ :
หมายถึงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ฯ
 ละได้ด้วยการทำใจมิให้ติดในสิ่งเหล่านั้น ฯ

๘. เจริญมรณัสสติอย่างไรจึงจะบรรเทาความเมาในชีวิตไม่ติดในโลกธรรม ?
        ตอบ :
เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ
 ๑. สติ ระลึกถึงความตาย
 ๒. ญาณ รู้ว่าความตายจักมีแก่ตน
 ๓. เกิดสังเวชสลดใจ ฯ

๙. จงแสดงวิธีเจริญมุทิตา พร้อมทั้งอานิสงส์แห่งการเจริญพอเป็นตัวอย่าง ?
        ตอบ :
วิธีเจริญมุทิตานั้นดังนี้ เมื่อได้เห็นหรือได้ยินมนุษย์หรือสัตว์ เป็นอยู่สุขสบาย เจริญรุ่งเรืองด้วยสุขสมบัติ พึงทำจิตใจให้ชื่นชมยินดี แล้วแผ่มุทิตาจิตไปว่า สัตว์ผู้นี้หนอบริบูรณ์ยิ่งนัก มีสุขสมบัติมาก จงเจริญยั่งยืนด้วยสุขสมบัติยิ่ง ๆ เถิด เมื่อเจริญอยู่เนือง ๆ ย่อมได้รับผลดีคือ จะละความริษยาในสมบัติของผู้อื่นได้ ฯ

๑๐. อารมณ์ของสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? ผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มี กาย เวทนา จิต ธรรม ฯ
 พึงมี ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส
 ๒. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ
 ๓. สติมา มีสติ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑


 ๑. พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์อย่างไร ?
        ตอบ :
มีพระประสงค์เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริงอันมีอยู่ในโลก จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษ และไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ ฯ

๒. คำว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
        ตอบ :
คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม อันทำจิตให้เศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น
 คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ฯ

๓. คำว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร ?
        ตอบ :
หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น ชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี  ความเยาว์วัย ความไม่มีโรค และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้ ฯ

๔. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณ โหติ แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมมี อะไรหลุดพ้น ? และหลุดพ้นจากอะไร ?
        ตอบ :
จิตหลุดพ้น จากอาสวะ ๓ ฯ

๕. โลกามิสคืออะไร ? ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
คือกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ฯ
 เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น ฯ

๖. ข้อความว่า ปลงภาระอันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร ?
        ตอบ :
อธิบายว่า ภาระ หมายถึงเบญจขันธ์ การปลงภาระ หมายถึงการถอนอุปาทาน การไม่ถือเอาภาระอื่น หมายถึงการไม่ถือเบญจขันธ์อื่นด้วยอุปาทาน ฯ
๗. ในพระบาลีว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อใจเศร้า หมอง ต้องประสบทุคติ” ทุคติ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ฯ
 มี อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (ตามนัยอรรถกถา มี ๔ คือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย) ฯ

๘. คนวิตกจริตมีนิสัยอย่างไร ? คนประเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?
        ตอบ :
ชอบคิดมาก ฟุ้งซ่าน ฯ
 ควรเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ

๙. วิปัลลาสคืออะไร ? วัตถุที่วิปัลลาส มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการอันผิดจากความจริง ฯ
 มี ๔ อย่าง คือ
 ๑. วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
 ๒. วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
 ๓. วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
 ๔. วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม ฯ

๑๐. ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ต้องประกอบด้วยธรรมใดบ้าง จึงจะกำจัดอภิชฌาและโทมนัสได้ ?
        ตอบ :
ต้องประกอบด้วยธรรม ๓ คือ
 ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
 ๒. สัมปชาโน รู้ทั่วพร้อม
 ๓. สติมา มีสติ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐


 ๑. ลักษณะเช่นใดบ้าง เป็นเครื่องกำหนดให้รู้ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ? จงอธิบาย
        ตอบ :
 
๑. กำหนดรู้ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย
 ๒. กำหนดรู้ในทางละเอียดกว่านั้น ด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับ
 ๓. กำหนดรู้ในทางสุขุม ด้วยความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง ๆ ไม่คงที่อยู่นาน เช่น ความรู้สึกสุขทุกข์ เป็นต้น ฯ

๒. ทุกขลักขณะ และ ทุกขานุปัสสนา เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน ? จงอธิบาย
        ตอบ :
ต่างกันคือ
 ทุกขลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นทุกข์แห่งสังขาร เพราะถูกบีบคั้นจากปัจจัยต่าง ๆ
 ทุกขานุปัสสนา ได้แก่ ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ ฯ

๓. ตัณหา เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับที่ไหน ? ตัณหานั้นย่อมสิ้นไปเพราะธรรมอะไร ?
        ตอบ :
เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับย่อมดับในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ฯ
 เพราะวิราคะ คือพระนิพพาน ฯ

๔. พระบาลีว่า “ปญฺ าย ปริสุชฺฌติ บุคคลย่อมหมดจดด้วยปัญญา” มีอธิบายอย่างไร ?
        ตอบ :
มีอธิบายว่า ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความเบื่อหน่ายแล้ววางเฉยในสังขารนั้น ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
 ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ความหมดจดย่อมเกิดด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ

๕. ในวิมุตติ ๕ วิมุตติใดจัดเป็น อริยมรรค อริยผล นิพพาน ?
        ตอบ :
สมุจเฉทวิมุตติ จัดเป็น อริยมรรค
 ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ จัดเป็น อริยผล
 นิสสรณวิมุตติ จัดเป็น นิพพาน ฯ

๖. จงจัดมรรค ๘ เข้าในวิสุทธิ ๗ มาดู
        ตอบ :
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลวิสุทธิ
 สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ
 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ
 มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ฯ

๗. สันติแปลว่าอะไร ? เป็นโลกิยะ หรือโลกุตตระ ?
        ตอบ :
สันติ แปลว่า ความสงบ ฯ
 เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ ฯ

๘. ในส่วนสังสารวัฏฏ์ สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ? มีอุทเทสบาลีแสดงไว้อย่างไร ?
        ตอบ :
สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็น ๒ คือ สุคติ และทุคติ ฯ
 มีอุทเทสบาลีแสดงว่า
 จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
 จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฯ

๙. เจริญมรณัสสติอย่างไรจึงจะแยบคาย ?
        ตอบ :
เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ สติ ระลึกถึงความตาย ๑ ญาณ รู้ว่าความตายจักมีแก่ตน ๑ เกิดสังเวชสลดใจ ๑ เจริญอย่างนี้ จึงจะแยบคาย ฯ

๑๐. สมถะ กับ วิปัสสนา ให้ผลต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ให้ผลต่างกันดังนี้
 สมถะ ให้ผลคือทำให้ใจสงบระงับจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ส่วนวิปัสสนา ให้ผลคือทำให้ได้ปัญญาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙


 ๑. อุทเทสว่า “สูทังหลายจงมาดูโลกนี้” โลกในที่นี้ีหมายถึงอะไร ? คนมีลกัษณะอย่างไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก ?
        ตอบ :
หมายถึง โลก โดยตรงได้แก่แผ่นดินเป็นที่อาศัย โดยอ้อมได้แก่หมู่สัตว์ผู้อาศัย ฯ
 คนผู้ไร้วิจารณญาณไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ ระเริงจนเกินพอดี ในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะจนถอนตนไม่ออก คนมีลักษณะอย่างนี้ ย่อมได้รับสุขบ้างทุกข์บ้าง แม้สุขก็เป็นเพียงสามิสสุข สุขอันมีเหยื่อล่อใจ เป็นเหตุให้ติดดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น ฯ

 ๒. นิพพิทาคืออะไร ? ปฏิทาเครื่องดําเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ?
        ตอบ :
นิพพิทา คือความหน่ายในทุกขขันธ์ ฯ
 อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์
 ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินยึดมั่นหมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา ฯ

๓. วิราคะ ได้แก่อะไร ? คําว่า “วฏฏฺูปจฺเฉโท ธรรมเข้าไปตัดเสียซึ่งวฏัฏะ”
 มีอธิบายว่าอย่างไร ?
        ตอบ :
ได้แก่ ความสิ้นกําหนัด ฯ
 อธิบายว่า วัฏฏะ หมายเอาความเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลสกรรมและวิบาก
 วิราคะเข้าไปตัดความเวียนว่ายตายเกิดนั้น จึงเรียกว่า วฏฏฺูปจเฺฉโท ธรรมเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ ฯ

๔. ความหลุดพ้นอย่างไรเป็นสมุจเฉทวิมุตติ ? จัดเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ?
        ตอบ :
ความหลุดพ้นด้วยการตัดกิเลสได้เด็ดขาด ได้แก่อริยมรรค ฯ
 จัดเป็นโลกุตตระ ฯ

๕. ธรรมอะไรเป็นยอดแห่งสังขตธรรม ? เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
อัฏฐังคิกมรรคเป็นยอดแห่งสังขตธรรม ฯ
 เพราะองค์ ๘ แต่ละองค์ ๆ ของอัฏฐังคิกมรรค ก็เป็นธรรมดี ๆ รวมกันเข้าทั้ง ๘ ย่อมเป็นธรรมดียิ่งนัก และเป็นทางเดียวนำไปถึงความดับทุกข์ หรือถึงความหมดจดแห่งทัสสนะ ฯ

๖. สันติ ความสงบ เกิดขึ้นที่ใด ? มีปฏิปทาที่จะดำเนินอย่างไร ?
        ตอบ :
เกิดขึ้นที่กาย วาจา ใจ ฯ
 มีปฏิปทาที่จะดำเนิน คือ ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้สงบจากโทษเวรภัย ด้วยการละโลกามิส คือ กามคุณ ๕ ฯ

๗. พระบาลีว่า “สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ธรรมเป็นที่สละอุปธิทั้งปวง” ในคำนี้ อุปธิ เป็นชื่อของอะไรได้บ้าง ? แต่ละอย่างมีอธิบายว่าอย่างไร ?
        ตอบ :
เป็นชื่อของกิเลสและปัญจขันธ์ ฯ
 ที่เป็นชื่อของกิเลส มีอธิบายว่า เข้าไปทรงคือเข้าครอง
 ที่เป็นชื่อแห่งปัญจขันธ์ มีอธิบายว่า เข้าไปทรงคือหอบไวซึ่งทุกข์ ฯ

 ๘. คติ คืออะไร ? สัตว์โลกที่ตายไป มีคติเป็นอย่างไรบ้าง ?
          ตอบ :คือภูมิหรือภพเป็นที่ไปหลังจากตายแล้ว ฯ
 มีคติเป็น ๒ คือ
 ๑. ทุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ซึ่งเกิดจากการประพฤติทุจริตทางกายวาจาใจ
 ๒. สุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ซึ่งเกิดจากการประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจ ฯ

๙. ในพระพุทธคุณ ๙ ประการนั้น ส่วนไหนเป็นเหตุ ส่วนไหนเป็นผล ? เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
พระพุทธคุณ ส่วนอัตตสมบัติ เป็นเหตุ ส่วนปรหิตปฏิบัติ เป็นผล ฯ
 เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยพระพุทธคุณ ส่วนอัตตสมบัติก่อนแล้วจึงทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ให้สำเร็จประโยชน์แก่เวไนย ฯ

 ๑๐. ในวิสุทธิ ๗ วิสุทธิข้อไหนบ้าง เป็นเหตุให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่แห่งวิปัสสนา ? เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย
          ตอบ :ข้อสีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล และจิตตวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นเหตุให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่แห่งวิปัสสนา ฯ
 เพราะผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ จิตย่อมไม่สงบ เมื่อจิตไม่สงบก็ยากที่จะเจริญวิปัสสนา ฯ


 

นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘


 ๑. อนิจฺจตา ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร กำหนดรู้ในทางง่ายได้ด้วยอาการอย่างไร ?
        ตอบ :
ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย ฯ

๒. ฆนสัญญา คืออะไร ? กำหนดเห็นสังขารอย่างไร จึงถอนสัญญานั้นได้ ?
        ตอบ :
คือความเข้าใจว่าเป็นก้อน ได้แก่ ความถือโดยนิมิตว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผู้นี้ ฯ
 ด้วยการพิจารณากำหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อย ๆ จากฆนะ คือก้อน จนเห็นสังขารเป็น
 สภาพว่าง ฯ

๓. ไวพจน์แห่งวิราคะว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง ความเมาในที่นี้ หมายถึงความเมาในอะไร ?
        ตอบ :
หมายถึง ความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น ความถึงพร้อมแห่งชาติ สกุล อิสริยะ และบริวาร หรือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือความเยาว์วัย ความหาโรคมิได้ และชีวิต ฯ

๔. จงสงเคราะห์มรรคมีองค์ ๘ เข้าในวิสุทธิ ๗ มาดู ฯ
        ตอบ :
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลวิสุทธิ
 สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ
 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ฯ

๕. ในสมถกรรมฐาน ๔๐ ประการ มีนิมิตและภาวนากี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มีนิมิต ๓ คือ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต และมีภาวนา ๓ คือ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา ฯ

๖. ผู้เจริญเมตตาเป็นประจำย่อมได้รับอานิสงส์อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
ได้รับอานิสงส์อย่างนี้
 ๑. หลับอยู่ก็เป็นสุข
 ๒. ตื่นอยู่ก็เป็นสุข
 ๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก
 ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
 ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
 ๖. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
 ๗. ไฟไม่ไหม้ พิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายไม่อาจประทุษร้าย
 ๘. จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลัน
 ๙. ผิวพรรณย่อมผ่องใสงดงาม
 ๑๐. ไม่หลงทำกาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได้สติ
 ๑๑. เมื่อตายแล้วแม้เกิดอีก ก็ย่อมเกิดในที่ดีเป็นที่เสวยสุข ถ้าไม่เสื่อมจากฌาน ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ

๗. สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง ? การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อไหน ?
        ตอบ :
คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ
 จัดเข้าใน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ

๘. พระพุทธองค์ทรงแสดงคิริมานนทสูตรที่ไหน ? แก่ใคร ? ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
        ตอบ :
ที่พระเชตวัน เมืองสาวัตถี ฯ แก่พระอานนท์ ฯ
 ว่าด้วยสัญญา ๑๐ ฯ

๙. ท่านว่าผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาปัญญา พึงรู้ฐานะ ๖ ก่อน ฐานะ ๖ นั้น มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มี
 ๑. อนิจจะ ของไม่เที่ยง
 ๒. อนิจจลักขณะ เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
 ๓. ทุกขะ ของสัตว์ทนได้ยาก
 ๔. ทุกขลักขณะ เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์
 ๕. อนัตตา สิ่งสภาพไม่ใช่ตัวตน
 ๖. อนัตตลักขณะ เครื่องหมายที่จะกำหนดรู้ว่าเป็นอนัตตา ฯ

๑๐. บรรดาอาการ ๓๒ ประการนั้น ส่วนที่เป็นอาโปธาตุมีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มีดี เสมหะ น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗


 ๑. การสำรวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในหนังสือธรรมวิจารณ์ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
        ตอบ :
แนะนำวิธีปฏิบัติไว้ ๓ ประการ คือ
 ๑. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสถูกต้อง
 โผฏฐัพพะอันน่าปรารถนา
 ๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติ หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณัสสติ
 ๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ

๒. สภาวทุกข์ สันตาปทุกข์ ได้แก่อะไร ?
        ตอบ :
สภาวทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ประจ าสังขาร คือชาติ ชรา มรณะ
 สันตาปทุกข์ ได้แก่ ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟคือกิเลสเผา ฯ

๓. พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ” กับที่ตรัสกะโมฆราชว่า “โมฆราช ท่านจงมีสติทุกเมื่อ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ” ทรงมีพระประสงค์ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
พระพุทธดำรัสแรก ทรงมีพระประสงค์จะทรงปลุกใจให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้น ๆ อันคุมเข้าเป็นโลก
 พระพุทธดำรัสหลัง ทรงมีพระประสงค์ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่าเป็นอัตตา ฯ

๔. วิสุทธิ ๗ แต่ละอย่าง ๆ จัดเข้าในไตรสิกขาได้อย่างไร ?
        ตอบ :
สีลวิสุทธิ จัดเข้าในสีลสิกขา
 จิตตวิสุทธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา
 ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ จัดเข้าในปัญญาสิกขา ฯ

๕. คำว่า อุปาทิ ในคำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงอะไร ?
        ตอบ :
หมายถึงขันธ์ ๕ (ขันธปัญจก) ฯ

๖. อบาย คืออะไร ? ในอรรถกถาแจกไว้เป็น ๔ อย่าง อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ฯ
 มีนิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสยะ อสุรกาย ฯ

๗. ปฐมฌาณ ประกอบด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
ด้วยองค์ ๕ ฯ
 คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฯ

๘. สมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ต่างกันอย่างไร ? หัวใจสมถกัมมัฏฐานมีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
สมถกัมมัฏฐาน คือ กัมมัฏฐานเป็นอุบายเครื่องสงบใจ
 วิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ กัมมัฏฐานเป็นอุบายเครื่องเรืองปัญญา ฯ
 มีกายาคตาสติ เมตตา พุทธานุสสติ กสิณ และจตุธาตุววัตถาน ฯ

๙. ปัจจุบันมีการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานกันมาก อยากทราบว่า อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออะไร ?
        ตอบ :
คือสังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ (หรือธรรมในวิปัสสนาภูมิ คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น) ฯ
๑๐. พระคิริมานนท์หายจากอาพาธเพราะฟังธรรมจากใคร ? ธรรมนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร ?
        ตอบ :
จากพระอานนท์ ฯ
 ว่าด้วยเรื่องสัญญา ๑๐ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖


 ๑. นิพัทธทุกข์ กับ สหคตทุกข์ ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
 ส่วนสหคตทุกข์ คือ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์ก ากับกัน ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล ฯ

๒. ความเป็นอนัตตาของสังขารพึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
        ตอบ :
 
๑. ด้วยไม่อยู่ในอ านาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา
 ๒. ด้วยแย้งต่ออัตตา
 ๓. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
 ๔. ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่างหรือหายไป ฯ

๓. คำว่า วฏฺฏ ในคำว่า “วฏฺฏูปจฺเฉโท” หมายถึงอะไร ? วฏฺฏ นั้นชื่อว่าขาดสายด้วยอาการอย่างไร ?
        ตอบ :
หมายถึง ความเวียนเกิด ด้วยอ านาจกิเลส กรรม วิบาก ฯ
 วฏฺฏ นั้นชื่อว่าขาดสายด้วยอาการที่ละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย ฯ

๔. ความเชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้าง ท าการอ้อนวอนและบวงสรวงเป็นอาทิ จัดเข้าในอาสวะข้อไหน ?
        ตอบ :
จัดเข้าใน อวิชชาสวะ ฯ

๕. พระบาลีว่า “ นิกฺขิปิตฺวา คร ภาร อญฺํ ภาร อนาทิย ปลงภาระอันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น” ถามว่า “ภาระ” “การไม่ถือเอาภาระ” “การปลงภาระ” ได้แก่อะไร ?
        ตอบ :
ภาระ ได้แก่เบญจขันธ์ ฯ
 การไม่ถือเอาภาระ ได้แก่การไม่ถือเอาเบญจขันธ์ด้วยอุปาทาน ฯ
 การปลงภาระ ได้แก่การถอนอุปาทานในเบญจขันธ์ ฯ

๖. คุณของพระธรรมส่วนปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ โดยย่อว่าอย่างไร ? จงอธิบาย
        ตอบ :
คุณของปริยัติธรรม คือ ให้รู้วิธีบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา
 คุณของปฏิบัติธรรม คือทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์จนบรรลุมรรคผล นิพพาน
 คุณของปฏิเวธธรรม คือละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน บรรลุถึงความสุขอย่างยิ่ง ฯ

๗. ในอรกสูตรกล่าวไว้ว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อนาบไฟ มีอธิบายอย่างไร ? และที่กล่าวไว้เช่นนั้นเพื่อประโยชน์อะไร ?
        ตอบ :
มีอธิบายว่า ธรรมดาว่าชิ้นเนื้อที่บุคคลเอาลงในกระทะเหล็กอันร้อนตลอดวันยังค่าย่อมจะพลันไหม้ ไม่ตั้งอยู่นานฉันใด ชีวิตก็ถูกเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์เผาผลาญให้เหี้ยมเกรียมไม่ทนอยู่นานฉันนั้น ฯ
 มีประโยชน์ คือเป็นเครื่องเตือนใจให้รู้สึกด้วยปัญญา ทำให้ไม่ประมาทในชีวิต เร่งสั่งสมความดี ฯ

๘. วิปลาส คืออะไร ? จำแนกโดยวัตถุเป็นที่ตั้งมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง ฯ
 มี ๔ อย่าง คือ
 ๑. ความสำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
 ๒. ความสำคัญคิดเห็นในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
 ๓. ความสำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
 ๔. ความสำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ฯ

๙. ในนวสีวถิกาปัพพะ เมื่อเห็นซากศพชนิดใดชนิดหนึ่งใน ๙ ชนิดนั้นพึงภาวนาอย่างไร ?
        ตอบ :
พึงภาวนาโดยการน้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า อยมฺปิ โข กาโย ถึงร่างกายอันนี้เล่า เอว ธมฺโม ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา เอว ภาวี จักเป็นอย่างนี้ เอว อนตีโต ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ฯ

๑๐. ข้อว่า อนัตตสัญญา ในคิริมานนทสูตร ทรงให้พิจารณาอะไรว่าเป็นอนัตตา ?
        ตอบ :
ทรงให้พิจารณาอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่าเป็นอนัตตา ฯ 


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕


 ๑. พระพุทธดำรัสตอนหนึ่งว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ” ดังนี้ โดยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร ?
        ตอบ :
มีพระพุทธประสงค์เพื่อทรงชักชวนแนะนำให้ดูถึงโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของโลก เช่นเดียวกับดูละคร มิให้หลงชมความสวยงามต่างๆ แต่ให้เพ่งดูคติที่ดีและชั่ว มิให้เมามัวไปตามสิ่งนั้น ดังตรัสต่อไปอีกว่า เป็นที่คนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องติดไม่ ฯ

๒. ความอยากที่เข้าลักษณะเป็นตัณหาและไม่เป็นตัณหานั้น ได้แก่ความอยากเช่นไร เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
ความอยากที่เข้าลักษณะทำให้เกิดในภพอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ อย่างนี้จัดเป็นตัณหา เพราะเป็นทุกขสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ส่วนความอยากที่มีอยู่โดยปกติธรรมดาของคนทุกคน แม้กระทั่งพระอริยเจ้า เช่นความอยากข้าวอยากน้ำเป็นต้น ไม่จัดว่าเป็นตัณหา เพราะเป็นความอยากที่เป็นไปตามธรรมดาของสังขาร ฯ

๓. การกำหนดรู้ความเป็นอนัตตาแห่งสังขารด้วยความเป็นสภาพสูญนั้น คือรู้อย่างไร ?
        ตอบ :
คือ รู้จักพิจารณากำหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อยๆ จากฆนคือก้อนจนเห็นเป็นความว่าง ถอนฆนสัญญาความสำคัญหมายว่าเป็นก้อน อันได้แก่ความถือเอาโดยนิมิต ว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผู้นี้ เสียได้ ฯ

๔. วิราคะในพระบาลีว่า “วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย” และในพระบาลีว่า “วิราคา วิมุจฺจติ เพราะสิ้นกำหนัดย่อมหลุดพ้น” ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
วิราคะในพระบาลีแรกเป็นไวพจน์ คือคำแทนชื่อพระนิพพาน วิราคะในพระบาลีหลังเป็นชื่อของพระอริยมรรค ฯ

๕. บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า “โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข” แปลว่า ผู้เพ่งความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย ดังนี้ คำว่า อามิสในโลกหมายถึงอะไร ที่เรียกอย่างนั้นเพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
หมายถึง เบญจพิธกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
 ที่เรียกอย่างนั้น เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่ฉะนั้น ฯ

๖. กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้บรรพชาอุปสมบทว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา นั้น จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อใด ให้พิจารณาอย่างไร ?
        ตอบ :
จัดเข้าในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาน้อมใจให้เห็นเป็นของน่าเกลียดปฏิกูล ทั้งในกายตน ทั้งในกายผู้อื่น ฯ

๗. กายคตาสติกัมมัฏฐานกับอสุภกัมมัฏฐานมีอารมณ์ต่างกันอย่างไร แก้นิวรณ์ข้อใดได้ ?
        ตอบ :
กายคตาสติกัมมัฏฐาน มีอาการ ๓๒ ในร่างกายเป็นอารมณ์, อสุภกัมมัฏฐาน มีซากศพเป็นอารมณ์, แก้กามฉันทนิวรณ์ ฯ

๘. จงแสดงพระพุทธคุณ ๙ โดยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ พอได้ใจความ ?
        ตอบ :
พระพุทธคุณ คือ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู เป็นพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติ
 พระพุทธคุณ คือ อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นพระพุทธคุณส่วนปรหิตปฏิบัติ
 พระพุทธคุณ คือ พุทฺโธ ภควา เป็นพระพุทธคุณทั้งอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ฯ

๙. ปัญญารู้เห็นอย่างไร ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา ?
        ตอบ :
ปัญญาอันเห็นตามที่เป็นจริง คือกำหนดรู้สังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ โดยความเป็นทุกข์ ๑ โดยความเป็นอนัตตา ๑ ถอนความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฐิเสียได้ ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา ฯ

๑๐. ในสัญญา ๑๐ ข้อที่ ๕ ว่าปหานสัญญา ความสำคัญหรือความใส่ใจในการละ ขอทราบว่าทรงสอนให้ละอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
ทรงสอนให้ละ
 ๑. กามวิตก
 ๒. พยาบาทวิตก
 ๓. วิหิงสาวิตก
 ๔. ธรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศล
 ทั้ง ๔ นี้ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีก ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔


๑. สัทธรรมปฏิรูป คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร ?
        ตอบ :
คือ สัทธรรมชนิดที่ปลอมหรือเทียม ไม่ใช่สัทธรรมแท้
 เกิดขึ้นจากความเห็นผิด หรือเข้าใจผิดของผู้เรียบเรียง เมื่อเรียบเรียงไปแม้ผิด ก็หารู้ไม่ ด้วยเข้าใจว่าของตนถูก แล้วได้นำมาปนไว้ในสัทธรรมที่แท้ ฯ

๒. บทอุทเทสว่า เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ซึ่งแปลว่า สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ พระศาสดาตรัสชวนให้มาดูโลก โดยมีพระประสงค์อย่างไร ?
        ตอบ :
ทรงมีพระประสงค์จะทรงปลุกใจพวกเราให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์ มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้นๆ อันคุมเข้าเป็นโลก จะได้ไม่ตื่นเต้นไม่ติดในสิ่งนั้นๆ รู้จักละสิ่งที่เป็นโทษ ไม่ข้องติดอยู่ใน สิ่งที่เป็นคุณ ฯ

๓. ทุกข์ประจำสังขารกับทุกข์จร ต่างกันอย่างไร ?
        ตอบ :
ทุกข์ประจำสังขาร เป็นทุกข์ที่ต้องมีแก่คนทุกคน ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงพ้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ส่วนทุกข์จรเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ประจวบด้วยคนหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาไม่ได้สมหวัง ฯ

๔. ในวิมุตติ ๕ วิมุตติใดจัดเข้าในอริยมรรค อริยผล นิพพาน ?
        ตอบ :
สมุจเฉทวิมุตติ จัดเข้าใน อริยมรรค ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ จัดเข้าในอริยผล นิสสรณวิมุตติจัดเข้าในนิพพาน ฯ

๕. จงจัดมรรค ๘ เข้าในวิสุทธิ ๗ มาดู ?
        ตอบ :
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลวิสุทธิ
 สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ
 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในทิฏฐิวิสุทธิ
 กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ฯ

๖. พระศาสดาทรงสอนภิกษุโดยยกเอาเรือมาเป็นอุปมาว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรืออันเธอวิดแล้วจักพลันถึง มีอธิบายโดยย่อว่าอย่างไร ?
        ตอบ :
มีอธิบายโดยย่อว่า เรือ หมายถึงอัตภาพ วิดเรือ คือวิดน้ำที่รั่วเข้าในเรือ ซึ่งหมายถึงการบรรเทากิเลสและบาปธรรม ที่ไหลเข้ามาท่วมทับจิตใจให้บางเบาจนขจัดได้ขาด เมื่ออัตภาพนี้เบาก็จักปฏิบัติเพื่อไปสู่พระนิพพานได้เร็ว ฯ

๗. กัมมัฏฐานต่อไปนี้ คือ กสิณ จตุธาตุววัตถานะ พุทธานุสสติ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกนิวรณ์ข้อใดครอบงำ ?
        ตอบ :
กสิณเป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ จตุธาตุววัตถานะ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกวิจิกิจฉาครอบงำ พุทธานุสสติ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกถีนมิทธะครอบงำ ฯ

๘. ในอรกสูตร กล่าวไว้ว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร และที่กล่าวไว้เช่นนั้น มีประโยชน์อย่างไร ?
        ตอบ :
มีอธิบายว่า ธรรมดาหยาดน้ำค้างที่จับอยู่ตามยอดหญ้า เมื่อถูกแสงอาทิตย์ในเวลาเช้า ก็พลันจะเหือดแห้งหายไป ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น มีความเกิดแล้วก็มีความแก่ ความเจ็บ ความตายคอยเบียดเบียน ทำให้ดำรงอยู่ได้ไม่นาน ไม่ถึงร้อยปีก็จะหมดไป เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้รู้สึกด้วยปัญญา ทำให้ไม่ประมาทในชีวิต เร่งสั่งสมความดี ฯ

๙. ในอนัตตลักขณสูตร พระศาสดาทรงยกธรรมอะไรขึ้นแสดงว่าเป็นอนัตตา และในตอนท้ายของพระสูตรทรงแสดงอานิสงส์แห่งวิปัสสนาว่าอย่างไร ?
        ตอบ :
ทรงยก ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขึ้นแสดง ทรงแสดงไว้ว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมฟอกจิตให้หมดจด เพราะการฟอกจิตให้หมดจดได้ จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตพ้นพิเศษแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า พ้นแล้ว และเธอรู้ประจักษ์ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือกิจพระ-ศาสนาได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเช่นนี้ ไม่มีอีก ฯ

๑๐. ในคิริมานนทสูตร ข้อว่า ปหานสัญญา พระศาสดาทรงสอนให้ละอะไร ?
        ตอบ :
ทรงสอนให้ละ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓


 ๑. อุทเทสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” จงวิจารณ์ว่าตอนไหนแสดงปรมัตถปฏิปทา ตอนไหนแสดงปรมัตถ์ ตอนไหนแสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
ตอนที่ว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจ ราชรถ” แสดงปรมัตถปฏิปทา เพราะประสงค์ให้ดูเพื่อนิพพิทาเป็นต้น
 ตอนที่ว่า “แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” แสดงปรมัตถ์ เพราะแสดงถึงความรู้ที่เป็นเหตุให้พ้นจากความข้องอยู่ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม อันจะพึงได้ด้วยการปฏิบัติในปรมัตถปฏิปทาโดยลำดับ
 ตอนที่ว่า “ที่พวกคนเขลาหมกอยู่” แสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะต้องวนเวียนท่องเที่ยวไปด้วยความเขลา ฯ

๒. ข้อว่า ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดังนี้ คำว่า มาร และบ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร เพราะเหตุไรจึงชื่ออย่างนั้น ?
        ตอบ :
มาร ได้แก่ กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ให้รักให้อยากได้ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน บ่วงแห่งมาร ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติด ฯ

๓. ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้น กำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่หมวด วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์เช่นไร ?
        ตอบ :
๑๐ หมวด ได้แก่ วิปฏิสาร คือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์ คือ ถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความ
 ตกอบาย ฯ

๔. คำว่า สุคติ ในพระบาลีว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐฺ สุคติ ปาฏิกงฺขา คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี มี เทวะ ๑ มนุษย์ ๑ หรือ สุคติ ๑ โลกสวรรค์ ๑ ฯ

๕. วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้น ตัวหลุดพ้นคืออะไร หลุดพ้นจากอะไร ตัวรู้ว่าหลุดพ้นคืออะไร จงอ้างหลักฐานประกอบด้วย ?
        ตอบ :
ตัวหลุดพ้นคือจิต หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ตามพระบาลีว่า กามาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ ภวาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ อวิชฺชาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยกาม จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยภพ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยอวิชชา ญาณเป็นตัวรู้ ตามพระบาลีว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญฺาณํโหติ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ฯ

๖. สันติ ความสงบ เป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ จงตอบโดยอ้างพระบาลีมาประกอบ ?
        ตอบ :
เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ที่เป็นโลกิยะได้ในบาลีว่า น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส บุคคลย่อมถึงความสงบแห่งจิต ด้วยร้องไห้ ด้วยเศร้าโศกก็หาไม่ ที่เป็นโลกุตตระได้ในบาลีว่าโลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข ผู้เพ่งสันติพึงละโลกามิสเสีย ฯ

๗. นิวรณ์ คืออะไร เมื่อจิตถูกนิวรณ์นั้นๆ ครอบงำ ควรใช้กัมมัฏฐานบทใดเป็นเครื่องแก้ ?
        ตอบ :
คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
 กามฉันท์ ใช้อสุภกัมมัฏฐาน หรือกายคตาสติ เป็นเครื่องแก้ พยาบาท ใช้เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหาร ๓ ข้อต้นเป็นเครื่องแก้ ถีนมิทธะ ใช้อนุสสติกัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้ อุทธัจจกุกกุจจะ ใช้กสิณหรือมรณัสสติเป็นเครื่องแก้ วิจิกิจฉา ใช้ธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้ ฯ

๘. จตุธาตุววัตถานกัมมัฏฐาน คืออะไร ผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้จะพึงกำหนดพิจารณาอย่างไร ?
        ตอบ :
คือ ความกำหนดหมายซึ่งธาตุ ๔ โดยสภาวะความเป็นเองของธาตุ พึงกำหนดพิจารณาทั้งกายตนเองและกายผู้อื่นให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ และพึงกำหนดให้รู้จักธาตุภายในภายนอกให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุไปหมดทั้งโลก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ฯ

๙. ปัญหาว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญจะหมดไปได้ เมื่อเจริญวิปัสสนาได้ชั้นไหนแล้ว เพราะได้พิจารณาเห็นอย่างไร ?
        ตอบ :
ชั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ เพราะได้พิจารณากำหนดรู้จริงเห็นจริงซึ่งนามรูปทั้งเหตุทั้งปัจจัย ข้ามล่วงกังขาในกาลทั้ง ๓ เสียได้ ไม่สงสัยว่าเราจุติมาจากไหน เราเป็นอะไร เราจะไปเกิดที่ไหน เป็นต้น ฯ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัญญา ๑๐ กะใคร อนิจจ-สัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้พิจารณาธรรมอะไร ?
        ตอบ :
พระอานนทเถระ พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒


 ๑. ในพหุลานุสาสนีที่สวดในเวลาทำวัตรเช้า ไม่มีทุกขลักษณะพระไตรลักษณ์ ไม่ขาดไปข้อหนึ่งหรืออย่างไร ? จงอธิบาย
         ตอบ :
ไม่ขาด เพราะลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นธรรมธาตุ ธรรม-นิยาม ธรรมฐิติ ความตั้งอยู่แห่งธรรมที่คงอยู่มิได้ยักย้าย อีกประการหนึ่ง บาลีว่า ยทนิจฺจํ สิ่งใดไม่เที่ยง ตํ ทุกฺขํ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ยํ ทุกฺขํ สิ่งใดเป็นทุกข์ ตทนตฺตา สิ่งนั้นเป็นอนัตตา มิใช่ตัวมิใช่ตน เพราะเหตุนั้น พหุลานุสาสนีจึงได้ครบลักษณะทั้ง ๓ ฯ

๒. ทุกขขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด หมายเอาอะไร มีหลักฐานอ้างอิงในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่าอย่างไร ?
        ตอบ :
หมายเอา สังขารคือประชุมปัญจขันธ์
 มีหลักฐานอ้างอิงว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ

๓. การพิจารณาเห็นสังขารเป็นอนัตตา โดยมีโยนิโสมนสิการกำกับ จะไม่กลายเป็นนัตถิกทิฏฐิ เพราะกำหนดรู้ถึงธรรม ๒ ประการ ธรรมทั้ง ๒ นี้ได้แก่อะไร ?
        ตอบ :
ได้แก่ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ และปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ ฯ

๔. ลัทธิบางอย่างมีหลักการว่า ทำบาปแล้วบริสุทธิ์หมดจดได้ด้วยการอาบน้ำ ด้วยการบวงสรวง ด้วยการสวดอ้อนวอน เป็นต้น ในฝ่ายพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องนี้ว่าอย่างไร ? จงอ้างหลักฐาน
        ตอบ :
พระพุทธศาสนามีหลักว่า บุคคลทำบาปเองย่อมเศร้า-หมองเอง ไม่ทำบาปเองย่อมบริสุทธิ์หมดจดเอง ความหมดจดและความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตัว ผู้อื่นทำผู้อื่นให้หมดจดหรือเศร้าหมองไม่ได้ ความบริสุทธิ์ภายในย่อมมีด้วยปัญญา
 มีพระบาลีแสดงไว้ว่า ปญฺญฺาย ปริสุชฺฌติ บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา และว่า
 อตฺตนา ว กตํ ปาปํ     อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
 อตฺตนา อกตํ ปาปํ     อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
 สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ    นาญฺโญฺ อญฺญฺํ วิโสธเย
 แปลว่า ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง
 ย่อมหมดจดเอง ความหมดจดและความเศร้าหมอง
 เป็นของเฉพาะตน คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ ฯ

๕. ข้อความว่า ปลงภาระอันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร ?
        ตอบ :
อธิบายว่า ภาระ หมายเอาเบญจขันธ์ การปลงภาระหมายเอาการถอนอุปาทาน การไม่ถือเอาภาระอื่น หมายเอาการไม่ถือเบญจขันธ์อื่นด้วยอุปาทาน ฯ

๖. สัตว์โลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร มีพระบาลีแสดงไว้อย่างไร ?
        ตอบ :
มีคติเป็น ๒ คือ สุคติ และทุคติ
 มีพระบาลีแสดงไว้ว่า
 จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐฺ สุคติ ปาฏิกงฺขา
 เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
 จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐฺ ทุคติ ปาฏิกงฺขา
 เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฯ

๗. พระโยคาวจรสำเร็จปฐมฌานแล้วควรกระทำให้ชำนาญด้วยวสีทั้ง ๕ ก่อนที่จะเจริญทุติยฌานต่อไป เพราะเหตุใด ?
        ตอบ :
เพราะถ้าไม่ชำนาญในปฐมฌานแล้ว เมื่อเจริญทุติย-ฌานต่อขึ้นไป ก็จะเสื่อมจากปฐมฌานและทุติยฌานทั้ง ๒ ฝ่าย ฯ

๘. อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ในพระสูตรนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์แห่งวิปัสสนาญาณไว้อย่างไร ?
        ตอบ :
ว่าด้วย ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
 อานิสงส์แห่งวิปัสสนาญาณนั้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตฺวา อริยสาวโก เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมฟอกจิตให้หมดจด เพราะการฟอกจิตให้หมดจดได้
 จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตพ้นพิเศษแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว และพระอริยสาวกนั้นรู้ประจักษ์ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือกิจพระศาสนาได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก ฯ

๙. สติปัฏฐาน ๔ อันผู้ปฏิบัติธรรมอบรมให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นเพื่ออานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ ๑. เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
 ๒. เพื่อความข้ามพ้นโสกะปริเทวะทั้งหลาย
 ๓. เพื่อความดับสูญแห่งทุกขโทมนัส
 ๔. เพื่อความบรรลุธรรมที่ควรรู้
 ๕. เพื่อความทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ฯ

๑๐. ในสัญญา ๑๐ ทรงแสดงถึงการพิจารณาพระนิพพานว่าเป็นธรรมที่สำรอกกิเลส และว่าเป็นธรรมที่ดับสนิท จัดเป็นสัญญาข้อไหนบ้าง ?
        ตอบ :
พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมที่สำรอกกิเลส จัดเป็นวิราคสัญญา พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมที่ดับสนิท จัดเป็นนิโรธสัญญา ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑


 ๑. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
        ตอบ :
ด้วยอาการดังนี้ คือ
 ๑. ไม่อยู่ในอำนาจ หรือฝืนความปรารถนา
 ๒. แย้งต่ออัตตา
 ๓. ความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
 ๔. ความเป็นสภาพสูญ ฯ

๒. พระบาลีว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?
        ตอบ :
เรือ หมายถึง อัตภาพร่างกาย
 วิด หมายถึง บรรเทากิเลสและบาปธรรมเสียให้บางเบา จนขจัดได้ขาด ฯ

๓. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญฺาณํ โหติ แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้วย่อมมี ใครเป็นผู้หลุดพ้น และหลุดพ้นจากอะไร ?
        ตอบ :
จิตเป็นผู้หลุดพ้น, พ้นจากอาสวะ ๓ ฯ

๔. สอุปาทิเสสนิพพานกับอนุปาทิเสสนิพพานต่างกันอย่างไร พระบาลีว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข จัดเป็นนิพพานชนิดใด ?
        ตอบ :
ต่างกัน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
 ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ
 เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ฯ

๕. นิพพิทา คืออะไร บุคคลผู้ไม่ประสบลาภยศสรรเสริญสุข จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้ จัดเป็นนิพพิทาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
        ตอบ :
คือ ความหน่ายในเบญจขันธ์หรือในทุกขขันธ์ด้วยปัญญา
 จัดเป็นนิพพิทาไม่ได้ เพราะความเบื่อหน่ายดังที่กล่าวนั้นเป็นความท้อแท้ มิใช่เป็นความหน่ายด้วยปัญญา ฯ

๖. ในส่วนสังสารวัฏ สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร จง อ้างบาลีประกอบ ?
        ตอบ :
มีคติเป็น ๒ คือ
 สุคติ มีบาลีว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐฺ สุคติ ปาฏิกงฺขา
 และทุคติ มีบาลีว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐฺ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ฯ

๗. ผู้จะเจริญวิปัสสนาภาวนา พึงศึกษาให้รู้จักธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
ธรรม ๓ ประการ คือ
 ๑. ธรรมเป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น (มีขันธ์ ๕ เป็นต้น)
 ๒. ธรรมเป็นรากเหง้า เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนานั้น (คือ สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ)
 ๓. ตัว คือ วิปัสสนานั้น (คือ วิสุทธิ ๕ ที่เหลือ) ฯ

๘. วิปัลลาส คืออะไร แบ่งตามจิตและเจตสิกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
คือ กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง
 แบ่งได้ ๓ ประเภท คือ
 ๑. สัญญาวิปัลลาส
 ๒. จิตตวิปัลลาส
 ๓. ทิฏฐิวิปัลลาส ฯ
๙. จริต คืออะไร เพราะเหตุใดจึงต้องเจริญกัมมัฏฐานให้เหมาะกับจริตของตน ?
        ตอบ :
คือความประพฤติเป็นปกติของบุคคล เพราะกัมมัฏฐานแต่ละอย่างก็เป็นที่สบายของคนแต่ละจริต ถ้าเจริญไม่เหมาะกับจริต กรรมฐานก็จะสำเร็จได้โดยยาก ฯ

๑๐. อารมณ์ของสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
มี กาย เวทนา จิต ธรรม
 พึงมี   ๑. อาตาปี      มีความเพียรเผากิเลส
 ๒. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ
 ๓. สติมา       มีสติ ฯ


นักธรรม ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรมวิจารณ์

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐


 ๑. สหคตทุกข์คือทุกข์เช่นไร มียศชื่อว่าเป็นทุกข์นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
        ตอบ :
คือ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับกัน ได้แก่ ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล
 มียศ คือ ได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้นๆ ต้องเป็นอยู่เติบกว่าคนสามัญ จำต้องมีทรัพย์มากเป็นกำลัง มักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลาไม่เป็นของตน เป็นที่เกาะของผู้อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยสุขทุกข์ด้วยเขา ฯ     

๒. ไวพจน์ แห่งวิราคะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
        ตอบ :
ได้แก่
 มทนิมฺมทโน แปลว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง
 ปิปาสวินโย แปลว่า ความนำเสียซึ่งความกระหาย
 อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย
 วฏฺฏูปจฺเฉโท แปลว่า ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
 ตณฺหกฺขโย แปลว่า ความสิ้นแห่งตัณหา
 วิราโค แปลว่า ความสิ้นกำหนัด
 นิโรโธ แปลว่า ความดับ
 นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้ ฯ

๓. วิมุตติเป็นโลกิยธรรมหรือโลกุตตรธรรม เป็นสาสวะหรือ อนาสวะ ?
        ตอบ :
ถ้าเพ่งถึงวิมุตติที่สืบเนื่องมาจากนิพพิทาและวิราคะแล้ว ก็เป็นโลกุตตระและอนาสวะอย่างเดียว ถ้าเพ่งถึงวิมุตติ ๕ วิมุตติเป็นโลกิยะก็มี เป็นสาสวะก็มี คือตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติเป็นโลกิยะ และเป็นสาสวะ วิมุตติอีก ๓ ที่เหลือ เป็นโลกุตตระ และเป็น
 อนาสวะ ฯ    

๔. ในบรรดาสังขตธรรมนั้น อะไรเป็นยอด เพราะเหตุไร ?
        ตอบ :
อัฏฐังคิกมรรคเป็นยอด เพราะองค์ ๘ แต่ละองค์ๆ ของอัฏฐังคิกมรรคก็เป็นธรรมดีๆ รวมกันเข้าทั้ง ๘ ย่อมเป็นธรรมดียิ่งนัก และเป็นทางเดียวที่นำไปถึงความดับทุกข์ หรือถึงความหมดจดแห่งทัสสนะ ฯ

๕. บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า ผู้เพ่งความสงบพึงละอามิส ในโลกเสีย ความสงบได้แก่อะไร อามิสได้แก่อะไร เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอามิส ?
        ตอบ :
ความสงบ ได้แก่ ความเรียบร้อยทางกายทางวาจาและทางใจ
 อามิส ได้แก่ ปัญจพิธกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าชอบใจ
 เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ฯ

๖. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชักนำให้บำเพ็ญสมาธิ หัวใจสมถกัมมัฏฐานมีอะไรบ้าง ?
        ตอบ :
เพราะใจที่อบรมดีแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่ เป็นกำลังสำคัญในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุผลอันสุขุมลุ่มลึก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามเป็นจริง
 มี กายคตาสติ เมตตา พุทธานุสสติ กสิณ จตุธาตุววัตถานะ ฯ

๗. จงจัด นวรหคุณ แต่ละอย่างลงในพระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณ ?
        ตอบ :
บท อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู เป็นพระปัญญาคุณ
 บท อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นพระกรุณาคุณ
 บท พุทฺโธ ภควา เป็นพระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณทั้งสอง
 (สุคโต ในที่บางแห่งจัดเป็นทั้งพระปัญญาคุณ ทั้งพระกรุณาคุณ) ฯ

๘. อะไรเป็นลักษณะ เป็นกิจ และเป็นผลของวิปัสสนา ?
        ตอบ :
สภาพความเป็นเองของสังขาร คือ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จริงอย่างไร ความรู้ความเห็นว่าสังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แจ้งชัดจริงอย่างนั้น เป็นลักษณะของวิปัสสนา การกำจัดโมหะความมืดเสียให้สิ้นเชิง ไม่หลงในสังขารว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน เป็นของงาม เป็นกิจของวิปัสสนา
 ความรู้แจ้งเห็นจริงในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันสืบเนื่องมาจากการกำจัดโมหะความมืดเสียได้ สิ้นเชิง ไม่มีความรู้ผิดความเห็นผิด เป็นผลของวิปัสสนา ฯ

๙. ในอรกสูตร ทรงแสดงอุปมาชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายไว้อย่างไรบ้าง จงบอกมา ๓ ข้อ ที่ทรงแสดงไว้เช่นนั้นเพื่ออะไร ?
        ตอบ :
ทรงแสดงไว้ดังนี้ คือ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
 ๑. เหมือนหยาดน้ำค้าง
 ๒. เหมือนต่อมน้ำ
 ๓. เหมือนรอยไม้ขีดลงในน้ำ
 ๔. เหมือนลำธารอันไหลมาจากภูเขา
 ๕. เหมือนก้อนเขฬะ
 ๖. เหมือนชิ้นเนื้อนาบไฟ
 ๗. เหมือนโคที่เขาจะฆ่า
 ทรงแสดงไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ ให้เร่งรีบทำความดีให้ทันกับเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ฯ

๑๐. ตามมหาสติปัฏฐานสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน ถึงตลอด ๗ ปี พึงหวังผลอะไรได้บ้าง ?
        ตอบ :
พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผล ในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่อวิบากขันธ์ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้ายึดไว้ยังเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ