
ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
พยัญชนะที่มีเสียงก้อง เรียกว่า………….ที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า…………………..
พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ………. และ……..๑๑ ตัวนี้ เป็นอโฆสะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
พยัญชนะที่มีเสียงก้อง เรียกว่า โฆสะ ที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆสะ
พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข,จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ ส ๑๑ ตัวนี้ เป็นอโฆสะ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. กินฺนุ + อิมา สนธิเป็น……………..……..ฯ
ข. ปฏิสณฺฐารวุตฺติ + อสฺส สนธิเป็น……………..……..ฯ
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น…..………..…..ฯ
ฆ. ตถริว ตัดบทเป็น…………….…..ฯ
ง. ในสระสนธิ ทีฆํ เป็น ๒ คือ …………….………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. กินฺนุ + อิมา สนธิเป็น กินฺนุมา ฯ
ข. ปฏิสณฺฐารวุตฺติ + อสฺส สนธิเป็น ปฏิสณฺฐารวุตฺยสฺส ฯ
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น เอตํ-อโวจ ฯ
ฆ. ตถริว ตัดบทเป็น ตถา-เอว ฯ
ง. ในสระสนธิ ทีฆํ เป็น ๒ คือ ทีฆะสระหน้าอย่าง ๑ ทีฆะสระหลัง อย่าง ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. นามทั้ง ๓ นั้น ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยาตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐตฺตึสติ แจกตามแบบอะไร ฯ
ฆ. เอก สัพพนาม แจกได้กี่วจนะ เหมือนอะไร ฯ
ง. ทิวา, ยาวเทว แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะ ๒ คือ เอกวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของสิ่งเดียว ๑ พหุวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป ๑ ฯ
ข. นามทั้ง ๓ นั้น ต้องประกอบด้วย ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ฯ
ค. ปกติสังขยาตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐตฺตึสติ แจกตามแบบ อิ การันต์ ในอิตถีลิงค์ (รตฺติ) ฯ
ฆ. เอก สัพพนาม แจกได้ ๒ วจนะ เหมือน ย ศัพท์ ฯ
ง. ทิวา แปลว่า วัน เป็นนิบาตบอกกาล ฯ ยาวเทว แปลว่า เพียงใดนั่นเทียว เป็นนิบาตบอกปริจเฉท ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ธาตุเหล่าใด เรียกว่าสกัมมธาตุ และอกัมมธาตุ ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ และมีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ธาตุเหล่าใด เรียกหากรรม คือสิ่งอันบุคลพึงทำ ธาตุเหล่านั้น เรียกว่าสกัมมธาตุ ฯ ธาตุเหล่าใด ไม่เรียกหากรรม คือสิ่งอันบุคคลพึงทำ ธาตุเหล่านั้น เรียกว่าอกัมมธาตุ ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด กล่าวผู้ใช้ให้คนอื่นทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ใช้ให้คนอื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อเหตุกัตตุวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ นาย ยัง (หรือใช้) พ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ หฏฺโฐ, อภิรมฺม แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. สุเขน ภริยตีติ สุภโร ฯ
ข. กุชฺฌติ สีเลนาติ โกธโน ฯ
ค. ปฐมํ ภวติ เอตสฺมาติ ปภโว ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ หฏฺโฐ แปลว่า ร่าเริงแล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก หสฺ ธาตุ ใน
ความหัวเราะ ต ปัจจัย ธาตุมี สฺ เป็นที่สุอยู่หน้า แปลง ต เป็น ฏฺฐ แล้วลบที่สุดธาตุ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น หฏฺโฐ ฯ อภิรมฺม แปลว่า ยินดียิ่งแล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก อภิ บทหน้า รมฺ ธาตุ ในความยินดี ตูนาทิ ปัจจัย คือ ตูน ตฺวา ตฺวาน อุปสัคอยู่หน้า แปลงปัจจัยทั้ง ๓ เป็น ย ธาตุมี มฺ เป็นที่สุด อยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุ
เป็น มมฺ สำเร็จรูปเป็น อภิรมฺม ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาดังนี้
ก. (ผู้ใด) อันเขาเลี้ยงได้โดยง่าย เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้อันเขาเลี้ยงได้โดยง่าย ฯ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ข ปัจจัย ฯ
ข. (ผู้ใด) ย่อมโกรธ โดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้โกรธโดยปกติ ฯ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ยุ ปัจจัย ฯ
ค. (แม่น้ำ) ย่อมเกิดก่อน แต่ประเทศนั่น เหตุนั้น (ประเทศนั่น) ชื่อว่า เป็นแดนเกิดก่อน (แห่งแม่น้ำ) ฯ เป็นกัตตุรูป อปาทานสาธนะ อ ปัจจัย ฯ
๖. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ และกัมมธารยสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปญฺญาปาสาโท, ขตฺติยมาโน จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน
คือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธานที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อกัมมธารยสมาส ฯ กัมมธารยสมาสนั้น มี ๖ อย่าง คือ วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตฺตรปโท, วิเสสโนภยปโท, วิเสสโนปมปโท, สมฺภาวนปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพปโท ฯ ปญฺญาปาสาโท เป็น วิเสสโนปโท ฯ ขตฺติยมาโน เป็น สมุภาวนปุพฺพปโท ฯ
๗. ในชาตาทิตัทธิต และสมุหตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สงฺฆิกํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัว คือ อิม, อิย, กิย ฯ ในสมุหตัทธิต มีปัจจัย ๓ ตัว คือ กณฺ, ณ, ตา ฯ
สงฺฆิกํ ลง ณิก ปัจจัย ในตรตฺยาทิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า สงฺฆสฺส สนฺตกํ สงฺฆิกํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗ (ครั้งที่ ๒)

๑. อะไรชื่อว่าพยัญชนะ ฯ พยัญชนะวรรคมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อว่า
พยัญชนะ ฯ พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ฯ คือ ก ข ค ฆ ง ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ก วรรค,
จ ฉ ช ฌ ญ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า จ วรรค, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ฏ วรรค, ต ถ ท ธ น ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ต วรรค, ป ผ พ ภ ม ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ป วรรค ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. กึสุ + อิธ สนธิเป็น………………………………………..ฯ
ข. วิทูนํ + อคฺคํ สนธิเป็น………………………………………..ฯ
ค. เอวํสา ตัดบทเป็น…………………………………….ฯ
ฆ. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น…………………………………….ฯ
ง. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ……………………ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. กึสุ + อิธ สนธิเป็น กึสูธ ฯ
ข. วิทูนํ + อคฺคํ สนธิเป็น วิทูนคฺคํ ฯ
ค. เอวํสา ตัดบทเป็น เอวํ-อสฺสา ฯ
ฆ. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น เต-อหํ ฯ
ง. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อะไรจัดเป็นนามนาม ฯ
ข. ปุงลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยา ตั้งแต่ไหนถึงไหน เป็นเอกวจนะอิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. ศัพท์เช่นไร เรียกว่า อัพยยศัพท์ ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ จัดเป็นนามนาม ฯ
ข. ปุงลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อ อิ อี อุ อู ฯ
ค. ปกติสังขยาตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็น ๒ คือ อนิยม ๑ นิยม ๑ ฯ
ง. ศัพท์อีกจำพวกหนึ่งจะแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ แปลงรูปไปต่าง ๆ เหมือนนามทั้ง ๓ ไม่ได้ คงรูปอยู่เป็นอย่างเดียว ศัพท์เหล่านี้เรียก ว่า อัพยยศัพท์ ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าอาขยาต ฯ
ข. ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งบทเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่า อาขยาต ฯ
ข. ในอาขยาตนั้น แบ่งบทเป็น ๒ คือ ปรัสสบท บทเพื่อผู้อื่น ๑ อัตตโนบท บทเพื่อตน ๑ ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ วจนียํ, ชิณฺโณ แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. นิสฺสาย นํ วสตีติ นิสฺสโย ฯ
ข. มญฺญติ เอตายาติ มติ ฯ
ค. วทตีติ วตฺตา ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ วจนียํ แปลว่า อันเขาพึ่งกล่าว ฯ สำเร็จรูปมาจาก วจฺ ธาตุ
ในความกล่าว อนีย ปัจจัย ลง สิ ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น วจนียํ ฯ
ชิณฺโณ แปลว่า แก่แล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก ชิรฺ ธาตุ ในความคร่ำคร่า ต ปัจจัย ธาตุมี รฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ณฺณ แล้วลบที่สุดธาตุ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น ชิณฺโณ ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะและปัจจัย มาดังนี้
ก. (ศิษย์) อาศัยซึ่งอาจารย์นั้นอยู่ เหตุนั้น (อาจารย์นั้น) ชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่ (ของศิษย์) ฯ เป็นกัตตุรูป กัมมสาธนะ อ ปัจจัย ฯ
ข. (ชน) ย่อมรู้ ด้วยปัญญานั่น เหตุนั้น (ปัญญานั่น) ชื่อว่าเป็นเหตุรู้ (แห่งชน) ฯ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ติ ปัจจัย ฯ
ค. (ผู้ใด) ย่อมกล่าว เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้กล่าว เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตุ ปัจจัย ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่าอัพยยีภาวสมาส ฯ อัพยยีภาวสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ พุทฺธรตนํ, ปจฺฉาภตฺตํ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้า ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส ฯ อัพยยีภาวสมาสนั้น มี ๒ อย่าง คือ อุปสคฺคปุพฺพโก ๑ นิปาตปุพฺพโก ๑ ฯ
พุทฺธรตนํ เป็นอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ วิเคราะห์ว่า พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ ฯ
ปจฺฉาภตฺตํ เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ วิเคราะห์ว่า ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต และปูรณตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เมธาวี ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ
ในปูรณตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย, ถ, ฐ, ม, อี ฯ
เมธาวี ลง วี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า เมธา อสฺส อตฺถีติ เมธาวี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑. อะไรชื่อว่าพยัญชนะ ฯ พยัญชนะวรรค มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อว่าพยัญชนะ ฯ พยัญชนะวรรค มี ๒๕ ตัว ฯ คือ ก ข ค ฆ ง ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ก วรรค, จ ฉ ช ฌ ญ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า จ วรรค, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ฏ วรรค, ต ถ ท ธ น ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ต วรรค, ป ผ พ ภ ม ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ป วรรค ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. จตูหิ + อปาเยหิ สนธิเป็น……………………………..ฯ
ข. ตํ + นิพฺพุตํ สนธิเป็น……………………………..ฯ
ค. จกฺขฺวาปาถํ ตัดบทเป็น…………………………..ฯ
ฆ. อิธปฺปโมทติ ตัดบทเป็น…………………………..ฯ
ง. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. จตูหิ + อปาเยหิ สนธิเป็น จตูหปาเยหิ ฯ
ข. ตํ + นิพฺพุตํ สนธิเป็น ตนฺนิพฺพุตํ ฯ
ค. จกฺขฺวาปาถํ ตัดบทเป็น จกฺขุ-อาปาถํ ฯ
ฆ. อิทปฺปโมทติ ตัดบทเป็น อิธ-ปโมทติ ฯ
ง. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คุณนามแบ่งเป็นกี่ชั้น ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยา ตั้งแต่ไหนถึงไหน เป็นเอกวจนะอิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. กตม, ตุมฺห จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. ติโร, หนฺท แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คุณนามแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ปกติ ๑ วิเสส อติวิเสส ๑ ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์ ๓ คือ อ อิ อุ ฯ
ค. ปกติสังขยา ตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. กตม เป็นอนิยม วิเสสนสัพพนาม, ตุมฺห เป็นปุริสสัพพนาม ฯ
ง. ติโร แปลว่า ภายนอก เป็นนิบาตบอกที่ ฯ หนฺท แปลว่า เอาเถิด เป็นนิบาตบอกความเตือน ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. วิภัตติหมวดอัชชัตตนี บอกกาลอะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ เหตุกัมมวาจก ฯ และมีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. วิภัตติหมวดอัชชัตตนี บอกอดีตกาล ตั้งแต่วานนี้ ฯ แปลว่า แล้ว, ถ้ามี อ อยู่หน้า แปลว่า ได้-แล้ว ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด กล่าวสิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของสิ่งนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อเหตุกัมมวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ข้าวสุก อันนาย ใช้พ่อครัว ให้หุงอยู่ ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ ภินฺโน, ปมชฺช แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู ฯ
ข. ครหิตพฺพนฺติ คารยฺหํ ฯ
ค. วิเนติ เตนาติ วินโย ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ ภินฺโน แปลว่า แตกแล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก ภิทฺ ธาตุ ในความแตก ต ปัจจัย ธาตุมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น นฺน แล้วลบที่สุดธาตุ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น ภินฺโน ฯ
ปมชฺช แปลว่า ประมาทแล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า มทฺ ธาตุ ในความประมาท ตูนาทิ ปัจจัย คือ ตูน ตฺวา ตฺวาน อุปสัคอยู่หน้า แปลงปัจจัยทั้ง ๓ เป็น ย ธาตุมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็น ชฺช ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาดังนี้
ก. (ผู้ใด) ย่อมถึง ซึ่งฝั่ง โดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ ฯ เป็นกัตตรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ รู ปัจจัย ฯ
ข. (กรรมใด) อันเขา พึงติเตียน เหตุนั้น (กรรมนั้น) ชื่อว่า อันเขาพึงติเตียน ฯ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ณฺย ปัจจัย ฯ
ค. (บัณฑิต) ย่อมแนะนำ ด้วยอุบายนั้น เหตุนั้น (อุบายนั้น) ชื่อว่า เป็นครื่องแนะนำ(ของบัณฑิต) ฯ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ อ ปัจจัย ฯ
๖. อะไรชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ และทวันทวสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปตฺตจีวรํ, สมณพฺราหฺมณา จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : นามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปท่านย่อเข้าป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ มี ๒ อย่าง คือ สมาหาโร อสมาหาโร ฯ
ปตฺตจีวรํ เป็นสมาหาโร, สมณพฺราหฺมณา เป็น อสมาหาโร ฯ
๗. ในปกติตัทธิต และวิภาคตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สากฏิโก ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในปกติตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ มย ฯ ในวิภาคตัทธิต มีปัจจัย ๒ ตัว
คือ ธา, โส ฯ
สากฏิโก ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า สกเฏน จรตีติ สากฏิโก ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ในสระ ๘ ตัวนั้น สระมีมาตราเบา ๓ ตัว คือ ……………..ชื่อ………….,
สระอีก ๕ ตัว อื่นจากนั้น คือ ………………….ชื่อ………………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ในสระ ๘ ตัวนั้น สระมีมาตราเบา ๓ ตัว คือ อ อุ อุ ชื่อ รัสสะ มีเสียงสั้น เหมือนคำว่า อติ ครุ ฯ สระอีก ๕ ตัว อื่นจากนั้น คือ อา อี อู เอ โอ ชื่อทีฆะ มีเสียงยาวเหมือนคำว่า ภาคี วธู เสโข เป็นต้น ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. เม + อยํ สนธิเป็น ………………………..ฯ
ข. ปจฺจตฺตํ + เอว สนธิเป็น ………………………..ฯ
ค. ตาสาหํ ตัดบทเป็น ……………………..ฯ
ฆ. สพฺภิเรว ตัดบทเป็น ……………………..ฯ
ง. ในสระสนธิ โลโป ที่ต้นมี ๒ คือ……………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. เม + อยํ สนธิเป็น มฺยายํ ฯ
ข. ปจฺจตฺตํ + เอว สนธิเป็น ปจฺจตฺตญฺเญว ฯ
ค. ตาสาหํ ตัดบทเป็น ตาสํ-อหํ ฯ
ฆ. สพฺภิเรว ตัดบทเป็น สพฺภิ-เอว ฯ
ง. ในสระสนธิ โลโป ที่ต้นมี ๒ คือ ลบสระหน้า ๑ ลบสระหลัง ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อะไรจัดเป็นนามนาม ฯ
ข. สัพพนามเป็นชื่อสำหรับใช้แทนอะไร ฯ
ค. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสังขยา ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ฆ. เอต, อมฺห จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. เสฺว, อิว แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ เป็นนามนาม ฯ
ข. สัพพนาม เป็นชื่อสำหรับใช้แทนนามนาม ที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะไม่ให้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู ฯ
ค. ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อสังขยา แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยา ๑ ปูรณสังขยา ๑ ฯ
ฆ. เอต เป็นนิยม วิเสสนสัพพนาม, อมฺห เป็นปุริสสัพนาม ฯ
ง. เสฺว แปลว่า วันพรุ่ง เป็นนิบาตบอกกาล ฯ อิว แปลว่า เพียงดัง เป็นนิบาตบอกอุปมาอุปไมย ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในอาขยาต แบ่งกาลที่เป็นประธานไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ และมีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในอาขยาตนั้น แบ่งกาลที่เป็นประธานได้ ๓ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่าปัจจุบันกาล ๑, กาลล่วงแล้ว เรียกว่าอดีตกาล ๑, กาลยังไม่มาถึง เรียกว่าอนาคตกาล ๑ ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด กล่าวผู้ใช้ให้คนอื่นทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ใช้ให้คนอื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อเหตุกัตตุวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ นาย ยัง (หรือใช้)พ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ฯ
๕. ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี ทฺ และ หฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็นอะไรได้บ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบอย่างละ ๑ ตัว ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. สุเขน ภริยตีติ สุภโร ฯ
ข. ธาเรตีติ ธาตา ฯ
ตอบ : ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น นฺน แล้วลบที่สุดธาตุ ตัวอย่าง ฉนฺโน อันเขามุงแล้ว ฉทฺ ธาตุ ในความปิด ฯ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี หฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ฬฺห แล้วลบที่สุดธาตุ ตัวอย่าง รุฬฺโห งอกแล้ว รุหฺ ธาตุ ในความงอก ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะและปัจจัยมาดังนี้
ก. (ผู้ใด) อันเขาเลี้ยงได้โดยง่าย เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้อันเขาเลี้ยงได้โดยง่าย ฯ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ข ปัจจัย ฯ
ข. (ผู้ใด) ย่อมทรงไว้ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้ทรงไว้ ฯ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตุ ปัจจัย ฯ
๖. อะไรชื่อว่าตัปปุริสสมาส ฯ และตัปปุริสสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ราชปุตฺโต, สงฺขารทุกฺขํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้นในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อตัปปุริสสมาส ฯ มี ๖ อย่าง คือ ทุติยาตปฺปุริโส, ตติยาตปฺปุริโส, จตุตฺถีตปฺปุริโส, ปญฺจมีตปฺปุริโส, ฉฏฺฐีตปฺปุริโส, สตฺตมีตปฺปุริโส ฯ
ราชปุตฺโต เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส ฯ สงฺขารทุกฺขํ เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส ฯ
๗. ในพพุลตัทธิต และเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ โภคี ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในพหุลตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ อาลุ ฯ ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ
ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ
โภคี ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า โภโค อสฺส อตฺถีติ โภคี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
“อักขระที่เหลือจากสระ มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อ………………
แปลว่า………….มี……….ตัว แบ่งเป็น………………พวก คือ……………………….” ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
อักขระที่เหลือจากสระ มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อพยัญชนะ
แปลว่าทำเนื้อความให้ปรากฏ มี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๒ พวก คือ วรรค ๑ อวรรค ๑ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. สเมตุ + อายสฺมา สนธิเป็น …………..…………..ฯ
ข. พนฺธุสฺส + อิว สนธิเป็น .……………..………..ฯ
ค. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น………….…………..ฯ
ฆ. อิจฺเจวํ ตัดบทเป็น…………….………..ฯ
ง. พยัญชนะอาคม ๘ ตัว คือ …………….…………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สเมตุ + อายสฺมา สนธิเป็น สเมตายสฺมา ฯ
ข. พนฺธุสฺส + อิว สนธิเป็น พนฺธุสฺเสว ฯ
ค. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น เต – อหํ ฯ
ฆ. อิจฺเจวํ ตัดบทเป็น อิติ – เอวํ ฯ
ง. พยัญชนะอาคม ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามทั้ง ๓ นั้น ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสังขยา ฯ
ฆ. สัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. อุทฺธํ, ยนฺนูน แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถาม ดังต่อไปนี้
ก. นามทั้ง ๓ นั้น ต้องประกอบด้วย ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์ ๕ คือ อา อิ อี อุ อู ฯ
ค. ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อสังขยา ฯ
ฆ. สัพพนาม แบ่งเป็น ๒ คือ ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ ฯ
ง. อุทฺธํ แปลว่า เบื้องบน เป็นนิบาตบอกที่ ฯ ยนฺนูน แปลว่า กระไรหนอ เป็นนิบาตบอกปริกัป ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. บุรุษในอาขยาต มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ และมีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถาม ดังต่อไปนี้
ก. บุรุษในอาขยาต มี ๓ คือ ปฐมบุรุษ ๑ มัธยมบุรุษ ๑ อุตตมบุรุษ ๑ ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ใช้ให้คนอื่นทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ใช้ให้คนอื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ นาย ยัง (หรือใช้) พ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ วตฺตพฺพํ, รุนฺโน แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. สุเขน ภริยตีติ สุภโร ฯ
ข. หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร ฯ
ค. ทุสฺสติ เตนาติ โทโส ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ วตฺตพฺพํ แปลว่า อันเขาพึงกล่าว สำเร็จรูปมาจาก วทฺ ธาตุ
ในความกล่าว ตพฺพ ปัจจัย เอา ทฺ เป็น ตฺ ฯ รุนฺโน แปลว่า ร้องให้แล้ว สำเร็จรูปมาจาก รุทฺ ธาตุ ในความร้องให้ ต ปัจจัย ธาตุมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ตฺ เป็น นฺน แล้วลบที่สุดธาตุ ฯ ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัย มาดังนี้
ก. (ผู้ใด) อันเขาเลี้ยงได้ โดยง่าย เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าอันเขาได้โดยง่าย ฯ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ข ปัจจัย ๆ
ข. (ผู้ใด) ย่อมทำ ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ฯ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ อ ปัจจัย ฯ
ค. (ชน) ย่อมประทุษร้าย ด้วยกิเลสนั้น เหตุนั้น (กิเลสนั้น) ชื่อว่าเป็นเหตุประทุษร้าย (แห่งชน) ฯ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ณ ปัจจัย ฯ
๖. อะไรชื่อว่าสมาส ฯ สมาสนั้น ว่าโดยกิจและโดยชื่อ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อสมาส ฯ สมาสนั้น ว่าโดยกิจมี ๒ อย่าง คือ สมาสที่ท่านลบวิภัตติเสียแล้ว เรียกว่า ลุตฺตสมาโส, สมาสที่ท่านยังมิได้ลบวิภัตติ เรียกว่า อลุตฺตสมาโส ฯ สมาสนั้น ว่าโดยชื่อ มี ๖ อย่าง คือ กมฺมธารโย, ทิคุ, ตปฺปุริโส, ทวนฺทโว, อพฺยยีภาโว, พหุพฺพิหิ ฯ
๗. ในชาตาทิตัทธิต และสังขยาตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จกฺขุมา ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัย ๓ ตัว คือ อิม, อิย, กิย ฯ ในสังขยาตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ก ฯ จกฺขุมา ลง มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ……………๘ ตัวนี้ ชื่อ สระ,
………………………………………………………..๓๓ ตัวนี้ ชื่อ พยัญชนะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ ชื่อสระ,
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ ๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. จตฺตาโร + อิเม สนธิเป็น………………………..ฯ
ข. เอตํ + อโวจ สนธิเป็น………………………….ฯ
ค. อถขฺวสฺส ตัดบทเป็น……………………….ฯ
ฆ. อิธปฺปโมทติ ตัดบทเป็น……………………….ฯ
ง. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ……..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. จตฺตาโร+อิเม สนธิเป็น จตฺตาโรเม ฯ
ข. เอตํ + อโวจ สนธิเป็น เอตทโวจ ฯ
ค. อถขฺวสฺส ตัดบทเป็น อถโข-อสฺส ฯ
ฆ. อิธปฺปโมทติ ตัดบทเป็น อิธ-ปโมทติ ฯ
ง. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงแจก จตุ ศัพท์ (เฉพาะอิตถีลิงค์) ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ มาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อ สังขยา ฯ แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยาอย่าง ๑ ปูรณสังขยาอย่าง ๑ ฯ
จตุ ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้
พหุ.
ป. จตสฺโส
ทุ. จตสฺโส
ต. จตูหิ
จ. จตสฺสนฺนํ
ปญฺ. จตูหิ
ฉ. จตสฺสนฺนํ
ส. จตูสุ ฯ
๔. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าอาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้นท่านประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
จงเขียนวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด
คิด ชื่อว่า อาขยาต ฯ
ในอาขยาตนั้นท่านประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวดภวิสสันติ เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมา ดังนี้
ปรสฺสปทํ
เอก. พหุ.
ป. สฺสติ สฺสนฺติ
ม. สฺสสิ สฺสถ
อุ. สฺสามิ สฺสาม ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่ากัมมสาธนะ ฯ และกัมมสาธนะนั้น ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไร ฯ กิริยากิตก์ คือ ชิณฺโณ, อารุยฺห แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : ผู้ทำ ๆ ซึ่งสิ่งใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งนั้น เป็นต้นว่า ปิโย เป็นที่รัก, รโส วิสัยเป็นที่ยินดี ก็ดี, ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งของที่เขาทำ เป็นต้นว่า กิจฺจํ กรรมอันเขาพึงทำ, ทานํ สิ่งของอันเขาพึงให้ ก็ดี, ชื่อว่า กัมมสาธนะฯ และกัมมสาธนะนั้น ที่เป็นกัตตุรูป แปลว่า เป็นที่…. ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า เป็นที่อันเขา……ฯ
ชิณฺโณ แปลว่า แก่แล้ว ฯ ฯ สำเร็จรูปมาจาก ชิรฺ ธาตุ ในความคร่ำคร่า ต ปัจจัย ธาตุมี ร เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ณฺณ แล้วลบที่สุดธาตุ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น ชิณฺโณ ฯ
อารุยฺห แปลว่า ขึ้นแล้ว ฯ สำเร็จรูปมาจาก อา บทหน้า รุหฺ ธาตุ ในความขึ้น ตูนาทิปัจจัย คือ ตูน ตฺวา ตฺวาย มีอุปสัคอยู่หน้า แปลงปัจจัยทั้ง ๓ เป็น ย ธาตุมี หฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็น ยฺห สำเร็จรูปเป็น อารุยฺห ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ ฯ
ข. ตโย โลกา ติโลกํ ฯ
ค. พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต ฯ
ฆ. ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ฯ
ง. สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) ฯ
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้
ก. อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
ข. สมาหารทิคุสมาส ฯ
ค. ปัญจมีตัปปุริสสมาส ฯ
ฆ. นิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต และอัพยยตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ปุญฺญวา ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ
ในอัพยยตัทธิต มีปัจจัย ๒ ตัว คือ ถา, ถํ ฯ
ปุญฺญวา ลง วนฺตุ ปัจจัย ใน ตทัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า ปุญฺญํ อสฺส อตฺถีติ ปุญฺญวา ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น…………ส่วน คือ……….……………..ฯ
ข. กรณ์ที่ทำอักขระ มี……………คือ………………………………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น ๖ ส่วน คือ นาม ๑ อัพยยศัพท์ ๑ สมาส ๑ ตัทธิต ๑ อาขยาต ๑ กิตก์ ๑ ฯ
ข. กรณ์ที่ทำอักขระ มี ๔ คือ ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น ๑ ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา ๑ ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น ๑ สกฏฺฐานํ ฐานของตน ๑ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. อภินนฺทํุ + อิติ สนธิเป็น…………………………ฯ
ข. อคฺคิ + อาคารํ สนธิเป็น…………………………ฯ
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น………………………ฯ
ฆ. สาธูติ ตัดบทเป็น………………………ฯ
ง. สัญโญโค แบ่งเป็น ๒ คือ……………………………ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. อภินนฺทํุ + อิติ สนธิเป็น อภินนฺทุนฺติ ฯ
ข. อคฺคิ + อาคารํ สนธิเป็น อคฺยาคารํ ฯ
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น เอตํ – อโวจ ฯ
ฆ. สาธูติ ตัดบทเป็น สาธุ – อิติ ฯ
ง. สญฺโญโค แบ่งเป็น ๒ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์นั้น แบ่งเป็นกี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. วิภัตตินามนั้น มีกี่ตัว ฯ แบ่งเป็นอย่างไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยา ตั้งแต่ไหนถึงไหน เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างดียว ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนามแบ่งเป็นเท่าไหร่ ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. นิบาตนั้น สำหรับใช้อย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์นั้น แบ่งเป็น ๓ คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ สัพพนาม ๑ ฯ
ข. วิภัตตินามนั้น มี ๑๔ ตัว แบ่งเป็นเอกวจนะ ๗ พหุวจนะ ๗ ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ | |
ปฐมา ที่ ๑ ทุติยา ที่ ๒ ตติยา ที่ ๓ จตุตฺถี ที่ ๔ ปญฺจมี ที่ ๕ ฉฏฺฐี ที่ ๖ สตฺตมี ที่ ๗ | สิ อํ นา ส สฺมา ส สฺมึ | โย โย หิ นํ หิ นํ สุ |
ค. ปกติสังขยา ตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็น ๒ คือ อนิยม ๑ นิยม ๑ ฯ
ง. นิบาตนั้น สำหรับใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอกอาลปนะ กาล ที่ ปริเฉท อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ฯ
๔. วาจก คืออะไร ฯ แบ่งเป็นกี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ และกุลบุตรจะกำหนดวาจกได้แม่นยำต้องอาศัยอะไรเป็นเครื่องกำหนด ฯ
ตอบ : วาจก คือ กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ คือกล่าวบทที่เป็นประธานของกิริยา ฯ แบ่งเป็น ๕ อย่าง คือ กัตตุวาจก ๑ กัมมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ และกุลบุตรจะกำหนดวาจกได้แม่นยำต้องอาศัยปัจจัยเป็นเครื่องกำหนด ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ คุตฺโต, ปคฺคยฺห แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. เนตพฺพนฺติ เนยุยํ ฯ
ข. สรติ เอตายาติ สติ ฯ
ค. กุชฺฌติ สีเลนาติ โกธโน ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ คุตฺโต แปลว่า อันเขาคุ้มครองแล้ว สำเร็จรูปมาจาก คุปฺ ธาตุ ในความคุ้มครอง ต ปัจจัย ธาตุ มี ปฺ เป็นที่สุด เอาที่สุดธาตุเป็น ต สิ ปฐมาวิภัตติ ปุงลิงค์ ฯ ปคฺคยฺห แปลว่า ประคองแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า คหฺ ธาตุ
ในความประคอง ตูนาทิ ปัจจัย คือ ตูน ตฺวา ตฺวาน ธาตุมี หฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น ยฺห ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะและปัจจัย มาดังนี้
ก. (สิ่งใด) อันเขาพึงนำไป เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่าอันเขาพึงนำไป ฯ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ณฺย ปัจจัย ฯ
ข. (ชน) ย่อมระลึก (ด้วยธรรมชาติ) นั่น เหตุนั้น (ธรรมชาตินั่น) ชื่อว่า เป็นเหตุระลึก (แห่งชน) ฯ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ติ ปัจจัย ฯ
ค. (ผู้ใด) ย่อมโกรธ โดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้โกรธโดยปกติ ฯ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ยุ ปัจจัย ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ และทวันทวสมาสนั้นมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สมจฺเฉรํ (จิตฺตํ), พนฺธนมุตฺโต (สตฺโต) เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์ มาดูด้วย ฯ
ตอบ : นามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อ ทวันทวสมาส ฯ และทวันทวสมาส มี ๒ อย่าง คือ สมาหาโร ๑ อสมาหาโร ๑ ฯ
สมจฺเฉรํ (จิตฺตํ) เป็น สหบุพพบท พหุพพิหิสมาส วิเคราะห์ว่า สห มจฺเฉเรน ยํ วตฺตตีติ สมจฺเฉรํ (จิตตํ) ฯ
พนฺธนมุตฺโต (สตฺโต) เป็น ปัญจมีตัปปุริสสมาส วิเคราะห์ว่า พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต (สตฺโต) ฯ
๗. ในราคาทิตัทธิต และปรณตัทธิต มีปีจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ มาคโธ, เตชสี ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จนขียนรูปวิเคราะห์ มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในราคาทิตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ณ ฯ ในปูรณตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ
ติย ถ ฐ ม อี ฯ
มาคโธ ลง ณ ปัจจัย ในราคาทิตัทธิต วิเคราะห์ว่า มคเธ ชาโต มาคโธ, มคเธ วสตีติ มาคโธ, มคเธ อิสฺสโร มาคโธ ฯ
เตชสี ลง สี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า เตโช อสฺส อตฺถีติเตชสี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๒)

๑. อักขระที่เหลือจากสระชื่ออะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ มีเท่าไร ฯ แบ่งเป็นกี่พวก ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : อักขระที่เหลือจากสระ ชื่อพยัญชนะ ฯ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ ฯ
มี ๓๓ ตัว ฯ แบ่งเป็น ๒ พวก คือ วรรค ๑ อวรรค ๑ ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ วิทูนคฺคํ, อภินนฺทุนฺติ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑
วิทูนคฺคํ ตัดเป็น วิทูนํ + อคฺคํ เมื่อมีสระหรือพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง ลบนิคคหิตซึ่งอยู่หน้าได้บ้าง ต่อเป็น วิทูนคฺคํ ฯ
อภินนฺทุนฺติ ตัดเป็น อภินนฺทํุ + อิติ นิคคหิตอยู่หน้า ลบสระเบื้องปลายได้บ้าง หรือ นิคคหิตอยู่หน้า ลบสระเบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น น ต่อเป็น อภินนฺทุนฺติ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อะไรจัดเป็นนามนาม ฯ
ข. อะไรเรียกว่าการันต์ ฯ
ค. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสังขยา ฯ
ฆ. เอต, สพฺพ จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. ปัจจัยนั้น ลงที่ไหน ฯ เป็นเครื่องหมายอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ จัดเป็น นามนาม ฯ
ข. สระที่สุดแห่งศัพท์ เรียกว่า การันต์ ฯ
ค. ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อว่า สังขยา ฯ
ฆ. เอต เป็นนิยม วิเสสนสัพพนาม, สพฺพ เป็นอนิยม วิเสสนสัพพนาม ฯ
ง. ปัจจัยนั้น ลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิกัตติบ้าง ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาบ้าง ฯ
๔. ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งกาลที่เป็นประธาน และแบ่งกาลให้ละเอียดไว้อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งกาลที่เป็นประธานไว้ ๓ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่า ปัจจุบันกาล ๑, กาลล่วงแล้ว เรียกว่า อดีตกาล ๑, กาลยังไม่มาถึง เรียกว่า อนาคตกาล ๑ ฯ กาลทั้ง ๓ นั้น ท่านแบ่งให้ละเอียดออกอีก ดังนี้
ปัจจุบันกาล จัดเป็น ๓ คือ ปัจจุบันแท้ ๑, ปัจจุบันใกล้อดีต ๑, ปัจจุบันใกล้อนาคต ๑ ฯ
อดีตกาล จัดเป็น ๓ คือ ล่วงแล้วไม่มีกำหนด ๑, ล่วงแล้ววานนี้ ๑, ล่วงแล้ววันนี้ ๑ ฯ
อนาคตกาล จัดเป็น ๒ คือ อนาคตของปัจจุบัน ๑, อนาคตของอดีต ๑ ฯ
๕. ในกิริยากิตก์ แบ่งกาลไว้เท่าไร ฯ อะไรได้บ้าง ฯ กมฺมกาโร ลงปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในกิริยากิตก์ แบ่งกาลที่เป็นประธานไว้ ๒ คือ ปัจจุบันกาล ๑, อดีตกาล ๑ฯ กาลทั้ง ๒ นั้น แบ่งให้ละเอียดออกอีก ดังนี้ ปัจจุบันกาล จัดเป็น ๒ คือ ปัจจุบันแท้ ๑, ปัจจุบันใกล้อนาคต ๑, อดีตกาล จัดเป็น ๒ คือ ล่วงเเล้ว ๑, ล่วงแล้วเสร็จ ๑ ฯ
กมฺมกาโร ลง ณ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า กมฺมํ กโรตีติ กมฺมกาโร ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่าอัพยยีภาวสมาส ฯ และอัพยยีภาวสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปจฺฉาภตตํ, อชฺฌตฺตํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้า ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส ฯ มี ๒ อย่าง คือ อุปสคฺคปุพฺพโก, นิปาตปุพฺพโก ฯ
ปจฺฉาภตฺตํ เป็นนิปาตปุพพกะ, อชฺฌตฺตํ เป็นอุปสัคคปุพพกะ ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สากุณิโก, เมธาวี, ปญฺจโม แปลว่าอย่างไร ฯ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิต มีปังจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ
สากุณิโก แปลว่า ผู้ฆ่าซึ่งนกเป็นอยู่ ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต ฯ
เมธาวี แปลว่า มีเมธา (มีปัญญา) ลง วี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ
ปญฺจโม แปลว่า ที่ ๕ ลง ม ปัจจัย ในปูรณตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. อักขระเบื้องต้น……….ตัว ตั้งแต่ อ จนถึง………ชื่อ……………….. ฯ
ข. ว เกิดใน ๒ ฐาน คือ……….. เรียกว่า…………….……………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. อักขระเบื้องต้น ๘ ตัว ตั้งแต่ อ จนถึง โอ ชื่อ สระ ฯ
ข. ว เกิดใน ๒ ฐาน คือ ฟันและริมฝีปาก เรียกว่า ทนฺโตฏฺฐโช ฯ
๒. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. โนเหติ, เอตทโวจ เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ อย่าง ฯ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ ฯ
ข. โนเหตํ เป็นโลปสระสนธิ ตัดและต่ออย่างนี้คือ โนหิ-เอตํ ลบสระหน้า คือ อิ ที่สุดแห่งศัพท์ โนหิ เสีย สนธิเป็น โนเหตํ ฯ เอตทโวจ ตัดเป็น เอตํ-อโวจ ถ้าสระอยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ท ต่อเป็น เอตทโวจ เป็น อาเทสนิคคหิตสนธิ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่แสดงลักษณะของนามนาม แบ่งเป็นกี่ชั้น ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. ศัพท์มโนคณะ ซึ่งมีวิธีแจกแปลกอยู่ ๕ วิภัตตินั้นคืออย่างไร ฯ
ค. เอกูนวีสติ จนถึง อฏฺฐนวุติ เป็นวจนะ และลิงค์อะไร ฯ
ฆ. สัพพนามเป็นชื่อสำหรับใช้แทนอะไร ฯ
ง. สมฺปติ, กจฺจิ แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาติบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่แสดงลักษณะของนามนาม แบ่งเป็น ๓ ชั้น ฯ คือ ปกติ ๑ วิเสส ๑ อติวิเสส ๑ ฯ
ข. ศัพท์มโนคณะ ซึ่งมีวิธีแจกแปลกอยู่ ๕ วิภัตตินั้น คือ นา กับ สฺมา เป็น อา, ส ทั้ง ๒ เป็น โอ, สมึ เป็น อิ, แล้วลง ส อาคม เป็น สา เป็น โส เป็น สิ ฯ
ค. เอกูนวีสติ จนถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ และอิตถีลิงค์อย่างเดียว
ฆ. สัพพนามเป็นชื่อสำหรับใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะไม่ให้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู ฯ
ง. สมฺปติ แปลว่า บัดเดี๋ยวนี้ กจฺจิ แปลว่า แลหรือ ฯ สมฺปติ เป็นนิบาตบอกกาล กจฺจิ เป็นนิบาตบอกความถาม ฯ
๔. กาลาติปตฺติ บอกกาลอะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ ถ้ามี อ อยู่หน้า แปลว่าอย่างไร ฯ จงยกอุทาหรณ์พร้อมทั้งแปลมาให้ดูด้วย ฯ
ตอบ : กาลาติปตฺติ บอกอนาคตกาลแห่งอดีต ฯ แปลว่า จัก – แล้ว ฯ ถ้ามี อ อยู่หน้าแปลว่าจักได้ – แล้ว ฯ อุ. โส เจ ยานํ ลภิสฺสา, อคจฺฉิสฺสา แปลว่า ถ้าว่าเขาจักได้แล้วซึ่งยานไซร้, (เขา) จักได้แล้ว ฯ
๕. กิริยากิตก์ คือ ปมชฺช, ติณฺโณ แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. ทมิตพฺโพติ ทมฺโม ฯ
ข. คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ คติ ฯ
ค. ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ ปมชฺช แปลว่า ประมาทแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า มทฺ ธาตุ ในความประมาท แปลงตูนาทิปัจจัย เป็น ย ธาตุมี ท เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็น ชฺช ฯ ติณฺโณ แปลว่า ข้ามแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ตรฺ ธาตุในความข้าม ต ปัจจัย ธาตุมี รฺ เป็นที่สุด อยู่หน้า แปลง ตฺ เป็น ณฺณ แล้วลบที่สุดธาตุ ฯ
ได้เขียนรูปวิเคราะห์พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะและปัจจัยดังนี้
ก. ทมิตพฺโพติ ทมฺโม (ผู้ใด) อันเขา พึงทรมานได้ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า อันเขาพึงทรมานได้ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ณฺย ปัจจัย ฯ
ข. คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ คติ (ชน ท.) ย่อมไป ในภูมินั่น เหตุนั้น (ภูมินั้น) ชื่อว่า เป็นที่ไป (แห่ง ชน ท.) เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ติ ปัจจัย ฯ
ค.ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู (ผู้ใด) ย่อมถึง ซึ่งฝั่ง โดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ รู ปัจจัย ฯ
๖. สมาสในบาลีภาษาว่าโดยกิจ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อนฺธวธิโร (ปุริโส), วีตราโค (ภิกฺขุ), พหินครํ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาด้วย ฯ
ตอบ : สมาสในบาลีภาษาว่าโดยกิจมี ๒ อย่าง ฯ คือ สมาสที่ท่านลบวิภัตติเสียแล้ว เรียกว่า ลุตฺตสมาโส, สมาสที่ท่านยังมิได้ลบวิภัตติ เรียกว่า อลุตฺตสมาโส ฯ
อนฺธวธิโร (ปุริโส) เป็นวิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า อนฺโธ จ วธิโร จ =อนฺธวธิโร (ปุริโส) ฯ
วีตราโค (ภิกฺขุ) เป็นปัญจมีพหุพพิหิสมาส วิ. ว่า วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค (ภิกฺขุ) ฯ
พหินครํ เป็นนิปาตปุพพกะอัพพยีภาวสมาส วิ. ว่า นครสฺส พหิ = พหินครํ ฯ
๗. ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เตชสี, กายิกํ เอกาทสี ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงเขียนรูปวิเคราะห์มาด้วย ฯ
ตอบ : ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว ฯ คือ วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ ฯ
เตชสี ลง สี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต วิ. ว่า เตโช อสฺส อตถี-ติ เตชสี ฯ
กายิกํ ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต วิ. ว่า กาเยน กตํ กมฺมํ กายิกํ ฯ หรือ วิ. ว่า กาเย วตฺตตีติ กายิกํ ฯ เอกาทสี ลง อี ปัจจัย ในปูรณตัทธิตวิ. ว่า เอกาทสนฺนํ ปูรณี เอกาทสี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อักขรวิธี ว่าด้วยอะไร ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. พยัญชนะไหนบ้าง เรียกว่าอวรรค ฯ เพราะเหตุไร จึงเรียกชื่ออย่างนั้น ๆ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร ฯ แบ่งเป็น ๒ ฯ คือ สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระและพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์ ๑ สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน ๑ ฯ
ข. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ เรียกว่า อวรรค ฯ เพราะไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐากรณ์ที่เกิด จึงเรียกชื่ออย่างนั้น
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. จตฺตาโร + อิเม สนธิเป็น……………………………………ฯ
ข. ตาสํ + อหํ สนธิเป็น……………………………………ฯ
ค. สเมตายสฺมา ตัดบทเป็น………………………………..ฯ
ฆ. ยถายิทํ ตัดบทเป็น…………………………… …ฯ
ง. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ…………… ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ก. จตฺตาโร + อิเม สนธิเป็น จตฺตาโรเม ฯ
ข. ตาสํ + อหํ สนธิเป็น ตาสาหํ ฯ
ค. สเมตายสฺมา ตัดบทเป็น สเมตุ-อายสฺมา ฯ
ฆ. ยถายิหำ ตัดบทเป็น ยถา-อิทํ ฯ
ง. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คำพูดในบาลีภาษา จัดเป็นวจนะไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสังขยา ฯ แบ่งเป็นอะไรบ้าง ฯ
ฆ. กตร, อมฺห จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ
ง. กถํ, อิว แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. คำพูดในบาลีภาษา จัดเป็น ๒ วจนะ ฯ คือ เอกวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของสิ่งเดียว ๑ พหุวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือ ตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป ๑ ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์ ๓ ฯ คือ อ อิ อุ ฯ
ค. ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยา อย่าง ๑ ปูรณสังขยา อย่าง ๑ ฯ
ฆ. กตร จัดเป็นวิเสสนสัพพนาม อมฺห จัดเป็นปุริสสัพพนาม ฯ
ง. กถํ แปลว่า อย่างไร เป็นนิบาตบอกความถาม แปลว่า ด้วยประการไร เป็นนิบาตบอกประการ ฯ อิว แปลว่า เพียงดัง เป็นนิบาตบอกอุปมาอุปไมย ฯ
๔. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในอาขยาตนั้น แบ่งกาลที่เป็นประธานไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ กัตตุวาจก ฯ และกัตตุวาจกนี้ ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในอาขยาตแบ่งกาลที่เป็นประธานได้ ๓ ฯ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่า ปัจจุบันกาล ๑ กาลล่วงแล้ว เรียกว่า อดีตกาล ๑ กาลยังไม่มาถึง เรียกว่า อนาคตกาล ๑ ฯ
ข. กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ทำนั้นเอง กิริยาศัพท์นั้น ชื่อว่า กัตตุวาจก ฯ และกัตตุวาจกนี้ ลงปัจจัย ๑๐ ตัว คือ อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณย ฯ
๕. กิตปัจจัย ในกิริยากิตก์ คือปัจจัยอะไรบ้าง ฯ ปัจจัยไหน บอกกาลอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารี ฯ
ข. วิเนติ เตนาดิ วินโย ฯ
ตอบ : กิตปัจัยในกิริยากิตก์ คือ อนฺต ตวนฺตุ ตาวี ฯ อนฺต ปัจจัย บอกปัจจุบันกาล ตวนฺตุ ตาวี ปัจจัย บอกอดีตกาล ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ พร้อมบอกรูป สาธนะ และปัจจัย ดังนี้
ก. ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารี แปลว่า (ผู้ใด) ย่อมประพฤติ ซึ่งธรรมโดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ ฯ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ลง ณี ปัจจัย ฯ
ข. วิเนติ เตนาติ วินโย แปลว่า (บัณฑิต) ย่อมแนะนำ ด้วยอุบายนั้น เหตุนั้น (อุบายนั้น) ชื่อว่า เป็นเครื่องแนะนำ (ของบัณฑิต) ฯ เป็นกัตตุรูปกรณสาธนะ ลง อ ปัจจัย ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส ฯ และอัพยยีภาวสมาสนั้นมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ขตฺติโย (อหํ) อิติ มาโน = ขตฺติยมาโน ฯ
ข. ทรถสฺส อภาโว = นิทฺทรถํ ฯ
ตอบ : สมาสที่มีอุปสัค หรือ นิบาตอยู่ข้างหน้า ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส ฯ และอัพยยีภาวสมาสนั้นมี ๒ อย่าง ฯ คือ อุปสคฺคปุพฺพโก ๑ นิปาตปุพฺพโก ๑ ฯ
ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ ต่อไปนี้
ก. ขตฺติโย (อหํ) อิติ มโน=ขตฺติยมาโน เป็นสัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
ข. ทรถสฺส อภาโว=นิทฺทรถํ เป็นอุปสัคคปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ
๗. ในตรัตยาทิตัทธิต และฐานตัทธิต มีปัจจัยอย่างละเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สงฺฆิกํ, ทสฺสนีโย ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในตรัตยาทิตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ณิก ปัจจัย และในฐานตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ อีย ปัจจัย ฯ
สงฺฆิกํ ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต
ทสฺสนีโย ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระ มี ๖. คือ………….………………………ฯ
ข. อักขระ ๗ ตัวนี้ ถือ………..เกิดที่ฟัน เรียกว่า……………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี ๖ คือ กณฺโฐ คอ, ตาลุ เพดาน, มุทฺธา ศีรษะก็ว่า ปุ่มเหงือกก็ว่า, ทนฺโต ฟัน, โอฏฺโฐ ริมฝีปาก, นาสิกา จมูก ฯ
ข. อักขระ ๗ ตัวนี้ คือ ต ถ ท ธ น, ล ส เกิดที่ฟัน เรียกว่า ทนฺตชา ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. จิรํ +ปวาสึ สนธิเป็น………………………………………………………ฯ
ข. พหุ+อาพาโธ สนธิเป็น……………………………………………………ฯ
ค. ตาสาหํ ตัดบทเป็น. ……….………………………………………………ฯ
ฆ. สาธูติ ตัดบทเป็น…………………………………………………………..ฯ
ง. พญัญชนะอาคม มี ๘ ตัว คือ………………………………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. จิรํ + ปวาสึ สนธิเป็น จิรมฺปวาสึ ฯ
ข. พหุ+ อาพาโร สนธิเป็น พหฺวาพาโธ ฯ
ค. ตาสาหํ ตัดบทเป็น ตาสํ-อหํ ฯ
ฆ. สาธูติ ตัตบทเป็น สาธุ-อิติ ฯ
ง. พยัญชนะอาคมมี ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามเช่นไร จัดเป็นอสาธารณนาม ฯ
ข. คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ปูรณสังขยา ใช้สำหรับนับนามนามอย่างไร ฯ
ฆ. ตุมฺห ศัพท์ จัดเป็นสัพพนามชนิดไหน ฯ ใช้สำหรับแทนชื่อใคร ฯ
ง. ตาวเทว, อุทาหุ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่ไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่นเหมือนคำว่า ทีฆาวุ กุมารชื่อว่าทีฆาวุ เป็นต้น จัดเป็นอสาธารณนาม ฯ
ข. คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะไว้ ๒ คือ เอกวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของสิ่งเดียว ๑ พหุวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป ๑ ฯ
ค. ปูรณสังขยาใช้สำหรับนับนามนามที่เต็มในที่นั้น ๆ คือนับเป็นชั้น ๆ เป็นต้นว่า ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ฯ
ฆ. ตุมฺห ศัพท์จัดเป็นสัพพนามชนิดปุริสสัพพนาม ฯ ใช้สำหรับแทน ชื่อคนที่ผู้พูด ๆ กับคนใดสำหรับแทนชื่อคนนั้น เช่น คำในภาษาของเราว่าท่าน เจ้า สู เอง มึง ฯ
ง. ตาวเทว เป็นนิบาตบอกปริจเฉท, อุทาหุ เป็นนิบาตบอกความถามฯ
๔. กิริยาศัพท์ใด ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ และในเหตุกัตตุวาจกนี้ ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ใช้ให้คนอื่นทำคือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ นายยังพ่อครัวให้หุ่งอยู่ซึ่งข้าวสุก ฯ และในเหตุกัตตุวาจกนี้ลงปัจจัย ๔ ตัวคือ เณ, ณย, ณาเป, ณาปย ตัวใดตัวหนึ่ง ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่ากัตตุสาธนะ ฯ และกัตตุสาธนะนั้นท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไรฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัยรูปและสาธนะมาด้วย
ก. ทุกฺเขน รกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ ฯ
ข. อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส ฯ
ตอบ : ศัพท์ใดเป็นชื่อของผู้ทำคือผู้ประกอบกิริยานั้นเป็นต้นว่า กุมฺภกาโร ผู้ทำซึ่งหม้อ ศัพท์นั้นชื่อว่ากัตตุสาธนะ ฯ และกัตตุสาธนะนั้นท่านบัญญัติ ให้แปลว่า ผู้-, ถ้าลงในอรรถคือตัสสีละ แปลว่า ผู้-โดยปกติ ฯ ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูปและสาธนะ มาดังนี้
ก. แปลว่า (จิตใด) อันเขารักษาได้โดยยาก เหตุนั้น (จิตนั้น) ชื่อว่า อัน เขารักษาได้โดยยาก ฯ ลง ข ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะฯ
ข. แปลว่า (ภิกษุ ท.) ย่อมอาศัยอยู่ในประเทศนั่น เหตุนั้น (ประเทนั่น) ชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่ (แห่งภิกษุ ท.) ฯ ลง ณ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อนฺโตปาสาทํ, อาคตสมโณ (อาราโม) เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาด้วย ฯ
ตอบ : นามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ มี ๒ อย่าง คือ สมาหาโร อสมาหาโร ฯ อนฺโตปาสาทํ เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิเคราะห์ว่า ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ ฯ อาคตสมโณ (อาราโม) เป็นทุติยาพหุพพิหิสมาส วิเคราะห์ว่า อาคตา สมณา ยํ โส อาคตสมโณ (อาราโม) ฯ
๗. ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปุริโม, ชนตา, โกสลฺลํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัวคือ อิม, อิย, กิย ฯ ปุริโม ลง อิม ปัจจัย ในชาตาทิตัทธิต วิเคราะห์ว่า ปุเร ชาโต ปริโม, ชนตา ลง ตา ปัจจัย ในสมุหตัทธิต วิเคราะห์ว่า ชนานํ สมุโห ชนตา, โกสลฺลํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต วิเคราะห์ว่า กุสลสฺส ภาโว โกสลฺลํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. กรณ์ที่ทำอักขระ มี………..……คือ……………………………………………….ฯ
ข. พยัญชนะที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า…………ได้แก่ พยัญชนะ……………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. กรณ์ที่ทำอักขระมี ๔ คือ ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น ๑ ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น ๑ สกฏฺฐานํ ฐานของตน ๑
ข. พยัญชนะที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆสะ ได้แก่ พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ, และ ส ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. สทฺธา +อิธ สนธิเป็น…………………………………………….ฯ
ข. ปจฺจตฺตํ+เอว สนธิเป็น…………………………………………….ฯ
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น………………………………………….ฯ
ฆ. อิจฺเจวํ ตัดบทเป็น…………….……………………………ฯ
ง. ในพยัญชนะสนธิ สณโญโค มี ๒ อย่าง คือ…………………………ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สทฺรา + อิธ สนธิเป็น สทฺธีธ
ข. ปจฺจตฺตํ + เอว สนธิเป็น ปจฺจตฺตญฺเญว
ค. เอตทโวจ ตัดบทเป็น เอตํ – อโวจ
ฆ. อิจฺเจวํ ตัดบทเป็น อิติ – เอวํ
ง. ในพยัญชนะสนธิ สญฺโญโค มี ๒ อย่าง คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์นั้น แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ปกติสังขยาตั้งแต่ไหนถึงไหน เป็นเอกวจนะอิตถีลิงค์อย่างเดียวฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. อปฺเปว นาม, อมฺโภ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์นั้น แบ่งเป็น ๓ คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ สัพพนาม ๑ ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์ ๕ คือ อา อิ อี อุ อู ฯ
ค. ปกติสังขยาตั้งแต่ อกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็น ๒ ถือ อนิยม ๑ นิยม ๑ ฯ
ง. อปฺเปว นาม เป็นนิบาตบอกปริกัป, อมฺโภ เป็นนิบาตบอกอาลปนะฯ
๔. วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ บอกกาลอะไร แปลว่าอย่างไร ฯ จงเขียน วิภัตติหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ บอกอนาคตกาลแห่งอดีต แปลว่า จัก – แล้ว, ถ้ามี อ อยู่หน้า แปลว่า จักได้ – แล้ว ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบท ดังนี้
เอก. พหุ.
ป. ตุ. อนฺตุ.
ม. หิ. ถ.
อุ. มิ. ม.
๕. กิตกิจจปัจจัย ในกิริยากิตก์ คือปัจจัยอะไรบ้าง ฯ ปัจจัยไหน บอกกาลอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และปัจจัยมาด้วย
ก. ทาตพฺพนฺติ เทยฺยํ ฯ
ข. กโรติ เตนาติ กรณํ ฯ
ตอบ : กิตกิจจปัจจัย ในกิริยากิตก์ คือ มาน, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน ฯ มาน บอกปัจจุบันกาล, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน บอกอดีตกาล ฯ ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูป สาธนะ และ ปัจจัย ดังนี้
ก. (สิ่งใด) อันเขาพึงให้, เหตุนั้น (สิ่งนั้น) ชื่อว่าอันเขาพึงให้ ฯ ลง ณฺย ปัจจัย เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ฯ
ข. (เขา) ย่อมทำ ด้วยสิ่งนั้น, เหตุนั้น (สิ่งนั้น) ชื่อว่าเป็นเครื่องทำ (แห่งเขา) ฯ ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า กัมมธารยสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อนฺธวธิโร, ทิพฺพจกฺขุ จัดเป็นกัมมธารยสมาสชนิดไหน ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิกัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน คือเป็นนามนาม, บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธาน ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกันชื่อ กัมมธารยสมาส ฯ มี ๖ อย่าง ฯ คือ วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตฺตรปโท, วิเสสโนภยปโท, วิเสสโนปมปโท, สมฺภาวนปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพปโท ฯ อนฺธวธิโร เป็น วิเสสโนภยบท, ทิพฺพจกฺขุ เป็น วิเสสโนปมบท ฯ
๗. ในสมุหตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ พนฺธนียํ. สุขี. อโยมยํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ตอบ : ในสมุหตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัว ฯ คือ กณฺ, ณ, ตา ฯ
พนฺธพียํ ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า พนฺธนสฺส ฐานํ พนฺธนียํ ฯ
สุขี ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า สุข อสฺส อตฺถีติ สุขี ฯ
อโยมยํ ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า อยสา ปกตํ อโยมยํ หรือ อยโส วิกาโร อโยมยํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ……………..๘ ตัวนี้ ชื่อ สระ,
………………………………………………………..๓๓ ตัวนี้ ชื่อ พยัญชนะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
อักขรที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ ชื่อ สระ, ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ ๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. วิทูนํ+อคฺคํ สนธิเป็น………………………………….ฯ
ข. ยสฺส+อินฺทฺริยานิ สนธิเป็น………………………………….ฯ
ค. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น……………………………….ฯ
ฆ. ปจฺจตฺตญฺเญว ตัดบทเป็น……………………………….ฯ
ง. สญฺโญโค แบ่งเป็น ๒ คือ……………………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. วิทูนํ+อคฺคํ สนธิเป็น วิทูนคฺคํ ฯ
ข. ยสฺส+อินฺทฺริยานิ สนธิเป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ ฯ
ค. ตฺยาหํ ตัดบทเป็น เต-อหํ ฯ
ฆ. ปจฺจตฺตญฺเญว ตัดบทเป็น ปจฺจตฺตํ-เอว ฯ
ง. สญฺโญโค แบ่งเป็น ๒ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามดังต่อไปนี้
ก. คุณนาม แบ่งออกเป็นกี่ชั้น ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ศัพท์เหล่านี้ คือ ต, เอกจฺจ, อมุ เป็นสัพพนามประเภทไหน ฯ
ฆ. สเจ, วิย เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ง. ฉพฺพีสติ, เอกูนปญฺญาส แปลว่าอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามดังต่อไปนี้
ก. คุณนาม แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ปกติ ๑ วิเสส ๑ อติวิเสส ๑ ฯ
ข. นปุงสกลิงค์ มีการันต์ ๓ คือ อ อิ อุ ฯ
ค. ต เป็นสัพพนามประเภทปุริสสัพนามและวิเสสนสัพพนาม เอกจฺจ, อมุ เป็นสัพพนามประเภทวิเสสนสัพพนาม ฯ
ฆ. สเจ เป็นนิบาตบอก ปริกัป, วิย เป็นนิบาตบอก อุปมาอุปไมย ฯ
ง. ฉพฺพีสติ แปลว่า ๒๖, เอกูนปญฺญาส แปลว่า ๔๙ ฯ
๔. อะไรจัดเป็นวาจก ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงเขียนวิภัตติหมวด สัตตมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ (ปัจจัย) ดังนี้ จัดเป็น วาจก ฯ แบ่งเป็น ๕ คือ กัตตุวาจก ๑ กัมมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ ได้เขียนวิภัตติ หมวดสัตตมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดังนี้
ปรสฺสปทํ
เอก | พหุ | |
ป. ม. อุ. | เอยฺย เอยฺยาสิ เอยฺยามิ | เอยฺยํุ เอยฺยาถ เอยฺยาม |
๕. กิริยากิตก์ คือ ติณฺโณ และปคฺคยฺห แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูป และสาธนะมาด้วย
ก. หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร ฯ
ข. สรติ เอตายาติ สติ ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ ติณฺโณ แปลว่า ข้ามแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ตรฺ ธาตุ ในความข้าม ต ปัจจัย ธาตุมี รฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ณฺณ แล้วลบ ที่สุดธาตุ ฯ
ปคฺคยฺห แปลว่า ประคองแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า คหฺ ธาตุในความประคอง ตูนาทิ ปัจจัย คือ ตูน ตฺวา ตฺวาน อุปสัคอยู่หน้า แปลงปัจจัยทั้ง ๓ เป็น ย ธาตุมี ห เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ย กับที่สุด ธาตุเป็น ยฺห ฯ ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูป และสาธนะมาดังนี้
ก. (ผู้ใด) ย่อมทำ ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูล อ ปัจจัย กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ฯ
ข. (ชน) ย่อมระลึก ด้วยธรรมชาตินั่น เหตุนั้น (ธรรมชาตินั่น) ชื่อว่า เป็นเหตุระลึก (แห่งชน) ติ ปัจจัย กัตตุรูป กรณสาธนะ ฯ
๖. อะไรชื่อตัปปุริสสมาส ฯ ตัปปุริสสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ราชปุตฺโต เป็นสมาสอะไร จงเขียนวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้น ในที่สุดท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อตัปปุริสสมาส มี ๖ อย่าง คือ ทุติยาตปฺปุริโส, ตติยาตปฺปุริโส, จตุตฺถีตปฺปุริโส, ปญฺจมีตปฺปุริโส, ฉฏฺฐีตปฺปุริโส, สตฺตมีตปฺปุริโส ฯ ราชปุตฺโต เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส ได้เขียนรูป วิเคราะห์มาดังนี้ รญฺโญ ปุตฺโต = ราชปุตฺโต ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กจฺจายโน, โภคี ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์ดู ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิตมีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฐ ฯ
กจฺจายโนลง ลง ฌายน ปัจจัย ในโคตตตัทธิต ได้ตั้งวิเคราะห์ว่า กจฺจสฺส อปจฺจํ กจฺจายโน, โภคี ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิตได้ตั้งวิเคราะห์ว่า โภโค อสฺส อตฺถี-ติ โภคี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
“อักขรที่เหลือจากสระมี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อ…………..
แปลว่า……………….มี…….ตัว แบ่งเป็น…………………พวก คือ………..” ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
อักขระที่เหลือจากสระมี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อพยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ มี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๒ พวกคือ วรรค ๑, อวรรค ๑ ฯ
๒. ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อถขฺวสฺส ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในสระสนธิได้ สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป ลบ ๑, อาเทโส แปลง ๑, อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑, วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑, ปกติ ปรกติ ๑, ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ฯ
อถขฺวสฺส ตัดเป็น อถโข-อสฺส ถ้า โอ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลังเอา โอ เป็น ว ต่อเป็น อถขฺวสฺส ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นานศัพท์ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ศัพท์เหล่านี้ คือ ตุมฺห, ย, กึ เป็นสัพพนามประเภทไหน ฯ
ฆ. อุทฺธํ, คตฺฆ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ง. ปกติสังขยา กับปูรณสังขยา ต่างกันอย่างไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์แบ่งเป็น ๓ คือ นามนาม ๑, คุณนาม ๑, สัพพนาม ๑, ฯ
ข. อิตถีลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อา อิ อี อุ อู ฯ
ค. ตุมฺห ศัพท์เป็นปุริสสัพพนาม ย, กึ, เป็นอนิยม วิเสสนสัพพนาม ฯ
ฆ. อุทฺธํ เป็นนิบาตบอกที่ ตคฺฆ เป็นนิบาตบอกความเตือน ฯ
ง. ต่างกันอย่างนี้คือ ปกติสังขยานับโดยปกติเป็นต้นว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า สำหรับนับนามนามให้รู้ว่ามีประมาณเท่าใด ส่วนปูรณสังขยา สำหรับนับนามนามที่เต็มในที่นั้น ๆ คือ นับเป็นชั้น ๆ เป็นต้นว่า ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ฯ
๔. ในอาขายตแบ่งกาลที่เป็นประธานไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จะรู้จักกาลได้ต้องหมายรู้ด้วยอะไร ฯ จงเขียนวิภัตติหมวดอัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสบทมาดู ฯ
ตอบ : ในอาขยาตแบ่งกาลที่เป็นประธานไว้ ๓ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าเรียกว่าปัจจุบันกาล ๑ กาลล่วงแล้ว เรียกว่า อดีตกาล ๑ กาลยังไม่มาถึงเรียกว่าอนาคตกาล ๑ ฯ ต้องหมายรู้ด้วย วิภัตติ ๘ หมวด ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวด อัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสบทมาดังนี้
ปรสฺสปทํ
เอก. | พหุ. | |
ป. ม. อุ. | อี โอ อึ | อุํ ตฺถ มฺหา |
๕. ปัจจัยในกิริยากิตก์ แบ่งเป็นกี่พวก ฯ อะไรบ้าง ฯ ปัจจัยไหนบอกถึงอะไร ฯ กตฺตา ลงปัจจัยอะไร เป็นรูปและสาธนะอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ปัจจัยในกิริยากิตกฺ แบ่งเป็น ๓ พวก คือ กิตปัจจัย อย่างนี้ อนฺต ตวนฺตุ ตาวี กิจจปัจจัย อย่างนี้ อนีย ตพฺพ กิตกิจจปัจจัย อย่างนี้ มาน ต ตูน ตฺวา ตฺวาน ฯ อนฺต มาน บอกปัจจุบันกาล, ตวนฺตุ ตาวี ต ตูน ตฺวา ตฺวาน บอกอดีตกาล, อนีย ตพฺพ บอกความจำเป็น ฯ
กตฺตา ลง ตุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า กโรตี-ติ กตฺตา เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ วิเคราะห์ว่า กโรติ สีเลนา-ติ กตฺตา ฯ
๖. อะไรชื่อกัมมธารยสมาส ฯ และกัมมธารยสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ทิพฺพจกฺขุ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธานคือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธานที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อกัมมธารยสมาส ฯ มี ๖ อย่าง คือ วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตฺตรปโท, วิเสสโนภยปโท, วิเสสโนปมปโท, สมภาวนปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพโท ฯ
ทิพฺพจกฺขุ เป็นอุปมาปุพฺพบท วิเสสโนปมบทกัมมธารยสมาสวิเคราะห์ว่า ทิพฺพํ อิว จกฺขุ = ทิพฺพจกฺขุ ฯ
๗. ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ คุณวา, พนฺธนียํ ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในตทัสสัตถิตัทธิตมีปัจจัย ๙ ตัว คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, ณ ฯ คุณวา ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า คุโณ อสฺส อตฺถี-ติ คุณวา ฯ พนฺธนียํ ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต วิเคราะห์ พนฺธนสฺส ฐานํ พนฺธนียํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. วจีภาค แบ่งคำพูดออกเป็น……………ส่วน คือ……………………….ฯ
ข. สระนั้น จัดเป็นคู่ได้ ๓ คู่ คือ………………………………………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. วจีภาค แบ่งคำพูดออกเป็น ๖ ส่วน คือ นาม ๑ อัพยยศัพท์ ๑ สมาส ๑ ตัทธิต ๑ อาขยาต ๑ กิตก์ ๑ ฯ
ข. สระนั้นจัดเป็นคู่ได้ ๓ คู่ คือ อ อา เรียกว่า อวณฺโณ, อิ อี เรียกว่า อิวณฺโณ, อุ อู เรียกว่า อุวณฺโณ ฯ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สาธุ+อิติ สนธิเป็น………………………………….ฯ
ข. อคฺคิ+อาคารํ สนธิเป็น………………………………….ฯ
ค. จตฺตาโรเม ตัดบทเป็น……………………………….ฯ
ฆ. เอตทโวจ ตัดบทเป็น……………………………….ฯ
ง. วิกาโร แบ่งเป็น ๒ คือ………………………………………..ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. สาธุ+อิติ สนธิเป็น สาธูติ ฯ
ข. อคฺคิ+อาคารํ สนธิเป็น อคฺยาคารํ ฯ
ค. จตฺตาโรเม ตัดบทเป็น จตฺตาโร-อิเม ฯ
ฆ. เอตทโวจ ตัดบทเป็น เอตํ-อโวจ ฯ
ง. วิกาโร แบ่งเป็น ๒ คือ วิการในเบื้องต้น ๑ วิการในเนื้อปลาย ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามเช่นไร จัดเป็นสาธารณนาม ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. เอกูนวีสติ จนถึง อฏฺฐนวุติ เป็นวจนะ และลิงค์อะไร ฯ
ฆ. อายตึ, หนฺท เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ง. โต ปัจจัย เป็นเครื่องหมายวิภัตติอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามที่ทั่วไปแก่คน, สัตว์, ที่, อื่นได้ เหมือนคำว่า มนุสฺโส มนุษย์ ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน นครํ เมือง เป็นต้น จัดเป็นสาธนณนาม ฯ
ข. อิตถีลิงค์ มีการันต์ ๕ คือ อา อิ อี อุ อู ฯ
ค. เอกูนวีสติ จนถึง อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะและอิตถีลิงค์ อย่างเดียว ฯ
ฆ. อายตึ เป็นนิบาตบอกกาล, หนฺท เป็นนิบาตบอกความเตือน ฯ
ง. โต ปัจจัย เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ และปัญจมีวิภัตติ ฯ
๔. วิภัตติอาขยาตนั้น ท่านจำแนกไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้อะไร ฯ จัดเป็นกี่หมวด ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : วิภัตติอาขยาตนั้น ท่านจำแนกไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ ฯ จัดเป็น ๘ หมวด คือ ๑. หมวด วตฺตมานา ๒. หมวด ปญฺจมี ๓. หมวด สตฺตมี ๔. หมวด ปโรกฺขา ๕. หมวด หิยตฺตนี ๖. หมวด อชฺชตฺตนี ๗. หมวด ภวิสสนฺต ๘. หมวด กาลาติปตฺติ ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า กรณสาธนะ ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูป และสาธนะ มาด้วย
ก. วิชานาติ สีเลนาติ วิญฺญู ฯ
ข. ทุกฺเขน รกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ ฯ
ตอบ : ศัพท์เช่นนี้ คือ ผู้ทำๆ ด้วยสิ่งใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งนั้นเป็นต้น ว่า พนฺธนํ วัตถุเป็นเครื่องผูก ปหรณํ วัตถุเป็นเครื่องประหาร วิชฺฌนํ วัตถุเป็นเครื่องไช ชื่อว่า กรณสาธนะ ฯ ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ ต่อไปนี้พร้อมบอกปัจจัย รูป และสาธนะ ดังนี้
ก. วิชานาติ สีเลนาติ วิญฺญู (ผู้ใด) ย่อมรู้วิเศษโดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้รู้วิเศษโดยปกติ ลง รู ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ฯ
ข. ทุกฺเขน รกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ (จิตใด) อันเขารักษาได้โดยยากเหตุนั้น (จิตนั้น) ชื่อว่าอันเขารักษาได้โดยยาก ลง ข ปัจจัยเป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่า พหุพพิหิสมาส ฯ และพหุพพิหิสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ติโลกํ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : สมาสอย่างหนึ่ง มีบทอื่นเป็นประธาน ชื่อว่า พหุพพิหิสสมาส ฯ และพหุพพิหิสมาสนั้นมี ๖ อย่าง คือ ทุติยาพหุพพิหิ, ตติยาพหุพพิหิ, จตุตถีพหุพพิหิ, ปัญจมีพหุพพิหิ, ฉัฏฐพหุพิหิ, สัตตมีพหุพพิหิ ฯ ติโลกํ เป็น สมาหารทิคุสมาส ตั้งวิเคราะห์ว่า ตโย โลกา = ติโลกํ ฯ
๗. ภาวตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กายิกํ, โสวณฺณมยํ ลงปัจจัย อะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในภาวตัทธิต มีปัจจัย ๖ ตัว คือ ตฺต, ณฺย, ตฺตน, ตา, ณ, กณฺ ฯ กายิกํ ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า กาเยน กตํ กมฺมํ กายิกํ หรือ กาเย วตฺตตีติ กายิกํ ฯ
โสวณฺณมยํ ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า สุวณฺเณน ปกตํ โสวณฺณมยํ หรือ สุวณฺณสฺส วิกาโร โสวณฺณมยํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ……………………….. ๘ ตัวนี้
ชื่อ สระ, ……………………………………………….๓๓ ตัวนี้ ชื่อ พยัญชนะ ฯ
ตอบ : เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ ชื่อสระ, ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ ๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ
๒. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. โนหิ + เอตํ สนธิเป็น……………………………….. ฯ
ข. ธมฺมํ+จเร สนธิเป็น……………………………….. ฯ
ค. มฺยายํ ตัดบทเป็น…………………………….. ฯ
ฆ. ตาสาหํ ตัดบทเป็น…………………………….. ฯ
ง. นิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรร์ ๔ คือ……………. ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. โนหิ+เอตํ สนธิเป็น โนเหตํ
ข. ธมฺมํ+จเร สนธิเป็น ธมฺมญฺจเร
ค. มฺยายํ ตัดบทเป็น เม-อยํ
ฆ. ตาสาหํ ตัดบทเป็น ตาสํ-อหํ
ง. นิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ท่านแบ่งเป็นลิงค์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. นปุํสกลิงค์ มีการันต์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ค. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสังขยา ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ง. อุปริ, เสยฺยถา เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก. นามศัพท์ท่านแบ่งเป็นลิงค์ ๓ คือ ปุํลิงฺคํ เพศชาย ๑ อิตฺถีลิงฺคํเพศหญิง ๑ นปุํสกลิงฺคํ มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง ๑ ฯ
ข. นปุํสกลิงค์มีการรันต์ ๓ คือ อ อิ อุ ฯ
ค. ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อว่าสังขยา ฯ
ฆ. วิเสสนสัพพนามแบ่งเป็น ๒ คือ อนิยม ๑ นิยม ๑ ฯ
ง. อุปริ เป็นนิบาตบอกที่ เสยฺยถา เป็นนิบาตบอกอุปมาอุปไมย ฯ
๔. วตฺตมานา บอกกาลอะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ จงเขียนวิภัตติอาขยาตหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : วตฺตมานา บอกปัจจุบันนกาล ฯ ปัจจุบันแท้ แปลว่าอยู่ ปัจจุบันใกล้อดีตแปลว่าย่อม ปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่าจะ ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมา ดังนี้
ปรสฺสปทํ
เอก. | พหุ. |
ป. ตุ ม. หิ อุ. มิ | อนฺตุ ถ ม |
๕. กิริยากิตก์ คือ รุนฺโน และ ปมชฺช แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูป และสาธนะมาด้วย
ก. หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร ฯ
ข. ทุสฺสติ เตนาติ โทโส ฯ
ตอบ : กิริยากิตกคือ รุนฺโน แปลว่า ร้องไห้แล้ว สำเร็จรูปมาจาก รุทฺ ธาตุในความร้องไห้ ต ปัจจัย ธาตุมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น นฺน แล้วลบที่สุดธาตุ ฯ ปมชฺช แปลว่า ประมาทแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า มทฺ ธาตุในความประมาท ลง ตูนาทิปัจจัย แปลง ตูนาทิปัจจัยเป็น ย เอา ย กับที่สุดธาตุเป็น ชฺช ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้พร้อมทั้งบอก ปัจจัย รูป และสาธนะมาดังนี้
ก. (ผู้ใด) ย่อมทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูล อ ปัจจัย กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ฯ
ข. (ชน) ย่อมประทุษร้าย ด้วยกิเลสนั้น เหตุนั้น กิเลสนั้น ชื่อว่า เป็นเหตุประทุษร้าย (แห่งชน) ณ ปัจจัย กัตตุรูป กรณสาธณะ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส ฯ และตัปปุริสสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปตฺตจีวรํ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้นในที่สุดท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อว่าตัปปุริสสมาส ฯ มี ๖ อย่าง คือ ทุติยาตปฺปุริโส, ตติยาตปฺปุริโส, จตุตฺถีตปฺปุริโส, ปญฺจมีตปฺปุริโส, ฉฏฐีตปฺปุริโส, สตฺตมีตปฺปุริโส ฯ ปตฺตจีวรํ เป็นสมาหาระทวันทวสมาส ฯ ได้เขียนรูปวิเคราะห์มาดังนี้ ปตฺโต จ จีวรญฺจ ปตฺตจีวรํ ฯ
๗. ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปจฺฉิโม, คุณวา ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัย ๓ ตัว คือ อิม, อิย, กิย ฯ
ปจฺฉิโม ลง อิม ปัจจัย ในชาตาทิตัทิต ฯ วิเคราะห์ว่า ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม,
คุณวา ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า คุโณ อสฺส อตฺถี-ติ คุณวา ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ……………..๑๑ ตัวนี้ เป็นอโฆสะ ฯ
ข. สระอีก ๕ ตัวอื่นจากรัสสะ คือ…………………………ตัว ชื่อว่า………………. ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ, และ ส ๑๑ ตัวนี้ เป็นอโฆสะ ฯ
ข. สระอีก ๕ ตัวอื่นจากรัสสะ คือ อา อี อู เอ โอ ชื่อว่า ทีฆะ ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อภินนฺทุนฺติ และ ธมฺมญฺจเร ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑ ฯ อภินนฺทุนฺติ และ ธมฺมญฺจเร ตัดและต่ออย่างนี้
อภินนฺทุนฺติ ตัดเป็น อภินนฺทํ – อิติ นิคคหิตอยู่หน้าลบสระเบื้องปลายได้บ้าง แปลง นิคคหิตเป็น น ต่อเป็น อภินนฺทุนฺติ
ธมฺมญฺจเร ตัดเป็น ธมฺมํ-จเร เมื่อมีพยัญชนะอยู่หลังนิคคหิตอยู่หน้า แปลงนิคคหิต เป็นพยัญชนะที่สุดวรรคได้ ต่อเป็น ธมฺมญฺจเร ฯ
๓. วิเสสสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ที่แบ่งแล้วนั้น ชนิดไหน มีศัพท์อะไรบ้าง ฯ เป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ตอบ : วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็น ๒ คือ อนิยม ๑ นิยม ๑ ฯ ศัพท์เหล่านี้
คือ ย, อญฺญ, อญฺญตร, อญฺญตม, ปร, อปร, กตร, กตม, เอก,เอกจฺจ, สพฺพ, กึ เป็นอนิยม ศัพท์เหล่านี้คือ ต, เอต, อิม, อมุ เป็นนิยม ฯ เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ฯ
๔. ข ฉ ส และอาย อิย ปัจจัย ในอาขยาต เป็นไปในความอะไร ฯ จงยกอุทาหรณ์ พร้อมทั้งคำแปลมาดูด้วย ฯ
ตอบ : ข ฉ ส ในอาขยาต เป็นไปในความปรารถนา ฯ อุทาหรณ์ พุภุกฺขติ ปรารถนาจะกิน ชิฆจฺฉติ ปรารถนาจะกิน ชิคึสติ ปรารถนาจะนำไป อาย อิย เป็นไปในความประพฤติ อุทาหรณ์ จิรายติ ประพฤติช้าอยู่ ปุตฺติยติ ย่อมประพฤติให้เป็นเพียงดังบุตร ฯ
๕. ในกิริยากิตก์ แบ่งกาลไว้เป็นเท่าไร ฯ อะไรได้บ้าง ฯ สาวโก ลง ปัจจัยอะไร เป็นรูป และสาธนะอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในกิริยากิตก์ แบ่งกาลไว้เป็น ๒ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ ฯ สาวโก ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า สุณาตีติ สาวโก ฯ
๖. วิเสสนบุพพบก กับ วิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ อนฺโตปาสาทํ เป็นสมาสอะไร จงเขียนรูปวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : มีลักษณะต่างกันอย่างนี้คือ วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาสมีบทวิเสสน อยู่ต้น บทประธานอยู่ข้างหลัง ฯ ส่วนวิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส มีบทวิเสสนอยู่หลัง บทประธานอยู่หน้า ฯ อนฺโตปาสาทํ เป็นนิปาตปุพพกะอัพยยีภาวสมาส วิเคราะห์ว่า ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ นาวิโก, โกสลฺลํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ ลงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิตมีปัจจัย ๕ ตัวคือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ นาวิโก ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาทิตัทธิต วิเคราะห์ว่า นาวาย ตรตีติ นาวิโก, โกสลฺลํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต วิเคราะห์ว่า กุสลสฺส ภาโว โกสลฺลํ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ…………..เรียกว่า อวรรค เพราะ…………..ฯ
ข. เอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ……………เรียกว่า……………………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ เรียกว่า อวรรค เพราะไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์ที่เกิด ฯ
ข. เอ เกิดใน ๒ ฐานคือ คอและเพดาน เรียกว่า กณฺฐตาลุโช ฯ
๒. สนธิ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ โนเหตํ และอิธปฺปโมทติ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สนธิมี ๓ คือ สระสนธิ ต่อสระ ๑ พยัญชนะสนธิ ต่อพยัญชนะ ๑ นิคคหิตสนธิ ต่อนิคหิต ๑ ฯ โนเหตํ และ อิธปฺปโมทติ และต่ออย่างนี้ โนเหตํ ตัดเป็น โนหิ-เอตํ ลบสระหน้าคือ อิ ที่สุดแห่งศัพท์ โนหิ เสีย ต่อเป็น โนเหตํ ฯ อิธปฺปโมทติ ตัดเป็น อิธ-ปโมทติ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันต่อเป็น อิธปฺปโมทติ ฯ
๓. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. ในบาลีภาษานั้น ท่านแบ่งเป็นลิงค์ไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. ศัพท์เช่นไร เรียกว่า อัพยยศัพท์ ฯ และแบ่งเป็นอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคำถามต่อไปนี้
ก.ในบาลีภาษา ท่านแบ่งเป็นลิงค์ไว้ ๓ คือ ปุํลิงฺคํ เพศชาย ๑ อิตฺถีลิงฺคํ เพศหญิง ๑ นปุํสกลิงฺคํ มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง ๑ฯ
ข. ศัพท์ อีกจำพวกหนึ่งจะแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ แปลงรูปไปต่าง ๆ เหมือนนามทั้ง ๓ ไม่ได้ คงรูปอยู่เป็นอย่างเดียว ศัพท์เหล่านี้เรียกว่าอัพยยศัพท์ ฯ แบ่งเป็น อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง ปัจจัยบ้าง ฯ
๔. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าอาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้น ท่านประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ จงเขียนวิภัตติหมวดอัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์กล่าวกิริยา คือความทำเป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่า อาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้นท่านประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายเนื้อความให้ชัดเจน ฯ ได้เขียนวิภัตติ หมวดอัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสสบ มาดังนี้
ปรสฺสปทํ
เอก. | พหุ. |
ป. อี ม. โอ อุ. อึ | อํุ ตฺถ มฺหา |
๕. กิริยากิตก์ คือ วจนียํ และ กุทฺโธ แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูปและสาธนะมาด้วย
ก. สยนฺติ เอตฺถาติ สยนํ ฯ
ข. สรติ เอตายาติ สติ ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ คือ วจนียํ แปลว่า อันเขาพึงกล่าว สำเร็จรูปมาจาก วจ ธาตุ ในความกล่าว อนีย ปัจจัย, กุทฺโธ แปลว่า โกรธแล้ว สำเร็จรูปมาจาก กุธฺ ธาตุ ในความโกรธ ต ปัจจัย ฯ
ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกปัจจัย รูปและสาธนะมาดังนี้
ก. สยนฺติ เอตฺถาติ สยนํ (เขา ท.) ย่อมนอนในที่นั่น เหตุนั้น (ที่นั่น) ชื่อว่าเป็นที่นอน (แห่งเขา ท.) ยุ ปัจจัย กัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ฯ
ข. สรติ เอตายาติ สติ (ชน) ย่อมระลึกด้วยธรรมชาตินั้น เหตุนั้น(ธรรมชาตินั่น) ชื่อว่าเป็นเหตุระลึก (แห่งชน) ติ ปัจจัย กัตตุรูป กรณสาธนะ ฯ
๖. อะไร เรียกว่า ลุตตสมาส และอลุตตสมาส ฯ สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์พร้อมทั้งเขียนคำแปลมาด้วย ฯ
ตอบ : สมาสที่ท่านลบวิภัตติเสียแล้ว เรียกว่า ลุตตสมาส สมาสที่ท่านยังมิได้ลบวิภัตติ เรียกว่า อลุตตสมาส ฯ
สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) เป็นฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส วิเคราะห์ว่า สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) จิตของภิกษุใด ระงับแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีจิตระงับแล้ว ฯ
๗. ในปูรณตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ มานุสโก, โภคี ลงปัจจัย อะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในรูปรณตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี ฯ
มานุสโก ลง กณฺ ปัจจัย ในสมุหตัทธิต วิเคราะห์ว่า มนุสสานํ สมุโห มานุสโก ฯ
โภคี ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า โภโค อสฺส อตฺถีติ โภคี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น……………………คือ………………………ฯ
ข. เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า…………………….แปลว่า………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น ๒ คือ สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษร ที่เป็นสระและพยัญชนะพร้อมทั้งฐานกรณ์ ๑ สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน ๑ ฯ
ข. เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่าอักขระ แปลว่าไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑ ฯ
๒. สญฺโญโค ในพยัญชนะสนธิ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เอตทโวจ, อิธปฺปโมทติ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : สญฺโญโค ในพยัญสนธิแบ่งเป็น ๒ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ ฯ เอตทโวจ ตัดเป็น เอตํ-อโวจ ถ้ามีนิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ท ต่อเป็น เอตทโวจ, อิธปฺปโมทติ ตัดเป็น อิธ-ปโมทติ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน ต่อเป็น อิธปฺปโมทติ ฯ
๓. อะไรจัดเป็นนามนาม ฯ แบ่งออกเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ และนามนามนั้น เป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ตอบ : นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ จัดเป็นนามนาม ฯ แบ่งออกเป็น ๒ คือสาธารณนาม ๑ อสาธารณนาม ๑ ฯ และนามนามนั้นเป็นได้ลิงค์เดียว คือจะเป็นปุํลิงค์ อิตถีลิงค์ หรือนปุํสกลิงค์ ก็อย่างเดียวบ้าง เป็น ๒ ลิงค์ คือศัพท์อันเดียวเป็นรูปอย่างเดียวเป็นได้ทั้ง ๒ ลิงค์ หรือมูลศัพท์ เป็นอันเดียว เปลี่ยนแต่สระที่สุดให้แปลกกันพอเป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กันบ้าง ฯ
๔. ธาตุนั้นท่านรวบรวมจัดไว้เป็นกี่หมวด ฯ อะไรบ้าง ฯ ธาตุเหล่าใด เรียกว่า สกัมมธาตุ และ อกัมมธาตุ ฯ
ตอบ : ธาตุนั้นท่านรวบรวมจัดไว้เป็น ๘ หมวด คือหมวด ภู รุธฺ ทิวฺ สุ กี คหฺ ตนฺ และหมวด จุรฺ ธาตุ ฯ ธาตุเหล่าใดเรียกหากรรม ธาตุเหล่านั้นเรียกว่า สกัมมธาตุ ธาตุมีกรรม, ธาตุเหล่าใดไม่เรียกหากรรมคือสิ่งอันบุคคลพึงทำ ธาตุเหล่านั้น เรียกว่า อกัมมธาตุ ธาตุไม่มีกรรม ฯ
๕. จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูปและสาธนะมาด้วย
ก. สิกฺขิยตีติ สิกฺขา ฯ
ข. ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู ฯ
ตอบ : ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้พร้อมทั้งบอกรูปและสาธนะมาดังนี้
ก. แปลว่า (ธรรมชาติใด) อันเขาศึกษา เหตุนั้น (ธรรมชาตินั้น) ชื่อว่า อันเขาศึกษา เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ฯ
ข. แปลว่า (ผู้ใด) ย่อมถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ญาณํ จกฺขุ อิว ญาณจกฺขุ ฯ
ข. จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสา ฯ
ค. อสฺเสน (ยุตฺโต) รโถ อสฺสรโถ ฯ
ฆ. ชีวสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวชีวํ ฯ
ง. สห มจฺเฉเรน ยํ วตฺตตีติ สมจฺเฉรํ (จิตฺตํ) ฯ
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ชื่อวิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาส ชนิดอุปมานุตตรบท ฯ
ข. ชื่ออสมาหารทิคุสมาส ฯ
ค. ชื่อตติยาตัปปุริสสมาส ฯ
ฆ. ชื่อนิปาตปุพพกะอัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. ชื่อสหบุพพบทพหุพิหิสมาส ฯ
๗. ในโคตตตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ชุติมา, มาคโธ, โปริสสฺสํ ลง ปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในโคตตตัทธิต มีปัจจัย ๘ ตัว คือ ณ ณายน ณาน เณยฺย ณิ ณิก ณว เณร ฯ
ชุติมา ลง มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
มาคโธ ลง ณ ปัจจัยในราคาทิตัทธิต
โปริสฺสํ ลง ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘ (ครั้งที่ ๒)

๑. พยัญชนะที่สุดวรรค ๕ ตัว คืออะไรบ้าง ฯ เกิดในฐานไหน ฯ และมีชื่อ เรียกว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : พยัญชนะที่สุดวรรค ๕ ตัวคือ ง ญ ณ น ม ฯ เกิดใน ๒ ฐาน คือตามฐานของตนๆ และจมูก มีชื่อเรียกว่า สกฏฺฐานนาสิกฏฺฐานชา ฯ
๒. ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อคฺยาคารํ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
ตอบ : ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ อย่าง คือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ ฯ อคฺยาคารํ ตัดเป็น อคฺคิ-อาคารํ ถ้า อิ อยู่หน้า มีสระอยู่เบื้องหลัง แปลง อิ ตัวหน้าเป็น ย ถ้าพยัญชนะซ้อนกัน ๒ ตัว ลบพยัญชนะที่มีรูปเสมอกันเสียตัวหนึ่ง ต่อเป็น อคฺยาคารํ ฯ
๓. ครุ (ครู) ซึ่งเป็น อุ การันต์ในปุงลิงค์ มีวิธีแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : ครุ (ครู) ซึ่งเป็น อุ การันต์ ในปุงลิงค์ มีวิธีแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ อย่างนี้
เอก. | พหุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส อา | ครุ ครุํ ครุนา ครุสฺส ครุโน ครุสมา ครุมฺหา ครุสฺส ครุโน ครุสฺมึ ครุมฺหิ ครุ | ครโว ครู ครโว ครู ครูหิ ครูภิ ครูนํ ครูหิ ครูภิ ครูนํ ครูสุ ครเว ครโว |
๔. กิริยาศัพท์ใด ชื่อเหตุกัมมวาจก ฯ มีอุทารหณ์ว่าอย่างไร ฯ และในเหตุกัมมวาจกนี้ ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ใด กล่าวสิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำคือแสดงว่าเป็นกิริยาของสิ่งนั้น กิริยาศัพท์นั้นชื่อ เหตุกัมมวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ข้าวสุกอันนายใช้พ่อครัวให้หุงอยู่ ฯ และในเหตุกัมมวาจกนี้ ลงปัจจัย ๑๐ ตัวในกัตตุวาจกคือ (อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณฺย) นั้นด้วย ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป ด้วย ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ด้วย ฯ
๕. ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี รฺ หรือ สฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็นอะไรได้บ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบ ฯ
ตอบ : ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี รฺ หรือ สฺ เป็นที่สุดอยู่หน้าแปลง ต เป็นดังนี้ ธาตุมี ร เป็นที่สุดแปลง ต เป็น ณฺณ แล้วลบที่สุดธาตุ เช่น ชิณฺโณ ธาตุมี ส เป็นที่สุดแปลง ต เป็น ฏฺฐ แล้วลบที่สุดธาตุ เช่น ตุฏฺโฐ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่าทิคุสมาส ฯ และทิคุสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จตุทฺทิสา, ปญฺจินฺทฺริยํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : กัมมธารยสมาส มีสังขยาข้างหน้า ชื่อว่าทิคุสมาส ฯ ทิคุสมาสนั้นมี ๒ อย่างคือ สมาหาโร, อสมาหาโร, ฯ จตุทฺทิสา จัดเป็น อสมาหาโร ปญฺจินฺทริยํ จัดเป็น สมาหาโร ฯ
๗. ในอัพยยตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เมธาวี ลงปัจจัย อะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ
ตอบ : ในอัพยยตัทธิต มีปัจจัย ๒ ตัว คือ ถา, ถํ, ฯ เมธาวี ลง วี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ วิเคราะห์ว่า เมธา อสฺส อตฺถี-ติ เมธาวี ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. สระที่เป็น……………………………ชื่อ ครุ มีเสียงหนัก ฯ
ข. อักขระ ๘ ตัวนี้ คือ………………….เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชา ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. สระที่เป็นทีฆะล้วน และสระที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิต อยู่เบื้องหลัง ชื่อ ครุ มีเสียงหนัก ฯ
ข. อักขระ ๘ ตัวนี้ คือ อิ, อี, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ย เกิดที่เพดานเรียกว่า ตาลุชา ฯ
๒. ทีฆะสนธิกิริโยปกรณ์ ในสระสนธิ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กึสูธ, สทฺธีธ, จูภยํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : ทีฆะสนธิกิริโยปกรณ์ในสระสนธิ แบ่งเป็น ๒ คือ ทีฆะสระหน้าอย่าง ๑ ทีฆะสระหน้าอย่าง ๑ ฯ กึสูธ จัดเป็นทีฆะสระหน้า สทฺธีธ จัดเป็นทีฆะสระหลัง จูภยํ จัดเป็นทีฆะสระหลัง ฯ
๓. ศัพท์ที่มีวิธีแจกอย่างหนึ่งต่างหากซึ่งเรียกว่า กติปยศัพท์ นั้น ได้แก่ศัพท์อะไรบ้าง ฯ ศัพท์ไหนเป็นทวิลิงค์ ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่วิธีแจกอย่างหนึ่งต่างหากซึ่งเรียกว่า กติปยศัพท์ นั้นได้แก่ อตฺต, พฺรหฺม, ราช, ภควนฺตุ, อรหนฺต, ภวนฺต, สตฺถุ, ปิตุ, มาตุ, มน, กมฺม, โค ฯ ราช, อรหนฺต, ภวนฺต, มน เป็นทวิลิงค์ ฯ
๔. กิริยาศัพท์ใด ชื่อเหตุกัมมวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ และในเหตุกัมมวาจกนี้ ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ใด กล่าวสิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำคือแสดงว่าเป็นกิริยาสิ่งนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อเหตุกัมมวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ข้าวสุก อันนาย ใช้พ่อครัว ให้หุงอยู่ ฯ และในเหตุกัมมวาจกนี้ ลงปัจจัย ๑๐ ตัว คือ อ, เอ, ย, ณุ, ณา, นา, ณฺหา, โอ, เณ, ณฺย นั้นด้วย ลงเหตุปัจจัย คือ ณาเป ด้วย ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคมหน้า ย ด้วย ฯ
๕. ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับนามกิตก์ แบ่งเป็นกี่พวก ฯ แต่ละพวกมีปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับนามกิตก์ แบ่งเป็น ๓ พวก ฯ แต่ละพวกมีปัจจัย ดังนี้
กิตปัจจัย มีปัจจัย ๕ ตัว คือ กฺวิ, ณี, ณฺวุ, ตุ, รู
กิจจปัจจัย มีปัจจัย ๒ ตัว คือ ข, ณฺย
กิตกิจจปัจจัย มีปัจจัย ๗ ตัว อ, อิ, ณ, ตเว, ติ, ตํุ, ยุ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา ฯ
ข. สตฺโต อิติ สญฺญา สตฺตสญฺญา ฯ
ค. อสิ หตฺเถ ยสฺส โส อสิหตฺโถ (โยโธ) ฯ
ฆ. นครสฺส สมีปํ อุปนครํ ฯ
ง. สํสาเร ทุกขํ สํสารทุกฺขํ ฯ
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา ชื่อ อสมาหาระ ทวันทวสมาส ฯ
ข. สตฺโต อิติ อญฺญา สตฺตสญฺญา ชื่อ สัมภาวนบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
ค. อสิ หตฺเถ ยสฺส โส อสิหตฺโถ (โยโธ) ชื่อ ภินนาธิกรณพหุพพิหิสมาส ฯ
ฆ. นครสฺส สมีปํ อุปนครํ ชื่อ อุปสัคคปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. สํสาเร ทุกขํ สํสารทุกฺขํ ชื่อ สัตตมีตัปปุริสสมาส ฯ
๗. ในราคาทิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปุริโม, เตชสี, ติกํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในราคาทิตัทธิต มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ณ ฯ
ปุริโม ลง อิม ปัจจัย ในชาตาทิตัทธิต
เตชสี ลง สี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
ติกํ ลง ก ปัจจัย ในสังขยาตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗ (ครั้งที่ ๒)

๑. ในภาษาบาลีนั้น พยัญชนะวรรค มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เพราะเหตุไรจึงเรียกชื่ออย่างนั้น ฯ
ตอบ : ในภาษาบาลีนั้น พยัญชนะวรรค มี ๒๕ ตัวคือ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม ฯ เพราะเป็นพวกเป็นหมู่ กันตามกรณ์ที่เกิด จึงเรียกชื่ออย่างนั้น ฯ
๒. โลโป ในนิคคหิตสนธินั้น จะลบนิคคหิตได้ในที่เช่นไร ฯ จงยกอุทาหรณ์มาประกอบด้วย ฯ
ตอบ : โลโป ในนิคหิตสนธินั้น จะลบนิคคหิตได้ในที่เช่นนี้ คือ เมื่อมีสระ หรือพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง ลบนิคคหิตซึ่งหน้าบ้าง ฯ มีอุทาหรณ์ว่า ตาสํ-อหํ เป็น ตาสาหํ, อริยสจฺจานํ-ทสฺสนํ เป็น อริยสจฺจานทสฺสนํ ฯ
๓. กญฺญา (นางสาวน้อย) ซึ่งเป็น อา การันต์ในอิตถีลิงค์ มีวิธีแจกด้วย วิภัตติทั้ง ๗ อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : กญฺญา (นางสาวน้อย) ซึ่งเป็น อา การันต์ในอิตถีลงค์ มีวิธีแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ อย่างนี้คือ
เอก. | พหุ. |
ป. กญฺญา ทุ. กญฺญํ ต. กญฺญาย จ. กญฺญาย ปญฺ. กญฺญาย ฉ. กญฺญาย ส. กญฺญาย กญฺญายํ อา. กญฺเญ | กญฺญาโย กญฺญา กญฺญาโย กญฺญา กญฺญาหิ กญฺญาภิ กญฺญานํ กญฺญาหิ กญฺญาภิ กญฺญานํ กญฺญาสุ กญฺญาโย กญฺญา |
๔. วิภัตติในอาขยาตนั้น จัดบุรุษเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงเขียนวิภัตติ หมวดกาลาติปัตติ เฉพาะฝ่ายปรัสสบมาดู ฯ
ตอบ : วิภัตติในอาขยาตนั้น จัดบุรุษเป็น ๓ คือ ประถมบุรุษ ๑ มัธยมบุรุษ ๑ อุตตมบุรุษ ๑ ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวดกาลาติปัตติ ฝ่ายปรัสสบทมาดังนี้
เอก | พหุ |
ป. สฺสา ม. สฺเส อุ. สฺสํ | สฺสํสุ สฺสถ สฺสามฺหา |
๕. กิริยากิตก์ต่อไปนี้ คือ ภุตฺตวา, ปกฺกนฺโต, อารพฺภ แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ต่อไปนี้คือ ภุตฺตวา แปลว่า กินแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ภุชฺ ธาตุในความกิน ตวนฺตุ ปัจจัย เอาที่สุดธาตุเป็น ต ฯ ปกฺกนฺโต แปลว่า หลีกไปแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า กมฺ ธาตุ ในความก้าวไป ต ปัจจัย ธาตุมี มฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น นฺต แล้ว ลบที่สุดธาตุ ฯ อารพฺภ แปลว่า ปรารภแล้ว สำเร็จรูปมาจาก อา บทหน้า รภฺ ธาตุในความเริ่ม ตูนาทิปัจจัย อุปสัคอยู่หน้า แปลงปัจจัยทั้ง ๓ คือ ตูน, ตฺวา, ตฺวาน เป็น ย ธาตุมี ภฺ เป็นที่สุด อยู่หน้า แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็น พฺภ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ภตฺตสฺส ปจฺฉา = ปจฺฉาภตฺตํ ฯ
ข. จตสฺโส ทิสา = จตุทฺทิสํ ฯ
ค. พุทฺโธ เอว รตนํ = พุทฺธรตนํ ฯ
ฆ. นตฺถิ ตสฺส ปุตฺตาติ = อปุตฺตโก ฯ
ง. วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค (ภิกฺขุ) ฯ
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ภตฺตสฺส ปจฺฉา = ปจฺฉาภตฺตํ ชื่อ นิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ
ข. จตสฺโส ทิสา = จตุทฺทิสํ ชื่อ สมาหารทิคุสมาส ฯ
ค. พุทฺโธ เอว รตนํ = พุทฺธรตนํ ชื่อ อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
ฆ. นตฺถิ ตสฺส ปุตฺตาติ = อปุตฺตโก ชื่อ น บุพพบท พหุพพิหิสมาส ฯ
ง. วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค (ภิกฺขุ) ชื่อปัญจมีพหุพพิหิสมาส ฯ
๗. ในพหุลตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปูชนีโย, จกฺขุมา, โกสลํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในพหุลตัทธิตมีปัจจัย ๑ ตัว คือ อาลุ ฯ
ปูชนีโย ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต
จกฺขุมา ลง มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
โกสลฺลํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น…………………..ส่วน คือ………………………ฯ
ข. โอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ…………………………….เรียกว่า……………………ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น ๖ ส่วน คือ นาม ๑ อัพยยศัพท์ ๑ สมาส ๑ ตัทธิต ๑ อาขยาต ๑ กิตก์ ๑ ฯ
ข. โอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและริมฝีปากเรียกว่า กณฺโฐฏฺฐโช ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ฉฬายตนํ จัดเป็นชนิดไหน ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑ ฯ ฉฬายตนํ จัดเป็น อาคโม ฯ
๓. ปัจจัยในอัพยยศัพท์ เฉพาะที่ลงท้ายนามมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ เป็นเครื่องหมายวิภัตติอะไร ฯ
ตอบ : ปัจจัยในอัพยยศัพท์เฉพาะที่ลงท้ายนามมี ๑๗ คือ โต, ตฺร, ตฺถ, ห, ธ, ธิ, หึ, หํ, หิญฺจนํ, ว, ทา, ทานิ, รหิ, ธุนา, ทาจนํ, ชฺช, ชฺชุ ฯ โต ปัจจัยเป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติและปัญจมีวิภัตติ ตฺร, ตฺถ, ห, ธ, ธิ, หึ, หํ, หิญฺจนํ, ว เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ, ทา, ทานิ, รหิ, ธุนา, ทาจนํ, ชฺช, ชฺชุ เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติลงในกาล ฯ
๔. อชฺชตฺตนี บอกกาลอะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ ถ้ามี อ อยู่หน้า แปลว่าอย่างไร ฯ จงยกอุทาหรณ์พร้อมทั้งแปลมาให้ดูด้วย ฯ
ตอบ : อชฺชตฺตนี บอกอดีตกาลตั้งแต่วันนี้ ฯ แปลว่า แล้ว ฯ ถ้ามี อ อยู่หน้าแปลว่า ได้แล้ว ฯ อุ. เถโร คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ พระเถระ เข้าไปแล้ว สู่บ้าน เพื่อบิณฑะ ฯ เอวรูปํ กมฺมํ อกาสึ (ข้า) ได้ทำแล้ว ซึ่งกรรมมีอย่างนี้เป็นรูป ฯ
๕. จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมบอกรูป และสาธนะมาด้วย
ก. ทุกฺเขน รกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ ฯ
ข. กโรติ เตนาติ กรณํ ฯ
ตอบ : ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกรูปและสาธนะมา ดังนี้
ก. ทุกฺเขน รกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ (จิตใด) อันเขารักษาได้โดยยาก เหตุนั้น (จิตนั้น) ชื่อว่า อันเขารักษาได้โดยยาก เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ฯ
ข. กโรติ เตนาติ กรณํ (เขา) ย่อมทำ ด้วยสิ่งนั้น เหตุนั้น (สิ่งนั้น) ชื่อว่า เป็นเครื่องทำ (แห่งเขา) เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ฯ
๖. กัมมธารยสมาส กับ ตัปปุริสสมาส ต่างกันอย่างไร ฯ
ตอบ : กัมมธารยสมาส กับ ตัปปุริสสมาสต่างกันอย่างนี้
กัมมธารยสมาส มีวิภัตติและวจนะเสมอกัน บทหนึ่งเป็นประธาน บทหนึ่งเป็นวิเสสนะหรือเป็นวิเสสนะทั้ง ๒ บท ส่วนตัปปุริสสมาส มีวิภัตติและวจนะไม่เสมอกัน ฯ
๗. ในสมุหตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สงฺฆิกํ, สุขี, โกสลฺลํ ลง ปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในสมุหตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัว คือ กณฺ ณ ตา ฯ
สงฺฆิกํ ลง ณิก ปัจจัย ใน ตรัตยาทิตัทธิต
สุขี ลง อี ปัจจัย ใน ตทัสสัตถิตัทธิต
โกสลฺลํ ลง ณฺย ปัจจัย ใน ภาวตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
ก. นิคคหิต แปลว่า…………………………………….ฯ
ข. กรณ์ที่ทำอักขระ มี ๔ คือ……………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างดังต่อไปนี้
ก. นิคคหิต แปลว่า กดสระหรือกรณ์คืออวัยวะที่ทำเสียง ฯ
ข. กรณ์ที่ทำอักขระมี ๔ คือ ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น ๑ ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา ๑ ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น ๑ สกฏฺฐานํฐานของตน ๑ ฯ
๒. พยัญชนะอาคม มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ในที่เช่นไรจึงลงอาคมได้ ฯ อิโตนายติ, สพฺภิเรว ลงอาคมตัวไหน ฯ
ตอบ : พยัญชนะอาคมมี ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ฯ ในที่มีสระอยู่เบื้องหลังจึงลงอาคมได้ ฯ อิโตนายติ ลง น อาคม, สพฺภิเรว ลง ร อาคม ฯ
๓. คุณนามคืออะไร ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร ฯ
ตอบ : คุณนาม คือ นามที่แสดงลักษณะของนามนามสำหรับหมายให้รู้ว่านามนาม นั้นดีหรือชั่วเป็นต้น ฯ แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ปกติ ๑ วิเสส ๑ อติวิเสส ๑ ฯ แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างนี้ คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วเป็นปกติ ชื่อปกติ คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วมากหรือน้อยกว่าปกติ ชื่อวิเสส คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วมากที่สุดหรือน้อยที่สุด ชื่ออติวิเสส ฯ
๔. อะไรจัดเป็นวาจก ฯ วาจกไหน ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ ดังนี้ จัดเป็นวาจก ฯ กัตตุวาจก ลงปัจจัย ๑๐ ตัว คือ อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ เณ ณฺย, กัมมวาจก ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคมหน้า ย, ภาววาจก ลง ย ปัจจัย, เหตุกัตตุวาจก ลง ปัจจัย ๔ ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย ตัวใดตัวหนึ่ง, เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย ๑๐ ตัวนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัย คือ ณาเป ด้วย ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคมหน้า ย ด้วย ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า อธิกรณสาธนะ ฯ โภชนียํ, รุนฺโน แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : ผู้ทำ ๆ ในที่ใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของที่นั้น เป็นต้นว่า ฐานํ ที่ตั้ง, ที่ยืน อาสนํ ที่นั่ง สยนํ ที่นอน ชื่อว่า อธิกรณสาธนะ ฯ โภชนียํ แปลว่า อันเขาพึงกิน สำเร็จรูปมาจาก ภุชฺ ธาตุ ในความกิน อนีย ปัจจัย พฤทธิ์ อุ เป็น โอ, รุนฺโน แปลว่า ร้องไห้แล้ว สำเร็จรูปมาจาก รุทฺ ธาตุ ในความร้องไห้ ต ปัจจัย ธาตุมี ทฺ เป็นที่สุดอยู่หน้าแปลง ต เป็น นฺน แล้วลบที่สุดธาตุ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. ทิพฺพํ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ ฯ
ข. สํสาเร ทุกฺขํ สํสารทุกฺขํ ฯ
ค. นตฺถิ ตสฺส ปุตฺตาติ อปุตฺตโก ฯ
ฆ. ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ฯ
ง. ฉินฺนา หตฺถา ยสฺส โส ฉินฺนหตฺโถ (ปุริโส) ฯ
ตอบ : บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ ดังนี้
ก. ทิพฺพํ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ เป็น อุปมาบุพพบท วิเสสโนปมบท กัมมธารยสมาส ฯ
ข. สํสาเร ทุกฺขํ สํสารทุกฺขํ เป็นสัตตมีตัปปุริสมาส ฯ
ค. นตฺถิ ตสฺส ปุตฺตาติ อปุตฺตโก เป็น น บุพพบทพหุพพิหิสมาส ฯ
ฆ. ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ เป็น นิปาตปุพพกะอัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. ฉินฺนา หตฺถา ยสฺส โส ฉินฺนหตฺโถ (ปุริโส) เป็น ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส ฯ
๗. สามัญญตัทธิต แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : สามัญญตัทธิต แบ่งเป็น ๑๓ อย่างคือ โคตตตัทธิต ๑ ตรัตยาทิตัทธิต ๑ ราคาทิตัทธิต ๑ ชาตาทิตัทธิต ๑ สมุหตัทธิต ๑ ฐานตัทธิต ๑ พหุลตัทธิต ๑ เสฏฐตัทธิต ๑ ตทัสสัตถิตัทธิต ๑ ปกติตัทธิต ๑ สังขยาตัทธิต ๑ ปูรณตัทธิต ๑ วิภาคตัทธิต ๑ ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
พยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ คือ………………………………………………
……………., และ ย………………………… ๒๑ ตัวนี้ เป็นโฆสะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
พยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ค, ฆ, ง, ช, ฌ, ญ, ฑ, ฒ, ณ, ท, ธ, น, พ, ภ, ม, และ ย, ร, ล, ว, ห, ฬ ๒๑ ตัวนี้เป็น โฆสะ ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ สัญโญโค มีเท่าไร อะไรบ้าง ฯ อิธปฺปโมทติ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ สัญโญโค มี ๒ คือ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน อย่าง ๑ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ ฯ อิธปฺปโมทติ จัดเป็นอย่างซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน ฯ
๓. วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ที่แบ่งแล้วนั้น ชนิดไหนมีศัพท์อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : วิเสสนสัพพนามแบ่งเป็น ๒ คือ อนิยม นิยม ฯ อนิยมมีศัพท์ คือ ย อญฺญ, อญฺญตร, อญฺญตม, ปร, อปร, กตร, กตม, เอก, เอกจฺจ, สพฺพ, กึ, นิยมมีศัพท์คือ ต, เอต, อิม, อมุ ฯ
๔. ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งกาลที่เป็นประธาน และแบ่งกาลให้ละเอียดไว้อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในอาขยาตนั้นท่านแบ่งกาลที่เป็นประธานได้ ๓ คือ กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่าปัจจุบันกาล ๑ กาลล่วงแล้ว เรียกว่าอดีตกาล ๑ กาลยังไม่มาถึงเรียกว่าอนาคตกาล ๑ ฯ และแบ่งกาลให้ละเอียดไว้ อย่างนี้คือ
ปัจจุบันกาล จัดเป็น ๓ คือ ปัจจุบันแท้ ๑ ปัจจุบันใกล้อดีต ๑ ปัจจุบันใกล้อนาคต ๑
อดีตกาล จัดเป็น ๓ เหมือนกันคือ ล่วงแล้วไม่มีกำหนด ๑ ล่วงแล้ววานนี้ ๑ ล่วงแล้ววันนี้ ๑
อนาคตกาล จัดเป็น ๒ คือ อนาคตของปัจจุบัน ๑ อนาคตของอดีต ๑ ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า กรณสาธนะ ฯ และกรณสาธนะนี้ ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ผู้ทำ ๆ ด้วยสิ่งใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งนั้นเป็นต้นว่า พนฺธนํ วัตถุเป็นเครื่องผูก ปหรณํ วัตถุเป็นเครื่องประหาร วิชฺฌนํ วัตถุเครื่องไช ชื่อว่ากรณสาธนะ ฯ และกรณสาธนะนี้ท่านบัญญัติให้แปลว่า ที่ เป็นกัตตุรูปแปลว่า เป็นเครื่องก็ได้ แปลว่า เป็นเหตุก็ได้ ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า เป็นเครื่องอันเขาก็ได้ เป็นเหตุอันเขาก็ได้ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปตฺตจีวรํ, สมณพฺราหฺมณา จัดเป็นอย่างไร ฯ
ตอบ : นามนาม ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า ทวันทวสมาส ฯ มี ๒ คือ สมาหาโร อสมาหาโร ฯ ปตฺตจีวรํ จัดเป็นสมาหาโร สมณพฺราหฺมณา จัดเป็น อสมาหาโร ฯ
๗. ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กาสาวํ, ปจฺฉิโม, เมธาวี ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัว คือ อิม, อิย, กิย ฯ
กาสาวํ ลง ณ ปัจจัย ในราคาทตัทธิต
ปจฺฉิโม ลง อิม ปัจจัย ในชาตาทิตัทธิต
เมธาวี ลง วี ปัจจัย ในตทัสสัตถิทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
ในสระ ๘ ตัวนั้น สระมีมาตรเบา ๓ ตัว คือ……….ชื่อ……………………
สระอีก ๕ ตัว อื่นจากนั้น คือ…………….ชื่อ………………………………………ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ในสระ ๘ ตัวนั้น สระมีมาตราเบา ๓ ตัว คือ อ อิ อุ ชื่อ รัสสะ มีเสียงสั้น สระอีก ๕ ตัว อื่นจากนั้น คือ อา อี อู เอ โอ ชื่อ ทีฆะ มีเสียงยาว ฯ
๒. ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ พุทฺธานสาสนํ จัดเป็นชนิดไหน ฯ
ตอบ : ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๔ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ ฯ พุทฺธานสานํ จัดเป็นชนิดโลโป ฯ
๓. กุล (ตระกูล) ซึ่งเป็น อ การันต์ในนปุงสกลิงค์ มีวิธีแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : กุล (ตระกูล) เป็น อ การันต์ ในนปุงสกลิงค์ แจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ ดังนี้
เอก. | พหุ. |
ป. กุลํ ทุ. กุลํ ต. กุเลน จ. กุลสฺส กุลาย กุลตฺกํ ปญฺ. กุลสฺมา กุลมฺหา กุลา ฉ. กุลสฺส ส. กุลสฺมึ กุลมฺหิ กุเล อา. กุล | กุลานิ กุลานิ กุเลหิ กุเลภิ กุลานํ กุเลหิ กุเลภิ กุลานํ กุเลสุ กุลานิ |
๔. กิริยาศัพท์เช่นไร จัดเป็นวาจก ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ ดังนี้ จัดเป็นวาจก ฯ มี ๕ อย่าง คือ กัตตุวาจก ๑ กัมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ
๕. จงเขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมบอกรูปและสาธนะมาด้วย
ก. ปารํ คจฺฉติ สีเสนาติ ปารคู ฯ
ข. อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส ฯ
ตอบ : ได้เขียนคำแปลรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ พร้อมบอกรูปและสาธนะมา ดังนี้
ก. ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู ฯ ผู้ใดย่อมถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ ฯ
ข. อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส ฯ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในประเทศนั่น เหตุนั้น ประเทศนั่น ชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่ (แห่งภิกษุทั้งหลาย) เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ฯ
๖. อะไรชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธานคือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนามหรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธานที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า กัมมธารยสมาส ฯ มี ๖ อย่าง คือ วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสนุตตรปโท, วิเสสโนภยปโท, วิเสสโนปมปโท, สัมภาวนปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพปโท ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ราชคหิโก แปลว่าอะไร ฯ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ ราชคหิโก แปลว่า ชนผู้เกิดในเมืองราชคฤห์ หรือผู้อยู่ในเมืองราชคฤห์ ฯ ลง ณิก ปัจจัย ในตรัตยาธิตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระ มี ๖ คือ………………………………………………
ว เกิดใน ๒ ฐาน คือ……………………..เรียกว่า…………………………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี ๖ คือ กณฺโฐ คอ, ตาลุ เพดาน, มุทธา ศีรษะก็ว่า ปุ่มเหงือกก็ว่า, ทนฺโต ฟัน, โอฏฺโฐ ริมฝีปาก, นาสิกา จมูก ฯ ว เกิดใน ๒ ฐาน คือฟันและริมฝีปาก เรียกว่า ทนฺโตฏฺฐโช ฯ
๒. ในสระสนธิ โลโป มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จตฺตาโรเม, โนเหตํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : ในสระสนธิ โลโป มี ๒ คือ ลบสระหน้า ๑ ลบสระหลัง ๑ ฯ
จตฺตาโรเม จัดเป็นลบสระหลัง
โนเหตํ จัดเป็นลบสระหน้า ฯ
๓. เสฏฺฐี (เศรษฐี) ซึ่งเป็น อี การันต์ในปุงลิงค์ มีวิธีแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ อย่างไรบ้าง ฯ
ตอบ : เสฏฺฐี (เศรษฐี) อี การันต์ ในปุงลิงค์ ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ ดังนี้
เอกวจนํ | พหุวจนํ |
ป. เสฏฺฐี ทุ. เสฏฺฐึ เสฏิฐินํ ต. เสฏฺฐินา จ. เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน ป. เสฏฺฐิสฺมา เสฏฺฐิมฺหา ฉ. เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน ส. เสฏฺฐิสฺมิ เสฏฺฐิมฺหิ อา. เสฏฺฐิ | เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ เสฏฺฐีนํ เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ เสฏฺฐีนํ เสฏฺฐีสุ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี |
๔. กิริยาศัพท์ใด ชื่อกัมมวาจก ฯ มีอุทาหรณ์ว่าอย่างไร ฯ และในกัมมวาจกนี้ ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ใดกล่าวกรรม สิ่งที่บุคคลพึงทำ คือ แสดงว่าเป็นกิริยา ของกรรมนั้นเอง กิริยาศัพท์นั้น ชื่อกัมมวาจก ฯ อุทาหรณ์ว่า สูเทน โอทโน ปจิยเต ข้าวสุก อันพ่อครัว หุงอยู่ ฯ และในกัมมวาจกนี้ ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ฯ
๕. ปัจจัยสำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ จัดเป็นกี่พวก ฯ แต่ละพวกมีปัจจัยอะไรบ้าง ฯ บอกกาลอะไร ฯ
ตอบ : ปัจจัยที่สำหรับประกอบกับกิริยากิตก์ จัดเป็น ๓ พวก ฯ แต่ละพวกมี ปัจจัย ดังนี้
กิตปัจจัย อนฺต, ตวนฺตุ, ตาวี
กิจจปัจจัย อนีย, ตพฺพ
กิตกิจจปัจจัย มาน, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน
อนฺต, มาน บอกปัจจุบันกาล
ตวนฺตุ, ตาวี, ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน บอกอดีตกาล
อนีย, ตพฺพ บอกความจำเป็น ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่าอัพยยีภาวสมาส ฯ และอัพยยีภาวสมาสนั้นมีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปจฺฉาภตฺตํ, อชฺฌตฺตํ จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้า ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส ฯ และอัพยยีภาวสมาสนั้น มี ๒ คือ อุปสัคคปุพพกะ ๑ นิปาตปุพพกะ ๑ ฯ ปจฺฉาภตฺตํ จัดเป็นนิปาตปุพพกะ ฯ อชฺฌตฺตํ จัดเป็นอุปสัคคปุพพกะ ฯ
๗. ในภาวตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปูชะนีโย, อโยมยํ, ปุญฺญวา ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในภาวตัทธิต มีปัจจัย ๖ ตัว คือ ตฺต, ณฺย, ตฺตน, ตา, ณ กณ ฯ
ปูชนีโย ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต
อโยมยํ ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต
ปุญฺญวา ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๒)

๑. พยัญชนะวรรคในบาลีภาษา มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : พยัญชนะวรรคในบาลีภาษามี ๒๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ฯ
๒. สนธิกิริโยปกรณ์ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : สนธิกิริโยปกรณ์มี ๘ อย่างคือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยาอย่าง ๑ ปูรณสังขยาอย่าง ๑ ฯ
๔. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า อาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้น ท่านประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ศัพท์กล่าวกิริยาคือความทำเป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่า อาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้นท่านประกอบด้วย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายเนื้อความให้ชัดเจน ฯ
๕. ศัพท์เช่นไรชื่อว่า สาธนะ ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่รูปวิเคราะห์ ชื่อว่า สาธนะฯ แบ่งเป็น ๗ คือ กัตตุสาธนะ กัมมสาธนะ ภาวสาธนะ กรณสาธนะ สัมปทานสาธนะ อปาทานสาธนะ อธิกรณสาธนะ ฯ
๖. อะไร ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส ฯ และตัปปุริสสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้น ในที่สุดท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลายชื่อว่า ตัปปุริสสมาส ฯ และตัปปุริสสมาสนั้นมี ๖ อย่าง คือ ทุติยาตปฺปุริโส ตติยาตปฺปุริโส จตุตฺถีตปฺปุริโส ปญฺจมีตปฺปุริโส ฉฏฺฐีตปฺปุริโส สตฺตมีตปฺปุริโส ฯ
๗. ในโคตตตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในโคตตตัทธิตมีปัจจัย ๘ ตัวคือ ณ, ณายน, ณาน, เณยฺย, ณิ, ณิก, ณว, เณร ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ………………….๘ ตัวนี้ ชื่อสระ,………………………………..๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ ชื่อสระ, ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ ๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ ฯ
๒. ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงแจก จตุ ศัพท์ (เฉพาะอิตถีลิงค์) ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ มาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนาม ชื่อว่าสังขยา ฯ แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยา ๑ ปูรณสังขยา ๑ ฯ ได้แจก จตุ ศัพท์ (เฉพาะอิตถีลิงค์) ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ ดังนี้
พหุวจนะ
ป. จตสฺโส
ทุ. จตสฺโส
ต. จตูหิ
จ. จตสฺสนฺนํ
ปญฺ. จตูหิ
ฉ. จตสฺสนฺนํ
ส. จตูสุ
๔. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า อาขยาต ฯ ในอาขยาตนั้น ท่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน, เดิน, นั่ง, นอน, กิน, ดื่ม, ทำ, พูด, คิด ชื่อว่า อาขยาต ฯ ในอาขายนั้นท่านประกอบด้วย วิภัตติ, กาล, บท, วจนะ, บุรุษ, ธาตุ, วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายเนื้อความให้ชัดเจน ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า กัมมสาธนะ ฯ และกัมมสาธนะนั้น ท่านบัญญัติ ให้แปลว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : ผู้ทำ ๆ ซึ่งสิ่งใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งนั้นเป็นต้นว่า ปิโย เป็นที่รัก รโส วิสัยเป็นที่ยินดี ก็ดี ศัพท์ที่เป็นชื่อของสิ่งของที่เขาทำ เป็นต้น ว่า กิจฺจํ กรรมอันเขาพึงทำ ทานํ สิ่งของอันเขาพึงให้ ก็ดี ชื่อว่า กัมมสาธนะ ฯ กัมมสาธนะนั้นท่านบัญญัติให้แปลว่า ที่เป็นกัตตุรูปแปลว่า เป็นที่… ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า เป็นที่อันเขา… ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่า พหุพพิหิสมาส ฯ และพหุพพิสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : สมาสอย่างหนึ่งมีบทอื่นเป็นประทาน ชื่อว่า พหุพพิหิสมาส ฯ พหุพพิหิสมาสนั้นมี ๖ อย่าง คือ ทุติยาพหุพพิหิ ๑ ตติยาพหุพพิหิ ๑ จตุตถีพหุพพิหิ ๑ ปัญจมีพหุพพิหิ ๑ ฉัฏฐีพหุพพิหิ ๑ สัตตมีพหุพพิหิ ๑
๗. ในชาตาทิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ราชคหิโก, มชฺฌิโม, เมธาวี ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในชาตาทิตัทธิตมีปัจจัย ๓ ตัว คือ อิม, อิย, กิย ฯ
ราชคหิโก ลง ณิก ปัจจัยในตรัตยาทิตัทธิต ฯ
มชฺฌิโม ลง อิม ปัจจัยในชาตาทิตัทธิต ฯ
เมธาวี ลง วี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
อักขระที่เหลือจากสระนั้น…………………..ตัว มี……………………………….
ชื่อว่า………………………………..แปลว่า………………………………………………….. ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุดชื่อว่า พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความในปรากฎ ฯ
๒. การต่ออักขระด้วยอักขระนั้น จัดเป็นกี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : การต่ออักขระด้วยอักขระนั้น จัดเป็น ๓ อย่าง คือ สระสนธิ ต่อสระ ๑ พยัญชนะสนธิ ต่อพยัญชนะ ๑ นิคคหิตสนธิ ต่อนิคคหิต ๑ ฯ
๓. คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะไว้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ วจนะนั้น มีเครื่องหมายให้แปลกกันที่ไหน ฯ จงแจก ภควนฺตุ ศัพท์ ด้วยวิภัตติ ทั้ง ๗ มาดู ฯ
ตอบ : คำพูดในบาลีภาษาจัดเป็นวจนะไว้ ๒ อย่าง คือ เอกวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อสิ่งเดียว ๑ พหุวจนํ คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียวคือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป ๑ ฯ วจนะนั้นมีเครื่องหมายให้แปลกกันที่ท้ายศัพท์เหมือนคำว่า ปุริโส ชายคนเดียวเป็นเอกวจนะ ปุริสา ชายหลายคนเป็นพหุวจนะ ฯ
ได้แจก ภควนฺตุ ศัพท์ ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ |
ป. ภควา ทุ. ภควนฺตํ ต. ภควตา จ. ภควโต ปญฺ. ภควตา ฉ. ภควโต ส. ภควติ ภควนฺเต อา. ภคว ภควา | ภควนฺตา ภควนฺโต ภควนฺเต ภควนฺโต ภควนฺเตหิ ภควนฺเตภิ ภควตํ ภควนฺตานํ ภควนฺเตหิ ภควนฺเตภิ ภควตํ ภควนฺตานํ ภควนฺเตสุ ภควนฺตา ภควนฺโต |
๔. วิภัตติอาขยาตเป็นเครื่องหมายให้รู้อะไรบ้าง ฯ วิภัตติไหน เมื่อลงแล้วต้องทีฆะ อ ที่สุดปัจจัยเป็น อา ในหมวดธาตุทั้งปวง ฯ
ตอบ : วิภัตติอาขยาตเป็นเครื่องหมายให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ ฯ
มิ, ม วตฺตมานา ก็ดี หิ, มิ, ม ปญฺจมี ก็ดี อยู่ข้างหลัง เมื่อลงแล้วต้องทีฆะ อ ที่สุดปัจจัยเป็น อา ในหมวดธาตุทั้ง ปวง ฯ
๕. กิริยากิตก์ต่อไปนี้ คือ ภุตฺโต, นิกฺขมฺม แปลว่าอย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : กิริยากิตก์ต่อไปนี้ คือ ภุตฺโต แปลว่า อันเขากินแล้ว นิกฺขมฺม แปลว่า ออกแล้ว ฯ ภุตฺโต สำเร็จรูปมาจาก ภุชฺ ธาตุ ในความกิน ต ปัจจัย ธาตุมี ชฺ เป็นที่สุด เอาที่สุดธาตุเป็น ต
นิกฺขมฺม สำเร็จรูปมาจาก นิ บทหน้า ขมฺ ธาตุ ในความออก อุปสัคอยู่หน้าแปลงปัจจัยทั้ง ๓ ตัว (ตูนาทิปัจจัย คือ ตูน, ตฺวา, ตฺวาน) เป็น ย ธาตุมี มฺ เป็นที่สุดอยู่หน้าแปลง ย กับที่สุดธาตุเป็น มฺม ฯ
๖. อะไรชื่อว่าสมาส ฯ สมาสนั้น ว่าโดยกิจและโดยชื่อ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : นามศัพท์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่าสมาส ฯ สมาสนั้นว่าโดยกิจมี ๒ อย่าง คือ สมาสที่ท่านลบวิภัตติเสียแล้วเรียกว่า ลุตฺตสมาโส๑ สมาสที่ท่านยังมิได้ลบวิภัตติ เรียกว่า อลุตฺตสมาโส๑ ฯ ว่าโดยชื่อมี ๖ อย่าง คือ กมฺมธารโย, ทิคุ, ตปฺปุริโส, ทวนฺทโว, อพฺยยีภาโว, พหุพฺพิหิ ฯ
๗. ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ทสฺสนีโย, ฉฏโฐ, อายสฺมา ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, มนฺตุ, ณ ฯ
ทสฺสนีโย ลง อีย ปัจจัยในฐานตัทธิต ฯ
ฉฏฺโฐ ลง ฐ ปัจจัยในปูรณตัทธิต ฯ
อายสฺมา ลง มนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
ก. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ………..เรียกว่า อวรรค เพราะ……………… ฯ
ข. อักขระ ๗ ตัวนี้ คือ ……….เกิดที่ฟัน เรียกว่า………………………… ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในว่างดังต่อไปนี้
ก. พยัญชนะ ๘ ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ๐ เรียกว่า อวรรค เพราะไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์ที่เกิด ฯ
ข. อักขระ ๗ ตัวนี้ คือ ต ถ ท ธ น, ล ส, เกิดที่ฟัน เรียก ทนฺตชา ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ สญฺโญโค มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จาตุทฺทสี จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ สญฺโญโค มี ๒ อย่าง คือ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันอย่าง ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกันอย่าง ๑ จาตุทฺทสี จัดเป็นซ้อนหน้าพยัญชที่มีรูปเหมือนกัน ฯ
๓. ในบาลีภาษานั้น ท่านแบ่งลิงค์เป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ นามนามเป็นได้กี่ลิงค์ ฯ
ตอบ : ในภาษาบาลีนั้น ท่านแบ่งลิงค์เป็น ๓ คือ ปุํลิงฺคํ เพศชาย ๑ อิตฺถีลิงฺคํ เพศหญิง ๑ นปุํสกลิงฺคํ มิใช่เพศชาย มิใช่เพศหญิง ๑ ฯ นามนามเป็นลิงค์เดียว คือ จะเป็นปุํลิงค์ อิตถีลิงค์ หรือปุํสกลิงค์ ก็อย่างเดียวบ้าง, เป็น ๒ ลิงค์ คือ ศัพท์อันเดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ทั้ง ๒ ลิงค์ หรือมูลศัพท์เป็นอันเดียว เปลี่ยนแต่สระที่สุดให้แปลกกันพอเป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กันบ้าง ฯ
๔. ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งบทเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ แต่ละบทเป็นเครื่องหมายให้รู้อะไร ฯ
ตอบ : ในอาขยาตนั้น ท่านแบ่งบทเป็น ๒ บท คือ ปรัสสบท บทเพื่อผู้อื่น ๑ อัตตโนบท บทเพื่อตน ๑ ฯ ปรัสสบทเป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็นกัตตุวาจก อัตตโนบทเป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็นกัมมวาจก และภาววาจก ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าสาธนะ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ นายโก, โภชนํ จัดเป็นสาธนะอะไร ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่รูปวิเคราะห์ ชื่อสาธนะ ฯ มี ๗ คือ กัตตุสาธนะ, กัมมสาธนะ, ภาวสาธนะ, กรณสาธนะ, สัมปทานสาธนะ, อปาทานสาธนะ, อธิกรณสาธนะ ฯ
นายโก จัดเป็นกัตตุสาะนะ ฯ
โภชนํ จัดเป็นกัมมสาธนะ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํ ฯ
ข. สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ ฯ
ค. น อริโย อนริโย ฯ
ฆ. ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ ฯ
ง. วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค (ภิกฺขุ)
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
ก. สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํ เป็นอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส ฯ
ข. สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ เป็นสมาหารวันทวสมาส
ค. น อริโย อนริโย เป็น อุภยตัปปุริสสมาสบ้าง กัมมธารยสมาส มี น เป็นบทหน้าบ้าง ฯ
ฆ. ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค (ภิกฺขุ) เป็นปัญจมีพหุพพิหิสมาส ฯ
๗. ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ พนฺธนียํ, อโยมยํ, ฉฏฺโฐ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในเสฏฐตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิยิสฺสก, อิย, อิฏฺฐ ฯ
พนฺธนียํ ลง อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต ฯ
อโยมยํ ลง มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต ฯ
ฉฏฺโฐ ลง ฐ ปัจจัย ในปูรณตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
สระมีมาตราเบา………………ตัว คือ……………………………ชื่อ……………………………. ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
สระมีมาตราเบา ๓ ตัว คือ อ, อิ, อุ ชื่อ รัสสะ ฯ
๒. อะไรเรียกว่าสนธิ ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในบาลีภาษามีวิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่นอักขระให้น้อยลง เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์และให้คำพูดสละสลวย เรียกว่า สนธิ ฯ มี ๓ อย่าง คือ สระสนธิ ต่อสระ ๑ พยัญชนะสนธิ ต่อ พยัญชนะ ๑ นิคคหิตสนธิ ต่อนิคคหิต ๑ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร เรียกว่า นโมคณะ ฯ จงแจก ปิตุ ศัพท์ ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ มาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์ ๑๒ ศัพท์ มี มน ศัพท์เป็นต้น เรียกว่า มโนคณะ ฯ ได้แจก ปิตุ ศัพท์ ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ |
ป. ปิตา ทุ. ปิตรํ ต. ปิตรา ปิตุนา จ. ปิตุ ปิตุโน ปญฺ. ปิตรา ฉ. ปิตุ ปิตุโน ส. ปิตริ อา. ปิตา | ปิตโร ปิตโร ปิตเรหิ ปิตเรภิ ปิตูหิ ปิตูภิ ปิตรานํ ปิตูนํ ปิตเรหิ ปิตเรภิ ปิตูหิ ปิตูภิ ปิตรานํ ปิตูนํ ปิตเรสุ ปิตูสุ ปิตโร |
๔. กิริยาศัพท์เช่นไร ชื่อเหตุกัตตุวาจก ฯ จงเขียนวิภัตติหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ใช้คนอื่นทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้นชื่อ เหตุกัตตุวาจก ฯ ได้เขียนวิภัตติหมวดปัญจมี เฉพาะฝ่ายปรัสสบท ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ |
ป. ตุ ม. หิ อุ. มิ | อนฺตุ ถ ม |
๕. ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี มฺ หรือ หฺ เป็นที่สุดแปลง ตฺ เป็นอะไรบ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบ ฯ
ตอบ : ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี ม เป็นที่สุด แปลง ต เป็น นฺต แล้วลบที่สุดธาตุ เช่น ปกฺกนฺโต หลีกไปแล้ว มาจาก ป บทหน้า กมฺ ธาตุ ในความก้าวไป, เมื่อประกอบกับธาตุที่มี หฺ เป็นที่สุด แปลง ต เป็น ฬฺห แล้วลบที่สุดธาตุ เช่น รุฬฺโห งอกแล้ว มาจาก รุห ธาตุ ในความงอก ฯ
๖. อะไร ชื่อตัปปุริสสมาส ฯ ตัปปุริสสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ คามคโต (ปุริโส), รุกฺขสาขา จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : นามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้นในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อ ตัปปุริสสมาส ฯ ตัปปุริสมาสนั้นมี ๖ คือ ทุติยาตปฺปุริโส, ตติยาตปฺปุริโส, จตุตฺถีตปุริโส, ปญฺจมีตปฺปุริโส, ฉฏฺฐีตปฺปุริโส, สตฺตมีตปฺปุริโส ฯ คามคโต (ปุริโส) จัดเป็นทุติยาตปฺปุริโส, รุกฺขสาขา จัดเป็นฉฏฺฐีตปฺปุริโส ฯ
๗. ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สามเณโร, มาคโธ, ปุญฺญวา ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย ๙ ตัว คือ วี, ส, สี, อิก, อี, ร, วนฺตุ, มนฺตุ, ณ ฯ
สามเณโร ลง เณร ปัจจัย ในโคตตตัทธิต ฯ
มาคโธ ลง ณ ปัจจัย ในราคาทิตัทธิต ฯ
ปุญฺญวา ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑

๑. จงเติมคําที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
พยัญชนะที่…………ในวรรคทั้ง ๕ คือ………………..และ ส ๑๑ ตัวนี้ เป็น อโฆสะ, พยัญชนะที่……………ในวรรคทงั้ ๕ คือ …………………และ……………………..๒๑ ตัวนี้ เป็นโฆสะ ฯ
ตอบ : ได้เติมคําที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ ส ๑๑ ตัวนี้ เป็น อโฆสะ, พยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ ญ, ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม และ ย ร ล ว ห ฬ ๒๑ ตัวนี้เป็น โฆสะ ฯ
๒. ในสระสนธิ วิกาโร มีเท่าไร อะไรบ้าง ฯ พุทฺธานสาสนํ เป็นสนธิอะไร ฯ
ตอบ : ในสระสนธิ วิกาโร มี ๒ คือ วิการในเบื้องต้น ๑ วิการในเบื้องปลาย ๑ ฯ พุทฺธานสาสนํ เป็น โลปนิคคหิตสนธิ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงแจก จตุ ศัพท์ (สังขยา) เฉพาะอิตถีลิงค์ ด้วยวิภัตติทั้ง ๗ มาดู ฯ
ตอบ : ศัพท์ที่เป็นเครื่องกําหนดนับนามนาม ชื่อว่า สังขยา ฯ แบ่งเป็น ๒ คือ ปกติสังขยา ๑ ปูรณสังขยา ๑ ฯ
ได้แจก จตุ ศัพท์ (สังขยา) เฉพาะอิตถีลิงค์ ดังนี้
พหุวจนะ
ป. จตสฺโส
ทุ. จตสฺโส
ต. จตูหิ
จ. จตสฺสนฺนํ
ปญฺ. จตูหิ
ฉ. จตสฺสนฺนํ
ส. จตูสุ
๔. จงตอบคําถามต่อไปนี้
ก. วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ บอกกาลอะไร ฯ แปลว่าอย่างไร ฯ
ข. เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัยอะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ได้ตอบคําถามต่อไปนี้
ก. วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ บอกอนาคตกาลแห่งอดีต ฯ แปลว่า
จัก – แล้ว ถ้ามี อ อยู่หน้า แปลว่า จักได้ – แล้ว ฯ
ข. เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย ๑๐ ตัว คือ อ เอ ย ณุ ณา นา ณฺหา โอ
เณ ณย ในกัตตุวาจกนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป ด้วยลง
ย ปัจจัย กับทั้ง อิ อาคมหน้า ย ด้วย ฯ
๕. ในกิริยากิตก์แบ่ง กาลที่เป็นประธานได้เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ รูปวิเคราะห์ต่อไปนี้ เป็น รูปและสาธนะอะไร ฯ
ก. ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารีฯ
ข. กโรติ เตนาติ กรณํ ฯ
ตอบ : ในกิริยากิตก์ แบ่งกาลที่เป็นประธานได้ ๒ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ ฯ
ก. ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารี เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่ง ตัสสีละ ฯ
ข. กโรติ เตนาติ กรณํ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ฯ
๖. อะไรชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ และกัมมธารยสมาสนั้น มีเท่าไร ฯอะไรบ้าง ฯ พทุธรตนํ, ปญฺาญฃปาสาโท จัดเป็นอย่างไหน ฯ
ตอบ : นามศัพท์สองบท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธานคือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้งสองบท มีบทอื่นเป็นประธานที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า กัมมธารยสมาส ฯ กัมมธารยสมาสนั้นมี ๖ อย่าง คือ วิเสสนบุพพบท ๑ วิเสสนุตตรบท ๑ วิเสสโนภยบท ๑ วิเสสโนปมบท ๑ สัมภาวนบุพพบท ๑ อวธารณบุพพบท ๑ ฯ
พุทฺธรตนํ จัดเป็น อวธารณบุพพบท ฯ
ปญฺญฃาปาสาโท จัดเป็น วิเสสโนปมบท ชนิด อปุมานุตตรบท มีอปุมาอยู่หลัง ฯ
๗. อะไรเรียกว่าตัทธิต ฯ โดยสังเขปแบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สุเมธโส, ทฺวิธา ลงปัจจัย อะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ปัจจัยหมู่หนึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อ สําหรับใช้แทนศัพท์ย่อคําพูดลงให้สั้น เรียกง่าย ๆ เหมือนคําว่า สฺยาเม ชาโต เกิดในสยาม ลงปัจจัยแทน ชาต เอาไว้แต่ สฺยาม เป็น สยฺามิโก เรียกว่า ตัทธิต ฯ โดยสังเขปแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ๑ ภาวตัทธิต ๑ อัพยยตัทธิต ๑ ฯ
สุเมธโส ลง ส ปัจจัย ใน ตทัสสัตถิตัทธิต ฯ
ทฺวิธา ลง ธา ปัจจัย ใน วิภาคตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
“อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น มี………..ตัว คือ…………………….
๘ ตัวนี้ ชื่อ……………………….๓๓ ตัวนี้ ชื่อ………………………….
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่างต่อไปนี้
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้นมี ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ เอ โอ ๘ ตัวนี้ ชื่อ สระ, ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ ๓๓ ตัวนี้ ชื่อพยัญชนะ ฯ
๒. สนธิกิริโยปกรณ์ คืออะไร ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : สนธิกิริโยปกรณ์ คือ วิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิ ฯ มี ๘ อย่าง คือ โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ทีโฆ ทำให้ยาว ๑ รสฺสํ ทำให้สั้น ๑ สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑ ฯ
๓. สัพพนาม คืออะไร ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : สัพพนาม คือชื่อสำหรับใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะไม่ให้ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู ฯ แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ ฯ
๔. อะไรจัดเป็นวาจก ฯ แบ่งเป็นเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ ดังนี้ จัดเป็น วาจก ฯ แบ่งเป็น ๕ อย่าง คือ กัตตุวาจก ๑ กัมมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่ากัมมธารยสมาส ฯ และกัมมธารยสมาสนั้น ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไร ฯ
ตอบ : นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกันบทหนึ่งประธาน คือเป็นนามนามบทหนึ่ง เป็นวิเสสนะคือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธานที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อกัมมธารยสมาส ฯ
กัมมธารยสมาสนั้น ท่านบัญญัติให้แปล ดังนี้
วิเสสนบุพพบท และวิเสสนุตตรบท แปลออกสำเนียงวิเสสนะว่าผู้, อัน, ตัว เป็นต้น ตามลักษณะของนามนาม
วิเสสโนภยบท แปลว่า ทั้ง- ทั้ง-
วิเสสโนปมบท แปลว่า เพียงดัง
สัมภาวนบุพพบท แปลว่า ว่า
อวธารณบุพพบท แปลว่า คือ
๖. อะไร ชื่อว่าสมาส ฯ และสมาสนั้น ว่าโดยชื่อ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : นามศัพท์ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า สมาส ฯ และสมาสนั้นว่าโดยชื่อมี ๖ อย่าง คือ กมฺมธารโย ๑ ทิคุ ๑ ตปฺปุริโส ๑ ทวนฺทโว ๑ อพฺยยีภาโว ๑ พหุพฺพิหิ ๑ ฯ
๗. ในวิภาคตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ตอบ : ในวิภาคตัทธิตมีปัจจัย ๒ ตัว คือ ธา, โส ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
“อักขระที่เหลือจากสระมี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อ…………..
แปลว่า……….. …มี…….. ….ตัว แบ่งเป็น……………พวก คือ……………..”ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
อักขระที่เหลือจากสระมี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อ พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ มี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๒ พวก คือ วรรค ๑, อวรรค ๑ ฯ
๒. ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ โนเหตํ เป็นสนธิอะไร ฯ
ตอบ : ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ อย่าง คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ วิกาโร ๑ ปกติ ๑ ทีโฆ ๑ รสฺสํ ๑ ฯ โนเหตํ เป็น โลโป สระสนธิ ฯ
๓. ศัพท์เช่นไร เรียกว่า อัพยยศัพท์ ฯ ได้แก่ศัพท์จำพวกไหนบ้าง ฯ เฉพาะอุปสัคใช้อย่างไร ฯ
ตอบ :ศัพท์ที่จะแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๗ แปลงรูปไปต่าง ๆ เหมือนนามทั้ง ๓ ไม่ได้ คงรูปอยู่เป็นอย่างเดียว ศัพท์เหล่านี้ เรียกว่า อัพยยศัพท์ ฯ ได้แก่ศัพทจำพวก อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง ปัจจัยบ้าง ฯ เฉพาะอุปสัค ใช้นำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนำหน้านามมีอาการคล้ายคุณศัพท์ เมื่อนำหน้ากิริยามีอาการคล้าย กิริยาวิเสสนะ ฯ
๔. อะไรจัดเป็นวาจก ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ จงเขียนวิภัตติหมวด อัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสสบทมาดู ฯ
ตอบ : กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ ดังนี้ จัดเป็นวาจก ฯ มี ๕ อย่าง คือ กัตตุวาจก ๑ กัมมวาจก ๑ ภาววาจก ๑ เหตุกัตตุวาจก ๑ เหตุกัมมวาจก ๑ ฯ
เขียนวิภัตติหมวด อัชชัตตนี เฉพาะฝ่ายปรัสสบท ดังนี้
เอก พหุ
ป. อี อํุ
ม. โอ ตฺถ
อุ. อึ มหา ฯ
๕. ศัพท์เช่นไร ชื่อว่าอธิกรณสาธนะ ฯ และอธิกรณสาธนะนั้น ท่านบัญญัติให้แปลว่าอย่างไร ฯ กิริยากิตก์ คือ หฏฺโฐฃ, ปหาย แปลว่า อย่างไร ฯ สำเร็จรูปมาจากอะไร ฯ
ตอบ : ผู้ทำ ๆ ในที่ใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของที่นั้น เป็นต้นว่า านํ ที่ตั้ง ที่ยืน ชื่อว่าอธิกรณสาธนะ ฯ และอธิกรณสาธนะท่านบัญญัติให้แปลว่า เป็นที่…ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า เป็นที่อันเขา ฯ กิริยากิตก์ คือ หฏฺโฐ แปลว่าร่าเริงแล้ว สำเร็จรูปมาจาก หสฺ ธาตุ ในความหัวเราะ ต ปัจจัย ธาตุมี สฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ฏฺฐ แล้วลบที่สุดธาตุ ฯ ปหาย แปลว่า ละแล้ว สำเร็จรูปมาจาก ป บทหน้า หา ธาตุในความละ ตฺวา ปัจจัย อุปสัคอยู่หน้า แปลง ตฺวา เป็น ย ฯ
๖. สมาสเช่นไร ชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ และทวันทวสมาสนั้น มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สมณพฺราหฺมณา, ปตฺตจีวรํ จัดเป็นอย่างไหน ?
ตอบ :สมาสที่มีนามนามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่าทวันทวสมาส ฯ และทวันทวสมาสนั้น มี ๒ อย่าง คือ สมาหาระ ๑ อสมาหาระ ๑สมณพฺราหฺมณา จัดเป็นอสมาหาระ, ปตฺตจีวรํ จัดเป็นสมาหาระ ฯ
๗. ในสมุหตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ชนตา, สติมา, จตุตฺโถ ลงปัจจัย อะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ : ในสมุหตัทธิต มีปัจจัย ๓ ตัว คือ กณฺ ณ ตา ฯ ชนตา ลง ตา ปัจจัย ในสมุหตัทธิต ฯ สติมา ลง มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต, จตุตฺโถ ลง ถ ปัจจัย ในปูรณตัทธิตตัทธิต ฯ

ประโยค ๑-๒
ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒)

๑. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
สระที่เป็น………………………………………..ชื่อลหุ มีเสียงเบา ฯ
อักขระ ๘ ตัวนี้ คือ………………เกิดในคอ เรียกว่า กณฺฐชา ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังนี้
สระที่เป็นรัสสะล้วนไม่มีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลังชื่อ ลหุ มีเสียงเบา ฯ
อักขระ ๘ ตัว คือ อ อา ก ข ค ฆ ง ห เกิดในคอ เรียกว่ากณฺฐฃชา ฯ
๒. ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ อิธปฺปโมทติ เป็นสนธิอะไร ฯ
ตอบ : ในพยัญชนะสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ ปกติ ๑ สญฺโญโค ๑ ฯ อธิปฺปโมทติ เป็นสญฺโญโค พยัญชนะสนธิ ฯ
๓. จงแจก ขตฺติย (กษัตริย์) ด้วย อ การันต์ในปุํลิงค์ ซึ่งมีวิธีแจกอย่าง ปุริส (บุรุษ) มาดู ฯ
ตอบ :ได้แจก ขตฺติย (กษัตริย์) ด้วย อ การันต์ ในปุงลิงค์ ซึ่งมีวิธีแจกอย่างปุริส (บุรุษ) ดังนี้ ฯ
เอก. พหุ.
ป. ขตฺติโย ขตฺติยา
ทุ. ขตฺติยํ ขตฺติเย
ต. ขตฺติเยน ขตฺติเยหิ ขตฺติเยภิ
จ. ขตฺติยสฺส ขตฺติยาย ขตฺติยตฺถํ ขตฺยานํ
ปญฺ ขตฺติยสฺมา ขตฺติยมฺหา ขตฺติยา ขตฺติเยหิ ขตฺติเยภิ
ฉ. ขตฺติยสฺส ขตฺติยานํ
ส. ขตฺติยสฺมึ ขตฺติยมฺหิ ขตฺติเย ขตฺติเยสุ
อา. ขตฺติย ขตฺติยา
๔. จงเติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ต่อไปนี้
“กิริยาศัพท์ใด กล่าว………………กิริยาศัพท์นั้น ชื่อว่าเหตุกัมมวาจก, มีอุทาหรณ์ว่า…………………….ฯ
ตอบ : ได้เติมคำที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ดังต่อไปนี้
กิริยาศัพท์ใด กล่าวสิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลอื่นทำ คือแสดงว่าเป็นกิริยาของสิ่งนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อว่าเหตุกัมมวาจา ฯ มีอุทาหรณ์ว่า สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ฯ
๕. ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี ธฺ และ ภฺ เป็นที่สุดแปลง ต เป็นอะไรได้บ้าง ฯ จงตอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ฯ รูปวิเคราะห์ ต่อไปนี้ เป็นรูปและสาธนะอะไร
ก. อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส ฯ
ข. สรณํ สติ ฯ
ตอบ : ต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ เมื่อประกอบกับธาตุซึ่งมี ธฺ และ ภฺ เป็นที่สุด แปลง ต เป็น ทฺธ เช่น พุทฺโธ รู้แล้ว มาจาก พุธฺ ธาตุ ในความรู้ ตฺ ปัจจัย ธาตุที่มี ธฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ทฺธ แล้วลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น พุทฺโธ, ลทฺโธ อันเขาได้แล้ว มาจาก ลภฺ ธาตุ ในความได้ ต ปัจจัย ธาตุมี ภฺ เป็นที่สุดอยู่หน้า แปลง ต เป็น ทฺธ แล้วลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น ลทฺโธ ฯ บอกรูปและสาธนะ ดังนี้
ก. อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวาโส เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ ฯ
ข. สรณํ สติ เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ ฯ
๖. จงบอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ต่อไปนี้
อนฺโธ จ วธิโร จ อนฺธวธิโร ฯ
จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสํ ฯ
พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต ฯ
ฆ. ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ฯ
ง. สนตํ จิตฺตํ ยสฺส โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) ฯ
ตอบ : ได้บอกชื่อสมาสในรูปวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้
ก. อนฺโธ จ วธิโร จ อนฺธวธิโร ชื่อวิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส ฯ
ข. จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสํ ชื่อสมาหารทิคุสมาส ฯ
ค. พนฺธนา มุตฺโต พนฺธมุตฺโต ชื่อปัญจมีตัปปุริสสมาส ฯ
ฆ. ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ชื่อนิปาตปุพพกอัพยยีภาวสมาส ฯ
ง. สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) ชื่อฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส ฯ
๗. ในปูรณตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ สตฺตโม, ราชคหิโก, มุทุตา ลง ปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ
ตอบ :ในปูรณตัทธิต มีปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี ฯ
สตฺตโม ลง ม ปัจจัย ในปูรณตัทธิต ฯ
ราชคหิโก ลง ณิก ปัจจัย ในตรตยาทิตัทธิต ฯ
มุทุตา ลง ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต ฯ