นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖
๑. สังฆกรรมมีีอะไรบ้าง ? สังฆกรรมอะไรที่่สงฆ์จตุวรรคทำไม่ได้?
ตอบ : มีี๑. อปโลกนกรรม๒. ญัตติิกรรม๓. ญัตติทุติิยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม ฯ
ปวารณา ให้้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน สงฆ์จตุวรรคทำไม่่ได้้ ฯ
๒. สีีมามีีกี่่ประเภท ? วิสุงคามสีีมา จัดเข้าในประเภทไหน ?
ตอบ : มีี ๒ ประเภท คือ พัทธสีีมา อพัทธสีมา ฯ
วิสุงคามสีีมา เมื่อสงฆ์ยังไม่ผูก จัดเป็นอพัทธสีีมา ครั้นสงฆ์ผูกแล้ว จัดเป็นพัทธสีีมา ฯ
๓. เจ้าอธิการตามพระวินัย หมายถึงใคร ? สงฆ์พึงสวดสมมติิเจ้าอธิิการด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
ตอบ : หมายถึง ภิกษุุผู้้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้้เป็นเจ้าหน้าที่่ทำการสงฆ์นั้น ๆ ฯ
พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ
๔. การอปโลกน์และการสวดกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทใด ? อย่างไหนต้องทำในสีีมา อย่างไหนทำนอกสีีมาก็็ได้้?
ตอบ : การอปโลกน์เพื่อให้้ผ้ากฐิน จัดเป็นอปโลกนกรรม
การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นญัตติทุติิยกรรม ฯ
การอปโลกน์เพื่อให้้ผ้ากฐิน ทำในสีีมาหรือนอกสีมาก็ได้
การสวดกรรมวาจาให้ผ้ากฐินต้องทำในสีมาเท่านั้น ฯ
๕. ในอุปสมบทกรรม อภัพพบุคคล หมายถึงใคร ? จำแนกโดยประเภทมีี อะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึงบุคคลที่่ทรงห้ามไม่่ให้้อุปสมบท ฯ
มีี ๓ คือ
๑. เพศบกพร่อง
๒. ประพฤติผิดพระธรรมวินัย
๓. ประพฤติผิดต่อกำเนิดของตน คือฆ่ามารดาบิดา ฯ
๖. ภิกษุุผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ อย่างไรชื่อว่าปรารถนาดีี อย่างไรชื่อว่าปรารถนาเลว ?
ตอบ : ผู้ก่อวิวาทเพราะเห็นแก่่พระธรรมวินัย (ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดีี
ผู้ก่อวิวาทด้วยทิฏฐิมานะ แม้้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ (ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ
๗. วุฏฐานวิธีหมายถึงอะไร ? ในการทำวุฏฐานวิธีแต่่ละอย่างนั้นต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อย ?
ตอบ : หมายถึง ระเบียบวิธีเป็นเครื่องออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ฯ
อัพภาน ต้องการสงฆ์ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย นอกนั้นต้องการตั้งแต่่ ๔ รูป ขึ้นไป ฯ
๘. นาสนา คืออะไร ? บุคคลเช่นไรที่ทรงอนุญาตให้้นาสนา ?
ตอบ : คือ การยังบุคคลผู้้ไม่่สมควรถือเพศภิกษุุและสามเณร ให้้สละเพศเสีย ฯ
บุคคลที่่ทรงอนุญาตให้้นาสนามี ๓ ประเภท คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุุแล้วยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ
๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่่สงฆ์
๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่นเป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์ เป็นต้น ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. จงให้้ความหมายของคำต่อไปนี้?
ก. ที่วัด
ข. ที่ธรณีีสงฆ์
ค. ที่กัลปนา
ตอบ :
ก. ที่วัด คือที่่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ข. ที่่ธรณีีสงฆ์ คือที่่ซึ่งเป็นสมบัติิของวัด
ค. ที่กัลปนาคือที่่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัด หรือพระศาสนา ฯ
๑๐. เจ้าอาวาส หมายถึงใคร ? ภิกษุผู้้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดที่ไม่่ใช่พระอารามหลวงต้องมีคุณสมบัติิโดยเฉพาะอะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
คุณสมบัติเฉพาะ คือ
๑. มีีพรรษาพ้น ๕
๒. เป็นผู้้ทรงเกียรติคุณเป็นที่่เคารพนับถือของคฤหัสถ์ และบรรพชิตในถิ่นนั้น
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕
๑. มูลเหตุที่ทำให้เกิดสังฆกรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ อย่าง ฯ คือ
มีภิกษุบริษัทเพิ่มจำนวนมากขึ้น
มีพุทธประสงค์เพื่อให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารหมู่คณะ ฯ
๒ .สังฆกรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาได้
ตอบ : ญัติกรรม ญัติทุติยกรรม และญัติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ส่วนอปโลกน-กรรม ทำนอกสีมาได้
๓. สีมามีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท ฯ คือ
๑. พัทธสีมาคือแดนที่ผูก หมายถึงเขตอันสงฆ์กำหนดเอาเอง
๒. อพัทธสีมาคือแดนที่ไม่ได้ผูก หมายถึงเขตอันเขากำหนดไว้โดยปกติของบ้านเมือง หรือเขตที่มีสัญญัติอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด ฯ
๔. ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไรบ้าง ?
ตอบ : ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณโภชน์ปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด ๔ เดือนฤดูเหมันต์ด้วย ฯ
๕. บรรพชาและอุปสมบท สำเร็จด้วยวิธีอะไร ?
ตอบ : บรรพชาสำเร็จด้วยวิธีให้บรรพชาเปกขะรับไตรสรณคมน์
อุปสมบทสำเร็จด้วยการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา ฯ
๖. อนุวาทาธิกรณ์คืออะไร ? หากไม่รีบระงับจะเกิดผลเสียอย่างไร ?
ตอบ : คือการโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ ฯ
หากไม่รีบระงับจะทำให้เสียสีลสามัญญตาและเสียสามัคคี เป็นทางแตกเป็นนานาสังวาส ฯ
๗. วุฏฐานวิธีหมายถึงอะไร ? ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น ต้องประชุมสงฆ์จำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อย ?
ตอบ : หมายถึง วิธีเป็นเครื่องออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ฯ
อัพภาน ต้องประชุมสงฆ์ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย นอกนั้นประชุมสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป ฯ
๘. กิจจาธิกรณ์และนิคคหะคืออะไร ?
ตอบ : กิจจาธิกรณ์คือกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์
นิคคหะคือการข่ม เป็นกิจอย่างหนึ่งแห่งผู้ปกครองหมู่ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์คืออะไร ?
ตอบ : คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ ฯ
๑๐. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่สถานที่เช่นไร ?
ตอบ : ที่วัด ได้แก่ที่ตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ที่ธรณีสงฆ์ได้แก่ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
ที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนาอันมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔
๑. ภิกษุผู้ปรารถนาความตั้งอยู่ยั่งยืนของพระธรรมวินัย ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ตอบ : ควรตั้งอยู่ในสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา และลัชชีธรรม สำรวมในพระปาติโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยโทษแม้เพียงเล็กน้อย สำเหนียกศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ฯ
๒. ญัตติและอนุสาวนา หมายถึงอะไร ? ญัตติมีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ : ญัตติ หมายถึง คำเผดียงสงฆ์
อนุสาวนา หมายถึง คำประกาศคำปรึกษาและข้อตกลงของสงฆ์ ฯ
มีใช้ใน ๓ สังฆกรรม คือ
๑. ญัตติกรรม
๒. ญัตติทุติยกรรม
๓. ญัตติจตุตถกรรม ฯ
๓. สีมาคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบ : คือ เขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม ฯ
มีความสำคัญคือ พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์สามัคคีกันทำสังฆกรรมภายในสีมา ถ้าไม่มีสีมาก็ไม่มีเขตประชุม ฯ
๔. เจ้าอธิการที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์ ในพระวินัย
มี ๕ แผนก อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี
๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร
๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม
๕. เจ้าอธิการแห่งคลัง ฯ
๕. ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?
ตอบ : เช่นนี้ คือ
๑. ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ์ เช่นผ้าที่ขอยืมเขามา
๒. ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียงได้มาและ ผ้าเป็นนิสสัคคีย์
๓. ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ
๖. การบอกนิสสัย ๔ และอกรณียะ ๔ บอกในเวลาใด ? และใครเป็นผู้บอก ?
ตอบ : ท่านให้บอกในลำดับแห่งอุปสมบทแล้ว ห้ามไม่ให้บอกก่อนหน้าอุปสมบท ฯ
อุปัชฌายะบอกก็ได้กรรมวาจาจารย์ หรืออนุสาวนาจารย์บอกก็ได้ ฯ
๗. ภิกษุผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ อย่างไรชื่อว่าปรารถนาดี อย่างไร ชื่อว่าปรารถนาเลว ?
ตอบ : ผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์เพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ปราศจากโลภะโทสะโมหะ ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
ผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ด้วยทิฏฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ประกอบด้วยโลภะโทสะ โมหะ ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ
๘. วุฏฐานวิธี แปลว่าอะไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ตอบ : แปลว่าระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ฯ
ประกอบด้วยปริวาส มานัต ปฏิกัสสนา และอัพภาน ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่สถานที่เช่นไร ?
ตอบ : ที่วัด ได้แก่ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ที่ธรณีสงฆ์ ได้แก่ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดนอกจากที่ตั้งวัด
ที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมีใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
๑o. เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?
ตอบ : สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
เจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓
๑. มูลเหตุที่ทำให้เกิดสังฆกรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ อย่าง ฯ คือ
๑. มีภิกษุบริษัทเพิ่มจำนวนมากขึ้น
๒. มีพระพุทธประสงค์เพื่อให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารหมู่คณะฯ
๒. สงฆ์ผู้จะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร ในพระวินัยมีกำหนดจำนวนภิกษุไว้อย่างไร ? ถ้าไม่ครบตามจำนวนนั้น จัดเป็นวิบัติอะไร ?
ตอบ : มีกำหนดอย่างนี้ คือ ในมัธยมชนบท ๑๐ รูปเป็นอย่างต่ำ
ในปัจจันตชนบท ๕ รูป เป็นอย่างต่ำ ฯ จัดเป็นปริสวิบัติ ฯ
๓. สีมามีกี่ประเภท ? วิสุงคามสีมา จัดเข้าในประเภทไหน ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท คือ พัทธสีมา อพัทธสีมา ฯ วิสุงคามสีมา
เมื่อสงฆ์ยังไม่ผูกจัดเป็นอพัทธสีมาครั้นสงฆ์ผูกแล้วจัดเป็นพัทธสีมาฯ
๔. ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ตอบ : ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. เว้นอคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
๒. รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก
๓. รู้จักลำดับที่พึงแจก ฯ
๕. กรานกฐิน ได้แก่การทำอย่างไร ?
ตอบ : ได้แก่ เมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้เหมาะสม ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้น นำไปทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้นแล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนา ทั้งหมดนี้ คือ กรานกฐิน ฯ
๖.การบรรพชา และ การอุปสมบท สำเร็จด้วยวิธีอะไร ?
ตอบ : การบรรพชา สำเร็จด้วยวิธีให้บรรพชาเปกขะรับไตรสรณคมน์
การอุปสมบท สำเร็จด้วยการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาอันประกอบไปด้วยสมบัติทั้ง ๔ คือวัตถุสมบัติ ปริสสมบัติ กรรมวาจาสมบัติ สีมาสมบัติ แก่อุปสัมปทาเปกขะ ฯ
๗. สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มีองค์ ๔ คือ
๑. ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
๒. ในที่พร้อมหน้าธรรม
๓. ในที่พร้อมหน้าวินัย
๔. ในที่พร้อมหน้าบุคคล ฯ
๘. ภิกษุประพฤติผิดธรรมวินัยอย่างไร จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมได้ ?
ตอบ : ประพฤติผิดอย่างนี้ คือ ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ หรือไม่สละทิฏฐิบาป ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร ?
ตอบ : คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญฯ
๑๐. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตรา ๓๗ ระบุหน้าที่เจ้าอาวาสไว้กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : ระบุไว้ ๔ อย่าง คือ
๑. บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒
๑. สังฆกรรมมีอะไรบ้าง ? สังฆกรรมอะไรที่สงฆ์จตุวรรคทำไม่ได้ ?
ตอบ : มี
๑. อปโลกนกรรม
๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม
๔. ญัตติจตุตถกรรม ฯ
ปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน สงฆ์จตุวรรคทำไม่ได้ ฯ
๒. สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ? ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมาสวดปาฏิโมกข์ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน ?
ตอบ : สังฆกรรมย่อมวิบัติ(คือใช้ไม่ได้แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ) เพราะเหตุ ๔ อย่างคือเพราะวัตถุบ้างเพราะสีมาบ้างเพราะปริสะบ้าง เพราะกรรมวาจาบ้าง ฯ ชื่อว่าวิบัติเพราะปริสะ ฯ
๓. สีมาคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบ : คือ เขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม ฯ มีความสำคัญ เพื่อจะกำหนดรู้เขตประชุมแห่งสงฆ์
ที่ประชุมกันทำสังฆกรรมมีการให้อุปสมบทแก่กุลบุตร เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียง กันทำ ฯ
๔. เจ้าอธิการตามพระวินัยหมายถึงใคร ? สงฆ์พึงสวดสมมติเจ้าอธิการด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
ตอบ : หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้น ๆ ฯ พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ
๕. การอปโลกน์ และการสวดกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทใด ? อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?
ตอบ : การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นอปโลกนกรรม การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นญัตติทุติยกรรม ฯ การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน ทำในสีมาหรือนอกสีมาก็ได้ การสวดกรรมวาจาให้ผ้ากฐินต้องทำในสีมาเท่านั้น ฯ
๖. ในอุปสมบทกรรม อภัพพบุคคล หมายถึงใคร ? จำแนกโดยประเภทมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึงบุคคลที่ทรงห้ามไม่ให้อุปสมบท ฯ มี ๓ ประเภท ฯ คือ
๑. เพศบกพร่อง
๒. คนทำผิดต่อพระศาสนา
๓. ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง ฯ
๗. ภิกษุผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ อย่างไรชื่อว่าปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าปรารถนาเลว ?
ตอบ : ผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์เพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
ผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ด้วยทิฏฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ
๘. วุฏฐานวิธี แปลว่าอะไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ตอบ : แปลว่าระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ฯ ประกอบด้วยปริวาส มานัต ปฏิกัสสนา และอัพภาน ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. เจ้าอาวาส หมายถึงใคร ? ภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดที่ไม่ใช่พระอารามหลวง ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง ฯ คือ
๑. มีพรรษาพ้น ๕
๒. เป็นผู้ทรงเกียรติคุณเป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์และบรรพชิตในถิ่นนั้น ฯ
๑๐. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่สถานที่เช่นไร ?
ตอบ : ที่วัด ได้แก่ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ที่ธรณีสงฆ์ ได้แก่ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดนอกจากที่ตั้งวัด
ที่ศาสนสมบัติกลางได้แก่ที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑
๑. ญัตติและอนุสาวนา หมายถึงอะไร? ญัตติมีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ : ญัตติ หมายถึง คำเผดียงสงฆ์
อนุสาวนา หมายถึง การสวดประกาศคำปรึกษาและข้อตกลงของสงฆ์ ฯ มีใช้ใน ๓ สังฆกรรม คือ
๑. ญัตติกรรม
๒. ญัตติทุติยกรรม
๓. ญัตติจตุตถกรรม ฯ
๒. สีมาสังกระ คืออะไร ? สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?
ตอบ : คือ สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิม และสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ ฯ สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้ แต่ทำในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ
๓. ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นไร ?
ตอบ : ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. เว้นอคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
๒. รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก
๓. รู้จักลำดับที่พึงแจก ฯ
๔. การกรานกฐิน คืออะไร ? อธิบายพอเข้าใจ
ตอบ : คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝนพอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นนำไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้น แล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้น อนุโมทนา ทั้งหมดนี้ คือการกรานกฐิน ฯ
๕. ผู้จะเข้ามาอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ตอบ : ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
๑. เป็นชาย
๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี
๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่น ถูกตอน หรือเป็นกะเทยเป็นต้น
๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม
๕. ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งที่เป็นภิกษุ ฯ
๖. ลักษณะการปกปิดอาบัตินั้น พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้กี่ประการ ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : แสดงไว้ ๑๐ ประการ ฯ จัดเป็น ๕ คู่ คือ
๑. เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ
๒. เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ
๓. ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย
๔. อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่
๕. ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ
๗. กิจจาธิกรณ์และนิคคหะ คืออะไร ?
ตอบ : กิจจาธิกรณ์คือกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ต่างโดยเป็นอปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
นิคคหะ คือ การข่ม เป็นกิจอย่างหนึ่งแห่งผู้ปกครองหมู่ ฯ
๘. นาสนา คืออะไร ? บุคคลเช่นไรที่ทรงอนุญาตให้นาสนา ?
ตอบ : คือ การยังบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศภิกษุและสามเณรให้สละเพศเสีย ฯ บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้นาสนามี ๓ ประเภท คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้วยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ
๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์
๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์ เป็นต้น ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร ?
ตอบ : คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ ฯ
๑๐. เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?
ตอบ : สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ตามมติมหาเถรสมาคม เจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. สังฆกรรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?
ตอบ : ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมาได้ ฯ
๒. สีมา มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท ฯ คือ พัทธสีมา และ อพัทธสีมา ฯ
๓. พระทัพพมัลลบุตร มีความดำริอย่างไร ? พระศาสดาทรงทราบแล้ว ทรงสาธุการตรัสให้สงฆ์สมมติให้ท่านรับหน้าที่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ท่านดำริว่า ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ควรจะรับธุระของสงฆ์ จึงกราบทูลพระศาสดา ฯ ทรงสาธุการแล้วตรัสให้สงฆ์สมมติท่านให้เป็นภัตตุทเทสกะ และเสนาสนคาหาปกะ ฯ
๔. กฐิน มีชื่อมาจากอะไร ? ผ้าที่เป็นกฐินได้มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : มาจากชื่อไม้สะดึงที่ลาดหรือกางออกสำหรับขึงจีวรเพื่อเย็บฯ
มี๑. ผ้าใหม่
๒. ผ้าเทียมใหม่คือผ้าฟอกสะอาดแล้ว
๓. ผ้าเก่า
๔. ผ้าบังสุกุล
๕. ผ้าที่ตกตามร้านตลาดซึ่งเขานำมาถวายสงฆ์ ฯ
๕. อภัพพบุคคลในอุปสมบทกรรมได้แก่บุคคลเช่นไร ? โดยวัตถุมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : ได้แก่บุคคลที่ไม่สมควรแก่การอุปสมบท อุปสมบทไม่ขึ้น ถูกห้ามอุปสมบทตลอดชีวิต ฯ
โดยวัตถุมี ๓ คือ
๑. พวกที่มีเพศบกพร่อง ไม่รู้ว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง
๒. พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัย เช่น ฆ่าพระอรหันต์เป็นต้น
๓. พวกประพฤติผิดต่อผู้ให้กำเนิดของตน คือ ฆ่ามารดา บิดา ฯ
๖. อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร อันภิกษุจะพึงยกขึ้นพิจารณาตัดสินได้ ?
ตอบ : ต้องเป็นเรื่องมีมูล คือ
เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑
เรื่องที่ได้ยินเองหรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑
เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้น แต่รังเกียจโดยอาการ ๑ ฯ
๗. สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มีองค์ ๔ ฯ คือ
๑. ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
๒. ในที่พร้อมหน้าธรรม
๓. ในที่พร้อมหน้าวินัย
๔. ในที่พร้อมหน้าบุคคล ฯ
๘. วุฏฐานวิธีหมายถึงอะไร? ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น ต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อย ?
ตอบ : หมายถึง ระเบียบวิธีเป็นเครื่องออกจากอาบัติสังฆาทิเสสฯ
อัพภาน ต้องการสงฆ์ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย นอกนั้นต้องการตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด ?
ตอบ : พ้นเมื่อ
๑. มรณภาพ
๒. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๓. ลาออก
๔. สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
๕. อยู่ครบวาระ ๒ ปี ฯ
๑๐. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
ก. ที่วัด
ข. ที่ธรณีสงฆ์
ค. ที่กัลปนา
ตอบ : ก. ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ข. ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
ค. ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัด หรือพระศาสนา ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙
๑. มูลเหตุที่ทำให้เกิดสังฆกรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๒ อย่าง คือ
๑) มีภิกษุบริษัทเพิ่มจำนวนมากขึ้น
๒) มีพระพุทธประสงค์เพื่อให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารหมู่คณะ ฯ
๒. ญัตติและอนุสาวนา หมายถึงอะไร ? อนุสาวนามีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ : ญัตติ หมายถึง คำเผดียงสงฆ์
อนุสาวนา หมายถึง คำประกาศคำปรึกษาและข้อตกลงของสงฆ์ มีใช้ใน ๒ สังฆกรรม คือ
๑) ญัตติทุติยกรรม
๒) ญัตติจตุตถกรรม
๓. การทักนิมิตในทิศทั้ง ๘ นั้น ทักทิศละหนถูกต้องหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ? จงเขียนคำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาดู ?
ตอบ : ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องนั้น เมื่อเริ่มต้นทักนิมิตในทิศบูรพาแล้วทักมาโดยลำดับจนถึงนิมิตสุดท้ายแล้วต้องทักนิมิตในทิศบูรพาซ้ำอีก
คำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือว่าดังนี้ อุตฺตราย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ ฯ
๔. คำว่า “เจ้าอธิการ” ในพระวินัยหมายถึงใคร ? มีกี่แผนก ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์ มี ๕ แผนก คือ
๑) เจ้าอธิการแห่งจีวร
๒) เจ้าอธิการแห่งอาหาร
๓) เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
๔) เจ้าอธิการแห่งอาราม
๕) เจ้าอธิการแห่งคลัง
๕. กรานกฐิน ได้แก่การทำอย่างไร ? จงเขียนคำอนุโมทนากฐินมาดู ?
ตอบ : ได้แก่ เมื่อผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้เหมาะสม ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นนำไปทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้น แล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาทั้งหมด นี้คือกรานกฐิน
คำอนุโมทนากฐินว่า อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ ฯ
๖. การบอกนิสสัย ๔ และอกรณียกิจ ๔ บอกในเวลาใด ? และใครเป็นผู้บอก ?
ตอบ : ท่านให้บอกว่าลำดับแห่งอุปสมบทแล้ว ห้ามไม่ให้บอกว่าก่อนหน้าอุปสมบท อุปัชฌายะบอกก็ได้ กรรมวาจาจารย์หรืออนุสาวนาจารย์บอกก็ได้ ฯ
๗. อนุวาทาธิกรณ์ คืออะไรเมื่อเกิดขึ้นแล้วใครต้องขวนขวายเพื่อระงับ ? หากปล่อยไว้จะเกิดผลเสียอย่างไร ?
ตอบ : คือการโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ ภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์พึงขวนขวายรีบระงับ หากไม่รีบระงับจะทำให้เสียสีลสามัญญตาและเสียสามัคคี เป็นทางแตก เป็นนานาสังวาส
๘. ในทางพระวินัยการคว่ำบาตรหมายถึงอะไร ? และจะหงายบาตรได้เมื่อไร ?
ตอบ : หมายถึง การไม่ให้คบหาสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการคือ
๑) ไม่รับบิณฑบาตของเขา
๒) ไม่รับนิมนต์ของเขา
๓) ไม่รับไทยธรรมของเขา
เมื่อผู้ถูกคว่ำบาตรนั้นเลิกกล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นนั้น แล้วกลับประพฤติดี พึงหงายบาตรแก่เขาได้ ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. องค์การปกครองคณะสงฆ์สูงสุดเรียกว่าอะไร ? มีกำหนดองค์ประกอบไว้อย่างไรบ้าง ?
ตอบ : เรียกว่า มหาเถรสมาคม มีกำหนดองค์ประกอบไว้ดังนี้
สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ
๑๐. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก มีโทษอย่างไร ?
ตอบ : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘
๑. สังฆกรรมย่อมวิบัติโดยอะไรบ้าง ? สงฆ์ให้อุปสมบทแก่อภัพบุคคล เป็นสังฆกรรมวิบัติโดยอะไร ?
ตอบ : โดยวัตถุ สีมา ปริสะ และกรรมวาจา ฯ วิบัติโดยวัตถุ ฯ
๒. สีมา มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ประเภทไหนสมมติเป็นติจีวราวิปปวาสไม่ได้ ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท ฯ พัทธสีมา คือแดนที่ผูก หมายถึงเขตอันสงฆ์กำหนดเอง และอพัทธสีมา คือแดนที่ไม่ได้ผูก หมายถึงเขตอันเขากำหนดไว้โดยปกติของบ้านเมือง หรือเขตที่มีสัญญัติอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด ฯ ประเภทอพัทธสีมา ฯ
๓. ภิกษุผู้ควรได้รับเลือกให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์พึงประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ? และจะปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ตั้งแต่เมื่อไร ?
ตอบ : ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว
๕. เข้าใจการทำหน้าที่อย่างนั้น ฯ
ตั้งแต่สงฆ์สวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาให้เป็นเจ้าหน้าที่นั้น ฯ
๔. อานิสงส์กฐินจะสิ้นสุดลง เพราะเหตุอะไรบ้าง ?
ตอบ : เพราะปลิโพธ ๒ ประการ คือ อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาส และจีวรปลิโพธ ความกังวลในจีวรขาดลงและสิ้นสุดเขตจีวรกาลฯ
๕. อภัพบุคคลผู้กระทำผิดต่อพระศาสนา ถูกห้ามอุปสมบท มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๗ ประเภท คือ
๑. คนฆ่าพระอรหันต์
๒. คนทำร้ายภิกษุณี ได้แก่ผู้ข่มขืนภิกษุณีในอัชฌาจาร
๓. คนลักเพศ คือคนถือเพศเป็นภิกษุเอง
๔. ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. ภิกษุต้องปาราชิกละเพศไปแล้ว
๖. ภิกษุทำสังฆเภท
๗. คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ฯ
๖. การโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติ ทำด้วยกายก็ได้ ด้วยวาจาก็ได้ อยากทราบว่าการโจทด้วยกายนั้นทำอย่างไร ?
ตอบ : ทำโดยแสดงอาการไม่นับถือว่าเป็นภิกษุ มีการไม่อภิวาทเป็นต้น การเขียนหนังสือโจท ก็จัดว่าเป็นการโจทด้วยกาย ฯ
๗. อธิกรณ์อันสงฆ์วินิจฉัยแล้ว ฝ่ายไม่ชอบใจ จักอุทธรณ์ต่อสงฆ์อื่นให้วินิจฉัยใหม่ได้หรือไม่ ? จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ : ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ฯ ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งสัปปาณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี สงฆ์ก็ดี รู้อยู่ว่าอธิกรณ์นั้น สงฆ์หมู่นั้นวินิจฉัยเป็นธรรมแล้ว ฟื้นขึ้นเพื่อวินิจฉัยใหม่ ต้องอาบัติ ปาจิตตียะเป็นอันอุทธรณ์ไม่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นธรรม ฟื้นขึ้นไม่เป็นอาบัติ เป็นอันอุทธรณ์ได้ ฯ
๘. รัตติเฉท คืออะไร ? รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือการขาดราตรี ฯ มี ๔ อย่าง ฯ คือ
๑. สหวาโส อยู่ร่วม ๒. วิปฺปวาโส อยู่ปราศ
๓. อนาโรจนา ไม่บอก ๔. อูเน คเณจรณํ ประพฤติในคณะอันพร่องฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีกี่อย่าง ?
อะไรบ้าง ?
ตอบ : มี ๓ อย่าง ฯ คือ
๑. ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
๒. ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
๓. ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ฯ
๑๐. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตรา ๓๗ ระบุหน้าที่เจ้าอาวาสไว้กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ : ระบุไว้ ๔ อย่าง ฯ คือ
๑. บำรุงรักษาวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗
๑. ภิกษุผู้ปรารถนาความตั้งอยู่ยั่งยืนของพระธรรมวินัย ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ตอบ : ควรตั้งอยู่ในสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตาและลัชชีธรรม สำรวมในพระปาติโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจระเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สำเหนียกศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ฯ
๒. อุโบสถกรรม อุปสมบทกรรม อปโลกนกรรม อัพภานกรรม อุกเขปนียกรรม ใช้สงฆ์จำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อยจึงจะถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ ?
ตอบ : อุโบสถกรรมใช้สงฆ์ ๔ รูป,อุปสมบทกรรมในปัจจันตชนบท ใช้สงฆ์ ๕ รูป ในมัชฌิมชนบท ใช้สงฆ์ ๑๐ รูป, อปโลกนกรรม ใช้สงฆ์ ๔ รูป, อัพภานกรรม ใช้สงฆ์ ๒๐ รูป, อุกเขปนียกรรม ใช้สงฆ์ ๔ รูป ฯ
๓. จงอธิบายความหมายคำต่อไปนี้
ก. สัตตัพภันตรสีมา
ข. อุทกุกเขปสีมา
ตอบ : ก. สัตตัพภันตรสีมา ได้แก่สีมาในป่าหาคนตั้งบ้านเรือน มิได้กำหนดเขตแห่งสามัคคีในชั่ว ๗ อัพภันดรโดยรอบนับแต่ที่สุดแห่งแนวสงฆ์ออกไป (๗ อัพภันดร คือ ๔๙ วา)
ข. อุทกุกเขปสีมา ได้แก่สีมามีกำหนดเขตสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังเป็นปานกลาง ฯ
๔. ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไร ?
ตอบ : เช่นนี้ คือ
๑) ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ์ เช่นผ้าที่ขอยืมเขามา
๒) ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือทำนิมิตได้มาพูด
เลียบเคียงได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์
๓) ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ
๕. ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไรบ้าง ?
ตอบ :
๑) เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
๒) เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
๓) ฉันคณะโภชน์ได้
๔) เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕) จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ ทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด ๔ เดือนฤดูเหมันต์ด้วยฯ
๖. ท่านศึกษาพระวินัยในเรื่องการอุปสมบทดีแล้ว จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
ก. อภัพพบุคคล ข. อุปสัมปทาเปกขะ ค. กรรมวาจา ง. อนุสาวนา จ. อนุศาสน์
ตอบ :
ก. อภัพพบุคคล คือบุคคลผู้ไม่ควรแก่การให้อุปสมบท ทรงห้ามไว้เป็นเด็ดขาด อุปสมบทไม่ขึ้น
ข. อุปสัมปทาเปกขะคือผู้ประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ค. กรรมวาจา คือวาจาที่สวดประกาศในการให้อุปสมบท
ง. อนุสาวนา คือวาจาที่สวดประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์
จ. อนุศาสน์ คือกิจที่พึงทำภายหลังจากอุปสมบทเสร็จแล้วมีการบอกนิสสัย ๔ บอกอกรณียกิจ ๔ เป็นต้น ฯ
๗. ภิกษุทะเลาะกันเรื่องสรรพคุณของยาจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
ตอบ : ไม่ได้ฯ เพราะวิวาทาธิกรณ์มุ่งเฉพาะวิวาทปรารภพระธรรมวินัยฯ
๘. อุกเขปนียกรรม และ นิยสกรรม สงฆ์พึงลงแก่ภิกษุเช่นไร ?
ตอบ : อุกเขปนียกรรม พึงลงแก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ผู้ไม่ทำคืนอาบัติ หรือผู้ไม่สละทิฏฐิบาป,
นิยสกรรม พึงลงแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งจะพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดบ้าง ?
ตอบ :
๑. ครบวาระ ๒ ปี
๒. มรณภาพ
๓. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๔. ลาออก
๕. สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก ฯ
๑๐. การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค จัดแบ่งเขตการปกครองไว้อย่างไร ? จงอ้างมาตราประกอบ
ตอบ :
๑. ภาค
๒. จังหวัด
๓. อำเภอ
๔. ตำบล ฯ
ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖
๑. ญัตติ กับ อนุสาวนา ต่างกันอย่างไร มีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ : ญัตติ คือการเผดียงสงฆ์ ส่วนอนุสาวนา คือการประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ ฯ
ญัตติมีใช้ในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ส่วนอนุสาวนามีใช้เฉพาะในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม ฯ
๒. สงฆ์ผู้จะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในพระวินัยมีกำหนดจำนวนภิกษุไว้อย่างไร ถ้าไม่ครบตามจำนวนนั้นจัดเป็นวิบัติอะไร ?
ตอบ : มีกำหนดอย่างนี้ คือในมัธยมชนบท ๑๐ รูป เป็นอย่างต่ำ
ในปัจจันตชนบท ๕ รูป เป็นอย่างต่ำฯ จัดเป็นปริสวิบัติฯ
๓. สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร ? พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างไร ?
ตอบ : สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมาเพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ฯ อย่างนี้ คือกำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูปนั่งไม่ได้ และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ
๔. นิมิตรอบโรงอุโบสถมีความสำคัญอย่างไร คำทักนิมิตในทิศตะวันออกว่าอย่างไร ?
ตอบ : มีความสำคัญคือใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อกำหนดเขตสีมาสำหรับทำสังฆกรรม ฯ
คำทักนิมิตในทิศตะวันออกว่า“ปุรตฺถิมาย ทิสาย นิมิตฺตํ”ฯ
๕. เจ้าอธิการตามพระวินัยหมายถึงใคร สงฆ์พึงสวดสมมติเจ้าอธิการด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
ตอบ : หมายถึงภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ ฯ
พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ
๖. กรานกฐินได้แก่การทำอย่างไร จงเขียนคำอนุโมทนากฐินมาดู
ตอบ : ได้แก่ เมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้เหมาะสม ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นนำไปทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้น แล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาทั้งหมด นี้คือกรานกฐิน ฯ
คำอนุโมทนากฐินว่า อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ ฯ
๗. ภิกษุผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ อย่างไรชื่อว่าปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าปรารถนาเลว ?
ตอบ : ผู้ก่อวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย (ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
ผู้ก่อวิวาทด้วยทิฐิมานะแม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ (ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ
๘. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ก. ปริวาส ข.อัพภาน
ตอบ : ก. ได้แก่การประพฤติวัตรพิเศษอย่างหนึ่งเท่าจำนวนวันที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ ฯ
ข. ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติสังฆาทิเสสฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยกมีโทษอย่างไร ?
ตอบ : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯ
๑๐. พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ จงอ้างมาตราประกอบด้วย ?
ตอบ : ไม่ได้
ตามมาตรา ๒๗ (๓)แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕
๑. สังฆกรรมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง สังฆกรรมแต่ละประเภททรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในที่เช่นไร ?
ตอบ : สังฆกรรมมี ๔ ประเภท คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑
อปโลกนกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพียงกันทำในเขตสีมาหรือนอกเขตสีมาก็ได้
ส่วนญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในเขตสีมา จะเป็นพัทธสีมาหรืออพัทธสีมาก็ได้ ฯ
๒. ความพรั่งพร้อมของสงฆ์ครบองค์ที่กำหนดเป็นส่วนสำคัญในการประกอบสังฆกรรมนั้นๆ เมื่อครบองค์สงฆ์ตามที่กำหนด สังฆกรรมนั้นๆ เป็นอันใช้ได้แล้วหรือยังมีช่องทางเสียหายอื่นอีก จงชี้แจง ?
ตอบ : นับว่าเป็นใช้ได้เฉพาะแต่อปโลกนกรรมเท่านั้น ส่วนสังฆกรรมอื่นๆ อีก ๓ อย่าง คือ
ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑
ยังมีช่องทางเสียหายอื่นอีก คือวัตถุวิบัติบ้าง สีมาวิบัติบ้าง กรรมวาจาวิบัติบ้าง ฯ
๓. พัทธสีมามีกี่ชนิด อะไรบ้าง สีมาผูกเฉพาะบริเวณอุโบสถเรียกว่าอะไร ?
ตอบ : มี ๓ ชนิด คือ สีมาผูกเฉพาะบริเวณโรงอุโบสถ เรียกขัณฑสีมา ๑ สีมาผูกทั่ววัด เรียกมหาสีมา ๑ สีมาผูก ๒ ชั้น ๑ เรียกว่าขัณฑสีมา ฯ
๔. พระทัพพมัลลบุตรมีความดำริอย่างไร พระศาสดาทรงทราบแล้ว ทรงสาธุการ ตรัสให้สงฆ์สมมติให้ท่านรับหน้าที่อะไรบ้าง ?
ตอบ : ท่านดำ ริว่า ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ควรจะรับธุระของสงฆ์จึงกราบทูลพระศาสดาทรงสาธุการแล้ว ตรัสให้สงฆ์สมมติท่านให้เป็นภัตตุทเทสกะและเสนาสนคนหาปกะ ฯ
๕. อะไรเป็น บุพพกิจ และปัจฉิมกิจ แห่งอุปสมบทกรรม ?
ตอบ : การให้บรรพชาจนถึงสมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ เป็นบุพพกิจแห่งอุปสมบทกรรม
การวัดเงาแดด การบอกประมาณแห่งฤดู การบอกส่วนแห่งวัน การบอกสังคีติ การบอกนิสัย ๔ การบอกอกรณียกิจ ๔ ในลำดับเวลาสวดกรรมวาจาจบ เป็นปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทกรรม ฯ
๖. อนุวาทาธิกรณ์ คืออะไร ระงับด้วยอธิกรณสมถะเท่าไร อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ การโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ ระงับด้วยอธิกรณสมถะ ๔ อย่าง คือ๑. สัมมุขาวินัย๒. สติวินัย๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา ฯ
๗. นาสนา คืออะไร บุคคลเช่นไรที่ทรงอนุญาตให้นาสนา ?
ตอบ : คือ การยังบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศภิกษุและสามเณรให้สละเพศเสีย
บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้นาสนามี ๓ ประเภท คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้วยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ
๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์
๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์ เป็นต้น ฯ
๘. จงเขียนคำขออุปสมบทมา
ตอบ : สงฺฆมฺภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลฺลุมฺปตุ มํ ภนฺเต
สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลฺลุมฺปตุ มํ ภนฺเต
สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลฺลุมฺปตุ มํ ภนฺเต
สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. ตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ วัดมีกี่ประเภทอะไรบ้าง และใครเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท คือ
๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
๒. สำนักสงฆ์, เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป
คณะสงฆ์อื่น หมายถึงบรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรืออนัมนิกาย ฯ
๑๐. ภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องปฏิบัติอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ต้องได้รับโทษอะไร ?
ตอบ : ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัย, ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔
๑. สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรมท่านจัดเป็นวรรคไว้อย่างไรบ้าง แต่ละวรรคทำกรรม อะไรได้บ้าง ?
ตอบ : จัดอย่างนี้ คือ สงฆ์มีจำนวน ๔ รูปเรียกว่า จตุรวรรค จำนวน ๕ รูปเรียกว่า ปัญจวรรค จำ นวน ๑๐ รูปเรียกว่า ทสวรรค จำนวน ๒๐ รูปเรียกว่า วีสติวรรค
สังฆกรรมทุกอย่าง เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน สงฆ์จตุรวรรคทำได้,
ปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทในปัจจันตชนบท สงฆ์ปัญจวรรคทำได้, อุปสมบทในมัธยมชนบท สงฆ์ทสวรรคทำได้, อัพภาน สงฆ์วีสติวรรคทำได้ สงฆ์มีจำนวนมากกว่าที่กำหนดไว้ สามารถทำกรรมประเภทนั้นๆ ได้ ฯ
๒. สีมา คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบ : คือ เขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม, มีความสำคัญอย่างนี้ พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำสังฆกรรมภายในสีมาเพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ อันความสามัคคีย่อมเป็นกำลังใหญ่ของหมู่ ขาดความสามัคคีแล้ว หมู่ย่อมไม่ตั้งถาวร ถ้าไม่มีสีมาก็ไม่มีเขตประชุม สีมาจึงมีความสำคัญอย่างนี้ ฯ
๓. สงฆ์ผู้มีสิทธิรับผ้ากฐิน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ภิกษุผู้ควรครองผ้ากฐิน พึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? จงบอกมาสัก ๕ ข้อ
ตอบ : ต้องเป็นผู้จำ พรรษามาแล้วถ้วนไตรมาสไม่ขาดในอาวาสเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
พึงมีคุณสมบัติอย่างนี้ คือ (ให้ตอบเพียง ๕ ข้อ ใน ๘ ข้อต่อไปนี้)
๑. รู้จักบุพพกรณ์ ๒. รู้จักถอนไตรจีวร
๓. รู้จักอธิษฐานไตรจีวร ๔. รู้จักการกราน
๕. รู้จักมาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๖. รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
๗. รู้จักการเดาะกฐิน ๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน ฯ
๔. ภิกษุถือว่าได้รับอานิสงส์กฐินแล้ว เข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกลา ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ เพราะเหตุไร ?
ตอบ : ในกรณีที่รับนิมนต์แล้วไปในที่นิมนต์ ภายหลังภัตรเข้าบ้านโดยไม่บอกลา ไม่ต้องอาบัติ ซึ่งได้รับยกเว้นด้วยอานิสงส์ที่ว่าเที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับนิมนต์ เข้าบ้านในเวลาวิกาลต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งรัตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ยกเว้นในกรณีรีบด่วน เช่นภิกษุถูกงูกัดรีบเข้าไปเพื่อหายาหรือตามหมอ ฯ
๕. องคสมบัติของภิกษุผู้จะเป็นอุปัชฌาย์ให้อุปสมบท เป็นอาจารย์ให้นิสัย ที่กำหนดไว้ในบาลีมีหลายอย่าง แม้บกพร่องบางอย่างก็ได้ แต่ที่ขาดไม่ได้ คือองคสมบัติอะไร ?
ตอบ : ที่ขาดไม่ได้ คือ มีพรรษา ๑๐ หรือยิ่งกว่า ฯ
๖. ในการอุปสมบท คนที่ได้ชื่อว่าลักเพศ ได้แก่คนเช่นไร ?
ตอบ : ได้แก่ คนถือเพศภิกษุเอาเอง ด้วยตั้งใจจะปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุ ดังคำกล่าวว่า เดียรถีย์ปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุครั้งอโศกรัชกาล ถ้าคนนั้นเป็นแต่สักว่าทรงเพศเพราะเหตุอย่างอื่น เป็นต้นว่าเพื่อหนีภัยไม่จัดเป็นคนลักเพศ ฯ
๗. ตัชชนียกรรมและตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมไหนสำหรับลงโทษแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์ กรรมไหนสำหรับลงโทษแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลย เพราะประพฤติบกพร่องอย่างไร ?
ตอบ : ตัชชนียกรรมสำหรับลงโทษแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์ เพราะจงใจหาความเท็จใส่ภิกษุอื่น ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์ ตัสสปาปิยสิกา กรรมสำหรับลงโทษแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลย เพราะเป็นผู้จงใจปกปิดความประพฤติเสียหายของตนด้วยการให้การเท็จ ฯ
๘. วุฏฐานวิธีหมายถึงอะไร ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น ต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อย ?
ตอบ : หมายถึง ระเบียบวิธีเป็นเครื่องออกจากอาบัติสังฆาทิเสส, อัพภาน ต้องการสงฆ์ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย นอกนั้นต้องการตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. คำว่า คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น แห่งมาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์หมายถึงใคร ?
ตอบ : คณะสงฆ์ หมายถึง บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร
คณะสงฆ์อื่น หมายถึง บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรืออนัมนิกาย ฯ
๑๐. องค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุด คืออะไร มีการกำหนดองค์ประกอบไว้อย่างไร ?
ตอบ : คือ มหาเถรสมาคม มีการกำหนดองค์ประกอบไว้อย่างนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราช
ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวนไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓
๑. สังฆกรรม กับวินัยกรรม มีกำหนดบุคคลและสถานที่ ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ?
ตอบ : ต่างกันดังนี้
สังฆกรรม ต้องประชุมสงฆ์ครบองค์ตามกำ หนดแห่งกรรมนั้นๆ ต้องทำในสีมา เว้นไว้แต่อปโลกนกรรม ทำนอกสีมาก็ได้
ส่วน วินัยกรรม ไม่ต้องประชุมสงฆ์ และทำนอกสีมาก็ได้ ฯ
๒. นิมิตที่อยู่รอบโรงอุโบสถ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร จงเขียนคำทักนิมิตในทิศตะวันตกเฉียงใต้มาดู ?
ตอบ : มีไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำ หนดเขตการทำสังฆกรรม,
ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํฯ
๓. จงอธิบายความหมายของวิสุงคามสีมา และสัตตัพภันตรสีมา ?
ตอบ : วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตแห่งสามัคคีที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกให้เป็นแผนกหนึ่งจากบ้าน
สัตตัพภันตรสีมา หมายถึง เขตแห่งสามัคคีในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนไม่ได้ชั่ว ๗ อัพภันดร (๔๙ วา) โดยรอบ นับแต่ที่สุดแห่งสงฆ์ออกไป ฯ
๔. กฐิน เป็นสังฆกรรมอะไร การรับกฐิน ตลอดจนถึงการกราน ต้องทำในสีมาเท่านั้น หรือทำนอกสีมาก็ได้ ?
ตอบ : เป็นญัตติทุติยกรรม, การรับกฐิน การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน และการกรานกฐินทำในสีมาหรือนอกสีมาก็ได้ การสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐินต้องทำในสีมาเท่านั้น ฯ
๕. บุรพกิจที่พึงทำเป็นเบื้องต้นก่อนแต่อุปสมบท คืออะไรบ้าง ในกิจเหล่านั้น กิจที่ต้องทำเป็นการสงฆ์ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ให้บรรพชา ขอนิสสัย ถืออุปัชฌายะ ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ บอกนามอุปัชฌายะ บอกบาตรจีวร สั่งให้อุปสัมปทาเปกขะออกไปยืนข้างนอก สมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อม อุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ ให้ขออุปสมบท สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ มีสมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถาม อุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ
๖. อุปสัมปทาเปกขะจะสำเร็จเป็นพระภิกษุได้ เมื่อพระกรรมวาจาจารย์สวดถึงบาลีบทใด ?
ตอบ : ถึงบทว่า โส ภาเสยฺย ท้ายอนุสาวนาที่ ๓ ฯ
๗. ติณวัตถารกวินัยมีอธิบายอย่างไร ใช้ระงับอธิกรณ์อะไร ?
ตอบ : อธิบายว่ากิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นดังกลบไว้ด้วยหญ้า ใช้ระงับอาปัตตาธิกรณ์ที่ยุ่งยากยืดเยื้อไม่รู้จบ และเป็นเรื่องสำคัญอันจะเป็นเครื่องกระเทือนทั่วไป เว้นครุกาบัติและอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ฯ
๘. ลิงคนาสนาคืออะไร บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้ทำลิงคนาสนามีกี่ประเภท ใครบ้าง ?
ตอบ : คือ การให้ฉิบหายเสียจากเพศ มี ๓ ประเภท คือ ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ ๑ บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์ ๑ สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ มีเป็นผู้มักผลาญชีวิตเป็นต้น ๑ ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. ศาสนสมบัติมีกี่ประเภท อะไรบ้าง การจะนำผลประโยชน์จากศาสนสมบัติไปใช้จ่าย มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
ตอบ : มี ๒ ประเภท คือ ศาสนสมบัติกลาง และศาสนสมบัติวัด มีหลักเกณฑ์อย่างนี้ คือ ศาสนสมบัติกลาง ใช้จ่ายในกิจการของสงฆ์ทั่วไปตามพระวินัยโดยอนุมัติของสงฆ์ ศาสนสมบัติวัด ใช้จ่ายในกิจการของวัดนั้นๆ แต่จะนำศาสนสมบัติของวัดหนึ่งไปใช้อีกวัดหนึ่งไม่ได้ ฯ
๑๐. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ มีหลักปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : สามารถโอนได้ มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง) ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประมวลเรื่องอันเนื่องด้วยวินัยที่ภิกษุผู้เป็นเถระพึงเรียนรู้เป็นหลักไว้ในวินัยมุขเล่ม ๓ คืออะไรบ้าง เมื่อเรียนรู้แล้วจะอำนวยประโยชน์อะไรบ้าง ?
ตอบ : คือ ธรรมเนียมวิธีและกรณียะต่างๆ อันเนื่องด้วยวินัย ย่อมอาจจะอำนวยในหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และอาจเป็นที่พึ่งของผู้น้อยในกิจการ ฯ
๒. สังฆกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภท มีเท่าไร อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างของสังฆกรรมนั้นๆ มาอย่างละ ๑ ตัวอย่าง ?
ตอบ : กล่าวโดยประเภท มี ๔ คือ
๑. อปโลกนกรรม ตัวอย่างเช่น การรับสามเณรผู้ถูกลงโทษเพราะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้รับการยกเลิกโทษเพราะกลับประพฤติดี
๒. ญัตติกรรม ตัวอย่างเช่น การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ผู้ได้รับการไล่เลียงอันตรายิกธรรมแล้วกลับเข้ามาในหมู่สงฆ์
๓. ญัตติทุติยกรรม ตัวอย่างเช่น สวดหงายบาตรแก่ผู้ถูกคว่ำบาตรเพราะกลับประพฤติดีในภายหลัง
๔. ญัตติจตุตถกรรม ตัวอย่างเช่น การสวดกรรมที่สงฆ์ผู้ทำกรรม ๗ สถาน มีตัชชนียกรรมเป็นต้น ลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ฯ
๓. การผูกพัทธสีมาในบัดนี้ มีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ : มีขั้นตอนดังนี้
๑. พื้นที่อันจะสมมติเป็นสีมา ต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน
๒. ประชุมภิกษุผู้อยู่ในเขตวิสุงคามสีมา หรือนำฉันทะของเธอมาแล้วสวดถอนเป็นแห่งๆ ไปกว่าจะเห็นว่าพอดี
๓. เตรียมนิมิตไว้ตามทิศ
๔. เมื่อสมมติสีมา ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิต หรือนำฉันทะของเธอมาแล้วออกไปทักนิมิต
๕. กลับมาสวดสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน แล้วสวดสมมติติจีวราวิปปวาสสีมา ฯ
๔. โดยทั่วไปมีความเข้าใจเรื่องสังฆกรรมว่า ในสีมาเดียวกัน ภิกษุจะประชุมทำสังฆกรรมวันหนึ่ง ๒ ครั้งไม่ได้ ข้อนี้มีความจริงเป็นอย่างไร จงอธิบาย ?
ตอบ : มีความจริงเป็นอย่างนี้ คือ สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุโบสถปวารณา ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกันจะต้องพร้อมเพรียงกันทำ จะแยกกันทำ ๒ พวก ๒ ครั้งไม่ได้ แต่สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุปสมบทกรรม อัพภานกรรม จะทำวันเดียวหลายครั้งก็ได้ ฯ
๕. อันตรายิกธรรมที่ยกขึ้นถามอุปสัมปทาเปกขะในการอุปสมบทนั้น ข้อที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เป็นภิกษุไม่ได้ คือข้อใดบ้าง ?
ตอบ : คือ ข้อว่า ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่บุรุษ อายุไม่ครบ ๒๐ ปี ฯ
๖. อาปัตตาธิกรณ์ระงับในสำนักบุคคลด้วยอธิกรณสมถะอะไร และระงับในสำนักสงฆ์ด้วยอธิกรณสมถะอะไร ?
ตอบ : ระงับในสำนักบุคคลด้วยปฏิญญาตกรณะ ระงับในสำนักสงฆ์
ถ้าเป็นครุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ
ถ้าเป็นลหุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัย และติณวัตถารกะ ฯ
๗. อันตราบัติ คืออาบัติอะไร ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในเวลาไหนบ้าง ?
ตอบ : คือ อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี, ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในระหว่างที่กำลังอยู่ปริวาส หรืออยู่ปริวาสแล้วเป็นมานัตตารหะ กำลังประพฤติมานัตอยู่ หรือประพฤติมานัตแล้ว เป็นอัพภานารหะ ฯ
๘. ภิกษุเสียสีลสามัญญตาเพราะประพฤติอย่างไร พระบรมศาสดาทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำกรรมอะไรแก่เธอ ?
ตอบ : เพราะต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติหรือไม่ยอมทำคืน ทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่เธอ ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด ?
ตอบ : พ้นเมื่อ
๑. มรณภาพ ๒. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๓. ลาออก ๔. สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
๕. อยู่ครบวาระ ๒ ปี ฯ
๑๐. เจ้าอาวาสหมายถึงใคร ภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดที่ไม่ใช่พระอารามหลวง ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง คือ๑. มีพรรษาพ้น ๕๒. เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์ และบรรพชิตในถิ่นนั้น ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. กรรมวาจาวิบัติเพราะสวดผิดฐานกรณ์นั้นอย่างไร ?
ตอบ : คือ การสวดธนิตเป็นสิถิล ๑ สวดสิถิลเป็นธนิต ๑ สวดวิมุตเป็นนิคคหิต ๑ สวดนิคคหิตเป็นวิมุต ๑ ฯ
๒. ติจีวราวิปปวาสสีมาและอุทกุกเขปสีมาได้แก่สีมาเช่นไร ?
ตอบ : ติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น
อุทกุกเขปสีมา ได้แก่ สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลางฯ
๓. ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ เรียกว่าอะไร พึงสวดสมมติด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
ตอบ : เรียกว่าเจ้าอธิการ พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ
๔. ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?
ตอบ : เช่นนี้ คือ
๑. ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา
๒. ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียงได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์
๓. ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ
๕. ในอุปสมบทกรรม อภัพพบุคคล หมายถึงใคร จำแนกโดยประเภทมีเท่าไร อะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึง บุคคลที่ทรงห้ามไม่ให้อุปสมบท มี ๓ ประเภท คือ
๑. เพศบกพร่อง
๒. ประพฤติผิดพระธรรมวินัย
๓. ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง ฯ
๖. วิวาทาธิกรณ์คืออะไร ระงับด้วยอธิกรณสมถะข้อใดบ้าง ?
ตอบ : คือ การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯ
๗. พระอรรถกถาจารย์แสดงลักษณะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสไว้เป็น ๕ คู่ อย่างไรบ้าง ?
ตอบ : แสดงไว้ ๕ คู่ ดังนี้
๑. เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ
๒. เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ
๓. ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย
๔. อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่
๕. ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ
๘. รัตติเฉท หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : หมายถึง การขาดราตรีแห่ง (การประพฤติ) มานัต, มี
๑. อยู่ร่วม ๒. อยู่ปราศ
๓. ไม่บอก ๔. ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. กรรมการมหาเถรสมาคม ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี ?
ตอบ : กรรมการที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะไม่มีกำหนดเวลา, กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ฯ
๑๐. ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้จัดแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?
ตอบ : แบ่งดังนี้ คือ๑. ภาค๒. จังหวัด๓. อำเภอ ๔. ตำบล ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ฯ
นักธรรม ชั้นเอก
ปัญหาและเฉลย วิชา วินัยมุข
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐
๑. สังฆกรรมจำแนกออกเป็นประเภท เรียกโดยชื่อมีอะไรบ้าง กรรมอะไรบ้างที่สงฆ์จตุวรรคทำได้ ?
ตอบ : มี อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑
เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน นอกนั้นทำ ได้ทุกอย่าง ฯ
๒. สีมาสังกระ คืออะไร สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?
ตอบ : คือ สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิมและสีมาที่สมมติขึ้นใหม่
สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้ แต่ทำ ในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ
๓. การอปโลกน์ และการสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทใด การกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ พึงกล่าวว่าอย่างไร ?
ตอบ : การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นอปโลกนกรรม การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน
จัดเป็นญัตติทุติยกรรม
ว่า อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ ฯ
๔. การบรรพชาและอุปสมบทสำเร็จด้วยวิธีอะไร นอกจากอภัพบุคคลและผู้มีบรรพชาโทษแล้ว บุคคลประเภทใดบ้างที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบท ?
ตอบ : การบรรพชา สำเร็จด้วยวิธีไตรสรณคมน์
การอุปสมบท สำเร็จด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา
คือ๑. คนไม่มีอุปัชฌาย์๒. คนไม่มีบาตร คนไม่มีจีวร หรือไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร๓. คนยืมบาตร จีวร หรือยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา ฯ
๕. อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้ ?
ตอบ : ต้องเป็นเรื่องมีมูล คือ เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑ เรื่องที่ได้ยินเอง หรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑ เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้นแต่รังเกียจโดยอาการ ๑ เช่นได้ยินว่า พัสดุชื่อนี้ของผู้มีชื่อนี้หายไป ได้พบพัสดุชนิดนั้นในที่อยู่ของภิกษุชื่อนั้น ฯ
๖. การคว่ำบาตรในทางพระวินัย หมายถึงอะไร และจะหงายบาตรได้เมื่อไร ?
ตอบ : หมายถึง การไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. ไม่รับบิณฑบาตของเขา
๒. ไม่รับนิมนต์ของเขา
๓. ไม่รับไทยธรรมของเขา
เมื่อผู้ถูกคว่ำ บาตรนั้นละโทษนั้นแล้ว กลับประพฤติดี ฯ
๗. สังฆราชี คืออะไร ?
ตอบ : คือ การที่ภิกษุแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย เพราะมีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยผิดแผกกันจนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น หรือมีความปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากัน เกิดรังเกียจกันขึ้น แต่ยังไม่แยกทำอุโบสถ ปวารณา หรือสังฆกรรมอื่น ฯ
๘. ภิกษุเมื่อลาสิกขา ต้องทำเป็นกิจจะลักษณะด้วยการกล่าวคำปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าใครได้บ้าง และทำอย่างไรจึงเป็นกิจจะลักษณะ ?
ตอบ : ต่อหน้าภิกษุด้วยกันหรือคนอื่นจากภิกษุก็ได้
ปฏิญญาอย่างนี้ คือ
พร้อมด้วยจิต คือทำด้วยตั้งใจเพื่อลาสิกขาจริงๆ
พร้อมด้วยกาล คือด้วยคำ เด็ดขาด ไม่ใช่รำ พึง ไม่ใช่ปริกัป
พร้อมด้วยประโยค คือปฏิญญาด้วยตนเอง
พร้อมด้วยบุคคล คือผู้ปฏิญญาและผู้รับปฏิญญาเป็นคนปกติ
พร้อมด้วยความเข้าใจ คือผู้รับปฏิญญาเข้าใจคำ นั้นในทันที ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร ?
ตอบ : คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ ฯ
๑๐. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่น อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือความแตกแยก มีโทษอย่างไร ?
ตอบ : ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ฯ