ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. สระกับพยัญชนะในบาลีภาษามีเท่าไร ฯ และต่างกันอย่างไร ฯ ในพุทธภาษิตว่า “ปมาโท มจฺจุโน ปทํ”เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้เป็นครุหรือลหุ ฯ
ตอบ : ในบาลีภาษา สระมี ๘ ตัว พยัญชนะ มี ๓๓ ตัว ฯ
และต่างกันอย่างนี้ คือ สระออกเสียงได้ตามลําพังตนเอง และทําพยัญชนะให้ออกเสียงได้ ส่วนพยัญชนะ ต้องอาศัยสระ จึงจะออกเสียงได้ ฯ
ในพุทธภาษิตว่า “ปมาโท มจฺจุโน ปทํ” เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้เป็นครุ หรือลหุ ดังนี้
มจฺ เป็น ครุ
จุ เป็น ลหุ
โน เป็น ครุ
ป เป็น ลหุ
ทํ เป็น ครุ ฯ
๒. ในอาเทสสระสนธิ จะแปลงสระ เป็น ย หรือ ว ได้ในที่เช่นไร ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมา ประกอบด้วย ฯ จตูสฺวาริยสจฺเจสุ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในอาเทสสระสนธิ จะแปลงสระ เป็น ย หรือ ว ได้ในที่เช่นนี้ คือ ถ้า อิ เอ โอ อุ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลัง แปลง อิ ตัวหน้าเป็น ย ยกตัวอย่าง ปฏิสณฺฐารวุตฺติ-อสฺส เป็น ปฏิสณฺฐารวุตฺยสฺส, แปลง เอ เป็น ย ยกตัวอย่าง เต-อสฺส เป็น ตฺยสฺส, แปลง โอ เป็น ว ยกตัวอย่าง อถโข-อสฺส เป็น อถขฺวสฺส, แปลง อุ เป็น ว ยกตัวอย่าง พหุ-อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ ฯ
จตูสฺวาริยสจฺเจสุ เป็นอาเทสสระสนธิ ตัดเป็น จตูสุ-อริยสจฺเจสุ สระ อุ อยู่หน้า สระ อ อยู่หลัง แปลง อุ เป็น ว เป็น จตูสฺว ระหว่าง จตุสฺว กับ อริยสจฺเจสุ สระหน้าและสระหลังมีรูปเสมอกัน ลบสระหน้า คือ อ ที่ ว เสีย แล้วทีฆะสระหลังเป็น อา ต่อเป็น จตูสฺวาริยสจฺเจสุ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. ทิวส เป็นนามและลิงค์อะไร ฯ
ข. อติมุทุกา, เสยฺโย เป็นคุณนามชั้นไหน ฯ
ค. เอกูนสตฺตติ และ ปญฺญาสโม แปลว่าอะไร ฯ เป็นสังขยาชนิดไหน ฯ
ฆ. กึ ศัพท์ จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ เป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ง. อิทานิ, อิธ แปลว่าอย่างไร ฯ สําเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. ทิวส เป็นนามนาม เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ ฯ
ข. อติมุทุกา และ เสยฺโย เป็นคุณนามชั้นวิเสส ฯ
ค. เอกูนสตฺตติ แปลว่า ๖๙ เป็นปกติสังขยา ปญฺญาสโม แปลว่า ที่ ๕๐
เป็นปูรณสังขยา ฯ
ฆ. กึ ศัพท์ จัดเป็นอนิยมวิเสสนสัพพนาม เป็นได้ ๓ ลิงค์ ฯ
ง. อิทานิ แปลว่า ในกาลนี้, เดี๋ยวนี้ สําเร็จรูปมาจาก อิม ศัพท์ ลง ทานิ ปัจจัย ลบ
ม สําเร็จรูปเป็น อิทานิ
อิธ แปลว่า ใน-นี้ สําเร็จรูปมาจาก อิม ศัพท์ ลง ธ ปัจจัย ลบ ม สําเร็จรูปเป็น
อิธ ฯ
๔. ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ หรืออกัมมธาตุ ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ ฯ
ก. เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต วา ธีตา วา อุปฺปชฺเชยฺยุํ ฯ
ข. อิตรา ทานํ อาวชฺชมาโน นิวตฺตนฺตา ตํ ปเทสํ ปาปุณิ ฯ
ค. เอวํ ธมฺเม เทสิยนฺเต มหาชนสฺส ธมฺมาภิสมโย อโหสิ ฯ
ตอบ : ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ เป็นได้ทั้งสกัมมธาตุและอกัมมธาตุ ฯ
ได้แก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต วา ธีตา วา อุปฺปชฺเชยฺย ฯ
หรือ เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต จ ธีตา จ อุปฺปชฺเชยฺยุํ ฯ
ข. อิตรา ทานํ อาวชฺชมานา นิวตฺตนฺตี ตํ ปเทสํ ปาปุณิ ฯ
หรือ อิตรา ทานํ อาวชฺชมานา นิวตฺตนฺติโย ตํ ปเทสํ ปาปุณึสุ ฯ
หรือ อิตโร ทานํ อาวชฺชมาโน นิวตฺตนฺ โต ตํ ปเทสํ ปาปุณิ ฯ
หรือ อิตเร ทานํ อาวชฺชมานา นิวตฺตนฺตา ตํ ปเทสํ ปาปุณึสุ ฯ
ค. เอวํ ธมฺเม เทสิยมาเน มหาชนสฺส ธมฺมาภิสมโย อโหสิ ฯ
๕. ปัจจัยในนามกิตก์ กับ กิริยากิตก์ เหมือนกันและต่างกันอย่างไร ฯ นามคฺคหโณ (ทิวโส), อุคฺคหณํ ลงปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู
ตอบ : ปัจจัยในนามกิตก์ กับ กิริยากิตก์ เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้
ที่เหมือนกัน คือ แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ กิตปัจจัย ๑ กิจจปัจจัย ๑ กิตกิจจปัจจัย ๑ และใช้ประกอบธาตุ
ส่วนที่ต่างกัน คือ ปัจจัยในนามกิตก์ ทำธาตุที่ประกอบนั้นให้เป็นสาธนะนั้น ๆ และใช้ในปฐมาวิภัตติ และจตุตถีวิภัตติได้บ้าง เช่น กรณํ ทายโก กาตุํ เป็นต้น
ส่วนปัจจัยในกิริยากิตก์นั้น ทําธาตุที่ประกอบให้เป็นกิริยา และเป็นเครื่องหมายให้รู้กาล และวาจกได้ เช่น คนฺตฺวา คจฺฉนฺโต นีหริยมาโน กรณียํ คนฺตพฺพํ เป็นต้น ฯ
นามคฺคหโณ (ทิวโส) ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า นามํ คณฺหาติ เอตฺถาติ นามคฺคหโณ (ทิวโส) ฯ
อุคฺคหณํ ลง ยุ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า อุคฺคหณํ อุคฺคหณํ ฯ
๖. สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส กับ อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ นิมฺมาตาปิติโก (ทารโก) เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลําดับ
ตอบ : สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส กับ อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ต่างกันดังนี้
สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วย อิติ ศัพท์ บทหลังเป็นประธาน ตัวอย่างเช่น ขตฺติโย อหํ อิติ มาโน ขตฺติยมาโน มานะว่า (เราเป็น) กษัตริย์, สตฺโต อิติ สญฺญา สตฺตสญฺญา ความสําคัญว่าสัตว์
ส่วนอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วย เอว ศัพท์ (เพื่อจะห้ามเนื้อความ อันอื่นเสีย) บทหลังเป็นประธาน ตัวอย่างเช่น ปญฺญา เอว ปโชโต ปญฺญาปโชโต (ประทีป) อันโพลงทั่ว คือปัญญา, พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ รัตนะคือพระพุทธเจ้า ฯ
นิมฺมาตาปิติโก (ทารโก) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส หรือปัญจมีตุลยาธิก-รณพหุพพิหิสมาส มีอสมาหารทวันทวสมาสเป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลําดับดังนี้
อ.ทวัน. วิ. มาตา จ ปิตา จ มาตาปิตโร
ฉ.ตุล. วิ. นิกฺขนฺตา มาตาปิตโร ยสฺส โส นิมฺมาตาปิติโก (ทารโก) หรือ
ปญฺ.ตุล. วิ. นิกฺขนฺตา มาตาปิตโร ยสฺมา โส นิมฺมาตาปิติโก (ทารโก) ฯ
๗. โคตตตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ โปถุชฺชนิโก (กามสุขลฺลิกานุโยโค), คพฺภินี (เทวี), พาลฺยํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : โคตรตัทธิต มีปัจจัย ๘ ตัว ฯ คือ ณ, ณายน, ณาน, เณยฺย, ณิ, ณิก, ณว, เณร ฯ
โปถุชฺชนิโก (กามสุขลฺลิกานุโยโค) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า ปุถุชฺชนสฺส สนฺตโก โปถุชฺชนิโก (กามสุขลฺลิกานุโยโค) ฯ
คพฺภินี (เทวี) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า คพฺโภ อสฺสา อตฺถีติ คพฺภินี (เทวี) ฯ
พาลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า พาลสฺส ภาโว พาลฺยํ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗ (ครั้งที่ ๒)
๑. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. สระ ๘ ตัว เกิดในฐานเดียวกันหรือต่างกันอย่างไร ฯ เรียกชื่อว่าอย่างไร ฯ
ข. พยัญชนะวรรคตัวไหนบ้างใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. สระ ๘ ตัว เกิดในฐานเดียวกันหรือต่างกันอย่างนี้ และมีชื่อเรียกอย่างนี้ คือ
อ อา เกิดในคอ เรียกชื่อว่า กณฺฐชา
อิ อี เกิดที่เพดาน เรียกชื่อว่า ตาลุชา
อุ อู เกิดที่ริมฝีปาก เรียกชื่อว่า โอฏฺฐชา
เอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและเพดาน เรียกว่า กณฺฐตาลุโช
โอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและริมฝีปาก เรียกว่า กณฺโฐฏฺฐโช
ข. พยัญชนะที่ ๒ และที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฒ, ถ ธ, ผ ภ ใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
๒. สนธิ คืออะไร ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กิมิทนฺติ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สนธิ คือ การต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะยื่นอักษรให้น้อยลง เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์และทําคําพูดให้สละสลวย ฯ
มี ๓ อย่าง ตามความที่เป็นประธานก่อน คือ สระสนธิ ต่อสระ ๑ พยัญชนะสนธิ ต่อพยัญชนะ ๑ นิคคหิตสนธิ ต่อนิคคหิต ๑ ฯ
กิมิทนฺติ เป็นอาเทสสระสนธิ และโลปสระสนธิ ตัดเป็น กึ-อิทํ-อิติ
ระหว่าง กึ-อิทํ ถ้านิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิต เป็น ม ต่อเป็น กิมิทํ
ระหว่าง กิมิทํ-อิติ ถ้านิคคหิตอยู่หน้า ลบสระเบื้องปลายได้บ้าง คือ ลบ อิ ที่ อิติ ต่อเป็น กิมิทนฺติ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. รญฺโญ เป็นวิภัตติอะไรได้บ้าง ฯ
ค. ปูรณสังขยา เป็นนามศัพท์ชนิดไหน ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในคําว่า “อิติปิ โส ภควา” เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. ภนฺเต ภทนฺเต ใช้สําหรับใครเรียกใคร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็น ๒ คือ เป็น ลิงฺคตฺโถ หรือกตฺตา ที่เป็นตัวประธานอย่าง ๑ เป็น อาลปนํ คําสําหรับร้องเรียกอย่าง ๑ ฯ
ข. รญฺโญ เป็นจตุตถีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ ฯ
ค. ปูรณสังขยา เป็นคุณนาม ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในคําว่า “อิติปิ โส ภควา” เป็นสัพพนามชนิดนิยมวิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. ภนฺเต ภทนฺเต ใช้เป็นคําสําหรับคฤหัสถ์เรียกบรรพชิต ด้วยความเคารพ หรือใช้ เป็นคําสําหรับบรรพชิตผู้อ่อนพรรษากว่า เรียกบรรพชิต ผู้แก่พรรษากว่า ฯ
๔. ปมชฺชึสุ, อเวกฺขติ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในประโยคต่อไปนี้
ก. รูปนนฺทา สตฺถารํ โอโลเกนฺตา สมีเป ฐิตํ อิตฺถึ อทฺทส ฯ
ข. สญฺชยสฺส ปริสา ภินฺทิ ฯ
ค. ทารกา มยา วาริยนฺตาปิ วจนํ น คณฺหาติ ฯ
ตอบ : ปมชฺชึสุ ประกอบด้วย ป บทหน้า มทฺ ธาตุ ในความเมา ความประมาท ลง ย ปัจจัย ลง อุํ อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง ย กับที่สุดธาตุคือ ท เป็น ชฺช แปลง อุํ เป็น อึสุ สําเร็จรูปเป็น ปมชฺชึสุ ฯ
อเวกฺขติ ประกอบด้วย อว บทหน้า อิกฺขฺ ธาตุ ในความเห็น ความดู ความพิจารณา ลง อ ปัจจัย ลง ติ วัตตมานาวิภัตติ แปลง อิ ที่ อิกฺข เป็น เอ สําเร็จรูปเป็น อเวกฺขติ ฯ
ได้แก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. รูปนนฺทา สตฺถารํ โอโลเกนฺตี สมีเป ฐิตํ อิตฺถึ อทฺทส ฯ
ข. สญฺชยสฺส ปริสา ภิชฺชิ ฯ
ค. ทารกา มยา วาริยมานาปิ วจนํ น คณฺหนฺติ ฯ
๕. ตพฺพ ปัจจัย ในกิริยากิตก์ ในที่เช่นไร ใช้บอกกัมมวาจก ฯ ในที่เช่นไร ใช้บอกภาววาจก ฯ อุฏฺฐาน ในคําว่า “อุฏฺฐานกาเล” และ “อุฏฺฐานวิริยวนฺตสฺส” ลงปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตพฺพ ปัจจัย ในกิริยากิตก์ ถ้าลงหลังสกัมมธาตุ ใช้บอกกัมมวาจก ถ้าลงหลังอกัมมธาตุ ใช้บอกภาววาจก ฯ
อุฏฺฐาน ในคําว่า “อุฏฺฐานกาเล” ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า อุฏฺฐาติ (อุฏฺฐหติ) เอตฺถาติ อุฏฺฐาโน (กาโล) ฯ
อุฏฺฐาน ในคําว่า “อุฏฺฐานวิริยวนฺ ตสฺส” ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า อุฏฺฐาติ (อุฏฺฐหติ) เตนาติ อุฏฺฐานํ (วิริยํ) ฯ
๖. ในสมาสทั้ง ๖ มีกัมมธารยสมาสเป็นต้น สมาสไหนบ้าง เป็นนามล้วน สมาสไหนบ้าง เป็นคุณล้วน และสมาสไหนบ้าง เป็นได้ทั้งนามทั้งคุณ ฯ ตุฏฺฐจิตฺตา (อุปาสิกา), อนฺธพาโล (ปุริโส) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในสมาสทั้ง ๖ มีกัมมธารยสมาสเป็นต้นนั้น ทิคุสมาส และทวันทวสมาส เป็นนามล้วน, พหุพพิหิสมาส เป็นคุณล้วน, กัมมธารยสมาส ตัปปุริสสมาส และอัพยยี-ภาวสมาส เป็นได้ทั้งนามทั้งคุณ ฯ
ตุฏฺฐจิตฺตา (อุปาสิกา) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ตุฏฺฐํ จิตฺตํ ยสฺสา สา ตุฏฺฐจิตฺตา (อุปาสิกา) ฯ
อนฺธพาโล (ปุริโส) เป็นอุปมาบุพพบท วิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า อนฺโธ อิว พาโล อนฺธพาโล (ปุริโส) ฯ
๗. ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ใช้ลงแทนศัพท์อะไร ฯ โกสมฺพิกา (ภิกฺขู), อุฏฺฐานวา (ปุริโส) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว ฯ
คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, ณ ฯ
ใช้ลงแทน อตฺถิ ศัพท์ ฯ
โกสมฺพิกา ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า โกสมฺพิยํ วสนฺตีติ โกสมฺพิกา (ภิกฺขู) ฯ
อุฏฺฐานวา (ปุริโส) ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อุฏฺฐานํ อสฺส อตฺถีติ อุฏฺฐานวา (ปุริโส) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖
๑. คำต่อไปนี้ คือ ปุพฺผํ, วงฺโส, สทฺโต, นคฺขมติ, วุฏฺโฒ ประกอบสังโยคถูกหรือผิด ถ้าผิดจงแก้ให้ถูก และบอกด้วยว่าถูกหรือผิดเพราะอะไร ฯ
ตอบ : คำต่อไปนี้ คือ
ปุพฺผํ ประกอบสังโยคผิด เพราะพยัญชนะที่ ๓ ใน ป วรรค คือ พ จะซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๒ คือ ผ ไม่ได้ เหตุไม่เป็นไปตามหลักที่ว่า พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ ประกอบสังโยคถูกแก้เป็น ปุปฺผํ เพราะพยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้
วงฺโส ประกอบสังโยคผิด เพราะ ส เป็นพยัญชนะอวรรคอยู่หลัง จะอาเทสนิคคหิตเป็นพยัญชนะวรรคไม่ได้ ประกอบสังโยคถูกแก้เป็น วํโส เพราะ ส อยู่หลัง จึงคงนิคคหิตไว้ตามเดิม
สทฺโต ประกอบสังโยคผิด เพราะพยัญชนะที่ ๓ ใน ต วรรค คือ ท จะซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ ไม่ได้ เหตุไม่เป็นไปตามหลักที่ว่า พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ ประกอบสังโยคถูกแก้เป็น สตฺโต เพราะพยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ ในวรรคของตนได้
นคฺขมติ ประกอบสังโยคผิด เพราะพยัญชนะที่ ๓ ใน ก วรรค คือ ค จะซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๒ คือ ข ไม่ได้ เหตุไม่เป็นไปตามหลักที่ว่า พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ ประกอบสังโยคถูกแก้เป็น นกฺขมติ เพราะพยัญชนะที่ ๒ คือ ข อยู่หลัง จึงซ้อนพยัญชนะคือ ก ได้ในวรรคของตน
วุฏฺโฒ ประกอบสังโยคผิด เพราะพยัญชนะที่ ๑ ใน ฏ วรรค คือ ฏ จะซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๔ ไม่ได้ เหตุไม่เป็นไปตามหลักที่ว่า พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ ประกอบสังโยคถูกแก้เป็น วุฑฺโฒ เพราะพยัญชนะที่ ๔ คือ ฒ อยู่หลัง จึงซ้อนพยัญชนะที่ ๓ คือ ฑ ได้ ในวรรคของตน ฯ
๒. สัญโญโค ในพยัญชนะสนธิ มีวิธีซ้อนอย่างไรบ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบด้วย ฯ ยถฺญญมนุสาสติ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สัญโญโค ในพยัญชนะสนธิ มีวิธีซ้อนอย่างนี้ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ตัวอย่าง เช่น อิธ-ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ เป็นต้น ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ คือ พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะทุกตัวในวรรคของตนได้ เว้นพยัญชนะคือ ง ซึ่งเป็นตัวสะกด ซ้อนพยัญชนะทั้ง ๔ ในวรรคของตนได้ แต่ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้ ตัวอย่าง เช่น จตฺตาริ- ฐานานิ เป็น จตฺตาริฏฺฐานานิ เป็นต้น ฯ
ยถฺญฺญมนุสาสติ เป็นโลปสระสนธิและอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น ยถา-อฺญฺญ-อนุสาสติ ระหว่าง ยถา-อฺญฺญ ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลังก็ดี เป็นทีฆะก็ดี ลบสระหน้าคือ อา ที่สุดแห่ง ยถา ต่อเป็น ยถฺญฺญ
ระหว่าง ยถฺญฺญ-อนุสาสติ ถ้านิคคหิตอยู่ข้างหน้า สระอยู่ข้างหลัง แปลงนิคคหิตเป็น ม ต่อเป็น ยถฺญฺญมนุสาสติ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามเช่นไร จัดเป็นนามนาม ฯ
ข. ภิกฺขเว มีวิธีทำตัวอย่างไร ฯ
ค. อสีติ เป็นวจนะ และลิงค์อะไร ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะจตุตถีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างไร ฯ
ง. รโห แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถาม ต่อไปนี้ คือ
ก. นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์ , ที่, สิ่งของ, จัดเป็นนามนาม ฯ
ข. ภิกฺขเว มีวิธีทำตัวอย่างนี้ คือ ภิกฺขเว ศัพท์เดิมเป็น ภิกฺขุ ลง โย อาลปนวิภัตติ พหุวจนะ เอา โย เป็น เว แล้วเอา อุ เป็น อ สำเร็จรูปเป็น ภิกฺขเว ฯ
ค. อสีติ เป็นเอกวจนะและอิตถีลิงค์ ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะจตุตถีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ | |
จ. | ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย | ตาสํ ตาสานํ |
ง. รโห แปลว่า ที่ลับ ฯ เป็นนิบาตบอกที่ ฯ
๔. วาจกคืออะไร ฯ วิธีจะจำวาจกได้แม่นยำนั้นต้องอาศัยอะไร ฯ จงแก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ ฯ
ก. เทสนาวสาเน องฺกุโร จ อินฺทโก จ โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐหิ ฯ
ข. เถโร ปุนปฺปุนํ ปุจฺฉิยนฺโตปิ น กเถสิ ฯ
ค. อุโภ อคฺคปาทา ภินฺทึสุ ฯ
ตอบ : วาจก คือ กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ ดังนี้ กล่าวบทที่เป็นประธานของกิริยา ๕ อย่าง คือ กัตตุวาจก ๑ กัมมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ
วิธีที่จะกำหนดวาจกได้แม่นยำนั้นต้องอาศัยปัจจัยเป็นเครื่องประกอบ ฯ
ได้แก้คำที่ผิดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังนี้
ก. เทสนาวสาเน องฺกุโร จ อินฺทโก จ โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐหึสุ ฯ
หรือ เทสนาวสาเน องฺกุโร วา อินฺทโก วา โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐหิ ฯ
ข. เถโร ปุนปฺปุนํ ปุจฺฉิยมาโนปิ น กเถสิ ฯ
ค. อุโภ อคฺคปาทา ภิชฺชึสุ ฯ
๕. ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ แบ่งเป็นกี่หมวด ฯ แต่ละหมวดมีปัจจัยอะไรบ้าง ฯ โพธิ (ญาณํ), อคฺคทายี ลงปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ แบ่งเป็น ๓ หมวด ฯ
แต่ละหมวดมีปัจจัยดังนี้ คือ
(๑) กิตปัจจัย อย่างนี้ อนฺต, ตวนฺตุ, ตาวี
(๒) กิจจปัจจัย อย่างนี้ อนีย, ตพฺพ
(๓) กิตกิจจปัจจัย อย่างนี้ มาน, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน ฯ
โพธิ (ญาณํ) ลง อิ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า พุชฺฌติ เตนาติ โพธิ (ญาณํ) ฯ
อคฺคทายี ลง ณี ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า อคฺคํ เทตีติ อคฺคทายี หรือเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ตั้งวิเคราะห์ว่า อคฺคํ เทติ สีเลนาติ อคฺคทายี หรือเป็นสมาสรูป ตัสสีลสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า อคฺคํ ทาตุํ สีลมสฺสาติ อคฺคทายี ฯ
๖. อะไรชื่อว่าตัปปุริสสมาส ฯ ตัปปุริสสมาส กับ อัพยยีภาวสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ อคฺคธมฺมสมาหิโต เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้น ในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อว่าตัปปุริสสมาส ฯ
ตัปปุริสสมาส กับ อัพยยีภาวสมาส ต่างกันอย่างนี้ คือ
ตัปปุริสสมาส มีบทหลังเป็นประธาน ไม่ได้นิยมลิงค์และวจนะ ตัวอย่างเช่น รูเป สฺญฺญา รูปสฺญฺญา ความสำคัญในรูป
ส่วนอัพยยีภาวสมาส มีบทหน้าเป็นประธาน และเป็นอุปสัคและนิบาต บทหลังเป็นนปุสกลิงค์ เอกวจนะ ตัวอย่างเช่น นครสฺส สมีป อุปนครํ ที่ใกล้เคียงแห่งเมือง ชื่อว่าที่ใกล้เคียงแห่งเมือง ฯ
อคฺคธมฺมสมาหิโต เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส หรือตติยาตัปปุริสสมาส มีวิเสสน- บุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
วิ.บุพ.กัม. วิ. อคฺโค จ โส ธมฺโม จาติ อคฺคธมฺโม หรือ วิ. อคฺโค ธมฺโม อคฺคธมฺโม
ส.ตัป. วิ. อคฺคธมฺเม สมาหิโต อคฺคธมฺมสมาหิโต
หรือ ต.ตัป. วิ. อคฺคธมฺเมน สมาหิโต อคฺคธมฺมสมาหิโต ฯ
๗. ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อาโรคฺยํ, เตปิฏโก (เถโร) อฏฺฐโม ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว ฯ
คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, ณ ฯ
อาโรคฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อโรคสฺส ภาโว อาโรคฺยํ ฯ
เตปิฏโก (เถโร) ลง ณ ปัจจัย ในราคาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า เตปิฏกํ ธาเรตีติ เตปิฏโก (เถโร) ฯ
อฏฺฐโม ลง ม ปัจจัย ในปูรณตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อฏฺฐนฺนํ ปูรโณ อฏฺฐโม ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๒)
๑. อักขรวิธี และวจีวิภาค มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ ในคําว่า “สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ” นี้ เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้ เป็น ครุ หรือ ลหุ ฯ
ตอบ : อักขรวิธี และวจีวิภาค มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ
อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น ๒ คือ สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระและพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์ ๑ สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่น ให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน ๑
ส่วนวจีวิภาค แบ่งคําพูดออกเป็น ๖ ส่วน คือ นาม ๑ อัพยยศัพท์ ๑ สมาส ๑ ตัทธิต ๑ อาขยาต ๑ กิตก์ ๑ ฯ
ในคําว่า “สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ” นี้ เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้ เป็น ครุ หรือ ลหุ ดังนี้
คําว่า สมฺ เป็น ครุ
คําว่า มา เป็น ครุ
คําว่า ป เป็น ลหุ
คําว่า ณิ เป็น ลหุ
คําว่า หิ เป็น ลหุ
คําว่า ตํ เป็น ครุ ฯ
๒. อาเทสสนธิกิริโยปกรณ์ ในสระสนธิ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อชฺชตคฺเคทานาหํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาเทสสนธิกิริโยปกรณ์ ในสระสนธิ แบ่งเป็น ๒ คือ แปลงสระเบื้องหน้า ๑ แปลงสระเบื้องหลัง ๑ ฯ
อชฺชตคฺเคทานาหํ เป็นโลปสระสนธิ และโลปสระสนธิ (ทีฆสระสนธิ) ตัดบทเป็น อชฺชตคฺเค-อิทานิ-อหํ
ระหว่าง อชฺชตคฺเค-อิทานิ ถ้าสระทั้ง ๒ คือ สระหน้าและสระหลัง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหลังบ้างก็ได้ คือ ลบ อิ ที่ อิทานิ ต่อเป็น อชชตคฺเคทานิ
ระหว่าง อชฺชตคฺเคทานิ-อหํ ถ้าสระทั้ง ๒ คือ สระหน้าและสระหลัง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้า คือ ลบ อิ ที่ อชฺชตคฺเคทานิ แล้วทีฆะสระหลัง คือ อ ที่ อหํ ต่อเป็น อชฺชตคฺเคทานาหํ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ทั้ง ๓ นั้น เมื่อนําไปใช้ ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ข. อตฺถาย, อุปาสิกาย เป็นวิภัตติอะไรได้บ้าง ฯ
ค. ปณฺณรส กับ ปณฺณรสี ต่างกันอย่างไร ฯ
ฆ. อิม ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะสัตตมีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างไร ฯ
ง. นิบาตนั้น สําหรับใช้ลงที่ไหน ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามต่อไปนี้ คือ
ก. นามศัพท์ทั้ง ๓ นั้น เมื่อนําไปใช้ ต้องประกอบด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติ ฯ
ข. อตฺถาย เป็นจตุตถีวิภัตติ ส่วน อุปาสิกาย เป็นตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ
ปัญจมีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และสัตตมีวิภัตติ ฯ
ค. ต่างกันอย่างนี้ ปณฺณรส เป็นปกติสังขยา ส่วน ปณฺณรสี เป็นปูรณสังขยาฯ
ฆ. อิม ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะสัตตมีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ | |
ส. | อิมิสฺสํ อสฺสํ | อิมาสุ |
ง. นิบาตนั้น สําหรับใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง เพื่อบอก
อาลปนะ กาล ที่ ปริเฉท อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป
ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ฯ
๔. การแยกวิภัตติอาขยาตออกเป็นปรัสสบท และอัตตโนบท นั้น เพื่อประสงค์อะไร ฯ ปพฺพาเชสํุ และ วุจฺจเร ในคําว่า “เทวธมฺมาติ วุจฺจเร” ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : การแยกวิภัตติอาขยาตออกเป็นปรัสสบท และอัตตโนบทนั้น เพื่อประสงค์จะได้รู้วาจก เพราะปรัสสบทเป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็นกัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก ส่วนอัตตโนบท เป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็นกัมมวาจก ภาววาจก และเหตุกัมมวาจก แต่จะนิยมลงเป็นแน่เลยทีเดียวก็ไม่ได้ บางคราวปรัสสบทเป็นกัมมวาจก และภาววาจกก็มี เหมือนคําบาลีว่า สทิโส เม น วิชฺชติ คนเช่นกับด้วยเรา (อันใคร ๆ) ย่อมหาไม่ได้ บางคราวอัตตโนบทเป็นกัตตุวาจกก็มี เหมือนคําบาลีว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความโศกย่อมเกิด แต่ของอันเป็นที่รัก เป็นต้น คําที่กล่าวข้างต้นนั้น ประสงค์เอาแต่บทที่เป็นไปโดยมาก ถ้าจะกําหนดให้แม่นยําโดยละเอียดแล้ว ต้องอาศัยปัจจัยเป็นเครื่องประกอบด้วย ฯ
ปพฺพาเชสํุ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ ป บทหน้า วช ธาตุ ในความเว้น เณ ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก อํุ วิภัตติหมวดอัชชัตตนี แปลง ว แห่ง วช ธาตุ เป็น พ ซ้อน พฺ หน้า พ ด้วยอํานาจ เณ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุเป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ ลง ส อาคม สําเร็จเป็น ปพฺพาเชสํุ ฯ
วุจฺจเร ในคําว่า “เทวธมฺมาติ วุจฺจเร” ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ วจฺ ธาตุ ในความกล่าว ลง ย ปัจจัย ลง อนฺติ วิภัตติหมวดวัตตมานา แปลง ว เป็น วุ หรือ เอา อ ที่ ว เป็น อุ แปลง ย กับ จ ที่สุดธาตุเป็น จฺจ แปลง อนฺติ เป็น เร สําเร็จเป็น วุจฺจเร ฯ
๕. กัตตุสาธนะ ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไรบ้าง ฯ ยกตัวอย่างรูปวิเคราะห์มาดู ฯ สีลรกฺขิกา (อิตฺถี), ลาโภ (ปจฺจโย) ลงปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : กัตตุสาธนะ ท่านบัญญัติให้แปลว่า “ผู้” ตัวอย่างรูปวิเคราะห์ว่า กุมฺภํ กโรตีติ กุมฺภกาโร ผู้ทําซึ่งหม้อ ถ้าลงในอรรถตัสสีลสาธนะ แปลว่า “ผู้-โดยปกติ” ตัวอย่างรูปวิเคราะห์ว่า ธมฺมํ วทติ สีเลนาติ ธมฺมวาที ผู้กล่าวซึ่งธรรมโดยปกติ ถ้าเป็นสมาสรูปตัส-สีลสาธนะ แปลว่า “ผู้มีอัน-เป็นปกติ” ตัวอย่างรูปวิเคราะห์ว่า ธมฺมํ จริตํฃ สีลมสฺสาติ ธมฺมจารี ผู้มีความประพฤติซึ่งธรรมเป็นปกติ ฯ
สีลรกฺขิกา (อิตฺถี) ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ ว่า สีลํ รกฺขตี ติ สีลรกฺขิกา (อิตฺถี) ฯ
ลาโภ (ปจฺจโย) ลง ณ ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า ลพฺภตีติ ลาโภ (ปจฺจโย) หรือ ลภิตพฺโพติ ลาโภ (ปจฺจโย) หรือเป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า ลภนฺติ เตนาติ ลาโภ (ปจฺจโย) ฯ
๖. วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส กับ วิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ อโรคปุตฺตา (วิสาขา) เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลําดับ ฯ
ตอบ : วิเสสนบุพพบท กับ วิเสสนุตตรบท ต่างกันอย่างนี้ คือ วิเสสนบุพพบท มีบทวิเสสนะอยู่หน้า บทประธานอยู่หลัง อุทาหรณ์ มหนฺโต ปุริโส=มหาปุริโส บุรุษใหญ่ ส่วนวิเสสนุตตรบท มีบทวิเสสนะอยู่หลัง บทประธานอยู่ข้างหน้า อุทาหรณ์ สตฺโต วิเสโส=สตฺตวิเสโส สัตว์วิเศษ ฯ
อโรคปุตฺตา (วิสาขา) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มี น บุพพบท พหุพพิหิ-สมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลําดับดังนี้
น.บุพ.พหุพ. วิ. นตฺถิ เตสํ โรโคติ อโรคา (ปุตฺตา)
ฉ.ตุล.พหุพ. วิ. อโรคา ปุตฺตา ยสฺสา สา อโรคปุตฺตา (วิสาขา) ฯ
๗. เสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ชาลินี (ตณฺหา), โสสานิกา (ภิกฺขู), พาลฺยํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : เสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว ฯ คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อีย, อิฏฺฐ ฯ
ชาลินี (ตณฺหา) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชาลํ อสฺสา อตฺถีติ ชาลินี (ตณฺหา)
โสสานิกา (ภิกฺขู ) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สุสาเน วสนฺตีติ โสสานิกา (ภิกฺขู)
พาลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า พาลสฺส ภาโว พาลฺยํ ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕
๑. ในพยัญชนะวรรค มีหลักการสังโยคอย่างไร และพยัญชนะไหนบ้าง ใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะวรรค มีหลักการสังโยค ดังนี้
พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้
พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้
พยัญชนะที่ ๕ สุดวรรค ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว ยกเสียแต่ตัว ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว
พยัญชนะที่ ๒ คือ ข ฉ ถ ผ และพยัญชนะที่ ๔ คือ ฆ ฌ ฒ ธ ภ ใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
๒. อาคมมีในสนธิ ไหนบ้าง ฯ ลงอาคมอะไรในสนธินั้น ๆ ฯ ปูรติเยว, ตยาเวตํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาคมมีในสนธิทั้ง ๓ สนธิ คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคคหิตสนธิ ฯ
ในสนธินั้น ๆ ลงอาคมดังนี้ คือ ในสระสนธิ ลง อ และ โอ อาคม ในพยัญชนะสนธิ ลงพยัญชนะอาคม ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ในสัททนีติว่าลง ห อาคมก็ได้ ส่วนในนิคคหิตสนธิ ลงนิคคหิตอาคม ฯ
ปูรติเยว เป็นอาคมพยัญชนะสนธิ ตัดเป็น ปูรติ – เอว ถ้าสระอยู่หลัง ลง ย พยัญชนะอาคมได้บ้าง ต่อเป็น ปูรติเยว ฯ
ตยาเวตํ เป็นอาคมพยัญชนะสนธิ ตัดเป็น ตยา – เอตํ ถ้าสระอยู่หลัง ลง ว พยัญชนะอาคมได้บ้าง ต่อเป็น ตยาเวตํ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. คุณนามต่างจากนามนามอย่างไร ฯ
ข. สารีปุตฺโต เป็นนามนามชนิดไหน ฯ
ค. เอกสังขยา กับ เอกสัพพนาม ต่างกันอย่างไร ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในคําว่า “อิติปิ โส ภควา” เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. อมฺโภ เป็นคําสําหรับเรียกใคร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. คุณนามต่างจากนามนาม ดังนี้ คุณนาม คือ นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สําหรับหมายให้รู้ว่านามนามนั้นดีหรือชั่วเป็นต้น ส่วนนามนาม คือ นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ ฯ
ข. สารีปุตฺโต เป็นนามนามชนิดอสาธารณนาม ฯ
ค. เอกสังขยา กับ เอกสัพพนาม ต่างกันอย่างนี้ คือ เอกสังขยา เป็นได้แต่เอกวจนะอย่างเดียว ส่วนเอกสัพพนาม เป็นทวิวจนะ คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ฯ
ฆ. ต ศัพท์ ในคําว่า “อิติปิ โส ภควา” เป็นสัพพนามชนิดนิยมวิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. อมฺโภ เป็นคําสําหรับเรียกชายด้วยวาจาอันอ่อนหวาน ในภาษาของเราท่านบัญญัติให้ แปลว่า แน่ะผู้เจริญ ฯ
๔. วิภัตติอาขยาต ต่างจากวิภัตตินามอย่างไร ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิดให้ถูกต้อง ตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ ฯ
ก. ปิตา โน มหลฺลกา อโหสิ ฯ
ข. เม สามิเก ชิฆจฺฉาย ปิฬิยนฺเต น สกฺกา มยา ภุญฺชิตุํ ฯ
ค. เทวทตฺโต สงฺฆํ ภิชฺชิสฺสติ ฯ
ตอบ : วิภัตติอาขยาต ต่างจากวิภัตตินามอย่างนี้ คือ
วิภัตตินาม จัดไว้เป็น ๗ หมวด สำหรับแจกนามศัพท์เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ทราบถึงลิงค์ วจนะ การันต์ และอายตนิบาต
ส่วนวิภัตติอาขยาต จัดได้เป็น ๘ หมวด สำหรับแจกมูลศัพท์ฝ่ายกิริยาออกเป็นหมวด ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ทราบถึง กาล บท วจนะ บุรุษ และจัดเป็น ๒ บท คือ ปรัสสบท และอัตตโนบท เป็น ๓ บุรุษ คือ ปฐมบุรุษ มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษ เพื่อเป็นเครื่องบ่งถึงนามที่เป็นประธานแห่งกิริยา ฯ
ได้แก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. ปิตา โน มหลฺลโก อโหสิ ฯ
ข. มม สามิเก ชิฆจฺฉาย ปีฬิยมาเน น สกฺกา มยา ภุญฺชิตุํ ฯ หรือ มยฺหํ สามิเก
ชิฆจฺฉาย ปีฬิยมาเน น สกฺกา มยา ภุญฺชิตุํ ฯ หรือ สามิเก เม ชิฆจฺฉาย ปีฬิยมาเน น สกฺกา มยา ภุญฺชิตุํ ฯ
ค. เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิสฺสติ ฯ
๕. จะทราบว่า เป็นกิริยากิตก์ หรือนามกิตก์ จะต้องอาศัยอะไร ฯ ภติโก, ทุลฺลโภ, สนฺโต, ปคฺคยฺห ลงปัจจัยอะไร เฉพาะที่เป็นนามกิตก์ จงตั้งวิเคราะห์มาด้วย ฯ
ตอบ : จะทราบว่า เป็นกิริยากิตก์ หรือนามกิตก์ จะต้องอาศัยปัจจัยที่ประกอบ กล่าวคือกิริยากิตก์ และนามกิตก์ ต่างก็มีปัจจัยของตนแผนกหนึ่ง มี ๓ ประเภทเหมือน กัน ได้แก่กิตปัจจัย ๑ กิจจปัจจัย ๑ กิตกิจจปัจจัย ๑ ใช้ประกอบกับธาตุซึ่งเป็นเครื่องกําหนดหมายเนื้อความของนามศัพท์และกิริยาศัพท์ ปัจจัยที่ประกอบกับธาตุแล้วทําธาตุที่ประกอบให้เป็นกิริยา และเป็นเครื่องหมายให้รู้กาลและวาจกได้บ้าง เช่น คนฺตฺวา คจฺฉนฺโต นีหริยมาโน กรณียํ คนฺตพฺพํ เป็นต้น จะทําให้ทราบได้ว่าเป็นกิริยากิตก์ ส่วนปัจจัยที่ประกอบกับธาตุแล้วทําธาตุที่ประกอบให้เป็นนามนาม หรือคุณนาม เป็นสาธนะนั้น ๆ และใช้ในปฐมาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติได้บ้าง เช่น กรณํ ทายโก กาตุํ เป็นต้น จะทําให้ทราบได้ว่าเป็น นามกิตก์ ฯ
ภติโก ลง กฺวิ ปัจจัย (ในนามกิตก์ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ) ตั้งวิเคราะห์ว่า ภตึ กโรตีติ ภติโก ฯ
ทุลฺลโภ ลง ข ปัจจัย (ในนามกิตก์ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ) ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺ เขน ลพฺภตีติ ทุลฺลโภ ฯ
สนฺโต ลง ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ ฯ (สมฺ ธาตุ ต ปัจจัย ธาตุที่มี ม เป็นที่สุด แปลง ต เป็น นฺต แล้วลบที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น สนฺโต) หรือ ลง อนฺต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ (อสฺ ธาตุ อนฺต ปัจจัย ลบต้นธาตุ ได้รูปเป็น สนฺโต)
ปคฺคยฺห ลง ตฺวา ปัจจัย (ตูนาทิปัจจัย) ในกิริยากิตก์ (ป บทหน้า คหฺ ธาตุ ตูนาทิปัจจัย ธาตุที่มี ห เป็นที่สุด แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น ยฺห ได้รูปเป็น ปคฺคยฺห) ฯ
๖. สมาสอะไรบ้าง นิยมบทปลงเป็นนปุงสกลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นสมาสไหน ฯ อนฺธพาลเทวตา เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลําดับ ฯ
ตอบ : สมาสดังต่อไปนี้ คือ สมาหารทิคุสมาส สมาหารทวันทวสมาส และอัพยยีภาวสมาส นิยมบทปลงเป็น นปุงสกลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว จะทราบได้โดยความดังนี้
สมาหารทิคุสมาส นิยมมีปกติสังขยาเป็นบทหน้า บทหลังเป็นประธาน อุทาหรณ์ ตโย โลกา ติโลกํ
สมาหารทวันทวสมาส นิยมบทนามนามตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป และใช้เป็นบทประธาน ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน อุทาหรณ์ สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ
ส่วนอัพยยีภาวสมาส นิยมมีอุปสัคหรือนิบาตเป็นบทหน้า และใช้เป็นประธานของบทหลัง อุทาหรณ์ ทรถสฺส อภาโว นิทฺทรถํ ฯ
อนฺธพาลเทวตา เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีวิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาสเป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลําดับดังนี้
วิ.อุปมา.กัม. วิ.อนฺโธ อิว พาลา อนฺธพาลา (เทวตา)
วิ.บุพฺ.กัม. วิ.อนฺธพาลา เทวตา อนฺธพาลเทวตา หรือ อนฺธพาลา จ สา เทวตา จาติ อนฺธพาลเทวตา ฯ
๗. ตัทธิตต่างจากสมาสอย่างไร ฯ รุกฺขมูลิกา, เวรี, โกสลฺลํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตัทธิตต่างจากสมาสอย่างนี้ คือ
ตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนศัพท์ที่ลบทิ้งไป เพื่อย่อคําพูดให้สั้นลง เช่น สฺยาเม ชาโต ลบ ชาโต เสีย ลง ณิก ปัจจัยแทน เป็น สฺ ยามิโก แปลได้ความเช่นเดียวกัน
ส่วนสมาส คือ การย่อศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปให้เป็นบทเดียวกัน โดยลบวิภัตติของศัพท์หน้าบ้าง ไม่ลบบ้าง ประกอบให้มีลิงค์ วจนะ และวิภัตติเดียวกัน แต่ยังคงมีรูปศัพท์เดิมปรากฏอยู่ เช่น สฺยาเม ชาโต เป็น สฺยามชาโต ฯ
รุกฺขมูลิกา ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า รุกฺขมูเล วสนฺ ตีติ รุกฺขมูลิกา ฯ
เวรี ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า เวรํ อสฺส อตฺถีติ เวรี ฯ
โกสลฺลํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า กุสลสฺ ส ภาโว โกสลฺลํ ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕ (ครั้งที่ ๒)
๑. ลักษณะที่จะประกอบพยัญชนะสังโยคได้ ในพยัญชนะวรรคทั้งหลายนั้น พยัญชนะเหล่านี้ คือ พ, น, ฑ, ช, ก ตัวไหนใช้ซ้อนพยัญชนะอะไรได้บ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ
ตอบ : ลักษณะที่จะประกอบพยัญชนะสังโยคได้ ในพยัญชนะวรรคทั้งหลายนั้น พยัญชนะเหล่านี้ คือ พ, น, ฑ, ช, ก ใช้ซ้อนพยัญชนะได้ดังนี้
พ เป็นพยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ (คือซ้อนหน้าตัวเอง) และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ ตัวอย่างเช่น สพฺพ อารพฺภ ฯ
น เป็นพยัญชนะที่ ๕ สุดวรรค ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ ทั้ง ๕ ตัว ตัวอย่าง เช่น สนฺต สนฺถต อานนฺท ขนฺธ อนฺน ฯ
ฑ เป็นพยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ (คือซ้อนหน้าตัวเอง) และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ ตัวอย่างเช่น ฉุฑฺฑ วุฑฺฒ ฯ
ช เป็นพยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ (คือซ้อนหน้าตัวเอง) และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ ตัวอย่างเช่น อชฺช มชฺฌ ฯ
ก เป็นพยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ (คือซ้อนหน้าตัวเอง) และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ ตัวอย่างเช่น สกฺก ยกฺข ฯ
๒. ในสนธิ กิริโยปกรณ์ วิการ กับ ทีฆะ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ ยถญฺญมนุสาสติ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในสนธิกิริโยปกรณ์ วิการ กับ ทีฆะ มีลักษณะต่างกั นอย่างนี้ คือ
วิการ ได้แก่ การทำสระตัวหนึ่งให้เป็นสระอีกตัวหนึ่ง เช่น ทำ อิ ให้เป็น เอ, ทำ อุ ให้เป็น โอ ตัวอย่างเช่น มุนิ-อาลโย เป็น มุเนลโย, สุ-อตฺถี เป็น โสตฺถี เป็นต้น
ส่วนทีฆะ ได้แก่ การทำสระที่มีเสียงสั้นให้มีเสียงยาว คือ อ เป็น อา, อิ เป็น อี , อุ เป็น อู ตัวอย่างเช่น ตตฺร-อยํ เป็น ตตฺรายํ, สทฺธา-อิธ เป็น สทฺธีธ, จ-อุภยํ เป็น จูภยํ เป็นต้น ฯ
ยถญฺญมนุสาสติ เป็นโลปนิคคหิตสนธิ และอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น ยถา-อญฺํ -อนุสาสติ
ระหว่าง ยถา-อญฺญฃํ ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลังก็ดี เป็นทีฆะก็ดี ลบสระหน้า คือ ที่สุด ยถา ต่อเป็น ยถญฺญฃํ
ระหว่าง ยถญญฺํ -อนุสาสติ ถ้านิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ม ต่อเป็น ยถญญฺมนุสาสติ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. คุณนามเช่นไร ชื่อวิเสส ฯ
ข. อุปาสิเก มีวิธีทําตัวอย่างไร ฯ
ค. มยํ, เอกจฺโจ เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ฆ. ปัจจัยในอัพยยศัพท์นั้นลงที่ไหน เป็นเครื่องหมายอะไร ฯ
ง. ปาโต, ยทิ ในอัพยยศัพท์ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วมากหรือน้อยกว่าปกติ เหมือนคําว่า ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า ปาปตโร เป็นบาปกว่า ชื่อวิเสส ฯ
ข. อุปาสิเก มีวิธีทําตัวอย่างนี้ อุปาสิเก ศัพท์เดิมเป็น อุปาสิกา ลง สิ อาลปนะ เอกวจนะ ลง สิ ลบ สิ เอา อา เป็น เอ สําเร็จรูปเป็น อุปาสิเก ฯ
ค. มยํ เป็นสัพพนามชนิดปุริสสัพพนาม เอกจฺโจ เป็นสัพพนามชนิดอนิยมวิเสสนสัพพนาม ฯ
ฆ. ปัจจัยในอัพยยศัพท์นั้น ลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิภัตติบ้าง ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาบ้าง ฯ
ง. ปาโต เป็นนิบาตบอกกาล ยทิ เป็นนิบาตบอกปริกัป ฯ
๔. วิภัตติอาขยาต ๘ หมวดนั้น หมวดไหนบอกให้รู้ความอะไร ฯ บทว่า “นิวารเย” ในบาทพระคาถาว่า “ปาปา จิตฺตํ นิวารเย” นี้ แปลว่าอะไร ลงวิภัตติหมวดไหน ฯ
ตอบ : วิภัตติอาขยาต ๘ หมวดนั้นบอกให้รู้ความดังต่อไปนี้
วัตตมานาวิภัตติ บอกให้รู้ปัจจุบันกาล
ปัญจมีวิภัตติ บอกความบังคับ ความหวัง และความอ้อนวอน
สัตตมีวิภัตติ บอกความยอมตาม ความกําหนด และความรําพึง
ปโรกขาวิภัตติ บอกให้รู้อดีตกาลไม่มีกําหนด
หิยัตตนีวิภัตติ บอกให้รู้อดีตกาลตั้งแต่วานนี้
อัชชัตตนีวิภัตติ บอกให้รู้อดีตกาลตั้งแต่วันนี้
ภวิสสันติวิภัตติ บอกให้รู้อนาคตกาลแห่งปัจจุบัน
กาลาติปัตติวิภัตติ บอกให้รู้อนาคตกาลแห่งอดีต ฯ
บทว่า นิวารเย ในบาทพระคาถาว่า “ปาปา จิตฺตํ นิวารเย” แปลว่า พึงห้าม ลงวิภัตติหมวดสัตตมีวิภัตติ ฯ
๕. รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ จัดเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ และจะกําหนดรู้ได้อย่างไรว่าสาธนะนั้น ๆ เป็นรูปอะไร ฯ วิมุตฺติ, ทุทฺทโม (อตฺตา) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะจัดเป็น ๓ ฯ คือ กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ ภาวรูป ๑ ฯ และจะกําหนดรู้ได้ว่าสาธนะนั้น ๆ เป็นรูปอย่างนี้ คือ
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัตตุวาจกก็ดี เป็นเหตุกัตตุวาจกก็ดี สาธนะนั้นเป็นกัตตุรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัมมวาจก สาธนะนั้นเป็นกัมมรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นภาววาจก สาธนะนั้นเป็นภาวรูป ฯ
วิมุตฺติ ลง ติ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า วิมุจฺจนํ วิมุตฺติ หรือ วิมุจฺจิตพฺพนฺติ วิมุตฺติ ฯ
ทุทฺทโม (อตฺตา) ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺ เขน ทมิยเตติ ทุทฺทโม (อตฺตา) หรือ ทุกฺ เขน ทมิตพฺ โพติ ทุทฺทโม (อตฺตา) ฯ
๖. อะไรชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ ในทวันทวสมาสนี้ สมาหาโร กับ อสมาหาโร มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ นิปฺปญฺโญ (ปุคฺคโล), อนฺตรามคฺคํ เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : นามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ
ในทวันทวสมาสนี้ สมาหาโร กับ อสมาหาโร มีลักษณะ ต่างกันอย่างนี้ คือ
ทวันทวสมาสที่รวมนามศัพท์มีเนื้อความเป็นพหุวจนะ ทําให้เป็นเอกวจนะ นปุงสกลิงค์ ชื่อว่าสมาหาโร ตัวอย่างเช่น สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ เป็นต้น
ส่วนทวันทวสมาสที่ท่านไม่ได้ทําอย่างนี้ ชื่อว่าอสมาหาโร ตัวอย่างเช่น สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา เป็นต้น ฯ
นิปฺปญฺโญ (ปุคฺคโล) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า นิกฺขนฺตา ปญฺญา ยสฺส โส นิปฺปญฺโญ (ปุคฺคโล) ฯ
อนฺตรามคฺคํ เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า มคฺคสฺส อนฺตรา อนฺตรามคฺคํ ฯ
๗. ตา ปัจจัย มีในตัทธิตไหนบ้าง ฯ และใช้ต่างกันอย่างไร ฯ ทุกฺขี (ชโน), ทุสฺสีลฺยํ, อิทฺธิมยํ (รูปํ) ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตา ปัจจัย มีใน ๒ ตัทธิต คือ สมุหตัทธิต และภาวตัทธิต ฯ
ใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ ในสมุหตัทธิต ใช้แทน สมุห ศัพท์ แปลว่า ประชุม เช่น สหายานํ สมุโห สหายตา ประชุม แห่งสหาย ท. ชื่อสหายตา (ประชุมแห่งสหาย) ส่วนในภาวตัทธิต ใช้แทน ภาวศัพท์ แปลว่า ความเป็น เช่น สหายสฺส ภาโว สหายตา ความเป็นแห่งสหาย ชื่อสหายตา (ความเป็นแห่งสหาย) ฯ
ทุกฺขี (ชโน) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺขํ อสฺส อตฺถีติ ทุกฺขี (ชโน) ฯ
ทุสฺสีลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุสฺสีลสฺส ภาโว ทุสฺสีลฺยํ ฯ
อิทฺธิมยํ (รูปํ) ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า อิทฺธิยา ปกตํ อิทฺธิมยํ (รูปํ) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔
๑. ฐานกรณ์ คืออะไร ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ง ณ น ม เกิดที่ฐานไหน เรียกชื่อว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ฐาน คือ ที่ตั้งที่เกิดของอักขระ มี ๖ คือ กณฺโฐ คอ ๑ ตาลุ เพดาน ๑ มุทฺธา ศีรษะก็ว่า ปุ่มเหงือกก็ว่า ๑ ทนฺโต ฟัน ๑ โอฏฺโฐ ริมฝีปาก ๑ นาสิกา จมูก ๑ ฯ
กรณ์ คือ ที่ทําอักขระ มี ๔ คือ ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น ๑ ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา ๑ ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น ๑ สกฏฺฐานํ ฐานของตน ๑ ฯ
ง เกิดในคอ เรียกว่า กัณฐชะ
ญ เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชะ
ณ เกิดในศีรษะหรือปุ่มเหงือก เรียกว่า มุทธชะ
น เกิดที่ฟัน เรียกว่า ทันตชะ
ม เกิดที่ริมฝีปาก เรียกว่า โอฏฐชะ
อนึ่ง พยัญชนะที่สุดวรรคทั้ง ๕ นี้ เกิดได้ ๒ ฐาน คือ เกิดตามฐานเดิมของตนและจมูก จึงเรียกว่า สกฏฺฐานนาสิกฏฺฐานชา ฯ
๒. สนธิ กับ สมาส ต่างกันอย่างไร ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบด้วย ฯ ภวตฺวนฺตราโย, ทูรมาคโต, สาหํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สนธิกับสมาสต่างกันอย่างนี้
สนธิ คือ วิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่นอักขระให้น้อยลง เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ และทําคําพูดให้สละสลวย ดังเช่น เอตทโวจ ถ้าจะแปลต้องแยกศัพท์ออกจากกัน เป็น เอตํ อโวจ ฯ
ส่วนสมาสนั้น ย่อนามศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปเข้าเป็นบทเดียวกัน ดังเช่น รญฺโญ ปุตฺโต เป็น ราชปุตฺโต ถ้าจะแปลไม่ต้องแยกศัพท์ออกจากกันเหมือนสนธิ ฯ
ภวตฺวนฺตราโย เป็นอาเทสสระสนธิ ตัดเป็น ภวตุ+อนฺตราโย สระอยู่หลัง อาเทส อุ ที่ ตุ เป็น ว เป็น ภวตฺว ลบ อ สระหน้า ที่ ว แล้วต่อเป็น ภวตฺวนฺตราโย ฯ
ทูรมาคโต เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น ทูรํ+อาคโต ถ้านิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง อาเทสนิคคหิต เป็น ม ต่อเป็น ทูรมาคโต ฯ
สาหํ เป็นโลปสระสนธิ ตัดเป็น สา+อหํ สระหน้าเป็นทีฆะ และสระหลังเป็นรัสสะ ลบสระหน้า แล้วทีฆะสระหลังเป็น อา ต่อเป็น สาหํ ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. มโนคณะ ได้แก่ ศัพท์อะไรบ้าง ฯ
ค. ปูรณสังขยา เป็นนามศัพท์ชนิดไหน ฯ
ฆ. มยํ, อิเม เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. อัพยยศัพท์ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ เป็น ลิงฺคตฺโถ หรือ กตฺตา ที่เป็นตัวประธานอย่าง ๑ เป็น อาลปนํ คําสําหรับร้องเรียกอย่าง ๑ ฯ
ข. มโนคณะ ได้แก่ศัพท์เหล่านี้ คือ มน ใจ, อย เหล็ก, อุร อก, เจต ใจ, ตป ความร้อน, ตม มืด, เตช เดช, ปย น้ำนม, ยส ยศ, วจ วาจา, วย วัย, สิร หัว ฯ
ค. ปูรณสังขยา เป็นนามศัพท์ชนิดคุณนาม ฯ
ฆ. มยํ เป็นสัพพนามชนิดปุริสสัพพนาม, อิเม เป็นสัพพนามชนิดวิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. อัพยยศัพท์ แบ่งเป็น ๓ คือ อุปสัค ๑ นิบาต ๑ ปัจจัย ๑ ฯ
๔. อ อาคม และ อิ อาคม ในอาขยาต ลงในวิภัตติหมวดไหนได้บ้าง ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ ฯ
ก. เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต วา ธีตา วา อุปฺปชฺเชยฺยุํ ฯ
ข. สา อนาถา วิจรนฺตา มหาทุกฺขํ ปาปุณนฺติ ฯ
ค. ตโยปิ สิกฺขา กถิตาเยว โหติ ฯ
ตอบ : อ อาคม และ อิ อาคม ในอาขยาต ลงในหมวดวิภัตติดังนี้ คือ
อ อาคม ลงในวิภัตติหมวด หิยัตตนี อัชชัตตนี กาลาติปัตติ
ส่วน อิ อาคม ลงในวิภัตติหมวด อัชชัตตนี ภวิสสันติ และกาลาติปัตติ ฯ
ได้แก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต วา ธีตา วา อุปฺปชฺเชยฺย ฯ
หรือ เอกสฺมึปิ วเย ปุตฺโต จ ธีตา จ อุปฺปชฺเชยฺยุํ ฯ
ข. สา อนาถา วิจรนฺตี มหาทุกฺขํ ปาปุณาติ ฯ
หรือ ตา อนาถา วิจรนฺติโย มหาทุกฺขํ ปาปุณนฺติ ฯ
ค. ติสฺโสปิ สิกฺขา กถิตาเยว โหนฺติ ฯ
๕. ปัจจัยแห่งกิริยากิตก์ หมวดไหน บอกให้รู้ความอะไร ฯ สนฺติมคฺคนิโยชโก (สงฺโฆ), วิมุตฺติ, สุวโจ (เถโร) ลงปัจจัยอะไร เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยแห่งกิริยากิตก์ แต่ละหมวดบอกให้รู้ความดังต่อไปนี้
อนฺต ปัจจัย ในหมวดกิตปัจจัย และ มาน ปัจจัย ในหมวดกิตกิจจปัจจัย บอกให้รู้ความเป็นปัจจุบันกาล แปลว่า อยู่, เมื่อ
อนีย, ตพฺพ ปัจจัย ในหมวดกิจจปัจจัย บอกให้รู้ความจําเป็น แปลว่า พึง
ตวนฺตุ, ตาวี ในหมวดกิตปัจจัย และ ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน ในหมวดกิตกิจจปัจจัย บอกให้รู้ความเป็นอดีตกาล แปลว่า แล้ว ฯ
สนฺติมคฺคนิโยชโก (สงฺโฆ) ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า สนฺติมคฺเค นิโยเชตีติ สนฺติมคฺคนิโยชโก (สงฺโฆ)
วิมุตฺติ ลง ติ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า วิมุจฺจนํ วิมุตฺติ ฯ
สุวโจ (เถโร) ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า สุเขน วจิยเตติ สุวโจ (เถโร) ฯ
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า สุเขน วตฺตพฺโพติ สุวโจ (เถโร) ฯ
๖. อะไรชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ เฉพาะวิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส กับ ทวันทวสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต (ภควา) เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลําดับ ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน คือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธาน ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า กัมมธารยสมาส ฯ
เฉพาะวิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส กับ ทวันทวสมาส ต่างกันดังนี้ คือ
วิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส มีบททั้ง ๒ เป็นวิเสสนะ มีบทอื่ นเป็นประธาน
ส่วนทวันทวสมาส มีนามนามตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ฯ
ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต เป็นตติยาตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลําดับดังนี้
ฉ.ตัป. ภิกฺขูนํ สงฺโฆ ภิกฺขุสงฺโฆ ฯ
ต.ตัป. ภิกฺขุสงฺเฆน ปริวุโต ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต (ภควา) ฯ
๗. สมุหตัทธิต เป็นนามหรือคุณ ฯ ต่างจากราคาทิตัทธิตอย่างไรบ้าง ฯ เวสารชฺชํ, พลวตี (ชิฆจฺฉา), เจตสิกํ (กมฺมํ) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมุหตัทธิต เป็นนาม ฯ
ต่างจากราคาทิตัทธิตดังนี้ คือ สมุหตัทธิต เป็นนามนามอย่างเดียว ลงปัจจัย ๓ ตัว คือ กณฺ ณ ตา แทน สมุห ศัพท์เท่านั้น ฯ
ต่างจากราคาทิตัทธิตดังนี้ คือ ราคาทิตัทธิตเป็นคุณนามอย่างเดียว ลง ณ ปัจจัย ใช้แทนศัพท์ทั่วไปมี รตฺต ศัพท์เป็นต้น ฯ
เวสารชฺชํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า วิสารทสฺส ภาโว เวสารชฺชํ ฯ
พลวตี (ชิคจฺฉา) ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า พลํ อสฺสา อตฺถีติ พลวตี (ชิคจฺฉา) ฯ
เจตสิกํ (กมฺมํ) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า เจตสา วตฺตตีติ เจตสิกํ (กมฺมํ) ฯ
หรือ เจตสา กตํ เจตสิกํ (กมฺมํ) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๒)
๑. พยัญชนะในบาลีภาษามีเท่าไร ฯ อาศัยอะไรจึงออกเสียงได้ ฯ พยัญชนะไหนจัดเป็นโฆสะ และ อโฆสะ ฯ
ตอบ : พยัญชนะในบาลีภาษา มี ๓๓ ตัว ฯ
อาศัยสระ จึงออกเสียงได้ ฯ
พยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ , ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม, และ ย ร ล ว ห ฬ, ๒๑ ตัวนี้ จัดเป็นโฆสะ
พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ , ต ถ, ป ผ, และ ส ๑๑ ตัวนี้ จัดเป็นเป็นอโฆสะ ฯ
๒. ทีฆะสระสนธิมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อุภยมฺเปตสฺส เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ทีฆะสระสระสนธิ มี ๒ คือ ทีฆะสระหน้าอย่าง ๑ ทีฆะสระหลังอย่าง ๑ ฯ
อุภยมฺเปตสฺส เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ และโลปสระสนธิ ฯ ตัดเป็น อุภยํ+ปิ+เอตสฺส
ระหว่าง อุภยํ+ปิ พยัญชนะวรรคอยู่ข้างหลัง มีนิคคหิตอยู่ข้างหน้า ให้แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะวรรคได้ แปลงนิคคหิตที่ อุภยํ เป็น ม ต่อเป็น อุภยมฺปิ
ระหว่าง อุภยมฺปิ+เอตสฺส สระหน้าและสระหลังไม่มีพยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง ลบสระหน้า คือ อิ ที่ อุภยมฺปิ ต่อเป็น อุภยมฺเปตสฺส ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. จกฺขุ เป็นนามและลิงค์อะไร ฯ
ข. เทวตา เมื่อแจกในอาลปนวิภัตติ มีรูปเป็นอย่างไรบ้าง ฯ
ค. อายสฺมโต เป็นวิภัตติอะไรได้บ้าง ฯ
ฆ. กตร ศัพท์ เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. โต, ทานิ ปัจจัย เป็นเครื่องหมายวิภัตติอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. จกฺขุ เป็นนามนาม และเป็นนปุงสกลิงค์ ฯ
ข. เทวตา เมื่อแจกในอาลปนวิภัตติ มีรูปเป็นอย่างนี้ คือ เอกวจนะ เป็น เทวเต พหุวจนะ เป็น เทวตาโย เทวตา ฯ
ค. อายสฺมโต เป็น ส จตุตถีวิภัตติ และ ส ฉัฏฐีวิภัตติ ฯ
ฆ. กตร ศัพท์ เป็นสัพพนามชนิดอนิยมวิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. โต ปัจจัย เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติและปัญจมีวิภัตติ, ทานิ ปัจจัย เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ ฯ
๔. สกัมมธาตุเป็นได้กี่วาจก ฯ นิคฺคยฺหติ เป็นวาจกอะไร ฯ จงแก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ ฯ
ก. มหาปฐวี เทฺวธา ภินฺทิ ฯ
ข. เอวํ กนิฏฺเฐน ตโย สมฺปตฺติโย ปฏฺฐิตา ฯ
ค. มหาชโน อุชฺฌายึสุ ฯ
ตอบ : สกัมมธาตุ เป็นได้ ๔ วาจก เว้นภาววาจก ฯ
นิคฺคยฺหติ เป็นกัมมวาจก ฯ
ได้แก้คำที่ผิดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังนี้
ก. มหาปฐวี เทฺวธา ภิชฺชิ ฯ
ข. เอวํ กนิฏฺเฐน ติสฺโส สมฺปตฺติโย ปฏฺฐิตา ฯ
ค. มหาชโน อุชฺฌายิ ฯ หรือ มหาชนา อุชฺฌายึสุ ฯ
๕. อนฺต และ ตพฺพ ปัจจัย เป็นวาจกอะไรได้บ้าง ฯ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล), โพธิ (ญาณํ) ลงปัจจัยอะไร เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : อนฺต ปัจจัย เป็นกัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก
ส่วน ตพฺพ ปัจจัย เป็นกัมมวาจก เหตุกัมมวาจก และภาววาจก ฯ
ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล) ลง ณี ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคระห์ว่า ธมฺเมน ชีวตีติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล)
เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ
ตั้งวิเคระห์ว่ า ธมฺเมน ชีวติ สีเลนาติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล)
เป็นสมาสรูป ตัสสีลสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺเมน ชีวิตุํ สีลมสฺสาติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล) ฯ
โพธิ (ญาณํ) ลง อิ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า พุชฺฌติ เตนาติ โพธิ (ญาณํ) ฯ
๖. พหุพพิหิสมาสคือสมาสอะไร ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อหิริกปุคฺคโล เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ
ตอบ : พหุพพิหิสมาส คือ สมาสอย่างหนึ่งมีบทอื่นเป็นประธาน ฯ
มี ๖ อย่าง คือ ทุติยาพหุพพิหิ ตติยาพหุพพิหิ จตุตถีพหุพพิหิ ปัญจมีพหุพพิหิ ฉัฏฐีพหุพพิหิ สัตตมีพหุพพิหิ ฯ
อหิริกปุคฺคโล เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มี น บุพพบท พหุพพิหิสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
น บุพ. พหุพ. วิ. นตฺถิ ตสฺส หิรีติ อหิริโก (ปุคฺคโล)
วิ.บุพ.กัม. วิ. อหิริโก จ โส ปุคฺคโล จาติ อหิริกปุคฺคโล
หรือ วิ. อหิริโก ปุคฺคโล อหิริกปุคฺคโล ฯ
๗. ตัทธิตโดยย่อมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ชาลินี (ตณฺหา), เถยฺยํ, ชนตา ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตัทธิต โดยย่อมี ๓ คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต และอัพยยตัทธิต ฯ
ชาลินี (ตณฺหา) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชาลํ อสฺสา อตฺถีติ ชาลินี (ตณฺหา) ฯ
เถยฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า เถนสฺส ภาโว เถยฺยํ หรือ ลง เณยฺย ปัจจัย ตามนัยแห่งรูปสิทธิปกรณ์ และสัททนีติปกรณ์ ตั้งวิเคราะห์อย่างเดียวกัน ฯ
ชนตา ลง ตา ปัจจัย ในสมุหตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชนานํ สมุโห ชนตา ฯ
หรือ ลง ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชนสฺส ภาโว ชนตา ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓
๑. ชิวฺโหปคฺคํ (ถัดปลายลิ้นเข้ามา) เป็นกรณ์ของอักขระอะไรบ้าง ฯ และอักขระเหล่านั้น เกิดในฐานไหน ฯ เรียกว่าอะไร ฯ
ตอบ : ชิวฺโหปคฺคํ (ถัดปลายลิ้นเข้ามา) เป็นกรณ์ของอักขระ ๗ ตัว คือ ฏ ฑ ฒ ณ ร ฬ ฯ และอักขระเหล่านั้นเกิดที่ศีรษะก็ว่า ที่ปุ่มเหงือกก็ว่า เรียกว่า มุทฺธชา ฯ
๒. อาเทสพยัญชนะสนธิ กับ อาเทสนิคคหิตสนธิ ต่างกันอย่างไร ฯ จงตอบพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบ ฯ สจาหํ, อตฺตานญฺเจ, ตุมฺเหเยว เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาเทสพยัญชนะสนธิ กับ อาเทสนิคคหิตสนธิ ต่างกันอย่างนี้ คือ อาเทสพ-ยัญชนะสนธิ หมายถึงการเชื่อมบทกับบทเข้ากัน โดยแปลงพยัญชนะให้เป็นพยัญชนะ ตัวอย่างเช่น อิติ-เอวํ เป็น อิจฺเจวํ ฯ
นอกจากนี้ อาเทสพยัญชนะสนธิ ยังมีที่แปลงเป็นพยัญชนะและสระอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
แปลง ธ เป็น ท ตัวอย่างเช่น เอกํ-อิธ-อหํ เป็น เอกมิทาหํ เป็นต้น
แปลง ธ เป็น ห ตัวอย่างเช่น สาธุ-ทสฺสนํ เป็น สาหุทสฺสนํ เป็นต้น
แปลง ท เป็น ต ตัวอย่างเช่น สุคโท เป็น สุคโต เป็นต้น
แปลง ต เป็น ฏ ตัวอย่างเช่น ทุกฺกตํ เป็น ทุกฺกฏํ เป็นต้น
แปลง ต เป็น ธ ตัวอย่างเช่น คนฺตพฺโพ เป็น คนฺธพฺโพ เป็นต้น
แปลง ต เป็น ร ตัวอย่างเช่น อตฺตโช เป็น อตฺรโช เป็นต้น
แปลง ค เป็น ก ตัวอย่างเช่น กุลุปโค เป็น กุลุปโก เป็นต้น
แปลง ร เป็น ล ตัวอย่างเช่น มหาสาโร เป็น มหาสาโล เป็นต้น
แปลง ย เป็น ช ตัวอย่างเช่น คฺวโย เป็น คฺวโช เป็นต้น
แปลง ว เป็น พ ตัวอย่างเช่น กุวโต เป็น กุพฺพโต เป็นต้น
แปลง ย เป็น ก ตัวอย่างเช่น สยํ เป็น สกํ เป็นต้น
แปลง ช เป็น ย ตัวอย่างเช่น นิชํ เป็น นิยํ เป็นต้น
แปลง ต เป็น ก ตัวอย่างเช่น นิยโต เป็น นิยโก เป็นต้น
แปลง ต เป็น จ ตัวอย่างเช่น ภโต เป็น ภจฺโจ เป็นต้น
แปลง ป เป็น ผ ตัวอย่างเช่น นิปฺปตฺติ เป็น นิปฺผตฺติ เป็นต้น
แปลง อภิ เป็น อพฺภ ตัวอย่างเช่น อภิ-อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ
แปลง อธิ เป็น อชฺฌ ตัวอย่างเช่น อธิ-โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส
แปลง อว เป็น โอ ตัวอย่างเช่น อว-นทฺธา เป็น โอนทฺธา ฯ
ถ้า เอ และ ห อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิตเป็น ตัวอย่างเช่น ตํ-เอว เป็น ตญฺเ ว, ตํ-หิ เป็น ตญฺหิ เป็นต้น
ถ้า ย อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิต กับ ย เป็น ญฺ ตัวอย่างเช่น สํ-โยโค เป็น สญฺโญ- โค เป็นต้น
ในสัททนีติว่า ถ้า ล อยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ล ตัวอย่างเช่น ปํุ-ลิงฺคํ เป็น ปุลฺลิงฺคํ, สํ-ลกฺขณา เป็น สลฺลกฺขณา เป็นต้น
ถ้าสระเบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ม ตัวอย่างเช่น ตํ-อหํ เป็น ตมหํ , แปลงนิคคหิตเป็น ท ตัวอย่างเช่น เอตํ-อโวจ เป็น เอตทโวจ ฯ
สจาหํ เป็นโลปสระสนธิ ตัดเป็น สเจ-อหํ
ระหว่าง สเจ-อหํ ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ ลบสระหน้า คือ ลบสระ เอ ที่ สเจ แล้วทีฆะสระหลัง คือ อ ที่ อหํ เป็น อา ต่อเป็น สจาหํ ฯ
อตฺตานญฺเจ เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น อตฺตานํ-เจ เมื่อมีพยัญชนะ คือ จ อยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า อาเทสนิคคหิตเป็นพยัญชนะสุดท้ายแห่ง จ วรรค คือ ต่อเป็น อตฺตานญฺเจ ฯ
ตุมฺเหเยว เป็นอาคมพยัญชนะสนธิ ตัดเป็น ตุมฺเห-เอว ถ้าสระอยู่หลัง ลง ย พยัญชนะอาคมได้บ้าง ต่อเป็น ตุมฺเหเยว ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. นามนามกับคุณนาม ต่างกันอย่างไร ฯ
ข. สข (เพื่อน) ป.เอก ในปุงลิงค์ และอิตถีลิงค์ มีรูปเป็นอย่างไร ฯ
ค. สังขยานามและสังขยาคุณ ใช้ต่างกันอย่างไร ฯ
ฆ. ในสัพพนาม “ตสฺสา” กับ “ตสฺสํ ” เหมือนกันและต่างกันอย่างไร ฯ
ง. อุปสัคนั้น ใช้อย่างไร จงยกอุทาหรณ์มาดู ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. ต่างกันอย่างนี้ คือ นามนาม คือ นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ จัดเป็นนามนาม, ส่วนคุณนาม คือ นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สำหรับหมายให้รู้ว่า นามนามนั้นดีหรือชั่วเป็นต้น ฯ
ข. สข (เพื่อน) ป.เอก ในปุงลิงค์ มีรูปเป็น สขา ในอิตถีลิงค์ มีรูปเป็น สขี ฯ
ค. สังขยานามกับสังขยาคุณ ใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ สังขยานาม ใช้เช่นเดียวกับนามนาม เมื่อใช้นับจํานวนนามนามบทใด ให้เรียงไว้หลังนามนามนั้น ตัวอย่าง ภิกฺขูนํ สตํ ภิกฺขุสตํ ฯ ส่วนสังขยาคุณ ใช้เช่นเดียวกับคุณนาม เมื่อใช้นับนามนามบทใด ให้เรียงไว้หน้านามนามบทนั้น ตัวอย่าง ปญฺจสตา ภิกฺขู เป็นต้น ฯ
ฆ. ในสัพพนาม “ตสฺสา” กับ “ตสฺสํ” เหมือนกันและต่างกันอย่างนี้ คือ ที่เหมือนกันคือ ทั้ง ตสฺสา และ ตสฺสํ มาจาก ต สัพพนาม เป็นอิตถีลิงค์ และเอกวจนะเหมือนกัน ที่ต่างกัน คือ “ตสฺสา” เป็นได้ ๒ วิภัตติ คือ ส จตุตถีวิภัตติ และ ส ฉัฏฐีวิภัตติ ส่วน “ตสฺสํ ” เป็น สฺมึ สัตตมีวิภัตติเท่านั้น ฯ
ง. อุปสัคนั้น ใช้อย่างนี้ คือ ใช้นําหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนําหน้านาม มีอาการคล้ายคุณศัพท์ เช่น อติสุนฺทโร, อธิสกฺกาโร เป็นต้น เมื่อนําหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ อุทาหรณ์ เช่น อติกฺกมติ, อธิเสติ เป็นต้น ฯ
๔. อาย อิย ปัจจัยในอาขยาต ใช้อย่างไร ฯ เป็นไปในความอะไร ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. เอกจฺเจ (อิตฺถิโย) สตฺถุ ปุรโต นจฺจิตุํ อารภิ ฯ
ข. ปติตกาเล หตฺโถ วา ปาโท วา ภิชฺเชยฺยุํ ฯ
ค. ปิตา โน มหลฺลกา ชาตา ฯ
ตอบ : อาย กับ อิย ปัจจัยในอาขยาต ใช้อย่างนี้ คือ ถ้าประกอบกับคุณนาม แปลว่า ประพฤติ เช่น จิรายติ ประพฤติช้าอยู่ ปิยายติ ประพฤติเป็นที่รัก เป็นต้น ถ้าประกอบกับนามนาม แปลว่า ประพฤติเพียงดัง เช่น ปุตฺติยติ ย่อมประพฤติให้เป็นเพียงดังบุตร ธูมายติ ย่อมประพฤติเพียงดังควัน เป็นต้น ใช้ประกอบกับนามศัพท์ให้เป็นกิริยาศัพท์ เป็นไปในความประพฤติ ฯ
ได้แก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. เอกจฺจา (อิตฺถิโย) สตฺถุ ปุรโต นจฺจิตุํ อารภึสุ ฯ
ข. ปติตกาเล หตฺโถ วา ปาโท วา ภิชฺเชยฺย ฯ หรือ ปติกาเล หตฺโถ จ ปาโท จ ภิชฺเชยฺยุํ ฯ
ค. ปิตา โน มหลฺลโก ชาโต ฯ หรือ ปิตโร โน มหลฺลกา ชาตา ฯ
๕. ปัจจัยในนามกิตก์ กับ กิริยากิตก์ เหมือนกันและต่างกันอย่างไร ฯ วูปสโม, ทูรงฺคมํ (จิตฺตํ), ทุนฺนิคฺคหํ (จิตฺตํ) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยในนามกิตก์ กับ กิริยากิตก์ เหมือนกันและต่างกัน ดังนี้ ที่เหมือนกัน คือ แบ่งเป็น ๓ ประเภทได้แก่ กิตปัจจัย ๑ กิจจปัจจัย ๑ กิตกิจจปัจจัย ๑ และใช้ประกอบกับธาตุ ฯ
ส่วนที่ต่างกัน คือ ปัจจัยในนามกิตก์ ทำธาตุที่ประกอบนั้นให้เป็นสาธนะนั้น ๆ และใช้ในปฐมาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติได้บ้าง เช่น กรณํ ทายโก กาตุํ เป็นต้น
ส่วนปัจจัยในกิริยากิตก์นั้น ทำธาตุที่ประกอบให้เป็นกิริยา และเป็นเครื่องหมายให้รู้กาลและวาจกได้บ้าง เช่น คนฺตวา คจฺฉนฺโต นีหริยมาโน กรณียํ คนฺตพฺพํ เป็นต้น ฯ
วูปสโม ลง อ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า วูปสมนํ วู ปสโม ฯ
ทูรงฺคมํ (จิตฺตํ) ลง อ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทูเร คจฺฉตีติ ทูรงฺคมํ (จิตฺตํ)
หรือเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทูเร คจฺฉติ สีเลนาติ ทูรงฺคมํ (จิตฺตํ)
หรือเป็นสมาสรูป ตัสสีลสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทูเร คมิตุํ สีลมสฺสาติ ทูรงฺคมํ (จิตฺตํ) ฯ
ทุนฺนิคฺคหํ (จิตฺตํ) ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน นิคฺคหิยเตติ ทุนฺนิคฺคหํ (จิตฺตํ)
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน นิคฺคหิตพฺพนฺติ ทุนฺนิคฺคหํ (จิตฺตํ) ฯ
๖. สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส กับ อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ จงตอบ พร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบด้วย ฯ ตณฺหกฺขโย, ตินฺตจีวร-กา (ภิกฺขู) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส กับ อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ต่างกันอย่างนี้ คือ
สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วย อิติ ศัพท์ บทหลังเป็นประธาน ตัวอย่างเช่น ขตฺติโย (อหํ) อิติ มาโน ขตฺติยมาโน มานะว่า (เราเป็น) กษัตริย์, สตฺโต อิติ สญฺญา สตฺตสญฺญา ความสำคัญว่าสัตว์ ฯ
ส่วนอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีบทหน้าอันหน้าท่านประกอบด้วย เอว ศัพท์ เพื่อจะห้ามเนื้อความอันอื่นเสีย บทหลังเป็นประธาน ตัวอย่างเช่น ปญฺญา เอว ปโช-โต ปญฺญาปโชโต (ประทีป) อันโพลงทั่ว คือ ปัญญา, พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ รัตนะ คือ พระพุทธเจ้า ฯ
ตณฺหกฺขโย เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ตณฺหาย ขโย ตณฺหกฺขโย ฯ
ตินฺตจีวรกา (ภิกฺขู) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ตินฺตานิ จีวรานิ เยสํ เต ตินฺตจีวรกา (ภิกฺขู) ฯ
๗. ปัจจัยในตัทธิตไหนบ้าง ใช้ประกอบกับศัพท์ที่สังขยาได้ ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบด้วย ฯ อติมานี (ปุคฺคโล), ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ลงปัจจัยอะไร ในปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยในตัทธิตที่ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็นสังขยาได้ คือ
ปัจจัยในปูรณตัทธิต ๕ ตัว คือ ติย ถ ม อี ตัวอย่าง ทุติโย, จตุตฺโถ เป็นต้น
ปัจจัยในสังขยาตัทธิต คือ ก ปัจจัย ตัวอย่าง ทุกํ , ติกํ เป็นต้น
ปัจจัยในวิภาคตัทธิต คือ ธา ปัจจัย ตัวอย่าง เอกทา, ทฺวิธา เป็นต้น ฯ
อติมานี (ปุคฺคโล) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อติมาโน อสฺส อตฺถีติ อติมานี (ปุคฺคโล) ฯ
ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิธัตธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ฉทฺวาเร วตฺตตีติ ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ฯ
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า ฉสุ ทฺวาเรสุ วตฺตตีติ ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๒)
๑. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. สระกับพยัญชนะในบาลีภาษา มีเท่าไร และต่างกันอย่างไร ฯ
ข. อัฑฒสระ คืออะไร ฯ เพราะเหตุไร จึงเรียกชื่ออย่างนั้น ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. ในบาลีภาษา สระมี ๘ ตัว พยัญชนะมี ๓๓ ตัว ฯ และต่างกันอย่างนี้ คือ สระ ออกเสียงได้ตามลําพังตนเอง ส่วนพยัญชนะต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ ฯ
ข. อัฑฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งมาตรา มี ๗ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ฯ เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวรวมลงในสระเดียวกันกับพยัญชนะอื่น ออกเสียงพร้อมกันได้ ดังเช่นคำว่า สฺวากฺขาโต, พฺยญฺชนํ เป็นต้น บางตัวแม้เป็นตัวสะกดคงออกเสียงหน่อยหนึ่ง พอให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด คล้ายเป็นตัวกล้ำ ดังเช่นคำว่า ตสฺมา, กลฺยาณํ เป็นต้น ฯ
๒. ในสนธิ การต่อมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ยานีมานิ, ตญฺชโน, คาถมาห ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในสนธิมีต่อ ๒ อย่าง คือ ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติ ตัวอย่างเช่น จตฺตาโร อิเม ต่อเป็น จตฺตาโรเม เป็นต้น ๑ ต่อบทสมาส ย่ออักษรให้น้อยลง ตัวอย่างเช่น กต อุปกาโร ต่อเข้าเป็น กโตปการโร เป็นต้น ๑ ฯ
ยานีมานิ เป็นโลปสระสนธิ ตัดเป็น ยานิ-อิมานิ
ระหว่าง ยานิ-อิมานิ ถ้าสระทั้ง ๒ เป็นรัสสะมีรูปเสมอกัน เมื่อลบแล้วต้องทีฆะสระที่ยังไม่ได้ลบ ต่อเป็น ยานีมานิ ฯ
ตญฺชโน เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น ตํ-ชโน เมื่อมีพยัญชนะ คือ ช ซึ่งเป็นพยัญชนะใน
จ วรรค อยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า อาเทสนิคคหิตเป็นพยัญชนะสุดท้ายแห่ง จ วรรค คือ ต่อ
เป็น ตญฺชโน ฯ
คาถมาห เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น คาถํ-อาห ถ้านิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิต เป็น ม ต่อเป็น คาถมาห ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. พาราณสี เป็นนามนามชนิดไหน ฯ
ข. คําว่า “โน” เป็นศัพท์อะไรในไวยากรณ์ แปลว่าอะไร ฯ
ค. สังขยาตั้งแต่ไหนถึงไหนเป็นนามอะไร ฯ
ฆ. กึ ศัพท์ จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน เป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ง. หึ และ ชฺช ปัจจัย เป็นเครื่องหมายวิภัติไหน ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามดังต่อไปนี้
ก. พาราณสี เป็นนามนามชนิด อสาธารณนาม ฯ
ข. คําว่า “โน” ในไวยากรณ์ เป็นได้ทั้งศัพท์นิบาต เป็นได้ทั้งสัพพนาม โน ที่เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ แปลว่า ไม่ ส่วน โน ที่เป็นสัพพนาม เป็นบทที่สำเร็จมาจากการเปลี่ยนวิภัตติเดิมเป็น อมฺห ศัพท์ เป็นปุริสสัพพนาม อุตตมบุรุษ แปลงกับ โย ปฐมาวิภัตติ โย ทุติยาวิภัตติ หิ ตติยาวิภัตติ นํ จตุตถีวิภัตติ และ นํ ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เป็น โน แปลตามสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตตินั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โน ปฐมาวิภัตติ แปลว่า อ.เรา ท. ดังนี้เป็นต้น ฯ
ค. สังขยา ที่เป็นปกติสังขยา จัดเป็นนามดังนี้
ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ เป็นสัพพนาม
ตั้งแต่ ปญฺจ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นคุณนาม
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ขึ้นไป เป็นนามนาม
ส่วนสังขยา ที่เป็นปูรณสังขยา เป็นคุณนามทั้งสิ้น ฯ
ฆ. กึ ศัพท์ จัดเป็นอนิยมวิเสสนสัพพนาม เป็นได้ ๓ ลิงค์ ฯ
ง. หึ เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ, ชฺช เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ ลงในกาล ฯ
๔. อานยึสุ และ อุฏฺเฐหิ ในคําว่า “อุฏฺเฐหิ ตาต” ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง จงแก้คําที่เห็นว่าผิดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. มาคนฺทิยา ชีวนฺตาปิ มตาปิ มโตเยว นาม ฯ
ข. เอกจฺจา ชนา สตฺถุ ธมฺมํ โสตุํ ลภติ ฯ
ค. มยํ วีสตีนํ ภิกฺขูนํ ภิกฺขํ ทสฺสามิ ฯ
ตอบ : อานยึสุ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ อา บทหน้า นี ธาตุ ในความนำไป ลง อ ปัจจัย อุํ อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง อี ที่ นี ธาตุ เป็น อย แปลง อุํ เป็น อึสุ สำเร็จเป็น อานยึสุ ฯ
อุฏฺเฐหิ ในคำว่า “อุฏฺเฐหิ ตาต” ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ อุ บทหน้า า ธาตุ ในความตั้ง ความยืน ลง เอ ปัจจัย หิ ปัญจมีวิภัตติ ลบ อา ที่ า ธาตุ ซ้อน ฏ หน้าธาตุ สำเร็จรูปเป็น อุฏฺเฐหิ ฯ
ได้แก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. มาคนฺทิยา ชีวนฺตีปิ มตาปิ มตาเยว นาม ฯ
ข. เอกจฺเจ ชนา สตฺถุ ธมฺมํ โสตุํ ลภนฺติ ฯ หรือ เอกจฺโจ ชโน สตฺถุ ธมฺมํ โสตุํ ลภติ ฯ
ค. อหํ วีสติยา ภิกฺขูนํ ภิกฺขํ ทสฺสามิ ฯ หรือ มยํ วีสติยา ภิกฺขูนํ ภิกฺขํ ทสฺสาม ฯ
๕. สาธนะคืออะไร ฯ การกําหนดรูปของสาธนะนั้น ต้องอาศัยอะไรเป็นหลัก ฯ โกธาภิภู (นโร), ทุพฺพโจ (ปุริโส) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สาธนะ คือ ศัพท์ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่รูปวิเคราะห์ ฯ
การกำหนดรูปของสาธนะนั้น ๆ ต้องอาศัยรูปวิเคราะห์เป็นหลัก คือ
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัตตุวาจกก็ดี เป็นเหตุกัตตุวาจกก็ดี สาธนะนั้น เป็นกัตตุรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัมมวาจกก็ดี เป็นเหตุกัมมวาจกก็ดี สาธนะนั้น เป็นกัมมรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นภาววาจก สาธนะนั้น เป็นภาวรูป ฯ
โกธาภิกู (นโร) ลง กฺวิ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า โกธํ อภิภวตีติ โกธาภิกู (นโร) ฯ
ทุพฺพโจ (ปุริโส) ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน วจิยเตติ ทุพฺพโจ ฯ
๖. สมาสคืออะไร ฯ เมื่อว่าโดยชื่อมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อตฺตทตฺโถ, มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมาส คือ นามศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียว ฯ
เมื่อว่าโดยชื่อมี ๖ อย่าง คือ กมฺมธารโย, ทิคุ, ตปฺปุริโส, ทวนฺทฺโว, อพฺยยีภาโว, พหุพฺพิหิ ฯ
อตฺตทตฺโถ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า อตฺตโน อตฺโถ อตฺตทตฺโถ ฯ
มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) เป็นฉัฎฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า มโน เสฏฺโฐเยสํ เต มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) ฯ
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า มโน เสฏฺโฐเอเตสนฺติ มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) ฯ
๗. ตา ปัจจัย มีในตัทธิตไหนบ้าง ฯ และใช้ต่างกันอย่างไร ฯ อุโปสถิกา (อุปาสิกา), มโนมยา (ธมฺมา) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตา ปัจจัย มีใน ๒ ตัทธิต คือ สมุหตัทธิต และภาวตัทธิต ฯ ใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ ตา ปัจจัย ในสมุหตัทธิต ใช้แทน สมุห ศัพท์ แปลว่า ประชุม เช่น สหายานํ สมุโห สหายตา ประชุมแห่งสหาย ท. ชื่อสหายตา (ประชุมแห่งสหาย)
ส่วน ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต ใช้แทน ภาว ศัพท์ แปลว่า ความเป็น เช่น สหายสฺส ภาโว สหายตา ความเป็นแห่งสหาย ชื่อสหายตา (ความเป็นแห่งสหาย) ฯ
อุโปสถิกา (อุปาสิกา) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อุโปสถํ สมาทิยตีติ อุโปสถิกา (อุปาสิกา) ฯ
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า อุโปสถํ รกฺขตีติ อุโปสถิกา (อุ ปาสิกา) ฯ
มโนมยา (ธมฺมา) ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า มนสา ปกตา มโนมยา (ธมฺมา) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒
๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สระที่เป็น……………………………………………….ชื่อลหุ มีเสียงเบา ฯ
ข. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ เรียกว่า อวรรค เพราะ…………………………..ฯ
ค. ว เกินใน ๒ ฐาน คือ………………….เรียกว่า…………………………..ฯ
ฆ. พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ…….และ…..เป็นอโฆสะ ฯ
ง. วุฒฺโฑ สังโยคผิด เพราะ……………………………….คำที่ถูก คือ…….ฯ
ตอบ : ได้เติมคําที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สระที่เป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยค และนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง ชื่อว่าลหุ มีเสียงเบา ฯ
ข. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ เรียกว่า อวรรค เพราะไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์ที่ เกิด ฯ
ค. ว เกินใน ๒ ฐาน คือ ฟันและริมฝีปาก เรียกว่า ทนฺโตฏฺ โช ฯ
ฆ. พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ , ต ถ, ป ผ และ ส เป็น อโฆสะ ฯ
ง. วุฒฺโฑ สังโยคผิด เพราะหลักเกณฑ์แห่งการสังโยค พยัญชนะที่ ๓ ซ้อน หน้าพยัญชนะที่ ๓
และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะ คือ ฒ เป็น พยัญชนะที่ ๔ จะซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ ไม่ได้ คําที่ถูก คือ วุฑฺโฒ ฯ
๒. วิธีเป็นอุปการะแก่การทําสนธิ เรียกว่าอะไร ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อุปฺปลํว และ ยโถทเก ในคําว่า “อุปฺปลํว ยโถทเก” เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : วิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิ เรียกว่า สนธิกิริโยปกรณ์ ฯ
มี ๘ อย่าง คือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงอักษรตัวใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑ ฯ
อุปฺปลํว ในคำว่า “อุปฺปลํว ยโถทเก” เป็นปกตินิคคหิตสนธิ ตัดเป็น อุปฺปลํ+ว ต่อเป็น อุปฺปลํว ฯ
ยโถทเก เป็นวิการสระสนธิ ตัดเป็น ยถา+อุทเก เมื่อลบสระหน้า คือ อา ที่ ยถา แล้ววิการสระหลัง คือ อุ ที่ อุทเก เป็น โอ ต่อเป็น ยโถทเก ฯ
๓. นามศัพท์ จัดเป็นลิงค์อะไรได้บ้าง ฯ “กสฺมา ตฺวํ ปุณฺเณ มม สาวเก ปริภวิ ” เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น เป็นนามศัพท์ชนิดไหน ฯ เป็นการันต์ ลิงค์ และวจนะอะไร ฯ
ตอบ : นามศัพท์ จัดเป็นลิงค์ได้ดังนี้ คือ นามนาม จัดเป็นลิงค์เดียว คือ เป็นปุงลิงค์ อิตถีลิงค์ หรือนปุงสกลิงค์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อมโร เทวดา อจฺฉรา นางอัปสร องฺคํ องค์ เป็นต้น
นามนามเป็น ๒ ลิงค์ คือ ศัพท์ ๆ เดียวกัน มีรูปอย่างเดียวกันเป็นได้ทั้ง ๒ ลิงค์ หรือมีรากศัพท์เป็นอันเดียวกัน เปลี่ยนแต่สระที่สุดให้แปลกกัน พอเป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กันบ้าง เช่น อกฺขโร อกฺขรํ อักษร, ทิวโส ทิวสํ วัน เป็นต้น
ส่วนคุณนามและสัพพนาม เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ฯ
ในประโยคว่า “กสฺมา ตฺวํ ปุณฺเณ มม สาวเก ปริภวิ ” เฉพาะคำที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น เป็นนาม
ศัพท์ เป็นการันต์ ลิงค์ วิภัตติ และวจนะ ตามลำดับดังนี้
คำว่า ตฺวํ เป็นนามศัพท์ชนิดปุริสสัพพนาม เป็น อ การันต์ อิตถีลิงค์ สิ ปฐมาวิภัตติ และเอกวจนะ ฯ
คำว่า ปุณฺเณ เป็นนามศัพท์ชนิดอสาธารณนาม เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ สิ อาลปนวิภัตติ และเอกวจนะ ฯ
คำว่า มม เป็นนามศัพท์ชนิดปุริสสัพพนาม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ส ฉัฏฐีวิภัตติ และเอกวจนะ ฯ
๔. ในอาขยาต อ อาคมหน้าธาตุ และอิ อาคมหลังธาตุและปัจจัย ลงได้ในวิภัตติหมวดไหนบ้าง ฯ ปพฺพาเชสิ และ ชิเน ในคําว่า “อกฺโกเธน ชิเน โกธํ” ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในอาขยาต อ อาคมหน้าธาตุ ลงประกอบได้ในวิภัตติหมวดหิยัตตนี หมวดอัชชัตตนี และหมวดกาลาติปัตติ ส่วน อิ อาคม หลังธาตุและปัจจัย ลงประกอบได้ในวิภัตติหมวดอัชชัตตนี หมวดภวิสสันติ และหมวดกาลาติปัตติ ฯ
ปพฺพาเชสิ ประกอบด้วยเครื่อง คือ
วิภัตติ – อี อัชชัตตนีวิภัตติ
กาล – อดีตกาล
บท – ปรัสสบท
วจนะ – เอกวจนะ
บุรุษ – ปฐมบุรุษ
ธาตุ – วชฺ ธาตุ ในความเว้น
วาจก – เหตุกัตตุวาจก
ปัจจั ย – เณ ปัจจัย
มีวิธีทำตัว คือ ปพฺพาเชสิ เป็น ป บทนห้า วชฺ ธาตุ ในความเว้น ลง เณ ปัจจัย อี อัชชัตตนีวิภัตติ ลง ส อาคม ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ เสีย เหลือไว้แต่ เอ ทีฆะต้นธาตุเป็น อา แปลง ว ที่ พ ซ้อน พ หน้าธาตุ ลง เณ ปัจจัยหลังธาตุ รัสสะ อี เป็น อิ แล้งลง ส อาคม สำเร็จรูปเป็น ปพฺพาเชสิ ฯ
ชิเน ในคำว่า “อกฺโกเธน ชิเน โกธํ ” ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ
วิภัตติ – เอยฺย สัตตมีวิภัตติ
กาล – ปัจจุบันกาล (บอกความยอมตาม)
บท – ปรัสสบท
วจนะ – เอกวจนะ
บุรุษ – ปฐมบุรุษ
ธาตุ – ชิ ธาตุ ในความชนะ
วาจก – กัตตุวาจก
ปัจจัย – นา ปัจจัย
มีวิธี ทำตัว คือ ชิเน เป็น ชิ ธาตุ ในความชนะ ลง นา ปัจจัย ลง เอยฺย สัตตมีวิภัตติ ลบ ยฺย ที่สุดแห่ง เอยฺย เหลือไว้แต่ เอ สำเร็จรูปเป็น ชิเน ฯ
๕. ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ในที่เช่นไร ใช้บอกกัตตุวาจก ฯ ในที่เช่นไร ใช้บอกกัมมวาจก ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ “อาคมน” ในคําว่า “อาคมนทิวโส” และคําว่า “อากาเสน อาคมนํ กริ” ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธานะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ประกอบกับอกัมมธาตุ บอกกัตตุวาจก ตัวอย่างเช่น มโต ฐฃิโต นิสินฺโน เป็นต้น ประกอบกับสกัมมธาตุ บอกกัมมวาจก ตัวอย่างเช่น กโต หโต ทิฏฺโฐ เป็นต้น ฯ
“อาคมน” ในคำว่า “อาคมนทิวโส” ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า อาคจฺฉนฺติ เอตฺถาติ อาคมโน (ทิวโส) ฯ
“อาคมน” ในคำว่า “อากาเสน อาคมนํ กริ” ลง ยุ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า อาคมนํ อาคมนํ ฯ
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า อาคจฺฉิยเตติ อาคมนํ ฯ
หรือ อาคจฺฉยเตติ อาคมนํ ฯ
หรือ อาคนฺตพฺพนฺติ อาคมนํ ฯ
๖. อะไรชื่อตัปปุริสสมาส ฯ ตัปปุริสสมาส กับ อัพยยีภาวสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ ทุกฺขปีฬิตสตฺตา เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลําดับ ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้นในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส ฯ
ตัปปุริสสมาส กับ อัพยยีภาวสมาส ต่างกันอย่างนี้ คือ ตัปปุริสสมาส มีบทหลังเป็นประธาน ไม่นิยมลงลิงค์และวจนะ ส่วนอัพยยีภาวสมาส เป็นสมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้าและเป็นประธานบท สำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียวเท่านั้น ฯ
ทุกฺขปีฬิตสตฺตา เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีตติยาตัปปุริสสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
ต. ตัป. วิ. ทุกฺเขน ปีฬิตา ทุกฺขปีฬิตา (สตฺตา)
วิ. บุพ. กัม. วิ. ทุกฺขปีฬิตา สตฺตา ทุกฺขปีฬิตสตฺตา ฯ
๗. ภาวตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปาสาทิโก (ภควา), เถยฺยํ, ปญฺจโม ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ภาวตัทธิต มีปัจจัย ๖ ตัว ฯ คือ ตฺต ณยฺ ตฺตน ตา ณ กณฺ ฯ
ปาสาทิโก (ภควา) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปสาทํ ชเนตีติ ปาสาทิโก (ภควา)
หรือ ปสาทํ อาหรตีติ ปาสาทิโก (ภควา) ฯ
เถยฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า เถนสฺส ภาโว เถยฺยํ ฯ
หรือ ลง เณยฺย ปัจจัย ตามนัยแห่งรูปสิทธิปกรณ์ และสัททนีติปกรณ์
ปญฺจโม ลง ม ปัจจัย ใน ปูรณตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปญฺจนฺนํ ปูรโณ ปญฺจโม ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒ (ครั้งที่ ๒)
๑. พยัญชนะในภาษาบาลีมีเท่าไร ฯ ต่างจากสระอย่างไร ฯ ในคําว่า “อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ” นี้ เฉพาะคําที่ขีดเส้นใต้ เป็นครุ หรือลหุ ฯ
ตอบ : พยัญชนะในบาลีภาษามี ๓๓ ตัว ฯ
ต่างจากสระอย่างนี้ คือ พยัญชนะ ๓๓ ตัว มี ก ข ค ฆ ง เป็นต้น ออกเสียงไม่ได้ตามลำพังตัวเองเหมือนสระ ต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ ฯ
ในคำว่า “อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ” นี้ เฉพาะคำที่ขีดเส้นใต้ เป็นครุ หรือ ลหุ ตามลำดับดังนี้
อ เป็น ลหุ
ภิตฺ เป็น ครุ
ถ เป็น ลหุ
เร เป็น ครุ
ถ เป็น ลหุ
กลฺ เป็น ครุ
ยา เป็น ครุ
เณ เป็น ครุ ฯ
๒. ในสนธิกิริโยปกรณ์ อาเทส กับ วิการ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ อิเธวเมโส ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในสนธิกิริโยปกรณ์ อาเทส กับ วิการ มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ
อาเทส ได้แก่ การแปลงสระให้เป็นพยัญชนะ ได้แก่
– แปลง อิ-เอ เป็น ย เช่น ปฏิสนฺฐารวุตฺติ-อสฺส เป็น ปฏิสนฺฐารวุตฺยสฺสฺ เป็นต้น
– แปลงพยัญชนะเป็นพยัญชนะ คือ แปลง ติ เป็น ตฺย แล้วเป็น จฺจ เช่น ปติ-อุตฺริตฺวา เป็น ปจฺจุตฺริตฺวา อิติ-เอวํ เป็น อิจฺเจวํ เป็นต้น
– แปลงนิคคหิต เป็นพยัญชนะ เมื่อมีพยัญชนะวรรคอยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค เช่น เอวํ-โข เป็น เอวงฺโข เป็นต้น เมื่อ เอ และ ห อยู่หลัง แปลงนิคคหิต เป็น เช่น ตํ-เอว เป็น ตญฺเ ว ตํ-หิ เป็น ตญฺหิ เป็นต้น
ส่วนวิการได้แก่การแปลงสระเท่านั้น คือ การทำสระตัวหนึ่งให้เป็นสระอีกตัวหนึ่ง เช่น ทำ อิ ให้เป็น เอ ทำ อุ ให้เป็น โอ เช่น มุนิ-อาลโย เป็น มุเนลโย สุ-อตฺถี เป็น โสตฺถี เป็นต้น ฯ
อิเธวเมโส เป็นโลปสระสนธิ และอาคมพยัญชนะสนธิ ตัดเป็น อิธ-เอว-เอโส
ระหว่าง อิธ-เอว ถ้าสระหน้าและสระหลังไม่มีพยัญชนะคั่นในระหว่าง ลบสระหน้า คือ อ ที่ อิธ ต่อเป็น อิเธว
ระหว่าง อิเธว-เอโส ถ้าพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง ลง ม พยัญชนะอาคมได้บ้าง ต่อเป็น อิเธวเมโส ฯ
อีกนัยหนึ่ง อิเธวเมโส เป็นโลปสระสนธิ และนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น อิธ-เอวํ -เอโส
ระหว่าง อิธ-เอวํ ถ้าสระหน้าและสระหลังไม่มีพยัญชนะคั่นในระหว่าง ลบสระหน้า คือ อ ที่ อิธ ต่อเป็น อิเธวํ
ระหว่าง อิเธวํ-เอโส ถ้าสระอยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ม ได้ ต่อเป็น อิเธวเมโส ฯ
๓. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ทั้ง ๓ นั้น เมื่อนําไปใช้ ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ข. เทวเต และ ปพฺพเต เป็นวิภัตติและวจนะอะไรได้บ้าง ฯ
ค. ปณฺณาส กับ ปณฺณรสี แปลว่าอะไร ฯ ต่างกันอย่างไร ฯ
ฆ. กตม, อมฺห ศัพท์ เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. นิบาตนั้น สําหรับใช้ลงที่ไหน ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ทั้ง ๓ นั้น เมื่อนําไปใช้ ต้องประกอบด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติ ฯ
ข. เทวเต เป็นอาลปนวิภัตติ เอกวจนะ ส่วน ปพฺพเต เป็นได้ ๒ วิภัตติ คือ เป็นทุติยาวิภัตติ พหุวจนะ และเป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ ฯ
ค. ต่างกันอย่างนี้ คือ ปณฺณาส แปลว่า ๕๐ เป็นปกติสังขยา ส่วน ปณฺณรสี แปลว่า ที่ ๑๕ เป็นปูรณสังขยา ฯ
ฆ. กตม ศัพท์ เป็นสัพพนามชนิดอนิยมวิเสสนสัพพนาม ส่วน อมฺห ศัพท์ เป็น สัพพนามชนิดปุริสสัพพนาม ฯ
ง. นิบาตนั้น สําหรับใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอกอาลปนะ กาล ที่ ปริจเฉท อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ฯ
๔. กิริยาอาขยาต และกิริยากิตก์ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ จงแก้คําที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. อชฺช เทวทตฺโต สงฺฆํ ภิชฺชิสฺสติ ฯ
ข. สุธีโร จ ถาวโร จ สงฆํ อุปสมฺปทํ ยาจติ ฯ
ค. ตโยปิ สิกฺขา กถิตาเยว โหนฺติ ฯ
ตอบ : กิริยาอาขยาต ประกอบด้วยเครื่องปรุง ๘ อย่าง คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ส่วนกิริยากิตก์ ประกอบด้วยเครื่องปรุง ๖ อย่าง คือ วิภัตติ วจนะ กาล ธาตุ วาจก ปัจจัย เหมือนอาขยาต ต่างแต่ไม่มีบทและบุรุษเท่านั้น ฯ
ได้แก้คำผิดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในประโยคต่อไปนี้
ก. อชฺช เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิสฺสติ ฯ
ข. สุธีโร จ ถาวโร จ สงฆํ อุปสมฺปทํ ยาจนฺติ ฯ
ค. ติสฺโสปิ สิกฺขา กถิตาเยว โหนฺติ ฯ
๕. การกําหนดรูปของสาธนะนั้น ๆ ต้องอาศัยอะไรเป็นหลัก จงอธิบาย ฯ ทุทฺทสํ (วชฺชํ), โพธิ (ญาณํ), ทาตา ลงปัจจัยอะไร เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : การกำหนดรูปของสาธนะนั้น ๆ ต้องอาศัยรูปวิเคราะห์เป็นหลัก คือ
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัตตุวาจกก็ดี เป็นเหตุกัตตุวาจกก็ดี สาธนะนั้น เป็นกัตตุรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัมมวาจกก็ดี เป็นเหตุกัมมวาจกก็ดี สาธนะนั้น เป็นกัมมรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นภาววาจก สาธนะนั้น เป็นภาวรูป ฯ
ทุทฺทสํ (วชฺชํ) ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน ปสฺสิยตีติ ทุทฺทสํ (วชฺชํ)
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน ปสฺสิตพฺพนฺติ ทุทฺทสํ (วชฺชํ)
หรือ ทุกฺ เขน ทฏฺฐพฺพนฺติ ทุทฺทสํ (วชฺชํ) ฯ
โพธิ (ญาณํ) ลง อิ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า พุชฺฌติ เตนาติ โพธิ (ญาณํ) ฯ
ทาตา ลง ตุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า เทตีติ ทาตา
หรือเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถตัสสีลสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า เทติ สีเลนาติ ทาตา ฯ
๖. วิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาส มีลักษณะอย่างไร ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบด้วย ฯ ทีฆายุโก (ปุริโส), อโรคา (อิตฺถี) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : วิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาส มีลักษณะอย่างนี้ คือ เป็นสมาสที่มีบทวิเสสนเป็นอุปมา จัดเป็น ๒ ตามวิเสสนะอยู่หน้าและหลัง
สมาสที่มีอุปมาอยู่หน้า เรียก อุปมาปุพฺพปโท มีอุทาหรณ์อย่างนี้ สงฺขํ อิว ปณฺฑรํ สงฺขปณฺฑรํ (ขีรํ น้ำนม) ขาวเพียงดังสังข์, กาโก อิว สูโร กากสูโร คนกล้าเพียงดังกา, ทิพฺพํ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ จักษุเพียงดังทิพย์
สมาสที่มีอุปมาอยู่หลัง เรียกว่า อุปมานุตฺตรปโท มีอุทาหรณ์อย่างนี้ นโร สีโห อิว นรสีโห นระเพียงดังสีหะ, ญาณํ จกฺขุ อิว ญาณจกฺขุ ญาณเพียงดังจักษุ, ปญฺญา ปาสาโท อิว ปญฺญาปาสาโท ปัญญาเพียงดังปราสาท ฯ
ทีฆายุโก (ปุริโส) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทีฆํ อายุ ยสฺส โส ทีฆายุโก (ปุริโส) ฯ
อโรคา (อิตฺถี) เป็น น บุพพบท พหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า นตฺถิ ตสฺสา โรโคติ อโรคา (อตฺถี) ฯ
๗. ณิก ปัจจัย มีตัทธิตไหนบ้าง และใช้ต่างกันอย่างไร ฯ นาครา, โสกินี (ปชา), สมฺโมทนียา (กถา) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ณิก ปัจจัย มีในโคตตตัทธิต และตรตยาธิตัทธิต ฯ
ใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ
ณิก ปัจจัย ในโคตตตัทธิต ใช้ลงแทนศัพท์ได้เฉพาะ “อปจฺจ” ศัพท์อย่างเดียว
ส่วน ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิ ต ใช้แทนศัพท์ได้ทั่วไปไม่จำกัด ฯ
นาครา ลง ณ ปัจจัย ในราคาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า นคเร วสนฺตีติ นาครา ฯ
โสกินี (ปชา) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า โสโก อสฺสา อตฺถีติ โสกินี (ปชา) ฯ
สมฺโมทนียา (กถา) ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สมฺโมทนสฺส านํ สมฺโมทนียา (กถา)
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า สมฺโมทนํ อรหตีติ สมฺโมทนียา (กถา) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑
๑. สระในบาลีภาษามีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สระเช่นไร จัดเป็นครุ ฯ
ตอบ : สระในบาลีภาษามี ๘ ตัว ฯ
คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฯ
สระที่เป็นทีฆะล้วนและสระที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง จัดเป็น ครุ ฯ
๒. อาเทสสระสนธิ ในที่เช่นไร จึงแปลงสระเบื้องหน้าได้ ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ ชีวิตญฺจิทํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาเทสสระสนธิ ในที่เช่นนี้ จึงแปลงสระเบื้องหน้าได้ คือ
ถ้า อิ เอ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้อง แปลง อิ หรือ เอ เป็น ย เช่น อคฺคิ+อคารํ เป็น อคฺยาคารํ, เต+อสฺส เป็น ตฺยสฺส
ถ้า อุ โอ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลัง แปลง อุ หรือ โอ เป็น ว เช่น อถโข+อสฺส เป็น
อถขฺวสฺส, พหุ+อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ ฯ
ชีวิตญฺจิทํ เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ และโลปะสระสนธิ ตัดเป็น ชีวิตํ+จ+อิทํ
ระหว่าง ชีวิตํ+จ ถ้าพยัญชนะวรรคอยู่ข้างหลัง มีนิคคหิตอยู่ข้างหน้า ให้แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคได้ คือ แปลงนิคคหิตที่ ชีวิตํ เป็น ต่อเป็น ชีวิตญฺจ
ระหว่าง ชิวิตญฺจ+อิทํ ถ้าสระหน้าและสระหลังไม่มีพยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง ลบสระหน้า คือ อ ที่ ชีวิตญฺจ ต่อเป็น ชีวิตญฺจิทํ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร เรียกว่าอัพยยศัพท์ ฯ ในอัพยยศัพท์นั้น อุปสัค กับ นิบาต มีวิธีใช้ต่างกันอย่างไร ฯ
ตอบ : ศัพท์จำพวกหนึ่งจะแจกตัววิภัตติทั้ง ๗ แปลงรูปไปต่าง ๆ เหมือนนามทั้ง ๓ ไม่ได้ คงรูปอยู่อย่างเดียว เรียกว่า อัพยยศัพท์ ฯ
ในอัพยยศัพท์นั้น อุปสัค กับ นิบาต มีวิธีใช้ต่างกันอย่างนี้ คือ
อุปสัค สำหรับใช้นำหน้านามนามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนำหน้านาม มีอาการคล้ายคุณนาม เมื่อนำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ
ส่วนนิบาต สำหรับลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอกอาลปนะ กาล ที่ ปริเฉท อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ฯ
๔. สกัมมธาตุ กับ อกัมมธาตุ ใช้ในวาจกอะไรได้บ้าง ฯ ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ หรือ เป็นอกัมมธาตุ จงอธิบาย ฯ
ตอบ : สกัมมธาตุ กับ อกัมมธาตุ ใช้ในวาจกได้ต่างกันดังนี้ คือ
สกัมมธาตุ ใช้ได้ใน ๔ วาจก คือ กัตตุวาจก กัมมวาจก เหตุกัตตุวาจก และเหตุกัมมวาจก
ส่วนอกัมมธาตุ ใช้ได้ ๓ วาจก คือ กัตตุวาจก ภาววาจก และเหตุกัตตุวาจก ฯ
ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ เป็นได้ทั้งสกัมมธาตุ และอกัมมธาตุ มีอธิบายประกอบดังนี้ คือ
ภิทฺ ธาตุ ถ้าลงในหมวด รุธฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ มีรูปเป็น ภินฺทติ แปลว่า ต่อย หรือ ทำลาย ถ้าลงในหมวด ทิวฺ ธาตุ เป็นอกัมมธาตุ มีรูปเป็น ภิชฺชติ แปลว่า แตก ฯ
มุจฺ ธาตุ ถ้าลงในหมวด รุธฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ มีรูปเป็น มุญฺจติ แปลว่า ปล่อย ถ้าลงในหมวด ทิวฺ ธาตุ เป็นอกัมมธาตุ มีรูปเป็น มุจฺจติ แปลว่า พ้น ฯ
๕. ตูนาทิปัจจัย คือ ปัจจัยอะไร ฯ บอกกาลอะไร ฯ ในที่เช่นไร นิยมแปลง เป็น ย ฯ “ปาน” ในคำว่า “มชฺชปานา จ สญฺ โม” ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูป และสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตูนาทิปัจจัย คือ ปัจจัย มี ตูน เป็นต้น หมายถึงปัจจัย ๓ ตัว คือ ตูน ตฺวา ตฺวาน ฯ บอกอดีตกาล ฯ
ในที่เช่นนี้นิยมแปลงเป็น ย คือ เมื่อธาตุมีอุปสัคอยู่หน้า เช่น อา อุปสัคบทหน้า ทา ธาตุ ในความให้ แปลง ตูนาทิปัจจัย เป็น ย สำเร็จรูปเป็น อาทาย ฯ
“ปาน” ในคำว่า “มชฺชปานา จ สญฺ โม” ลง ยุ ปัจจัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปานํ ปานํ หรือ ปิวนํ ปานํ ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ
ตอบ : สมาสที่มีนามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ
มี ๒ อย่าง คือ สมาหาร ๑ อสมาหาร ๑ ฯ
มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีอสมาหาร ทวันทวสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
อ. ทวัน. วิ. มาตา จ ปิตา จ มาตาปิตโร
ฉ. ตัป. วิ. มาตาปิตูนํ อุปฏฺฐานํ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ฯ
๗. สมุหตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ชนตา, สตฺตกํ, ลชฺชี (ภิกฺขุ) ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมุหตัทธิต มีปัจจัย ๓ ตัว คือ กณฺ ณ ตา ฯ
ชนตา ลง ตา ปัจจัย ในสมุหตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชนานํ สมุโห ชนตา
หรือ ลง ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ชนสฺส ภาโว ชนตา ฯ
สตฺตกํ ลง ก ปัจจัย ในสังขยาตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สตฺต ปริมาณานิ อสฺสาติ สตฺตกํ ฯ
ลชฺชี (ภิกฺขุ) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ลชฺชา อสฺส อตฺถีติ ลชฺชี (ภิกฺขุ) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๒)
๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. อักขระ แปลว่า………………………………………………………………….ฯ
ข. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ…………………………………..เรียกว่า อวรรค ฯ
ค. เอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ………………………เรียกว่า……………………….ฯ
ฆ. กรณ์ ที่ทำอักขระ มี ๔ คือ…………………………………………………..ฯ
ง. พยัญชนะที่มีก้อง เรียกว่า…………………………………………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้ คือ
ก. อักขระ แปลว่า ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑ ฯ
ข. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ เรียกว่า อวรรค ฯ
ค. เอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและเพดาน เรียกว่า กณฺ ตาลุโช ฯ
ฆ. กรณ์ ที่ทําอักขระ มี ๔ คือ ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น ๑ ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา ๑ ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น ๑ สกฏฺฐานํ ฐานของตน ๑ ฯ
ง. พยัญชนะที่มีก้อง เรียกว่า โฆสะ ฯ
๒. อาคโม มีในสนธิไหนบ้าง ฯ และในสนธินั้น ๆ ลงอาคมอะไร ฯ สจายํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาคโม มีในสนธิทั้ง ๓ สนธิ คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคคหิตสนธิ ฯ
ในสระสนธินั้น ๆ ลงอาคมดังนี้ คือ
ในสระสนธิ ลง อ และ โอ อาคม
ในพยัญชนะสนธิ ลงพยัญชนะ อาคม ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ในสัททนีติว่าลง ห อาคมก็ได้
ส่วนในนิคคหิตสนธิ ลงนิคคหิตอาคม ฯ
สจายํ เป็นโลปสระสนธิ ตัดเป็น สเจ-อยํ สระหน้าและสระหลังมีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้าคือ เอ ที่ สเจ แล้วทีฆะสระหลังที่มิได้ลบ ต่อเป็น สจายํ ฯ
๓. สัพพนามคืออะไร ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ “โส ขโณ ตุมฺเห มา อติกฺกมตุ” คำไหนเป็นสัพพนาม ฯ และเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ตอบ : สัพพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะไม่ให้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู ฯ แบ่งเป็น ๒ ฯ
คือ ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ ฯ
ในคำว่า “โส ขโณ ตุมฺเห มา อติกฺกมตุ” นั้น คำว่า โส และ ตุมฺเห เป็นสัพพนาม, โส เป็นวิเสสนสัพพนาม ตุมฺเห เป็นปุริสสัพพนาม ฯ
๔. ในอาขยาต จัดวาจกไว้อย่างไร ฯ วาจกไหนลงปัจจัยอะไร ฯ นิวารเย ในคำว่า “ปาปา จิตฺตํ นิวารเย” ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในอาขยาต จัดวาจกไว้ ๕ คือ กัตตุวาจก กัมมวาจก ภาววาจก เหตุกัตตุวาจก และเหตุกัมมวาจก ฯ แต่ละวาจกลงปัจจัยดังนี้ คือ
กัตตุวาจก ลงปัจจัย ๑๐ ตัว คือ อ, เอ, ย, ณุ, ณา, นา, ณฺหา, โอ, เณ, ณย
กัมมวาจก ลง ย ปัจจัย กับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ด้วย
ภาววาจก ลง ย ปัจจัย
เหตุกัตตุวาจก ลงปัจจัย ๔ ตัว คือ เณ, ณย, ณาเป, ณาปย
เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย ๑๐ ตั้วนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัย คือ ณาเป ด้วย ลง ย ปัจจัย กับทั้ง อิ อาคมหน้า ย ด้วย ฯ
คำว่า “นิวารเย” ในคำว่า “ปาปา จิตฺตํ นิวารเย” ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ นิ บทหน้า วร ธาตุ ในความห้าม ลง ณฺย ปัจจัย ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ เสียเหลือไว้แต่ ยฺ ทีฆะต้นธาตุ เป็น อา ลบ ยฺย แห่ง เอยฺย สัตตมีวิภัตติเสียเหลือไว้แต่ เอ สำเร็จรูปเป็น นิวารเย ฯ
๕. อนฺต และ มาน ปัจจัยในกิริยากิตก์ ใช้เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ฯ อาจริยปูชโก (เถโร) ลงปัจจัยอะไร เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : อนฺต และ มาน ใช้บอกปัจจุบันกาลเหมือนกัน ที่ต่างกัน คือ
อนฺต ปัจจัย เป็นปัจจัยในพวกกิตปัจจัย เป็นได้ ๒ วาจก คือ กัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก
ส่วน มาน ปัจจัย เป็นปัจจัยในพวกกิตกิจจปัจจัย เป็นได้ทั้ง ๕ วาจก แต่ภาววาจกไม่นิยมใช้ ฯ
อาจริยปูชโก ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
วิเคราะห์ว่า อาจริยํ ปูเชตีติ อาจริยปูชโก (เถโร) ฯ
๖. สมาสอะไรบ้าง นิยมบทปลงเป็นนปุงสกลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว ฯ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นสมาสไหน ฯ สนฺตวาโจ (ภิกฺขุ) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมาสที่นิยมบทปลงเป็นนปุงสกลิงค์ และเอกวจนะอย่างเดียว ได้แก่ สมาหารทิคุสมาส สมาหารทวันทวสมาส และอัพยยีภาวสมาส ฯ
ทราบได้โดยความนิยมต่างกัน คือ
สมาหารทิคุสมาส ต้องมีสังขยาเป็นบทหน้า บทหลังเป็นประธาน อุทาหรณ์ ตโย โลกา ติโลกํ
สมาหารทวันทวสมาส ต้องเป็นนามนาม ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน และเป็นบทประธานทั้งสิ้น อุทาหรณ์ สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ
ส่วนอัพยยีภาวสมาส ต้องมีอุปสัคหรือนิบาตเป็นบทหน้า และใช้เป็นประธานของบทหลังด้วย อุทาหรณ์ ทรถสฺส อภาโว นิทฺทรถํ ฯ
สนฺตวาโจ (ภิกฺขุ) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า สนฺตา วาจา ยสฺส โส สนฺตวาโจ (ภิกฺขุ) ฯ
๗. เสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ต่างจากปัจจัยในตัทธิตอื่นอย่างไร ฯ พลวตี (ชิฆจฺฉา), สามญฺญฺํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : เสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺฐ ฯ
ต่างจากปัจจัยในตัทธิตอื่น เพราะมิได้ลงแทนศัพท์เหมือนปัจจัยในตัทธิตอื่น แต่ใช้เป็นเครื่องหมายคุณศัพท์เปรียบเทียบ คือ
ตร อิย และ อิยิสฺสก ปัจจัย ลงในวิเสสคุณศัพท์
ตม และ อิฏฺฐ ปัจจัย ลงในอติวิเสสคุณศัพท์ ฯ
พลวตี ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า พลํ อสฺสา อตฺถีติ พลวตี (ชิฆจฺฉา)
สามญฺญฺํ ลง ณฺย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สมณสฺส ภาโว สามญฺญฺํ ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. อะไรเรียกว่า อักขระ พยัญชนะ และนิคคหิต ฯ ในคำทั้ง ๓ นั้น คำไหน แปลว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี เรียกว่า อักขระ อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิต เป็นที่สุด เรียกว่า พยัญชนะ พยัญชนะ คือ อํ เรียกว่า นิคคหิต ฯ
ในคําทั้ง ๓ นั้น คําว่า อักขระ แปลว่า ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑ พยัญชนะ แปลว่า ทําเนื้อความให้ปรากฏ นิคคหิต แปลว่า กดสระ หรือกรณ์ คืออวัยวะที่ทําเสียง เวลาเมื่อจะว่าไม่ต้องอ้าปากเกินกว่าปกติ เหมือนทีฆสระ ฯ
๒. การลงอาคมในพยัญชนะสนธิและนิคคหิตสนธิ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ อภพฺโพทานาหํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ การลงอาคมในพยัญชนะสนธิ ถ้ามีสระอยู่เบื้องหลัง ลงพยัญชนะอาคม ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น ย อาคม ยถา-อิทํ เป็น ยถายิทํ ว อาคม อุ-ทิกฺขติ เป็น วุทิกฺขติ เป็นต้น ในสัททนีติว่าลง ห อาคมก็ได้ ตัวอย่างเช่น สุ-อุชุ เป็น สุหุชุ
ส่วนการลงอาคมนิคคหิตสนธิ เมื่อสระก็ดี พยัญชนะก็ดี อยู่เบื้องหลัง ลงนิคคหิตอาคมได้บ้าง ตัวอย่างเช่น อว-สิโร เป็น อวํสิโร เป็นต้น ฯ
อภพฺโพทานาหํ เป็นสระสนธิ ตัดเป็น อภพฺโพ-อิทานิ-อหํ
ระหว่าง อภพฺโพ-อิทานิ ถ้าสระ ๒ ตัวมีรูปไม่เสมอกัน ลบสระเบื้องปลายบ้างก็ได้ คือ ลบสระ อิ ที่ศัพท์ อิทานิ เสีย ต่อเป็น อภพฺโพทานิ ฯ
ระหว่าง อภพฺ โพทานิ-อหํ สระทั้งสอง คือ สระหน้าและสระหลัง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้า คือ ลบ อิ ที่ อภพฺโพทานิ แล้วทีฆะสระหลัง คือ อ ที่ อหํ ต่อเป็น อภพฺโพทานาหํ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คุณนามเช่นไร ชื่ออติวิเสส ฯ
ข. อุปาสิเก มีวิธีทำตัวอย่างไร ฯ
ค. สฏฺฐฃี แปลว่าอะไร ฯ เป็นวจนะและลิงค์อะไร ฯ
ฆ. อมฺห เป็นสัพพนามชนิดไหน เป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ง. อาวุโส เป็นคำสำหรับเรียกใคร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามต่อไปนี้ คือ
ก. คุณนามที่แสดงลักษณะของนามนามว่าดีที่สุด หรือชั่วที่สุด เหมือนคําว่า ปณฺฑิตตโม เป็นบัณฑิตที่สุด ปาปตโม เป็นบาปที่สุด ชี่ออติวิเสส ฯ
ข. อุปาสิเก มีวิธีทําตัวอย่างนี้ คือ อุปาสิเก ศัพท์เดิมเป็น อุปาสิกา ลง สิ อาลปนวิภัตติ แปลง อา กับ สิ เป็น เอ สําเร็จรูปเป็น อุปาสิเก ฯ
ค. สฏฺฐฃี แปลว่า หกสิบ ฯ เป็นเอกวจนะและอิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. อมฺห ศัพท์ เป็นสัพพนามชนิดปุริสสัพพนาม ฯ เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ฯ
ง. อาวุโส เป็นคําสําหรับบรรพชิตที่มีพรรษามากกว่าเรียกบรรพชิตที่มีพรรษาน้อยกว่า และสําหรับบรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ ฯ
๔. ธาตุคืออะไร ฯ ท่านรวบรวมจัดไว้เป็นกี่หมวด ฯ อะไรบ้าง ฯ สมิชฺฌตุ, ปจฺจสฺ-โสสุํ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ธาตุ คือ กิริยาศัพท์ที่เป็นมูลราก ให้เครื่องปรุงเหล่าอื่น คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ วาจก และปัจจัย เข้าประกอบ แปลว่า ความทรงไว้ คือ ทรงไว้ซึ่งเนื้อความของตนไม่เปลี่ยนแปลง ฯ
ท่านรวบรวมจัดไว้เป็น ๘ หมวด คือ
๑. หมวด ภู ธาตุ ๒. หมวด รุธฺ ธาตุ
๓. หมวด ทิวฺ ธาตุ ๔. หมวด สุ ธาตุ
๕. หมวด กี ธาตุ ๖. หมวด คหฺ ธาตุ
๗. หมวด ตนฺ ธาตุ ๘. หมวด จุรฺ ธาตุ ฯ
สมิชฺฌตุ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ สํ บทหน้า อิธฺ ธาตุ ในความสำเร็จ ย ปัจจัย ตุ ปัญจมีวิภัตติ ฯ
ปจฺจสฺโสสุํ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ ปฏิ บทหน้า อ บทหน้า สุ ธาตุ ในความฟัง ลง อ ปัจจัย ส อาคม และ อุํ อัชชัตตนีวิ ภัตติ ฯ
๕. กิตก์นั้น เป็นชื่อของอะไร ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อุปฺปาโท, ภิกฺขาจารํ (ฐานํ) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูป สาธนะ และปัจจัยอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : กิตก์นั้นเป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบด้วยปัจจัยหมู่หนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความของนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ต่าง ๆ กัน ฯ
แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ เป็นนามศัพท์อย่างหนึ่ง เป็นกิริยาศัพท์อย่างหนึ่ง หรือเป็นนามศัพท์ คือนามกิตก์อย่างหนึ่ง เป็นกิริยาศัพท์ คือกิริยากิตก์อย่างหนึ่ง ฯ
อุปฺปาโท เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า อุปฺปชฺชเตติ อุ ปฺปาโท หรือ อุปฺปชฺชนํ อุปฺปาโท หรือ อุปฺปชฺ-ชิตพฺพนฺติ อุปฺปาโท ฯ
ภิกฺขาจารํ (ฐานํ) เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ภิกฺขาย จรนฺติ เอตฺถาติ ภิกฺขาจารํ (ฐานํ) ฯ
๖. อะไรชื่อว่าทิคุสมาส ฯ ทิคุสมาส กับ วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ อกุสลเจตนา เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ
ตอบ : กัมมธารยสมาส มีสังขยาอยู่ข้างหน้า ชื่อว่า ทิคุสมาส ฯ
ต่างกันอย่างนี้ คือ
ทิคุสมาส คือ กัมมธารยสมาส ชนิดที่มีปกติสังขยาที่เป็นคุณนามอยู่ข้างหน้า ตัวประธานอยู่ข้างหลัง อย่างนี้ ตโย โลกา = ติโลกํ โลก ๓, จตสฺโส ทิสา = จตุทฺทิสา ทิศ ๔ เป็นต้น ฯ
ส่วนวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีบทวิเสสนะอยู่ข้างหน้า บทประธานอยู่ข้างหลัง อย่างนี้ มหนฺโต ปุริโส = มหาปุริโส บุรุษใหญ่, นีลํ อุ ปฺปลํ = นีลุปฺปลํ ดอกอุบลเขียว เป็นต้น แม้มีปูรณสังขยาอยู่ข้างหน้า อย่างนี้ ป โม ปุริโส = ป มปุริโส บุรุษ ที่ ๑ ก็จัดเป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
อกุสลเจตนา เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มี น บุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
น บุพ. กัม. วิ. น กุสลา อกุสลา (เจตนา)
วิ. บุพ. กัม. วิ. อกุสลา เจตนา อกุสลเจตนา
หรือ วิ. อกุสลา จ สา เจตนา จาติ อกุสลเจตนา ฯ
๗. ปูรณตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เตปิฏโก (เถโร), ปญฺจธา, ภาคินี (อตฺถี) ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในปูรณตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย ถ ม อี ฯ
เตปิฏโก (เถโร) ลง ณ ปัจจัย ในราคาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ติปิฏกํ ธาเรตีติ เตปิฏโก (เถโร) ฯ
ปญฺจธา ลง ธา ปัจจัย ในวิภาคตัทธิ ต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปญฺจหิ วิ ภาเคหิ ปญฺจธา ฯ
ภาคินี (อิตฺถี) ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ภาโค อสฺสา อตฺถีติ ภาคินี (อิตฺถี) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๒)
๑. พยัญชนะในบาลีภาษา มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อาศัยอะไร จึงออกเสียงได้ ฯ
ตอบ : พยัญชนะในบาลีภาษา มี ๓๓ ตัว ฯ คือ
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ
ฏ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ ํฯ
อาศัยสระ จึงออกเสียงได้ ฯ
๒. อาเทสสระสนธิ ในที่เช่นไร จึงแปลงสระเบื้องหน้าได้ ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ สฺวาหํ, เยสนฺโน เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาเทสสระสนธิ ในที่เช่นนี้ จึงแปลงสระเบื้องหน้าได้ คือ
ถ้า อิ เอ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลัง แปลง อิ หรือ เอ ตัวหน้าเป็น ย เช่น อคฺคิ-อาคารํ เป็น อคฺยาคารํ, เต-อสฺส เป็น ตฺยสฺส
ถ้า อุ โอ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลัง แปลง อุ หรือ โอ เป็น ว เช่น อถโข-อสฺส เป็น
อถขฺวสฺส, พหุ-อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ ฯ
สฺวาหํ เป็นอาเทสสระสนธิ ตัดเป็น โส-อหํ สระ โอ อยู่หน้า สระ อ อยู่หลัง เอา โอ เป็น ว เป็น สฺว ระหว่าง สฺว กับ อหํ สระหน้าและสระหลังมีรูปเสมอกัน ลบสระหน้า คือ อ ที่ ว เสียแล้วทีฆะสระหลังเป็น อา ต่อเป็น สฺวาหํ ฯ
เยสนฺโน เป็นอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น เยสํ-โน ถ้าพยัญชนะอยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะหลัง คือ น ต่อเป็น เยสนฺโน ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อติสุขุมา, เชฏฺโฐ เป็นคุณนามชั้นไหน ฯ
ข. ภควโต เป็นวิภัตติไหนบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยา ใช้นับอย่างไร ฯ
ฆ. สัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. กทา แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้ คือ
ก. อติสุขุมา เป็นคุณนามชั้นวิเสส, เชฏโฐ เป็นคุณนามชั้นอติวิเสส ฯ
ข. ภควโต เป็นจตุตถีวิภัตติ และฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ ฯ
ค. ปกติสังขยา ใช้นับโดยปกติเป็นต้นว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ฯ
ฆ. สัพพนาม แบ่งเป็น ๒ คือ ปุริสสัพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ ฯ
ง. กทา แปลว่า ในกาลไร เมื่อไร สำเร็จรู ปมาจาก กึ ศัพท์ ลง ทา ปัจจัย ฯ
๔. วิภัตติอาขยาต ท่านจำแนกไว้เพื่อประโยชน์อะไร ฯ จัดเป็นกี่หมวด ฯ หมวดไหนบอกกาลอะไร ฯ
ตอบ : วิภัตติอาขยาตท่านจำแนกไว้เพื่อประโยชน์เป็นเครื่องหมาย กาล บท วจนะ และบุรุษ ฯ จัดเป็น ๘ หมวด ฯ
แต่ละหมวดบอกกาลดังนี้ คือ
๑. วัตตมานา บอกปัจจุบันกาล
๒. ปัญจมี บอกความบังคับ ความหวัง ความอ้อนวอน
๓. สัตตมี บอกความยอมตาม ความกำหนด และความรำพึง
๔. ปโรกขา บอกอดีตกาลไม่มีกำหนด
๕. หิยัตตนี บอกอดีตกาลตั้งแต่วันวาน
๖. อัชชัตตนี บอกอดีตกาลตั้งแต่วันนี้
๗. ภวิสสันติ บอกอนาคตกาลแห่งปัจจุบัน
๘. กาลาติปัตติ บอกอนาคตกาลแห่งอดีต ฯ
๕. รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ จัดเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ และจะกำหนดรู้ได้อย่างไรว่าสาธนะนั้น ๆ เป็นรูปอะไร ฯ สีลรกฺขิกา (อตฺถี) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะจัดเป็น ๓ ฯ
คือ กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ ภาวรูป ๑ ฯ
และจะกำหนดรู้ได้ว่าสาธนะนั้น ๆ เป็นรูปอย่างนี้ คือ
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นกัตตุวาจกก็ดี เป็นเหตุกัตตุวาจกก็ดี สาธนะนั้นเป็นกัตตุรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะแห่งใดเป็นกัมมวาจก สาธนะนั้นเป็นกัมมรูป
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นภาววาจก สาธนะนั้นเป็นภาวรูป ฯ
สีลรกฺขิกา (อิตฺถี) ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า สลํ รกฺขตีติ สีลรกฺขิกา (อิตฺถี) ฯ
๖. อะไร ชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปุตฺตทารพนฺธนํ เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน คือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะคือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธาน ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า กัมมธารยสมาส ฯ
มี ๖ อย่าง คือ วิเสสนบุพพบท วิเสสนุตตรบท วิเสสโนภยบท วิเสสโนปมบท สัมภาวนบุพพบท อวธารณบุพพบท ฯ
ปุตฺตทารพนฺธนํ เป็นอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีสมาหาร ทวันทวสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
ส. ทวันทว. วิ. ปุตฺโต จ ทาโร จ ปุตฺตทารํ
อว. กัม. วิ. ปุตฺตทารํ เอว พนฺธนํ ปุตฺตทารพนฺธนํ ฯ
๗. ภาวตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สมฺมาทิฏฺฐฃิ โก (ปุคฺคโล), ทกฺขิเณยฺโย (สาวกสงฺโฆ), รชฺชํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ภาวตัทธิต มีปัจจัย ๖ ตัว คือ ตฺต, ณฺย, ตฺตน, ตา, ณ, กณฺ ฯ
สมฺมาทิฏฺฐิโก (ปุคฺคโล) ลง อิก ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สมฺมาทิฏฺิ อสฺส อตฺถีติ สมฺมาทิฏฺฐิโก (ปุคฺคโล)
หรือ ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโต สมฺมาทิฏฺฐิโก (ปุคฺคโล) ฯ
ทกฺขิเณยฺโย (สาวกสงฺโฆ) ลง เอยฺย ปัจจัย ในฐานตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทกฺขิณํ อรหตีติ ทกฺขิเณยฺโย (สาวกสงฺโฆ) ฯ
หรือ ตั้งวิเคราะห์ว่า ทกฺขิณาย อนุจฺฉวิโก โหตีติ ทกฺขิเณยฺโย (สาวกสงฺโฆ) ฯ
รชฺชํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า รญฺโญ ภาโว รชฺชํ ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙
๑. ในพยัญชนะวรรค มีหลักการสังโยคอย่างไร ฯ และพยัญชนะวรรคตัวไหนบ้าง ใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
ตอบ : ในพยัญชนวรรค มีหลักการสังโยค ดังนี้
พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้
พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้
พยัญชนะที่ ๕ สุดวรรค ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว ยกเสียแต่ตัว ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว
พยัญชนะที่ ๒ คือ ข ฉ ฐ ถ ผ และพยัญชนะที่ ๔ คือ ฆ ฌ ฒ ธ ภ ใช้สังโยคไม่ได้ ฯ
๒. อาเทโส กับ วิกาโร ต่างกันอย่างไร ฯ อย่างไหนใช้ในสนธิอะไรบ้าง ฯ อลาพูเนว ในคำว่า “อลาพูเนว สารเท” เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาเทโส กับ วิกาโร ต่างกันอย่างนี้ คือ อาเทโส ได้แก่ การแปลงสระ แปลงพยัญชนะ หรือแปลงนิคคหิต เป็นพยัญชนะ ส่วนวิกาโร ได้แก่ การแปลงสระเป็นสระเท่านั้น ฯ
อาเทโส ใช้ในสนธิทั้ง ๓ คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคคหิตสนธิ ส่วนวิกาโร ใช้ในสระสนธิอย่างเดียว ฯ
อลาพูเนว ในคำว่า “อลาพูเนว สารเท” เป็นวิการสระสนธิ ตัดเป็น อลาพูนิ-อิว เมื่อลบสระหน้า คือ อิ ที่ อลาพูนิ แล้ววิการ คือ แปลง อิ ที่ อิว เป็น เอ ต่อเป็น อลาพูเนว ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คุณนามชั้นวิเสส มีอะไรเป็นเครื่องสังเกต ฯ
ข. ปณฺณรสี แปลว่าอะไร ฯ เป็นสังขยาชนิดไหน ฯ
ค. สติมนฺตุ ในปฐมาวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ มีรูปแจกอย่างไร ฯ
ฆ. อมฺห ศัพท์ เฉพาะฉัฏฐีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างไร ฯ
ง. กึ ศัพท์ มีวิธีแจกอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้ คือ
ก. คุณนามชั้นวิเสส มี ตร อิย และ อิยิสฺสก ปัจจัยในเสฏฐตัทธิต หรือมีอุปสัค เช่น อติ เป็นบทหน้า เป็นเครื่องสังเกต ฯ
ข. ปณฺณรสี แปลว่า ที่ ๑๕ ฯ เป็นสังขยาชนิดปูรณสังขยา ฯ
ค. สติมนฺตุ ในปฐมาวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ มีรูปแจกอย่างนี้
เอก. | พหุ. | |
ป. ทุ. | สติมา สติมนฺตํ | สติมนฺตา สติมนฺโต สติมนฺเต สติมนฺโต |
ฆ. อมฺห ศัพท์ เฉพาะฉัฏฐีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างนี้
เอก. | พหุ. | |
ฉ. | มยฺหํ อมฺหํ มม มมํ เม | อมฺหากํ อสฺมากํ โน |
ง. กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร) คงเป็นรูป กึ อยู่แต่ในนปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น นอกนั้นแปลงเป็น ก แล้วแจกในไตรลิงค์ เหมือน ย ศัพท์ ฯ
๔. อุปฺปาทยึสุ เป็นวาจกอะไร ฯ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ จงแก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้
ก. โสโก วา ภยํ วา ชายนฺติ ฯ
ข. เอวํ กนิฏฺเฐ น ตโย สมฺปตฺติโย ปฏฺิ ตา ฯ
ค. เอวํ ธมฺเม เทสิยนฺเต มหาชนสฺส ธมฺมาภิสมโย อโหสิ ฯ
ตอบ : อุปฺปาทยึสุ เป็นเหตุกัตตุวาจก ฯ
ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ อุ บทหน้า ปทฺ ธาตุ ในความถึง ลง ณฺย ปัจจัย ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ เสีย เหลือไว้แต่ ย ลง อุํ อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง อุํ เป็น อึสุ ฯ
ได้แก้คำที่เห็นว่าผิด ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในประโยคต่อไปนี้ คือ
ก. แก้เป็น โสโก จ ภยํ จ ชายนฺติ หรือแก้เป็น โสโก วา ภยํ วา ชายติ ฯ
ข. แก้เป็น เอวํ กนิฏฺเฐน ติสฺโส สมฺปตฺติโย ปฏฺฐิตา ฯ
ค. แก้เป็น เอวํ ธมฺเม เทสิยมาเน มหาชนสฺส ธมฺมาภิสมโย อโหสิ ฯ
๕. ปุริสฆาตโก (ปุคฺคโล), นหานํ (อุทกํ) และ อานนฺโท ในคำว่า “โก นุ หาโส กิมานนฺโท” คำไหนเป็นรูป สาธนะ และปัจจัยอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปุริสฆาตโก (ปุคฺคโล) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ณฺวุ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปุริสํ ฆาเตตีติ ปุริสฆาตโก (ปุคฺคโล) ฯ
นฺหานํ (อุทกํ) เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ยุ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า นฺหายติ เตนาติ นฺหานํ (อุทกํ) ฯ
อานนฺโท ในคำว่า “โก นุ หาโส กิมานนฺโท” เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ ลง อ ปัจจัย หรือลง ณ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า อานนฺทนํ อานนฺโท ฯ
๖. บรรดาสมาสทั้ง ๖ มีกัมมธารยสมาสเป็นต้น สมาสไหนบ้าง เป็นนามล้วน ฯ สมาสไหนบ้าง เป็นคุณล้วน ฯ และสมาสไหนบ้าง เป็นได้ทั้งนามทั้งคุณ ฯ รชสฺสิโร (ราชา), โสกาภิภูโต (ปุริโส) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : บรรดาสมาสทั้ง ๖ มีกัมมธารยสมาสเป็นต้นนั้น
ทิคุสมาส และทวันทวสมาส เป็นนามล้วน
พหุพพิหิสมาส เป็นคุณล้วน
กัมมธารยสมาส ตัปปุริสสมาส และอัพยยีภาวสมาส เป็นได้ทั้งนามทั้งคุณ ฯ
รชสฺสิโร (ราชา) เป็นฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพพหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า รโช สิรสิ (สิรสฺมึ) ยสฺส โส รชสฺสิโร (ราชา) ฯ
โสกาภิภูโต (ปุริโส) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า โสเกน อภิภูโต โสกาภิภูโต (ปุริโส) ฯ
๗. ปัจจัยในตัทธิตไหนบ้าง ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็นสังขยาได้ ฯ จตุกฺกํ, ทิฏฺฐธมฺ-มิโก (อตฺโถ) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยในตัทธิตที่ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็นสังขยา มี ๓ ตัทธิต คือ
๑. ปัจจัยในปูรณตัทธิต ๕ ตัว คือ ติย ถ ม อี
๒. ก ปัจจัย ในสังขยาตัทธิต
๓. ธา ปัจจัย ในวิภาคตัทธิต
จตุกฺกํ ลง ก ปัจจัย ในสังขยาตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า จตฺตาริ ปริมาณานิ อสฺสาติ จตุกฺกํ ฯ
ทิฏฺฐธมฺมิโก (อตฺโถ) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทิฏฺฐธมฺเม ปวตฺตตีติ ทิฏฺฐธมฺมิโก (อตฺโถ) ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙ (ครั้งที่ ๒)
๑. สระในบาลีภาษามีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จัดเป็นคู่ไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สระไหนเกิดใน ๒ ฐาน ฯ
ตอบ : สระในภาษาบาลีมี ๘ ตัว
คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฯ
จัดเป็นคู่ไว้ ๓ คู่ คือ อ อา เรียกว่า อวณฺโณ อิ อี เรียกว่า อิวณฺโณ อุ อู เรียกว่า อุวณฺโณ ฯ
สระ เอ และ โอ ๒ ตัวนี้ เกิดใน ๒ ฐาน (คือ เอ เกิดที่คอและเพดาน เรียกว่า กณฺ ตาลุโช โอ เกิดที่คอและริมฝีปาก เรียกว่า กณฺโฐฏฺฐโช) ฯ
๒. สนธิกิริโยปกรณ์ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เสฺวทานิ, กิเมวิทํ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สนธิกิริโยปกรณ์ มี ๘ อย่าง คือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงอักษรตัวใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑ ฯ
เสฺวทานิ ตัดเป็น เสฺว-อิทานิ ถ้าสระ ๒ ตัวมีรูปไม่เสมอกัน ลบสระเบื้องปลายบ้างก็ได้ คือลบสระ อิ ที่ศัพท์ อิทานิ เสีย ต่อเป็น เสฺวทานิ ฯ
กิเมวิทํ ตัดเป็น กึ-เอว-อิทํ
ระหว่าง กึ-เอว สระอยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า แปลงนิคคหิตเป็น ม ต่อเป็น กิเมว
ระหว่าง กิเมว-อิทํ ถ้าสระ ๒ ตัวมีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้า คือ อ ในที่สุดแห่งศัพท์ กิเมว ต่อเป็น กิเมวิทํ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คำว่า “ภควนฺตา ภควนฺโต” นั้น มีวิธีใช้ต่างกันอย่างไร ฯ
ข. ปาปิโย, สุขุโม เป็นคุณนามชั้นไหน ฯ
ค. คำว่า “๕๙” และ “๙๕” ตรงกับศัพท์สังขยาว่าอย่างไร ฯ
ฆ. อยํ, เอกจฺโจ เป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. อัพยยศัพท์ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ภควนฺตา ใช้เป็นทฺวิวจนะ สำหรับกล่าวถึงคน ๒ คน ส่วน ภควนฺโต ใช้เป็นพหุวจนะ สำหรับกล่าวถึงคนมากตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป ฯ
ข. ปาปิโย เป็นคุณนามชั้นวิเสส, สุขุโม เป็นคุณนามชั้นปกติ ฯ
ค. คำว่า ๕๙ ตรงกับศัพท์สังขยาว่า เอกูนสฏฺฐี , คำว่า ๙๕ ตรงกับ ศัพท์สังขยาว่า ปญฺจนวุติ ฯ
ฆ. อยํ เป็นนิยมวิเสสนสัพพนาม, เอกจฺโจ เป็นอนิยมวิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. อัพยยศัพท์ แบ่งเป็น ๓ คือ อุปสัค ๑ นิบาต ๑ ปัจจัย ๑ ฯ
๔. ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ หรือเป็นอกัมมธาตุ ฯ จงแจก พุธฺ ธาตุ (ในความตรัสรู้) ด้วยวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : ภิทฺ และ มุจฺ ธาตุ เป็นได้ทั้งสกัมมธาตุ และ อกัมมธาตุ (ภิทฺ ธาตุ และ มุจฺ ธาตุ ถ้าลง อ ปัจจัย ในหมวด รุธฺ ธาตุ เป็นสกัมมธาตุ ตัวอย่าง ภินฺทติ แปลว่า ย่อมต่อย หรือย่อมทำลาย มุญฺจติ แปลว่า ย่อมปล่อย ถ้าลง ย ปัจจัย ในหมวด ทิวฺ ธาตุ เป็นอกัมมธาตุ ตัวอย่าง ภิชฺชติ แปลว่า ย่อมแตก มุจฺจติ แปลว่า ย่อมหลุด ย่อมพ้น) ฯ
แจก พุธฺ (ในความตรัสรู้) ด้วยวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะปรัสสบท ดังนี้
ปุริส. | เอก. | พหุ. |
ป. ม. อุ. | พุชฺฌิสฺสติ พุชฺฌิสฺสสิ พุชฺฌิสฺสามิ | พุชฺฌิสฺสนฺติ พุชฺฌิสฺสถ พุชฺฌิสฺสาม |
๕. ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ แบ่งเป็นกี่พวก ฯ แต่ละพวกมีปัจจัยอะไรบ้าง ฯ วรลาภี (ปุคฺคโล), ธมฺมสฺสวนํ (ฐานํ) เป็นรูป สาธนะ และปัจจัยอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ แบ่งเป็น ๓ พวก คือ
กิตปัจจัย อย่างนี้ อนฺต ตวนฺตุ ตาวี
กิจจปัจจัย อย่างนี้ อนีย ตพฺพ
กิตกิจจปัจจัย อย่างนี้ มาน ต ตูน ตฺวา ตฺวาน ฯ
วรลาภี (ปุคฺคโล) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ณี ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า วรํ ลภติ สีเลนาติ วรลาภี (ปุคฺคโล)
หรือเป็น สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า วรํ ลภิตุํ (ลทฺธุํ) สีลมสฺสาติ วรลาภี (ปุคฺคโล) ฯ
ธมฺมสฺสวนํ (ฐานํ) เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ยุ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺมํ สุณนฺติ เอตฺถาติ ธมฺมสฺสวนํ (ฐานํ) ฯ
๖. น บุพพบท กัมมธารยสมาส กับ น บุพพบท พหุพพิหิสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ อนจฺฉริโย (ปาสาโท), อตฺตทตฺโถ เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ต่างกันอย่างนี้ คือ
น บุพพบท กัมมธารยสมาส สมาสที่มี น อยู่หน้า ปฏิเสธนามนาม แปลว่า มิใช่ หรือ หามิได้ เช่น น พฺราหฺมโณ = อพฺราหฺมโณ (อยํ ชโน อ. ชนนี้) มิใช่พราหมณ์
ส่วน น บุพพบท พหุพพิหิสมาส สมาสที่มี น อยู่หน้า ปฏิเสธคุณนาม แปลว่า มี…หามิได้ หรือไม่มี เช่น นตฺถิ ตสฺส สโมติ อสโม (ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า) ไม่มีผู้เสมอ หรือหาผู้เสมอไม่มี ฯ
อนจฺฉริโย (ปาสาโท) เป็น น บุพพบท พหุพพหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า นตฺถิ ตสฺส อจฺฉริยนฺติ อนจฺฉริโย (ปาสาโท) ฯ
อตฺตทตฺโถ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า อตฺตโน อตฺโถ อตฺตทตฺโถ ฯ
๗. ตัทธิตโดยย่อ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ การุญฺญํ , ยสวา (ชโน), โสฬสโม (โกฏฺฐาโส) ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตัทธิต โดยย่อแบ่งเป็น ๓ คือ สามัญญตัทธิต ๑ ภาวตัทธิต ๑ อัพยยตัทธิต ๑ ฯ
การุญฺญฃํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า กรุณาย ภาโว การุญฺญฃํ ฯ
ยสวา (ชโน) ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ยโส อสฺส อตฺถีติ ยสวา (ชโน) ฯ
โสฬสโม (โกฏฺฐาโส) ลง ม ปัจจัย ในปูรณตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า โสฬสนฺนํ ปูรโณ โสฬสโม (โกฏฺฐาโส)ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘
๑. สระในภาษาบาลีมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ฯ สระไหนมีเสียงเช่นไร ฯ
ตอบ : สระในภาษาบาลีมี ๘ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฯ
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิสสัย ฯ
สระ ๓ ตัว คือ อ อิ อุ มีเสียงสั้น ชื่อรัสสะ เหมือนคำว่า อติ ครุ
สระ ๕ ตัว คือ อา อี อู เอ โอ มีเสียงยาว ชื่อทีฆะ เหมือนคำว่า ภาคี วธู เป็นต้น ฯ
๒. สนธิคืออะไร ฯ มีประโยชน์อย่างไร ฯ ยตฺรฏฺฐฃิโต ในคำว่า “ยตฺรฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา” และ สจาหํ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สนธิ คือ การต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ ฯ
มีประโยชน์อย่างนี้ คือ เพื่อย่นอักขระให้น้อยลง ๑ เพื่อเป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ ๑ เพื่อทำคำพูดให้สละสลวย ๑ ฯ
ยตฺรฏฺฐิโต ในคำว่า “ยตฺรฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา” เป็นสัญโญคพยัญชนะสนธิ ตัดเป็น ยตฺร-ฐิโต ซ้อนหน้าพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน ตามหลักแห่งการสังโยค คือ พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ ในที่นี้ จึงซ้อน ฏ พยัญชนะที่ ๑ หน้า พยัญชนะที่ ๒ ต่อเป็น ยตฺรฏฺฐิโต ฯ
สจาหํ เป็นโลปสระสนธิ ตัดเป็น สเจ-อหํ
ระหว่าง สเจ-อหํ ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ ลบสระหน้า คือ ลบสระ เอ ที่ สเจ แล้วทีฆะสระหลัง คือ อ ที่ อหํ เป็น อา ต่อเป็น สจาหํ ฯ
๓. ปัจจัยในอัพยยศัพท์ เฉพาะที่ลงท้ายนาม มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ แต่ละตัวเป็นเครื่องหมายวิภัตติอะไร ฯ
ตอบ : ปัจจัยในอัพยยศัพท์ เฉพาะที่ลงท้ายนาม มี ๑๗ ตัว คือ โต ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ ฯ
ปัจจัยแต่ละตัวเป็นเครื่องหมายวิภัตติ ดังนี้ คือ
โต ปัจจัย เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ แปลว่า ข้าง เช่น ปุรโต ข้างหน้า ปจฺฉโต ข้างหลัง เป็นต้น เป็นเครื่องหมายปัญจมีวิภัตติ แปลว่า แต่ เช่น ตโต แต่-นั้น อิโต แต่-นี้ เป็นต้น
ปัจจัยทั้งหลาย คือ ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลตามสัตตมี เช่น ตตฺร ใน-นั้น อิธ ใน-นี้ เป็นต้น
ปัจจัยทั้งหลาย คือ ทา ทาน รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ ลงในกาล เช่น ตทา ในกาลนั้น อิทานิ ในกาลนี้ เป็นต้น ฯ
๔. ในอาขยาต แบ่งกาลที่เป็นประธานไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จะรู้จักกาลได้ต้องอาศัยอะไร ฯ จงแจก ภุชฺ ธาตุ (ในความกิน) ด้วยวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : ในอาขยาตแบ่งกาลที่เป็นประธานไว้ ๓ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่าปัจจุบันกาล ๑ กาลล่วงแล้ว เรียกว่าอดีตกาล ๑ กาลยังไม่มาถึง เรียกว่าอนาคตกาล ๑ ฯ
จะรู้จักกาลได้ต้องอาศัยวิภัตติ ฯ
แจก ภุชฺ ธาตุ (ในความกิน) ด้วยวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะปรัสสบท ดังนี้
ปุริส. | เอก. | พหุ. |
ป. ม. อุ. | พุชฺฌิสฺสติ พุชฺฌิสฺสสิ พุชฺฌิสฺสามิ | พุชฺฌิสฺสนฺติ พุชฺฌิสฺสถ พุชฺฌิสฺสาม |
๕. กตญฺญู, ปารุปฺปนํ (วตฺถํ) และ วาโส ในคำว่า “ปฏิรูปเทสวาโส” คำไหนเป็นรูป สาธนะ และปัจจัยอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : กตญฺญู เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ หรือเป็นกัตตุรูป ลงในอรรถตัสสีละ หรือเป็นสมาสรูป ตัสสีลสาธนะ ลง รู ปัจจัย ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า กตํ ชานาตีติ กตญฺญู
กัตตุรูป ลงในอรรถตัสสีละ ตั้งวิเคราะห์ว่า กตํ ชานาติ สีเลนาติ กตญฺญู
สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า กตํ ชานิตุํ สีลมสฺสาติ กตญฺญู ฯ
ปารุปนํ (วตฺถํ) เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ยุ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปารุปติ เตนาติ ปารุปนํ (วตฺถํ) ฯ
วาโส ในคำว่า “ปฏิรูปเทสวาโส” เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ ลง ณ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า วสนํ วาโส
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า วสิตพฺพนฺติ วาโส
หรือตั้งวิเคราะห์ว่า วสยเตติ วาโส ฯ
๖. อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีลักษณะอย่างไร ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบด้วย ฯ ตโยชนวตฺถุ เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีลักษณะอย่างนี้ คือ มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วย เอว ศัพท์ เพื่อจะห้ามเนื้อความอันอื่นเสีย บทหลังเป็นประธาน ตัวอย่างเช่น ปญฺญา เอว ปชฺโชโต ปญฺญาปชฺโชโต (ประทีป) อันโพลงทั่ว คือ ปัญญา, พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ รัตนะคือพระพุทธเจ้า ฯ
ตโยชนวตฺถุ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีอสมาหารทิคุสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
อ. ทิคุ. วิ. ตโย ชนา ตโยชนา
ฉ. ตัป. วิ. ตโยชนานํ วตฺถุ ตโยชนวตฺถุ ฯ
๗. ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปาสาทิโก (ภควา), ทุสฺสีลฺยํ , อตฺถิโก ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว ฯ
คือ วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ ฯ
ปาสาทิโก (ภควา) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ปสาทํ ชเนตีติ ปาสาทิโก (ภควา) ฯ
ทุสฺสีลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุสฺสีลสฺส ภาโว ทุสฺสีลฺยํ ฯ
อตฺถิโก ลง อิก ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า อตฺโถ อสฺส อตฺถีติ อตฺถิโก ฯ
ประโยค ป.ธ. ๓
ปัญหาและเฉลย วิชา บาลีไวยากรณ์
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘ (ครั้งที่ ๒)
๑. พยัญชนะไหน จัดเป็นอัฑฒสระ ฯ เพราะเหตุไร จึงเรียกชื่ออย่างนั้น ฯ
ตอบ : พยัญชนะ ๗ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ จัดเป็นอัฑฒสระ ฯ
เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันกับพยัญชนะอื่นออกเสียงพร้อมกันได้ บางตัวแม้เป็นตัวสะกดก็คงออกเสียงหน่อยหนึ่ง พอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นเป็นตัวสะกด คล้ายเป็นตัวกล้ำฉะนั้น ฯ
๒. อาคโม กับ สญฺโญโค ในพยัญชนะสนธิ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ เตเนวมาห เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : อาคโม กับ สญฺโญโค ในพยัญชนะสนธิ มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ
อาคโม ได้แก่ การลงพยัญชนะอาคม ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ในเมื่อมีสระอยู่หลัง ตัวอย่างเช่น ยถา-อิทํ เป็น ยถายิทํ เป็นต้น
ส่วน สญฺโญโค นั้น ได้แก่ การซ้อนพยัญชนะ มี ๒ ลักษณะ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเสมอกันอย่างหนึ่ง เช่น อิธ-ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ เป็นต้น ซ้อนหน้า พยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่างหนึ่ง ตามหลักการสังโยค คือ บรรดาพยัญชนะวรรคทั้งปวง พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะทุกตัวในวรรคของตน เว้นพยัญชนะคือ ง ซ้อนหน้าพยัญชนะทั้ง ๔ ในวรรคของตนได้ แต่ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้ ตัวอย่างเช่น จตฺตาริ-ฐานานิ เป็น จตฺตาริฏฺฐานานิ เป็นต้น ฯ
เตเนวมาห เป็นโลปสระสนธิ และอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น เตน-เอวํ -อาห
ระหว่าง เตน-เอวํ ถ้าสระหน้าเป็นรัสสะ สระหลังเป็นทีฆะ ลบสระหน้า คือ ลบ อ ที่ เตน เสีย ต่อเป็น เตเนวํ
ระหว่าง เตเนวํ-อาห ถ้านิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิต เป็น ม ต่อเป็น เตเนวมาห ฯ
๓. ในปกติสังขยา ท่านจัดลิงค์ และวจนะ ไว้อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : จัดแบ่งไว้อย่างนี้ คือ
จัดเป็นลิงค์ ดังนี้
ตั้งแต่ เอก ถึง อฏฺฐารส เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺญนวุติ เป็นอิตถีลิงค์
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ถึง ทสสตสหสฺสํ เป็นนปุงสกลิงค์
เฉพาะ โกฏิ เป็นอิตถีลิงค์
จัดเป็นวจนะ ดังนี้
อกสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
เอกสัพพนาม เป็นทฺวิวจนะ
ตั้งแต่ ทฺวิ ถึง อฏฺฐารส เป็นพหุวจนะ
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ขึ้นไป เป็นได้ ๒ วจนะ ฯ
๔. อาคมในอาขยาต มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ นิยมลงในที่เช่นไร ฯ หาสยสฺสุ ในคำว่า “หาสยสฺสุ มหาชนํ” ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : อาคมในอาขยาต มี ๕ คือ อ อิ ส ห อํ ฯ
นิยมลงในที่เช่นนี้ คือ
อ อาคม นิยมลงที่หน้าธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติหมวด หิยัตตนีวิภัตติ อัชชัตตนี-วิภัตติ และกาลาติปัตติวิภัตติ
อิ อาคม นิยมลงที่ท้ายธาตุปัจจัยที่ประกอบด้วยหมวด อัชชัตตนีวิภัตติ ภวิสสันติ-วิภัตติ และกาลาติปัตติวิภัตติ
ส อาคม นิยมลงท้ายธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติหมวดอัชชัตตนี ในหมวดธาตุทั้งปวง
ห อาคม นิยมลงที่ท้าย า ธาตุ โดยไม่นิยมหมวดวิภัตติ
อํ นิคคหิตอาคม นิยมลงกับธาตุหมวด รุธฺ แล้วอาเทสเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค ฯ
หาสยสฺสุ ในคำว่า “หาสยสฺสุ มหาชนํ” ประกอบด้วยเครื่องปรุงดังนี้ คือ หสฺ ธาตุ ลง ณฺย ปัจจัย สฺสุ วิภัตติหมวดปัญจมี ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ เมื่อลงแล้วลบ ณ เสีย คงเหลือแต่ ย แล้วทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น หาสยสฺสุ ฯ
๕. อธิกรณสาธนะ ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไร ฯ ยกตัวอย่างรูปวิ เคราะห์มาดู ฯ สนฺธิจฺเฉทกา (โจรา), ทุปฺปมุญฺจํ (พนฺธนํ) เป็นรูป สาธนะ และปัจจัยอะไร ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : อธิกรณสาธนะ ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างนี้ คือ
ที่เป็นกัตตุรูป แปลว่า “เป็นที่-” ยกตัวอย่างรูปวิเคราะห์ประกอบ เช่น อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส ฯ
ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า “เป็นที่อันเขา-” ยกตัวอย่างรูปวิเคราะห์ประกอบ เช่น (อตฺโถ) สํวณฺณิยติ เอตฺถาติ สํวณฺณนํ (ฐานํ) ฯ
สนฺธิจฺเฉทกา (โจรา) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลง ณฺวุ ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า สนฺธึ ฉินฺทนฺตีติ สนฺธิจฺเฉทกา (โจรา) ฯ
ทุปฺปมุญฺจํ (พนฺธนํ) เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ลง ข ปัจจัย
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุกฺเขน ปมุญฺจิยเตติ ทุปฺปมุญฺจํ (พนฺธนํ) ฯ
๖. ที่เรียกว่า อัพยยีภาวสมาสนั้น มีอะไรเป็นเครื่องกำหนดรู้ ฯ ฉินฺนสํโยชนา (ภิกฺขู), ธมฺมครุโก (จกฺขุปาโล) เป็นสมาสอะไร ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ที่เรียกว่า อัพยยีภาวสมาส นั้น มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้าและเป็นประธานแห่งบทหลัง มีบทสำเร็จมีรูปเป็นนปุงสกลิงค์และเอกวจนะอย่างเดียว เป็นเครื่องกำหนดรู้ ฯ
ฉินฺนสํโยชนา (ภิกฺขู) เป็นตติยาพหุพพิหิสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ฉินฺนานิ สํโยชนานิ เยหิ เต ฉินฺนสํโยชนา (ภิกฺขู) ฯ
ธมฺมครุโก (จกฺขุปาโล) เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส
ตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺเม ครุโก ธมฺมครุโก (จกฺขุปาโล) ฯ
๗. ปัจจัยในฐานตัทธิต ลงแทนศัพท์อะไรบ้าง ฯ กิเลสมยํ (พนฺธนํ), ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยในฐานตัทธิต ลงแทนศัพท์ได้ดังนี้ คือ ฐาน อรหติ หิต ภว ฯ
กิเลสมยํ (พนฺธนํ) ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า กิเลเสหิ ปกตํ กิเลสมยํ (พนฺธนํ) ฯ
ฉทฺวาริกา (ตณฺหา ) ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต
ตั้งวิเคราะห์ว่า ฉทฺวาเร วตฺตตีติ ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) ฯ