ประโยค ๑-๒ วิชา แปลมคธเป็นไทย

ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๖-๗)

๑. อเถกทิวสํ ตาปโส นกฺขตฺตโยคํ โอโลเกนฺโต ปรนฺตปสฺส นกฺขตฺตปีฬนํ ทิสฺวา  “ภทฺเท โกสมฺพิยํ ปรนฺตปราชา มโตติ อาห ฯ  “กสฺมา อยฺย เอวํ วเทสิ, กินฺเต เตน สทฺธึ อาฆาโต อตฺถีติ ฯ  “นตฺถิ ภทฺเท, นกฺขตฺตปีฬนมสฺส ทิสฺวา เอวํ วทามีติ ฯ สา ปโรทิ ฯ อถ นํ  “กสฺมา โรทสีติ  ปุจฺฉิตฺวา, ตาย ตสฺส อตฺตโน สามิกภาเว อกฺขาเต, อาห  “มา ภทฺเท โรทิ, ชาตสฺส นาม นิยโต  มจฺจูติ ฯ  “ชานามิ อยฺยาติ ฯ  “อถ กสฺมา โรทสีติ ฯ  “ปุตฺโต เม กุลสนฺตกสฺส รชฺชสฺส อนุจฺฉวิโก; สเจ ตตฺรายํ ภวิสฺสติ, เสตจฺฉตฺตํ อุสฺสาปยิสฺสติ; อิทานิ มหาชานิโก วต ชาโตติ โสเกน โรทามิ  อยฺยาติ ฯ  “โหตุ ภทฺเท, มา จินฺตยิ; สจสฺส รชฺชํ ปตฺเถสิ, อหมสฺส รชฺชลภนาการํ กริสฺสามีติ, อถสฺส หตฺถิกนฺตวีณญฺเจว หตฺถิกนฺตมนฺเต จ อทาสิ ฯ ตทา อเนกานิ หตฺถิสตสหสฺสานิ อาคนฺตฺวา  วฏฺฏรุกฺขมูเล นิสีทนฺติ ฯ อถ นํ อาห  “หตฺถีสุ อนาคเตสุเยว, รุกฺขํ อภิรุหิตฺวา, เตสุ อาคเตสุ, อิมํ  มนฺตํ วตฺวา อิมํ ตนฺตึ ปหร; สพฺเพ นิวตฺติตฺวา โอโลเกตุํ ปิ อสกฺโกนฺตา ปลายิสฺสนฺติ, อโถตริตฺวา อาคจฺเฉยฺยาสีติ ฯ โส ตถา กตฺวา อาคนฺตฺวา ตํ ปวตฺตึ อาโรเจสิ ฯ อถสฺส มาตรํ อามนฺเตตฺวา  “ภทฺเท ปุตฺตสฺส เต สาสนํ เทหิ, เอโต ว คนฺตฺวา ราชา ภวิสฺสตีติ อาห ฯ สา ปุตฺตํ อามนฺเตตฺวา  “ตาต ตฺวํ โกสมฺพิยํ ปรนฺตปรญฺโญ ปุตฺโตติ วตฺวา เสนาปติอาทีนํ นามานิ อาจิกฺขิตฺวา   “อสทฺทหนฺตานํ อิมํ ปิตุ ปารุปนกมฺพลญฺเจว ปิลนฺธนมุทฺทิกญฺจ ทสฺเสยฺยาสีติ วตฺวา อุยฺโยเชสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๗-๘)

๒. กุมาโร ตาปสํ  “อิทานิ กึ กโรมีติ อาห ฯ  “รุกฺขสฺส เหฏฺฐิมสาขาย นิสีทิตฺวา อิมํ มนฺตํ  วตฺวา อิมํ ตนฺตึ ปหร; เชฏฺฐหตฺถี เต ปิฏฺฐึ อุปนาเมตฺวา อุปสงฺกมิสฺสติ, ตฺวํ ตสฺส ปิฏฺฐิยํ นิสินฺโน ว คนฺตฺวา รชฺชํ คณฺหาหีติ ฯ โส มาตาปิตโร วนฺทิตฺวา ตถา กตฺวา อาคตสฺส หตฺถิโน ปิฏฺฐิยํ นิสีทิตฺวา ตํ กณฺเณ มนฺตยิ  “อหํ โกสมฺพิยํ ปรนฺตปรญฺโญ ปุตฺโต, เปตฺติกํ เม รชฺชํ คณฺหิตฺวา เทหิ สามีติ ฯ  โส ตํ สุตฺวา  “อเนกานิ หตฺถิสหสฺสานิ สนฺนิปตนฺตูติ หตฺถิรวํ รวิ ฯ อเนกานิ หตฺถิสหสฺสานิ  สนฺนิปตึสุ ฯ โส อเนเกหิ โยธหตฺถิสหสฺเสเหว ปริวุโต ปจฺจนฺตคามํ ปตฺวา  “อหํ รญฺโญ ปุตฺโต สมฺปตฺตึ, ปตฺถยมานา มยา สทฺธึ อาคจฺฉนฺตูติ ตโต ปฏฺฐาย มนุสฺสสงฺคหํ กโรนฺโต คนฺตฺวา นครํ  ปริวาเรตฺวา  “ยุทฺธํ วา เม เทนฺตุ รชฺชํ วาติ สาสนํ เปเสสิ ฯ นาครา อาหํสุ  “มยํ เทฺวปิ น ทสฺสาม,  อมฺหากํ หิ เทวี ครุคพฺภา หตฺถิลิงฺคสกุเณน นีตา, ตสฺสา อตฺถิภาวํ วา นตฺถิภาวํ วา น ชานาม;  ยาว ตสฺสา ปวตฺตึ น สุโณม, ตาว เนว ยุทฺธํ ทสฺสาม น รชฺชนฺติ ฯ ตทา กิร ตํ ปเวณิรชฺชํ อโหสิ ฯ ตโต กุมาโร  “อหํ ตสฺสา ปุตฺโตติ วตฺวา เสนาปติอาทีนํ นามานิ กเถตฺวา ตถาปิ อสทฺทหนฺตานํ  รตฺตกมฺพลญฺจ มุทฺทิกญฺจ ทสฺเสสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง อ.ดาบส ตรวจดูอยู่ ซึ่งความประกอบแห่งนักษัตร เห็นแล้ว ซึ่งความบีบคั้นแห่งนักษัตร ของพระราชาพระนามว่าปรันตปะ กล่าวแล้วว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ  อ.พระราชาพระนามว่าปรันตปะ ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี สวรรคตแล้ว ดังนี้ ฯ อ.พระเทวี ตรัสถามแล้วว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อ.ท่าน ย่อมกล่าว อย่างนี้ เพราะเหตุไร อ.ความอาฆาต กับ ด้วยพระราชาพระนามว่าปรันตปะ นั้น มีอยู่ แก่ท่าน หรือ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส กล่าวแล้วว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ อ.ความอาฆาต กับ ด้วยพระราชาพระนามว่าปรันตปะนั้น ย่อมไม่มี แก่เรา อ.เรา เห็นแล้ว ซึ่งความบีบคั้นแห่งนักษัตร ของพระราชาพระนามว่าปรันตปะ นั้น ย่อมกล่าว อย่างนี้ ดังนี้ ฯ  อ.พระเทวี นั้น กันแสงแล้ว ฯ ครั้งนั้น อ.ดาบส ถามแล้ว ซึ่งพระทวี นั้นว่า อ.เธอ ย่อมร้องไห้ เพราะเหตุไร ดังนี้ ครั้นเมื่อความที่แห่งพระราชาพระนามว่าปรันตปะนั้น เป็นพระสวามี ของพระองค์ อันพระเทวี นั้น ตรัสบอกแล้ว กล่าวแล้วว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ อ.เธอ อย่าร้องให้แล้ว  อ.ความตาย ชื่อ แห่งสัตว์ ผู้เกิดแล้ว แน่นอนแล้ว ดังนี้ ฯ อ.พระเทวี ตรัสแล้วว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อ.ดิฉัน ย่อมรู้ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ถามแล้วว่า ครั้นเมื่อ ความเป็น อย่างนั้น มีอยู่ อ.เธอ ย่อมร้องไห้ เพราะเหตุไร ดังนี้ ฯ อ.พระเทวี ตรัสแล้วว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อ.ดิฉัน ย่อมร้องไห้ เพราะความโศกว่า อ.บุตร ของดิฉัน เป็นผู้สมควรแก่ความเป็นแห่งพระราชา อันเป็นของมีอยู่แห่งตระกูล ย่อมเป็น ถ้าว่า อ.บุตร ของดิฉัน นี้ จักมี ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี นั้นไซร้ อ.บุตร ของดิฉัน นี้ ยังบุคคล จักให้ยกขึ้น ซึ่งเศวตฉัตร ในกาลนี้ อ.บุตร ของดิฉัน เป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่หนอ เกิดแล้ว ดังนี้ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส กล่าวแล้วว่า ดูก่อนางผู้เจริญ อ.เหตุนั้น จงยกไว้ อ.เธอ อย่าคิดแล้ว ถ้าว่า  อ.เธอ ย่อมปรารถนา ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา แก่บุตร นั้นไซร้ อ.รา จักกระทำ ซึ่งอาการคืออันได้ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา แก่บุตร นั้น ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.ดาบส ได้ให้แล้ว ซึ่งพิณอันยังช้างให้ใคร่ด้วยนั่นเทียว ซึ่งมนต์อันยังช้างให้ใคร่ ท. ด้วย แก่พระกุมาร นั้น ฯ ในกาลนั้น อ.แสนแห่งช้าง ท. มิใช่หนึ่ง มาแล้ว ย่อมนั่ง ที่โคนแห่งต้นไทรย้อย ฯ ครั้งนั้น อ.ดาบส กล่าวแล้วว่า ครั้นเมื่อช้าง ท. ไม่มาแล้วนั่นเทียว อ.เจ้า ขึ้นเฉพาะแล้ว สู่ต้นไม้ ครั้นเมื่อ ช้าง ท. เหล่านั้น มาแล้ว ร่ายแล้ว ซึ่งมนต์ นี้ จงดีด ซึ่งสาย นี้ อ.ช้าง ท. ทั้งปวง ไม่อาจอยู่ แม้เพื่ออันกลับแล้วแลดู จักหนีไป ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น มีอยู่ อ.เจ้า ข้ามลงแล้ว พึงมา ดังนี้ กะพระกุมารนั้น ฯ อ.พระกุมาร นั้น ทรงกระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น เสด็จมาแล้ว กราบทูลแล้ว ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั่ว นั้น ฯ ครั้งนั้น  อ.ดาบส เรียกมาแล้ว ซึ่งพระมารดา ของพระกุมาร นั้น กล่าวแล้วว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ อ.เธอ จงให้ ซึ่งสาส์น แก่บุตรของเธอ อ.บุตร ของเธอ ไปแล้ว จากที่นี้เทียว เป็นพระราชา จักเป็น ดังนี้ ฯ อ.พระเทวี นั้น ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งพระโอรส ตรัสแล้วว่า แน่ะพ่อ อ.เจ้า เป็นโอรส ของพระราชาพระนามว่าปรันตปะ ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี ย่อมเป็น ดังนี้ ตรัสบอกแล้ว ซึ่งชื่อ ท. ของอิสรชน ท. มีเสนาบดีเป็นต้น ตรัสแล้วว่า อ.เจ้า พึงแสดง ซึ่งผ้ากัมพลเป็นเครื่องห่มด้วยนั่นเทียว ซึ่งพระธำมรงค์เป็นเครื่องประดับด้วย ของพระบิดา นี้ แก่ชน ท. ผู้ไม่เชื่ออยู่ ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระกุมารกล่าวกะดาบสว่า บัดนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ฯ ดาบส กล่าวว่า เจ้าจงนั่งบนกิ่งข้างล่างของต้นไม้ ร่ายมนต์บทนี้ ดีดสายพิณสายนี้ ช้างจ่าฝูงจักน้อมหลังเข้ามาหาเจ้า เจ้านั่งบนหลังของมันนั่นแหละ จงไปยึดเอาราชสมบัติ ฯ พระกุมารนั้นไหว้ พระบิดาและพระมารดาแล้ว ทรงทำตามนั้นแล้ว นั่งบนหลังของช้างตัวที่มาแล้วกระซิบบอกช้างนั้นใกล้หูว่า ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพระเจ้าปรันตปะในกรุงโกสัมพี ขอท่าน จงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของพระบิดาแล้วให้แก่ข้าพเจ้าเถิดนาย ฯ ช้างจ่าฝูงนั้น ฟังคำนั้นแล้วร้องเป็นเสียงช้างว่า ช้างจงมาประชุมกันหลาย ๆ พัน ฯ ช้างหลายพันมาประชุมกันแล้ว ฯ พระกุมารนั้น อันช้างศึกตั้งหลายพันพากันแวดล้อมแล้ว ถึงบ้านปลายแดนแล้วประกาศว่า เราเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินผู้ที่ปรารถนาสมบัติจงมากับเรา ตั้งแต่นั้นไป ก็ทรงทำการรวบรวมผู้คน ไปล้อมพระนครไว้แล้วส่งสาส์นไปว่า จะให้เรารบหรือจะให้ราชสมบัติ ฯ ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราจักไม่ให้ทั้ง ๒ อย่าง เพราะว่าพระเทวีของพวกเรามีพระครรภ์แก่ ถูกนกหัสดีลิงค์พาไปแล้ว เราทั้งหลายไม่ทราบว่าพระนางยังมีพระชนม์อยู่หรือว่าไม่มี พวกเราไม่ใด้ยินเรื่องราวของพระนาง ตราบใด พวกเราจักไม่ให้ทั้งการรบ จักไม่ให้ราชสมบัติ ตราบนั้น ฯ ได้ยินว่าความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยสืบเชื่อสายนั้นได้มีแล้วในกาลนั้น ฯ ลำดับนั้น พระกุมาร จึงตรัสว่า ฉันเป็นบุตรของพระนาง แล้วอ้างชื่อเสนาบดีเป็นต้น เมื่อพวกชาวเมืองเหล่านั้นไม่เชื่อถือแม้อย่างนั้น จึงแสดงผ้ากัมพลแดงและพระธำมรงค์ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(กุมภโฆสกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๖๗-๖๘)

๑. อถสฺส (กุมฺภโฆสกสฺส) เอกทิวสํ ราชา พิมฺพิสาโร สทฺทมสฺโสสิ ฯ โส ปน สพฺพรวญฺญู อโหสิ; ตสฺมา  “มหาธนสฺส ปุริสสฺเสโส สทฺโทติ อาห ฯ อถสฺส สนฺติเก ฐิตา เอกา ปริจาริกา   “ราชา ยํ วา ตํ วา น กเถสฺสติ, อิมํ มยา ญาตุํ วฏฺฏตีติ จินฺเตตฺวา  “คจฺฉ ตาต เอตํ ชานาหีติ เอกํ  ปุริสํ ปหิณิ ฯ  โส เวเคน คนฺตฺวา ตํ ทิสฺวา อาคนฺตฺวา  “เอโก ภตกานํ ภติการโก กปณมนุสฺโส  เอโสติ อาโรเจสิ ฯ ราชา ตสฺส วจนํ สุตฺวา ตุณฺหี หุตฺวา ทุติยทิวเสปิ ตติยทิวเสปิ ตสฺส สทฺทํ สุตฺวา ตเถวาห ฯ สาปิ ปริจาริกา ตเถว จินฺเตตฺวา ปุนปฺปุนํ เปเสตฺวา,  “กปณมนุสฺโสติ วุตฺเต, จินฺเตสิ   “ราชา ‘กปณมนุสฺโส เอโสติ วจนํ สุตฺวาปิ น สทฺทหติ, ปุนปฺปุนํ  ‘มหาธนสฺส ปุริสสฺเสโส  สทฺโทติ วทตีติ ฯ สา ราชานํ อาห  “เทว อหํ สหสฺสํ ลภมานา ธีตรํ อาทาย คนฺตฺวา เอตํ ธนํ  ราชกุลํ ปเวเสสฺสามีติ ฯ ราชา ตสฺสา สหสฺสํ ทาเปสิ ฯ สา ตํ คเหตฺวา ธีตรํ เอกํ มลีนธาตุกํ วตฺถํ  นิวาเสตฺวา ตาย สทฺธึ ราชเคหโต นิกฺขมิตฺวา มคฺคปฏิปนฺนา วิย ภตกวีถึ คนฺตฺวา เอกํ ฆรํ  ปวิสิตฺวา  “อมฺม มยํ มคฺคปฏิปนฺนา เอกาหทฺวีหํ อิธ วิสฺสมิตฺวา คมิสฺสามาติ อาห ฯ  “อมฺม พหูนิ ฆรมานุสกานิ, น สกฺกา อิธ วสิตุํ, เอตํ กุมฺภโฆสกสฺส เคหํ ตุจฺฉํ, ตตฺถ คจฺฉถาติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(กุมภโฆสกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๖๘-๖๙)

๒. สา ตตฺถ คนฺตฺวา  “สามิ มยํ มคฺคิกา เอกาหทฺวีหํ อิธ วสิสฺสามาติ วตฺวา เตน ปุนปฺปุนํ ปฏิกฺขิตฺตาปิ  “สามิ อชฺเชกทิวสมตฺตํ วสิตฺวา ปาโต ว คมิสฺสามาติ นิกฺขมิตุํ น อิจฺฉิ ฯ สา ตตฺเถว วสิตฺวา ปุนทิวเส ตสฺส อรญฺญคมนเวลาย  “สามิ ตว นิวาปํ ทตฺวา ยาหิ, อหนฺเต ปจิสฺสามีติ วตฺวา,  “อลํ อหเมว ปจิตฺวา ภุญฺชิสฺสามีติ วุตฺเต, ปุนปฺปุนํ นิพนฺธิตฺวา, เตน ทินฺเน คหิตมตฺตเกเยว กตฺวา  อนฺตราปณโต โภชนานิ เจว ปริสุทฺธตณฺฑุลาทีนิ จ อาหราเปตฺวา ราชกุเล ปจนนิยาเมน สุปริสุทฺธํ โอทนํ สาธุรสานิ จ เทฺว ตีณิ สูปพฺยญฺชนานิ ปจิตฺวา ตสฺส อรญฺญโต อาคตสฺส อทาสิ ฯ อถ นํ  ภุญฺชิตฺวา มุทุจิตฺตตํ อาปนฺนํ ญตฺวา,  “สามิ กิลนฺตมฺห, เอกาหทฺวีหํ อิเธว โหมาติ อาห ฯ โส   “สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิ ฯ อถสฺส สายมฺปิ ปุนทิวเสปิ มธุรภตฺตํ ปจิตฺวา อทาสิ ฯ อถ มุทุจิตฺตตญฺจสฺส  ญตฺวา  “สามิ กติปาหํ อิเธว วสิสฺสามาติ ตตฺถ วสมานา ติขิเณน สตฺเถน ตสฺส มญฺจฏฺฐานํ  เหฏฺฐาอฏนิยํ ตหํ ตหํ ฉินฺทิ ฯ มญฺโจ ตสฺมึ อาคนฺตฺวา นิสินฺนมตฺเตเยว เหฏฺฐา โอลมฺพิ ฯ โส  “กสฺมา อยํ มญฺโจ เอวํ ฉิชฺชิตฺวา คโตติ อาห ฯ  “สามิ ทหรทารเก นิวาเรตุํ น สกฺโกมิ, อาคนฺตฺวา เอตฺเถว สนฺนิปตนฺตีติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง อ.พระราชา พระนามว่าพิมพิสาร ได้ทรงสดับแล้ว ซึ่งเสียง ของนายกุมภโฆสกะ นั้น ฯ ก็ อ.พระราชา นั้น เป็นผู้ทรงทราบซึ่งเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวงโดยปกติได้เป็นแล้ว เพราะเหตุนั้น อ.พระราชานั้น ตรัสแล้วว่า อ.เสียง นั่น เป็นเสียง ของบุรุษ ผู้มีทรัพย์มาก ย่อมเป็นดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.นางสนมคนหนึ่ง ผู้ยืนแล้ว ในที่ใกล้ของพระราชา นั้น คิดแล้วว่า  อ.พระราชา จักไม่ตรัส ซึ่งพระดำรัส ใด หรือ หรือว่าซึ่งพระดำรัส นั้น อ.อันอันเรา รู้ ซึ่งหตุ นี้๑ ย่อมควร ดังนี้ ส่งไปแล้วซึ่งบุรุษ คนหนึ่ง ด้วยคำ ว่า แน่ะพ่อ อ.ท่าน จงไป อ.ท่าน จงรู้ซึ่งบุรุษ นั่น ดังนี้ ฯ อ.บุรุษ นั้น ไปแล้ว โดยเร็ว เห็นแล้วซึ่งนายกุมภโฆสกะ นั้น มาแล้ว บอกแจ้งแล้วว่า  อ.บุรุษ นั้น เป็นมนุษย์ผู้กำพร้า ผู้กระทำซึ่งการรับจ้าง ของนายจ้าง ท. คนหนึ่ง ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ  อ.พระราชาทรงสดับแล้ว ซึ่งคำ ของบุรุษ นั้น เป็นผู้นิ่ง เป็น ทรงสดับแล้ว ซึ่งเสียงของนายกุมภโฆสกะนั้น แม้ในวันที่สอง แม้ในวันที่สาม ตรัสแล้ว อย่างนั้นนั่นเทียว ฯ อ.นางสนม แม้นั้น คิดแล้ว อย่างนั้นนั่นเทียว ส่งไปแล้ว (ซึ่งบุรุษ) บ่อย ๆ ครั้นเมื่อคำว่า อ.บุรุษ นั่น เป็นมนุษย์กำพร้า ย่อมเป็นดังนี้ อันบุรุษนั้น กล่าวแล้ว คิดแล้วว่า อ.พระราชา แม้ทรงสดับแล้ว ซึ่งคำว่า อ.บุรุษ นั่น เป็นมนุษย์ผู้กำพร้า ย่อนเป็น ดังนี้ ย่อมไม่ทรงเชื่อย่อมตรัสว่า อ.เสียง นั่น เป็นเสียง ของบุรุษ ผู้มีทรัพย์มาก ย่อนเป็น ดังนี้ บ่อย ๆ ดังนี้  ฯ อ.นางสนม นั้น กราบทูลแล้วว่าข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ.หม่อมฉัน ได้อยู่ ซึ่งพันแห่งทรัพย์ พาเอาแล้วซึ่งธิดา ไปแล้ว ยังทรัพย์ นั่น จักให้เข้าไป สู่ราชตระกูล ดังนี้ กะพระราชา ฯ อ.พระราชา ทรงยังบุคคล ให้พระราชทานแล้ว ซึ่งพันแห่งทรัพย์ แก่นางสนม นั้น ฯ อ.นางสนม นั้น ถือเอาแล้ว ซึ่งพันแห่งทรัพย์ นั้น ยังธิดา ให้นุ่งแล้วซึ่งผ้า อันมีธาตุเศร้าหมอง ผืนหนึ่ง ออกไปแล้ว จากพระราชวัง กับด้วยธิดา นั้น เป็นผู้ราวกะว่าดำเนินไปแล้วสู่หนทางไปแล้ว สู่ถนนอันที่อยู่ของนายจ้าง เข้าไปแล้ว สู่เรือน หลังหนึ่ง กล่าวแล้วว่า ดูก่อนแม่ อ.รา ท. เป็นผู้ดำเนินไปแล้วสู่หนทาง เป็น พักผ่อนแล้ว ในเรือน นี้ สิ้นวันหนึ่งและวันสอง จักไป ดังนี้ ฯ อ.หญิงนั้น กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนแม่ อ.ประชุมแห่งมนุษย์ในเรือน ท. มาก มีอยู่ อันท่าน ท. ไม่อาจ เพื่ออันอยู่ในเรือน นี้ อ.เรือน ของนายกุมภโฆสกะ นั่น เป็นเรือนว่าง ย่อมเป็นอ.ท่าน ท. จงไป ในเรือน นั้น ดังนี้ ฯ

ในหนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๒ บาลีว่า “อิมํ” แปลว่า “ซึ่งบุรุษนี้”
อีกนัยหนึ่ง แปลเป็นประโยคลิงคัตถะว่า “อ.มนุษย์ผู้กำพร้า ดังนี้” ก็ได้

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. นางสนมนั้น ไปที่เรือนของกุมภโฆสกนั้นแล้ว กล่าวว่า นายจ๋า พวกเราเป็นคนเดินทาง จักขอพักอยู่ในเรือนนี้สักวัน ๒ วัน แม้ถูกเขาห้ามบ่อย ๆ แล้ว ก็พูดว่านายจ๋า พวกเราจักขอพักอยู่ชั่ววันนี้วันเดียวพอเช้าตรู่ก็จักไป ไม่ปรารถนาจะออกไปแล้ว ฯ นางพักอยู่ในเรือนของ- กุมภโฆสกนั้นนั่นแล วันรุ่งขึ้นในเวลาที่เขาจะไปป่าจึงพูดว่า นายจ๋าขอนายจงมอบค่าอาหารสำหรับนายไว้แล้วจึงค่อยไป ฉันจักจัดแจงหุงต้มไว้เพื่อนาย เมื่อเขากล่าวว่า อย่าเลย ฉันจักหุงต้มกินเองก็ได้ จึงรบเราบ่อย ๆ เข้า จนสำเร็จทำทรัพย์ที่เขาให้ให้เป็นสักว่าอันตนได้รับไว้แล้วทีเดียว ให้นำโภชนะและสิ่งต่าง ๆ มีข้าวสารที่บริสุทธิ์เป็นต้นมาจากร้านตลาด หุงข้าวสุกให้ละมุนละไมดีและปรุงแกงกับ ๒-๓ อย่างซึ่งมีรสอร่อย โดยเยี่ยงอย่างหุงต้มในราชสกุล ได้ให้แก่กุมภโฆสกผู้มากป่า ฯ ครั้งนั้นนางทราบเขาบริโภคอาหารนั้นแล้วถึงความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนลง จึงพูดว่า นายจ๋าพวกเราเป็นผู้เมื่อยล้าขอพักอยู่ในเรือนนี้แลสักวัน ๒ วันเถอะ ฯ เขารับคำว่า ได้จ้ะ ฯ ทีนั้นนางก็ปรุงอาหารที่เอร็ดอร่อยทั้งเวลาเย็นทั้งวันรุ่งขึ้นแล้วได้ให้แก่เขา ฯ และต่อมา นางรู้ว่าเขาเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนแล้วก็วิงวอนอีกว่า นายจ๋าพวกเราจักอยู่ในเรือนนี้แลสัก ๒-๓ วัน ดังนี้แล้วอยู่ในเรือนนั้นใช้ศัสตราอันคมตัดฐานเตียงของเขาภายใต้แม่แคร่ในที่นั้น ๆ ฯ พอเมื่อเขามานั่งลงเท่านั้นเตียงก็ทรุดลงเบื้องล่าง ฯ เขากล่าวว่า ทำไมเตียงนี้จึงขาดไปอย่างนี้ ฯ นางสนมก็บอกว่า นายจ๋าฉันไม่อาจห้ามพวกเด็กหนุ่ม ๆ ได้ พวกเขามาประชุมเล่นกันในที่นี้นะซิ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

แปลโดยพยัญชนะ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๖-๗)

๑. อเถกทิวสํ ราชา อุปริปาสาเท  ฐิโต อนฺตรวีถึ โอโลกยมาโน  “อนาถปิณฺฑิกสฺส  จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส วิสาขาย สุปฺปวาสายาติ เอเตสํ เคเห ภตฺตกิจฺจตฺถาย คจฺฉนฺเต  อเนกสหสฺเส ภิกฺขู ทิสฺวา  “กหํ อยฺยา คจฺฉนฺตีติ ปุจฺฉิตฺวา,  “เทว อนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห  นิจฺจภตฺตสลากภตฺตคิลานภตฺตาทีนํ อตฺถาย เทวสิกํ เทฺว ภิกฺขุสหสฺสานิ คจฺฉนฺติ,  จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส เคหํ ปญฺจสตา ภิกฺขู นิจฺจํ คจฺฉนฺติ, ตถา วิสาขาย, ตถา สุปฺปวาสายาติ  วุตฺเต, สยํปิ ภิกฺขุสงฺฆํ อุปฏฺฐหิตุกาโม วิหารํ คนฺตฺวา ภิกฺขุสหสฺเสน สทฺธึ สตฺถารํ นิมนฺเตตฺวา  สตฺตาหํ สหตฺถา ทานํ ทตฺวา สตฺตเม ทิวเส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา  “ภนฺเต ปญฺจหิ เม ภิกฺขุสเตหิ  สทฺธึ นิพทฺธํ ภิกฺขํ คณฺหถาติ อาห ฯ สตฺถา อานนฺทตฺเถรสฺส ภารมกาสิ ฯ ราชา  “ภิกฺขุสงฺเฆ  อาคเต ปตฺตํ คเหตฺวา อิเม นาม ปริวิสนฺตูติ อวิจาเรตฺวา สตฺตาหํ สยเมว ปริวิสิตฺวา อฏฺฐเม  ทิวเส วิกฺขิตฺโต ปปญฺจํ อกาสิ ฯ ราชกุเล จ นาม อนาณตฺตา อาสนานิ ปญฺญาเปตฺวา ภิกฺขู  นิสีทาเปตฺวา ปริวิสิตุํ น ลภนฺติ ฯ ภิกฺขู  “น มยํ อิธ ฐาตุํ สกฺขิสฺสามาติ พหู ปกฺกมึสุ ฯ ราชา  ทุติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ฯ ทุติยทิวเสปิ พหู ปกฺกมึสุ ฯ ตติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ฯ ตทา อานนฺทตฺเถรํ  เอกกเมว ฐเปตฺวา อวเสสา ปกฺกมึสุ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๗-๘)

๒. ปุญฺญวนฺตา นาม การณวสิกา โหนฺติ กุลานํ ปสาทํ รกฺขนฺติ ฯ ตถาคตสฺส จ   “สารีปุตฺตตฺเถโร มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโรติ เทฺว อคฺคสาวกา,  “เขมา อุปฺปลวณฺณาติ เทฺว  อคฺคสาวิกา, อุปาสเกสุ  “จิตฺโต คหปติ หตฺถโก อาฬวโกติ เทฺว อคฺคสาวกา, อุปาสิกาสุ  “เวฬุกณฺฏกี นนฺทมาตา ขุชฺชุตฺตราติ เทฺว อคฺคสาวิกา; อิติ อิเม อฏฺฐ ชเน อาทึ กตฺวา  ฐานนฺตรปฺปตฺตา สพฺเพปิ สาวกา เอกเทเสน ทสนฺนํ ปารมีนํ ปูริตตฺตา มหาปุญฺญา  อภินีหารสมฺปนฺนา ฯ

อานนฺทตฺเถโรปิ กปฺปสตสหสฺสปูริตปารมี อภินีหารสมฺปนฺโน มหาปุญฺโญ อตฺตโน  การณวสิกตาย กุลสฺส ปสาทํ รกฺขนฺโต อฏฺฐาสิ ฯ ตํ เอกกเมว นิสีทาเปตฺวา ปริวิสึสุ ฯ ราชา  ภิกฺขูนํ คตกาเล อาคนฺตฺวา ขาทนียโภชนียานิ ตเถว  ฐิตานิ ทิสฺวา  “กึ อยฺยา นาคมึสูติ ปุจฺฉิตฺวา “อานนฺทตฺเถโร เอกโก ว อาคโต เทวาติ สุตฺวา  “อทฺธา เอตฺตกมฺเม เฉทนมกํสูติ ภิกฺขูนํ กุทฺโธ  สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา  “ภนฺเต มยา ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ ภิกฺขา ปฏิยตฺตา, อานนฺทตฺเถโร กิร เอกโก ว อาคโต, ปฏิยตฺตภิกฺขา ตเถว  ฐิตา, ปญฺจสตา ภิกฺขู มม เคเห สญฺญํ น กรึสุ; กินฺนุ โข การณนฺติ  อาห ฯ สตฺถา ภิกฺขูนํ โทสํ อวตฺวา  “มหาราช มม สาวกานํ ตุมฺเหหิ สทฺธึ วิสฺสาโส นตฺถิ, เตน  น คตา ภวิสฺสนฺตีติ วตฺวา กุลานํ อนุปคมนการณญฺจ อุปคมนการณญฺจ ปกาเสนฺโต ภิกฺขู  อามนฺเตตฺวา อิมํ สุตฺตมาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง อ.พระราชา ประทับยืนอยู่แล้ว ในเบื้องบนแห่งปราสาท ทรงแลดูอยู่ ซึ่งระหว่างแห่งถนน ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ผู้มีพันมิใช่หนึ่ง ผู้ไปอยู่ เพื่อประโยชน์แก่กิจด้วยภัต ในเรือนของชน ท. เหล่านั่น คือ ของมหาเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบิณฑิกะ ของมหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ของอุบาสิกาชื่อว่าสุปปวาสา ตรัสถามแล้วว่า อ.พระผู้เป็นเจ้า ท. ย่อมไป ในที่ไหน ดังนี้, ครั้นเมื่อคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ.พันแห่งภิกษุ ท. สอง ย่อมไป ในเรือน ของมหาเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ทุก ๆ วัน เพื่อประโยชน์ แก่ภัต ท. มีนิตยภัตและสลากภัตและคิลานภัตเป็นต้น, อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไปสู่เรือนของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบิณฑิกะ ตลอดดกาลเป็นนิตย์, อ.เหมือนอย่างนั้นคือว่า อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือนของมหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ตลอดกาลเป็นนิตย์,  อ.เหมือนอย่างนั้น คือว่า อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือนของอุบาสิกาชื่อว่าสุปปวาสา ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้ อันราชบุรุษ ท. กราบทูลแล้ว, เป็นผู้ใคร่เพื่ออันบำรุงซึ่งหมู่แห่งภิกษุ แม้เอง เป็น เสด็จไปแล้ว สู่วิหาร ทรงนิมนต์แล้ว ซึ่งพระศาสดา กับ ด้วยพันแห่งภิกษุ ทรงถวายแล้ว ซึ่งทาน ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ตลอดวันเจ็ด ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา ในวัน ที่ ๗ กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.พระองค์ กับ ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า ขอจงทรงรับ ซึ่งภิกษา ของหม่อมฉัน เนืองนิตย์ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ได้ทรงกระทำแล้ว ให้เป็นภาระ ของพระเถระชื่อว่าถานนท์ ฯ อ.พระราชา ไม่ทรงจัดการแล้วว่า ครั้นเมื่อหมู่แห่งภิกษุ มาแล้ว,  อ.ชน ท. ชื่อ เหล่านี้ รับแล้ว ซึ่งบาตร จงอังคาส ดังนี้ ทรงอังคาสแล้ว เองนั่นเทียว ตลอดวันเจ็ด ทรงลืมแล้ว ได้ทรงกระทำแล้ว ซึ่งความเนิ่นช้า ในวันที่แปด ฯ ก็ อ.ชน ท. ผู้ อันพระราชาไม่ทรงบังคับแล้ว ชื่อ ในตระกูลของพระราชา ย่อมไม่ได้ เพื่ออันปูลาด ซึ่งอาสนะ ท.แล้ว จึงยังภิกษุ ท. ให้นั่งแล้ว จึงอังคาส ฯ อ.ภิกษุ ท. คิดแล้ว ว่า อ.เรา ท.จักไม่อาจ เพื่ออันดำรงอยู่ ในที่นี้ ดังนี้ เป็นผู้มาก เป็น หลีกไปแล้ว ฯ อ.พระราชา ทรงลืมแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ อ.ภิกษุ ท. ผู้มาก หลีกไปแล้ว แม้ในวันที่สอง ฯ อ.พระราชา ทรงลืมเเล้ว แม้ในวันที่สาม ฯ ในกาลนั้น อ.ภิกษุ ท. ผู้เหลือลง เว้น ซึ่งพระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้ผู้เดียวนั่นเทียว หลีกไปแล้ว ฯ

หรือแปลว่า อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือนของมหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ตลอดกาลเป็นนิตย์ เหมือนอย่างนั้น
หรือแปลว่า อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือนของอุบาสิกาชื่อว่าสุปปวาสา ตลอดกาลเป็นนิตย์ เหมือนอย่างนั้น
หรือแปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.พระองค์ ขอจงทรงรับ ซึ่งภิกษา ของหม่อมฉัน เนื่องนิตย์กับ ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ท.ห้า ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ธรรรมดาภิกษุทั้งหลายผู้มีบุญ ย่อมเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ จึงรักษาความเลื่อมใสแห่งตระกูลทั้งหลายไว้ได้ ฯ ก็สาวกของพระตถาคต แม้ทั้งหมดผู้ใด้รับฐานันดรตั้งต้นแต่ชนทั้ง ๘ เหล่านี้ คือพระอัครสาวก ๒ องค์ คือพระสารีบุตรเถระพระมหาโมคคัลลานเถระ, พระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือพระเถรีชื่อว่าเขมา พระเถรีชื่อว่าอุบลวรรณา, บรรดาอุบาสกทั้งหลาย อุบาสกผู้เป็นอัครสาวก ๒ คน คือ จิตตคฤหบดี หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี, บรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย อุบาสิกา ผู้เป็นอัครสาวิภา ๒ คน คือมารดาของนันทมาณพชื่อเวฬุกัณฏกี อุบาสิกาชื่อว่า ขุชชุตตรา, เป็นผู้มีบุญมากสมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะความเป็นผู้บำเพ็ญบารมี ๑๐ โดยเอกเทศ ฯ

แม้พระอานนท์เถระผู้มีบารมีอันบำเพ็ญแล้วตั้งแสนกัป สมบูรณ์ด้วยอภินิหารมีบุญมาก เมื่อจะรักษาความเลื่อมใสของตระกูลจึงได้ยับยั้งอยู่ เพราะความที่ตนเป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ฯ เหล่าราชบุรุษนิมนต์ท่านรูปเดียวเท่านั้นให้นั่งแล้วอังคาส ฯ พระราชาเสด็จมาในเวลาที่เหล่าภิกษุไปแล้ว ทอดพระเนตรเห็นของเคี้ยวและของฉันทั้งหลาย ตั้งอยู่อย่างนั้นเหละจึงตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ ทรงสลับว่า พระอานทเถระมารูปเดียวเท่านั้น พระเจ้า ทรงพิโรธพระภิกษุทั้งหลายว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ทำการตัดขาดจากเราเพียงเท่านี้เป็นแน่ จึงเสด็จไปสำนักพระบรมศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้จัดแจงภิกษาไว้เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป ทราบว่า พระอานนทเถระรูปเดียวเท่านั้นมา ภิกษาที่หม่อมฉันจัดแจงแล้ว ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ภิกษุ ๕๐๐ รูปไม่ได้ทำความสำคัญในตำหนักของข้าพระองค์ เรื่องอะไรกันหนอ ฯ พระบรมศาสดาไม่ตรัสโทษของภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เหล่าสาวกของอาตมภาพไม่มีความคุ้นเคยกับมหาบพิตร เหล่าภิกษุคงจักไม่ได้ไปเพราะเหตุนั้น ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงประกาศเหตุแห่งการไม่เข้าไปและเหตุแห่งการเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสพระสูตรนี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(วิสาขาวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๖๗-๖๘)

๑. เตน โข ปน สมเยน สาวตฺถิยํ วิสาขา มิคารมาตา พหุปุตฺตา โหติ พหุนตฺตา อโรคปุตฺตา อโรคนตฺตา อภิมงฺคลสมฺมตา ฯ ตาวตเกสุ ปุตฺตนตฺตสหสฺเสสุ เอโกปิ อนฺตรา มรณปฺปตฺโต  นาม นาโหสิ ฯ สาวตฺถีวาสิโน มงฺคเลสุ ฉเณสุ วิสาขํ ปฐมํ นิมนฺเตตฺวา โภเชนฺติ ฯ อเถกสฺมึ  อุสฺสวทิวเส มหาชเน มณฺฑิตปฺปสาธิเต ธมฺมสฺสวนาย วิหารํ คจฺฉนฺเต, วิสาขาปิ นิมนฺติตฏฺฐาเน  ภุญฺชิตฺวา มหาลตาปสาธนํ ปสาเธตฺวา มหาชเนน สทฺธึ วิหารํ คนฺตฺวา อาภรณานิ มุญฺจิตฺวา  ทาสิยา อทาสิ, ยํ สนฺธาย วุตฺตํ  “เตน โข ปน สมเยน สาวตฺถิยํ อุสฺสโว โหติ, มนุสฺสา  อลงฺกตปฏิยตฺตา อารามํ คจฺฉนฺติ ฯ วิสาขาปิ มิคารมาตา อลงฺกตปฏิยตฺตา วิหารํ คจฺฉติ ฯ อถโข วิสาขา มิคารมาตา อาภรณานิ มุญฺจิตฺวา อุตฺตราสงฺเค ภณฺฑิกํ พนฺธิตฺวา ทาสิยา อทาสิ  “หนฺท  เช อิมํ ภณฺฑิกํ คณฺหาหีติ ฯ สา กิร วิหารํ คจฺฉนฺตี  “เอวรูปํ มหคฺฆํ ปสาธนํ สีเส ปฏิมุกฺกํ  ยาวปาทปฺปิฏฺฐึ อลงฺการํ อลงฺกริตฺวา วิหารํ ปวิสิตุํ อยุตฺตนฺติ ตํ มุญฺจิตฺวา ภณฺฑิกํ กตฺวา อตฺตโน  ปุญฺเญเนว นิพฺพตฺตาย ปญฺจหตฺถิตฺถามธราย ทาสิยา หตฺเถ อทาสิ ฯ สาเอว ตํ คณฺหิตุํ สกฺโกติ,  เตน ตํ อาห  “อมฺม อิมํ ปสาธนํ คณฺห, สตฺถุ สนฺติกา นิวตฺตนกาเล ปสาเธสฺสามิ นนฺติ ฯ ตํ ปน  ทตฺวา ฆนมฏฺฐกํ ปสาธนํ ปสาเธตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ธมฺมํ อสฺโสสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(วิสาขาวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๖๘-๖๙)

๒. ธมฺมสฺสวนาวสาเน ภควนฺตํ วนฺทิตฺวา อุฏฺฐายาสนา ปกฺกามิ ฯ สาปิสฺสา ทาสี ตํ ปสาธนํ ปมฺมุฏฺฐา ฯ ธมฺมํ สุตฺวา ปน ปกฺกนฺตาย ปริสาย, สเจ กิญฺจิ ปมฺมุฏฺฐํ โหติ, ตํ อานนฺทตฺเถโร  ปฏิสาเมติ ฯ อิติ โส ตํ ทิวสํ มหาลตาปสาธนํ ทิสฺวา สตฺถุ อาโรเจสิ  “ภนฺเต วิสาขา ปสาธนํ  ปมฺมุสฺสิตฺวา คตาติ ฯ  “เอกมนฺเต ฐเปหิ อานนฺทาติ ฯ เถโร ตํ อุกฺขิปิตฺวา โสปาณปสฺเส ลคฺเคตฺวา  ฐเปสิ ฯ วิสาขาปิ สุปฺปิยาย สทฺธึ  “อาคนฺตุกคมิกคิลานาทีนํ กตฺตพฺพยุตฺตกํ ชานิสฺสามีติ  อนฺโตวิหาเร วิจริ ฯ ตา ปน อุปาสิกาโย อนฺโตวิหาเร ทิสฺวา สปฺปิมธุเตลาทีหิ อตฺถิกา ปกติยา ว ทหรา จ สามเณรา จ ถาลกาทีนิ คเหตฺวา อุปสงฺกมนฺติ ฯ ตสฺมึปิ ทิวเส ตเถว กรึสุ ฯ วิสาขาปิ  คิลาเน ทหเร จ สามเณเร จ โอโลเกตฺวา อญฺเญน ทฺวาเรน นิกฺขมิตฺวา วิหารุปจาเร  ฐิตา  “อมฺม ปสาธนํ อาหร, ปสาเธสฺสามีติ อาห ฯ ตสฺมึ ขเณ สา ทาสี ปมฺมุสฺสิตฺวา นิกฺขนฺตภาวํ ญตฺวา  “อยฺเย  ปมฺมุฏฺฐมฺหีติ อาห ฯ  “เตนหิ คนฺตฺวา คณฺหิตฺวา เอหิ ; สเจ ปน มยฺหํ อยฺเยน อานนฺทตฺเถเรน  อุกฺขิปิตฺวา อญฺญสฺมึ ฐาเน ฐปิตํ โหติ, มา อาหเรยฺยาสิ, อยฺยสฺเสว ตํ มยา ปริจฺจตฺตนฺติ ฯ ชานาติ  กิร สา  “มนุสฺสานํ ปมฺมุฏฺฐภณฺฑกํ เถโร ปฏิสาเมตีติ;  ตสฺมา เอวมาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ก็ โดยสมัย นั้นแล อ.นางวิสาขา ผู้มิคารมารดา เป็นผู้มีลูกมาก เป็นผู้มีหลานมาก เป็นผู้มีลูกผู้มีโรคหามิได้ เป็นผู้มีหลานผู้มีโรคหามิได้ เป็นผู้อันบุคคลรู้พร้อมแล้วว่า เป็นมงคลยิ่ง ย่อมมี ในพระนครชื่อว่าสาวัตถี ฯ อ.-ในพันแห่งลูกและหลาน ท. ผู้มีประมาณเพียงนั้นหนา -บุคคล แม้คนหนึ่ง ชื่อว่า เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความตาย ในระหว่าง ไม่ได้มีแล้ว ฯ อ.ชน ท. ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าสาวัตถีโดยปกติ เชื้อเชิญแล้ว ซึ่งนางวิสาขา ก่อน ยังนางวิสาขา ย่อมให้บริโภค ในมหรสพ ท. อันเป็นมงคล ฯ ครั้งนั้น ครั้นเมื่อมหาชน ผู้อันบุคคลทั้งประดับแล้วทั้งตกแต่งแล้ว ไปอยู่ สู่วิหาร เพื่ออันฟังซึ่งซึ่งธรรม ในวันแห่งมหรสพ วันหนึ่ง, แม้ อ.นางวิสาขา บริโภคแล้ว ในที่แห่งตน อันบุคคล เชื่อเชิญแล้ว ประดับแล้ว ซึ่งเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดา ไปแล้ว สู้วิหาร กับ ด้วยมหาชน เปลื้องแล้ว ซึ่งอาภรณ์ ท. ได้ได้แล้ว แก่ – อ.คำ ว่า ก็ โดยสมัย นั้นแล อ.มหรสพ ย่อมมี ในพระนครชื่อว่าสาวัตถี, อ.มนุษย์ ท. ผู้อันบุคคลทั้งประดับแล้ว ทั้งตกแต่งแล้ว ย่อมไป สู่อาราม ฯ แม้ อ.นางวิสาขา ผู้มิคารมารดา ผู้อันบุคคล ทั้งประดับแล้วทั้งตกเต่งแล้ว ย่อมไป สู่วิหาร ฯครั้งนั้นแล อ.นางวิสาขา ผู้มิคารมารดา เปลื้องแล้ว ซึ่งอาภรณ์ ท. ผูกแล้วกระทำ ให้เป็นห่อมีภัณฑะ ที่ผ้าห่ม ได้ให้แล้ว แก่นางทาสี ด้วยคำ ว่า แน่ะสาวใช้ เอาเถิด อ.เจ้า จงถือเอา ซึ่งห่อมีภัณฑะ นี้ ดังนี้ ดังนี้ อันพระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวเเล้ว หมายเอา ซึ่งนางทาสี ใด, – นางทาสี นั้น ฯ ได้ยินว่า อ.นางวิสาขา นั้น ไปอยู่ สู่วิหาร คิดแล้ว ว่า อ.อัน อันเรา ประดับแล้ว ซึ่งเครื่องประดับ อันมีค่ามาก อันมีอย่างนี้เป็นรูป กระทำ ให้เป็นเครื่องประดับอันอันเรา สวมแล้ว ที่ศีรษะ เพียงไรแต่หลังแห่งเท้า เข้าไป สู่วิหารไม่ควรแล้ว ดังนี้ เปลื้องแล้ว ซึ่งเครื่องประดับ นั้น กระทำแล้ว ให้เป็นห่อมีภัณฑะ ได้ให้แล้ว ในมือ ของนางทาสี ผู้ทรงไว้ซึ่งเรี่ยวแรงแห่งช้างห้า ผู้บังเกิดแล้ว ด้วยบุญของตนนั่นเทียว ฯ อ.นางทาสี นั้นนั่นเทียว ย่อมอาจเพื่ออันถือเอาซึ่งเครื่องประดับ นั้น, เพราะเหตุนั้น อ.นางวิสาขา กล่าวแล้วว่า แน่ะแม่ อ.เจ้า จงถือเอา ซึ่งเครื่องประดับ นี้, อ.เรา จักประดับ ซึ่งเครื่องประดับ นั้น ในกาลเป็นที่กลับ จากสำนัก ของพระศาสดา ดังนี้ กะนางทาสี นั้น ฯ ก็ อ.นางวิสาขา ครั้นให้แล้ว ซึ่งเครื่องประดับ นั้น ประดับแล้ว ซึ่งเครื่องประดับชื่อว่าฆนมัฏฐกะ เข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา ได้ฟังแล้ว ซึ่งธรรม ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในที่สุดแห่งการฟังธรรม นางวิสาขา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว ฯ ฝ่ายนางทาสีนั้นของนางวิสาขานั้นลืมเครื่องประดับนั้นแล้ว ฯ ก็เมื่อบริษัทฟังธรรมหลีกไปแล้ว ถ้าใครลืมของอะไรไว้ พระอานนทกระย่อมเก็บของนั้นไว้ ฯ เพราะเหตุดังนี้ ในวันนั้นท่านเห็นเครื่องมหาลดาปสาธน์แล้ว จึงกราบทูลแค่ พระบรมศาสดาว่า พระพุทธเจ้าข้า นางวิสาขาลืมเครื่องประดับไว้ไปแล้ว ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า จงเก็บไว้ในที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง อานนท์ ฯ พระเถระ ยกเครื่องประดับนั้นเก็บคล้องไว้ที่ข้างบันใด ฯ ฝ่ายนางวิชาขาเที่ยวเดินไปภายในวิหารกับนางสุปปิยา ด้วยตั้งใจว่า เราจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่ภิกษุผู้จรมา ภิกษุผู้เตรียมตัวจะไปและภิกษุผู้อาพาธเป็นต้น ฯ ก็โดยปกติแล ภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ต้องการด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำมัน เป็นต้น เห็นอุบาสิกาเหล่านั้นในภายในวิหารแล้วย่อมถือภาชนะมีถาดเป็นต้น เดินเข้าไปหา ฯ ถึงในวันนั้นก็ทำแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน ฯ ฝ่ายนางวิสาขาตรวจดู ภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้อาพาธแล้วก็ออกโดยประตูอื่น ยืนอยู่ที่ใกล้วิหารแล้วพูดว่า แม่จงเอาเครื่องประดับมาฉันจักแต่ง ฯ ในขณะนั้น หญิงคนใช้นั้นรู้ว่าตนลืมแล้วออกมา จึงตอบว่า ดิฉันลืม แม่เจ้า ฯ นางวิสาขา กล่าวว่า ถ้ากระนั้น เจ้าจงไปถือมา แต่ถ้า พระอานนทเถระผู้เป็นเจ้าของเรายกเก็บเอาไว้ในที่อื่น เจ้าอย่าพึงนำมา ฉันบริจาคเครื่องประดับนั้นแก่พระผู้เป็นเจ้า นั้นแล ฯ นัยว่า นางวิสาขานั้นย่อมรู้ว่า พระเถระ ย่อมเก็บสิ่งของที่พวกมนุษย์ลืมไว้ เพราะฉะนั้นจึงพูดอย่างนั้น ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๔๔-๔๕)

๑. “พุทฺโธติ วจนํ สุตฺวา ว ปญฺจสตา ตาปสา อุฏฺฐาย เทวตาย อญฺชลึ ปคฺคยฺห  “พุทฺโธติ  วเทสีติ,  “พุทฺโธติ วทามีติ ติกฺขตฺตุํ ปฏิชานาเปตฺวา  “โฆโสปิ โข เอโส ทุลฺลโภ โลกสฺมินฺติ  อุทานํ อุทาเนตฺวา  “เทวเต อเนเกสุ กปฺปสตสหสฺเสสุ อสฺสุตปุพฺพํ สทฺทํ ตยา สุณาปิตมฺหาติ  อาหํสุ ฯ อถนฺเตวาสิกา อาจริยํ เอตทโวจุํ  “เตนหิ สตฺถุ สนฺติกํ คจฺฉามาติ ฯ  “ตาตา ตโย  เสฏฺฐิโน อมฺหากํ พหุปการา, เสฺว เตสํ นิเวสเน ภิกฺขํ คณฺหิตฺวา เตสมฺปิ อาจิกฺขิตฺวา คมิสฺสาม,  อธิวาเสถ ตาตาติ ฯ เต กตภตฺตกิจฺจา  “มหาเสฏฺฐิโน มยํ คมิสฺสามาติ วทึสุ ฯ  “นนุ ภนฺเต ตุมฺเหหิ  จตฺตาโร วสฺสิเก มาเส อมฺหากํ คหิตา ปฏิญฺญา; อิทานิ กุหึ คจฺฉถาติ ฯ  “โลเก กิร พุทฺโธ  อุปฺปนฺโน, ธมฺโม อุปฺปนฺโน, สงฺโฆ อุปฺปนฺโน; ตสฺมา สตฺถุ สนฺติกํ คมิสฺสามาติ ฯ  “กึ ปน  ตสฺส สตฺถุ สนฺติกํ ตุมฺหากญฺเญว คนฺตุํ วฏฺฏตีติ ฯ  “อญฺเญสมฺปิ อวาริตํ อาวุโสติ ฯ  “เตนหิ  ภนฺเต อาคเมถ, มยํปิ ปริวจฺฉํ กตฺวา คจฺฉามาติ ฯ  “ตุมฺเหสุ ปริวจฺฉํ กโรนฺเตสุ อมฺหากํ ปปญฺโจ  โหติ, มยํ ปุรโต คจฺฉาม, ตุมฺเห ปจฺฉโต อาคจฺเฉยฺยาถาติ วตฺวา เต ปุเรตรํ คนฺตฺวา สมฺมาสมฺพุทฺธํ  ทิสฺวา อภิตฺถวิตฺวา วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทึสุ ฯ เทสนาปริโยสาเน สพฺเพ สห ปฏิสมฺภิทาหิ  อรหตฺตํ ปตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา  “เอถ ภิกฺขโวติ วจนสมนนฺตรเมว อิทฺธิมยปตฺตจีวรธรา  วสฺสสติกตฺเถรา วิย อเหสุํ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๔๕-๔๖)

๒. เตปิ โข ตโย เสฏฺฐิโน ปญฺจหิ ปญฺจหิ สกฏสเตหิ วตฺถจฺฉาทนสปฺปิมธุผาณิตาทีนิ  ทานุปกรณานิ อาทาย สาวตฺถึ ปตฺวา เชตวนํ ปวิสิตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา ธมฺมกถํ สุตฺวา  กถาปริโยสาเน โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐาย อฑฺฒมาสมตฺตํ ทานํ ททมานา สตฺถุ สนฺติเก วสิตฺวา  โกสมฺพีคมนตฺถาย สตฺถารํ ยาจิตฺวา, สตฺถารา ปฏิญฺญํ ททนฺเตน  “สุญฺญาคาเร โข คหปตโย   ตถาคตา อภิรมนฺตีติ วุตฺเต,  “อญฺญาตํ ภนฺเต, อมฺเหหิ ปหิตสาสเนนาคนฺตุํ วฏฺฏตีติ วตฺวา โกสมฺพึ คนฺตฺวา  “โฆสกเสฏฺฐี โฆสิตารามํ กุกฺกุฏเสฏฺฐี กุกฺกุฏารามํ ปาวาริกเสฏฺฐี ปาวาริการามนฺติ  ตโย มหาวิหาเร กาเรตฺวา สตฺถุ อาคมนตฺถาย สาสนํ ปหิณึสุ ฯ สตฺถา เตสํ สาสนํ สุตฺวา ตตฺถ  อคมาสิ ฯ เต ปจฺจุคฺคนฺตฺวา สตฺถารํ วิหาเร ปเวเสตฺวา  “อิมํ วิหารํ จาตุทฺทิสสฺส พุทฺธปฺปมุขสฺส   ภิกฺขุสงฺฆสฺส เทมีติ ติกฺขตฺตุํ นิยฺยาเทตฺวา วาเรน วาเรน ปฏิชคฺคนฺติ ฯ สตฺถา เทวสิกํ เอเกกสฺมึ  วิหาเร วสติ, ยสฺส วิหาเร วุตฺโถ โหติ, ตสฺเสว ฆรทฺวาเร ปิณฺฑาย จรติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.ดาบส ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ฟังแล้ว ซึ่งคำว่า อ.พระพุทธเจ้า ดังนี้เทียว ลุกขึ้นแล้ว ประคองแล้ว ซึ่งอัญชลี ต่อเทวลากล่าวแล้ว อ.ท่าน ย่อมกล่าว ว่า อ.พระพุทธเจ้า ดังนี้ (หรือ) ดังนี้ ยังเทวดา ให้รู้เฉพาะแล้ว สิ้นสามครั้ง ว่า อ.เรา ย่อมกล่าว ว่า อ.พระพุทธเจ้า ดังนี้ ดังนี้ เปล่งแล้วซึ่งอุทาน ว่า แม้ อ.เสียงอันกึกก้องนั่นแล เป็นเสียงอันบุคคลพึงได้โดยยากในโลก ย่อมเป็น ดังนี้  กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนเทวดา อ.เรา ท. เป็นผู้อันท่านให้ฟังแล้ว ซึ่งเสียง อันอันเรา ท. ไม่เคยฟังแล้ว ในแสนแห่งกัป ท. มิใช่หนึ่ง ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.อันเตวาสิก ท. ได้กล่าวแล้ว ซึ่งคำนั่น ว่า

ถ้าอย่างนั้น อ.เรา ท. จะไป สู่สำนัก ของพระศาสดา ลังนี้ กะอาจารย์ ฯ อ.อาจารย์ กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนพ่อ ท. อ.เศรษฐี ท. สาม เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่เรา ท. ย่อมเป็น, อ.เรา ท. รับแล้ว ซึ่งภิกษา ในนิเวศน์ ของเศรษฐี ท. เหล่านั้น ในวันพรุ่ง บอกแล้ว แก่เศรษฐี ท. แม้เหล่านั้น จักไป, ดูก่อนพ่อ ท. อ.ท่าน ท. ยังการไป จงให้อยู่ทับ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ท. เหล่านั้น ผู้มีกิจด้วยภัตอันตนทำแล้ว กล่าวแล้วว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี ท. อ.เรา ท. จักไป ดังนี้ ฯ อ.เศรษฐี ท. กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  อ.ปฏิญญา อันท่าน ท. รับแล้ว ต่อข้าพเจ้า ท. ตลอดเดือน ท. อันมีในฤดูฝน สี่ มิใช่หรือ, ในกาลนี้ อ.ท่าน ท. จะไป ณ ที่ไหน ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ท. เหล่านั้น กล่าวแล้ว ว่า ได้ยินว่า อ.พระพุทธเจ้า  เสด็จอุบัติแล้ว ในโลก, อ.พระธรรม เกิดขึ้นแล้ว, อ.พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว, เพราะเหตุนั้น อ.รา ท. จักไป สู่สำนัก ของพระศาสลา ดังนี้ ฯ อ.เศรษฐี ท. ถามแล้ว ว่า ก็ อ.อันอันท่าน ท. นั่นเทียวไป สู่สำนัก ของพระศาสดา พระองค์นั้น ย่อมควร หรือ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ท. กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท. อ.อันอันชน ท. แม้เหล่าอื่นไป (สู่สำนักของพระศาสดา) อันพระศาสดา ไม่ทรงห้ามแล้ว ดังนี้ ฯ อ.เศรษฐี ท. กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น อ.ท่าน ท. ยังกาล จงให้มา, แม้  อ.ข้าพเจ้า ท. ทำแล้ว ซึ่งการตระเตรียม จะไป ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ท. เหล่านั้น กล่าวแล้ว ว่า ครั้นเมื่อท่าน ท. ทำอยู่ ซึ่งการตระเตรียม, อ.ความเนินช้า แห่งเรา ท. จะมี, อ.เรา ท. จะไป ข้างหน้า, อ.ท่าน ท. พึงมา ข้างหลัง ดังนี้ ไปแล้ว ก่อนกว่า เห็นแล้ว ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชมเชยแล้ว ถวายบังคมแล้ว นั่งแล้ว ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ฯ ในกาลเป็นที่สุดลงรอบแห่งเทศนา อ.ดาบส ท. ทั้งปวง บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ กับ ด้วยปฏิสัมภิทา ท. ทูลขอแล้ว ซึ่งการบาช เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวร อันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ เป็นราวกะว่าพระเถระผู้ประกอบแล้วด้วยร้อยแห่งกาลฝน ได้เป็นแล้ว ในลำดับแห่งพระดำรัส ว่า อ.เธอ ท.เป็นภิกษุ เป็น จงมา ดังนี้นั่นเทียว ฯ

อีกนัยหนึ่ง แปลว่า อ.อันไป สู่สำนักของพระศาสดา พระองค์นั้น แห่งท่าน ท. นั่นเทียว ย่อมควรหรือ ดังนี้ ฯ หรือแปลว่า อ.อันไป สู่สำนักของพระศาสดา พระองค์นั้น ย่อมควร แก่ท่าน ท. นั่นเทียว หรือ ดังนี้ ฯ
อีกนัยหนึ่ง แปลว่า อ.การไป(สู่สำนักของพระศาสดา) แห่งชน ท. แม้เหล่าอื่น อันพระศาสดา ไม่ทรงห้ามแล้ว ดังนี้ ฯ หรือแปลว่า อ.การไป (สู่สำนักของพระศาสดา) อันพระศาสดา ไม่ทรงห้ามแล้ว แก่ชน ท. แม้เหล่าอื่น ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. เศรษฐีทั้ง ๓ แม้นั้นแลจัดเกวียนคนละ ๕๐๐ เล่มบรรทุกเครื่องอุปกรณ์แก่ทานมีผ้าเครื่องนุ่งห่มเนยใสน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว เข้าไปสู่วัดพระเชตวัน ถวายบังคมพระบรมศาสดาสดับธรรมกถาแเล้ว ในที่สุดแห่งกถาก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ถวายท่านอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดาประมาณกึ่งเดือนแล้วทูลเชิญพระบรมศาสดาเพื่อประโยชน์แก่การเสด็จไปสู่เมืองโกสัมพี เมื่อพระบรมศาสดา จะประทานปฏิญญาจึงตรัสว่า คฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดียิ่งในเรือนว่างแล จึงทูลว่า ข้อนั้นพวกข้าพระองค์ทราบแล้ว พระเจ้าข้า การที่พระองค์เสด็จมาด้วยสาส์นที่พวกข้าพระองค์ส่งไป ย่อมควร ดังนี้แล้วไปสู่เมืองโกสัมพี ให้สร้างมหาวิหาร ๓ แห่ง คือ โฆสกเศรษฐีให้สร้างโฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีให้สร้างกุกกุฏาราม  ปาวาริกเศรษฐีให้สร้างปาวาริการาม แล้วส่งสาส์นไปเพื่อประโยชน์แก่การเสด็จมาแห่งพระบรมศาสดา ฯ พระบรมศาสดาทรงสดับสาส์นของเศรษฐีเหล่านั้นก็ได้เสด็จไป ในที่นั้นแล้ว ฯ เศรษฐีเหล่านั้น รับเสด็จแล้ว ทูลนิมนต์ให้พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปยังวิหารแล้วมอบถวาย ๓ ครั้งว่า ข้าพระองค์ขอถวายวิหารนี้แก่ภิกษุสงฆ์ อันมาแต่ทิศทั้ง ๔ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขดังนี้แล้วผลัดเปลี่ยนกันปฏิบัติ ฯ พระบรมศาสดาย่อมประทับอยู่ในวิหารแห่งละวัน ประทับอยู่ในวิหารของเศรษฐีคนใด ย่อมเสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตที่ประตูเรือนของเศรษฐีคนนั้นแล ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๕ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(จูฬปนฺถกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๗๖)

๑. เตสํ ตตฺถ วสนฺตานํ มหาปนฺถกทารโก อญฺเญ ทารเก  “จูฬปิตา มหาปิตาติ  “อยฺยโก  อยฺยิกาติ จ วทนฺเต สุตฺวา มาตรํ ปุจฺฉิ  “อมฺม อญฺเญ ทารกา  ‘อยฺยโกติ วทนฺติ  ‘อยฺยิกาติ วทนฺติ,   กจฺจิ อมฺหากํ ญาตกา นตฺถีติ ฯ  “อาม ตาต อมฺหากํ เอตฺถ ญาตกา นตฺถิ, ราชคหนคเร ปน โว  ธนเสฏฺฐี นาม อยฺยโก, ตตฺถ อมฺหากํ พหู ญาตกาติ ฯ  “กสมา ตตฺถ น คจฺฉาม อมฺมาติ ฯ สา  อตฺตโน อาคมนการณํ ปุตฺตสฺส อกเถตฺวา ปุตฺเตสุ ปุนปฺปุนํ กเถนฺเตสุ สามิกํ อาห  “อิเม มํ  ทารกา อติวิย กิลเมนฺติ, กึ โน มาตาปิตโร ทิสฺวา มํสํ ขาทิสฺสนฺติ, เอหิทานิ ทารกานํ อยฺยกกุลํ  ทสฺเสสฺสามาติ ฯ เทฺวปิ ชนา ทารเก อาทาย อนุปุพฺเพน ราชคหํ ปตฺวา นครทฺวาเร เอกิสฺสา สาลาย วสึสุ ฯ ทารกมาตา เทฺว ทารเก คเหตฺวา อาคตภาวํ มาตาปิตูนํ อาโรจาเปสิ ฯ เต ตํ สาสนํ สุตฺวา  “สํสาเร วิจรนฺตานํ น ปุตฺโต น ธีตา ภูตปุพฺพา นาม นตฺถิ; เต อมฺหากํ มหาปราธิกา น สกฺกา  เตหิ อมฺหากํ จกฺขุปเถ ฐาตุํ, เอตฺตกนฺนาม ธนํ คเหตฺวา เทฺวปิ ชนา ผาสุกฏฺฐานํ คนฺตฺวา ชีวนฺตุ,  ทารเก ปน อิธ เปเสนฺตูติ ฯ เต เตหิ เปสิตํ ธนํ คเหตฺวา ทารเก อาคตทูตานญฺเญว หตฺเถ ทตฺวา  ปหิณึสุ ฯ ทารกา อยฺยกกุเล วฑฺฒนฺติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(จูฬปนฺถกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๗๗)

๒. เตสุ จูฬปนฺถโก อติทหโร, มหาปนฺถโก ปน อยฺยเกน สทฺธึ ทสพลสฺส ธมฺมกถํ โสตุํ  คจฺฉติ ฯ ตสฺส นิจฺจํ สตฺถุ สนฺติกํ คจฺฉนฺตสฺส ปพฺพชฺชาย จิตฺตํ นมิ ฯ โส อยฺยกํ อาห  “สเจ มํ  อนุชาเนยฺยาถ, อหํ ปพฺพเชยฺยนฺติ ฯ  “กึ วเทสิ ตาต, สกลโลกสฺสาปิ เม ปพฺพชิตโต ตว ปพฺพชฺชา ภทฺทกา, สเจ สกฺโกสิ, ปพฺพชาหีติ ตํ สตฺถุ สนฺติกํ เนตฺวา,  “กึ คหปติ ทารโก เต ลทฺโธติ วุตฺเต,  “อาม ภนฺเต อยํ เม นตฺตา ตุมฺหากํ สนฺติเก ปพฺพชิตุกาโมติ อาห ฯ สตฺถา อญฺญตรํ ปิณฺฑจาริกํ ภิกฺขุํ “อิมํ ทารกํ ปพฺพาเชหีติ อาณาเปสิ ฯ เถโร ตสฺส ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐานํ อาจิกฺขิตฺวา ปพฺพาเชสิ.  โส พหุํ พุทฺธวจนํ อุคฺคณฺหิตฺวา ปริปุณฺณวสฺโส อุปสมฺปทํ ลภิตฺวา โยนิโสมนสิกาเร กมฺมํ กโรนฺโต อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ

โส ฌานสุเขน ผลสุเขน วีตินาเมนฺโต จินฺเตสิ  “สกฺกา นุ โข อิมํ สุขํ จูฬปนฺถกสฺส ทาตุนฺติ ตโต อยฺยกเสฏฺฐิสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา เอวมาห  “มหาเสฏฺฐิ สเจ อนุชาเนยฺยาถ, อหํ จูฬปนฺถกํ  ปพฺพาเชยฺยนฺติ ฯ  “ปพฺพาเชถ นํ ภนฺเตติ ฯ เสฏฺฐี กิร สาสเน สุปฺปสนฺโน  “กตรธีตาย โว เอเต  ปุตฺตาติ ปุจฺฉิยมาโน จ  “ปลาตธีตายาติ วตฺตุํ ลชฺชติ, ตสฺมา สุเขเนว เตสํ ปพฺพชฺชํ อนุชานาติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. เมื่อชน ท. สอง (มารดาและบิดา ท.) เหล่านั้น อยู่อยู่ ในที่นั้น อ.เด็กชื่อว่ามหาปันถก ฟังแล้ว ซึ่งเด็ก ท. เหล่าอื่น ผู้กล่าวอยู่ ว่า อ.อา อ.ลุง ดังนี้ ด้วย ว่า อ.ปู่ อ.ย่า ดังนี้ด้วย ถามแล้ว ซึ่งมารดา ว่า ข้าแต่แม่ อ.เด็ก ท. เหล่าอื่น ย่อมกล่าว ว่า อ.ปู่ ดังนี้ ย่อมกล่าว ว่า อ.ย่า ดังนี้ อ.ญาติ ท.  ของเรา ท. ย่อมไม่มี แลหรือ ดังนี้ ฯ อ.มารดา กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนพ่อ เออ อ.ญาติ ท. ของเรา ท. ย่อมไม่มี ในที่นี้ แต่ว่า อ.ตา ของเจ้า ชื่อว่าธนเศรษฐี ย่อมมี ในพระนครชื่อราชคฤห์ อ.ญาติ ท. มาก ของเรา ท. ย่อมมี ในพระนครชื่อราชคฤห์ นั้น ดังนี้ ฯ อ. มหาปันถก กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่แม่

อ.เรา ท. ย่อมไม่ไป ในพระนครชื่อราชคฤห์ นั้น เพราะเหตุใร ดังนี้ ฯ อ.หญิงนั้น ไม่บอกแล้ว ซึ่งหตุแห่งการมา แห่งตน แก่บุตร ครั้นเมื่อบุตร ท. กล่าวอยู่ บ่อย ๆ กล่าวแล้ว ว่า อ.เด็ก ท. เหล่านี้ ยังดิฉัน ย่อมให้ลำบาก เกินเปรียบ อ.มารดาและบิดา ท. เห็นแล้ว ซึ่งเรา ท. จักเคี้ยวกิน ซึ่งเนื้อหรือ อ.ท่าน จงมา อ.เรา ท. จักแสดง ซึ่งตระกูลแห่งตา (ตาและยาย) แก่เด็ก ท. ในกาลนี้ ดังนี้ กะสามี ฯ อ.ชน ท. แม้สอง พาเอาแล้ว ซึ่งเด็ก ท. ถึงแล้ว ซึ่งพระนครชื่อราชคฤห์ โดยลำดับ อยู่แล้ว ในศาลา หลังหนึ่ง ใกล้ประตูแห่งพระนคร ฯ อ.มารดาของเด็ก ยังบุคคล ให้บอกแจ้งแล้ว ซึ่งความที่แห่งตนเป็นผู้พาเอา ซึ่งเด็ก ท. สอง มาแล้ว แก่มารดาและบิดา ท. ฯ อ.มารดาเละบิดา ท. เหล่านั้น ฟังแล้ว ซึ่งข่าวสาส์นนั้น กล่าวแล้ว ว่า อ.- แห่งชน ท. ผู้เที่ยวไปอยู่ ในสงสารหนา -ชน ท. ชื่อว่าผู้ไม่เคยเป็นบุตรเป็นแล้ว ชื่อว่า ผู้ไม่เคยเป็นธิดาเป็นแล้ว ย่อมไม่มี อ.ชน ท. สอง เหล่านั้น เป็นผู้มีความผิดมากต่อเรา ท. ย่อมเป็น อันชน ท. สอง เหล่านั้น ไม่อาจ เพื่ออันดำรงอยู่ในคลองแห่งจักษุ ของเรา ท. อ.ชน ท. แม้สอง ถือเอาแล้ว ซึ่งทรัพย์ ชื่ออันมีประมาณเท่านี้ ไปแล้ว สู่ที่อันสำราญ จงเป็นอยู่ แต่ว่า อ. ชน ท. สอง จงส่งมา ซึ่งเด็ก ท. ในที่นี้ ดังนี้ ฯ อ. ชน ท. สอง เหล่านั้น ถือเอาแล้ว ซึ่งทรัพย์ อันอันมารดาและบิดา ท. เหล่านั้น ส่งไปแล้ว ให้แล้ว ซึ่งเด็ก ท. ในมือ ของทูตผู้มาแล้ว ท. นั่นเทียว ส่งไปแล้ว ฯ อ. เด็ก ท. ย่อมเจริญในตระกูลแห่งตาและยาย ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในเด็ก ๒ คนนั้น จูฬปันถกยังเล็กนัก ส่วนมหาปันถกไปเพื่อฟังธรรมกถาของสมเด็จพระทศพลกับตา ฯ เมื่อเขาไปสำนักของสมเด็จพระบรมศาสดาเป็นนิตย์ จิตก็น้อมไปแล้วในบรรพชา ฯ เขาพูดกะตาว่า ถ้าคุณตาอนุญาตให้กระผมไซร้ กระผมพึงบวช ฯ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า พูดอะไรพ่อ การบวชของเจ้าเป็นความดีแก่ตากว่าการบวชของคนทั่วทั้งโลก ถ้าเจ้าอาจไซร้ ก็จงบวชเถิด ดังนี้แล้วนำเขาไปสู่สำนักสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อพระองค์ตรัสว่า คฤหบดี ท่านได้เด็กมาหรือ ก็กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เด็กคนนี้เป็นหลานของข้าพระองค์ ประสงค์จะบวชในสำนักของพระองค์ ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้เด็กคนนี้บวช ฯ พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานแก่เธอแล้วให้บวช ฯ เธอเรียนพระพุทธพจน์ได้มาก มีอายุครบได้อุปสมบท ทำกรรมในโยนิโสมนสิการ บรรลุพระอรหัตแล้ว ฯ

ท่านให้เวลาล่วงไปด้วยความสุขในฌานและความสุขอันเกิดแต่ผล คิดว่า เราอาจให้ความสุขนี้แก่จูฬปันถกหรือหนอ ภายหลังได้ไปสู่สำนักของเศรษฐีผู้เป็นตาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าท่านอนุญาตไซร้ อาตมาพึงให้จูฬปันถกบวช ฯ เศรษฐีกล่าวว่า ขอนิมนต์ให้เขาบวชเถิด ขอรับ ฯ ได้ยินว่า เศรษฐีเลื่อมใสดีแล้วในพระศาสนา แต่เมื่อถูกถามว่า เด็กเหล่านี้เป็นบุตรของธิดาคนไหนของท่าน จะบอกว่า ของลูกสาวที่หนีไปก็ละอาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงอนุญาตการบวชแก่หลานทั้ง ๒ นั้นโดยง่าย นั่นเทียว ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑-๒)

๑. อตีเต  “อลฺลกปฺปรฏฺเฐ อลฺลกปฺปราชา นาม เวฏฺฐทีปกรฏฺเฐ เวฏฺฐทีปกราชา นามาติ  อิเม เทฺว ทหรกาลโต ปฏฺฐาย สหายกา หุตฺวา เอกาจริยกุเล สิปฺปํ อุคฺคณฺหิตฺวา อตฺตโน อตฺตโน  ปิตูนํ อจฺจเยน ฉตฺตํ อุสฺสาเปตฺวา ทสทสโยชนิเก รฏฺเฐ ราชาโน อเหสุํ ฯ เต กาเลน กาลํ  สมาคนฺตฺวา เอกโต ติฏฺฐนฺตา นิสีทนฺตา นิปชฺชนฺตา มหาชนํ ชายมานญฺจ มียมานญฺจ ทิสฺวา  “ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ อนุคจฺฉนฺโต นาม นตฺถิ, อนฺตมโส อตฺตโน สรีรํปิ สพฺพํ ปหาย คนฺตพฺพํ,  กินฺโน ฆราวาเสน, ปพฺพชิสฺสามาติ มนฺเตตฺวา รชฺชานิ ปุตฺตทารสฺส นิยฺยาเทตฺวา อิสิปพฺพชฺชํ  ปพฺพชิตฺวา หิมวนฺตปฺปเทเส วสนฺตา มนฺตยึสุ  “มยํ รชฺชํ ปหาย ปพฺพชิตา, น ชีวิตุํ อสกฺโกนฺตา  เต มยํ เอกฏฺฐาเน วสนฺตา อปพฺพชิตสทิสาเยว โหม; ตสฺมา วิสุํ วสิสฺสาม: ตฺวํ เอตสฺมึ ปพฺพเต  วส, อหํ อิมสฺมึ ปพฺพเต วสิสฺสามิ; อนฺวฑฺฒมาสํ ปน อุโปสถทิวเส เอกโต ภวิสฺสามาติ ฯ อถ เนสํ  เอตทโหสิ  “เอวํปิ โน คณสงฺคณิกา ว ภวิสฺสติ, ตฺวํ ตว ปพฺพเต อคฺคึ ชาเลยฺยาสิ, อหํ มม ปพฺพเต อคฺคึ ชาเลสฺสามิ; ตาย สญฺญาย อตฺถิภาวํ ชานิสฺสามาติ ฯ เต ตถา กรึสุ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๓-๔)

๒. ตสฺมึ สมเย โกสมฺพิยํ ปรนฺตโป นาม ราชา อโหสิ ฯ โส เอกทิวสํ คพฺภินิยา เทวิยา สทฺธึ พาลาตปํ ตปฺปมาโน อากาสตเล นิสีทิ ฯ เทวี รญฺโญ ปารุปนํ สตสหสฺสคฺฆนิกํ รตฺตกมฺพลํ  ปารุปิตฺวา นิสินฺนา รญฺญา สทฺธึ สมุลฺลปมานา รญฺโญ องฺคุลิโต สตสหสฺสคฺฆนิกํ ราชมุทฺทิกํ  นีหริตฺวา อตฺตโน องฺคุลิยํ  ปิลนฺธิ ฯ ตสฺมึ สมเย หตฺถิลิงฺคสกุโณ อากาเสนาคจฺฉนฺโต เทวึ  ทิสฺวา  ‘มํสเปสีติ สญฺญาย ปกฺเข วิสฺสชฺเชตฺวา โอตริ ฯ ราชา ตสฺส โอตรณสทฺเทน ภีโต อุฏฺฐาย  อนฺโตนิเวสนํ ปาวิสิ ฯ เทวี ครุคพฺภตาย เจว ภีรุกชาติกตาย จ เวเคน คนฺตุํ นาสกฺขิ ฯ อถ นํ  โส สกุโณ อชฺฌุปฺปตฺโต นขปญฺชเร นิสีทาเปตฺวา อากาสํ ปกฺขนฺทิ ฯ เต กิร สกุณา ปญฺจนฺนํ  หตฺถีนํ พลํ ธาเรนฺติ, ตสฺมา อากาเสน เนตฺวา ยถารุจิตฏฺฐาเน นิสีทิตฺวา มํสํ ขาทนฺติ, สาปิ เตน  นียมานา มรณภยภีตา จินฺเตสิ  “สจาหํ วิรวิสฺสามิ, มนุสฺสสทฺโท นาม ติรจฺฉานคตานํ อุพฺเพชนิโย,  ตํ สุตฺวา มํ ฉฑฺเฑสฺสติ, เอวํ สนฺเต, สห คพฺเภน ชีวิตกฺขยํ ปาปุณิสฺสามิ; ยสฺมึ ปน ฐาเน นิสีทิตฺวา  มํ ขาทิตุํ อารภิสฺสติ, ตตฺร นํ สทฺทํ กตฺวา ปลาเปสฺสามีติ ฯ สา อตฺตโน ปณฺฑิตตาย อธิวาเสสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว อ.พระราชา ท. สอง เหล่านี้ คือ ชื่อ อ.พระราชาพระนามว่าอัลลกัปปะ ในแว่นแคว้นชื่อว่าอัลลกัปปะ ชื่อ อ.พระราชาพระนามว่าเวฐทีปกะ ในแว่นแคว้นชื่อว่าเวฏฐทีปกะ เป็นพระสหายกัน เป็น จำเดิม แต่กาล แห่งพระองค์ ทรงเป็นหนุ่ม ทรงเรียนแล้ว ซึ่งศิลปะ ในตระกูลแห่งอาจารย์เดียวกัน ทรงยังบุดคล ให้ยกขึ้นแล้วซึ่งฉัตร เป็นพระราชา ในแว่นแคว้น อันประกอบแล้วด้วยโยชน์สิบ ๆ ได้เป็นแล้ว โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ท. ของพระองค์ ๆ ฯอ.พระราชา ท. เหล่านั้น เสด็จมาพร้อมกันแล้ว ตลอดกาล ตามกาล ทรงยืนอยู่ ทรงนั่งอยู่ บรรทมอยู่ โดยความเป็นอันเดียวกัน ทรงเห็นแล้ว ซึ่งมหาชน ผู้เกิดอยู่ด้วย ผู้ตายอยู่ด้วย ทรงปรึกษากันแล้วว่า ชื่อ อ.บุคคล ผู้ไปตามอยู่ ซึ่งบุคคลผู้ไปอยู่ สู่โลกอื่น ย่อมไม่มี แม้  อ.สรีระ ของตน โดยกำหนดมีในที่สุด ชื่อว่าไปตามอยู่ ซึ่งบุคคล ผู้ไปอยู่ สู่โลกอื่น ย่อมไม่มี อันบุคคล พึงละ ซึ่งวัตถุ ทั้งปวง ไป อ.ประโยชน์ อะไร ของเรา ท. ด้วยการอยู่ครองซึ่งเรือน อ.เรา ท. จักบวช ดังนี้ ทรงมอบให้แล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา ท. แก่พระโอรสและพระมเหสี ผนวชแล้ว ผนวชเป็นฤๅษี อยู่อยู่ ในประเทศชื่อว่าหิมวันตะ ปรึกษากันแล้วว่า อ.เรา ท. ละแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระราชา บวชแล้ว อ.เรา ท. ไม่อาจอยู่ เพื่ออันเป็นอยู่ บวชแล้ว หามิได้ อ.เรา ท. เหล่านั้น อยู่ ๆ ในที่เดียวกัน เป็นผู้เช่นกับด้วยบุคคลผู้ไม่บวชแล้วนั่นเทียว ย่อนเป็น เพราะเหนั้น อ.เรา ท. จักอยู่ แยกกัน อ.ท่าน จงอยู่ ที่ภูเขา นั่น อ.เรา จักอยู่ ที่ภูเขา นี้ แต่ว่า อ.รา ท. จักเป็นโดยความเป็นอันเดียวกัน ในวันแห่งอุโบสถ ตลอดเดือนด้วยทั้งกึ่งโดยลำดับ ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.ความคิด นั่นว่า แม้ครั้นเมื่อความเป็น อย่างนี้ มีอยู่ อ.ความคลุกคลีด้วยหมู่เที่ยว จักมี แก่เรา ท. อ.ท่าน ยังไฟ พึงให้โพลง ที่ภูเขาของท่าน อ.เรา ยังไฟ จักให้โพลง ที่ภูเขา ของเรา อ.เรา ท. จักรู้ ซึ่งความที่แห่งรา ท. มีอยู่ ด้วยสัญญา นั้น ดังนี้ ได้มีแล้ว แก่ฤๅษี ท. หล่านั้น ฯ อ.ฤๅษี ท. เหล่านั้น กระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในสมัยนั้น ในกรุงโกสัมพี ได้มีพระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าปรันตปะ ฯ วันหนึ่ง พระองค์ประทับนั่งผิงแดดอ่อนอยู่ที่กลางเจ้งกับพระเทวีผู้ทรงครรภ์ ฯ พระเทวีทรงห่มค้ำกัมพลแดงอันมีราคาแสนหนึ่ง ซึ่งเป็นผ้าห่มของพระราชา ทรงนั่งปราศรัยกับพระราชา ถอดพระธำมรงค์อันมีราคาคาแสนหนึ่งจากพระองคุลีของพระราชา มาสวมใส่ที่นิ่วของพระองค์ ฯ ในสมัยนนั้น นกหัสดีลิงค์ บินมาทางอากาศ เห็นพระมเหสีจึงชลอปีกบินโผลง โดยหมายว่าชิ้นเนื้อฯ พระราชาทรงตกพระทัยด้วยเสียงโผลงของนกนั้น จึงทรงลุกขึ้นเสด็จเข้าไปภายในพระราชนิเวศน์ ฯ พระเทวีไม่อาจเสด็จไปโดยเร็วได้ เพราะทรงครรภ์แก่ และเพราะเป็นผู้มีชาติแห่งคนขลาด ฯ ครั้งนั้น นกนั้นจึงโผลง ยังพระนางให้นั่งอยู่ที่กรงเล็บ บินไปสู่อากาศแล้ว ฯ ได้ยินว่า พวกนกหล่านั้น ทรงกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก เพราะฉะนั้น จึงนำ(เหยื่อ)ไปทางอากาศ จับ ณ ที่อัน

พอใจแล้ว ย่อมจิกกินเนื้อ ฯ แม้ พระนาง อันนกนั้นนำไปอยู่ ทรงหวาดต่อมรณภัย จึงทรงดำริว่า ถ้าว่าเราจักร้อง ธรรรมดาเสียงคน เป็นที่หวาดเสียวของพวกสัตว์ดิรัจฉาน มันได้ยินเสียงนั้นแล้วก็จักทิ้งเราเสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จักถึงความสิ้นชีพพร้อมกับเด็กในครรภ์ แต่มันจับในที่ใดแล้วเริ่มจะกินเรา ในที่นั้นเราจักร้องขึ้น แล้วไล่มันให้หนีไป ฯ พระนางทรงยับยั้งไว้ได้ ก็เพราะความที่พระองค์เป็นบัณฑิต ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๔)

๑. ปวิฏฺฐกาเล ปน เสฏฺฐิปุตฺโต ปิตุ ปาทปสฺเส อฏฺฐาสิ, อิตรา อุสฺสีสกปสฺเส ฯ ตสฺมึ  ขเณ เสฏฺฐี อุตฺตานโก นิปนฺโน โหติ ฯ อายุตฺตโก ปนสฺส ปาเท ปริมชฺชนฺโต  “ปุตฺโต เต สามิ  อาคโตติ อาห ฯ  “กหํ โสติ ฯ  “เอส ปาทมูเล  ฐิโตติ อาห ฯ อถ นํ ทิสฺวา อายุตฺตกํ ปกฺโกสาเปตฺวา “มม เคเห กิตฺตกํ ธนนฺติ ปุจฺฉิตฺวา,  “สามิ ธนสฺเสว จตฺตาฬีส โกฏิโย, อุปโภคปริโภคภณฺฑานํ  ปน คามกฺเขตฺตทฺวิปทจตุปฺปทยานวาหนานญฺจ อยญฺจ อยญฺจ ปริจฺเฉโทติ วุตฺเต,  “อหํ เอตฺตกํ มม ปุตฺตสฺส โฆสกสฺส น เทมีติ วตฺตุกาโม  “เทมีติ อาห ฯ ตํ สุตฺวา เสฏฺฐิธีตา อยํ ปุน กเถนฺโต อญฺญํ กิญฺจิ กเถยฺยาติ จินฺเตตฺวา โสกาตุรา วิย เกเส วิกีริตฺวา โรทมานา  “กินฺนาเมตํ ตาต วเทถ, อิทํปิ  นาม โว วจนํ สุโณม, อลกฺขิกา วตมฺหาติ วตฺวา มตฺถเกน ตํ อุรมชฺเฌ ปหรนฺตี ปติตฺวา, ยถา ปุน  วตฺตุํ น สกฺโกติ, ตถาสฺส อุรมชฺเฌ มตฺถเกน ฆํสนฺตี อาโรทนํ ทสฺเสสิ ฯ เสฏฺฐีปิ ตํขณญฺเญว  กาลมกาสิ ฯ

“เสฏฺฐี มโตติ คนฺตฺวา อุเทนสฺส รญฺโญ อาโรเจสุํ ฯ ราชา ตสฺส สรีรกิจฺจํ การาเปตฺวา  “อตฺถิ ปนสฺส ปุตฺโต วา ธีตา วาติ ปุจฺฉิ ฯ  “อตฺถิ เทว โฆสโก นาม ตสฺส ปุตฺโต, สพฺพํ สาปเตยฺยํ   ตสฺส นิยฺยาเทตฺวา มโต เทวาติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๔-๒๕)

๒. ราชา อปรภาเค เสฏฺฐิปุตฺตํ ปกฺโกสาเปสิ ฯ ตสฺมิญฺจ ทิวเส เทโว วสฺสิ, ราชงฺคเณ ตตฺถ  ตตฺถ อุทกํ สณฺฐาติ ฯ เสฏฺฐิปุตฺโต  “ราชานํ ปสฺสิสฺสามีติ ปายาสิ ฯ ราชา วาตปานํ วิวริตฺวา  ตํ อาคจฉนฺตํ โอโลเกนฺโต ราชงฺคเณ อุทกํ ลงฺเฆตฺวา อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวา อาคนฺตฺวา วนฺทิตฺวา  ฐิตํ  “ตฺวํ โฆสโก นาม ตาตาติ ปุจฺฉิตฺวา,  “อาม เทวาติ วุตฺเต,  “ปิตา เม มโตติ มา โสจิ, ตว  เปตฺติกํ เสฏฺฐิฏฺฐานํ ตุยหเมว ทสฺสามีติ ตํ สมสฺสาเสตฺวา  “คจฺฉ ตาตาติ อุยโยเชสิ ฯ ราชา คจฺฉนฺตญฺจ นํ โอโลเกนฺโต ว อฏฺฐาสิ ฯ โส อาคมนกาเล ลงฺฆิตํ อลงฺฆิตฺวา โอตริตฺวา สณิกํ  อคมาสิ ฯ อถ นํ ราชา ตโต ว ปกฺโกสาเปตฺวา  “กินฺนุ ตาต ตฺวํ มม สนฺติกํ อาคจฺฉนฺโต อุทกํ  ลงฺฆิตฺวา อาคมฺม คจฺฉนฺโต อิทานิ โอตริตฺวา สณิกํ คจฺฉสีติ ปุจฺฉิ ฯ  “อาม เทว; อหํ ตสฺมึ ขเณ  กุมารโก, กีฬนกาโล นาเมโส; อิทานิ ปน เม เทเวน ฐานนฺตรํ ปฏิสฺสุตํ; ตสฺมา ยถาปุรํ อจริตฺวา  อิทานิ สณิเกน หุตฺวา จริตุํ วฏฺฏตีติ ฯ ตํ สุตฺวา ราชา  “ธิติมา อยํ ปุริโส, อิทาเนวสฺส ฐานนฺตรํ  ทสฺสามีติ ปิตรา ภุตฺตโภคํ ทตฺวา สพฺพสเตน เสฏฺฐิฏฺฐานํ อทาสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ก็ ในกาลแห่งชน ท. เข้าไปแล้ว อ. บุตรของเศรษฐีใด้ยืนแล้ว ณ ข้างแห่งเท้า ของบิดา ฯ อ. ธิดาของเศรษฐีนอกนี้ ได้ยืนแล้ว ณ ข้างเบื้องบน แห่งศีรษะ ฯ ในขณะนั้น อ. เศรษฐี เป็นผู้หงาย เป็นผู้นอนแล้ว ย่อมเป็น ฯ ส่วนว่า อ. นายเสมียน นวดอยู่ ซึ่งเท้า ท. ของเศรษนั้น กล่าวแล้ว ว่า  ข้าแต่นาย อ. บุตร ของท่าน มาแล้ว ดังนี้ ฯ อ.เศรษฐี ถามแล้ว ว่า อ. บุตร ของเรานั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน ดังนี้ ฯ อ. นายเสมียน กล่าวแล้ว ว่า อ. บุตร ของท่านนั่น ยืนแล้ว ณ ที่ใกล้แห่งเท้า ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ. เศรษฐี เห็นแล้ว ซึ่งบุตรนั้น ยังบุคคล ให้เรียกแล้ว ซึ่งนายเสมือน ถามแล้ว ว่า อ. ทรัพย์ มีประมาณเท่าไร มีอยู่ ในเรือน ของรา ดังนี้ ครั้นเมื่อคำ ว่า ข้าแต่นาย อ. โกฏิ ท. สี่สิบ แห่งทรัพย์ นั่นเทียว มีอยู่ แต่ว่า อ. การกำหนด นี้ด้วย นี้ด้วย แห่งภัณฑะเป็นเครื่องอุปโภคและเป็นเครื่องบริโภค ท. ด้วย แห่งบ้านและนาและสัตว์ตัวมีเท้าสองและสัตว์ตัวมีเท้าสี่และยานและพาหนะ ท. ด้วย มีอยู่ ดังนี้ อันนายเสมียนนั้น กล่าวแล้ว เป็นผู้ใคร่เพื่ออันกล่าว ว่า อ. เรา จะไม่ให้ ซึ่งทรัพย์มีประมาณเท่านี้ แก่โฆสกะ ผู้เป็นบุตร ของรา ดังนี้ เป็น กล่าวแล้ว ว่า อ.เรา ย่อมให้ ดังนี้ ฯ อ. ธิดาของเศรษฐี ฟังแล้ว ซึ่งคำนั้น คิดแล้ว ว่า อ. เศรษฐีนี้ เมื่อกล่าว อีก พึงกล่าว ซึ่งคำอะไร ๆ อื่น ดังนี้ เป็นผู้ราวกะว่ากระสับกระส่ายเพราะความโศก เป็น สยายแล้ว ซึ่งคม ท. ร้องไห้อยู่ กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่พ่อ อ. ท่าน ท. ย่อมกล่าว ซึ่งคำนั้น ชื่ออะไร อ. เรา ท. ย่อมฟัง ซึ่งคำ ชื่อแม้นี้ ของท่าน ท.  อ. เรา ท. เป็นผู้ไม่มีบุญหนอ ย่อมเป็น ดังนี้ ประหารอยู่ ซึ่งเศรษฐีนั้น ในท่ามกลางแห่งอกด้วยกระหม่อม ล้มแล้ว อ. เศรษฐี ย่อมไม่อาจ เพื่ออันกล่าว อีก โดยประการใด เสียดสีอยู่ ในท่ามกลางแห่งอก ของเศรษฐีนั้น ด้วยกระหม่อม โดยประการนั้น แสดงแล้ว ซึ่งการร้องให้ยิ่ง ฯ แม้  อ. เศรษฐี ได้ทำแล้ว ซึ่งกาละ ในขณะนั้นนั่นเทียว ฯ

อ. ชน ท. ไปแล้ว กราบทูลแล้ว แก่พระราชา พระนามว่าอุเทน ว่า อ.เศรษฐี ตายแล้ว ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ทรงยังบุคคลให้กระทำแล้ว ซึ่งกิจคือการเผาซึ่งสรีระ ของเศรษฐีนั้น ตรัสถามแล้ว ว่า ก็ อ. บุตรหรือ หรือว่า อ. ธิดา ของเศรษฐีนั้น มีอยู่หรือ ดังนี้ ฯ อ. ชน ท. กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. บุตร ของเศรษฐีนั้น ชื่อว่าโฆสกะ มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ  อ. เศรษฐี มอบให้แล้ว ซึ่งสมบัติทั้งปวง แก่บุตรนั้น ตายแล้ว ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในกาลต่อมา พระราชาทรงรับสั่งให้เรียกตัวบุตรเศรษฐีมา ฯ ก็ในวันนั้นฝนตก ฯ ที่พระลานหลวงมีน้ำขังอยู่ในที่นั้น ๆ ฯ บุตรเศรษฐีไปแล้วด้วยหวังว่า จักเฝ้าพระราชา ฯ พระราชาทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตรดูนายโฆสกะนั้นผู้กำลังเดินมาทรงเห็นเขากระโดดข้ามน้ำที่พระลานหลวงเดินมา จึงตรัสถามเขาซึ่งมาถวายบังคมแล้วยืนอยู่ว่า พ่อเจ้าชื่อโฆสกะหรือ ฯ เมื่อเขากราบทูลว่า ถูกแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ทรงปลอบเขาว่า เจ้าอย่าเสียใจว่า บิดาของเราถึงแก่กรรมแล้ว เราจักให้ตำแหน่งเศรษฐีอันเป็นของบิดาของเจ้า แก่เจ้านั่นเอง ดังนี้แล้วทรงส่งเขาไปว่า จงไปเถิด พ่อ ฯ และพระราชาได้ประทับยืนทอดพระเนตรดูเขาซึ่งไปอยู่เที่ยว ฯ เขาไม่กระโดดข้ามน้ำที่เขา

กระโดดในเวลามา แต่ได้ค่อย ๆ เดินข้ามไป ฯ ครั้งนั้น พระราชาตรัสสั่งให้เรียกนายโฆสกะนั้นมาจากที่นั้นแลแล้วตรัสถามว่า พ่อ เพราะเหตุไรหนอ ท่านเมื่อมาสู่สำนักของราจึงกระโดดข้ามน้ำมาแล้ว แต่เมื่อไปตอนนี้ จึงค่อย ๆ เดินข้ามไป ฯ นายโฆสกะทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระเข้า ในขณะนั้น ข้าพระพุทธเจ้ายังเป็นเด็ก เวลานั้นจึงชื่อว่าเป็นเวลาเล่นได้ แต่ในเวลานี้ตำแหน่งของข้าพระพุทธเจ้าอันพระองค์ทรงยอมรับแล้ว เพราะฉะนั้น การที่ข้าพระองค์ไม่เที่ยวเหมือนในกาลก่อนแล้วค่อย ๆ ไปจึงสมควรในเวลานี้ ฯ พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วทรงดำริว่า ชายผู้นี้มีปัญญาเราจักให้ตำแหน่งแก่เขาในบัดนี้เถิด ดังนี้แล้วทรงประทานโภคะที่บิดาบริโภคแล้ว ได้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีพร้อมด้วยสรรพวัตถุ ๑๐๐ อย่าง ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓

แปลโดยพยัญชนะ :
(กสกวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๑๓๑-๑๓๒)

๑. ตํทิวสํ สตฺถา ปจฺจูสสมเย โลกํ โอโลเกนฺโต ตํ กสกํ อตฺตโน ญาณชาลสฺส อนฺโต  ปวิฏฺฐํ ทิสฺวา  “กินฺนุ โข ภวิสฺสตีติ อุปธาเรนฺโต อิทํ อทฺทส “ อยํ กสโก ปาโตว กสิตุํ คมิสฺสติ,  ภณฺฑสามิกาปิ โจรานํ อนุปทํ คนฺตฺวา สหสฺสตฺถวิกํ ตสฺส เขตฺเต ทิสฺวา เอตํ คณฺหิสฺสนฺติ, มํ  ฐเปตฺวา ตสฺส อญฺโญ สกฺขิ นาม น ภวิสฺสติ; โสตาปตฺติมคฺคสฺส อุปนิสฺสโยปิสฺส อตฺถิ, ตตฺถ  มยา คนฺตุํ วฏฺฏตีติ ฯ โสปิ กสโก ปาโต ว กสิตุํ คโต ฯ สตฺถา อานนฺทตฺเถเรน ปจฺฉาสมเณน ตตฺถ อคมาสิ ฯ กสโก สตฺถารํ ทิสฺวา คนฺตฺวา ภควนฺตํ วนฺทิตฺวา ปุน กสิตุํ อารภิ ฯ สตฺถา เตน สทฺธึ  กิญฺจิ อวตฺวา สหสฺสตฺถวิกาย ปติตฏฺฐานํ คนฺตฺวา ตํ ทิสฺวา อานนฺทตฺเถรํ อาห  “ปสฺส อานนฺท  อาสีวิโสติ ฯ  “ปสฺสามิ ภนฺเต โฆรวิโสติ ฯ กสโก ตํ กถํ สุตฺวา  “มม เวลาย วา อเวลาย วา  จรณฏฺฐานเมตํ, อาสีวิโส กิเรตฺถ อตฺถีติ จินฺเตตฺวา, สตฺถริ เอตฺตกํ วตฺวา ปกฺกนฺเต,  “มาเรสฺสามิ  นนฺติ ปโตทยฏฺฐึ อาทาย คโต สหสฺสตฺถวิกํ ทิสฺวา  “อิมํ สนฺธาย สตฺถารา กถิตํ ภวิสฺสตีติ ตํ  อาทาย นิวตฺโต อพฺยตฺตตาย ตํ เอกมนฺเต ฐเปตฺวา ปํสุนา ปฏิจฺฉาเทตฺวา ปุน กสิตุํ อารภิ ฯ  มนุสฺสาปิ วิภาตาย รตฺติยา, เคเห โจเรหิ กตกมฺมํ ทิสฺวา ปทานุปทํ คจฺฉนฺตา ตํ เขตฺตํ คนฺตฺวา  ตตฺถ โจเรหิ ภณฺฑสฺส ภาชิตฏฺฐานํ ทิสฺวา กสกสฺส ปทวลญฺชํ อทฺทสํสุ ฯ เต ตสฺส ปทานุสาเรน  คนฺตฺวา ถวิกาย ฐปิตฏฺฐานํ ทิสฺวา ปํสุํ วิยูหิตฺวา ถวิกํ อาทาย  “ตฺวํ เคหํ วิลุมฺปิตฺวา เขตฺตํ กสมาโน  วิย วิจรสีติ ตชฺเชตฺวา ทณฺเฑน โปเถตฺวา เนตฺวา รญฺโญ ทสฺสยึสุ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(กสกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๓๒-๑๓๓)

๒. ราชา ตํ ปวตฺตึ สุตฺวา ตสฺส วธํ อาณาเปสิ ฯ ราชปุริสา ตํ ปจฺฉาพาหุํ พนฺธิตฺวา  กสาหิ ตาเลนฺตา อาฆาตนํ นยึสุ ฯ โส กสาหิ ตาลิยมาโน อญฺญํ  กิญฺจิ อวตฺวา เอวํ วทนฺโต คจฺฉติ ฯ อถ นํ ราชปุริสา  “สตฺถุ เจว อานนฺทตฺเถรสฺส จ กถํ กเถสิ, กินฺนาเมตนฺติ ปุจฺฉิตฺวา,  “ราชานํ  ทฏฺฐุํ ลภมาโน กเถสฺสามีติ วุตฺเต, รญฺโญ สนฺติกํ เนตฺวา รญฺโญ ตํ ปวตฺตึ กถยึสุ ฯ อถ นํ  ราชา  “กสฺมา เอวํ กเถสีติ ปุจฺฉิ ฯ โสปิ  “นาหํ เทว โจโรติ วตฺวา กสนตฺถาย นิกฺขนฺตกาลโต  ปฏฺฐาย สพฺพํ ตํ ปวตฺตึ รญฺโญ อาจิกฺขิ ฯ ราชา ตสฺส กถํ สุตฺวา  “อยํ ภเณ โลเก อคฺคปุคฺคลํ  สตฺถารํ สกฺขึ อปทิสติ, น ยุตฺตํ เอตสฺส โทสํ อาโรเปตุํ, อหเมตฺถ กตฺตพฺพํ ชานิสฺสามีติ ตํ  อาทาย สายณฺหสมเย สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา สตฺถารํ ปุจฺฉิ  “ภควา กจฺจิ ตุมฺเห อานนฺทตฺเถเรน  สทฺธึ เอตสฺส กสกสฺส กสนฏฺฐานํ คตาติ ฯ  “อาม มหาราชาติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ในวันนั้น อ.พระศาสดา ทรงตรวจดูอยู่ ซึ่งโลก ในสมัยเป็นที่ขจัดเฉพาะซึ่งมืด ทรงเห็นแล้ว ซึ่งชาวนา นั้น ผู้เข้าไปแล้ว ในภายในแห่งข่ายคือพระญาณ ของพระองค์ ทรงใคร่ครวญอยู่ ว่า อ.เหตุ อะไรหนอแล จักมี ดังนี้ ได้ทรงเห็นแล้ว ซึ่งเหตุ นี้ ว่า อ.ชาวนา นี้ จักไป เพื่ออันไถ แต่เช้าเทียว แม้ อ.เจ้าของแห่งภัณฑะ ท. ไปแล้ว สู่ที่ อันเป็นไปตาม ซึ่งรอยเท้า ของโจร ท. เห็นแล้ว ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ ในนาของชาวนา นั้น จักจับ ซึ่งชาวนานั่น อ.บุคคล อื่น เว้นซึ่งเรา ชื่อว่า เป็นพยาน ของชาวนา นั้น จักไม่มี แม้ อ.ธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค ของชาวนา นั้น มีอยู่ อ.อันอันเรา ไปในที่ นั้น ย่อมควร ดังนี้ ฯ อ.ชาวนา แม้นั้น ไปแล้ว เพื่ออันไถ แต่เช้าเทียว ฯ อ.พระศาสดา ได้เสด็จไปแล้ว ในที่ นั้น ด้วยทั้งพระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้เป็นปัจฉาสมณะ ฯ อ.ชาวนา เห็นแล้ว ซึ่งพระศาสดา ไปแล้ว ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เริ่มแล้ว เพื่ออันไถ อีก ฯ อ.พระศาสดา ไม่ตรัสแล้ว ซึ่งพระดำรัส อะไร ๆ กับด้วยชาวนา นั้น เสด็จไปแล้ว สู่ที่แห่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ตกไปแล้ว ทอดพระเนตรแล้ว ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ นั้น ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนอานนท์ อ.เธอ จงดู อ.อสรพิษ ดังนี้ กะพระเถระชื่อว่าอานนท์ ฯ อ.พระเถระชื่อว่าอานนท์ กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ ย่อมเห็น อ.อสรพิษ ตัวมีพิษอันร้าย ดังนี้ ฯ อ.ชาวนา ฟังแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าว นั้น คิดแล้ว ว่า อ.ที่นั่น เป็นที่เป็นที่เที่ยวไป ในเวลา หรือ หรือว่า ในสมัยมิใช่เวลา ของเรา ย่อมเป็น ได้ยินว่า อ.อสรพิษ มีอยู่ ในที่ นี้ ดังนี้ ครั้นเมื่อพระศาสดาตรัสแล้ว ซึ่งพระดำรัส อันมีประมาณเท่านี้ เสด็จหลีกไปแล้ว ถือเอาแล้ว ซึ่งด้ามแห่งปฏัก ไปแล้ว ด้วยอันคิด ว่า อ.เรา ยังอสรพิษ นั้น จักให้ตาย ดังนี้ เห็นแล้ว ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ คิดแล้ว ว่า อ.พระดำรัสนั้น เป็นพระดำรัสอันพระศาสดาตรัสแล้ว ทรงหมายเอา ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ นี้ จักเป็น ดังนี้ ถือเอาแล้ว ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ นั้น กลับแล้ว วางไว้แล้ว ซึ่งถุงอันเต็มแล้วด้วยพันแห่งทรัพย์ นั้น ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง เพราะความที่แห่งตนเป็นคนไม่ฉลาด กลบแล้ว ด้วยดินร่วนเริ่มแล้ว เพื่ออันไถ อีก ฯ แม้ อ.มนุษย์ ท. ครั้นเมื่อราตรี สว่างแล้ว เห็นแล้ว ซึ่งกรรม อันโจร ท. กระทำแล้ว ในเรือน ไปอยู่ สู่ที่มีรอยเท้าและรอยเท้าตาม ไปแล้ว สู่นานั้น เห็นแล้ว ซึ่งที่แห่งสิ่งของ อันโจร ท. แบ่งกันแล้ว ในที่นั้น ได้เห็นแล้ว ซึ่งรอยแห่งเท้า ของชาวนา ฯ อ.มนุษย์ ท. เหล่านั้น ไปแล้ว ตามแนวแห่งรอยเท้าของชาวนา นั้น เห็นแล้ว ซึ่งที่แห่งถุง อันชาวนาวางไว้แล้ว คุ้ยแล้ว ซึ่งดินร่วน ถือเอาแล้ว ซึ่งถุง คุกคามแล้วว่า อ.เจ้า ปล้นแล้ว ซึ่งเรือน เป็นราวกะว่าไถอยู่ ซึ่งนา เป็นย่อมเที่ยวไป ดังนี้ โบยแล้ว ด้วยท่อนไม้ นำไปแล้ว แสดงแล้ว แก่พระราชา ฯ

อีกนัยหนึ่ง ชื่อ อ.พยานอื่น ของชาวนานั้น เว้นซึ่งเรา จักไม่มี ฯ (หรือ) ชื่อ อ.พยานอื่น จักไม่มีแก่ชาวนานั้น เว้นซึ่งเรา ฯ
หรือจะแปลว่า แม้ อ.ธรรมอันเป็นอุปนิสัย แห่งโสดาปัตติมรรค มีอยู่แก่ชาวนานั้น ฯ
อีกนัยหนึ่ง อ.พระศาสดา ได้เสร็จไปแล้ว ในที่นั้น กับด้วยพระเถระชื่อว่าอานนท์ ผู้เป็นปัจฉาสมณะ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระราชา ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตชาวนานั้น ฯ พวกราชบุรุษมัดชาวนานั้นให้มีแขนไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวายนำไปสู่ตะแลงแกงแล้ว ฯ ชาวนานั้นถูกราชบุรุษเฆี่ยนด้วยหวาย ไม่พูดคำอะไร ๆ อื่น เดินพูดไปอยู่อย่างนี้ ฯ ครั้งนั้น พวกราชบุรุษถามเขาว่า แกกล่าวถ้อยคำของสมเด็จพระบรมศาสดาและพระอานนท์เถระเท่านั้น นี่ชื่ออะไร เมื่อชาวนาตอบว่า เราเมื่อได้เฝ้าพระราชาจึงจักบอก จึงนำไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชาแล้ว ฯ ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามชาวนานั้นว่า เพราะเหตุไร เจ้าจึงกล่าวอย่างนี้ ฯ แม้ชาวนานั้น กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ใช่โจร แล้วก็กราบทูลเรื่องนั้น ทั้งหมดแด่พระราชา จำเดิมแต่กาลที่ตนออกไปเพื่อต้องการจะไถนา ฯ พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของชาวนานั้นแล้ว ตรัสว่า พนาย ชาวนานี้อ้างเอาสมเด็จพระบรมศาสดาผู้เป็นบุคคลเลิศในโลกเป็นพยาน เราจะยกโทษ แก่ชาวนานี่ยังไม่สมควร เราจักรู้สิ่งที่ควรกระทำในเรื่องนี้ ดังนี้แล้ว ทรงพาชาวนานั้นไปยังสำนักของสมเด็จพระบรมศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามสมเด็จพระบรมศาสดาว่า ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เสด็จไปสู่ที่ไถนาของชาวนานั้น กับพระอานนท์เถระ แลหรือ ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(วนวาสิติสฺสตฺเถรวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๑๗๒-๑๗๓)

๑. เทสนา ราชคเห สมุฏฺฐิตา ฯ สารีปุตฺตตฺเถรสฺส กิร ปิตุ วงฺคนฺตพฺราหฺมณสฺส สหายโก  มหาเสนพฺราหฺมโณ นาม ราชคเห วสติ ฯ สารีปุตฺตตฺเถโร เอกทิวสํ ปิณฺฑาย จรนฺโต ตสฺมึ  อนุกมฺปาย ตสฺส เคหทฺวารํ อคมาสิ ฯ โส ปน ปริกฺขีณวิภโว ทลิทฺโท ชาโต ฯ โส  “มม ปุตฺโต  มยฺหํ เคหทฺวาเร ปิณฺฑาย จริตุํ อาคโต ภวิสฺสติ, อหญฺจมฺหิ ทุคฺคโต, มม ปุตฺโต มยฺหํ ทุคฺคตภาวํ  น ชานาติ มญฺเญ, นตฺถิ เม โกจิ เทยฺยธมฺโมติ ตสฺส สมฺมุขา ภวิตุํ อสกฺโกนฺโต นิลียิ ฯ เถโรปิ  อปรมฺปิ ทิวสํ อคมาสิ ฯ พฺราหฺมโณ ตเถว นิลียิ ฯ  “กิญฺจิเทว ลภิตฺวา ทสฺสามีติ จินฺเตนฺโต  นาลภิ ฯ อเถกทิวสํ เอกสฺมึ พฺราหฺมณวาจเก ถุลฺลสาฏเกน สทฺธึ ปายาสปาตึ ลภิตฺวา อาทาย เคหํ คนฺตฺวา ว เถรํ อนุสฺสริ  “อิมํ ปิณฺฑปาตํ มยา เถรสฺส ทาตุํ วฏฺฏตีติ ฯ เถโรปิ ตํขณญฺเญว ฌานํ  สมาปชฺชิตฺวา สมาปตฺติโต วุฏฺฐาย ตํ พฺราหฺมณํ ทิสฺวา  “พฺราหฺมโณ เทยฺยธมฺมํ ลภิตฺวา มม อาคมนํ ปจฺจาสึสติ, มยา ตตฺถ คนฺตุํ วฏฺฏตีติ สงฺฆาฏึ ปารุปิตฺวา ปตฺตมาทาย ตสฺส เคหทฺวาเร  ฐิตเมว  อตฺตานํ ทสฺเสสิ ฯ พฺราหฺมณสฺส เถรํ ทิสฺวา ว จิตฺตํ ปสีทิ ฯ อถ นํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา  ปฏิสนฺถารํ กตฺวา อนฺโตเคเห นิสีทาเปตฺวา ปายาสปาตึ คเหตฺวา เถรสฺส ปตฺเต อากิริ ฯ เถโร  อุปฑฺฒํ ปฏิจฺฉิตฺวา หตฺเถน ปตฺตํ ปิทหิ ฯ อถ นํ พฺราหฺมโณ  “ภนฺเต เอกสฺส ปฏิวึสมตฺโต ว  อยํ ปายาโส, ปรโลกสงฺคหํ เม กโรถ, มา อิธโลกสงฺคหํ; นิรวเสสเมว ทาตุกาโมมฺหีติ สพฺพํ  อากิริ ฯ เถโร ตตฺเถว ปริภุญฺชิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(วนวาสิติสฺสตฺเถรวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๑๗๓-๑๗๔)

๒. อถสฺส ภตฺตกิจฺจปริโยสาเน ตมฺปิ สาฏกํ ทตฺวา วนฺทิตฺวา เอวมาห  “ภนฺเต อหมฺปิ  ตุมฺเหหิ ทิฏฺฐธมฺมเมว ปาปุเณยฺยนฺติ ฯ เถโร  “เอวํ โหตุ พฺราหฺมณาติ ตสฺส อนุโมทนํ กตฺวา  อุฏฺฐายาสนา ปกฺกมนฺโต อนุปุพฺเพน จาริกํ จรมาโน เชตวนํ อคมาสิ ฯ

พฺราหฺมโณปิ ตํ ทานํ ทตฺวา ปสนฺนจิตฺโต โสมนสฺสชาโต เถเร อธิมตฺตสิเนหมกาสิ ฯ โส  เถเร สิเนเหเนว กาลํ กตฺวา สาวตฺถิยํ เถรสฺส อุปฏฺฐากกุเล ปฏิสนฺธึ คณฺหิ ฯ ตํขณญฺเญว ปนสฺส  มาตา  “กุจฺฉิยํ เม คพฺโภ ปติฏฺฐิโตติ สามิกสฺส อาโรเจสิ ฯ โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ ตสฺสา อจฺจุณฺหอติสีตอติอมฺพิลาทิปริโภคํ วชฺเชตฺวา สุเขน คพฺภํ ปริหรมานาย เอวรูโป  โทหโฬ อุปฺปชฺชิ  “อโห วตาหํ สารีปุตฺตตฺเถรปฺปมุขานิ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ นิมนฺเตตฺวา เคเห  นิสีทาเปตฺวา อสมฺภินฺนขีรปายาสํ ทตฺวา สยมฺปิ กาสาววตฺถานิ ปริทหิตฺวา สุวณฺณสรกํ  อาทาย อาสนปริยนฺเต นิสีทิตฺวา เอตฺตกานํ ภิกฺขูนํ อุจฺฉิฏฺฐปายาสํ ปริภุญฺเชยฺยนฺติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.เทศนา ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ในพระนครชื่อว่าราชคฤห์ ฯ ได้ยินว่า ชื่อ อ.พราหมณ์ชื่อว่ามหาเสนะ ผู้เป็นสหาย ของพราหมณ์ชื่อว่าวังคันตะ ผู้เป็นบิดา ของพระเถระชื่อว่าสารีบุตร ย่อมอยู่ ในพระนครชื่อว่าราชคฤห์ฯ อ.พระเถระชื่อว่าสารีบุตร เที่ยวไปอยู่ เพื่อก้อนข้าว ในวันหนึ่ง ได้ไปแล้ว สู่ประตูแห่งเรือน ของพราหมณ์ นั้น เพื่ออนุเคราะห์ ในพราหมณ์ นั้น ฯ ส่วนว่า  อ.พราหมณ์นั้น เป็นผู้มีสมบัติอันบุคคลพึงเสวยสิ้นรอบแล้ว เป็นคนขัดสน เกิดแล้ว ฯ  อ. พราหมณ์นั้น คิดแล้วว่า อ.บุตร ของเรา เป็นผู้มาแล้ว เพื่ออันเที่ยวไป เพื่อก้อนข้าว ที่ประตูแห่งเรือนของเรา จักเป็น ส่วนว่า อ.เรา เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งยาก ย่อมเป็น อ.บุตร ของเรา เห็นจะ ย่อมไม่รู้ ซึ่งความที่แห่งเราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งยาก อ.ไทยธรรม อะไรๆ ของเรา ย่อมไม่มี ดังนี้ ไม่อาจอยู่ เพื่ออันมี ในที่พร้อมหน้า แห่งพระเถระ นั้น แอบแล้ว ฯ แม้ อ.พระเถระ ได้ไปแล้ว ในวัน แม้อื่นอีก ฯ อ.พราหมณ์ แอบแล้ว เหมือน อย่างนั้นนั่นเทียว ฯ อ.พราหมณ์นั้น คิดอยู่ ว่า อ.เรา ได้แล้ว ซึ่งวัตถุอะไร ๆ นั่นเทียว จักถวาย ดังนี้ ไม่ได้ได้แล้ว ฯ ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง อ.พราหมณ์นั้น ได้แล้ว ซึ่งถาดแห่งข้าวปายาส กับ ด้วยผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ในที่เป็นที่บอก ซึ่งลัทธิของพราหมณ์ แห่งหนึ่ง ถือแล้ว ไปแล้ว สู่เรือนเทียว ตามระลึกถึงแล้ว ซึ่งพระเถระ ว่า อ.อันอันเรา ถวาย ซึ่งบิณฑบาต นี้ แก่พระเถระย่อมควร ดังนี้ ฯ แม้ อ.พระเถระ เข้าแล้ว ซึ่งฌาน ในขณะนั้นนั่นเทียว ออกแล้ว จากสมาบัติ เห็นแล้ว ซึ่งพราหมณ์ นั้น คิดแล้ว ว่า อ.พราหมณ์ ได้แล้ว ซึ่งไทยธรรม ย่อมหวังเฉพาะ ซึ่งการมาแห่งเรา อ.อันอันเรา ไป ในที่นั้น ย่อมควร ดังนี้ ห่มแล้ว ซึ่งผ้าสังฆาฏิ ถือแล้ว ซึ่งบาตร แสดงแล้ว ซึ่งตน ผู้ยืนอยู่แล้ว ที่ประตูแห่งเรือน ของพราหมณ์ นั้นนั่นเทียว ฯ อ.จิต ของพราหมณ์ เลื่อมใสแล้ว เพราะเห็น ซึ่งพระเถระเทียว ฯ ครั้งนั้น อ.พราหมณ์ เข้าไปหาแล้ว ซึ่งพระเถระ นั้น ไหว้แล้ว กระทำแล้ว ซึ่งปฏิสันถาร ยังพระเถระ ให้นั่งแล้ว ในภายในแห่งเรือน ถือแล้ว ซึ่งถาดแห่งข้าวปายาส เกลี่ยลงแล้ว ในบาตร ของพระเถระ ฯ อ.พระเถระ รับเฉพาะแล้ว ซึ่งข้าวปายาส อันเข้าไปด้วยทั้งกึ่ง ปิดแล้ว ซึ่งบาตร ด้วยมือ ฯ ครั้งนั้น อ.พราหมณ์ กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ข้าวปายาส นี้ เป็นของสักว่าส่วน แห่งบุคคล คนเดียวเทียว ย่อมเป็น อ.ท่าน ขอจงกระทำ ซึ่งการสงเคราะห์ในโลกอื่น แก่กระผม อ.ท่าน จงอย่ากระทำ ซึ่งการสงเคราะห์ ในโลกนี้ แก่กระผม อ.กระผม เป็นผู้ใคร่เพื่ออันถวาย กระทำ ให้เป็นของมีส่วนเหลือลงออกแล้วนั่นเทียว ย่อมเป็น ดังนี้ กะพระเถระ นั้น เกลี่ยลงแล้ว ซึ่งข้าวปายาส ทั้งปวง ฯ อ. พระเถระ ฉันแล้ว ในที่ นั้นนั่นเทียว ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ พราหมณ์ก็ถวายผ้าสาฎกแม้นั้น แก่พระเถระนั้น ไหว้แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ แม้กระผมพึงบรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วเหมือนกัน ฯ พระเถระทำอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด พราหมณ์ ลุกจากอาสนะหลีกไป เที่ยวจาริก โดยลำดับ ได้ถึงพระเชตวันแล้ว ฯ

แม้พราหมณ์ถวายทานนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส เกิดโสมนัสแล้วได้ทำความสิเนหามีประมาณยิ่งในพระเถระ ฯ ด้วยความสิเนหาในพระเถระนั่นแล เขาทำกาละแล้ว ถือปฏิสนธิในสกุลอุปัฏฐากของพระเถระในกรุงสาวัตถี ฯ ก็ในขณะนั้นแล มารดาของเขา บอกแก่สามีว่า ในท้องของฉัน ตั้งครรภ์แล้ว ฯ สามีนั้นได้ให้เครื่องบริหารครรภ์แก่นาง ฯ เมื่อนางเว้นการบริโภคอาหาร มีของร้อนจัดเย็นจัดและเปรี้ยวจัดเป็นต้น รักษาครรภ์อยู่โดยสบาย ความแพ้ท้องเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธานให้นั่งในเรือน ถวายข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมล้วน แม้ตนเอง นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทอง นั่งในที่สุดแห่งอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาส อันเป็นเดนของภิกษุประมาณเท่านี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒

แปลโดยพยัญชนะ :
(โกสมฺพิกวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๕๗-๕๘)

๑. อานนฺทตฺเถโร อนาถปิณฺฑิกาทีหิ เปสิตํ สาสนํ อาโรเจตฺวา  “ภนฺเต อนาถปิณฺฑิกปมุขา ปญฺจ อริยสาวกโกฏิโย ตุมฺหากํ อาคมนํ ปจฺจาสึสนฺตีติ อาห ฯ สตฺถา “เตนหิ คณฺหาหิ ปตฺตจีวรนฺติ ปตฺตจีวรํ คาหาเปตฺวา นิกฺขมิ ฯ นาโค คนฺตฺวา มคฺเค ติริยํ อฏฺฐาสิ ฯ ภิกฺขู ตํ ทิสฺวา ภควนฺตํ ปุจฺฉึสุ “กึ กโรติ ภนฺเตติ ฯ  “ตุมฺหากํ ภิกฺขเว ภิกฺขํ ทาตุํ ปจฺจาสึสติ, ทีฆรตฺตํ โข ปนายํ มยฺหํ อุปการโก, นาสฺส จิตฺตํ โกเปตุํ วฏฺฏติ, นิวตฺตถ ภิกฺขเวติ ฯ สตฺถา ภิกฺขู คเหตฺวา นิวตฺติ ฯ หตฺถีปิ วนสณฺฑํ  ปวิสิตฺวา ปนสกทลิผลาทีนิ นานาผลานิ สํหริตฺวา ราสึ กตฺวา ปุนทิวเส ภิกฺขูนํ อทาสิ ฯ ปญฺจสตา ภิกฺขู สพฺพานิ เขเปตุํ นาสกฺขึสุ ฯ ภตฺตกิจฺจปริโยสาเน สตฺถา ปตฺตจีวรํ คเหตฺวา นิกฺขมิ ฯ นาโค  ภิกฺขูนํ อนฺตรนฺตเรน คนฺตฺวา สตฺถุ ปุรโต ติริยํ อฏฺฐาสิ ฯ ภิกฺขู ตํ ทิสฺวา ภควนฺตํ ปุจฺฉึสุ  “กึ กโรติ ภนฺเตติ ฯ  “อยํ ภิกฺขเว ตุมฺเห เปเสตฺวา มํ นิวตฺเตตีติ ฯ  “เอวํ ภนฺเตติ ฯ  “อาม ภิกฺขเวติ ฯ อถ นํ  สตฺถา  “ปาริเลยฺยก อิทํ มม อนิวตฺตคมนํ, ตว อิมินา อตฺตภาเวน ฌานํ วา วิปสฺสนํ วา มคฺคผลํ วา นตฺถิ, ติฏฺฐ ตฺวนฺติ อาห ฯ ตํ สุตฺวา นาโค มุเข โสณฺฑํ ปกฺขิปิตฺวา โรทนฺโต ปจฺฉโต ปจฺฉโต  อคมาสิ ฯ โส หิ สตฺถารํ นิวตฺเตตุํ ลภนฺโต เตเนว นิยาเมน ยาวชีวํ ปฏิชคฺเคยฺย ฯ

แปลโดยอรรถ :
(โกสมฺพิกวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๕๘-๕๙)

๒. สตฺถา ปน ตํ คามูปจารํ ปตฺวา  “ปาริเลยฺยก อิโต ปฏฺฐาย ตว อภูมิ, มนุสฺสาวาโส  สปริปนฺโถ, ติฏฺฐ ตฺวนฺติ อาห ฯ โส โรทมาโน ตตฺถ ฐตฺวา สตฺถริ จกฺขุปถํ วิชหนฺเต, หทเยน ผลิเตน กาลํ กตฺวา สตฺถริ ปสาเทน ตาวตึสภวเน ตึสโยชนิเก กนกวิมาเน อจฺฉราสหสฺสมชฺเฌ นิพฺพตฺติ ฯ ปาริเลยฺยกเทวปุตฺโตเตฺววสฺส นามํ อโหสิ ฯ

โกสมฺพิกา ภิกฺขู  “สตฺถา กิร สาวตฺถึ อาคโตติ สุตฺวา สตฺถารํ ขมาเปตุํ ตตฺถ อคมํสุ ฯ  โกสลราชา  “เต กิร โกสมฺพิกา ภณฺฑนการกา ภิกฺขู อาคจฺฉนฺตีติ สุตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา  “อหํ ภนฺเต เตสํ มม วิชิตํ ปวิสิตุํ น ทสฺสามีติ อาห ฯ  “มหาราช สีลวนฺตา เต ภิกฺขู, เกวลํ  อญฺญมญฺญํ วิวาเทน มม วจนํ น คณฺหึสุ; อิทานิ มํ ขมาเปตุํ อาคจฺฉนฺติ, อาคจฺฉนฺตุ มหาราชาติ ฯ อนาถปิณฺฑิโกปิ  “ภนฺเต อหํ เตสํ วิหารํ ปวิสิตุํ น ทสฺสามีติ วตฺวา ตเถว ภควตา ปฏิกฺขิตฺโต ตุณฺหี อโหสิ ฯ สาวตฺถิยํ อนุปฺปตฺตานํ ปน เตสํ ภควา เอกมนฺเต วิวิตฺตํ การาเปตฺวา เสนาสนํ ทาเปสิ ฯ  อญฺเญ ภิกฺขู เตหิ สทฺธึ เนว เอกโต นิสีทนฺติ น ติฏฺฐนฺติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.พระเถระชื่อว่าอานนท์ กราบทูลแจ้งแล้ว ซึ่งข่าวสาส์น อันอันชน ท. มีเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ส่งไปแล้ว กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.โกฏิแห่งอริยสาวก ท. ๕ ผู้มีเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะเป็นประมุข ย่อมหวังเฉพาะ ซึ่งการเสด็มา แห่งพระองค์ ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดาตรัสแล้ว ว่า ถ้าอย่างนั้น อ.เธอ จงถือ ซึ่งบาตรและจีวร ดังนี้ ยังพระเถระให้ถือแล้ว ซึ่งบาตรและจีวร เสด็จออกแล้ว ฯ อ.ช้าง ไปแล้ว ได้ยืนแล้ว ขวางในหนทาง ฯ อ.ภิกษุ ท. เห็นแล้ว ซึ่งช้าง นั้น ทูลถามแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ช้างนี้ ย่อมทำซึ่งอะไร ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนภิกษุ ท. อ.ช้างนี้ ย่อมหวังเฉพาะ เพื่ออันถวาย ซึ่งภิกษาแก่เธอ ท. ก็ อ.ช้างนี้ เป็นผู้ทำซึ่งอุปการะ ย่อมเป็น แก่เรา สิ้นราตรีนาน แล อ.อันอันเรา ยังจิต ของช้างนั้น ให้กำเริบ ย่อมไม่ควร ดูก่อนภิกษุ ท. อ.เธอ ท.จงกลับ ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ทรงพาแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. เสด็จกลับแล้ว ฯ แม้ อ.ช้าง เข้าไปแล้ว สู่ชัฏแห่งป้า รวบรวมแล้ว ซึ่งผลไม้ต่าง ๆ ท. มีผลแห่งขนุนและกล้วยเป็นต้น ทำแล้ว ให้เป็นกอง ได้ถวายแล้ว แก่ภิกษุ ท. ในวันรุ่งขึ้น ฯ อ.ภิกษุ ท. ผู้มีร้อยเป็นประมาณ ไม่ได้อาจแล้ว เพื่ออันยังผลไม้ ท. ทั้งปวง ให้สิ้นไป ฯ อ.พระศาสดา ทรงถือแล้ว ซึ่งบาตและจีวร เสด็จออกแล้ว ในกาลเป็นที่สุดลงรอบแห่งกิจด้วยภัต ฯ อ.ช้าง ไปแล้ว โดยระหว่างและระหว่างแห่งภิกษุ ท. ได้ยืนแล้ว ขวาง ข้างพระพักตร์ ของพระศาสดา ฯ อ.ภิกษุ ท. เห็นแล้ว ซึ่งช้าง นั้น ทูลถามแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. ช้างนี้ ย่อมทำ ซึ่งอะไร ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนภิกษุ ท. อ.ช้างนี้ ส่งไปแล้ว ซึ่งเธอ ท. ยังเรา ย่อมให้กลับ ดังนี้ ฯ อ.ภิกษุ ท. กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.อย่างนี้ หรือ ดังนี้  ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนภิกษุ ท. เออ อ.อย่างนี้ ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนปาริเลยยกะ อ.การไป นี้ เป็นการไปอันไม่กลับแล้ว แห่งเรา ย่อมเป็น อ.ฌาน หรือ หรือว่า อ.วิปัสสนา หรือว่า อ.มรรคและผล ย่อมไม่มี แก่เจ้า โดยอัตภาพนี้ อ.เจ้า จงหยุด ดังนี้ กะช้างชื่อว่าปาริเลยยกะ นั้น ฯ อ.ช้าง ฟังแล้ว ซึ่งพระดำรัส นั้น ใส่เข้าแล้ว ซึ่งงวง ในปากร้องไห้อยู่ ได้ไปแล้ว ข้างหลัง ข้างหลัง ฯ ก็ อ.ช้าง นั้น เมื่อได้ เพื่ออันยังพระศาสดาให้เสด็จกลับ พึงปฏิบัติ สิ้นกาลกำหนดเพียงไรแห่งชีวิต โดยทำนองนั้นนั่นเทียว ฯ

ส่วนที่แปลว่า ส่งมาแล้ว มุ่งเอาความหมาย
ศัพท์ประเภทนี้เมื่อใช้ในความคารพ มีรูปเป็นพหูพจน์แต่แปลเป็นเอกพจน์

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ฝ่ายพระบรมศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านนั้นแล้วตรัสว่า ปาริเลยยกะ จำเดิมแต่นี้ไปมิใช่ที่ของเจ้า เป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์มีอันตรายเบียดเบียนอยู่รอบข้าง เจ้าจงหยุดอยู่เถิด ฯ ช้างนั้นยืนร้องไห้อยู่ในที่นั้น เมื่อพระบรมศาสดาทรงละคลองจักษุไป มีหัวใจแตกสิ้นชีวิตแล้ว เพราะความเลื่อมใสในพระบรมศาสดา จึงบังเกิดในท่ามกลางนางอัปสรพันหนึ่งในวิมานทอง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ ฯ เทพบุตรนั้นได้มีชื่อว่าปาริเลยยกเทพบุตรนั่นแล ฯ

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีสดับว่า ได้ยินว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถีแล้วจึงได้ไป ณ ที่นั้น เพื่อจะกราบทูลขอขมาพระบรมศาสดา ฯ พระเจ้าโกศลทรงสดับว่า ได้ยินว่า พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้นกำลังมา จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามายังแว่นแคว้นของหม่อมฉัน ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีล (แต่)พวกเธอไม่เชื่อฟังคำของอาตมาเพราะวิวาทกันอย่างเดียว บัดนี้ พวกเธอกำลังมาเพื่อขอขมาอาตมา มหาบพิตร ขอให้พวกเธอ จงมาเถิด ฯ แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามายังวิหาร ดังนี้ ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธอย่างนั้นเหมือนกัน จึงได้นิ่งแล้ว ฯ ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้ทำที่สงัด ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วให้ประทานเสนาสนะแก่ภิกษุเหล่านั้น ฯ ภิกษุเหล่าอื่นไม่นั่งไม่ยืนร่วมกับภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเหล่านั้นเลย ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๒ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(เทฺวสหายกภิกฺขุวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๔๔-๑๔๕)

๑. สาวตฺถีวาสิโน หิ เทฺว กุลปุตฺตา สหายกา วิหารํ คนฺตฺวา สตฺถุ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา กาเม  ปหาย สตฺถุ สาสเน อุรํ ทตฺวา ปพฺพชิตฺวา ปญฺจ วสฺสานิ อาจริยุปชฺฌายานํ สนฺติเก วสิตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา สาสเน ธุรํ ปุจฺฉิตฺวา วิปสฺสนาธุรญฺจ คนฺถธุรญฺจ วิตฺถารโต สุตฺวา, เอโก ตาว   “อหํ ภนฺเต มหลฺลกกาเล ปพฺพชิโต น สกฺขิสฺสามิ คนฺถธุรํ ปูเรตุํ, วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามีติ  ยาว อรหตฺตา วิปสฺสนํ กถาเปตฺวา ฆเฏนฺโต วายมนฺโต สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ  อิตโร ปน  “อหํ คนฺถธุรํ ปูเรสฺสามีติ อนุกฺกเมน เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อุคฺคณฺหิตฺวา คตคตฏฺฐาเน  ธมฺมํ กเถติ, สรภญฺญํ ภณติ ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ ธมฺมํ วาเจนฺโต วิจรติ, อฏฺฐารสนฺนํ มหาคณานํ  อาจริโย อโหสิ ฯ ภิกฺขู สตฺถุ สนฺติเก กมฺมฏฺฐานํ คเหตฺวา อิตรสฺส เถรสฺส วสนฏฺฐานํ คนฺตฺวา  ตสฺโสวาเท ฐตฺวา อรหตฺตํ ปตฺวา เถรํ วนฺทิตฺวา  “สตฺถารํ ทฏฺฐุกามมฺหาติ วทนฺติ ฯ เถโร  “คจฺฉถ อาวุโส, มม วจเนน สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อสีติมหาเถเร วนฺทถ, สหายกตฺเถรํปิ เม ‘อมฺหากํ อาจริโย  ตุมฺเห วนฺทตีติ วเทถาติ เปเสสิ ฯ เต วิหารํ คนฺตฺวา สตฺถารญฺเจว อสีติมหาเถเร จ วนฺทิตฺวา  คนฺถิกตฺเถรสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา  “ภนฺเต อมฺหากํ อาจริโย ตุมฺเห วนฺทตีติ วทนฺติ ฯ อิตเรน จ  ‘โก นาเมโสติ วุตฺเต  “ตุมฺหากํ สหายกภิกฺขุ ภนฺเตติ วทนฺติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(เทฺวสหายกภิกฺขุวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๔๕)

๒. เอวํ เถเร ปุนปฺปุนํ สาสนํ ปหิณนฺเต, โส ภิกฺขุ โถกํ กาลํ สหิตฺวา อปรภาเค สหิตุํ  อสกฺโกนฺโต,  “อมฺหากํ อาจริโย ตุมฺเห วนฺทตีติ วุตฺเต,  “โก เอโสติ วตฺวา,  “ตุมฺหากํ สหายกภิกฺขุ ภนฺเตติ วุตฺเต,  “กึ ปน ตุมฺเหหิ ตสฺส สนฺติเก อุคฺคหิตํ: กึ ทีฆนิกายาทีสุ อญฺญตโร นิกาโย, กึ  ตีสุ ปิฏเกสุ เอกํ ปิฏกนฺติ วตฺวา,  “จตุปฺปทิกํปิ คาถํ น ชานาติ, ปํสุกูลํ คเหตฺวา ปพฺพชิตกาเลเยว อรญฺญํ ปวิฏฺโฐ, พหู วต อนฺเตวาสิเก ลภิ, ตสฺส อาคตกาเล มยา ปญฺหํ ปุจฺฉิตุํ วฏฺฏตีติ จินฺเตสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ดังจะกล่าวโดยพิสดาร อ.กุลบุตร ท. สอง ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าสวัตถีโดยปกติ เป็นสหายกัน เป็น ไปแล้ว สู่วิหาร ฟังแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ละแล้ว ซึ่งกาม ท. บวชถวายแล้ว ซึ่งอก ในพระศาสนาของพระศาสดา อยู่แล้ว ในสำนัก ของพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ท. สิ้นปี ท. ห้า เข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา ทูลถามแล้ว ซึ่งธุระ ในพระศาสนา ฟังแล้ว ซึ่งวิปัสสนาธุระด้วย ซึ่งคันถธุระด้วย โดยพิสดาร อ.ภิกษุ รูปหนึ่ง กราบทูลแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ เป็นผู้บวชแล้ว เป็น ในกาลแห่งตนเป็นคนแก่ จักไม่อาจ เพื่ออันยังคันถธุระให้เต็ม แต่ว่า อ.ข้าพระองค์ ยังวิปัสสนาธุระ จักให้เต็ม ดังนี้ ก่อน ยังพระศาสดา ให้ตรัสบอกแล้ว ซึ่งวิปัสสนา เพียงไร แต่ความเป็นแห่งพระอรหันต์ พากเพียรอยู่พยายามอยู่ บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ กับ ด้วยปฏิสัมภิทา ท. ฯ ส่วนว่า อ.ภิกษุ นอกนี้ คิดแล้ว ว่า อ.เรา ยังคันถธุระ จักให้เต็ม ดังนี้ เรียนแล้วซึ่งพระพุทธพจน์ คือ ซึ่งหมวดแห่งปิฎกสามโดยลำดับ ย่อมกล่าว ซึ่งธรรม ย่อมสวด สวดด้วยเสียง ในที่แห่งตนทั้งไปแล้วทั้งไปแล้ว ย่อมเที่ยวบอกอยู่ซึ่งธรรม แก่ร้อยแห่งภิกษุ ท. เป็นอาจารย์ ของคณะใหญ่ ท. สิบแปด ได้เป็นแล้ว ฯ อ.ภิกษุ ท. เรียนแล้ว ซึ่งพระกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระศาสดาไปแล้ว สู่ที่เป็นที่อยู่ แห่งพระถระ นอกนี้ ตั้งอยู่แล้ว ในโอวาท ของพระเถระนั้น บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ไหว้แล้ว ซึ่งพระถระ ย่อมกล่าวว่า อ.กระผม ท. เป็นผู้ใคร่เพื่ออันเห็น ซึ่งพระศาสดา ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.พระถระ ส่งไปแล้ว ด้วยคำ ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อ.ท่าน ท. จงไป อ.ท่าน ท. ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา จงไหว้ ซึ่งพระถระผู้ใหญ่แปดสิบ ท. ตามคำของเรา อ.ท่าน ท. จงกล่าวว่า อ.อาจารย์ ของกระผม ท. ย่อมไหว้ ซึ่งท่าน ดังนี้ แม้กะพระเถระผู้เป็นสหาย ของเรา ดังนี้ ฯ อ.ภิกษุ ท. เหล่นั้น ไปแล้ว สู่วิหารถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดาด้วยนั่นเทียว ไหว้แล้ว ซึ่งพระเถระผู้ใหญ่แปดสิบ ท. ด้วย ไปแล้ว สู่สำนัก ของพระเถระผู้เรียนซึ่งคัมภีร์ ย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.อาจารย์ ของกระผม ท. ย่อมไหว้ ซึ่งท่าน ดังนี้ ฯ ก็ ครั้นเมื่อคำว่า อ.อาจารย์ ของท่านน ท. นั่น ชื่อว่าเป็นใคร ย่อมเป็น ดังนี้ อันพระเถระผู้เรียนซึ่งคัมภีร์ นอกนี้ กล่าวแล้ว อ.ภิกษุ ท. เหล่านั้น ย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.อาจารย์ ของกระผม ท. นั่น เป็นภิกษุผู้เป็นสหาย ของท่าน ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. เมื่อพระเถระส่งข่าวเยี่ยมอย่างนี้เรื่อย ๆ อยู่ ภิกษุนั้นอดทนอยู่ได้สิ้นกาลเล็กน้อย ภายหลังไม่สามารถจะอดทนอยู่ได้ เมื่อพวกอาคันตุกภิกษุเรียนว่า ท่านอาจารย์ของพวกกระผมนมัสการใต้เท้า ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็นใคร ฯ เมื่ออาคันตุกภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เป็นภิกษุผู้เป็นสหายของใต้เท้า ขอรับ จึงกล่าวว่า ก็อะไรเล่า ที่พวกท่านเรียนในสำนักของภิกษุนั้น บรรดานิกายมีทีฆนิกายเป็นต้น นิกายใดนิกายหนึ่งหรือ หรือว่า บรรดาปิฎก ๓ ปิฎกหนึ่งหรือ ที่พวกท่านได้เรียนแล้วดังนี้แล้ว คิดว่า สหายของเราย่อมไม่รู้จักคาถาแม้ประกอบ ด้วย ๔ บท ถือบังสุกุลเข้าป่าตั้งแต่ในคราวบวชแล้วนั่นเอง ยังได้อันเตวาสิกมากมายหนอ ในกาลที่เธอมา เราควรถามปัญหาดู ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑

แปลโดยพยัญชนะ :
(โสเรยฺยเถรตฺวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๘๑-๘๒)

๑. ชีวโกปิ โข โกมารภจฺโจ ทสพลสฺส ทกฺขิโณทกํ อุปนาเมสิ ฯ สตฺถา  “นนุ ชีวก วิหาเร  ภิกฺขุ อตฺถีติ หตฺเถน ปตฺตํ ปิทหิ ฯ มหาปนฺถโก  “นนุ ภนฺเต วิหาเร นตฺถิ ภิกฺขูติ อาห ฯ สตฺถา  “อตฺถิ ชีวกาติ อาห ฯ ชีวโก  “เตนหิ ภเณ คจฺฉ วิหาเร ภิกฺขูนํ อตฺถิภาวํ วา นตฺถิภาวํ วา ชานาหีติ  ปุริสํ เปเสสิ ฯ ตสฺมึ ขเณ จูฬปนฺถโก  “มยฺหํ ภาติโก ‘วิหาเร ภิกฺขู นตฺถีติ ภณติ, วิหาเร ภิกฺขูนํ  อตฺถิภาวมสฺส ปกาเสสฺสามีติ สกลํ อมฺพวนํ ภิกฺขูนญฺเญว ปูเรสิ: เอกจฺเจ ภิกฺขู จีวรกมฺมํ  กโรนฺติ, เอกจฺเจ รชนกมฺมํ กโรนฺติ, เอกจฺเจ สชฺฌายํ กโรนฺติ; เอวํ อญฺญมญฺญํ อสทิสํ ภิกฺขุสหสฺสํ มาเปสิ ฯ โส ปุริโส วิหาเร พหู ภิกฺขู ทิสฺวา นิวตฺติตฺวา  “อยฺย สกลอมฺพวนํ ภิกฺขูหิ ปริปุณฺณนฺติ  ชีวกสฺส อาโรเจสิ ฯ  อถ สตฺถา ตํ ปุริสํ อาห  “วิหารํ คนฺตฺวา ‘สตฺถา จูฬปนฺถกํ นาม ปกฺโกสตีติ  วเทหีติ ฯ เตน คนฺตฺวา ตถา วุตฺเต,  “อหํ จูฬปนฺถโก อหํ จูฬปนฺถโกติ มุขสหสฺสํ อุฏฺฐหิ ฯ โส  ปุริโส ปุน คนฺตฺวา  “สพฺเพปิ กิร ภนฺเต จูฬปนฺถกาเยว นามาติ อาห ฯ  “เตนหิ คนฺตฺวา, โย ปฐมํ  ‘อหํ จูฬปนฺถโกติ วทติ, ตํ หตฺเถ คณฺห, อวเสสา อนฺตรธายิสฺสนฺตีติ ฯ โส ตถา อกาสิ ฯ ตาวเทว สหสฺสมตฺตา ภิกฺขู อนฺตรธายึสุ ฯ เถโร เตน ปุริเสน สทฺธึ อคมาสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(โสเรยฺยเถรตฺวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๘๒)

๒. สตฺถา ภตฺตกิจฺจปริโยสาเน ชีวกํ อามนฺเตสิ  “ชีวก จูฬปนฺถกสฺส ปตฺตํ คณฺห, อยนฺเต  อนุโมทนํ กริสฺสตีติ ฯ ชีวโก ตถา อกาสิ ฯ เถโร สีหนาทํ นทนฺโต ตรุณสีโห วิย ตีณิ ปิฏกานิ  สงฺโขเภตฺวา อนุโมทนํ อกาสิ ฯ สตฺถา อุฏฺฐายาสนา ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต วิหารํ คนฺตฺวา, ภิกฺขูหิ วตฺเต ทสฺสิเต, อุฏฺฐายาสนา คนฺธกุฏิปมุเข ฐตฺวา ภิกฺขุสงฺฆสฺส สุคโตวาทํ ทตฺวา กมฺมฏฺฐานํ กเถตฺวา ภิกฺขุสงฺฆํ อุยฺโยเชตฺวา สุรภิคนฺธวาสิตํ คนฺธกุฏึ ปวิสิตฺวา ทกฺขิเณน ปสฺเสน สีหเสยฺยํ อุปคโต ฯ

อถ สายณฺหสมเย ภิกฺขู อิโต จิโต จ สโมสริตฺวา รตฺตกมฺพลสาณิยา ปริกฺขิตฺตา วิย นิสีทิตฺวา สตฺถุ คุณกถํ อารภึสุ  “อาวุโส มหาปนฺถโก จูฬปนฺถกสฺส อชฺฌาสยํ อชานนฺโต จตูหิ มาเสหิ เอกํ คาถํ อุคฺคณฺหาเปตุํ น สกฺโกติ, ‘ทนฺโธ อยนฺติ วิหารา นิกฺกฑฺฒิ; สมฺมาสมฺพุทฺโธ ปน อตฺตโน อนุตฺตรธมฺมราชตาย เอกสฺมิญฺเญว อนฺตราภตฺเต สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ อทาสิ, ตีณิ ปิฏกานิ สห ปฏิสมฺภิทาหิเยว อาคตานิ; อโห พุทฺธานํ พลนฺนาม มหนฺตนฺติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. แม้ อ.หมอชีวกแล ผู้โกมารภัจ น้อมเข้าไปแล้ว ซึ่งน้ำเพื่อทักษิณา แก่พระทศพล ฯ  อ.พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ดูก่อนชีวก อ.ภิกษุ ในวิหาร มีอยู่ มีใช่หรือ ดังนี้ ทรงปิดแล้ว ซึ่งบาตร ด้วยพระหัตถ์ ฯ อ.พระมหาปันถกะ กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ภิกษุ ในวิหาร ย่อมไม่มี มิใช่หรือ ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ดูก่อนชีวก อ.ภิกษุในวิหาร มีอยู่ ดังนี้ ฯ อ.หมอชีวก ส่งไปแล้ว ซึ่งบุรุษด้วยคำว่า แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น อ.เธอ จงไป อ.เธอ จงรู้ ซึ่งความที่แห่งภิกษุ ท. ในวิหาร มีอยู่ หรือ หรือว่า ซึ่งความที่แห่งภิกษุ ท. ในวิหาร ไม่มีอยู่ ดังนี้ ฯ ในขณะนั้น อ.พระจูฬปันถกะ คิดแล้วว่า อ.พี่ชาย ของเรา ย่อมกล่าวว่า อ.ภิกษุ ท. ในวิหาร ย่อมไม่มี ดังนี้  อ.เรา จักประกาศ ซึ่งความที่แห่งภิกษุ ท. ในวิหาร มีอยู่ แก่พี่ชายนั้น ดังนี้ ยังอัมพวัน ทั้งสิ้น ให้เต็มแล้ว ด้วยภิกษุ ท. นั่นเทียว; อ.ภิกษุ ท. บางพวก ย่อมกระทำ ซึ่งกรรมคือการเย็บซึ่งจีวร อ.ภิกษุ ท. บางพวก ย่อมกระทำซึ่งกรรมคือการย้อม อ.ภิกษุ ท. บางพวก ย่อมกระทำ ซึ่งการสาธยาย;  อ.พระจูฬปันถกะ เนรมิตแล้ว ซึ่งพันแห่งภิกษุ อันไม่เช่นกับ ซึ่งกันและกัน ด้วยประการฉะนี้ ฯ  อ.บุรุษนั้น เห็นแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. มากในวิหาร กลับแล้ว บอกแล้ว แก่หมอชีวกว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า  อ.อัมพวันทั้งสิ้น เต็มรอบแล้ว ด้วยภิกษุ ท. ดังนี้ ฯ ครั้งนั้น อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว กะบุรุษนั้นว่า อ.เธอ ไปแล้ว สู่วิหาร จงกล่าวว่า อ.พระศาสดา ย่อมรับสั่งหา ชื่อ ซึ่งพระจูฬปันถกะ ดังนี้ ดังนี้ ฯ ครั้นเมื่อคำอย่างนั้น อันบุรุษนั้น ไปแล้ว กล่าวแล้ว อ.พันแห่งปาก ตั้งขึ้นแล้วว่า อ.เรา เป็นผู้ชื่อว่าจูฬปันถกะ ย่อมเป็น อ.เรา เป็นผู้ชื่อว่า จูฬปันถกะ ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.บุรุษนั้น ไปแล้ว อีก กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า อ.ภิกษุ ท. แม้ทั้งปวง เป็นผู้ชื่อว่าจูฬปันถกะนั่นเทียว ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ถ้าอย่างนั้น อ.เธอ ไปแล้ว จงจับ ซึ่ง – อ.ภิกษุ ใด ย่อมกล่าวว่า อ.เรา เป็นผู้ชื่อว่าจูฬปันถกะ ย่อมเป็น ดังนี้ ก่อน,- ภิกษุนั้น ที่มือ อ.ภิกษุ ท. ผู้เหลือง จักหายไป ดังนี้ ฯ อ.บุรุษนั้น ได้กระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น ฯ อ.ภิกษุ ท. ผู้มีพันเป็นประมาณ หายไปแล้ว ในขณะนั้นนั่นเทียว ฯ อ.พระเถระ ได้ไปแล้ว กับ ด้วยบุรุษนั้น

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระบรมศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมาด้วยพระดำรัสว่า ชีวก เธอจงรับบาตรของจูฬปันถกเกิด จูฬปันถกนี้จักทำอนุโมทนาแก่เธอ ฯ หมอชีวกได้ทำอย่างนั้นแล้ว ฯ พระเถระบันลือสีหนาทยังพระไตรปิฎกให้กระฉ่อนแล้ว ดุจราชสีห์หนุ่ม ได้ทำอนุโมทนา ฯ พระบรมศาสดาเสด็จลุกจาออาสนะ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่วิหาร เมื่อภิกษุทั้งหลายแสดงวัตรแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานพระโอวาทแห่งพระสุคต ตรัสบอกกรรมฐานแก่ภิกษุสงฆ์ ทรงส่งภิกษุสงฆ์ไปแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระคันธกุฎีที่อบด้วยกลิ่นหอมฟุ้ง ทรงบรรทมสีหไสยา โดยพระปรัศเบื้องขวา ฯ

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันข้างนี้และข้างนี้ ดุจแวดวงด้วยม่านฟ้ากัมพลแดง ปรารภถึงคุณกถาของพระบรมศาสดาว่า ท่านผู้มีอายุพระมหาปันถก ไม่ทราบอัธยาศัยของพระจูฬปันถก จึงไม่สามารถจะให้เรียนคาถาบทเดียวโดยเวลา ๔ เดือนได้ ไล่ออกจากวิหาร ด้วยเข้าใจว่า ภิกษุรูปนี้โง่ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาในระหว่างฉันอาหารมื้อเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชาชั้นเยี่ยม พระไตรปิฎกก็มาพร้อมปฏิสัมภิทาทีเดียว น่าอัศจรรย์ ชื่อว่ากำลังของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(โสเรยฺยตฺเถรวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๕๖)

๑. ปุริสลิงฺเค ปาตุภูตมตฺเตเยว, ตํ (โสเรยฺยํ) ตกฺกสิลาย เสฏฺฐิปุตฺโต อาห  “สมฺม สหายก อิเม เทฺว ทารกา ตว กุจฺฉิยํ วุตฺถตฺตา มํ ปฏิจฺจ นิพฺพตฺตตฺตา อุภินฺนํปิ โน ปุตฺตาเอว, อิเธว  วสิสฺสาม, มา อุกฺกณฺฐีติ ฯ  “สมฺม อหํ เอเกน อตฺตภาเวน ปฐมํ ปุริโส หุตฺวา ปุน อิตฺถีภาวํ ปตฺวา  ปุน ปุริโส ชาโตติ วิปฺปการปฺปตฺโต; ปฐมํ มํ ปฏิจฺจ เทฺว ปุตฺตา นิพฺพตฺตา, อิทานิ เม กุจฺฉิโต เทฺว นิกฺขนฺตา; ‘สฺวาหํ เอเกนตฺตภาเวน วิปฺปการํ ปตฺวา ปุน เคเห วสิสฺสามีติ สญฺญํ มา กริ;  อหํ มม อยฺยสฺส สนฺติเก ปพฺพชิสฺสาม; อิเม เทฺว ทารกา ตว ภารา โหนฺตุ, อิเมสุ มา ปมชฺชีติ  วตฺวา ปุตฺเต ปริจุมฺพิตฺวา ปริมชฺชิตฺวา ปิตุ นิยฺยาเทตฺวา นิกฺขมิตฺวา เถรสฺส สนฺติเก ปพฺพชิ ฯ  เถโรปิ ตํ ปพฺพาเชตฺวา อุปสมฺปาเทตฺวา คณฺหิตฺวาว จาริกญฺจรมาโน อนุกฺกเมน สาวตฺถึ  อคมาสิ ฯ ตสฺส โสเรยฺยตฺเถโรติ นามํ อโหสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(โสเรยฺยตฺเถรวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๕๖-๑๕๗)

๒. ชนปทวาสิโน ตํ ปวตฺตึ ญตฺวา สงฺขุภิตฺวา โกตุหลชาตา อุปสงฺกมิตฺวา ปุจฺฉึสุ  “เอวํ กิร  ภนฺเตติ ฯ  “อามาวุโสติ ฯ  “ภนฺเต เอวรูปํปิ การณํ นาม โหติ; ตุมฺหากํ กิร กุจฺฉิยํ เทฺว ปุตฺตา   นิพฺพตฺตา, ตุมฺเห ปฏิจฺจ เทฺว ชาตา; เตสํ โว กตเรสุ พลวสิเนโห โหตีติ ฯ  “กุจฺฉิยํ วุตฺถเกสุ  อาวุโสติ ฯ อาคตาคตา นิพทฺธํ ตเถว ปุจฺฉนฺติ ฯ เถโร  “กุจฺฉิยํ วุตฺถเกสุเยว สิเนโห พลวาติ  ปุนปฺปุนํ กเถนโต หรายมาโน เอโกว นิสีทติ เอโก ว ติภฐติ ฯ โส เอวํ เอกตฺตุปคโต อตฺตภาเว  ขยวยํ ปฏฺฐเปตฺวา สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ อถ นํ อาคตาคตา ปุจฺฉนฺติ  “ภนฺเต เอวํ  กิร นามาโหสีติ ฯ  “อาม อาวุโสติ ฯ  “กตเรสุ โว สิเนโห พลวาติ ฯ  “มยฺหํ กตฺถจิ สิเนโห นาม  นตฺถีติ ฯ ภิกฺขู  “อยํ อภูตํ กเถติ, ปุริมทิวเสสุ ‘กุจฺฉิยํ วุตฺถปุตฺเตสุ สิเนโห พลวาติ วตฺวา อิทานิ   ‘มยฺหํ กตฺถจิ สิเนโห นตฺถีติ วทติ, อญฺญํ พฺยากโรติ ภนฺเตติ สตฺถารํ อาหํสุ ฯ สตฺถา  “น ภิกฺขเว  มยฺหํ ปุตฺโต อญฺญํ พฺยากโรติ, มม ปุตฺตสฺส สมฺมาปณิหิเตน จิตฺเตน มคฺคทสฺสนํ ทิฏฺฐกาลโต   ปฏฺฐาย น กตฺถจิ สิเนโห ชาโต; ยํ สมฺปตฺตึ เนว มาตา น ปิตา กาตุํ สกฺโกติ, ตํ อิเมสํ สตฺตานํ  อพฺภนฺตเร ปวตฺตํ จิตฺตเมว เทตีติ วตฺวา อิมํ คาถมาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้นเมื่อเพศแห่งบุรุษ เป็นสักว่ามีปรากฏแล้วนั่นเทียว มีอยู่, อ.บุตรแห่งเศรษฐี ในพระนครชื่อว่าตักศิลา กล่าวแล้วว่า แน่ะสหาย ผู้มีธุระเสมอ อ.ทารก ท. สอง เหล่านี้ เป็นบุตร ของเรา ท. แม้ทั้งสองนั่นเทียว ย่อมเป็น เพราะความที่แห่งทารก ท. สอง เหล่านี้ อยู่แล้ว ในท้อง ของท่านเพราะความที่แห่งทารก ท. สอง เหลานี้ อาศัยแล้ว ซึ่งเรา บังเกิดแล้ว อ.เรา ท. จักอยู่ ในที่นี้นั่นเทียว อ.ท่าน อย่ากระสันแล้ว (อยู่รำคาญใจแล้ว) ดังนี้ กะบุตรแห่งเศรษฐีชื่อว่าโสเรยยะนั้น ฯ  อ.บุตรแห่งเศรษฐี ชื่อว่าโสเรยยะนั้น กล่าวแล้วว่า แน่ะสหาย ผู้มีธุระเสมอ อ.เรา เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งประการอันแปลก คือ อ.เรา เป็นบุรุษ เป็น ก่อน ถึงแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งหญิงอีก เป็นบุรุษ เกิดแล้ว อีก ย่อมเป็น โดยอัตภาพหนึ่ง ย่อมเป็น อ.บุตร ท.สอง อาศัยแล้ว ซึ่งเรา บังเกิดแล้ว ก่อน  อ.บุตร ท. สอง ออกแล้ว จากท้องของเรา ในกาลนี้ อ.ท่าน อย่ากระทำแล้ว ซึ่งความสำคัญว่า อ.เรานั้นถึงแล้ว ซึ่งประการอันแปลก โดยอัตภาพหนึ่ง จักอยู่ ในเรือน อีก ดังนี้ อ.เรา จักบวช ในสำนัก ของพระผู้เป็นเจ้า ของเรา อ.ทารก ท. สอง เหล่านี้เป็นภาระ ของท่าน จงเป็น อ.ท่าน อย่าประมาทแล้ว ในทารก ท. สอง เหล่านี้ ดังนี้ จูบแล้ว ซึ่งบุตร ท. ลูบคลำแล้ว มอบให้แล้ว แก่บิดา ออกแล้วบวชแล้ว ในสำนักของพระเถระ ฯ แม้ อ.พระเถระ ยังบุตรของเศรษฐีชื่อว่าโสเรยยะนั้น ให้บวชแล้ว ให้อุปสมบทแล้ว พาเที่ยวไปอยู่ สู่ที่จาริกเทียว ได้ไปแล้ว สู่พระนครชื่อสาวัตถี โดยลำดับ ฯ อ.คำว่า อ.พระเถระชื่อว่า โสเรยยะ ดังนี้ เป็นชื่อ ของภิกษุนั้น ได้เป็นแล้ว ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พวกชาวชนบทรู้เรื่องนั้นแล้ว ล่ำลือ เกิดความตื่นเต้น เข้าไปถามว่า ได้ทราบว่า เรื่องเป็นจริงอย่างนั้นหรือ ขอรับ ฯ พระโสเรยยะตอบว่า ใช่ ผู้มีอายุ ฯ พวกชาวชนบทถามว่า พระคุณเจ้า ชื่อว่าเหตุแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีได้ เขาเล่าลือกันว่า บุตร ๒ คน บังเกิดในท้องของท่าน บุตร ๒ คน อาศัยท่านเกิด บรรดาบุตร ๒ ฝ่ายนั้น ท่านมีความรักในบุตรฝ่ายไหนมาก ฯ พระโสเรยยะตอบว่า มีความรักในบุตรฝ่ายที่อยู่ในท้องมาก ผู้มีอายุ ฯ พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ก็ถามอย่างนั้นนั่นแหละอยู่เสมอ ฯ พระเถระพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า มีความรักในบุตรฝ่ายที่อยู่ในท้องฝ่ายเดียวเท่านั้นมาก รำคาญใจอยู่ จึงนั่งอยู่ผู้เดียว ยืนอยู่ผู้เดียวก่อน ฯ พระเถระนั้นเข้าถึงความเป็นผู้เดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตต์ พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ฯ  ต่อมา พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ถามท่านว่า พระคุณเจ้าได้ทราบว่า เหตุชื่ออย่างนี้ ได้มีแล้วหรือ ฯ พระโสเรยยะตอบว่า ใช่ ผู้มีอายุ ฯ พวกชนถามว่า ท่านมีความรักในบุตรฝ่ายไหนมาก ฯ  พระโสเรยยะ ตอบว่า ขึ้นชื่อว่าความรักในบุตรคนไหน ๆ ของเรา ไม่มี ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระบรมศาสดาว่า พระโสเรยยะนี้พูดไม่จริง ในวันก่อน ๆ พูดว่า มีความรักในบุตรฝ่ายที่อยู่ในท้องมาก บัดนี้ พูดว่า เราไม่มีความรักในบุตรคนไหน ๆ ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล พระเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา พยากรณ์อรหัตผลหามิได้ ตั้งแต่เวลาที่บุตรของเราเห็นมรรคทัสสนะด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความรักในบุตรคนไหน ๆ ไม่เกิดแล้ว จิตที่เป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้เท่านั้น ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดาไม่อาจกระทำให้ได้ ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐

แปลโดยพยัญชนะ :
(มหากปฺปินตฺเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๙-๑๐)

๑. อตีเต กิรายสฺมา มหากปฺปิโน ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ปาทมูเล กตาภินีหาโร สํสาเร  สํสรนฺโต พาราณสิโต อวิทูเร เอกสฺมึ เปสการคาเม เชฏฺฐกเปสกาโร หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ ตทา  สหสฺสมตฺตา ปจฺเจกพุทฺธา อฏฺฐ มาเส หิมวนฺเต วสิตฺวา วสฺสิเก จตฺตาโร มาเส ชนปเท วสนฺติ ฯ  เต เอกวารํ พาราณสิยา อวิทูเร โอตริตฺวา  “เสนาสนกรณตฺถาย หตฺถกมฺมํ ยาจถาติ รญฺโญ  สนฺติกํ อฏฺฐ ปจฺเจกพุทฺเธ ปหิณึสุ ฯ ตทา ปน รญฺโญ วปฺปมงฺคลกาโล โหติ ฯ โส  “ปจฺเจกพุทฺธา   กิราคตาติ สุตฺวา นิกฺขมิตฺวา อาคตการณํ ปุจฺฉิตฺวา  “อชฺช ภนฺเต โอกาโส นตฺถิ, เสฺว อมฺหากํ  วปฺปมงฺคลํ, ตติยทิวเส กริสฺสามีติ วตฺวา ปจฺเจกพุทฺเธ อนิมนฺเตตฺวาว ปาวิสิ ฯ ปจฺเจกพุทฺธา  “อญฺญํ คามํ ปวิสิสฺสามาติ ปกฺกมึสุ ฯ ตสฺมึ ขเณ เชฏฺฐกเปสการสฺส ภริยา เกนจิเทว กรณีเยน  พาราณสึ คจฺฉนฺตี เต ปจฺเจกพุทฺเธ ทิสฺวา วนฺทิตฺวา  ปุจฺฉิตฺวา อาทิโต ปฏฺฐาย ตํ ปวตฺตึ สุตฺวา  สทฺธา ปญฺญาสมฺปนฺนา อิตฺถี  “เสฺว ภนฺเต อมฺหากํ ภิกฺขํ คณฺหถาติ นิมนฺเตสิ ฯ  “พหุกา มยํ  ภคินีติ ฯ  “กิตฺตกา ภนฺเตติ ฯ  “สหสฺสมาตฺตา ภคินีติ  “ภนฺเต อิมสฺมึ คาเม สหสฺสมตฺตา วสิมฺหา,  เอเกโก เอเกกสฺส ภิกฺขํ ทสฺสติ, ภิกฺขํ อธิวาเสถ, อหเมว ตุมฺหากํ วสนฏฺฐานํปิ การาเปสฺสามีติ  อาห ฯ ปจฺเจกพุทฺธา อธิวาสยึสุ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(มหากปฺปินตฺเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๑๐)

๒. สา คามํ ปวิสิตฺวา อุคฺโฆเสสิ  “อหํ สหสฺสมตฺเต ปจฺเจกพุทฺเธ ทิสฺวา นิมนฺเตสึ,  อยฺยานํ นิสีทนฏฺฐานํ สํวิทหถ, ยาคุภตฺตาทีนิ สมฺปาเทถาติ, คามมชฺเฌ มณฺฑปํ การาเปตฺวา  อาสนานิ ปญฺญาเปตฺวา ปุนทิวเส ปจฺเจกพุทฺเธ นิสีทาเปตฺวา ปณีเตน โภชเนน ปริวิสิตฺวา   ภตฺตกิจฺจาวสาเน ตสฺมึ คาเม สพฺพา อิตฺถิโย อาทาย ตาหิ สทฺธึ ปจฺเจกพุทฺเธ วนฺทิตฺวา เตมาสํ  วสนตฺถาย ปฏิญฺญํ คเหตฺวา ปุน คาเม อุคฺโฆเสสิ  “อมฺมตาตา เอเกกกุลโต เอเกโก ปุริโส  วาสีอาทีนิ คเหตฺวา อรญฺญํ ปวิสิตฺวา ทพฺพสมฺภาเร อาหริตฺวา อยฺยานํ วสนฏฺฐานํ กโรตูติ ฯ  คามวาสิโน ตสฺสา วจเน ฐตฺวา เอเกโก เอเกกํ กตฺวา สทฺธึ รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐาเนหิ  ปณฺณสาลาสหสฺสํ กาเรตฺวา อตฺตโน อตฺตโน ปณฺณสาลายํ วสฺสูปคเต ปจฺเจกพุทฺเธ  “อหํ สกฺกจฺจํ อุปฏฺฐหิสฺสามิ, อหํ สกฺกจฺจํ อุปฏฺฐหิสฺสามีติ อุปฏฺฐหึสุ ฯ วสฺสํ วุตฺถกาเล อตฺตโน อตฺตโน  ปณฺณสาลาย วสฺสํ วุตฺถานํ ปจฺเจกพุทฺธานํ จีวรสาฏเก สชฺเชถาติ สมาทเปตฺวา เอเกกสฺส   สหสฺสมูลํ  จีวรํ ทาเปสิ ฯ ปจฺเจกพุทฺธา วุตฺถวสฺสา อนุโมทนํ กตฺวา ปกฺกมึสุ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ได้ยินว่า ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว อ.พระมหากัปปินะ ผู้มีอายุเป็นผู้มีอภินิหารอันกระทำแล้ว ณ ที่ใกล้แห่งพระบาท ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เป็น ท่องเที่ยวไปอยู่ในสงสาร เป็นช่างหูกผู้เจริญที่สุด เป็น บังเกิดแล้ว ในหมู่บ้านของช่างหูกแห่งหนึ่ง ในที่อันไม่ไกล แต่พระนครชื่อว่าพาราณสี ฯ ในกาลนั้น อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. ผู้มีพันหนึ่งเป็นประมาณ อยู่แล้ว ในป่าชื่อว่าหิมพานต์ สิ้นเดือน ท. แปล ย่อมอยู่ ในชนบท สิ้นเดือน ท. สี่ อันมีในฤดูฝน ฯ อ. พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. เหล่านั้น หยั่งลงแล้ว ในที่อันไม่ไกลจากพระนครชื่อว่าพาราณสี สิ้นวาระหนึ่ง ส่งไปแล้ว ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ท. แปด สู่สำนัก ของพระราชา ด้วยคำว่า อ.ท่าน ท. จงขอ ซึ่งหัตถกรรม เพื่อประโยชน์แก่อันกระทำซึ่งเสนาสนะ ดังนี้ ฯ ก็ อ.กาลนั้น เป็นกาลเป็นที่กระทำซึ่งมงคลในเพราะการหว่าน ของพระราชา ย่อมเป็น* ฯ อ.พระราชานั้น ทรงสดับแล้วว่าได้ยินว่า อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. มาแล้ว ดังนี้ เสด็จออกแล้ว ตรัสถามแล้ว ซึ่งเหตุแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ท. มาแล้ว ตรัสแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.โอกาส ย่อมไม่มี ในวันนี้ อ.มงคลในเพราะการหว่าน ของเรา ท. ย่อมมี ในวันพรุ่งนี้ อ.เรา จักกระทำ ในวันที่สาม ดังนี้ ไม่นิมนต์แล้วเทียว ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ท. ได้เสด็จเข้าไปแล้ว ฯ อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. ปรึกษากันแล้วว่า อ.เรา ท. จักเข้าไป สู่หมู่บ้านอื่น ดังนี้ หลีกไปแล้ว ฯ ในขณะนั้น อ.ภรรยา ของช่างหูกผู้เจริญที่สุด ไปอยู่ สู่พระนครชื่อว่าพาราณสี ด้วยกิจอันตนพึงกระทำ บางอย่างนั่นเทียว เห็นแล้ว ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ท. เหล่านั้น ไหว้แล้ว ถามแล้ว ฟังแล้ว ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั่วนั้น จำเดิมแต่ต้น เป็นหญิงผู้มีศรัทธา ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัญญา เป็น นิมนต์แล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ท่าน ท. ขอจงรับ ซึ่งภิกษา ของดิฉัน ท. ในวันพรุ่งนี้ ดังนี้ ฯ อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. เหล่านั้น กล่าวแล้วว่า ดูก่อนน้องหญิง อ.เรา ท. เป็นผู้มาก ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.หญิงนั้น ถามแล้วว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ท่าน ท. เป็นผู้มีประมาณ เท่าไร ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. กล่าวแล้วว่า ดูก่อนน้องหญิง  อ.เรา ท. เป็นผู้มีพันหนึ่ง เป็นประมาณ ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.หญิงนั้น กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ดิฉัน ท. เป็นผู้มีพันหนึ่ง เป็นประมาณ เป็นอยู่แล้ว ในหมู่บ้านนี้ อ.บุคคล คนหนึ่ง ๆ จักถวาย ซึ่งภิกษา แก่พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่ง ๆ อ.ท่าน ท. ยังภิกษา จงให้อยู่ทับ อ.ดิฉันนั่นเทียว จักยังบุคคลให้กระทำ แม้ซึ่งที่เป็นที่อยู่ เพื่อท่าน ท. ดังนี้ ฯ อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า ท. ยังคำนิมนต์ ให้อยู่ทับแล้ว ฯ

*ก็ อ.กาลเป็นที่เป็นกระทำซึ่งมงคลในเพราะการหว่าน ของพระราชา ย่อมมี ในกาลนั้น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ภรรยาหัวหน้าช่างหูกนั้นเข้าไปยังหมู่บ้าน ป่าวร้องว่า เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณพันองค์ จึงนิมนต์ไว้แล้ว ท่านทั้งหลายจงจัดแจงที่นั่งแด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงเตรียมอาหารทั้งหลายมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น แด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด ดังนี้แล้ว ให้สร้างปะรำในท่ามกลางหมู่บ้าน ปูอาสนะไว้ ในวันรุ่งขึ้น นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายให้นั่ง อังคาสด้วยโภชนะอันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ พาหญิงทั้งหลายในหมู่บ้านนั้นไปไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพร้อมกับหญิงเหล่านั้น รับเอาปฏิญญาเพื่อประโยชน์แก่การอยู่ตลอดสามเดือน ป่าวร้องในหมู่บ้านอีกว่า พ่อแม่ทั้งหลาย บุรุษแต่ละคน จากแต่ละตระกูล จงถือเอาเครื่องมือมีมีดเป็นต้นเข้าไปป่า นำเอาทัพพสัมภาระมาสร้างที่อยู่สำหรับพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ฯ พวกชาวบ้านดำรงอยู่ในถ้อยคำของนางแล้ว คนแต่ละคน ทำที่อยู่คนละหลัง แล้วให้สร้างบรรณสาลาพันหลัง พร้อมกับที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน แล้วอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เข้าจำพรรษา ในบรรณศาลาของตน ๆ ด้วยตั้งใจว่า เราจักอุปัฏฐากโดยเคารพ เราจักอุปัฏฐาก โดยเคารพ ฯ ในเวลาอยู่จำพรรษาแล้ว นางชักชวนว่า ท่านทั้งหลายจงตระเตรียมผ้าเพื่อจีวร (ถวาย) แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาในบรรณศาลาของตน ๆ เถิด แล้วให้ถวายจีวรมีค่าพันหนึ่งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ ฯ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่จำพรรษาแล้วกระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(ปณฺฑิตสามเณรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๓๕-๓๖)

๑. อถสฺส (ปณฺฑิตสามเณรสฺส) คุณเตเชน สกฺกสฺส อาสนํ อุณฺหาการํ ทสฺเสสิ ฯ โส   “กินฺนุ โข การณนฺติ อุปธาเรนฺโต  “ปณฺฑิตสามเณโร อุปชฺฌายสฺส ปตฺตจีวรํ ทตฺวา ‘สมณธมฺมํ  กริสฺสามีติ นิวตฺโต, มยาปิ ตตฺถ คนฺตุํ วฏฺฏตีติ จินฺเตตฺวา, จตฺตาโร มหาราเช อามนฺเตตฺวา “วิหารสฺส อุปวเน วิจรนฺเต สกุเณ ปลาเปตฺวา สมนฺตา อารกฺขํ คณฺหถาติ วตฺวา, จนฺทเทวปุตฺตํ  “จนฺทมณฺฑลํ  อากฑฺฒิตฺวา คณฺหาหีติ, สุริยเทวปุตฺตํ  “สุริยมณฺฑลํ อากฑฺฒิตฺวา คณฺหาหีติ วตฺวา, สยํ คนฺตฺวา  อาวิญฺชนรชฺชุฏฺฐาเน อารกฺขํ คเหตฺวา อฏฺฐาสิ ฯ วิหาเร ปุราณปณฺณสฺสาปิ สทฺโท นาโหสิ ฯ  สามเณรสฺส จิตฺตํ เอกคฺคํ อโหสิ ฯ โส อนฺตราภตฺเตเยว อตฺตภาวํ สมฺมสิตฺวา ตีณิ ผลานิ ปาปุณิ ฯ  เถโรปิ  “สามเณโร วิหาเร นิสินฺโน, ตสฺส อุปกปฺปนกํ โภชนํ อสุกกุเล นาม สกฺกา ลทฺธุนฺติ  เอกํ เปมคารวยุตฺตํ อุปฏฺฐากกุลํ อคมาสิ ฯ ตตฺถ จ มนุสฺสา ตํ ทิวสํ โรหิตมจฺเฉ ลภิตฺวา เถรสฺเสว  อาคมนํ โอโลเกนฺตา นิสีทึสุ ฯ เต เถรํ อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวา  “ภนฺเต ภทฺทกํ โว กตํ อิธาคจฺฉนฺเตหีติ  อนฺโต ปเวเสตฺวา ยาคุขชฺชกาทีนิ ทตฺวา โรหิตมจฺฉรเสน ปิณฺฑปาตํ อทํสุ ฯ เถโร หรณาการํ  ทสฺเสสิ ฯ มนุสฺสา  “ปริภุญฺชถ ภนฺเต, หรณกภตฺตํปิ ลภิสฺสถาติ วตฺวา เถรสฺส ภตฺตกิจฺจาวสาเน ปตฺตํ โรหิตมจฺฉรสโภชนสฺส ปูเรตฺวา อทํสุ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(ปณฺฑิตสามเณรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๓๖)

๒. เถโร  “สามเณโร เม ฉาโตติ สีฆํ อคมาสิ ฯ สตฺถาปิ ตํ ทิวสํ สกาลสฺเสว ภุญฺชิตฺวา  วิหารํ คนฺตฺวา  “ปณฺฑิตสามเณโร อุปชฺฌายสฺส ปตฺตจีวรํ ทตฺวา ‘สมณธมฺมํ กริสฺสามีติ นิวตฺโต; นิปฺปชฺชิสฺสติ นุ โข อสฺส ปพฺพชิตกิจฺจนฺติ อุปธาเรนฺโต ติณฺณํ ผลานํ ปตฺตภาวํ  ญตฺวา  “อรหตฺตสฺส อุปนิสฺสโย อตฺถิ นตฺถีติ อาวชฺเชนฺโต  “อตฺถีติ ทิสฺวา  “ปุเรภตฺตเมว อรหตฺตํ ปตฺตุํ สกฺขิสฺสติ  น สกฺขิสฺสตีติ อุปธาเรนฺโต  “สกฺขิสฺสตีติ อญฺญาสิ ฯ อถสฺส เอตทโหสิ  “สารีปุตฺโต สามเณรสฺส ภตฺตมาทาย สีฆมาคจฺฉติ, อนฺตรายํปิสฺส กเรยฺย, ทฺวารโกฏฺฐเก อารกฺขํ คเหตฺวา นิสีทิสฺสามิ,  อถ นํ จตฺตาโร ปญฺเห ปุจฺฉิสฺสามิ, ตสฺมึ วิสฺสชฺชมาเน สามเณโร สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ  ปาปุณิสฺสตีติ ตโต คนฺตฺวา ทฺวารโกฏฺฐเก ฐตฺวา สมฺปตฺตํ เถรํ จตฺตาโร ปญฺเห ปุจฺฉิ ฯ ปุฏฺฐปญฺเห  เถโร วิสฺสชฺเชสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น อ. อาสนะ ของท้าวสักกะ แสดงแล้ว ซึ่งอาการอันร้อนด้วยเดชแห่งคุณ ของสามเณรชื่อว่าบัณฑิตนั้น ฯ อ. ท้าวสักกะนั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า อ. เหตุอะไรหนอแล จักมี ดังนี้ ทรงพระดำริแล้วว่า อ. สามเณรชื่อว่าบัณฑิต ให้แล้ว ซึ่งบาตรและจีวร แก่พระอุปัชฌาย์ กล่าวแล้วว่า อ. กระผมจักกระทำ ซึ่งสมณธรรม ดังนี้ กลับแล้ว อ. อัน แม้อันเรา ไปในที่นั้น ย่อมควร ดังนี้ ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งท้าวมหาราช ท. ๔ ตรัสแล้วว่า อ. ท่าน ท. ยังนก ท. ตัวบินเที่ยวไปอยู่ ในที่ใกล้แห่งป่า แห่งวิหาร ให้หนีไปแล้ว จงถือเอา ซึ่งการอารักขา โดยรอบ ดังนี้ ตรัสแล้ว กะเทพบุตรชื่อว่าจันทะว่า อ. ท่าน คร่ามาแล้ว ซึ่งมณฑลแห่งพระจันทร์ จงยึดไว้ ดังนี้ ตรัสแล้ว กะเทพบุตรชื่อว่าสุริยะว่า อ. ท่าน คร่ามาแล้ว ซึ่งมณฑลแห่งพระอาทิตย์ จงยึดไว้ ดังนี้ ได้เสด็จไปแล้ว เอง ได้ทรงถือเอาแล้ว ซึ่งการอารักขา ในที่แห่งเชือกเป็นเครื่องชัก ประทับยืนอยู่แล้ว ฯ  อ. เสียง แม้แห่งใบไม้เก่า ไม่ได้มีแล้ว ในวิหาร ฯ อ. จิต ของสามเณร เป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ได้เป็นแล้ว ฯ อ. สามเณรนั้น พิจารณาแล้ว ซึ่งอัตภาพ ในระหว่างแห่งภัตร นั่นเทียว บรรลุแล้ว ซึ่งผล ท. ๓ ฯ แม้ อ. พระเถระ คิดแล้วว่า อ. สามเณร นั่งแล้ว ในวิหาร อันเราอาจ เพื่ออันได้ ซึ่งโภชนะ อันเข้าไปสำเร็จ แก่สามณรนั้น ชื่อในตระกูลโน้น ดังนี้ ได้ไปแล้ว สู่ตระกูลแห่งอุปัฏฐาก อันประกอบแล้วด้วยความรักและความเคารพ ตระกูลหนึ่ง ฯ ก็ อ.มนุษย์ ท. ในตระกูลนั้น ได้แล้ว ซึ่งปลาตะเพียนแดง ท. ในวันนั้น นั่งแลดูอยู่แล้ว ซึ่งการมา แห่งพระเถระนั่นเทียว ฯ อ. ชน ท. เหล่านั้น เห็นแล้ว ซึ่งพระเกระ ผู้มาอยู่ กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. กรรมอันเจริญ อันท่าน ผู้มาอยู่ ในที่นี้ กระทำแล้ว ดังนี้ ยังพระถระให้เข้าไปแล้ว ในภายใน ถวายแล้ว ซึ่งวัตถุ ท. มีข้าวต้มและของอันบุคคลพึงเคี้ยวเป็นต้น ได้ถวายแล้ว ซึ่งบิณฑบาต ด้วยรสแห่งปลาตะเพียนแดง ฯ อ. พระเถระ แสดงแล้ว ซึ่งอาการคืออันนำไป ฯ อ. มนุษย์ ท. กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ก่นผู้เจริญ อ.ท่าน จงฉันเถิด อ. ท่าน จักได้ ซึ่งภัตรอันเป็นส่วนแห่งภิกษุผู้นำไป ดังนี้ ยังบาตร ให้เต็มแล้ว ด้วยโภชนะอันปรุงแล้วด้วยรสแห่งปลาตะเพียนแดง ได้ถวายแล้ว ในกาลเป็นที่สุดลงแห่งกิจด้วยภัตร แห่งพระเถระ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระเถระคิดว่า สามเณรของเราหิวแล้ว จึงได้รีบไป ฯ แม้พระบรมศาสดาก็ทรงเสวยแต่เช้าทีเดียวในวันนั้น เสด็จไปวิหาร ทรงใคร่ครวญว่า บัณฑิตสามณรให้บาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์ เรียนว่า กระผมจักทำสมณธรรมกลับไปแล้ว กิจแห่งบรรพชิตของเธอ จักสำเร็จหรือไม่ ทรงทราบว่า สามเณรบรรลุผล ๓ อย่างแล้ว จึงทรงพิจารณาว่า อุปนิสัยแห่งพระอรหัตจะมีหรือไม่มี ทรงเห็นว่า มีอยู่ ดังนี้แล้ว ทรงใคร่ครวญว่า สามเณรจักอาจเพื่อบรรลุพระอรหัตก่อนภัตรทีเดียว หรือจักไม่อาจ ได้ทรงทราบว่า จักอาจ ฯ ลำดับนั้น พระองค์ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า สารีบุตรถือภัตรเพื่อสามเณรรีบมา รอจะพึงทำอันตรายแก่สามเณรนั้น ก็ได้ เราจักนั่งถือเอาอารักขาที่ซุ้มประตู เมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักถามปัญหา ๔ ข้อกะเธอ เมื่อเธอแก้อยู่ สามเณรจักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปจากวิหารนั้นประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะพระเถระผู้มาถึงแล้ว ฯ พระเถระแก้ปัญหาอันพระบรมศาสดาตรัสถามแล้ว ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙

แปลโดยพยัญชนะ :
(กุมภโฆสกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๖๖-๖๗)

๑. ราชคหนครสฺมึ หิ ราชคหเสฏฺฐิโน เคเห อหิวาตกโรโค อุปฺปชฺชติ ฯ ตสฺมึ อุปฺปนฺเน, มกฺขิกํ อาทึ กตฺวา ยาว คาโว ปฐมํ ติรจฺฉานคตา มรนฺติ, ตโต ทาสกมฺมกรา, สพฺพปจฺฉา  เคหสามิกา; ตสฺมา โส โรโค สพฺพปจฺฉา เสฏฺฐิญฺจ ภริยญฺจ คณฺหิ ฯ เต โรคผุฏฺฐา ปุตฺตํ สนฺติเก  ฐิตํ โอโลเกตฺวา อสฺสุปุณฺเณหิ เนตฺเตหิ ตํ อาหํสุ  “ตาต อิมสฺมึ กิร โรเค อุปฺปนฺเน, ภิตฺตึ  ภินฺทิตฺวา ปลาตา ชีวิตํ ลภนฺติ, ตฺวํ อมฺเห อโนโลเกตฺวา ยถา ตถา ปลายิตฺวา ชีวนฺโต ปุนาคนฺตฺวา, อมฺหากํ อสุกฏฺฐาเน จตฺตาฬีสธนโกฏิโย นิทหิตฺวา ฐปิตา, ตา อุทฺธริตฺวา ชีวิตํ กปฺเปยฺยาสีติ ฯ  โส เตสํ วจนํ สุตฺวา โรทมาโน มาตาปิตโร วนฺทิตฺวา มรณภยภีโต ภิตฺตึ ภินฺทิตฺวา ปลายิตฺวา ปพฺพตคหนํ คนฺตฺวา ทฺวาทส วสฺสานิ ตตฺถ วสิตฺวา มาตาปิตุวสนฏฺฐานํ ปจฺจาคจฺฉิ ฯ  โส มาตาปิตูหิ ทินฺนสญฺญาวเสน ธนฏฺฐานํ คนฺตฺวา ธนสฺส อโรคภาวํ ญตฺวา จินฺเตสิ  “มํ น โกจิ สญฺชานาติ,  สจาหํ ธนํ อุทฺธริตฺวา วลญฺชิสฺสามิ,  “เอเกน ทุคฺคเตน นิธิ อุทฺธริโตติ มํ คเหตฺวา วิเหเฐยฺยุํ;  ยนฺนูนาหํ ภตึ กตฺวา ชีเวยฺยนฺติ, อเถกํ ปิโลติกํ นิวาเสตฺวา  “อตฺถิ โกจิ ภติเกน อตฺถิโกติ  ปุจฺฉนฺโต ภตกวีถึ ปาปุณิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(กุมภโฆสกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๖๗-๖๘)

๒. อถ นํ ภตกา ทิสฺวา  “สเจ อมฺหากํ เอกํ กมฺมํ กริสฺสสิ, ภตฺตเวตนํ ทสฺสามาติ อาหํสุ ฯ “กึ กมฺมํ นามาติ ฯ  “ปโพธนโจทนกมฺมํ: สเจ อุสฺสหสิ; ปาโต ว อุฏฺฐาย ตาตา อุฏฺฐหถ สกฏานิ   สนฺนยฺหถ, โคเณ โยเชถ, หตฺถิอสฺสาทีนํ ติณตฺถาย คมนเวลายํ, อมฺมา ตุมฺเหปิ อุฏฺฐหถ ยาคุํ  ปจถ, ภตฺตํ ปจถาติ วิจริตฺวา อาโรเจหีติ ฯ โส  “สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิ ฯ อถสฺส สนฺติเก วสนตฺถาย เอกํ ฆรํ อทํสุ ฯ โส เทวสิกํ ตํ กมฺมํ อกาสิ ฯ

อถสฺส เอกทิวสํ ราชา พิมฺพิสาโร สทฺทมสฺโสสิ ฯ โส ปน สพฺพรวญฺญู อโหสิ ฯ ตสฺมา  “มหาธนสฺส ปุริสสฺเสโส สทฺโทติ อาห ฯ อถสฺส สนฺติเก  ฐิตา เอกา ปริจาริกา  “ราชา ยํ วา ตํ วา   น กเถสฺสติ, อิมํ มยา ญาตุํ วฏฺฏตีติ จินฺเตตฺวา  “คจฺฉ ตาต เอตํ ชานาหีติ เอกํ ปุริสํ ปหิณิ ฯ โส  เวเคน คนฺตฺวา ตํ ทิสฺวา อาคนฺตฺวา  “เอโก ภตกานํ ภติการโก กปณมนุสฺโส เอโสติ อาโรเจสิ ฯ  ราชา ตสฺส วจนํ สุตฺวา ตุณฺหี หุตฺวา ทุติยทิวเสปิ ตติยทิวเสปิ ตสฺส สทฺทํ สุตฺวา ตเถวาห ฯ  สาปิ ปริจาริกา ตเถว จินฺเตตฺวา ปุนปฺปุนํ เปเสตฺวา,  “กปณมนุสฺโสติ วุตฺเต, จินฺเตสิ  “ราชา  ‘กปณมนุสฺโส เอโสติ วจนํ สุตฺวาปิ น สทฺทหติ, ปุนปฺปุนํ ‘มหาธนสฺส ปุริสสฺเสโส สทฺโทติ  วทติ; ภวิตพฺพเมตฺถ การเณน; ยถาสภาวโต เอตํ ญาตุํ วฏฺฏตีติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ดังจะกล่าวโดยพิสดาร อ.อหิวาตกโรค (โรคอันเกิดแต่ลมมีพิษ เพียงดังว่าพิษแห่งงู) ย่อมเกิดขึ้น ในเรือนของราชคหเศรษฐี ในพระนครชื่อว่าราชคฤห์ ฯ ครั้นเมื่ออหิวาตกโรคนั้น เกิดขึ้นแล้ว อ.สัตว์ดิรัจฉาน ท. กระทำ ซึ่งแมลงวันให้เป็นต้น เพียรไร แต่โค ท. ย่อมตาย ก่อน ในลำดับนั้น อ.ทาสและกรรมกร ท. ย่อมตาย อ.เจ้าของแห่ง เรือน ท. ย่อมตาย ในกาลภายหลังแห่งชนทั้งปวง เพราะเหตุนั้น อ.โรค นั้น จับแล้ว ซึ่งเศรษฐีด้วย ซึ่งภรรยาด้วย ในกาลภายหลังแห่งชนทั้งปวง ฯ อ.เศรษฐีและภรรยา ท. เหล่านั้น ผู้อันโรคถูกต้องแล้ว แลดูแล้ว ซึ่งบุตรผู้ยืนอยู่แล้ว ในที่ใกล้ มีนัยน์ตา ท. อันเต็มแล้วด้วยน้ำตา กล่าวแล้ว กะบุตรนั้นว่า ดูก่อนพ่อ ได้ยินว่า ครั้นเมื่อโรค นี้ เกิดขึ้นแล้ว อ.ชน ท. ทำลายแล้ว ซึ่งฝา หนีไปแล้ว ย่อมได้ ซึ่งชีวิต อ.เจ้า ไม่แลดูแล้ว ซึ่งเรา ท. หนี ไปแล้ว โดยประการใด โดยประการนั้น เป็นอยู่อยู่ มาแล้ว อีก อ.โกฏิแห่งทรัพย์สี่สิบ ท. อันเรา ท. ฝังตั้งไว้แล้ว ในที่โน้น ขุดขึ้นแล้ว ซึ่งโกฏิแห่งทรัพย์ ท. เหล่านั้น พึงสำเร็จซึ่งชีวิต ดังนี้ ฯ อ.บุตร นั้น ฟังแล้ว ซึ่งคำ ของมารดาและบิดา ท. เหล่านั้น ร้องไห้อยู่ ไหว้แล้ว ซึ่งมารดาและบิดา ท. ผู้กลัวแล้ว ต่อภัยคือความตาย ทำลายแล้ว ซึ่งฝา หนีไปแล้ว ไปแล้ว สู่ชัฏแห่งภูเขา อยู่แล้ว ในที่นั้น สิ้นปี ท. สิบสอง กลับมาแล้ว สู่ที่เป็นที่อยู่ของมารดาและบิดา ฯ อ.บุรุษ นั้น ไปแล้ว สู่ที่แห่งทรัพย์ ด้วยสามารถแห่งสัญญาอันมารดาและบิดา ท. ให้แล้ว รู้แล้ว ซึ่งความที่แห่งทรัพย์ ด้วยสามารถแห่งสัญญาอันมารดา และบิดา ท. ให้แล้ว รู้แล้ว ซึ่งความที่แห่งทรัพย์เป็นทรัพย์มีโรคหามิได้ คิดแล้วว่า อ.ใคร ๆ ย่อมไม่รู้พร้อม ซึ่งเรา ถ้าว่า อ.เรา ขุดขึ้นแล้ว ซึ่งทรัพย์ จักใช้สอยไซร้

อ.ชน ท. คิดแล้วว่า อ.ขุมทรัพย์ อันบุรุษผู้ถึงแล้วซึ่งยากคนหนึ่ง ขุดขึ้นแล้ว ดังนี้ จับแล้ว ซึ่งเรา พึงเบียดเบียน กระไรหนอ อ.เรา กระทำแล้ว ซึ่งการรับจ้าง พึงเป็นอยู่ ดังนี้ ครั้งนั้น อ.บุรุษ นั้น นุ่งแล้ว ซึ่งผ้าเก่า ผืนหนึ่ง ถามอยู่ว่า อ.ใคร ๆ ผู้มีความต้องการ ด้วยบุคคลผู้กระทำซึ่งการรับจ้าง มีอยู่หรือ ดังนี้ ถึงแล้ว ซึ่งถนนอันเป็นที่อยู่ของนายจ้าง ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้นนั้น พวกนายจ้าเห็นบุรุษนั้นแล้ว กล่าวว่า ถ้าท่านจักกระทำการงานอย่างหนึ่งของพวกเรา พวกเราจักให้อาหารและค่าจ้าง ฯ บุรุษนั้นถามว่า ชื่องานอะไร ฯ พวกนายจ้างตอบว่า งานปลุกและงานเตือน ถ้าท่านสามารถ ท่านลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ทีเดียว เที่ยวไปบอกว่า พ่อทั้งหลาย จงลุกขึ้น จงผูกเกวียน จงเทียมโค เวลานี้เป็นเวลาไปหาหญ้า ของช้างและม้าเป็นต้น แม่ทั้งหลาย แม้พวกท่านก็จงลุกขึ้น จงต้มข้าวต้ม จงหุงข้าวสวย ดังนี้ ฯ บุรุษนั้นรับว่า ได้ ฯ ครั้งนั้น ชนทั้งหลายได้ให้เรือนหลังหนึ่งแก่บุรุษนั้น เพื่อเป็นที่พักอยู่ในที่ใกล้ ฯ บุรุษนั้นได้กระทำการงานนั้นทุกวัน ฯ

ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับเสียงของบุรุษนั้น ฯ ก็พระเจ้าพิมพิสารนั้น ทรงเป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด ฯ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า นั่นเป็นเสียงของคนมีทรัพย์มาก ฯ ครั้งนั้น นางสนมคนหนึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้พระราชานั้น คิดว่า พระราชาจักไม่ตรัสเหลวไหล เราควรรู้จักชายคนนี้ ดังนี้ ส่งชายหนึ่งไปพร้อมกับสั่งว่าพ่อ ท่านจงไป จงรู้จักชายนั่น ฯ เขารีบไป เห็นชายคนนั้นแล้ว มาบอกว่า ชายนั่นเป็นคนกำพร้าคนหนึ่ง ที่ทำการรับจ้างของพวกนายจ้าง ฯ พระราชาทรงสดับคำของชายคนนั้นแล้ว ทรงนิ่ง แม้ในวันที่สอง แม้ในวันที่สาม ทรงสดับเสียงของชายนั้นแล้วก็ตรัสอย่างนั้นแหละ ฯ นางสนมแม้นั้นก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ส่ง (คน) ไปบ่อย ๆ เมื่อคนที่ถูกส่งไปนั้นบอกว่า เป็นคนกำพร้า ดังนั้น ก็คิดว่า พระเจ้าแผ่นดิน แม้ทรงสดับคำว่า ชายนั่นเป็นคนกำพร้า ก็ไม่ทรงเชื่อ ตรัสอยู่เป็นประจำว่า นั่นเป็นเสียของคนมีทรัพย์มาก ในเรื่องนี้ต้องมีเหตุ เราควรรู้ชายนั่นตามความเป็นจริง ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๙ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(จูฬปนฺถกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๗๘-๗๙)

๑. โส (จูฬปนฺถโก) กิร กสฺสปสมฺมาสมฺพุทฺธกาเล ปพฺพชิตฺวา ปญฺญวา หุตฺวา อญฺญตรสฺส ทนฺธภิกฺขุโน อุทฺเทสคหณกาเล ปริหาสเกฬึ อกาสิ ฯ โส ภิกฺขุ เตน ปริหาเสน ลชฺชิโต เนว อุทฺเทสํ คณฺหิ น สชฺฌายมกาสิ ฯ เตน กมฺเมน อยํ ปพฺพชิตฺวา ว ทนฺโธ ชาโต, คหิตคหิตปทํ, อุปรุปริปทํ อุคฺคณฺหนฺตสฺส, นสฺสติ ฯ ตสฺส อิมเมว คาถํ อุคฺคเหตุํ วายมนฺตสฺส, จตฺตาโร มาสา อติกฺกนฺตา ฯ  อถ นํ มหาปนฺถโก  “จูฬปนฺถก ตฺวํ อิมสฺมึ สาสเน อภพฺโพ, จตูหิ มาเสหิ เอกํ คาถํปิ คเหตุํ น  สกฺโกสิ, ปพฺพชิตกิจฺจํ ปน กถํ มตฺถกํ ปาเปสฺสสิ, นิกฺขม อิโตติ วิหารา นิกฺกฑฺฒิ ฯ จูฬปนฺถโก  พุทฺธสาสเน สิเนเหน คิหิภาวํ น ปตฺเถติ ฯ

ตสฺมิญฺจ กาเล มหาปนฺถโก ภตฺตุทฺเทสโก โหติ ฯ ชีวโก โกมารภจฺโจ พหุํ  มาลาคนฺธวิเลปนมาทาย อมฺพวนํ คนฺตฺวา สตฺถารํ ปูเชตฺวา ธมฺมํ สุตฺวา อุฏฺฐายาสนา ทสพลํ  วนฺทิตฺวา มหาปนฺถกํ อุปสงฺกมิตฺวา  “กิตฺตกา ภนฺเต สตฺถุ สนฺติเก ภิกฺขูติ ปุจฺฉิ ฯ “ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานีติ ฯ เสฺว ภนฺเต พุทฺธปฺปมุขานิ ปญฺจภิกฺขุสตานิ อาทาย อมฺหากํ นิเวสเน ภิกฺขํ  คณฺหถาติ ฯ  “อุปาสก จูฬปนฺถโก นาม ทนฺโธ ภิกฺขุ อวิรุฬฺหิธมฺโม, ตํ ฐเปตฺวา เสสานํ นิมนฺตนํ สมฺปฏิจฺฉามีติ เถโร อาห ฯ ตํ สุตฺวา จูฬปนฺถโก จินฺเตสิ  “เถโร เอตฺตกานํ ภิกฺขูนํ นิมนฺตนํ สมฺปฏิจฺฉนฺโต มํ พาหิรํ กตฺวา สมฺปฏิจฺฉติ, นิสฺสํสยํ มยฺหํ ภาติกสฺส มยิ จิตฺตํ ภินฺนํ ภวิสฺสติ, กึ  อิทานิ มยฺหํ อิมินา สาสเนน, คิหี หุตฺวา ทานาทีนิ ปุญฺญานิ กโรนฺโต ชีวิสฺสามีติ ฯ โส ปุนทิวเส  ปาโต ว วิพฺภมิตุํ ปายาสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(จูฬปนฺถกวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๗๙)

๒.สตฺถา ปจฺจูสกาเลเยว โลกํ โวโลเกนฺโต อิมํ การณํ ทิสฺวา ปฐมตรํ คนฺตฺวา จูฬปนฺถกสฺส คมนมคฺเค ทฺวารโกฏฺฐเก จงฺกมนฺโต อฏฺฐาสิ ฯ จูฬปนฺถโก คจฺฉนฺโต สตฺถารํ ทิสฺวา อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิ ฯ อถ นํ สตฺถา  “กหํ ปน ตฺวํ จูฬปนฺถก อิมาย เวลาย คจฺฉสีติ อาห ฯ  “ภาตา มํ ภนฺเต  นิกฺกฑฺฒติ, เตนาหํ วิพฺภมิตุํ คจฺฉามีติ ฯ  “จูฬปนฺถก ตว ปพฺพชฺชา นาม มม สนฺติเก, ภาตรา  นิกฺกฑฺฒิโตปิ กสฺมา มม สนฺติกํ นาคจฺฉิ; เอหิ กินฺเต คิหิภาเวน, มม สนฺติเก ภวิสฺสสีติ  จกฺกงฺกิตตเลน ปาณินา ตํ สิรสิ ปรามสิตฺวา อาทาย คนฺตฺวา คนฺธกุฏิปมุเข นิสีทาเปตฺวา “จูฬปนฺถก ปุรตฺถาภิมุโข หุตฺวา อิมํ ปิโลติกํ ‘รโชหรณํ รโชหรณนฺติ ปริมชฺชนฺโต อิเธว โหหีติ อิทฺธิยา อภิสงฺขตํ ปริสุทฺธํ ปิโลติกํ ทตฺวา, กาเล อาโรจิเต, ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต ชีวกสฺส เคหํ คนฺตฺวา  ปญฺญตฺตาสเน นิสีทิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ได้ยินว่า อ.พระจูฬปันถกะ นั้น บวชแล้ว ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นผู้มีปัญญา เป็น ได้กระทำแล้ว ซึ่งการหัวเราะและการเยาะเย้ย ในกาลเป็นที่เรียนเอาซึ่งอุทเทศ ของภิกษุผู้เขลารูปใดรูปหนึ่ง ฯ อ.ภิกษุ นั้น ละอายแล้ว เพราะการหัวเราะนั้น ไม่เรียนเอาแล้วนั่นเทียว ซึ่งอุทเทศ ไม่ได้กระทำแล้ว ซึ่งการสาธยาย ฯ อ.พระจูฬปันถกะนี้  บวชแล้วเทียว เป็นผู้เขลา เกิดแล้ว เพราะกรรมนั้น ฯ เมื่อพระจูฬปันถกะเรียนเอาอยู่ ซึ่งบทในเบื้องบนในเบื้องบน ฯ อ.บทอันพระจูฬปันถกะเรียนเอาแล้วเรียนเอาแล้ว ย่อมพินาศไป ฯ เมื่อพระจูฬปันถกะ นั้น พยายามอยู่เพื่ออันเรียนเอา ซึ่งคาถา นี้นั่นเทียว อ.เดือน ท. สี่ ล่วงไปแล้ว ฯ ครั้งนั้น อ.พระมหาปันถกะ กล่าวแล้ว กะพระจูฬปันถกะนั้น ว่า ดูก่อนจูฬปันถกะ อ.เธอ เป็นผู้ไม่ควร ในพระศาสนา นี้ ย่อมเป็น อ.เธอ ย่อมไม่อาจ เพื่ออันเรียนเอา แม้ซึ่งคาถา หนึ่ง โดยเดือน ท. สี่ ก็ อ.เธอ ยังกิจแห่งบรรพชิต จักให้ถึงซึ่งที่สุด อย่างไร อ.เธอ จงออกไป จากที่นี้ ดังนี้ คร่าออกแล้ว จากวิหาร ฯ อ.พระจูฬปันถกะ ย่อมไม่ปรารถนา ซึ่งความเป็นแห่งคฤหัสถ์ เพราะความรักในศาสนาของพระพุทธเจ้า ฯ

ก็ ในกาลนั้น อ.พระมหาปันถกะ เป็นพระภัตตุทเทศก์ ย่อมเป็น ฯ อ.หมอชีวก ผู้โกมารภัจ ถือเอาแล้ว ซึ่งระเบียบและของหอมและเครื่องลูบไล้ มาก ไปแล้ว สู่อัมพวัน บูชาแล้ว ซึ่งพระศาสดา ฟังแล้ว ซึ่งธรรม ลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระทศพล เข้าไปหาแล้ว ซึ่งพระมหาปันถกะ ถามแล้วว่า ข้าแต่ท่านนผู้เจริญ อ.ภิกษุ ท. ในสำนัก ของพระศาสดา มีประมาณเท่าไร ดังนี้ ฯ อ.พระมหาปันถกะ กล่าวแล้วว่า อ.ร้อยแห่งภิกษุ ท. มีห้าเป็นประมาณ ดังนี้ ฯ  อ.หมอชีวก กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ท่าน ท. พาไปแล้ว ซึ่งร้อยแห่งภิกษุห้า ท. มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จงรับ ซึ่งภิกษาในนิเวศน์ ของข้าพเจ้า ท. ในวันพรุ่งนี้ ดังนี้ ฯ อ.พระเถระ กล่าวแล้วว่า ดูก่อนอุบาสก อ.ภิกษุ ผู้เขลา ชื่อว่าจูฬปันถกะ เป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงาม ย่อมเป็น อ.อาตมภาพ ย่อมรับพร้อม ซึ่งการนิมนต์ เพื่อภิกษุ ท. ที่หลือ เว้นซึ่งภิกษุผู้เขลานั้น ดังนี้ ฯ อ.พระจูฬปันถกะ ฟังแล้ว ซึ่งคำนั้น คิดแล้วว่า อ.พระเถระ เมื่อรับพร้อม ซึ่งการนิมนต์ เพื่อภิกษุ ท. มีประมาณเท่านี้ ย่อมรับพร้อม กระทำ ซึ่งเรา ให้เป็นผู้มีในภายนอก อ.จิต ในเรา แห่งพี่ชายของเรา เป็นธรรมชาติแตกแล้ว มีความสงสัยออกแล้ว จักเป็น อ.ประโยชน์อะไร แก่เรา ด้วยพระศาสนานี้ ในกาลนี้ อ.เรา เป็นคฤหัสถ์ เป็น กระทำอยู่ซึ่งบุญ ท. มีทานเป็นต้น จักเป็นอยู่ ดังนี้ ฯ  อ.พระจูฬปันถกะนั้น ไปแล้วเพื่ออันสึก แต่เช้าเทียว ในวันรุ่งขึ้น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระบรมศาสดา ทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว ทรงเห็นเหตุนี้ เสด็จไปก่อนกว่า ได้ประทับยืนจงกรมอยู่ ณ ซุ้มประตูใกล้หนทางที่พระจูฬปันถกไป ฯ พระจูฬปันถกกำลังเดินไป พบพระบรมศาสดาจึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคม ฯ ลำดับนั้น พระบรมศาสดาตรัสกะพระจูฬปันถกนั้นว่า จูฬปันถก ก็เวลานี้ เธอจะไปไหน ฯ พระจูฬปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พี่ชายขับไล่ข้าพระองค์ออกไป ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปสึก ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า  จูฬปันถก ชื่อว่าบรรพชาของเธอ มีในสำนักของเราแล้ว เธอแม้ถูกพี่ชายขับไล่ออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มาสู่สำนักของเรา มาเถิด ประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอจักอยู่ในสำนักของเรา ดังนี้ ทรงลูบศีรษะพระจูฬปันถกนั้น ด้วยฝ่าพระหัตถ์ที่มีพื้นดารดาษด้วยกงจักร ทรงพาไป ให้นั่งอยู่ ที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานผ้าเก่าบริสุทธิ์ที่ทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ ด้วยรับสั่งว่า จูฬปันถก เธอจงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลูบผ้าเก่าผืนนี้ พร้อมกับบริกรรมว่า รโช หรณัง รโช หรณัง อยู่ในที่นี้นั่นแหละ ดังนี้ เมื่อเขากราบทูลเวลาแล้ว แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปบ้านหมอชีวก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘

แปลโดยพยัญชนะ :
(โกสมฺพีวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๕๘-๕๙)

๑. อถ นํ (ปาริเลยฺยกํ) สตฺถา  “ปาริเลยฺยก อิทํ มม อนิวตฺตคมนํ, ตว อิมินา อตฺตภาเวน  ฌานํ วา วิปสฺสนํ วา มคฺคผลํ วา นตฺถิ, ติฏฺฐ ตฺวนฺติ อาห ฯ ตํ สุตฺวา นาโค มุเข โสณฺฑํ  ปกฺขิปิตฺวา โรทนฺโต ปจฺฉโต ปจฺฉโต อคมาสิ ฯ สตฺถา ปน ตํ คามูปจารํ ปตฺวา  “ปาริเลยฺยก  อิโต ปฏฺฐาย ตว อภูมิ, มนุสฺสาวาโส สปริปนฺโถ, ติฏฺฐ ตฺวนฺติ อาห ฯ โส โรทมาโน ตตฺถ ฐตฺวา,   สตฺถริ จกฺขุปถํ วิชหนฺเต, หทเยน ผลิเตน กาลํ กตฺวา สตฺถริ ปสาเทน ตาวตึสภวเน ตึสโยชนิเก  กนกวิมาเน อจฺฉราสหสฺสมชฺเฌ นิพฺพตฺติ ฯ  “ปาริเลยฺยกเทวปุตฺโตเตฺววสฺส นามํ อโหสิ ฯ  สตฺถาปิ อนุปุพฺเพน เชตวนํ อคมาสิ ฯ

โกสมฺพิกา ภิกฺขู  “สตฺถา กิร สาวตฺถึ อาคโตติ สุตฺวา สตฺถารํ ขมาเปตุํ ตตฺถ อคมํสุ ฯ  โกสลราชา  “เต กิร โกสมฺพิกา ภณฺฑนการกา ภิกฺขู อาคจฺฉนฺตีติ สุตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา   “อหํ ภนฺเต เตสํ มม วิชิตํ ปวิสิตุํ น ทสฺสามีติ อาห ฯ  “มหาราช สีลวนฺตา เต ภิกฺขู, เกวลํ  อญฺญมญฺญํ วิวาเทน มม วจนํ น คณฺหึสุ; อิทานิ มํ ขมาเปตุํ อาคจฺฉนฺติ: อาคจฺฉนฺตุ มหาราชาติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(โกสมฺพีวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๕๙)

๒. อนาถปิณฺฑิโกปิ  “ภนฺเต อหํ เตสํ วิหารํ ปวิสิตุํ น ทสฺสามีติ วตฺวา ตเถว ภควตา  ปฏิกฺขิตฺโต ตุณฺหี อโหสิ ฯ สาวตฺถิยํ อนุปฺปตฺตานํ ปน เตสํ ภควา เอกมนฺเต วิวิตฺตํ การาเปตฺวา   เสนาสนํ ทาเปสิ ฯ อญฺเญ ภิกฺขู เตหิ สทฺธึ เนว เอกโต นิสีทนฺติ น ติฏฺฐนฺติ ฯ อาคตาคตา สตฺถารํ ปุจฺฉนฺติ  “กตเม เต ภนฺเต ภณฺฑนการกา โกสมฺพิกา ภิกฺขูติ ฯ สตฺถา  “เอเตติ ทสฺเสติ ฯ เต  “เอเต  กิร เต, เอเต กิร เตติ อาคตาคเตหิ องฺคุลิยา ทสฺสิยมานา ลชฺชาย สีสํ อุกฺขิปิตุํ อสกฺโกนฺตา  ภควโต ปาทมูเล นิปชฺชิตฺวา ภควนฺตํ ขมาเปสุํ ฯ สตฺถา  “ภาริยํ โว ภิกฺขเว กตํ, ตุมฺเห นาม  มาทิสสฺส พุทฺธสฺส สนฺติเก ปพฺพชิตฺวาปิ, มยิ สามคฺคึ กโรนฺเต, มม วจนํ น กริตฺถ,  โปราณกปณฺฑิตาปิ วชฺฌปฺปตฺตานํ มาตาปิตูนํ โอวาทํ สุตฺวา, เตสุ ชีวิตา โวโรปิยมาเนสุปิ, ตํ   อนติกฺกมิตฺวา ปจฺฉา ทฺวีสุ รฏฺเฐสุ รชฺชํ การยึสูติ วตฺวา ปุนเทว ทีฆาวุกุมารชาตกํ กเถตฺวา  “เอวํ   ภิกฺขเว ทีฆาวุกุมาโร มาตาปิตูสุ ชีวิตา โวโรปิยมาเนสุปิ, เตสํ โอวาทํ อนติกฺกมิตฺวา ปจฺฉา  พฺรหฺมทตฺตสฺส ธีตรํ ลภิตฺวา ทฺวีสุ กาสิโกสลรฏฺเฐสุ รชฺชํ กาเรสิ, ตุมฺเหหิ ปน มม วจนํ อกโรนฺเตหิ ภาริยํ กตนฺติ อาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น อ.พระศาสดาตรัสแล้วว่า ดูก่อนปาริเลยยกะ อ.การไปนี้ เป็นการไปอันไม่กลับแล้ว ของเรา ย่อมเป็น อ.ฌานหรือ หรือว่า อ.วิปัสสนา หรือว่า อ.มรรคและผล ย่อมไม่มี แก่เจ้า โดยอัตภาพนี้ อ.เจ้า จงหยุด ดังนี้ กะช้างชื่อว่าปาริเลยยกะนั้น ฯ อ.ช้างตัวประเสริฐ ฟังแล้ว ซึ่งพระดำรัสนั้น ใส่แล้ว ซึ่งงวง ในปาก ร้องไห้อยู่ ได้ไปแล้ว ข้างหลัง ข้างหลัง ฯ ส่วนว่า อ.พระศาสดา เสด็จถึงแล้ว ซึ่งอุปจารแห่งหมู่บ้านนั้น ตรัสแล้วว่า ดูก่อนปาริเลยยกะ อ.ภาคพื้นนี้ เป็นที่มิใช่ภาคพื้นของเจ้า ย่อมเป็น จำเดิมแต่ที่นี้ อ.ประเทศอันเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เป็นประเทศเป็นไปกับด้วยอันตรายเป็นเครื่องเบียดเบียนรอบ ย่อมเป็น อ.เจ้า จงหยุด ดังนี้ ฯ อ.ช้างตัวประเสริฐนั้นร้องไห้อยู่ หยุดแล้วในที่นั้น ครั้นเมื่อพระศาสดา ทรงละอยู่ ซึ่งคลองแห่งจักษุ มีหทัยอันแตกแล้ว กระทำแล้ว ซึ่งกาละ บังเกิดแล้ว ในท่ามกลางแห่งพันแห่งนางอัปสร ในวิมานอันเป็นวิการแห่งทอง อันประกอบด้วยโยชน์สามสิบ ในภพชื่อว่าดาวดึงส์ เพราะความเลื่อมใส ในพระศาสดา ฯ อ.คำว่า อ.เทพบุตรชื่อว่า ปาริเลยยกะ ดังนี้นั่นเทียว เป็นชื่อ ของเทพบุตรนั้นได้เป็นแล้ว ฯ แม้ อ.พระศาสดา ได้เสด็จไปแล้ว สู่พระวิหารชื่อว่าเชตะวัน โดยลำดับ ฯ

อ.ภิกษุ ท. ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี ฟังแล้วว่า อ.พระศาสดา เสด็จมาแล้ว สู่พระนครชื่อว่าสาวัตถี ดังนี้ ได้ไปแล้ว ในพระนครชื่อว่าสาวัตถีนั้น เพื่ออันยังพระศาสดาให้ทรงอดโทษ ฯ อ.พระราชาแห่งแคว้นโกศล ทรงสดับแล้วว่า ได้ยินว่า อ.ภิกษุ ท. ผู้กระทำซึ่งความแตกร้าว ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี เหล่านั้น ย่อมมา ดังนี้ เสด็จเข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.หม่อมฉัน จักไม่ให้ เพื่ออันเข้าไป สู่แว่นแคว้นของหม่อมฉัน แก่ภิกษุ ท. เหล่านั้น ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ.ภิกษุ ท. เหล่านั้น ผู้มีศีล ไม่ถือเอาแล้ว ซึ่งคำของตาตมภาพ เพราะการวิวาทซึ่งกันและกัน อย่างเดียว ในกาลนี้ อ.ภิกษุ ท. เหล่านั้น ย่อมมา เพื่ออันยังอาตมภาพให้อดโทษ ดูก่อนมหาบพิตร อ.ภิกษุ ท. เหล่านั้น จงมา ดังนี้ ฯ

หรือจะแปลอีกอย่างหนึ่งว่า อ.ประเทศนี้ เป็นประเทศเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เป็นประเทศเป็นไป ด้วยอันตรายเป็นเครื่องเบียดเบียนรอบ ย่อมเป็น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. แม้อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักมิให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังวิหาร ดังนี้แล้ว ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียเช่นเดียวกัน ได้นิ่งแล้ว ฯ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ทำที่สงัด ณ ส่วนข้างหนึ่ง ประทานเสนาสนะแก่ภิกษุเหล่านั้นผู้ถึงซึ่งพระนครชื่อว่าสาวัตถีโดยลำดับ ฯ ภิกษุเหล่าอื่นไม่นั่ง ไม่ยืน ร่วมกับภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเหล่านั้นเลย ฯ คนทั้งหลายที่มาแล้วมาแล้ว ทูลถามพระบรมศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนคือภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ผู้ก่อความแตกร้าวเหล่านั้น ฯ พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นี้คือภิกษุชาวโกสัมพี ผู้ก่อความแตกร้าว ฯ ภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเหล่านั้นถูกคนทั้งหลายผู้มาแล้วผู้มาแล้วชี้นิ้วว่า ได้ทราบว่านั่นคือภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความแตกร้าวเหล่านั้น ดังนี้ ไม่สามารถยกศีรษะขึ้นเพราะความละอาย หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กรรมหนักอันเธอทั้งหลายทำแล้ว ชื่อว่าเธอทั้งหลายแม้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรา เมื่อเราทำความสามัคคี ไม่กระทำตามคำของเรา แม้บัณฑิตครั้งโบราณฟังคำสอนของมารดาและบิดาผู้ต้องโทษประหารชีวิต เมื่อมารดาและบิดานั้น แม้ถูกปลงชีวิตอยู่ ก็ยังไม่ละเมิดคำสอนนั้น ภายหลังได้ครองราชสมบัติใน ๒ แคว้น ดังนี้แล้ว ตรัสทีฆาวุกุมารชาดกอีกเหมือนกันแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมาร เมื่อพระชนนีและพระชนกแม้ถูกปลงพระชนม์อยู่อย่างนี้ ก็ไม่ละเมิดคำสอนของพระชนนีและพระชนกนั้น ภายหลังได้พระราชธิดาของพระเจ้าพรหมทัต ครองราชย์สมบัติในแคว้นกาสีและโกศลทั้ง ๒ ส่วนพวกเธอผู้ไม่ทำตามคำของเรา นับว่าทำกรรมหนักแล้ว ดังนี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๘ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(จุลฺลกาลมหากาลวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๖๑)

๑. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตนฺติ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เสตพฺยนครํ อุปนิสฺสาย สีสปาวเน วิหรนฺโต จุลฺลกาลมหากาเล อารพฺภ กเถสิ ฯ

เสตพฺยนครวาสิโน หิ  “จุลฺลกาโล มชฺฌิมกาโล มหากาโล จาติ ตโย ภาตโร กุฏุมฺพิกา ฯ เตสุ เชฏฺฐกนิฏฺฐา ทิสาสุ วิจริตฺวา ปญฺจหิ สกฏสเตหิ ภณฺฑํ อาหรนฺติ ฯ มชฺฌิมกาโล อาภตํ  วิกฺกีณาติ ฯ อเถกสฺมึ สมเย เต อุโภปิ ภาตโร ปญฺจหิ สกฏสเตหิ นานาภณฺฑํ คเหตฺวา สาวตฺถึ  คนฺตฺวา สาวตฺถิยา จ เชตวนสฺส จ อนฺตเร สกฏานิ โมจยึสุ ฯ เตสุ มหากาโล สายณฺหสมเย  มาลาคนฺธาทิหตฺเถ สาวตฺถีวาสิโน อริยสาวเก ธมฺมสฺสวนาย คจฺฉนฺเต ทิสฺวา “ กุหึ อิเม คจฺฉนฺตีติ ปุจฺฉิตฺวา ตมตฺถํ สุตฺวา กนิฏฺฐํ อามนฺเตตฺวา  “ตาต สกเฏสุ อปฺปมตฺโต โหหิ, อหํปิ ธมฺมํ โสตุํ  คมิสสฺามีติ วตฺวา คนฺตฺวา ตถาคตํ วนฺทิตฺวา ปริสปริยนฺเต นิสีทิ ฯ สตฺถา ตํทิวสํ ตสฺส อชฺฌาสเยน อนุปุพฺพีกถํ กเถนฺโต ทุกฺขกฺขนฺธสุตฺตาทิวเสน อเนกปริยาเยน กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสญฺจ กเถสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(จุลฺลกาลมหากาลวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๖๑-๖๒)

๒. ตํ สุตฺวา มหากาโล  “สพฺพํ กิร ปหาย คนฺตพฺพํ, ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ เนว โภคา น ญาตโย   อนุคจฺฉนฺติ, กึ เม ฆราวาเสน ปพฺพชิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา, มหาชเน วนฺทิตฺวา ปกฺกนฺเต, สตฺถารํ ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา, สตฺถารา  “นตฺถิ เต โกจิ อปโลเกตพฺโพติ วุตฺเต,  “กนิฏฺโฐ เม อตฺถิ ภนฺเตติ  วตฺวา,  “เตนหิ อปโลเกหิ นนฺติ วุตฺเต,  “สาธุ ภนฺเตติ อาคนฺตฺวา กนิฏฺฐํ เอตทโวจ  “ตาต อิมํ สพฺพํ สาปเตยฺยํ ปฏิปชฺชาติ ฯ  “ตุมฺเห ปน ภาติกาติ ฯ  “อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ ฯ โส ตํ นานปฺปกาเรหิ ยาจิตฺวา นิวตฺเตตุํ อสกฺโกนฺโต  “สาธุ สามิ ยถาชฺฌาสยํ กโรถาติ อาห ฯ มหากาโล คนฺตฺวา สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิ ฯ  “อหํ ภาติกํ คเหตฺวาว อุปฺปพฺพชิสฺสามีติ จุลฺลกาโลปิ ปพฺพชิ ฯ  อปรภาเค มหากาโล อุปสมฺปทํ ลภิตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา สาสเน ธุรานิ ปุจฺฉิตฺวา, สตฺถารา  ทฺวีสุ ธุเรสุ กถิเตสุ,  “อหํ ภนฺเต มหลฺลกกาเล ปพฺพชิตตฺตา คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ, วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามีติ ยาว อรหตฺตา โสสานิกธุตงฺคํ กถาเปตฺวา ปฐมยามาติกฺกเม สพฺเพสุ นิทฺทํ โอกฺกนฺเตสุ สุสานํ คนฺตฺวา ปจฺจูสกาเล สพฺเพสุ อนุฏฺฐิเตสุเยว วิหารํ อาคจฺฉติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัย ซึ่งพระนครชื่อว่าเสตัพยะประทับอยู่ ในสีสปาวัน (ป้าไม้สีเสียด) ทรงปรารภ ซึ่งจุลกาลและมหากาล ท. ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนาว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ ดังนี้เป็นต้น ฯ

ดังจะกล่าวโดยพิสดาร อ.กุฎุมพี ท. ผู้เป็นพี่น้องชายกัน สาม คือ อ.จุลกาลด้วย อ.มัชฌิมกาลด้วย อ.มหากาลด้วย ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าเสตัพยะโดยปกติ ได้มีแล้ว ฯ อ.-ในกฎุมพี ท. ผู้เป็นพี่น้องชาย สามหล่านั้นหนา -กุกุมพีผู้เจริญที่สุดและกุกุมพีผู้น้องที่สุด ท. เที่ยวไปแล้ว ในทิศ ท. ย่อมนำมา ซึ่งภัณฑะ ด้วยร้อยแห่งเกวียน ท. ห้า ฯ อ.มัชฌิมกาล ย่อมขาย ซึ่งภัณฑะ อันอันกุฎุมพีผู้เจริญที่สุดและกุฎุมพีผู้น้อยที่สุด ท. นำมาแล้ว ฯ ครั้งนั้น ในสมัยหนึ่ง อ.พี่น้องชาย ท.  แม้ทั้งสอง เหล่านั้น ถือเอาแล้ว ซึ่งภัณฑะต่าง ๆ ด้วยร้อยแห่งเกวียน ท. ห้า ไปแล้ว สู่พระนครชื่อว่าสาวัตถี ปลดแล้ว ซึ่งเกวียน ท. ในระหว่างแห่งพระนครชื่อว่าสาวัตถีด้วย แห่งพระวิหารชื่อว่าเชตวันด้วย ฯ อ.-ในพี่น้องชาย ท. ทั้งสองเหล่านั้นหนา-มหากาล เห็นแล้ว ซึ่งอริยสาวก ท. ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าสาวัตถีโดยปกติ ผู้มีวัตถุอันมีระเบียบและของหอมเป็นต้นในมือ ผู้ไปอยู่ เพื่ออันฟังซึ่งธรรม ในสมัยอันเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน ถามแล้วว่า อ.ชน ท. เหล่านี้ ย่อมไป ณ ที่ไหน ดังนี้ ฟังแล้ว ซึ่งเนื้อความนั้น เรียกมาแล้ว ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด กล่าวแล้ว่า ดูก่อนพ่อ อ.เธอ จงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ในเกวียน ท. จงเป็น แม้ อ.เราจักไป เพื่ออันฟังซึ่งธรรม ดังนี้ ไปแล้ว ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระตถาคต นั่งแล้ว ณ ที่สุดรอบแห่งบริษัท ฯ ในวันนั้น อ.พระศาสดา เมื่อตรัสซึ่งอนุบุพพีกถาตามอัธยาศัย ของมหากาลนั้น ตรัสแล้ว ซึ่งโทษด้วย ซึ่งความต่ำทรามด้วย ซึ่งความเศร้าหมองพร้อมด้วย แห่งกาม ท. โดยปริยายมิใช่หนึ่ง ด้วยสามารถแห่งพระสูตรมีทุกขักขันธสูตร เป็นต้น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. มหากาลฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า ทราบว่า คนเราจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป โภคทรัพย์ทั้งหลายก็ตามไปไม่ได้ ญาติทั้งหลายก็ตามไปไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้ไปสู่โลกหน้า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช เมื่อมหาชนถวายบังคม (พระบรมศาสดา) แล้วหลีกไป ทูลขอบรรพชากับพระบรมศาสดา เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสว่า ใครบางคนที่เธอจะพึงลาไม่มีหรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีน้องชายอยู่ เมื่อพระบรมศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงลาน้องชายนั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดีละ มาแล้ว ได้กล่าวกะ น้องชายดังนี้ว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงดูแลทรัพย์สมบัติทั้งหมดนี้ ฯ จุลกาลถามว่า ข้าแต่พี่ชาย ก็พี่เล่า ฯ มหากาลกล่าวว่า พี่จักบวชในสำนักของพระบรมศาสดา ฯ จุลกาลนั้น อ้อนวอนพี่ชายโดยประการต่าง ๆ ไม่สามารถให้กลับได้ จึงกล่าวว่า ข้าแต่พี่ ดีละ ขอท่านจงทำตามอัธยาศัยเถิด ฯ มหากาลไปบวชในสำนักของพระบรมศาสดาแล้ว ฯ ฝ่ายจุลกาลก็บวชด้วยตั้งใจว่า เราจักพาพี่ชายลาสิกขา ฯ ในกาลต่อมา มหากาลได้อุปสมบทแล้ว เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา เมื่อพระบรมศาสดาตรัสบอกธุระ ๒ ประการแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ เพราะบวชในตอนแก่ แต่ข้าพระองค์จักให้วิปัสสนาธุระบริบูรณ์ ทูลให้พระบรมศาสดาตรัสบอกโสสานิกธุดงค์จนถึงพระอรหัต ในเวลาล่วงปฐมยาม เมื่อคนทั้งหลายหลับกันหมดแล้ว ไปป้าช้า ในวลาใกล้รุ่ง เมื่อชนทั้งหลายยังไม่ตื่นเลย กลับมาวิหาร ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗

แปลโดยพยัญชนะ :
(ราธตฺเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๑-๒)

๑. โส (ราโธ) กิร คิหิกาเล สาวตฺถิยํ ทุคฺคตพฺราหฺมโณ อโหสิ ฯ โส  “ภิกฺขูนํ สนฺติเก  ชีวิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา วิหารํ คนฺตฺวา อปหริตํ กโรนฺโต ปริเวณํ สมฺมชฺชนฺโต มุขโธวนาทีนิ  ททนฺโต วิหาเร วสิ ฯ ภิกฺขูปิ นํ สงฺคณฺหึสุ, ปพฺพาเชตุํ ปน น อิจฺฉนฺติ ฯ โส ปพฺพชฺชํ อลภมาโน กิโส อโหสิ ฯ

อเถกทิวสํ สตฺถา ปจฺจูสกาเล โลกํ โวโลเกนฺโต ตํ พฺราหฺมณํ ทิสฺวา “กินฺนุ โขติ อุปธาเรนฺโต “อรหา ภวิสฺสตีติ ญตฺวา สายณฺหสมเย วิหารจาริกํ จรนฺโต วิย พฺราหฺมณสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา  “พฺราหฺมณ กึ กโรนฺโต วิจรสีติ อาห ฯ  “ภิกฺขูนํ วตฺตปฺปฏิวตฺตํ กโรมิ ภนฺเตติ อาหฺ ฯ  “ลภสิ  เตสํ สนฺติกา สงฺคหนฺติ ฯ  “อาม ภนฺเต, อาหารมตฺตํ ลภามิ, น ปน มํ ปพฺพาเชนฺตีติ ฯ สตฺถา  เอตสฺมึ นิทาเน ภิกฺขุสงฺฆํ สนฺนิปาตาเปตฺวา ตมตฺถํ ปุจฺฉิตฺวา “ภิกฺขเว อตฺถิ โกจิ อิมสฺส  พฺราหฺมณสฺส อธิการํ สรนฺโตติ ปุจฺฉิ ฯ สารีปุตฺตตฺเถโร  “อหํ ภนฺเต สรามิ, อยํ เม ราชคเห  ปิณฺฑาย จรนฺตสฺส อตฺตโน อภิหฏํ กฏจฺฉุภิกฺขํ ทาเปสิ, อิมสฺสาหํ อธิการํ สรามีติ อาห ฯ โส,  สตฺถารา  “กึ ปน เต สารีปุตฺต เอวํ กโตปการํ ทุกฺขโต โมเจตุํ น วฏฺฏตีติ วุตฺเต,  “สาธุ ภนฺเต,   ปพฺพาเชสฺสามีติ ตํ พฺราหฺมณํ ปพฺพาเชสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(ราธตฺเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๒-๓)

๒. ตสฺส ภตฺตคฺเค อาสนปริยนฺเต อาสนํ ปาปุณาติ, ยาคุภตฺตาทีหิ กิลมติ ฯ เถโร ตํ อาทาย  จาริกํ ปกฺกามิ, อภิกฺขณํ นํ  “อิทนฺเต กตฺตพฺพํ, อิทนฺเต น กตฺตพฺพนฺติ โอวทิ อนุสาสิ ฯ โส  สุวโจ อโหสิ ปทกฺขิณคฺคาหี; ตสฺมา ยถานุสิฏฺฐํ ปฏิปชฺชมาโน กติปาเหเนว อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ  เถโร ตํ อาทาย สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา วนฺทิตฺวา นิสีทิ ฯ อถ นํ สตฺถา ปฏิสนฺถารํ กตฺวา อาห  “สุวโจ นุ โข เต สารีปุตฺต อนฺเตวาสิโกติ ฯ  “อาม ภนฺเต, อติวิย สุวโจ, กิสฺมิญฺจิ โทเส วุจฺจมาเนปิ, น กุทฺธปุพฺโพติ ฯ  “สารีปุตฺต เอวรูเป สทฺธิวิหาริเก ลภมาโน กิตฺตเก คณฺเหยฺยาสีติ ฯ  “ภนฺเต  พหุเกปิ คณฺเหยฺยาเมวาติ ฯ

อเถกทิวสํ ธมฺมสภายํ ภิกฺขู กถํ สมุฏฺฐาเปสุํ “สารีปุตฺตตฺเถโร กิร กตญฺญู กตเวที  กฏจฺฉุภิกฺขามตฺตํ อุปการํ สริตฺวา ทุคฺคตพฺราหฺมณํ ปพฺพาเชสิ; ราธตฺเถโรปิ โอวาทกฺขโม  โอวาทกฺขมเมว ลภีติ ฯ สตฺถา เตสํ กถํ สุตฺวา  “น ภิกฺขเว อิทาเนว, ปุพฺเพปิ สารีปุตฺโต กตญฺญู กตเวทีเยวาติ วตฺวา ตมตฺถํ ปกาเสตุํ  อิมํ ทุกนิปาเต อลีนจิตฺตชาตกํ วิตฺถาเรตฺวา กเถสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ได้ยินว่า อ.พระราธะนั้น เป็นพราหมณ์ผู้ถึงแล้วซึ่งยากในกรุงสาวัตถี ในกาลแห่งตนเป็นคฤหัสถ์ ได้เป็นแล้ว ฯ อ.ราธพราหมณ์ นั้น คิดแล้วว่า อ.เรา จักเป็นอยู่ ในสำนักแห่งภิกษุ ท. ดังนี้ ไปแล้วสู่วิหาร กระทำอยู่ซึ่งภาคพื้นให้มีของเขียวไปปราศแล้ว กวาดอยู่ซึ่งบริเวณ ถวายอยู่ซึ่งวัตถุ ท. มีน้ำเป็นเครื่องล้างซึ่งหน้าเป็นต้น อยู่แล้วในวิหาร ฯ แม้ อ.ภิกษุ ท. สงเคราะห์แล้ว ซึ่งราธพราหมณ์นั้น แต่ว่า อ.ภิกษุ ท. ย่อมไม่ปรารถนาเพื่ออันยังราธพราหมณ์นั้นให้บรรพชา ฯ อ.ราธพราหมณ์นั้น เมื่อไม่ได้ซึ่งการบรรพชา เป็นผู้ผ่ายผอมได้เป็นแล้ว ฯ

ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง อ.พระบรมศาสดา ทรงตรวจดูอยู่ซึ่งโลกในกาลอันเป็นที่กำจัดเฉพาะซึ่งมืด ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ซึ่งพราหมณ์นั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า อ.เหตุอะไรหนอแล ดังนี้ ทรงทราบแล้วว่า อ.ราธพราหมณ์นั้น เป็นพระอรหันต์ จักเป็น ดังนี้ เป็นราวกะว่าเสด็จเที่ยวไปอยู่สู่ที่จาริกในวิหาร ในสมัยอันเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน เป็น เสด็จไปแล้วสู่สำนักของพราหมณ์ ตรัสแล้วว่า ดูก่อนพราหมณ์ อ.ท่าน ทำอยู่ซึ่งอะไร ย่อมเที่ยวไป ดังนี้ ฯ อ.พราหมณ์ กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ กระทำอยู่ซึ่งวัตรและวัตรตอบ แก่ภิกษุ ท. ดังนี้ ฯ อ.พระบรมศาสดา ตรัสถามแล้วว่า อ.ท่าน ย่อมได้ ซึ่งการสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุ ท. เหล่านั้นหรือ ดังนี้ ฯ อ.พราหมณ์ กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า อ.อย่างนั้น อ.ข้าพระองค์ ย่อมได้ ซึ่งวัตถุอันมีอาหารเป็นประมาณ แต่ว่า อ.ภิกษุ ท. เหล่านั้น ย่อมยังข้าพระองค์ให้บรรพชา หามิได้ ดังนี้ ฯ อ.พระบรมศาสดา ยังหมู่แห่งภิกษุให้ประชุมพร้อมแล้ว ในเพราะเหตุเป็นแดนมอบให้ซึ่งผลนี้ ตรัสถามแล้วซึ่งความนั้น ตรัสถามแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ ท. อ.ใคร ๆ ผู้ระลึกถึงอยู่ซึ่งคุณอันบุคคลพึงกระทำยิ่ง ของพราหมณ์นี้ มีอยู่หรือ ดังนี้ ฯ อ.พระเถระชื่อว่าสารีบุตร กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ย่อมระลึกถึงได้ อ.พราหมณ์นี้ ยังบุคคลให้ถวายแล้ว ซึ่งภิกษาอันมีทัพพีหนึ่งเป็นประมาณอันอันบุคคลนำมาแล้วเพื่อตน แก่ข้าพระองค์ ผู้เที่ยวไปอยู่ เพื่อก้อนข้าว ในกรุงราชคฤห์ อ.ข้าพระองค์ ย่อมระลึกถึงได้ ซึ่งคุณอันบุคคลพึงกระทำยิ่ง ของพราหมณ์นี้ ดังนี้ ฯ อ.พระเถระชื่อว่าสารีบุตรนั้น ครั้นเมื่อพระดำรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ อ.อันอันเธอยังพราหมณ์ ผู้มีอุปการะอันตนกระทำแล้วอย่างนี้ ให้พ้นจากความทุกข์ ย่อมไม่ควรหรือ ดังนี้ อันพระบรมสาสดาตรัสแล้ว กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.ดีละ อ.ข้าพระองค์ยังพราหมณ์นั้นจักให้บรรพชา ดังนี้ ยังพราหมณ์นั้นให้บรรพชาแล้วฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. อาสนะในลำดับสุดท้ายของอาสนะในโรงฉันย่อมถึงพระราธะนั้น เธอจึงลำบากด้วยข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ฯ พระเถระพาเธอหลีกจาริกไป แนะนำพร่ำสอนเธอเนือง ๆ ว่า เธอควรทำสิ่งนี้ เธอไม่ควรทำสิ่งนี้ ฯ พระราธะนั้นได้เป็นผู้ว่าง่าย เต็มใจรับคำสั่งสอน ดังนั้น จึงปฏิบัติตามคำที่พระเถระสั่งสอน โดยกาลไม่นานนัก ก็บรรลุอรหัตตผล ฯ พระเถระพาพระราธะนั้นไปยังสำนักพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ฯ ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ทรงกระทำปฏิสันถาร ตรัสกะพระสารีบุตรนั้นว่า สารีบุตร อันเตวาสิกของเธอเป็นผู้ว่าง่ายหรือหนอแล ฯ พระเถระ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า เธอเป็นผู้ว่าง่ายอย่างยิ่ง แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวชี้โทษอะไร ๆ เธอก็ไม่เคยโกรธ ฯ พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร เธอเมื่อได้สัทธิวิหาริกอย่างนี้ พึงรับได้ประมาณเท่าไร ฯ พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงรับได้แม้จำนวนมากทีเดียว ฯ

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ทราบว่า พระสารีบุตรเถระเป็นผู้กตัญญูกตเวที ระลึกถึงอุปการะเพียงภิกษาทัพพีเดียวให้พราหมณ์ผู้ตกยากบวช แม้พระราธเถระ เป็นผู้อดทนต่อคำสอนได้พระอุปัชฌาย์ผู้อดทนต่อคำสอนเหมือนกัน ฯ พระบรมศาสดา ทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระสารีบุตรก็เป็นผู้กตัญญูกตเวทีเหมือนกัน ดังนี้ เพื่อประกาศความนั้น จึงตรัสอลีนจิตตชาดกนี้ ในทุกนิบาตอย่างพิสดาร ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๗ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(มหากปฺปินตฺเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๑๙-๒๐)

๑. สตฺถา ตสฺสา (เทวิยา) อาคมนภาวํ ญตฺวา, ยถา อตฺตโน สนฺติเก นิสินฺนา ภิกฺขู น  ปญฺญายนฺติ; เอวมกาสิ ฯ สาปิ คจฺฉนฺตี คจฺฉนฺตี สตฺถุ สรีรโต นิกฺขนฺตรสฺมิโย ทิสฺวา ตเถว  จินฺเตตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ  ฐิตา ปุจฺฉิ  “ภนฺเต มหากปฺปิโน ตุมฺเห  อุทฺทิสฺส นิกฺขนฺโต, อาคเตตฺถ มญฺเญ, กหํ โส, อมฺหากํปิ นํ ทสฺเสถาติ ฯ  “นิสีทถ ตาว, อิเธว ตํ  ปสฺสิสฺสถาติ ฯ ตา สพฺพาปิ (อิตฺถิโย) ตุฏฺฐจิตฺตา นิสีทึสุ ฯ สตฺถา อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ ฯ อโนชา  เทวี เทสนาวสาเน สปริวารา โสตาปตฺติผลํ ปาปุณิ ฯ มหากปฺปินตฺเถโร ตาสํ วฑฺฒิตํ ธมฺมเทสนํ สุณนฺโต สปริวาโร สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ ตสฺมึ ขเณ สตฺถา ตาสํ เต ภิกฺขู อรหตฺตํ  ปตฺเต ทสฺเสสิ ฯ ตาสํ กิร จิตฺตํ เอกคฺคํ น ภเวยฺย, เตน มคฺคผลานิ ปตฺตุํ น สกฺกุเณยฺยุํ; ตสฺมา อจลสฺสทฺธาย ปติฏฺฐิตกาเล ตาสํ เต ภิกฺขู อรหตฺตํ ปตฺเต ทสฺเสสิ ฯ ตาปิ เต ทิสฺวา ปญฺจปฺปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา  “ภนฺเต ตุมฺหากํ ตาว ปพฺพชิตกิจฺจํ มตฺถกํ ปตฺตนฺติ วตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ  ฐิตา ปพฺพชฺชํ ยาจึสุ ฯ  “เอวํ กิร วุตฺเต, สตฺถา อุปฺปลวณฺณาย อาคมนํ จินฺเตสีติ เอกจฺเจ วทนฺติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(มหากปฺปินตฺเถร วตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๒๐)

๒. สตฺถา ปน ตา อุปาสิกาโย อาห  “สาวตฺถึ คนฺตฺวา ภิกฺขุนูปสฺสเย ปพฺพชถาติ ฯ ตา  อนุปุพฺเพน จาริกญฺจรมานา อนฺตรามคฺเค มหาชเนน อภิหฏสกฺการสมฺมานา ปทสาว  วีสติโยชนสติกํ มคฺคํ คนฺตฺวา ภิกฺขุนูปสฺสเย ปพฺพชิตฺวา อรหตฺตํ ปาปุณึสุ ฯ สตฺถาปิ ภิกฺขุสหสฺสํ  อาทาย อากาเสเนว เชตวนํ อคมาสิ ฯ

ตตฺร สุทํ อายสฺมา มหากปฺปิโน รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐานาทีสุ  “อโห สุขํ, อโห สุขนฺติ อุทานํ  อุทาเนนฺโต วิจรติ ฯ ภิกฺขู ภควโต อาโรเจสุํ  “ภนฺเต มหากปฺปิโน ‘อโห สุขํ, อโห สุขนฺติ อุทานํ   อุทาเนนฺโต วิจรติ, อตฺตโน รชฺชสุขํ อารพฺภ กเถติ มญฺเญติ ฯ สตฺถา ตํ ปกฺโกสาเปตฺวา  “สจฺจํ กิร  ตฺวํ กปฺปิน กามสุขํ รชฺชสุขํ อารพฺภ อุทานํ อุทาเนสีติ ฯ  “ภควา เม ภนฺเต ตํ อารพฺภ อุทานภาวํ  วา อนุทานภาวํ วา ชานาตีติ ฯ สตฺถา  “น ภิกฺขเว มม ปุตฺโต กามสุขํ รชฺชสุขํ อารพฺภ อุทานํ  อุทาเนติ, ปุตฺตสฺส ปน เม ธมฺมปีติ อุปฺปชฺชติ, โส อมตมหานิพฺพานํ อารพฺภ เอวํ อุทานํ  อุทาเนตีติ อาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.พระศาสดา ทรงทราบแล้ว ซึ่งความเป็นคืออันเสด็จมา แห่งพระเทวีนั้น ได้ทรงกระทำแล้ว โดย – อ.ภิกษุ ท. ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระองค์ ย่อมไม่ปรากฏ โดยประการใด – ประการนั้น ฯ อ.พระเทวีแม้นั้น เสด็จไปอยู่ เสด็จไปอยู่ ทรงเห็นแล้ว ซึ่งพระรัศมีอันซ่านออกแล้ว ท. จากพระสรีระของพระศาสดา ทรงคิดแล้วเหมือนอย่างนั้นนั่นเทียว เสด็จเข้าไปเฝ้าแล้ว ซึ่งพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่แล้ว ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.พระราชาพระนามว่ามหากัปปีนะ เสด็จออกแล้ว เจาะจงซึ่งพระองค์ อ.พระราชาพระองค์นั้น เห็นจะเสด็จมาแล้วในที่นี้ อ.พระราชาพระองค์นั้น ย่อมประทับอยู่ ณ ที่ไหน อ.พระองค์ ขอจงแสดงซึ่งพระราชาพระองค์นั้น แม้แก่หม่อมฉัน ท. ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดาตรัสแล้วว่า อ.เธอ ท. จงนั่งก่อน อ.เธอ ท. จักเห็นซึ่งพระราชานั้น ในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ.หญิง ท. เหล่านั้น แม้ทั้งปวง เป็นผู้มีจิตยินดีแล้ว เป็น นั่งแล้ว ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งอนุปุพพีกถา ฯ อ.พระเทวีพระนามว่าอโนชา ผู้เป็นไปกับด้วยบริวาร บรรลุแล้วซึ่งโสดาปัตติผล ในกาลเป็นที่สุดลงแห่งพระเทศนา ฯ อ.พระถระชื่อว่ามหากัปปีนะ ฟังอยู่ซึ่งพระธรรมเทศนาอันอันพระศาสดาทรงให้เจริญแล้วแก่หญิง ท. เหล่านั้น ผู้เป็นไปกับด้วยบริวารบรรลุแล้ว ซึ่งพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทา ท. ฯ ในขณะนั้น อ.พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น ผู้บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัต แก่หญิง ท.เหล่านั้น ฯ ได้ยินว่า อ.จิตของหญิง ท. เหล่านั้น เป็นธรรมชาติมีอารมณ์เดียว ไม่พึงเป็น เพราะเหตุนั้น อ.หญิง ท. เหล่านั้น ไม่พึงอาจเพื่ออันบรรลุซึ่งมรรคและผล ท. เพราะฉะนั้น อ.พระศาสดา ทรงแสดงแล้วซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น ผู้บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัต แก่หญิง ท. เหล่านั้น ในกาลแห่งหญิง ท. เหล่านั้น ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในศรัทธาอันไม่หวั่นไหว ฯ อ.หญิง ท. แม้เหล่านั้น เห็นแล้วซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น ไหว้แล้ว ด้วยการตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.กิจแห่งบรรพชิตของท่าน ท. ถึงแล้วซึ่งที่สุด ก่อน ดังนี้ ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา ยืนอยู่แล้ว ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ทูลขอแล้วซึ่งการบรรพชา ฯ อ.อาจารย์ ท. บางพวก ย่อมกล่าวว่า ได้ยินว่า ครั้นเมื่อคำอย่างนี้อันหญิง ท. เหล่านั้นกราบทูลแล้ว อ.พระศาสดาทรงดำริแล้ว ซึ่งการมาแห่งภิกษุณีชื่อว่าอุบลวรรณา ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ก็พระบรมศาสดาตรัสกะอุบาสิกาเหล่านั้นว่า พวกเธอจงไปพระนครสาวัตถี บวชในสำนักภิกษุณี ฯ อุบาสิกาเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตามลำดับ ในระหว่างทางก็มีมหาชนนำสักการะและสัมมานะมาให้ เดินเท้าสิ้นระยะทางหนึ่งร้อยยี่สิบโยชน์ทีเดียว บวชในสำนักภิกษุณี บรรลุพระอรหัตแล้ว ฯ แม้พระบรมศาสดา ทรงพาภิกษุหนึ่งพันรูปไปสู่พระวิหารชื่อว่าเชตวัน ทางอากาศทีเดียว ฯ

ได้ยินว่า บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านพระมหากัปปินะเที่ยวเปล่งอุทาน ในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้นว่า สุขจริง สุขจริง ฯ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหากัปปีนะเที่ยวเปล่งอุทานว่า สุขจริง สุขจริง ดังนี้ พระมหากัปปีนะนั้นเห็นจะกล่าวปรารภความสุขในราชสมบัติของตน ฯ พระบรมศาสดา รับสั่งให้เรียกพระมหากัปปินะนั้นมา ตรัสถามว่า กัปปินะ ได้ยินว่า เธอเปล่งอุทานปรารภความสุขในกาม ความสุขในราชสมบัติ จริงหรือ ฯ พระมหากัปปีนะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความที่ข้าพระองค์เปล่งอุทานหรือไม่เปล่งอุทานปรารภความสุขในกาม ความสุขในราชสมบัตินั้น ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราหาได้เปล่งอุทานปรารภความสุขในกาม ความสุขในราชสมบัติไม่ แต่ความอิ่มใจในธรรมเกิดแก่บุตรของเรา เธอจึงเปล่งอุทานอย่างนี้ ปรารภอมตมหานิพพาน ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๙-๑๐)

๑. ตํ ทิวสญฺจ โคปาลกสฺส เธนุมงฺคลํ โหติ ฯ โคปาลกสฺส เคเห นิพทฺธํ เอโก ปจฺเจกพุทฺโธ ภุญฺชติ ฯ โส ตํ โภเชตฺวา มงฺคลมกาสิ ฯ พหุ ปายาโส ปฏิยตฺโต โหติ ฯ โคปาลโก เต อาคเต  ทิสฺวา  “กุโต อาคตตฺถาติ ปุจฺฉิตฺวา สพฺพํ ปวตฺตึ สุตฺวา มุทุชาติโก กุลปุตฺโต เตสุ อนุกมฺปํ กตฺวา  ปหูเตน สปฺปินา ปายาสํ ทาเปสิ ฯ ภริยา  “สามิ ตยิ ชีวนฺเต, อหํ ชีวามิ นาม, ทีฆรตฺตํ อูโนทโรสิ,  ยาวทตฺถํ ภุญฺชาติ วตฺวา สปฺปินา สทฺธึ ตทภิมุขญฺเญว กตฺวา อตฺตนา มนฺทสปฺปึ โถกเมว ภุญฺชิ ฯ  อิตโร พหุํ ภุญฺชิตฺวา สตฺตฏฺฐทิวเส ฉาตตาย อาหารตณฺหํ ฉินฺทิตุํ นาสกฺขิ ฯ โคปาลโก เตสํ  ปายาสํ ทาเปตฺวา สยํ ภุญฺชิตุํ อารภิ ฯ โกตุหลิโก ตํ โอโลเกนฺโต นิสีทิตฺวา เหฏฺฐาปีเฐ นิปนฺนาย สุนขิยา โคปาลเกน วฏฺเฏตฺวา ทียมานํ ปายาสปิณฺฑํ ทิสฺวา  “ปุญฺญวตายํ สุนขี นิพทฺธํ เอวรูปํ  โภชนํ ลภตีติ จินฺเตสิ ฯ โส รตฺติภาเค ตํ ปายาสํ ชีราเปตุํ อสกฺโกนฺโต กาลํ กตฺวา ตสฺสา สุนขิยา  กุจฺฉิสฺมึ นิพฺพตฺติ ฯ อถสฺส ภริยา สรีรกิจฺจํ กตฺวา ตสฺมึเยว เคเห ภตึ กตฺวา ตณฺฑุลนาฬึ ลภิตฺวา  ปจิตฺวา ปจฺเจกพุทฺธสฺส ปตฺเต ปติฏฺฐาเปตฺวา  “ภนฺเต ทาสสฺส โว ปาปุณาตูติ วตฺวา จินฺเตสิ   “มยา อิเธว วสิตุํ วฏฺฏติ, นิพทฺธํ อยฺโย อิธาคจฺฉติ, เทยฺยธมฺโม โหตุ วา มา วา, เทวสิกํ วนฺทนฺตี  เวยฺยาวจฺจํ กโรนฺตี จิตฺตํ ปสาเทนฺตี พหุํ ปุญฺญํ ปสวิสฺสามีติ สา ตตฺเถว ภตึ กโรนฺตี วสิ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๑๐-๑๑)

๒. สาปิ โข สุนขี ฉฏฺเฐ วา สตฺตเม วา มาเส เอกเมว กุกฺกุรํ วิชายิ ฯ โคปาลโก ตสฺส  เอกเธนุยา ขีรํ ทาเปสิ ฯ โส นจิรสฺเสว วฑฺฒิ ฯ อถสฺส ปจฺเจกพุทฺโธ ภุญฺชนฺโต นิพทฺธํ เอกํ  ภตฺตปิณฺฑํ เทติ ฯ โส ภตฺตปิณฺฑํ นิสฺสาย ปจฺเจกพุทฺเธ สิเนหมกาสิ ฯ โคปาลโก นิพทฺธํ เทฺว วาเร ปจฺเจกพุทฺธสฺส อุปฏฺฐานํ ยาติ ฯ โส คจฺฉนฺโตปิ อนฺตรามคฺเค วาลมิคฏฺฐาเน ทณฺเฑน คจฺเฉ จ  ภูมิญฺจ ปหริตฺวา  “สุสูติ ติกฺขตฺตุํ สทฺทํ กตฺวา วาลมิเค ปลาเปสิ ฯ โส เอกทิวสํ ปจฺเจกพุทฺธํ อาห “ภนฺเต ยทา เม โอกาโส น ภวิสฺสติ, ตทา อิมํ สุนขํ เปเสสฺสามิ; อิมสฺส ปหิตสญฺญาเณน  อาคจฺเฉยฺยาถาติ ฯ ตโต ปฏฺฐาย อโนกาสทิวเส  “คจฺฉ ตาต อยฺยํ อาเนหีติ สุนขํ เปเสสิ ฯ โส  เอกวจเนเนว ปกฺขนฺทิตฺวา สามิกสฺส คจฺฉภูมิโปถนฏฺฐาเน ติกฺขตฺตุํ ภุสฺสิตฺวา เตน สทฺเทน  วาลมิคานํ ปลายนภาวํ ญตฺวา ปาโต ว สรีรปฺปฏิชคฺคนํ กตฺวา ปณฺณสาลํ ปวิสิตฺวา นิสินฺนสฺส  ปจฺเจกพุทฺธสฺส วสนฏฺฐานํ คนฺตฺวา ปณฺณสาลาทฺวาเร ติกฺขตฺตุํ ภุสฺสิตฺวา อตฺตโน อาคตภาวํ  ชานาเปตฺวา เอกมนฺเต นิปชฺชติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ก็ ในวันนั้น อ. มงคลเพื่อแม่โคนม ของนายโคบาล ย่อมมี ฯ อ.พระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่ง ย่อมฉัน ในเรือน ของนายโคบาลเนืองนิตย์ ฯ อ.นายโคบาลนั้น ยังพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ให้ฉันแล้ว ได้กระทำแล้ว ซึ่งมงคล ฯ อ.ข้าวปายาส มาก เป็นของอันนายโคบาลนั้นตระเตรียมแล้ว ย่อมเป็น ฯ อ.นายโคบาล เห็นแล้ว ซึ่งชน ท. เหล่านั้นผู้มาแล้ว ถามแล้วว่า อ.ท่าน ท. เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน ย่อมเป็น ดังนี้ ฟังแล้ว ซึ่งเรื่อง อันเป็นไปทั่วทั้งปวง เป็นกุลบุตร ผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อ่อนโยน เป็น กระทำแล้ว ซึ่งความเอ็นดู ในชน ท. เหล่านั้น ยังบุคคลให้ให้แล้วซึ่งข้าวปายาส ด้วยเนยใส อันเพียงพอ ฯ อ.ภริยา กล่าวแล้วว่า ข้าแต่นาย ครั้นเมื่อท่าน เป็นอยู่อยู่ อ.ดิฉัน ชื่อว่าย่อมเป็นอยู่ อ.ท่าน เป็นผู้มีท้องอันพร่อง ย่อมเป็น สิ้นราตรีอันยาวนาน อ.ท่าน จงบริโภค เพียงไรแต่ความต้องการ ดังนี้ กระทำแล้ว ซึ่งข้าวปายาสให้เป็นของมีหน้าเฉพาะต่อสามีนั้น กับ ด้วยเนยใสนั่นเทียว บริโภคแล้ว ซึ่งเนยใสอันเหลว หน่อยหนึ่งนั่นเทียว ด้วยตน ฯ อ.สามีนอกนี้ บริโภคแล้วซึ่งข้าวปายาส อันมาก ไม่ได้อาจแล้ว เพื่ออันตัด ซึ่งความอยากในอาหาร เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้หิวแล้ว สิ้นวันเจ็ดและวันแปด ท. ฯ อ.นาย โคบาล ยังบุคคล ให้ให้แล้ว ซึ่งข้าวปายาส แก่ชน ท. เหล่านั้น เริ่มแล้ว เพื่ออันบริโภคเอง ฯ อ.นายโกตุหลิก นั่งแลดูอยู่แล้ว ซึ่งนายโคบาลนั้น เห็นแล้ว ซึ่งก้อนแห่งข้าวปายาส อันอันนายโคบาลปั้นแล้วจึงให้อยู่ แก่นางสุนัข ตัวนอนแล้ว ในภายใต้แห่งตั่ง คิดแล้วว่า อ.นางสุนัขนี้ มีบุญ ย่อมได้ ซึ่งโภชนะ อันมีอย่างนี้เป็นรูป เนืองนิตย์ ดังนี้ ฯ อ.นายโกตุหลิกนั้น ไม่อาจอยู่ เพื่ออันยังข้าวปายาสนั้น ให้ย่อย ในกาลอันเป็นส่วนแห่งราตรี กระทำแล้ว ซึ่งกาละ บังเกิดแล้ว ในท้อง ของนางสุนัขนั้น ฯ ครั้งนั้น อ.ภรรยา ของนาย โกตุหลิกนั้น กระทำแล้ว ซึ่งกิจแห่งสรีระ กระทำแล้ว ซึ่งการับจ้าง ในเรือนนั้นนั่นเทียว ได้แล้ว  ซึ่งทะนานแห่งข้าวสาร หุงแล้ว ยังโภชนะ ให้ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว ในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.ส่วนบุญนี้ จงถึงแก่ทาส ของท่าน ท. ดังนี้ คิดแล้วว่า อ.อันอันเราอยู่ในที่นี้นั่นเที่ยว ย่อมควร อ.พระผู้เป็นเจ้า ย่อมมา ในที่นี้ เนืองนิตย์ อ.ไทยธรรมจงมีหรือ หรือว่า อ.ไทยธรรม จงอย่ามี อ.เรา ไหว้อยู่ กระทำอยู่ ซึ่งความขวนขวาย ยังจิต ให้เลื่อมใสอยู่ สิ้นกาลอันเป็นไปในวัน จักประสบซึ่งบุญอันมาก ดังนี้ อ.ภรรยานั้น กระทำอยู่ ซึ่งการรับจ้าง อยู่แล้วในเรือนนั้นนั่นเทียว ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ในเดือนที่ ๖ หรือที่ ๗ นางสุนัขแม้นั้นแล ตกลูกออกมาตัวเดียวเท่านั้น ฯ นายโคบาลให้ให้น้ำนมของแม่โคนมตัวหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น ฯ ไม่นานนัก ลูกสุนัขนั้นก็เติบใหญ่ ฯ ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะฉัน ย่อมให้ก้อนข้าวก้อนหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้นเป็นนิตย์ฯ เพราะอาศัยก้อนข้าว สุนัขนั้น ได้ทำความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ฯ นายโคบาล ย่อมไปยังที่บำรุงของพระปัจเจกพุทธเจ้า (วันหนึ่ง) ๒ ครั้งเป็นนิตย์ ฯ นายโคบาลนั้น แม้เมื่อเดินไป ตีที่พุ่มไม้และพื้นดิน ด้วยท่อนไม้ในที่ซึ่งมี เนื้อร้าย ในระหว่างทาง ส่งเสียงว่า สุ ๓ ครั้ง (ไล่) เนื้อร้ายให้หนีไป ฯ ในวันหนึ่ง นายโคบาลนั้น เรียนกะพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า ท่านผู้เจริญกาลใด ผมไม่มีโอกาส (ว่าง) กาลนั้น กระผมจักส่งสุนัขตัวนี้มา ขอ พระคุณท่านพึงมาด้วยสัญญาณแห่งสุนัขนี้ที่กระผมส่งมาแล้ว ฯ ตั้งแต่นั้นมา ในวันที่ไม่มีโอกาส เขาส่งสุนัขไปว่า พ่อจงไป จงนำพระผู้เป็นเจ้ามา ฯ ด้วยคำคำเดียวเท่านั้น สุนัขนั่นวิ่งไปเห่า ๓ ครั้ง ในที่ที่นายตีพุ่มไม้และพื้นดิน รู้ว่าเหล่าเนื้อร้ายหนีไปด้วยเสียงนั้นแล้ว ไปถึงที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้กระทำสรีรปฏิบัติ แต่เช้าตรู่ เข้าไปยังบรรณศาลานั่งอยู่แล้ว เห่าที่ประตูบรรณศาลา ๓ ครั้ง ให้ท่านรู้ว่าตนมาแล้ว หมอบอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๖ (ครั้งที่ ๒)

แปลโดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒-๓)

๑. อถาปรภาเค เวฏฺฐทีปกตาปโส กาลํ กตฺวา มเหสกฺโข เทวราชา หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ  ตโต อฑฺฒมาเส สมฺปตฺเต อคฺคึ อทิสฺวา อิตโร  “สหายโก เม กาลกโตติ อญฺญาสิ ฯ อิตโรปิ นิพฺพตฺตกฺขเณเยว อตฺตโน เทวสิรึ โอโลเกตฺวา กมมํ อุปธาเรนฺโต เนกฺขมฺมโต ปฏฺฐาย อตฺตนา  กตกิริยํ ทิสฺวา  “อิทานาหํ คนฺตฺวา มม สหายกํ ปสฺสิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา ตสฺมึ ขเณ ตํ อตฺตภาวํ   วิชหิตฺวา มคฺคมูฬฺหปุริโส วิย ตสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ ฯ อถ นํ โส อาห  “กุโต อาคโตสีติ ฯ  “มคฺคมูฬฺหปุริโส อหํ ภนฺเต ทูรโตว อาคโตมฺหิ, กึ ปน ภนฺเต อยฺโย อิมสฺมึ  ฐาเน เอกโก ว วสติ อญฺโญปิ โกจิ อตฺถีติ อาห ฯ  “อตฺถิ เม เอโก สหายโกติ ฯ  “กุหึ โสติ ฯ  เอตสฺมึ ปพฺพเต วสติ, อุโปสถทิวเส ปน อคฺคึ น ชาเลสิ, นูน มโต ภวิสฺสตีติ ฯ  “เอวํ ภนฺเตติ ฯ  “เอวมาวุโสติ ฯ  “อหํ โส ภนฺเตติ ฯ  “กุหึ นิพฺพตฺโตสีติ ฯ เทวโลเก มเหสกฺโข เทวราชา หุตฺวา นิพฺพตฺโตสฺมิ ภนฺเต, ‘อยฺยํ ปสฺสิสฺสามีติ ปุน อาคโตมฺหิ, อปิ นุ โข อยฺยานํ อิมสฺมึ ฐาเน วสนฺตานํ โกจิ อุปทฺทโว อตฺถีติ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๓)

๒. (ตาปโส)  “อาม อาวุโส, หตฺถึ นิสฺสาย กิลมามีติ ฯ  “กึ ปน โว ภนฺเต หตฺถี กโรนฺตีติ ฯ “สมฺมชฺชนฏฺฐาเน ลณฺฑํ ปาเตนฺติ, ปาเทหิ ปหริตฺวา ปํสุํ อุทฺธรนฺติ; สฺวาหํ ลณฺฑํ ฉฑฺเฑนฺโต ปํสุํ  สมํ กโรนฺโต กิลมามีติ ฯ กึ ปน เตสํ อนาคมนํ อิจฺฉถาติ ฯ  “อามาวุโสติ ฯ  “เตนหิ เตสํ อนาคมนํ กริสฺสามีติ ตาปสสฺส หตฺถิกนฺตวีณญฺเจว หตฺถิกนฺตมนฺตญฺจ อทาสิ; ททนฺโต จ ปน วีณาย ติสฺโส ตนฺติโย ทสฺเสตฺวา ตโย มนฺเต อุคฺคณฺหาเปตฺวา  “อิมํ ตนฺตึ ปหริตฺวา อิมสฺมึ มนฺเต วุตฺเต, นิวตฺติตฺวา โอโลเกตุํปิ อสกฺโกนฺตา หตฺถี ปลายนฺติ; อิมํ ตนฺตึ ปหริตฺวา อิมสฺมึ มนฺเต วุตฺเต, นิวตฺติตฺวา ปจฺฉโต โอโลเกนฺตา ปลายนฺติ; อิมํ ตนฺตึ ปหริตฺวา อิมสฺมึ มนฺเต วุตฺเต, หตฺถี ยูถปติ ปิฏฺฐํ อุปนาเมนฺโต  อาคจฺฉตีติ อาจิกฺขิตฺวา,  “ยํ โว รุจฺจติ, ตํ กเรยฺยาถาติ วตฺวา ตาปสํ วนฺทิตฺวา ปกฺกามิ ฯ ตาปโส  ปลายนมนฺตํ วตฺวา ปลายนตนฺตึ ปหริตฺวา หตฺถี ปลาเปตฺวา วสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้น ในกาลอันเป็นส่วนอื่นอีก อ.ดาบสชื่อว่าเวฏฐทีปกะ กระทำแล้ว ซึ่งกาละ เป็นเทวดาผู้พระราชา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เป็น บังเกิดแล้ว ฯ ลำดับนั้น ครั้นเมื่อเดือนด้วยทั้งกึ่ง ถึงพร้อมแล้ว อ.ดาบสนอกนี้ ไม่เห็นแล้วซึ่งไฟ ได้รู้แล้วว่า อ.สหายของเรา เป็นผู้มีกาละอันกระทำแล้ว ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.เทวดาผู้พระราชา แม้นอกนี้ แลดูแล้ว ซึ่งสิริแห่งเทพ ของตนในขณะแห่งตนบังเกิดแล้ว นั่นเทียว ใคร่ครวญอยู่ ซึ่งกรรม เห็นแล้ว ซึ่งกิริยาอันตนกระทำแล้ว จำเดิมแต่การออกบาช ดำริแล้วว่า อ.เรา ไปแล้ว จักเห็น (จักเยี่ยม) ซึ่งสหาย ของเรา ในกาลนี้ ดังนี้ ละแล้ว ซึ่งอัตภาพนั้น ในขณะนั้น เป็นราวกะว่า บุรุษผู้หลงแล้วในหนทาง เป็น ไปแล้ว สู่สำนัก ของดาบสนั้นไหว้แล้ว ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ฯ ครั้งนั้น อ.ดาบสนั้นกล่าวแล้ว ว่า อ.ท่าน เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน ย่อมเป็น ดังนี้ กะเทวดาผู้พระราชานั้น ฯ อ.เทวดาผู้พระราชานั้น กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.กระผม เป็นบุรุษผู้หลงแล้วในหนทาง เป็น เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไกลเทียว ย่อมเป็น ข้าแต่ก่นผู้เจริญ ก็ อ.พระผู้เป็นเจ้า ผู้ผู้เดียวเทียว ย่อมอยู่ ในที่นี้หรือ อ.ใคร ๆ แม้อื่น มีอยู่หรือ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส กล่าวแล้ว ว่า อ.สหายคนหนึ่ง ของเรา มีอยู่ ดังนี้ ฯ อ.เทวดาผู้พระราชา ถามแล้ว ว่า อ.สหายนั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน ดังนี้ ฯ อ.ดาบส กล่าวแล้ว ว่า อ.สหายนั้น ย่อมอยู่ บนภูเขานั่น แต่ว่า อ.สหายนั้น ยังไฟไม่ให้โพลงแล้ว ในวันแห่งอุโบสถ อ.สหายนั้นเป็นผู้ตายแล้ว จักเป็น แน่ ดังนี้ ฯ อ.เทวดาผู้พระราชา กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.อย่างนั้น หรือ ดังนี้ ฯ อ.ดาบส กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อ.อย่างนั้น ดังนี้ ฯ อ.เทวดาผู้พระราชา กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.สหายนั้น คือ อ.กระผม (อ.ข้าพเจ้า เป็นสหายนั้น ย่อมเป็น) ดังนี้ ฯ อ.ดาบส ถามแล้ว ว่า อ.ท่าน เป็นผู้บังเกิดแล้ว ณ ที่ไหน ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.เทวดาผู้พระราชา กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.กระผม เป็นเทวคาผู้พระราชา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เป็น เป็นผู้บังเกิดแล้ว ในเทวโลก ย่อมเป็น อ.กระผมเป็นผู้มาแล้ว อีก ด้วยความคิด ว่า อ.เรา จักเห็น (จักเยี่ยม) ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ ย่อมเป็น อ.อุปัทวะอะไร ๆ มีอยู่ แก่พระผู้เป็นเจ้า ท. ผู้อยู่อยู่ ในที่นี้บ้างหรือหนอแล ดังนี้ ฯ

เฉลย แปล โดยอรรถ

๒. (ดาบส) กล่าวว่า เออ อาวุโส อาตมภาพลำบาก เพราะอาศัยช้าง ฯ บุรุษนั้นถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ช้างทำอะไรแก่ท่านเล่า ฯ ดาบสกล่าวว่า พวกมันถ่ายคูถลงในที่กวาด ใช้เท้าคุ้ยฝุ่นขึ้น  อาตมภาพนั้น คอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ย่อมลำบาก ฯ บุรุษนั้นถามว่า พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาจะไม่ให้ช้างเหล่านั้นมาไหม ฯ ดาบสกล่าวว่า เออ อาวุโส ฯ บุรุษนั้นกล่าวว่า ถ้ากระนั้น กระผมจักทำไม่ให้ช้างเหล่านั้นมา ได้ถวายพิณสำหรับให้ช้างใคร่และสอนมนต์สำหรับให้ช้างใคร่ แก่ดาบส ก็แลเขาเมื่อจะให้ ได้แสดงสายพิณ ๓ สาย ให้ดาบสเรียนมนต์ ๓ บท แล้วบอกว่า เมื่อท่านดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว โขลงช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับมองดู พลางหนีไป เมื่อท่านดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว โขลงช้างจะเหลียวกลับมองดูเบื้องหลังพลางหนีไป เมื่อท่านดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจ่าโขลง จะน้อมหลังเข้ามาหา ดังนี้แล้ว กล่าวว่า ท่านชอบใจสิ่งใด ก็พึงทำสิ่งนั้นเถิด ไหว้ดาบสแล้ว ก็หลีกไป ฯ ดาบส ร่ายมนต์สำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง ให้โขลงช้างหนีไปแล้วอยู่ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕

แปล โดยพยัญชนะ :
(ฉตฺตปาณิอุปาสกวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๔๑-๔๒)

๑. สาวตฺถิยํ หิ ฉตฺตปาณิ นาม อุปาสโก ติปิฏกธโร อนาคามี ฯ โส ปาโต ว อุโปสถิโก  หุตฺวา สตฺถุ อุปฏฺฐานํ อคมาสิ ฯ อนาคามิอริยสาวกานํ หิ สมาทานวเสน อุโปสถกมฺมํ นาม นตฺถิ ฯ

มคฺเคเนว เตสํ พฺรหฺมจริยญฺจ เอกภตฺติกญฺจ อาคตํ ฯ เตเนวาห  “ฆฏิกาโร โข มหาราช กุมฺภกาโร เอกภตฺติโก พฺรหฺมจารี สีลวา กลฺยาณธมฺโมติ ฯ เอวํ อนาคามิโน ปกติยา ว เอกภตฺติกา จ  พฺรหฺมจาริโน จ โหนฺติ ฯ โสปิ ตเถว อุโปสถิโก หุตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา ธมฺมกถํ สุณนฺโต นิสีทิ ฯ ตสฺมึ สมเย ราชา ปเสนทิโกสโล สตฺถุ อุปฏฺฐานํ อคมาสิ ฯ อุปาสโก ตํ อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวา  “อุฏฺฐาตพฺพํ นุ โข, โนติ จินฺเตตฺวา  “อหํ อคฺคราชสฺส สนฺติเก นิสินฺโน, ตสฺส เม  ปเทสราชานํ ทิสฺวา อุฏฺฐาตุํ น ยุตฺตํ; ราชา โข ปน เม อนุฏฺฐหนฺตสฺส กุชฺฌิสฺสติ, เอตสฺมึ  กุชฺฌนฺเตปิ, เนว อุฏฺฐหิสฺสามิ; ราชานํ ทิสฺวา อุฏฺฐหนฺเตน หิ ราชา ครุกโต โหติ, โน สตฺถา; เนว  อุฏฺฐหิสฺสามีติ น อุฏฺฐหิ ฯ ปณฺฑิตปุริสา จ นาม ครุตรานํ สนฺติเก นิสีทิตฺวา อนุฏฺฐหนฺตํ ทิสฺวา  น กุชฺฌนฺติ ฯ ราชา ปน ตํ อนุฏฺฐหนฺตํ ทิสฺวา กุปิตมานโส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(ฉตฺตปาณิอุปาสกวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๔๒-๔๓)

๒. สตฺถา กุปิตภาวํ ญตฺวา  “มหาราช อยํ ฉตฺตปาณิ อุปาสโก ปณฺฑิโต ทิฏฺฐธมฺโม ติปิฏกธโร อตฺถานตฺถกุสโลติ อุปาสกสฺส คุณกถํ กเถสิ ฯ รญฺโญ ตสฺส คุณกถํ สุณนฺตสฺเสว จิตฺตํ มุทุกํ ชาตํ ฯ

อเถกทิวสํ ราชา อุปริปาสาเท ฐิโต ฉตฺตปาณิอุปาสกํ กตภตฺตกิจฺจํ ฉตฺตมาทาย อุปาหนํ  อารุยฺห ราชงฺคเณน คจฺฉนฺตํ ทิสฺวา ปกฺโกสาเปสิ ฯ โส ฉตฺตุปาหนา อปเนตฺวา ราชานํ  อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ ฯ อถ นํ ราชา อาห “โภ อุปาสก กินฺเต ฉตฺตุปาหนํ อปนีตนฺติ ฯ  “ราชา ปกฺโกสตีติ สุตฺวา อาคโตมฺหีติ ฯ  “อชฺช อมฺหากํ ราชภาโว ตุมฺเหหิ ญาโต  ภวิสฺสตีติ ฯ  “สทาปิ มยํ ตุมฺหากํ ราชภาวํ ชานามาติ ฯ  “เอวํ, กสฺมา ปุริมทิวเส สตฺถุ สนฺติเก  นิสินฺโน มํ ทิสฺวา น อุฏฺฐหีติ ฯ  “มหาราช อคฺคราชสฺส สนฺติเก นิสินฺโน ปเทสราชานํ ทิสฺวา  อุฏฺฐหนฺโต สตฺถริ อคารโว ภเวยฺยํ; ตสฺมา น อุฏฺฐหินฺติ ฯ  “โหตุ โภ, ติฏฺฐเตตํ, ตุมฺเห กิร  ทิฏฺฐธมฺมิกสมฺปรายิกานํ อตฺถานตฺถานํ กุสลา ติปิฏกธรา อมฺหากํ อนฺเตปุเร ธมฺมํ วาเจถาติ ฯ  “น  สกฺกา เทวาติ ฯ กึการณาติ ฯ ราชเคหํ นาม มหาสาวชฺชํ, ทุยุตฺตสุยุตฺตกานิ ครุกาเนตฺถ เทวาติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ดังจะกล่าวโดยพิสดาร อ.อุบาสกชื่อว่าฉัตตปาณิ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งปิฎกสาม เป็นพระอนาคามี ย่อมเป็น ในพระนครชื่อว่าสาวัตถี ฯ อ.อุบาสกนั้น เป็นผู้รักษาซึ่งอุโบสถ เป็น ได้ไปแล้ว สู่ที่เป็นบำรุงของพระศาสดา ในเวลาเช้าเทียว ฯ ก็ ชื่อ อ.อุโบสถกรรม ด้วยสามารถแห่งการสมาทาน ย่อมไม่มี แก่อริยสาวกผู้อนาคามี ท. ฯ อ.พรหมจรรย์ด้วย อ.ความเป็นผู้มีภัตรหนเดียวด้วย  มาแล้ว แก่อริยสาวกผู้อนาคามี ท. เหล่านั้น โดยมรรถนั่นเทียว ฯ เพราะเหตุนั้นนั่นเทียว  อ.พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ.บุคคลผู้กระทำซึ่งหม้อ ชื่อว่า ฆฏิการะแล เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีธรรมอันงาม ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.พระอนาคามี ท. เป็นผู้มีภัตรหนเดียวด้วย เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติด้วย ย่อมเป็น โดยปกติเทียว ด้วยประการฉะนี้ ฯ อ.อุบาสก ชื่อว่าฉัตตปาณิแม้นั้น เป็นผู้รักษาซึ่งอุโบสถ โดยประการนั้นนั่นเทียว เป็น เข้าไปเฝ้าแล้วซึ่งพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่งฟังอยู่แล้วซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าว ซึ่งธรรม ฯ ในสมัยนั้น อ.พระราชาพระนามว่า ปเสนทิโกศล ได้ เสด็จไปแล้ว สู่ที่เป็นที่บำรุงของพระศาสดา ฯ อ.อุบาสก เห็นแล้ว ซึ่ง พระราชานั้นผู้เสด็จมาอยู่ คิดแล้วว่า อันเราพึงลุกขึ้นหรือหนอแล หรือว่า อันเราพึงลุกขึ้น หามิได้ ดังนี้ ไม่ลุกขึ้นแล้วด้วยอันคิดว่า อ.เรา นั่ง แล้วในสำนักของพระราชาผู้เลิศ อ.อัน ๆ เรานั้นเห็น ซึ่งพระราชาผู้เป็นใหญ่ในประเทศ แล้วจึงลุกขึ้น ไม่ควรแล้ว อนึ่ง อ.พระราชาแล จักกริ้วต่อเราผู้ไม่ลุกขึ้นอยู่ ครั้นเมื่อพระราชานั่น แม้กริ้วอยู่ อ.เรา จักไม่ลุกขึ้นนั่นเทียว ด้วยว่า อ.พระราชา เป็นผู้อันเราผู้เห็นซึ่งพระราชาแล้วจึงลุกขึ้นอยู่ กระทำให้หนักแล้ว ย่อมเป็น อ.พระศาสดา เป็นผู้อันเราผู้ เห็นซึ่งพระราชาแล้วจึงลุกขึ้นอยู่ กระทำให้หนักแล้ว ย่อมเป็น หามิได้ อ.เรา จักไม่ลุกขึ้นนั่นเทียว ดังนี้ ฯ ก็ชื่อ อ.บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ท. เห็นแล้วซึ่งบุคคลผู้นั่น ในสำนักของบุคคล ท. ผู้หนักกว่าแล้วจึงไม่ลุกขึ้นอยู่ย่อมไม่โกรธ ฯ ก็ อ.พระราชาเห็นแล้ว ซึ่งอุบาสกนั้นผู้ไม่ลุกขึ้นอยู่ เป็นผู้มีใจกำเริบแล้ว เป็น ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา ประทับนั่งแล้ว ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระบรมศาสดา ทรงทราบ (ว่า) พระราชาทรงกริ้ว จึงตรัสคุณกถาของอุบาสกว่า มหาบพิตร ฉัตตปาณิอุบาสกนี้เป็นบัณฑิต เห็นธรรม ทรงพระไตรปิฎกฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ฯ เมื่อพระราชา สดับคุณกถาของอุบาสกนั้นเทียว พระทัยก็อ่อนลงแล้ว ฯ

ครั้นภายหลัง วันหนึ่ง พระราชาประทับอยู่เบื้องบนปราสาททอดพระเนตรเห็นฉัตตปาณิอุบาสก ผู้รับประทานอาหารแล้ว กั้นร่ม สวมรองเท้าเดินไปทางพระลานหลวง ทรงรับสั่งให้เรียกมา ฯ อุบาสกนั้น เก็บร่มและรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนหนึ่ง ฯ ครั้งนั้น พระราชาตรัสถามเขาว่า อุบาสกผู้เจริญ เพราะเหตุไร เธอจึงเก็บร่ม และรองเท้าเสียเล่า ฯ เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นผู้ได้ฟังคำว่า พระราชา ตรัสเรียกหา จึงมาแล้ว ฯ พระราชาตรัสว่า พวกเธอ (เพิ่ง) จักรู้ความที่เราเป็นพระราชาในวันนี้หรือ ฯ เขากราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ทราบความที่พระองค์เป็นพระราชา แม้ในกาลทุกเมื่อ ฯ พระราชาตรัสถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไรในวันก่อน เธอนั่งในสำนักของพระบรมศาสดา เห็นเราแล้ว จึงไม่ลุกขึ้น ฯ เขากราบทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า ข้าพระองค์นั่งอยู่ในสำนักของพระราชาผู้เลิศ เห็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ในประเทศแล้วเมื่อลุกขึ้น (แสดงความเคารพ) จะพึงเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระบรมศาสดา เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ลุกขึ้น ฯ พระราชาตรัสว่า ช่างเถิดพ่อมหาจำเริญ เรื่องนี้ จงหยุดไว้ (แค่นี้) ทราบว่า เธอเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ ทรงพระไตรปิฎก ขอจงบอกธรรมแก่พวกเราภายในบุรีเถิด ฯ เขาทูลว่า ข้าพระองค์ไม่อาจ พระพุทธเจ้าข้า ฯ ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ฯ เขา กราบทูลว่า ธรรมดาวังหลวงมีโทษมาก ในวันหลวงนี้ กิจที่ประกอบผิดและชอบ เป็นเรื่องที่หนัก พระพุทธเจ้าข้า ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๘-๙)

๑.สตฺถา ภิกฺขูนํ โทสํ อวตฺวา  “มหาราช มม สาวกานํ ตุมฺเหหิ สทฺธึ วิสฺสาโส นตฺถิ,  เตน น คตา ภวิสฺสนฺตีติ วตฺวา กุลานํ อนุปคมนการณญฺจ อุปคมนการณญฺจ ปกาเสนฺโต ภิกฺขู  อามนฺเตตฺวา อิมํ สุตฺตมาห

“นวหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา จ อลํ  อุปนิสีทิตุํ ฯ  กตเมหิ นวหิ มนาเปน ปจฺจุฏฺเฐนฺติ, มนาเปน อภิวาเทนฺติ, มนาเปน อาสนํ เทนฺติ,  สนฺตมสฺส น ปริคุยฺหนฺติ, พหุกมฺหิ พหุกํ เทนฺติ, ปณีตมฺหิ ปณีตํ เทนฺติ, สกฺกจฺจํ เทนฺติ โน  อสกฺกจฺจํ, อุปนิสีทนฺติ ธมฺมสฺสวนาย, ภาสนฺตสฺส รญฺชิยนฺติ ฯ อิเมหิ โข ภิกฺขเว นวหิ องฺเคหิ  สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปนิสีทิตุนฺติ ฯ

“อิติ โข มหาราช มม สาวกา ตุมฺหากํ สนฺติกา วิสฺสาสํ อลภนฺตา น คตา ภวิสฺสนฺติ:  โปราณกปณฺฑิตา หิ อวิสฺสาสนียฏฺฐาเน สกฺกจฺจํ อุปฏฺฐิยมานาปิ มรณนฺติกํ เวทนํ ปตฺวา  วิสฺสาสิกฏฺฐานเมว คมึสูติ,  “กทา ภนฺเตติ รญฺญา ปุฏฺโฐ อตีตํ อาหริ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๑๑-๑๒)

๒. ราชา  “ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ มยา วิสฺสาสํ กาตุํ วฏฺฏติ, กถนฺนุโข กริสฺสามีติ,  “สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ญาติธีตรํ เคเห กาตุํ วฏฺฏติ, เอวํ สนฺเต, ทหรา จ สามเณรา จ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ญาติ ราชาติ มม สนฺติกํ วิสฺสฏฺฐา นิพทฺธํ อาคมิสฺสนฺตีติ จินฺเตตฺวา  “เอกํ เม ธีตรํ เทนฺตูติ สากฺยานํ สนฺติกํ สาสนํ เปเสสิ,  “กตรสกฺกสฺส ธีตาติ ปุจฺฉิตฺวา อาคจฺเฉยฺยาถาติ วตฺวา ทูเต อาณาเปสิ ฯ   ทูตา คนฺตฺวา สากิเย ทาริกํ ยาจึสุ ฯ เต สนฺนิปติตฺวา  “ปกฺขนฺตริโย ราชา; สเจ น ทสฺสาม,  วินาเสสฺสติ โน; น โข ปน อมฺเหหิ กุเลน สทิโส; กินฺนุ โข กาตพฺพนฺติ จินฺตยึสุ ฯ มหานาโม  “มม  ทาสิยา กุจฺฉิสฺมึ ชาตา วาสภขตฺติยา นาม ธีตา รูปโสภคฺคปฺปตฺตา อตฺถิ, ตํ ทสฺสามาติ วตฺวา  ทูเต อาห  “สาธุ รญฺโญ ทาริกํ ทสฺสามาติ ฯ  “กสฺส ธีตาติ ฯ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส จูฬปิตุ ปุตฺตสฺส  มหานามสกฺกสฺส ธีตา วาสภขตฺติยา นามาติ ฯ เต คนฺตฺวา รญฺโญ อาโรจยึสุ ฯ ราชา  “ยทิ เอวํ  สาธุ, สีฆํ อาเนถ; ขตฺติยา จ นาม พหุมายา ทาสีธีตรํปิ ปหิเณยฺยุํ, ปิตรา สทฺธึ เอกภาชเน  ภุญฺชนฺตึ อาเนยฺยาถาติ เปเสสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.พระศาสดา ไม่ตรัสแล้ว ซึ่งโทษ ของภิกษุ ท. ตรัสแล้วว่า ดูก่อนมหาบพิตร  อ.ความคุ้นเคยกับด้วยพระองค์ แห่งสาวก ท. ของอาตมภาพ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น อ.สาวก ท. ของอาตมภาพ จักเป็นผู้ไม่ไปแล้ว จักเป็น ดังนี้ เมื่อทรงประกาศ ซึ่งหตุแห่งการไม่เข้าไป สู่ตระกูล ท. ด้วย ซึ่งเหตุแห่งการเข้าไป สู่ตระกูล ท. ด้วย ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ตรัสแล้ว ซึ่งพระสูตรนี้ ว่า

ดูก่อนภิกษุ ท. อ.ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า อันภิกษุไม่เข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไป นั่งใกล้ด้วย ฯ อ.ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า เหล่าไหน อันภิกษุไม่เข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปนั่งใกล้ด้วย ฯ (อ.ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า เหล่านี้ อันภิกษุไม่เข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปนั่งใกล้ด้วย คือ) อ.ชน ท. ย่อมต้อนรับ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ ย่อมกราบไหว้ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ ย่อมถวายซึ่งอาสนะ ด้วยอาการอันยังใจให้เอิบอาบ ย่อมไม่ซ่อน ซึ่งวัตถุ อันมีอยู่ ต่อภิกษุนั้น ครั้นเมื่อวัตถุอันมาก มีอยู่ ย่อมถวาย ซึ่งวัตถุอันมาก ครั้นเมื่อวัตถุ อันประณีต มีอยู่ ย่อมถวายซึ่งวัตถุ อันประณีต ย่อมถวาย โดยเคารพ ย่อมไม่ถวาย โดยไม่เคารพ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ เพื่ออันฟังซึ่งธรรม เมื่อภิกษุ กล่าวอยู่(ซึ่งธรรม) ย่อมยินดี ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อ.ตระกูล อันมาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ ท. เก้า เหล่านี้แล อันภิกษุไม่เข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปแล้ว ควรเพื่ออันเข้าไปนั่งใกล้ด้วย ดังนี้ ฯ

อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อ.สาวก ท. ของอาตมภาพ ไม่ได้อยู่ ซึ่งความคุ้นเคย จากสำนัก ของพระองค์ จักเป็นผู้ไม่ไปแล้ว จักเป็น ด้วยประการฉะนี้แล จริงอยู่  อ.บัณฑิตผู้มีในกาลก่อน ท. แม้ผู้อันพระราชาทรงบำรุงอยู่โดยเคารพ ในที่อันมิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความคุ้นเคย ถึงแล้วซึ่งเวทนาอันมีความตายเป็นที่สุด ไปแล้ว สู่ที่อันมีความคุ้นเคยนั่นเทียว ดังนี้ ผู้อันพระราชาทูลถามแล้ว ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.บัณฑิตผู้มีในกาลก่อน ท. ไปแล้ว สู่ที่แห่งบุคคลผู้มีความคุ้นเคยนั่นเทียว ในกาลไร ดังนี้ ทรงนำมาแล้วซึ่งเรื่องอันเป็นไปล่วงแล้ว ฯ

เฉลย แปล โดยอรรถ

๒. พระราชทรงดำริว่า เราควรที่จะทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์เราจักทำอย่างไรหนอแล ดังนี้ จึงทรงดำริว่า เราควรทำพระธิดาแห่งพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ไว้ในพระราชมณเฑียร เมื่อเป็นอย่างนั้น เหล่าภิกษุหนุ่มและสามณรทั้งหลาย ก็จักเป็นผู้คุ้นเคยแล้ว พากันมาสู่สำนักของเราเป็นนิตย์ ด้วยคิดกันว่า พระราชาทรงเป็นพระญาติ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ แล้วจึงส่งพระราชสาส์น ไปยังราชสำนักของเจ้าศากยะทั้งหลาย ว่า ขอเจ้าศากยะทั้งหลาย จงประทานพระธิดาองค์หนึ่ง แก่หม่อมฉัน แล้วทรงรับสั่งบังคับทูตทั้งหลายว่า พวกท่าน พึงถามว่า เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะองค์ไหนแล้ว (กลับ) มา ดังนี้ ฯ พวกทูตไปแล้ว ทูลขอเจ้าหญิง กะเจ้าศากยะทั้งหลาย ฯ เจ้าศากยะเหล่านั้น ประชุมกันแล้ว ทรงดำริกันว่า พระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น ถ้าว่าพวกเรา จักไม่ให้ ท้าวเธอก็จักทำพวกเราให้ฉิบหาย (พินาศ) แต่โดยตระกูล ท้าวเธอ ไม่เสมอกับพวกเราเลย พวกเราควรทำอย่างไรกันดี ฯ เจ้ามหานามะ ตรัสว่า ธิดาของหม่อมฉัน ชื่อว่าวาสภขัตติยา ผู้เกิด ในท้องของนางทาสี ถึงความเป็นธิดาผู้มีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก มีอยู่ พวกเราจักให้นางนั้น ดังนี้แล้วจึงรับสั่งกะพวกทูตว่า ดีล่ะ พวกเรา จักถวายเจ้าหญิงแต่พระราชา ฯ พวกทูต ทูลถามว่า เจ้าหญิง เป็นพระธิดาของใคร ฯ เจ้าศากยะทั้งหลาย ตรัสว่า เป็นพระธิดาของเจ้ามหานามศากยราช ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าวาสภขัตติยา ฯ ทูตเหล่านั้นจึงไปกราบทูลแด่พระราชา (ของตน) ฯ พระราชา ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดีล่ะ พวกท่านจงรีบนำมาเถิด ก็ธรรมดาว่าพวกกษัตริย์ มีเล่ห์กลมาก พึงส่งแม้ลูกสาวของนางทาสีมา (ก็ได้) พวกท่านพึงนำพระธิดาผู้เสวยอยู่ในภาชนะเดียวกันกับพระบิดามาเถิด ดังนี้แล้ว จึงส่งทูตทั้งหลายไป ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔

แปล โดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๔๘-๔๙)

๑. อเถกทิวสํ มาคนฺทิยา อตฺตโน ปาสาทตลโต นิกฺขมิตฺวา จงฺกมมานา ตาสํ วสนฏฺฐานํ  คนฺตฺวา คพฺเภสุ ฉิทฺทํ ทิสฺวา  “อิทํ กินฺติ ปุจฺฉิตฺวา, ตาหิ ตสฺสา สตฺถริ พนฺธาฆาตํ อชานนฺตีหิ  “สตฺถา อิมํ นครํ อาคโต, มยํ เอตฺถ ฐตฺวา สตฺถารํ วนฺทาม เจว ปูเชม จาติ วุตฺเต,  “อาคโต นาม  อิมํ นครํ สมโณ โคตโม, อิทานิสฺส กตฺตพฺพํ ชานิสฺสามิ, อิมาปิ ตสฺส อุปฏฺฐายิกา, อิมาสํปิ  

กตฺตพฺพํ ชานิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา คนฺตฺวา รญฺโญ อาโรเจสิ  “มหาราช สามาวตีมิสฺสกานํ  ปญฺจสตานํ อิตฺถีนํ พหิทฺธา ปตฺถนา อตฺถิ, กติปาเหเนว เต ชีวิตํ น ภวิสฺสตีติ ฯ ราชา  “น ตา  เอวรูปํ กริสฺสนฺตีติ น สทฺทหิ, ปุน วุตฺเตปิ, น สทฺทหิเยว ฯ อถ นํ, เอวํ ติกฺขตฺตุํ วุตฺเตปิ,  อสทฺทหนฺตํ  “สเจ เม น สทฺทหสิ, ตาสํ วสนฏฺฐานํ คนฺตฺวา อุปธาเรหิ มหาราชาติ อาห ฯ ราชา  คนฺตฺวา คพฺเภสุ ฉิทฺทํ ทิสฺวา  “อิทํ กินฺติ ปุจฺฉิตฺวา, ตสฺมึ อตฺเถ อาโรจิเต, ตาสํ อกุชฺฌิตฺวา กิญฺจิ  อวตฺวา ว ฉิทฺทานิ ปิทหาเปตฺวา สพฺพคพฺเภสุ ขุทฺทจฺฉิทฺทกวาตปานานิ กาเรสิ ฯ  ขุทฺทจฺฉิทฺทกวาตปานานิ กิร ตสฺมึ กาเล อุปฺปนฺนานิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๔๘-๕๐)

๒. มาคนฺทิยา ตาสํ กิญฺจิ กาตุํ อสกฺกุณิตฺวา  “สมณสฺส โคตมสฺเสว กตฺตพฺพํ กริสฺสามีติ  นาครานํ ลญฺจํ ทตฺวา  “สมณํ โคตมํ อนฺโตนครํ ปวิสิตฺวา จรนฺตํ ทาสกมฺมกรโปริเสหิ สทฺธึ  อกฺโกสิตฺวา ปริภาสิตฺวา ปลาเปถาติ ฯ มิจฺฉาทิฏฺฐิกา ตีสุ รตเนสุ อปฺปสนฺนา อนฺโตนครํ ปวิฏฺฐํ  สตฺถารํ อนุพนฺธิตฺวา ทสหิ อกฺโกสวตฺถูหิ อกฺโกสนฺติ ปริภาสนฺติ ฯ ตํ สุตฺวา อายสฺมา อานนฺโท  สตฺถารํ เอตทโวจ  “ภนฺเต อิเม นาครา อมฺเห อกฺโกสนฺติ ปริภาสนฺติ, อิโต อญฺญตฺถ คจฺฉามาติ ฯ  “กุหึ อานนฺทาติ ฯ  “อญฺญํ นครํ ภนฺเตติ ฯ  “ตตฺถ มนุสฺเสสุ อกฺโกสนฺเตสุ, ปุน กตฺถ คมิสฺสาม   อานนฺทาติ ฯ  “ตโตปิ อญฺญํ นครํ ภนฺเตติ ฯ  “ตตฺถ มนุสฺเสสุ อกฺโกสนฺเตสุ, กุหึ คมิสฺสามาติ ฯ  “ตโต อญฺญํ นครํ ภนฺเตติฯ  “อานนฺท น เอวํ กาตุํ วฏฺฏติ, ยตฺถ อธิกรณํ อุปฺปนฺนํ, ตตฺเถว ตสฺมึ  วูปสนฺเต, อญฺญตฺถ คนฺตุํ วฏฺฏติ, เก ปน เต อานนฺท อกฺโกสนฺตีติ ฯ  “ภนฺเต ทาสกมฺมกเร อุปาทาย สพฺเพ อกฺโกสนฺตีติ ฯ  “อหํ อานนฺท สงฺคามํ โอติณฺณหตฺถิสทิโส, สงฺคามํ โอติณฺณหตฺถิโน  หิ จตูหิ ทิสาหิ อาคเต สเร สหิตุํ ภาโร, ตเถว พหูหิ ทุสฺสีเลหิ กถิตกถานํ สหนํ นาม มยฺหํ ภาโรติ  วตฺวา อตฺตานํ อารพฺภ ธมฺมํ เทเสนฺโต อิมา นาควคฺเค ติสฺโส คาถา อภาสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้นภายหลัง ณ วันหนึ่ง อ.พระนางมาคันทิยา เสด็จออกแล้ว จากพื้นแห่งปราสาทของพระองค์ ทรงเดินไปมาอยู่ เสด็จไปแล้วสู่ที่เป็น ที่อยู่ แห่งหญิง ท. เหล่านั้น ทรงเห็นแล้วซึ่งช่องในท้อง ท. ตรัสถามแล้วว่า อ.ช่องนี้ อะไร ดังนี้ ครั้งเมื่อคำว่า อ.พระศาสดาเสด็จมาแล้วสู่พระนครนี้ อ.หม่อมฉัน ท. ยืนแล้วในที่นี้ ย่อมถวายบังคมด้วยนั่นเทียว ย่อมบูชาด้วย ซึ่งพระศาสดา ดังนี้ อันหญิง ท. เหล่านั้น ผู้ไม่รู้อยู่ ซึ่งความอาฆาต อันเป็นเครื่องผูกในพระศาสดาแห่งพระนางมาคันทิยานั้น ทูลแล้ว ทรงดำริแล้ว ว่า อ.พระสมณะ ผู้โคดม ชื่อว่าเสด็จมาแล้วสู่พระนครนี้ อ.เราจักรู้ ซึ่งกรรมอันอันเราพึงทำ แก่พระสมณะ ผู้โคดมนั้น ในภาลนี้ อ.หญิง ท. แม้เหล่านี้ เป็น อุปัฏฐายิกาของพระสมณะผู้โคดมนั้น ย่อมเป็น อ.เรา จักรู้ซึ่งกรรมอันเราพึงทำแก่หญิง ท. แม้เหล่านี้ ดังนี้ เสด็จไปแล้ว กราบทูลแล้ว แก่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อ.ความปรารถนาในภายนอก มีอยู่แก่หญิง ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ผู้เจือด้วยพระนางสามาวดี อ.พระชนมชีพ ของพระองค์ จักไม่มี โดยวันเล็กน้อยนั่นเทียว ดังนี้ ฯ

อ.พระราชา ไม่ทรงเชื่อแล้ว ด้วยทรงดำริว่า อ.หญิง ท. เหล่านั้น จักไม่กระทำซึ่งกรรมอันมีอย่างนี้เป็นรูป ครั้นเมื่อพระดำรัสนั้น อันพระนางมาคันทิยา แม้กราบทูลแล้วอีก อ.พระราชาไม่ทรงเชื่อแล้ว นั่นเทียว ฯ

ครั้งนั้น อ.พระนางมาคันทิยา กราบทูลแล้วว่า ถ้าว่า อ.พระองค์ ย่อมไม่ทรงเชื่อต่อหม่อมฉันไซร้ ข้าแต่มหาราชเจ้า อ.พระองค์ เสด็จไปแล้วสู่ที่อันเป็นที่อยู่แห่งหญิง ท. เหล่านั้น ขอจงใคร่ครวญ ดังนี้ กะพระราชานั้นผู้ – ครั้นเมื่อพระดำรัส อันตน แม้กราบทูลแล้ว สิ้นสามครั้ง อย่างนี้ ไม่ทรงเชื่ออยู่ ฯ อ.พระราชา เสด็จไปแล้ว ทรงเห็นแล้ว ซึ่งช่องในห้อง ท. ตรัสถามแล้วว่า  อ.ช่องนี้ อะไร ดังนี้ ครั้นเมื่อเนื้อความนั้น อันหญิง ท. เหล่านั้นกราบทูล ไม่กริ้วแล้วต่อหญิง ท. เหล่านั้น ไม่ตรัสแล้วซึ่งพระดำรัสอะไรๆ เที่ยว ยังบุคคลให้ปิดแล้วซึ่งช่อง ท. ยังบุคคลให้ทำแล้วซึ่งช่อง อันเป็นที่ดื่มกินซึ่งลมอันมีช่องอันเล็ก ท. ในห้องทั้งปวง ท. ฯ ได้ยินว่า อ.ช่องอันเป็นที่ดื่มกินซึ่งลมอันมีช่องอันเล็ก ท. ในห้องทั้งปวง ท. ฯ ได้ยินว่า อ.ช่องอันเป็นที่ดื่มกินซึ่งลมอันมีช่องอันเล็ก ท. เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. พระนางมาคันทิยา ไม่อาจทำอะไรๆ แก่หญิงเหล่านั้นได้ ทรงดำริว่า เราจักทำกรรมที่ควรทำแก่พระสมณโคดมเอง จึงประทานสินจ้างแก่ชาวเมืองแล้วตรัสว่า พวกเจ้าพร้อมด้วยเหล่าบุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร จงด่า จงบริภาษ พระสมณโคดม ผู้เสด็จเข้าไปยังภายในพระนครเที่ยวไปอยู่ให้หนีไป ฯ เหล่าชนผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่เลื่อมใส่ในพระรัตนตรัย พากันติดตามพระศาสดาผู้เสด็จเข้าไปยังภายในพระนคร ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ ฯ ท่านพระอานนทเถระฟังคำด่าและบริภาษนั้นแล้วได้กราบทูลพระบรมศาสดาดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวเมืองเหล่านี้ด่า (และ) บริภาษพวกเรานัก พวกเราไปเมืองอื่นจากเมืองนี้กันเถิด ฯ พระบรมศาสดาตรัสถามว่าจะไปเมืองไหนกัน อานนท์ ฯ พระอานนทเถระกราบทูลว่า ไปยังเมืองอื่นพระพุทธเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดา ตรัสถามว่า เมื่อคนในเมืองนั้นด่า เราจักไปที่ไหนอีก อานนท์ ฯ พระอานนทเถระกราบทูลว่า ไปยังเมืองอื่นแม้จากเมืองนั้นพระพุทธเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดาตรัสถามว่า เมื่อคนในเมืองนั้นก็ด่า เราจักไปที่ไหนกันเล่า ฯ พระอานนทเถระทูลว่า จักไปเมืองอื่น จากเมืองนั้นพระพุทธเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า อานนท์ การทำอย่างนี้ย่อมไม่ควร เรื่องเกิดขึ้นในที่ใด เมื่อเรื่องนั้นสงบในที่นั้นแล้ว จะไปในที่อื่น ก็ควร อานนท์ ก็คนเหล่านั้น เหล่าไหนเล่า ย่อมด่า ฯ พระอานนท์เถระทูลว่า ทุกคนกระทั่งทาสและกรรมกร ต่างพากันด่าพระพุทธเจ้าข้า ฯ พระบรมศาสดาตรัสว่า อานนท์ เราเป็นเช่นเดียวกับช้างที่เข้าสู่สงคราม ก็การอดทนลูกศรที่มาจากสี่ทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม ฉันใด ขึ้นชื่อว่าการอดทนต่อถ้อยคำที่คนทุศีลเป็นอันมากพูดกัน ย่อมเป็นภาระของเรา ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อทรงแสดงธรรมปรารภพระองค์จึงได้ตรัส ๓ พระคาถาในนาควรรค ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๓)

๑. สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏุมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค  อปุตฺตโก ฯ โส เอกทิวสํ นหานติตฺถํ คนฺตฺวา นหาตฺวา อาคจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค สมฺปนฺนสาขํ  เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา, “อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสตีติ ตสฺส เหฏฺฐาภาคํ  โสธาเปตฺวา ปาการปริกฺเขปํ การาเปตฺวา วาลุกํ โอกิราเปตฺวา ธชปตากํ อุสฺสาเปตฺวา วนปฺปตึ อลงฺกริตฺวา  “ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิตฺวา ตุมฺหากํ มหาสกฺการํ กริสฺสามีติ ปตฺถนํ กตฺวา ปกฺกามิ ฯ

อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ สา ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิ ฯ เสฏฺฐี อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา ตสฺส  “ปาโลติ นามํ อกาสิ ฯ  อปรภาเค อญฺญํ ปุตฺตํ ลภิ ฯ ตสฺส  “จุลฺลปาโลติ นามํ กตฺวา, อิตรสฺส “มหาปาโลติ นามํ กริ ฯ  เต วยปฺปตฺเต ฆรพนฺธเนน พนฺธึสุ ฯ อปรภาเค มาตาปิตโร กาลมกํสุ ฯ สพฺพํ โภคํ  ทฺวินฺนํเยว วิวเรสุํ ฯ

แปลโดยอรรถ :
(เทฺฃวสหายกภิกฺขุวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๑๔๖)

๒. สตฺถา  “สาธุ สาธูติ อภินนฺทิตฺวา เสสมคฺเคสุปิ ปฏิปาฏิยา ปญฺหํ ปุจฺฉิ ฯ คนฺถิกตฺเถโร เอกํปิ กเถตุํ นาสกฺขิ ฯ ขีณาสโว ปน ปุจฺฉิตปุจฺฉิตํ กเถสิ ฯ สตฺถา จตูสุปิ ฐาเนสุ ตสฺส สาธุการํ  อทาสิ ฯ ตํ สุตฺวา ภุมฺมเทเว อาทึ กตฺวา ยาว พฺรหฺมโลกา สพฺพา เทวตา เจว นาคสุปณฺณา จ  สาธุการํ อทํสุ ฯ ตํ สาธุการํ สุตฺวา ตสฺส อนฺเตวาสิกา เจว สทฺธิวิหาริโน จ สตฺถารํ อุชฺฌายึสุ  “กึ นาเมตํ สตฺถารา กตํ: กิญฺจิ อชานนฺตสฺส มหลฺลกตฺเถรสฺส จตูสุ ฐาเนสุ สาธุการํ อทาสิ,  อมฺหากํ ปนาจริยสฺส สพฺพปริยตฺติธรสฺส ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ ปาโมกฺขสฺส ปสํสามตฺตํปิ น  กรีติ ฯ อถ เน สตฺถา  “กินฺนาเมตํ ภิกฺขเว กเถถาติ ปุจฺฉิตฺวา, ตสฺมึ อตฺเถ อาโรจิเต,  “ภิกฺขเว  ตุมฺหากํ  อาจริโย มม สาสเน ภติยา คาโว รกฺขนสทิโส, มยฺหํ ปน ปุตฺโต ยถารุจิยา ปญฺจโครเส  ปริภุญฺชนกสามิสทิโสติ วตฺวา อิมา คาถา อภาสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ได้ยินว่า อ.เศรษฐี ชื่อว่า มหาสุวรรณ เป็นผู้มีขุมทรัพย์ เป็นผู้มั่งคั่ง เป็นผู้มีทรัพย์มาก เป็นผู้มีโภคะมาก เป็นผู้มีบุตรหามิได้ ได้มีแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ ในวันหนึ่ง อ.เศรษฐี นั้น ไปแล้วสู่ท่าเป็นที่อาบ อาบแล้ว มาอยู่เห็นแล้ว ซึ่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่า ต้นหนึ่ง มีกิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ในระหว่างแห่งหนทาง คิดแล้วว่า อ.ต้นไม้ จักเป็นต้นไม้อันเทวดา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ถือเอารอบแล้ว จักเป็น ดังนี้ ยังบุคคลให้ชำระแล้ว ซึ่งส่วนภายใต้แห่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่านั้น ยังบุคคลให้กระทำแล้ว ซึ่งเครื่องล้อมคือกำแพง ยังบุคคลให้เกลี่ยแล้ว ซึ่งทราย ยังบุคคลให้ยกขึ้นแล้ว ซึ่งธงชัยและธงแผ่นผ้า กระทำให้พอแล้ว ซึ่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่า กระทำแล้ว ซึ่งความปรารถนาว่า อ.เรา ได้แล้วซึ่งบุตรหรือ หรือว่าซึ่งธิดา จักกระทำ ซึ่งสักการะใหญ่ แก่ท่าน ท. ดังนี้ หลีกไปแล้ว ฯ

ครั้งนั้น อ.สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตั้งเฉพาะแล้ว ในท้องของภรรยาของเศรษฐีนั้น ฯ อ.เศรษฐีนั้น ได้ให้แล้วซึ่งเครื่องบริหารซึ่งครรภ์แก่ภรรยานั้น ฯ อ.ภรรยานั้น คลอดแล้ว ซึ่งบุตร โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งเดือนสิบ ฯ อ.เศรษฐีนั้น ได้ให้แล้วซึ่งเครื่องบริหารซึ่งครรภ์ แก่ภรรยานั้น ฯ อ.ภรรยานั้น คลอดแล้ว ซึ่งบุตร โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งเดือนสิบ ฯ อ.เศรษฐี ได้กระทำแล้ว ซึ่งคำว่า ปาละ ดังนี้ ให้เป็นชื่อของบุตรนั้น เพราะความที่แห่งบุตรนั้นเป็นผู้อันตนอาศัยแล้วซึ่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่า อันอันตนรักษาแล้วได้แล้ว ฯ ในกาลอันเป็นส่วนอื่นอีก อ.เศรษฐีนั้น ได้แล้ว ซึ่งบุตรอื่น ฯ อ.เศรษฐีนั้น กระทำแล้วซึ่งคำว่า อ.จุลลปาละ ดังนี้ ให้เป็นชื่อของบุตรนั้น กระทำแล้วซึ่งคำว่า อ.มหาปาละ ดังนี้ ให้เป็นชื่อของบุตรนอกนี้ ฯ อ.มารดาและบิด ท. ผูกแล้วซึ่งบุตร ท.เหล่านั้น ผู้ถึงแล้วซึ่งวัยด้วยเครื่องผูกคือเรือน ฯ ในกาลอันเป็นส่วนอื่นอีก อ.มารดาและบิดา ท. ได้กระทำแล้วซึ่งกาละ ฯ อ.ญาติ ท. แบ่งแล้วซึ่งโภคะทั้งปวง แก่บุตร ท. สองนั่นเทียว ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๒. พระบรมศาสดาทรงชมเชยว่า สาธุ สาธุ แล้วตรัสถามปัญหาแม้ในมรรคที่เหลือตามลำดับ ฯ พระเถระผู้นักคัมภีร์ไม่ได้อาจแก้ปัญหาแม้ข้อหนึ่ง ฯ ส่วนพระขีณาสพแก้ปัญหาที่ตรัสถามแล้ว ๆ (ได้) ฯ พระบรมศาสดาได้ประทานสารุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้ง ๔ ฯ เทวดาตั้งแต่ภุมเทวดาเป็นต้นจนถึงพรหมโลก และนาคและครุฑทั้งปวง ฟังสาธุการนั้นแล้วได้ให้สาธุการ (ด้วย) ฯ พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระเถระนักคัมภีร์นั้น ฟังสาธุการนั้นแล้ว ยกโทษพระบรมศาสดาว่า พระศาสดาทรงทำกรรมนั่นชื่ออะไร พระองค์ได้ประทานสาธุการในฐานะ ๔ สถาน แก่พระเถระผู้เฒ่าที่ไม่รู้อะไร แต่ไม่ทรงทำแม้เพียงการสรรเสริญแก่อาจารย์ของพวกเรา ผู้ทรงปริยัติทั้งปวงเป็นประธานแห่งภิกษุห้าร้อยรูป ฯ ครั้งนั้น พระบรมศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกำลังเจรจาคำนั่นชื่ออะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอเป็นเช่นกับผู้รักษาโคเพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนว่า บุตรของเราเป็นเช่นกับเจ้าของ(โค) ผู้บริโภคเบญจโครสตามความชอบใจ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓

แปล โดยพยัญชนะ :
(กาลียกฺขิณี ภาค ๑ หน้า ๔๓)

๑. วญฺฌิตฺถี ตํ กถํ สุตฺวา  “ปุตฺตา นาม มาตาปิตูนํ วจนํ อติกฺกมิตุํ น สกฺโกนฺติ, อิทานิ อญฺญํ วิชายินึ อิตฺถึ อาเนตฺวา มํ ทาสีโภเคน ภุญฺชิสฺสติ, ยนฺนูนาหํ สยเมเวกํ กุมาริกํ อาเนยฺยนฺติ จินฺเตตฺวา เอกํ กุลํ คนฺตฺวา ตสฺสตฺถาย กุมาริกํ วาเรตฺวา  “กินฺนาเมตํ อมฺม วเทสีติ เตหิ ปฏิกฺขิตฺตา  “อหํ  วญฺฌา, อปุตฺตกํ กุลํ วินสฺสติ, ตุมฺหากํ ธีตา ปุตฺตํ ปฏิลภิตฺวา กุฏุมฺพสฺส สามินี ภวิสฺสติ, เทถ ตํ  มยฺหํ สามิกสฺสาติ ยาจิตฺวา สมฺปฏิจฺฉาเปตฺวา อาเนตฺวา สามิกสฺส ฆเร อกาสิ ฯ อถสฺสา เอตทโหสิ “สจายํ ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิสฺสติ, อยเมว กุฏุมฺพสฺส สามินี ภวิสฺสติ, ยถา ทารกํ น ลภติ; ตเถว  นํ กาตุํ วฏฺฏตีติ ฯ อถ นํ อาห  “ยทา เต กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาติ; ตทา เม อาโรเจยฺยาสีติ ฯ สา  “สาธูติ ปฏิสุตฺวา, คพฺเภ ปติฏฺฐิเต, ตสฺสา อาโรเจสิ ฯ ตสฺสา ปน สาเยว นิจฺจํ ยาคุภตฺตํ เทติ ฯ  อถสฺสา อาหาเรเนว สทฺธึ คพฺภปาตนเภสชฺชํ อทาสิ ฯ คพฺโภ ปติ ฯ ทุติยมฺปิ คพฺเภ ปติฏฺฐิเต, ตสฺสา อาโรเจสิ ฯ อิตราปิ ทุติยมฺปิ ตเถว ปาเตสิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(กาลียกฺขิณี ภาค ๑ หน้า ๔๓-๔๔)

๒. อถ นํ ปฏิวิสฺสกิตฺถิโย ปุจฺฉึสุ  “กจฺจิ เต สปตฺตี อนฺตรายํ กโรตีติ ฯ สา ตมตฺถํ อาโรเจตฺวา, “อนฺธพาเล กสฺมา เอวมกาสิ ? อยํ ตว อิสฺสริยภเยน คพฺภปาตนเภสชฺชํ โยเชตฺวา เทติ, เตน เต  คพฺโภ ปตติ, มา ปุน เอวมกาสีติ วุตฺตา, ตติยวาเร น กเถสิ ฯ อถสฺสา อิตรา อุทรํ ทิสฺวา “กสฺมา  มยฺหํ คพฺภสฺส ปติฏฺฐิตภาวํ น กเถสีติ วตฺวา,  “ตฺวํ มํ อาเนตฺวา เทฺว วาเร คพฺภํ ปาเตสิ, กิมตฺถํ ตุยฺหํ  กเถมีติ วุตฺเต,  “นฏฺฐาทานิมฺหีติ จินฺเตตฺวา, ตสฺสา ปมาทํ โอโลเกนฺตี, ปริณเต คพฺเภ, โอกาสํ  ลภิตฺวา เภสชฺชํ โยเชตฺวา อทาสิ ฯ คพฺโภ ปริณตตฺตา ปติตุํ อสกฺโกนฺโต ติริยํ นิปชฺชิ ฯ ติพฺพา ขรา เวทนา อุปฺปชฺชิ ฯ ชีวิตสํสยํ ปาปุณิ ฯ สา “นาสิตมฺหิ ตยา, ตฺวเมว มํ อาเนตฺวา ตโย ทารเก นาเสสิ; อิทานิ สยํปิ นสฺสามิ, อิโตทานิ จุตา ยกฺขินี หุตฺวา ตว ทารเก ขาทิตุํ สมตฺถา หุตฺวา นิพฺพตฺเตยฺยนฺติ ปตฺถนํ ฐเปตฺวา กาลํ กตฺวา ตสฺมึเยว เคเห มชฺชารี หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ อิตรํปิ สามิโก คเหตฺวา  “ตยา เม กุลุปจฺเฉโท กโตติ กปฺปรชนฺนุกาทีหิ สุโปถิตํ โปเถสิ ฯ สา เตเนวาพาเธน กาลํ กตฺวา  ตตฺเถว กุกฺกุฏี หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.หญิงหมัน ฟังแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวนั้น คิดแล้วว่าชื่อ อ.บุตร ท. ย่อมไม่อาจเพื่ออันก้าวล่วง ซึ่งคำของมารดาและบิดา ท. ในกาลนี้ อ.แม่ผัว นำมาแล้ว ซึ่งหญิง ผู้มีปกติคลอดอื่น จักใช้สอย ซึ่งเราด้วยการใช้สอยเพียงดังทาสี ไฉนหนอ อ.เรา พึงนำมา ซึ่งนางกุมาริกาคนหนึ่ง เองนั่นเทียว ดังนี้ไปแล้ว สู่ตระกูล หนึ่ง ขอแล้ว ซึ่งนางกุมาริกาเพื่อประโยชน์แก่สามีนั้น ผู้อันชน ท. เหล่านั้น ห้ามแล้วว่า แน่ะแม่ อ.เจ้า ย่อมกล่าว ซึ่งคำนั่น ชื่ออะไร ดังนี้ อ้อนวอนแล้วว่า อ.เรา เป็นหญิงหมัน ย่อมเป็น อ.ตระกูล อันไม่มีบุตรย่อมพินาศ อ.ธิดา ของท่าน ท. ได้เฉพาะแล้ว ซึ่งบุตร เป็นเจ้าของแห่งขุมทรัพย์ จักเป็น อ.ท่าน ท. จงให้ ซึ่งธิดานั้น แก่สามี ของดิฉัน ดังนี้ ยังชน ท. เหล่านั้น ให้รับพร้อมเฉพาะแล้ว นำมาแล้ว ได้กระทำแล้ว ในเรือน ของสามี ฯ ครั้งนั้น อ.ความคิดนั้นว่า ถ้าว่า อ.หญิงนี้ จักได้ ซึ่งบุตรหรือ หรือว่า ซึ่งธิดาไซร้ อ.หญิงนี้ นั่นเทียว เป็น เจ้าของ แห่งขุมทรัพย์ จักเป็น อ.หญิงนี้ ย่อมไม่ได้ซึ่งทารก โดยประการใด อ.อันอันเรากระทำ ซึ่งหญิงนั้น โดยประการนั้นนั่นเทียว ย่อมควรดังนี้ ได้มีแล้ว แก่หญิงหมันนั้น ฯ ครั้งนั้น อ.หญิงหมันนั้น กล่าวแล้วว่า อ.สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ย่อมตั้งอยู่เฉพาะ ในท้องของเธอ ในกาลใด อ.เธอพึงบอก แก่เรา ในกาลนั้น ดังนี้ กะหญิงนั้น ฯ อ.หญิงนั้น ฟังตอบแล้วว่า อ.ดีละ ดังนี้ ครั้นเมื่อสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว บอกแล้ว แก่หญิงหมั่นนั้น ฯ ก็ อ.หญิงหมันนั้นนั่นเทียว ย่อมให้ ซึ่งข้าวยาคูและภัตร แก่หญิงนั้น เนืองนิตย์ ฯ ครั้งนั้น อ.หญิงหมันนั้น ได้ให้แล้ว ซึ่งยาอันเป็นเครื่องยังสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ให้ตกไป กับด้วยอาหารนั้นเทียว แก่หญิงนั้น ฯ อ.สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตกไปแล้ว ฯ ครั้นเมื่อสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว แม้ในครั้งที่ ๒ อ.หญิงนั้นบอกแล้ว แก่หญิงหมันนั้น ฯ อ.หญิงหมันนั้นแม้นอกนี้ ยังสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ให้ตกไปแล้ว อย่างนั้นนั่นเทียว แม้ในครั้งที่ ๒ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้งนั้น เหล่าหญิงผู้คุ้มเคย ถามนางกุมาริกานั้นว่า หญิงผู้ร่วมสามีทำอันตรายแก่เธอแลหรือ ฯ นางบอกเนื้อความนั้นแล้ว ถูกหญิงเหล่านั้นพูดว่า แม่คนโง่ เพราะเหตุไร เธอจึงได้ทำอย่างนี้ หญิงร่วมสามีนี้ ปรุงยาสำหรับทำสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ให้ตกไป แล้วให้แก่เธอ เพราะกลัวความที่เธอเป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ของเธอจึงตกไป เธออย่าได้ทำอย่างนี้อีกนะ ในครั้งที่ ๓ จึงไม่บอกแล้ว ฯ

 ต่อมาหญิงผู้ร่วมสามีนอกนี้ เห็นท้องของนางแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงไม่บอกความที่เธอตั้งครรภ์แก่ฉัน เมื่อนางกุมาริกานั้นบอกว่า เธอนำฉันมาแล้ว ทำสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ให้ตกไปถึง ๒ ครั้ง ฉันจะบอกเธอทำไม ดังนี้แล้ว จึงคิดว่า บัดนี้เราพินาศแล้ว คอยดูความเผลอเลอของนาง เมื่อสัตว์ผู้เกิดในครรภ์แก่แล้ว (เป็นทารกแล้ว) ได้โอกาสจึงได้ปรุงยาให้ ฯ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ไม่อาจตกไป (ออก) เพราะเป็นผู้แก่แล้ว (เป็นทารกแล้ว) จึงนอนขวาง ฯ เวทนาอย่างแรงกล้าเกิดขึ้นแล้ว ฯ นางถึงความสงสัยในชีวิต ฯ

นางกุมาริกานั้น ตั้งความปรารถนาว่า ฉันเป็นผู้ถูกเธอให้พินาศแล้ว เธอเองนำฉันมาแล้วให้ทารกพินาศ ๓ คน ขณะนี้แม้ตัวฉันเองก็จักพินาศ ฉันจุติจากอัตภาพนี้ในบัดนี้ พึงเกิดเป็นนางยักษิณี เป็นผู้สามารถเคี้ยวกินทารกของเธอ ดังนี้แล้ว ทำกาละเกิดเป็นนางแมวในเรือนนั้นเอง ฯ สามีจับหญิงหมัน แม้นอกนี้ แล้วพูดว่า เธอทำการตัดตระกูลของฉัน ดังนี้แล้ว โบยให้บอกช้ำด้วยอาวุธมีศอกแบะเข่าเป็นต้น ฯ หญิงหมันนั้นตายเพราะความเจ็บนั้นแล แล้วได้เกิดเป็นแม่ไก่ในเรือนนั้นนั่นเอง ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(มฏฺฐกุณฑลีวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๒๕-๒๖)

๑. ตสฺมึ ขเณ มฏฺฐกุณฺฑลี อนฺโตเคหาภิมุโข นิปนฺโน โหติ ฯ สตฺถา อตฺตโน อปสฺสนภาวํ  ญตฺวา, เอกํ รสฺมึ วิสฺสชฺเชสิ ฯ มาณโว  “กึ โอภาโส นาเมโสติ ปริวตฺติตฺวา นิปฺปนฺโน ว สตฺถารํ ทิสฺวา  “อนฺธพาลปิตรํ นิสฺสาย เอวรูปํ พุทฺธํ อุปสงฺกมิตฺวา กายเวยฺยาวฏิกํ วา กาตุํ ทานํ วา ทาตุํ ธมฺมํ วา โสตุํ นาลตฺถํ, อิทานิ เม หตฺถาปิ อวิเธยฺยา, อญฺญ กตฺตพฺพํ นตฺถีติ มนเมว ปสาเทสิ ฯ  สตฺถา  “อลํ เอตฺตเกน อิมสฺสาติ ปกฺกามิ ฯ โส ตถาคเต จกฺขุปถํ วิชหนฺเตเยว, ปสนฺนมโน กาลํ  กตฺวา สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย เทวโลเก ตึสโยชนิเก กนกวิมาเน นิพฺพตฺติ ฯ พฺราหฺมโณปิสฺส สรีรํ  ฌาเปตฺวา อาฬาหเน โรทนปรายโน อโหสิ, เทวสิกํ อาฬาหนํ คนฺตฺวา โรทติ  “กหํ เอกปุตฺตก,  กหํ เอกปุตฺตกาติ ฯ

เทวปุตฺโตปิ อตฺตโน สมฺปตฺตึ โอโลเกตฺวา  “เกน กมฺเมน ลทฺธาติ อุปธาเรนฺโต  “สตฺถริ  มโนปสาเทนาติ ญตฺวา  “อยํ พฺราหฺมโณ มม อผาสุกกาเล เภสชฺชํ อกาเรตฺวา อิทานิ อาฬาหนํ  คนฺตฺวา โรทติ; วิปฺปการปฺปตฺตเมตํ กาตุํ วฏฺฏตีติ มฏฺฐกุณฺฑลิวณฺเณนาคนฺตฺวา อาฬาหนสฺสาวิทูเร พาหา ปคฺคยฺห โรทนฺโต อฏฺฐาสิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(มฏฺฐกุณฑลีวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๓๑-๓๒)

๒. พฺราหฺมโณปิ เคหํ คนฺตฺวา พฺราหฺมณึ อามนฺเตตฺวา  “ภทฺเท อหํ สมณํ โคตมํ นิมนฺเตตฺวา ปญฺหํ ปุจฺฉิสฺสามิ; สกฺการํ กโรหีติ วตฺวา วิหารํ คนฺตฺวา สตฺถารํ เนว อภิวาเทตฺวา น ปฏิสนฺถารํ  กตฺวา เอกมนฺตํ  ฐิโต  “โภ โคตม อธิวาเสหิ เม อชฺชตนาย ภตฺตํ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆนาติ อาห ฯ  สตฺถา อธิวาเสสิ ฯ โส สตฺถุ อธิวาสนํ วิทิตฺวา เวเคนาคนฺตฺวา สกนิเวสเน ขาทนียํ โภชนียํ  ปฏิยาทาเปสิ ฯ  สตฺถา ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต ตสฺส เคหํ คนฺตฺวา ปญฺญตฺตาสเน นิสีทิ ฯ พฺราหฺมโณ สกฺกจฺจํ ปริวิสิ ฯ มหาชโน สนฺนิปติ ฯ มิจฺฉาทิฏฺฐิเกน กิร ตถาคเต นิมนฺติเต, เทฺว ชนกายา  สนฺนิปตนฺติ: มิจฺฉาทิฏฺฐิกา  “อชฺช สมณํ โคตมํ ปญฺหํ ปุจฺฉาย วิเหฐิยมานํ ปสฺสิสฺสามาติ  สนฺนิปตนฺติ ฯ อถ พฺราหฺมโณ กตภตฺตกิจฺจํ ตถาคตํ อุปสงฺกมิตฺวา นีจาสเน นิสินฺโน, ปญฺหํ ปุจฺฉิ  “โภ โคตม ตุมฺหากํ ทานํ อทตฺวา ปูชํ อกตฺวา ธมฺมํ อสฺสุตฺวา อุโปสถวาสํ อวสิตฺวา เกวลํ  มโนปสาทมตฺเตเนว สคฺเค นิพฺพตฺตา นาม โหนฺตีติ ฯ  “พฺราหฺมณ กสฺมา มํ ปุจฺฉสิ,  นนุ เต ปุตฺเตน มฏฺฐกุณฺฑลินา มยิ มนํ ปสาเทตฺวา อตฺตโน สคฺเค นิพฺพตฺตภาโว กถิโตติ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ในขณะนั้น อ.มาณพชื่อว่า มัฏฐกุณฑลี เป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อภายในแห่งเรือน เป็นผู้นอนแล้ว ย่อมเป็น ฯ อ.พระศาสดา ทรงทราบแล้ว ซึ่งความเป็นคือการไม่เห็นซึ่งพระองค์ ทรงเปล่งแล้ว ซึ่งพระรัศมีสิ้นวาระหนึ่ง ฯ อ.มาณพ คิดแล้วว่า ชื่อ อ.แสงสว่างนั่น อะไร ดังนี้ นอนยังกายให้เป็นไปรอบแล้วเทียว เห็นแล้วซึ่งพระศาสดา คิดแล้วว่า อ.เราอาศัยแล้ว ซึ่งบิดาผู้อันธพาล ไม่ได้ได้แล้วเพื่ออันเข้าไปเฝ้าซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้มีอย่างนี้เป็นรูปแล้ว ทำซึ่งกรรมอันประกอบแล้วด้วยความขวนขวายด้วยกายหรือ หรือว่าเพื่ออันถวายซึ่งทาน หรือว่าเพื่ออันฟังซึ่งธรรม ในกาลนี้ แม้ อ.มือ ท. ของเราไม่เป็นอวัยวะควรแก่ความตั้งไว้ต่าง ย่อมเป็น อ.กรรมอันเป็นกุศลอันเราพึงทำอื่น ย่อมไม่มี ดังนี้ ยังใจนั่นเทียวให้เลื่อมใสแล้ว ฯ อ.พระศาสดา ทรงพระดำริแล้วว่า อ.พอละ ด้วยการยังใจให้เลื่อมใสมีประมาณเท่านี้ ของมาณพนี้ ดังนี้ เสด็จหลีกไปแล้ว ฯ ครั้นเมื่อพระตถาคต ทรงละอยู่ซึ่งคลองแห่งจักษุนั่นเทียว อ.มาณพนั้นเป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว เป็น ทำแล้วซึ่งกาละ เกิดแล้วในวิมานอันสำเร็จด้วยทอง อันประกอบแล้วด้วยโยชน์สามสิบในเทวโลก ราวกะ อ.บุคคลผู้หลับแล้วตื่น ฯ แม้ อ.พราหมณ์ยังสรีระของมาณพนั้นให้ไหม้แล้ว เป็นผู้มีการร้องไห้เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ได้เป็นแล้ว ในที่เป็นที่นำมาเผา (ที่เผาศพ)  อ.พราหมณ์นั้น ไปแล้วสู่ที่เป็นที่นำมาเผา สิ้นกาลอันเป็นไปแล้วในวัน ย่อมร้องไห้ว่า ดูก่อนบุตรน้อยคนเดียว อ.เจ้าไปแล้ว ณ ที่ไหน ดูก่อนบุตรน้อยคนเดียว อ.เจ้าไปแล้ว ณ ที่ไหน ดังนี้ ฯ

แม้ อ.เทวบุตรตรวจดูแล้วซึ่งสมบัติของตน ใคร่ครวญอยู่ว่า อ.สมบัตินี้ อันเราได้แล้วเพราะกรรมอะไร ดังนี้ รู้แล้วว่า อ.สมบัตินี้ อันเราได้แล้ว เพราะการยังใจให้เลื่อมใสในพระศาสดา ดังนี้ คิดแล้วว่า อ.พราหมณ์นี้ ไม่ยังหมอให้ทำแล้ว ซึ่งยา ในกาลอันไม่ผาสุกแห่งเรา ไปแล้วสู่ที่เป็นที่นำมาเผา ร้องไห้อยู่ในกาลนี้ อ.อันอันเราทำซึ่งพราหมณ์นั้น ให้เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งประการอันแปลก ย่อมควร ดังนี้ มาแล้ว ด้วยเพศเพียงดังเพศแห่งมาณพชื่อว่า มัฏฐกุณฑลี ได้ยืนประคองซึ่งแขน ท. ร้องไห้อยู่แล้ว ในที่อันไม่ไกลแห่งที่เป็นที่นำมาเผา ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. แม้พราหมณ์ไปยังเรือน เรียกนางพราหมณีมาแล้ว กล่าวว่า นางผู้เจริญ ฉัน จะนิมนต์พระสมณโคดมมาถามปัญหา เธอจงทำเครื่องสักการะแล้วไปยังวิหาร ไม่อภิวาทสมเด็จพระบรมศาสดาเลย ไม่ทำปฏิสันถาร ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่งทูลว่า พระโคคมผู้เจริญ ขอพระองค์พร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตของข้าพระองค์ เพื่อเสวยในวันนี้เถิด ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว ฯ เขาทราบการรับนิมนต์ของสมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว มาโดยเร็วให้ตกแต่งของควรเคี้ยว ของควรฉันในนิเวศน์ของตน ฯ สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงม์ เสด็จไปยังเรือนของพรหมณ์นั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ฯ พราหมณ์อังคาสโดยเคารพ ฯ มหาชนประชุมกันแล้ว ฯ

ได้ยินว่า เมื่อคนมิจฉาทิฐินิมนต์พระตถาคตเจ้า มวลชน ๒ ฝ่ายย่อมประชุมกัน พวกที่เป็นมิจฉาทิฐิย่อมประชุมกันด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเราจะดูพระสมณโคตมถูกบีบคั้นด้วยการถามปัญหา ฯ ครั้งนั้น พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระตถาดดเจ้า ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว นั่ง ณ อาสนะต่ำ ทูลถามปัญหาว่า พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าผู้ไม่ถวายทานแก่พระองค์ ไม่ทำการบูชา ไม่ฟังธรรม ไม่อยู่จำอุโบสถแล้วเกิดในสวรรค์ด้วยกุศลกรรมเพียงการทำใจให้เลื่อมใสอย่างเดียวเท่านั้น มีอยู่หรือ ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงถามรา บุตรของท่านที่ชื่อว่า มัฏฐกุณฑลี บอกความที่ตนทำใจให้เลื่อมใสในเราแล้วเกิดในสวรรค์แก่ท่านแล้ว มิใช่หรือ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒

แปล โดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๐)

๑. เสฏฺฐิโน ปเนกา ธีตา อตฺถิ, ปณฺณรสโสฬสวสฺสุทฺเทสิกา อภิรูปา ปาสาทิกา ฯ ตํ รกฺขิตุํ เอกเมว เปสนการิกํ ทาสึ ทตฺวา สตฺตภูมิกสฺส ปาสาทสฺส อุปริตเล สิริคพฺเภ วสาเปสิ ฯ เสฏฺฐิธีตา  ตสฺมึ ขเณ ตํ ทาสึ อนฺตราปณํ เปเสสิ ฯ อถ นํ เสฏฺฐิชายา ทิสฺวา  “กุหึ คจฺฉสีติ ปุจฺฉิตฺวา, “ อยฺเย  ธีตาย เปสเนนาติ วุตฺเต,  “อิโต ตาว เอหิ,  ติฏฺฐตุ เปสนํ, ปุตฺตสฺส เม ปีฐกํ อตฺถริตฺวา ปาเท โธวิตฺวา เตลํ มกฺขิตฺวา สยนํ อตฺถริตฺวา เทหิ, ปจฺฉา เปสนํ กริสฺสสีติ อาห ฯ สา ตถา อกาสิ ฯ อถ นํ  จิเรนาคตํ เสฏฺฐิธีตา สนฺตชฺเชสิ ฯ อถ นํ สา อาห  “อยฺเย มา เม กุชฺฌิ, เสฏฺฐิปุตฺโต โฆสโก อาคโต, ตสฺส อิทญฺจิทญฺจ กตฺวา ตตฺถ คนฺตฺวา อาคตามฺหีติ ฯ เสฏฺฐิธีตาย  “เสฏฺฐิปุตฺโต โฆสโกติ นามํ  สุตฺวา ว เปมํ ฉวิอาทีนิ ฉินฺทิตฺวา อฏฺฐิมิญฺชํ อาหจฺจ  ฐิตํ ฯ โกตุหลิกกาลสฺมึ หิ สา ตสฺส ปชาปตี  หุตฺวา นาฬิโกทนํ ปจฺเจกพุทฺธสฺส อทาสิ ฯ ตสฺสานุภาเวนาคนฺตฺวา อิมสฺมึ เสฏฺฐิกุเล นิพฺพตฺตา ฯ   อิติ นํ โส ปุพฺพสิเนโห อวตฺถริตฺวา คณฺหิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๑)

๒. อถ นํ (เสฏฺฐิธีตา) ปุจฺฉิ  “กุหึ โส อมฺมาติ ฯ อยฺเย สยเน นิปนฺโน นิทฺทายตีติ ฯ  “อตฺถิ ปนสฺส หตฺเถ กิญฺจีติ ฯ  “ทุสฺสนฺเต ปณฺณํ อตฺถิ อมฺมาติ ฯ สา  “กึ ปณฺณํ นุ โข เอตนฺติ, ตสฺมึ  นิทฺทายนฺเต, มาตาปิตูนํ อญฺญาวิหิตตายอปสฺสนฺตานํ, โอตริตฺวา สนฺติกํ คนฺตฺวาตํ ปณฺณํ โมเจตฺวา อาทาย อตฺตโน คพฺภํ ปวิสิตฺวา ทฺวารํ ปิธาย วาตปานํ วิวริตฺวา อกฺขรสมเย กุสลตาย ปณฺณํ  วาเจตฺวา  “อโห พาโล อตฺตโน มรณปณฺณํ ทุสฺสนฺเต พนฺธิตฺวา วิจรติ; สเจ มยา น ทิฏฺฐํ อสฺส,  นตฺถิ ตสฺส ชีวิตนฺติ ตํ ปณฺณํ ผาเลตฺวา เสฏฺฐิสฺส วจเนน อปรํ ปณฺณํ ลิขิ  “อยํ มม ปุตฺโต  โฆสโก นาม, คามสตโต ปณฺณาการํ อาหราเปตฺวา อิมสฺส ชนปทเสฏฺฐิโน ธีตรา สทฺธึ มงฺคลํ กตฺวา อตฺตโน วสนคามสฺส มชฺเฌ ทฺวิภูมิกํ เคหํ กาเรตวา ปาการปริกฺเขเปน เจว ปุริสคุตฺติยา จ  สุสํวิหิตารกฺขํ กโรตุ, มยฺหญฺจ ‘อิทญฺจิทญฺจ มยา กตนฺติ สาสนํ เปเสตุ; เอวํ กเต, อหํ มาตุลสฺส  กตฺตพฺพยุตฺตกํ ปจฺฉา ชานิสฺสามีติ, ลิขิตฺวา จ ปน สํหริตฺวา โอตริตฺวา ทุสฺสนฺเตเยวสฺส พนฺธิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ก็ อ.ธิดาคนหนึ่งของเศรษฐี มีอยู่ อ.ธิดานั้น เป็นผู้อันบุคคลพึงแสดงขึ้นว่า ผู้มีกาลฝนสิบห้าหรือสิบหก เป็นผู้มีรูปงาม เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส่ ย่อมเป็น ฯ อ.เศรษฐี ให้แล้ว ซึ่งนางทาสี ผู้กระทำซึ่งการรับใช้คนหนึ่งนั่นเทียว เพื่ออันรักษาซึ่งธิดานั้น ยังธิดานั้นให้อยู่แล้วในห้องอันเป็นสิริที่พื้นในเบื้องบนแห่งปราสาท อันประกอบแล้วด้วยชั้น ๗ ฯ อ.ธิดาของเศรษฐีส่งไปแล้ว ซึ่งนางทาสีนั้น สู่ระหว่างแห่งร้านตลาด ในขณะนั้น ฯ ครั้งนั้น อ.ชายาของเศรษฐี เห็นแล้ว ซึ่งนางทาสี นั้นถามแล้วว่า อ.เธอ จะไป ณ ที่ไหน ดังนั้น ครั้นเมื่อคำว่า ข้าแต่แม่เจ้า อ.ดิฉัน ย่อมไป ด้วยการส่งไปแห่งธิดา ดังนี้ อันนางทาสีนั้นกล่าวแล้ว กล่าวแล้วว่า อ.เธอ จงมาข้างนี้ก่อน อ.การรับใช้ จงพักไว้ อ.เธอ ตั้งแล้วซึ่งตั่ง ล้างแล้วซึ่งเท้า ท. ทาแล้ว ซึ่งน้ำมัน ปูแล้ว ซึ่งที่เป็นที่นอก จงให้ แก่บุตรของฉัน อ.เธอ จักกระทำ ซึ่งการรับใช้ ในภายหลัง ดังนี้ ฯ อ.นางทาสีนั้น ได้กระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น ฯ ครั้งนั้น อ.ธิดาของเศรษฐี คุกคามแล้ว ซึ่งนางทาสีนั้น ผู้มาแล้วโดยกาลนาม ฯ ครั้งนั้น อ.นางทาสี กล่าวแล้วว่า ข้าแต่แม่เจ้า อ.ท่าน อย่าโกรธแล้ว ต่อดิฉัน อ.บุตรของเศรษฐี ชื่อว่าโฆสกะ มาแล้ว อ.ดิฉัน เป็นผู้กระทำ ซึ่งกิจนี้ด้วย นี้ด้วย เพื่อบุตรของเศรษฐีนั้น แล้วจึงไปในที่นั้นแล้วจึงมาแล้ว ย่อมเป็น ดังนี้ กะธิดาของเศรษฐีนั้น ฯ อ.ความรัก ตัดแล้วซึ่งอวัยวะ ท. มีผิว เป็นต้น ตั้งอยู่แล้วจรดซึ่งเยื่อในกระดูก แก่ธิดาของเศรษฐีเพราะฟังซึ่งชื่อว่า อ.บุตรของเศรษฐี ชื่อว่าโฆสกะ ดังนี้เทียว ฯ จริงอยู่ อ.ธิดาของเศรษฐีนั้น เป็นปชาบดี ของนายโฆสกะนั้น เป็นในกาลแห่งนายโฆสกะนั้นเป็นบุรุษชื่อว่าโกตุหลิก ได้ถวายแล้ว ซึ่งข้าวสุกจากข้าวสารทะนานหนึ่ง แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ฯ อ.ธิดาของเศรษฐีนั้น มาแล้วด้วยอานุภาพแห่งผลของทานนั้น บังเกิดแล้ว ในสกุลของเศรษฐีนี้ ฯ อ.ความรักในกาลก่อนนั้น ท่วมทับแล้ว ซึ่งธิดาของเศรษฐีนั้น ยึดเหนี่ยวไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้งนั้น ธิดาเศรษฐีถามนางทาสีนั้นว่า เขาอยู่ที่ไหน แม่ ฯ นางทาสีตอบว่า เขากำลังนอนหลับอยู่บนที่นอน แม่เจ้า ฯ นางถามว่า ก็ในมือของเขามีอะไรอยู่บ้างไหม ฯ นางทาสีตอบว่า ที่ชายผ้ามีหนังสืออยู่แม่เจ้า ฯ นางคิดว่านั่นจะเป็นหนังสืออะไรหนอแล เมื่อนายโฆสกะนั้นกำลังหลับอยู่ เมื่อบิดาและมารดาไม่เห็นเพราะความเป็นผู้ส่งใจไปที่อื่น จึงลงไปยังสำนัก (ของเขา) แก้หนังสือนั้นออกถือเอาเข้าไปยังห้องของตนปิดประตู เปิดหน้าต่าง อ่านหนังสือเพราะความเป็นผู้ฉลาดในอักษรสมัย คิดว่า โธ่เอ๋ย คนโง่ผูกหนังสือสั่งฆ่าตัวเองไว้ที่ชายผ้าแล้วเที่ยวไป ถ้าเราไม่พึงเห็นหนังสือนี้ไซร้ ชีวิตของเขาก็จะหาไม่ดังนี้แล้ว ฉีกหนังสือ นั้น (ทิ้ง) เขียนหนังสืออีกฉบับตามคำของเศรษฐีว่า ลูกชายของข้าพเจ้าคนนี้ชื่อว่า โฆสกะ ลุงจงให้นำเครื่องบรรณาการจากหมู่บ้าน ๑๐๐ หมู่ ทำการมงคลกับธิดาของเศรษฐีในชนบทนี้ ให้ปลูกเรือน ๒ ชั้น ในท่ามกลางหมู่บ้านอันเป็นที่อยู่แห่งตน ทำการรักษาอย่างดีทั้งด้วยเครื่องล้อมคือกำแพง และการคุ้มครองด้วยบุรุษ และจงส่งข่าว (แจ้ง) ข้าพเจ้า (ด้วย) ว่าการนี้และการนี้ ฉันทำเสร็จแล้ว เมื่อลุงทำอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าจักรู้กิจที่ควรทำแก่ลุงในภายหลัง ก็แลครั้นเขียนแล้วพับแล้ว จึงลงไปผูกไว้ที่ชายผ้าของนายโฆสกะนั้นตามเดิม ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๒-๒๓)

๑. ตํ สุตฺวา เสฏฺฐิโน “ยํ กาเรมิ, ตํ น โหติ; ยํ น กาเรมิ, ตเทว โหตีติ มหนฺตํ โทมนสฺสํ  อุปฺปชฺชิ ฯ ปุตฺตโสเกน สทฺธึ โส โสโก เอกโต ว หุตฺวา กุจฺฉิฑาหํ อุปฺปาเทตฺวา อติสารํ ชเนสิ ฯ เสฏฺฐิธีตาปิ  “สเจ โกจิ เสฏฺฐิโน สนฺติกา อาคจฺฉติ, ตุมฺเห มม อกเถตฺวา เสฏฺฐิปุตฺตสฺส ปฐมตรํ  มา กถยิตฺถาติ ชเน อาณาเปสิ ฯ เสฏฺฐีปิ โข  “นทานิ ตํ ทุฏฺฐปุตฺตํ มม สาปเตยฺยสฺส สามิกํ  กริสฺสามีติ จินฺเตตฺวา เอกํ อายุตฺตกํ อาห  “มาตุล ปุตฺตํ เม ทฏฺฐุกาโมมฺหิ, เอกํ ปาทมูลิกํ เปเสตฺวา มม ปุตฺตํ ปกฺโกสาเปหีติ ฯ โส  “สาธูติ ปณฺณํ ทตฺวา เอกํ ปุริสํ เปเสสิ ฯ เสฏฺฐีธีตาปิ ตสฺสาคนฺตฺวา ทฺวาเร ฐิตภาวํ สุตฺวา ตํ ปกฺโกสาเปตฺวา  “กึ ตาตาติ ปุจฺฉิ ฯ  “เสฏฺฐี คิลาโน ปุตฺตํ ปสฺสิตุํ  ปกฺโกสาเปติ อยฺเยติ ฯ  “ตาต เสฏฺฐี พลวา ทุพฺพโลติ ฯ  “พลวา ตาว อาหารํ ภุญฺชติเยว อยฺเยติ ฯ   สา เสฏฺฐิปุตฺตํ อชานาเปตฺวา ว ตสฺส นิวาสญฺจ ปริพฺพยญฺจ ทาเปตฺวา  “มยา เปสิตกาเล คมิสฺสสิ, อจฺฉ ตาวาติ อาห ฯ

แปล โดยอรรถ :
(สามาวตีวตฺถุ ภาค ๒ หน้า ๒๓-๒๔)

๒. อถ เสฏฺฐิโน โรโค พลวา ชาโต, เอกํ ภาชนํ ปวิสติ, เอกํ นิกฺขมติ ฯ ปุน เสฏฺฐี อายุตฺตกํ  ปุจฺฉิ  “กึ มาตุล น เต มม ปุตฺตสฺส สนฺติกํ ปหิตนฺติ ฯ  “ปหิตํ สามิ, คตปุริโส ปน น เอตีติ ฯ  “เตนหิ ปุน อปรํ เปเสหีติ ฯ โส เปเสสิ ฯ เสฏฺฐิธีตา ตติยวาเร อาคตํปิ ตํ ปวตฺตึ ปุจฺฉิ ฯ โส  “พาฬฺหคิลาโน อยฺเย เสฏฺฐี  อาหารํ ปจฺฉินฺทิตฺวา มจฺจุปรายโน ชาโต; เอกํ ภาชนํ นิกฺขมติ, เอกํ ปวิสตีติ อาห ฯ  เสฏฺฐิธีตา จินฺเตสิ  “อิทานิ คนฺตุํ กาโลติ เสฏฺฐิปุตฺตสฺส  “ปิตา กิร เต คิลาโนติ อาโรเจตฺวา,  “กึ  วทสิ ภทฺเทติ วุตฺเต;  “อผาสุกมสฺส สามีติ อาห ฯ  “อิทานิ กึ กาตพฺพนฺติ ฯ  “สามิ คามสตโต  อุฏฺฐานกํ ปณฺณาการํ อาทาย คนฺตฺวา ปสฺสิสฺสาม นนฺติ อาห ฯ โส  “สาธูติ ปณฺณาการํ  อาหราเปตฺวา สกเฏหิ อาทาย ปกฺกามิ ฯ  อถ นํ สา  “ปิตา เต ทุพฺพโล, เอตฺตกํ ปณฺณาการํ คเหตฺวา คจฺฉนฺตานํ ปปญฺโจ ภวิสฺสติ, เอตํ นิวตฺเตหีติ วตฺวา ตํ สพฺพํ อตฺตโน กุลเคหํ เปเสตฺวา ปุน อาห  “สามิ ตฺวํ อตฺตโน ปิตุ ปาทปสฺเส ติฏฺเฐยฺยาสิ, อหํ อุสฺสีสกปสฺเส ฐสฺสามีติ, เคหํ ปวิสมานาเยว “เคหสฺส ปุรโต จ ปจฺฉโต จ อารกฺขํ คณฺหถาติ อตฺตโน ปุริเส อาณาเปสิ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.ความโทมนัสใหญ่ ว่า อ.เรา ยังบุคคล ย่อมให้กระทำ ซึ่งกรรมใด อ.กรรมนั้น ย่อมไม่มี อ.เรา ยังบุคคล ย่อมไม่ให้กระทำ ซึ่งกรรมใด อ.กรรมนั้น นั่นเที่ยว ย่อมมี ดังนี้ เกิดขึ้นแล้ว แก่เศรษฐี เพราะฟัง ซึ่งคำนั้น ฯ อ.ความโศกนั้น เป็นโดยความเป็นอันเดียวกันกับด้วยความโศกเพราะบุตร เทียว ยังความเร่าร้อนในท้อง ให้เกิดขึ้นแล้ว ยังโรคมีอันแล่นไปยิ่งแห่งโลหิตเป็นสมุฏฐานให้เกิดแล้ว ฯ แม้ อ.ธิดาของเศรษฐี สั่งบังคับแล้ว ซึ่งชน ท. ว่า ถ้าว่า อ.ใคร ๆ ย่อมมา จากสำนักของเศรษฐีไซร้ อ.ท่าน ท. ไม่บอกแล้ว แก่เรา อย่าบอกแล้ว แก่บุตรของเศรษฐี ก่อนกว่า ดังนี้ ฯ แม้ อ.เศรษฐีแล คิดแล้วว่า อ.เรา จักไม่กระทำ ซึ่งบุตรผู้อันโทษประทุษร้ายแล้วนั้น ให้เป็นเจ้าของ แห่งสมบัติ ของเรา ในกาลนี้ ดังนี้ กล่าวแล้ว ว่า แนะลุง อ.เรา เป็นผู้ใคร่เพื่ออันเห็น ซึ่งบุตรของเรา ย่อมเป็น อ.ท่าน ส่งไปแล้ว ซึ่งบุรุษผู้กระทำซึ่งการรับใช้ในที่ใกล้แห่งเท้า คนหนึ่ง ยังบุรุษนั้น จงให้ร้องเรียก ซึ่งบุตร ของเรา ดังนี้ กะบุคคลผู้เก็บส่วย คนหนึ่ง ฯ อ.บุคคลผู้เก็บส่วยนั้น รับพร้อมแล้วว่า อ.ดีละ ดังนี้ ให้แล้ว ซึ่งหนังสือ ส่งไปแล้ว ซึ่งบุรุษ คนหนึ่ง ฯ แม้ อ.ธิดาของเศรษฐี ฟังแล้ว ซึ่งความที่แห่งบุรุษนั้น เป็นผู้มาแล้ว ยืนอยู่แล้ว ใกล้ประตู ยังบุคคลให้ร้องเรียก แล้ว ซึ่งบุรุษนั้น ถามแล้ว ว่า แนะพ่อ อ.เหตุ อะไร ดังนี้ ฯ อ.บุรุษนั้น กล่าวแล้วว่า ข้าแต่แม่เจ้า อ.เศรษฐี เป็นไข้ เป็น ยังข้าพเจ้า ย่อมให้ร้องเรียก เพื่ออันเห็น ซึ่งบุตร ดังนี้ ฯ อ.ธิดาของเศรษฐี ถามแล้วว่า แนะพ่อ อ.เศรษฐี เป็นผู้มีกำลัง ย่อมเป็น หรือ หรือว่า เป็นผู้มีกำลังอันโทษประทุษร้ายแล้ว ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ.บุรุษนั้น กล่าวแล้ว ว่า ข้าแต่แม่เจ้า อ.เศรษฐี เป็นผู้มีกำลัง ย่อมเป็นก่อน ย่อมบริโภค ซึ่งอหาร นั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ.ธิดาของเศรษฐีนั้น ไม่ยังบุตรของเศรษฐีให้รู้แล้วเทียว  ยังบุคคลให้ให้แล้ว ซึ่งที่พักด้วย ซึ่งเสบียงด้วย แก่บุรุษนั้น กล่าวแล้ว ว่า อ.ท่าน จักไป ในกาลแห่งท่านอันเราส่งไปแล้ว อ.ท่าน จงพักอยู่ ก่อน ดังนี้ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้งนั้น โรคของเศรษฐี หนักแล้ว ภาชนะหนึ่งเข้า ภาชนะหนึ่งออก ฯ เศรษฐีถามนายเสมียนอีกว่า ลุง ท่านยังไม่ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักบุตรของฉันหรือ ฯ นายเสมียนตอบว่า ส่งไปแล้ว นาย แต่คนที่ไปยังไม่มา ฯ เศรษฐีกล่าวว่า ถ้ากระนั้นท่านจงส่งคนอื่นไปอีก ฯ นายเสมียนนั้นส่งไปแล้ว ฯ ลูกสาวเศรษฐี ถามเรื่องราวนั้น แม้กะบุรุษผู้มาในวาระที่ ๓ ฯ บุรุษผู้นั้นบอกว่า ข้าแต่แม่เจ้า เศรษฐีป่วยหนัก ตัดอาหารเสียแล้ว มีความตายเป็นเบื้องหน้า ภาชนะหนึ่งออก ภาชนะหนึ่งเข้า ฯ ลูกสาวเศรษฐีคิดว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่เขาควรไปได้จึงบอกแก่ถูกชายเศรษฐีว่า ทราบว่า คุณพ่อของท่านป่วย เมื่อลูกชายเศรษฐีกล่าวว่า พูดอะไรหล่อน จึงพูดว่า นาย คุณพ่อของท่านนั้นไม่สบาย ฯ ลูกชายเศรษฐี ถามว่า บัดนี้ ฉันควรทำอย่างไร ฯ ลูกสาวเศรษฐีกล่าวว่า นาย พวกเราจักขนเครื่องบรรณการที่เกิดจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้านไปเยี่ยมท่าน ฯ ลูกชายเศรษฐีนั้นรับว่า จ้ะ แล้วให้คนนำเครื่องบรรณาการมา เอาเกวียนบรรทุกหลีกไปแล้ว ฯ ทีนั้น ลูกสาวเศรษฐีนั้น พูดกะลูกชายเศรษฐีนั้นว่า คุณพ่อของท่านป่วยหนัก เมื่อพวกเรา ขนเอาเครื่องบรรณาการมีประมาณเท่านี้ไป จักเป็นการเนิ่นช้า ขอท่านจงให้ขนเครื่องบรรณาการนี้กลับเถิด ดังนี้แล้ว จึงส่งเครื่องบรรณาการนั้นทั้งหมดไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนแล้ว พูดอีกว่า นายท่านพึงยืนข้างเท้าของคุณพ่อของท่าน ดิฉันจักยืนข้างเหนือศีรษะ เมื่อเข้าไปสู่เรือนนั่นเอง นางก็สั่งบังคับพวกคนของตนว่า พวกเจ้าจงถือเอาการอารักขาทั้งข้างหน้าเรือนทั้งข้างหลังเรือน ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑

แปล โดยพยัญชนะ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๕-๖)

๑. ตตฺรายํ อนุปุพฺพีกถา: “สาวตฺถิยํ มหาโกสลรญฺโญ ปุตฺโต ปเสนทิกุมาโร นาม,  เวสาลิยํ ลิจฺฉวิกุมาโร มหาลิ นาม, กุสินารายํ มลฺลราชปุตฺโต พนฺธุโล นามาติ อิเม ตโย  ทิสาปาโมกฺขสฺสาจริยสฺส สนฺติเก สิปฺปุคฺคหณตฺถํ ตกฺกสิลํ คนฺตฺวา พหินคเร สาลายํ สมาคตา อญฺญมญฺญสฺส อาคตการณญฺจ กุลญฺจ นามญฺ จ ปุจฺฉิตฺวา สหายกา หุตฺวา เอกโต ว อาจริยํ  อุปสงฺกมิตฺวา น จิรสฺเสว อุคฺคหิตสิปฺปา อาจริยํ อาปุจฺฉิตฺวา เอกโต ว นิกฺขมิตฺวา สกสกฏฺฐานานิ อคมํสุ ฯ เตสุ ปเสนทิกุมาโร ปิตุ สิปฺปํ ทสฺเสตฺวา ปสนฺเนน ปิตรา รชฺเช อภิสิตฺโต ฯ มหาลิกุมาโร ลิจฺฉวีนํ สิปฺปํ ทสฺเสนฺโต มหนฺเตน อุสฺสาเหน ทสฺเสสิ ฯ ตสฺส อกฺขีนิ ภิชฺชิตฺวา อคมํสุ ฯ  ลิจฺฉวิราชาโน “อโห วต อมฺหากํ อาจริโย อกฺขิวินาสํ ปตฺโต, น ตํ ปริจฺจชิสฺสาม อุปฏฺฐหิสฺสาม  นนฺติ ตสฺส สตสหสฺสุฏฺฐานกํ เอกํ ทฺวารํ อทํสุ ฯ โส ตํ นิสฺสาย ปญฺจสเต ลิจฺฉวิราปุตฺเต สิปฺปํ  สิกฺขาเปนฺโต วสิ ฯ พนฺธุลกุมาโร สฏฺฐี เวฬู คเหตฺวา มชฺเฌ อยสลากํ ปกฺขิปิตฺวา สฏฺฐิกลาเป  อุสฺสาเปตฺวา ฐปิเต, มลฺลราชกุเลหิ “อิเม กปฺเปตูติ วุตฺเต, อสีติหตฺถํ อากาสํ อุลฺลงฺฆิตฺวา อสินา  กปฺเปนฺโต อคมาสิ ฯ โส โอสานกลาเป อยสลากาย “กิรีติ สทฺทํ สุตฺวา “กิเมตนฺติ ปุจฺฉิตฺวา  สพฺพกลาเปสุ อยสลากานํ ฐปิตภาวํ สุตฺวา อสึ ฉฑฺเฑตฺวา โรทมาโน “มยฺหํ เอตฺตเกสุ  ญาติสุหชฺเชสุ เอโกปิ สสิเนโห หุตฺวา อิมํ การณํ นาจิกฺขิ; สเจ หิ อหํ ชาเนยฺยํ, อยสลากาย สทฺทํ   อนุฏฺฐาเปนฺโต ว ฉินฺเทยฺยนฺติ วตฺวา ฯเปฯ ตตฺเถว วาสํ กปฺเปสิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๗-๘)

๒. อานนฺทตฺเถโรปิ กปฺปสตสหสฺสปูริตปารมี อภินีหารสมฺปนฺโน มหาปุญฺโญ อตฺตโน  การณวสิกตาย กุลสฺส ปสาทํ รกฺขนฺโต อฏฺฐาสิ ฯ ตํ เอกกเมว นิสีทาเปตฺวา ปริวิสึสุ ฯ ราชา  ภิกฺขูนํ  คตกาเล อาคนฺตฺวา ขาทนียโภชนียานิ ตเถว  ฐิตานิ ทิสฺวา  “กึ อยฺยา นาคมึสูติ ปุจฺฉิตฺวา “อานนฺทตฺเถโร เอกโก ว อาคโต เทวาติ สุตฺวา  “อทฺธา เอตฺตกมฺเม เฉทนมกํสูติ ภิกฺขูนํ กุทฺโธ  สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา  “ภนฺเต มยา ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ ภิกฺขา ปฏิยตฺตา, อานนฺทตฺเถโร กิร เอกโก ว อาคโต, ปฏิยตฺตภิกฺขา ตเถว ฐิตา, ปญฺจสตา ภิกฺขู มม เคเห สญฺญํ น กรึสุ;  กินฺนุ โข การณนฺติ  อาห ฯ สตฺถา ภิกฺขูนํ โทสํ อวตฺวา  “มหาราช มม สาวกานํ ตุมฺเหหิ สทฺธึ วิสฺสาโส นตฺถิ, เตน น  คตา ภวิสฺสนฺตีติ วตฺวา กุลานํ อนุปคมนการณญฺจ อุปคมนการณญฺจ ปกาเสนฺโต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา อิมํ สุตฺตมาห ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ.วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ในเรื่องนั้น นี้ : อ.พระกุมาร ท. สาม เหล่านี้ คือ  อ.พระโอรส ของพระราชาพระนามว่ามหาโกศล ในพระนครชื่อว่าสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร อ.พระกุมาร ของเจ้าลิจฉวี ในพระนครชื่อว่าเวสาลี พระนามว่ามหาลิ อ.พระโอรสของเจ้ามัลละ ในพระนครชื่อว่ากุสินารา พระนามว่าพันธุละ เสด็จไปแล้ว สู่พระนครชื่อว่าตักกสิลา เพื่ออันเรียนซึ่งศิลปะ ในสำนัก ของอาจารย์ผู้ทิศาปาโมกข์ เสด็จมาพร้อมกันแล้ว ที่ศาลา ในภายนอกแห่งพระนคร ตรัสถามแล้ว ซึ่งเหตุแห่งตนมาแล้วด้วย ซึ่งตระกูลด้วย ซึ่งพระนามด้วย ของกันและกัน เป็นพระสหายกัน เป็น เสด็จเข้าไปหาแล้ว ซึ่งอาจารย์ โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว ผู้มีศิลปะอันเรียนแล้ว ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว ทรงอำลาแล้ว ซึ่งอาจารย์ เสด็จออกไปแล้ว โดยความเป็นอันเดียวกันเทียว ได้เสด็จไปแล้ว สู่ที่ของตนๆ ฯ อ.- ในพระกุมาร ท. สาม เหล่านั้นหนา – พระกุมารพระนามว่าปเสนทิ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งศิลปะแก่พระบิดา อันพระบิดา ผู้ทรงเลื่อมใสแล้ว อภิเษกแล้ว ในความเป็นแห่งพระราชา ฯ อ.พระกุมารพระนามว่ามหาลิ เมื่อทรงแสดง ซึ่งศิลปะ แก่เจ้าลิจฉวี ท. ทรงแสดงแล้ว ด้วยความอุตสาหะใหญ่ ฯ อ.พระเนตร ท. ของพระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น ได้แตกไปแล้ว ฯ อ.เจ้าลิจฉวี ท. ทรงปรึกษากันแล้วว่า โอ หนอ อ.อาจารย์ของเรา ท. ถึงแล้ว ซึ่งความพินาศแห่งนัยน์ตา อ.เรา ท. จักไม่สละรอบ ซึ่งอาจารย์นั้น จักบำรุง ซึ่งอาจารย์นั้น ดังนี้ ได้พระราชทานแล้ว ซึ่งประตูแห่งหนึ่ง อันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งแสนแห่งทรัพย์ แก่พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น ฯ อ.พระกุมารพระนามว่ามหาลินั้น ทรงอาศัยแล้ว ซึ่งประตูนั้น ทรงยังพระโอรส ของพระเจ้าลิจฉวี ท. ผู้มีร้อยห้าเป็นประมาณ ให้ศึกษาอยู่ซึ่งศิลปะ ประทับอยู่แล้ว ฯ อ.พระกุมารพระนามว่าพันธุละ ครั้นเมื่อพระบิดาดำรัสว่า อ.พระกุมารพระนามว่าพันธุละ จงฟัน ซึ่งมัดหกสิบ ท. เหล่านี้ ดังนี้ อันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ท. ตรัสแล้ว ทรงกระโดดขึ้นแล้วสู่อากาศ อันมีศอกแปดสิบเป็นประมาณ ทรงฟันอยู่ ซึ่งมัด หกสิบ ท. อันอันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ท. ทรงถือเอาแล้ว ซึ่งไม้ไผ่ ท. หกสิบ ทรงใส่เข้าแล้ว ซึ่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็กในท่ามกลาง ทรงยังบุคคลให้ยกขึ้นแล้ว ทรงตั้งไว้แล้วด้วยดาบ ได้เสด็จไปแล้ว ฯ อ.พระกุมารพระนามว่าพันธุละนั้น ทรงสดับแล้วซึ่งเสียงว่า กิริ ดังนี้ ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก ในมัดอันเป็นที่สุดลง ตรัสถามแล้วว่า อ.สัททชาตนั่น อะไร ดังนี้ ทรงสดับแล้ว ซึ่งความที่แห่งซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก ท. เป็นของอันอันตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ท. ทรงตั้งไว้แล้ว ในมัดทั้งปวง ท. ทรงทิ้งแล้ว ซึ่งดาบ กันแสงอยู่ ตรัสแล้วว่า อ.–ในบุคคลผู้มีใจดี ท. ผู้มีประมาณเท่านี้หนา-บุคคลแม้คนเดียว เป็นผู้เป็นไปกับด้วยความรัก เป็น ไม่บอกแล้ว ซึ่งเหตุนี้แก่เรา ก็ ถ้าว่า อ.เรา พึงรู้ไซร้ อ.เรา พึงตัด ไม่ยังเสียง ของซี่อันเป็นวิการแห่งเหล็ก ให้ตั้งขึ้นอยู่เทียว ดังนี้ ฯลฯ ทรงสำเร็จแล้ว ซึ่งการประทับอยู่ ในพระนครชื่อว่าสาวัตถีนั้น นั่นเทียว ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. แม้พระอานนทเถระ ผู้มีบารมีอันบำเพ็ญแล้วตั้งแสนกัปป์ สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร มีบุญมาก เมื่อจะรักษาความเลื่อมใสของตระกูล จึงได้ยับยั้งอยู่ เพราะความที่ตนเป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ ฯ เหล่าราชบุรุษ นิมนต์ท่านรูปเดียวเท่านั้นให้นั่งแล้วจึงอังคาส ฯ พระราชาเสด็จมาในเวลา ที่เหล่าภิกษุไปแล้ว ทอดพระเนตรเห็นของเคี้ยวและของฉันทั้งหลาย ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ จึงตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย มิได้มาหรือ ทรงสดับว่า พระอานนทเถระมารูปเดียวเท่านั้น พระเจ้าข้า ทรงพิโรธพระภิกษุทั้งหลายว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ทำการตัดขาดจากเราเพียงเท่านี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังสำนักพระบรมศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้จัดแจงภิกษาไว้ เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป ทราบว่า พระอานนทเถระรูปเดียวเท่านั้นที่มา ภิกษาที่หม่อมฉันจัดแจงไว้ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่ได้ทำความสำคัญในตำหนักของข้าพระองค์ เรื่องอะไรกันหนอ ฯ พระบรมศาสดาไม่ตรัสโทษของภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เหล่าสาวกของอาตมภาพ ไม่มีความคุ้นเคยกับมหาบพิตร เหล่าภิกษุคงจักไม่ได้ไปเพราะเหตุนั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเหตุ แห่งการไม่เข้าไป และเหตุแห่งการเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสพระสูตรนี้ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๖-๗-)

๑. อเถกทิวสํ ราชา อุปริปาสาเท ฐิโต อนฺตรวีถึ โอโลกยมาโน “อนาถปิณฺฑิกสฺส  จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส วิสาขาย สุปฺปวาสายาติ เอเตสํ เคเห ภตฺตกิจฺจตฺถาย คจฺฉนฺเต อเนกสหสฺเส ภิกฺขู ทิสฺวา  “กหํ อยฺยา คจฺฉนฺตีติ ปุจฺฉิตฺวา,  “ เทว อนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห นิจฺจภตฺตสลากภตฺต- คิลานภตฺตาทีนํ อตฺถาย เทวสิกํ เทฺว ภิกฺขุสหสฺสานิ คจฺฉนฺติ, จูฬอนาถปิณฺฑิกสฺส เคหํ ปญฺจสตา ภิกฺขู นิจฺจํ คจฺฉนฺติ, ตถา วิสาขาย, ตถา สุปฺปวาสายาติ วุตฺเต, สยํปิ ภิกฺขุสงฺฆํ อุปฏฺฐหิตุกาโม  วิหารํ คนฺตฺวา ภิกฺขุสหสฺเสน สทฺธึ สตฺถารํ นิมนฺเตตฺวา สตฺตาหํ สหตฺถา ทานํ ทตฺวา สตฺตเม  ทิวเส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา  “ภนฺเต ปญฺจหิ เม ภิกฺขุสเตหิ สทฺธึ นิพทฺธํ ภิกฺขํ คณฺหถาติ อาห ฯ  “มหาราช พุทฺธา นาม เอกฏฺฐาเน นิพทฺธํ ภิกฺขํ น คณฺหนฺติ, พหู พุทฺธานํ อาคมนํ ปจฺจาสึสนฺตีติ ฯ  “เตนหิ  เอกํ ภิกฺขุํ นิพทฺธํ เปเสถาติ ฯ สตฺถา อานนฺทตฺเถรสฺส ภารมกาสิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(วิฑูฑภวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๗)

๒. ราชา  “ภิกฺขุสงฺเฆ อาคเต ปตฺตํ คเหตฺวา อิเม นาม ปริวิสนฺตูติ อวิจาเรตฺวา สตฺตาหํ  สยเมว ปริวิสิตฺวา อฏฺฐเม ทิวเส วิกฺขิตฺโต ปปญฺจํ อกาสิ ฯ ราชกุเล จ นาม อนาณตฺตา อาสนานิ  ปญฺญาเปตฺวา ภิกฺขู นิสีทาเปตฺวา ปริวิสิตุํ น ลภนฺติ ฯ ภิกฺขู  “น มยํ อิธ ฐาตุํ สกฺขิสฺสามาติ พหู  ปกฺกมึสุ ฯ ราชา ทุติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ฯ ทุติยทิวเสปิ พหู ปกฺกมึสุ ฯ ตติยทิวเสปิ ปมชฺชิ ฯ  ตทา อานนฺทตฺเถรํ เอกกเมว ฐเปตฺวา อวเสสา ปกฺกมึสุ ฯ

ปุญฺญวนฺตา นาม การณวสิกา โหนฺติ กุลานํ ปสาทํ รกฺขนฺติ ฯ ตถาคตสฺส จ  “สารีปุตฺตตฺเถโร มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโรติ เทฺว อคฺคสาวกา,  “เขมา อุปฺปลวณฺณาติ เทฺว อคฺคสาวิกา, อุปาสเกสุ  “จิตฺโต คหปติ หตฺถโก อาฬวโกติ เทฺว อคฺคสาวกา, อุปาสิกาสุ “เวฬุกณฺฏกี นนฺทมาตา  ขุชฺชุตฺตราติ เทฺว อคฺคสาวิกา;  อิติ อิเม อฏฺฐ ชเน อาทึ กตฺวา ฐานนฺตรปฺปตฺตา สพฺเพปิ สาวกา  เอกเทเสน ทสนฺนํ ปารมีนํ ปูริตตฺตา มหาปุญฺญา อภินีหารสมฺปนฺนา ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้นภายหลัง ณ วันหนึ่ง อ.พระราชา ประทับยืนอยู่แล้ว ในเบื้องบนแห่งปราสาท ทรงแลดูอยู่ ซึ่งระหว่างแห่งถนน ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ผู้มีพันมิใช่หนึ่ง ผู้ไปอยู่ เพื่อประโยชน์แก่กิจด้วยภัต ในเรือนของชน ท. เหล่านี้ คือ ของมหาเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ของเศรษฐีชื่อว่าจูฬอนาถบิณฑิกะ ของมหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ของอุบาสิกาชื่อว่าสุปปวาสา ตรัสถามแล้วว่า อ.พระผู้เป็นเจ้า ท. ย่อมไป ในที่ไหน ดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติทพ อ.พันแห่งภิกษุ ท. สอง ย่อมไป ในเรือน ของมหาเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ทุก ๆ วัน เพื่อประโยชน์แก่ภัต ท. มีนิตยภัต สลากภัต และคิลานภัต เป็นต้น อ.ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน ของเศรษฐีชื่อว่าจูพอนาถบิณฑิกะ ตลอดกาลเป็นนิตย์ อ.เหมือนอย่างนั้น คือว่า อ.ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไป สู่เรือน ของมหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ตลอดกาลเป็นนิตย์ อ.เหมือนอย่างนั้น คือว่า อ.ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ย่อมไปสู่เรือน ของอุบาสิกาชื่อว่าสุปปวาสา ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้ อันราชบุรุษ กราบทูลแล้ว เป็นผู้ใคร่เพื่ออันบำรุง ซึ่งหมู่แห่งภิกษุแม้เอง เป็น เสด็จไปแล้ว สู่วิหาร ทรงนิมนต์แล้ว ซึ่งพระศาสดา กับ ด้วยพันแห่งภิกษุ ทรงถวายแล้ว ซึ่งทาน ด้วยพระหัตถ์ ของพระองค์ ตลอดวันเจ็ด ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระศาสดา ในวันที่ ๗ กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ.พระองค์กับด้วยร้อยแห่งภิกษุ ท. ห้า ขอจงทรงรับ ซึ่งภิกษา ของหม่อมฉัน เนืองนิตย์ ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชื่อ อ.พระพุทธเจ้า ท. ย่อมไม่ทรงรับ ซึ่งภิกษา ในที่แห่งเดียวเนืองนิตย์ อ.ชน ท. มาก ย่อมหวังเฉพาะ ซึ่งการเสด็มา ของพระพุทธเจ้า ท. ดังนี้ ฯ อ.พระราชา กราบทูลแล้วว่า ถ้าอย่างนั้น อ.พระองค์ ขอจงส่งไป ซึ่งภิกษุรูปหนึ่ง เนืองนิตย์ ดังนี้ ฯ อ.พระศาสดา ได้ทรงกระทำแล้ว ให้เป็นภาระ ของพระเถระชื่อว่าอานนท์ ฯ

เฉลยแปล โดยอรรถ

๒. พระราชาไม่ทรงจัดไว้ว่า “เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว ชื่อว่าชนเหล่านี้ รับบาตรแล้ว จงอังคาส” ทรงอังคาส ด้วยพระองค์เองเท่านั้น ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ทรงลืมไป จึงได้ทรงกระทำให้เนิ่นช้าแล้ว ฯ ก็อันธรรมดาในราชตระกูล ชนทั้งหลาย ที่พระราชามิได้ทรงสั่งไว้ ย่อมไม่ได้เพื่อปูอาสนะทั้งหลาย นิมนต์เหล่าภิกษุให้นั่งแล้วอังคาส ฯ ภิกษุทั้งหลาย คิดว่า พวกเราไม่สามารถ เพื่อยับยั้งอยู่ได้ในที่นี้ จำนวนมากหลีกไป ฯ พระราชา ทรงลืมแล้วแม้ในวันที่ ๒ ฯ แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุเป็นอันมาก ก็พากันหลีกไป ฯ ถึงในวันที่ ๓ พระราชก็ทรงลืม ฯ ในกาลนั้น ยกเว้นพระอานนทเถระองค์เดียวเท่านั้น เหล่าภิกษุที่เหลือ พากันหลีกไปแล้ว ฯ

ธรรมดาภิกษุทั้งหลายผู้มีบุญ ย่อมเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ จึงรักษาความเลื่อมใสแห่งตระถูลทั้งหลายไว้ได้ ฯ ก็ สาวกของพระตถาคตแม้ทั้งหมด ผู้ได้รับฐานันดร ตั้งต้นแต่ชนทั้ง ๘ เหล่านี้ คือ พระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสารีบุตรถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระเถรีชื่อว่าเขมา พระเถรีชื่อว่าอุบลวรรณา บรรดาอุบาสกทั้งหลาย อุบาสกผู้เป็นอัครสาวก ๒ คน คือ จิตตคฤหบดี หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี บรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย อุบาสิกาผู้เป็นอัครสาวิกา ๒ คน คือ มารดาของนันทมาณพ ชื่อเวฬุกัณฏกี อุบาสิกาชื่อว่าขุชชุตรา เป็นผู้มีบุญมาก สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะความเป็นผู้ได้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ โดยเอกเทศ ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐

แปล โดยพยัญชนะ :
(วิสาขาวตฺถุ ภาค ๓ หน้า ๗๐-๗๑)

๑. อเถกทิวสํ สตฺถา ปจฺจูสมย โลกํ โวโลเกนฺโต เทวโลกา จวิตฺวา ภทฺทิยนคเร เสฏฺฐิกุเล นิพฺพตฺตสฺส ภทฺทิยสฺส นาม เสฏฺฐิปุตฺตสฺส อุปนิสฺสยสมฺปตฺตึ ทิสฺวา อนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห  ภตฺตกิจฺจํ กตฺวา อุตฺตรทฺวาราภิมุโข อโหสิ ฯ  ปกติยาปิ สตฺถา วิสาขาย เคเห ภิกฺขํ คณฺหิตฺวา ทกฺขิณทฺวาเรน นิกฺขมิตฺวา เชตวเน วสติ, อนาถปิณฑิกสฺส เคเห ภิกฺขํ คณฺหิตฺวา ปาจีนทฺวาเรน นิกฺขมิตฺวา ปุพฺพาราเม วสติ ฯ อุตฺตรทฺวารํ สนฺธาย คจฺฉนฺตํเยว ภควนฺตํ ทิสฺวา “จาริกํ ปกฺกมิสฺสตีติ ชานนฺติ ฯ วิสาขาปี ตํทิวสํ “สตฺถา อุตฺตรทฺวาราภิมุโข คโตติ สุตฺวา ว เวเคน คนฺตฺวา วนฺทิตฺวา อาห “จาริกํ คนฺตุกามตฺถ ภนฺเตติ ฯ  “อาม วิสาเขติ ฯ “ภนฺเต เอตฺตกํ ธนํ ปริจฺจชิตฺวา ตุมฺหากํ วิหารํ  กาเรมิ, นิวตฺตถ ภนฺเตติ ฯ “อนิวตฺตคมนํ อิทํ วิสาเขติ ฯ สา “อทฺธา เหตุสมฺปนฺนํ กญฺจิ ปสฺสติ  ภควาติ จินฺเตตฺวา “เตนหิ ภนฺเต มยฺหํ กตากตวิชานนกํ เอกํ ภิกฺขุํ นิวตฺตาเปตฺวา คจฺฉถาติ อาห ฯ  “ยํ โรเจสิ, ตสฺส ปตฺตํ คณฺห วิสาเขติ ฯ สา กิญฺจาปิ อานนฺทตฺเถรํ ปิยายติ, “มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร อิทฺธิมา, เอตํ เม นิสฺสาย กมฺมํ ลหุํ นิปฺปชฺชิสฺสตีติ ปน จินฺเตตฺวา เถรสฺส ปตฺตํ คณฺหิ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(มหากปฺปินเถรวตฺถุ ภาค ๔ หน้า ๑๑)

๒. อเถกทิวสํ วิหาเร ธมฺมสฺสวนํ สงฺฆุฏฺฐํ ฯ “สตฺถา ธมฺมํ เทเสตีติ สุตฺวา สพฺเพปิ เต กุฏุมฺพิกา “ธมฺมํ สุณิสฺสามาติ ภริยาย สทฺธึ วิหารํ อคมํสุ ฯ เตสํ วิหารมชฺฌํ ปวิฏฺฐกฺขเณ วสฺสํ อุฏฺฐหิ ฯ เยสํ  กุลุปกา วา ญาตี วา สามเณราทโย อตฺถิ, เต เตสํ ปริเวณานิ ปวิสึสุ ฯ เต ปน ตถารูปานํ นตฺถิตาย  กตฺถจิ ปวิสิตุํ อวิสหนฺตา วิหารมชฺเฌเยว อฏฺฐํสุ ฯ อถ เน เชฏฺฐกกุฏุมฺพิโก อาท “ปสฺสถ อมฺหากํ วิปฺปการํ, กุลปุตฺเตหิ นาม เอตฺตเกน ลชฺชิตุํ ยุตฺตนฺติ ฯ “อยฺย กึ กโรมาติ ฯ “มยํ วิสฺสาสิกฏฺฐานสฺส  อภาเวน อิมํ วิปฺปการํ ปตฺตา, สพฺเพ ธนํ สํหริตฺวา ปริเวณํ กโรมาติ ฯ    “สาธุ อยฺยาติ ฯ เชฏฺฐโก  สหสฺสํ อทาสิ, เสสา ปญฺจ ปญฺจ สตานิ, อิตฺถิโย อฑฺฒเตยฺยานิ อฑฺฒเตยฺยานิ สตานิ ฯ  เต ตํ ธนํ  สํหริตฺวา สหสฺสกูฏาคารปริวารํ สตฺถุ วสนตฺถาย มหาปริเวณํ นาม อารภึสุ ฯ นวกมฺมสฺส  มหนฺตตาย ธเน อปฺปโหนฺเต, ปุพฺเพ ทินฺนธนโต ปุน อุปฑฺฒุปฑฺฒํ อทํสุ ฯ นิฏฺฐิเต ปริเวเณ,  วิหารมหํ กโรนฺตา พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส สตฺตาหํ มหาทานํ ทตฺวา วีสติยา ภิกฺขุสหสฺสานํ จีวรานิ สชฺชยึสุ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. ครั้งนั้นในวันหนึ่ง อ. พระศาสดา ทรงตรวจดูอยู่ซึ่งโลก ในสมัยอันขจัดเฉพาะซึ่งมืด ทรงเห็นแล้วซึ่งความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยเเห่งบุตรของเศรษฐีชื่อว่าภัททิยะ ผู้จุติจากเทวโลกแล้ว จึงบังเกิดแล้วในสกุลของเศรษฐีในพระนครชื่อว่าภัททิยะ ทรงกระทำแล้วซึ่งกิจด้วยภัตรในเรือนแห่งเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ เป็นผู้มีพระพักตร์เฉพาะต่อประตูอันตั้งอยู่แล้วในทิศอุดร  ได้เป็นแล้ว ฯ อ. พระศาสดา ทรงรับแล้วซึ่งภิกษาในเรือนของนางวิสาขา เสด็จออกเเล้วโดยประตูอันตั้งอยู่แล้วในทิศทักษิณ ย่อมประทับอยู่ในวิหารชื่อว่าเชตวัน ทรงรับแล้วซึ่งภิกษาในเรือนของเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ เสด็จออกแล้วโดยประตูอันตั้งอยู่แล้วในทิศปราจีน ย่อมประทับอยู่ในวิหารชื่อว่าบุพพารามแม้โดยปกติ ฯ อ. ชน ท. เห็นแล้วซึ่งพระผู้มีพระภากเจ้า ผู้เสด็จไปอยู่หมายซึ่งประตูอันตั้งอยู่แล้วในทิศอุดรนั่นเทียว ย่อมรู้ว่า อ. พระศาสดาจักทรงหลีกไปสู่ที่จาริก ดังนี้ ฯ แม้ อ. นางวิสาขาฟังแล้วว่า อ. พระศาสดาเป็นผู้มีพระพักตร์เฉพาะต่อประตูอันตั้งอยู่แล้วในทิศอุดร เสด็จไปแล้ว ดังนี้เทียว ในวันนั้น ไปแล้วโดยเร็ว ถวายบังคมแล้ว ทูลแล้วว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. พระองค์ เป็นผู้ใคร่เพื่ออันเสด็จไปสู่ที่จาริก ย่อมเป็นหรือ ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดาตรัตแล้วว่า ดูก่อนวิสาขา  เออ อ. เรา เป็นผู้ใคร่เพื่ออันไปสู่ที่จาริก ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. นางวิสาขาทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. หม่อมฉันสละแล้วซึ่งทรัพย์อันมีประมาณเท่านี้ ยังบุคคลย่อมให้สร้างซึ่งวิหารเพื่อพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. พระองค์ ขอจงเสด็จกลับ ดังนี้  ฯ  อ. พระศาสดาตรัสแล้วว่า  ดูก่อนวิสาขา อ. การไปแห่งเรานี้ เป็นการไปอันไม่กลับ ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ  อ. นางวิสาขานั้น คิดแล้วว่า อ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นซึ่งใคร ๆ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเหตุแน่แท้ ดังนี้ ทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น อ. พระองค์ ยังภิกษุรูปหนึ่ง ผู้รู้ซึ่งกรรมอันหม่อมฉันทำแล้วหรือไม่ทำแล้วให้กลับแล้ว ขอจงเสด็จไป ดังนี้ ฯ อ. พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ดูก่อนวิสาขา อ. เธอจงรับซึ่งบาตรของ – อ. เธอย่อมชอบใจซึ่งภิกษุใด – ภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อ. นางวิสาขานั้น ย่อมประพฤติรักซึ่งพระเถระชื่อว่าอานนท์แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น อ. นางวิสาขานั้น คิดแล้วว่า อ. พระเถระชื่อว่ามหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์ ย่อมเป็น อ. การงานของเรา จักสำเร็จพลันเพราะอาศัยซึ่งพระเถระนั่น ดังนี้ รับแล้วซึ่งบาตรของพระเถระ ฯ

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. ครั้นภายหลังวันหนึ่ง เขาป่าวร้องการฟังธรรมในวิหาร ฯ กุฎุมพีเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ฟังว่า พระบรมศาสดาจะทรงแสดงธรรม คิดว่า พวกเราจักฟังธรรม จึงได้ไปยังวิหารกับภรรยา ฯ ในขณะที่พวกเขาเข้าไปท่ามกลางวิหาร ฝนตั้งเค้าแล้ว ฯ สามเณรเป็นต้น ผู้เป็นชีต้นหรือเป็นญาติของชนเหล่าใดมีอยู่ ชนเหล่านั้นก็เข้าไปยังบริเวณของสามเณรเป็นต้นเหล่านั้น ฯ ส่วนกุฎุมพีเหล่านั้น ไม่อาจจะเข้าไปในบริเวณไหน ๆ ได้ เพราะชนทั้งหลายเห็นปานนั้นไม่มี จึงได้ยืนอยู่ในท่ามกลางวิหารนั่นเอง ฯ ครั้งนั้น หัวหน้ากุฎุมพีกล่าวกะกุฎุมพีเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเห็นประการอันแปลกของพวกเราไหม ธรรมดากุลบุตรทั้งหลาย ควรที่จะละอายใจด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้ ฯ กุฎุมพีเหล่านั้นถามว่า นายท่าน พวกเราจะทำอะไร ฯ หัวหน้ากุฎุมพีกล่าวว่า เพราะความไม่มีสถานที่แห่งบุคคลผู้คุ้นเคย พวกเราจึงถึงประการอันแปลกนี้ พวกเราทั้งหมดจงรวบรวมทรัพย์แล้วสร้างบริเวณเถิด ฯ พวกเขารับว่า ดีครับนายท่าน ฯ หัวหน้าได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ที่เหลือคนละ ๕๐๐ สตรีคนละ ๒๕๐ ฯ พวกเขารวบรวมทรัพย์นั้นแล้ว เริ่มสร้างชื่อบริเวณใหญ่ซึ่งมีเรือนยอด ๑ พันเป็นบริวารเพื่อต้องการเป็นที่ประทับของพระศาสดา ฯ เมื่อทรัพย์ไม่พอเพราะการก่อสร้างเป็นงานใหญ่ คนเหล่านั้นได้ให้ทรัพย์อีกคนละกึ่ง ๆ จากทรัพย์ที่ให้ในครั้งก่อน ฯ เมื่อบริเวณสำเร็จแล้ว พวกเขาเมื่อทำการฉลองวิหาร ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน ตระเตรียมจีวรสำหรับภิกษุ ๒ หมื่นรูป ฯ


ประโยค ๑-๒

ปัญหาและเฉลย วิชา แปลมคธเป็นไทย

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒)

แปล โดยพยัญชนะ :
(จกฺขุปาลวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๑๑-๑๒)

๑. เวชฺโช ทิสฺวา “กึ ภนฺเต นตฺถุกมฺมํ กตนฺติ ปุจฺฉิ ฯ “อาม อุปาสกาติ ฯ “กีทิสํ ภนฺเตติ ฯ  “รุชเตว อุปาสกาติ ฯ    “นิสีทิตฺวา โว ภนฺเต กตํ, นิปชฺชิตฺวาติ ฯ เถโร ตุณฺหี อโหสิ, ปุนปฺปุนํ  ปุจฺฉิโตปี, น กิญฺจิ กเถสิ ฯ อถ นํ เวชฺโช “ภนฺเต ตุมฺเห สปฺปายํ น กโรถ, อชฺช ปฏฺฐาย ‘อสุเกน เม เตลํ ปกฺกนฺติ มา วทิตฺถ, อหํปิ ‘มยา โว เตลํ ปกฺกนฺติ น วกฺขามีติ อาห ฯ โส เวชฺเชน ปจฺจกฺขาโต,  วิหารํ คนฺตฺวา “เวชฺเชนาปี ปจฺจกฺขาโตสิ, อิริยาปถํ มา วิสฺสชฺชิ สมณาติ,
          “ปฏิกฺขิตฺโต ติกิจฺฉาย               เวชฺเชนาสิ วิวชฺชิโต
          นิยโต มจฺจุราชสฺส,                  กึ ปาลิต ปมชฺชสีติ

อิมาย คาถาย อตฺตานํ โอวทิตฺวา สมณธมฺมํ อกาสิ ฯ อถสฺส มชฺฌิมยาเม อติกฺกนฺตมตฺเต, อปุพฺพํ  อจริมํ อกฺขีนิ เจว กิเลสา จ ปภิชฺชึสุ ฯ โส สุกฺขวิปสฺสโก อรหา หุตฺวา คพฺภํ ปวิสิตฺวา นิสีทิ ฯ ภิกฺขู ภิกฺขาจารเวลาย คนฺตวา “ภิกฺขาจารกาโล ภนฺเตติ อาหํสุ ฯ “กาโล อาวุโสติ ฯ “อาม ภนฺเตติ ฯ  “เตนหิ คจฺฉถาติ ฯ “ตุมเห ปน ภนฺเตติ ฯ “อกฺขีนิ เม อาวุโส ปริหีนานีติ ฯ เต ตสฺส อกฺขีนิ  โอโลเกตฺวา อสฺสุปุณฺณเนตฺตา หุตฺวา “ภนฺเต มา จินฺตยิตฺถ, มยํ โว ปฏิชคฺคิสฺสามาติ เถรํ  อสฺสาเสตฺวา กตฺตพฺพยุตฺตกํ วตฺตปฏิวตฺตํ กตฺวา คามํ ปวิสึสุ ฯ

แปล โดยอรรถ :
(จกฺขุปาลวตฺถุ ภาค ๑ หน้า ๑๒-๑๓)

๒. เถโรปิ อิตเร สฏฺฐิภิกฺขู นิรนฺตรํ โอวทติ ฯ เต ตสฺโสวาเท ฐตฺวา อุปกฺกฏฺฐาย ปวารณาย, สพฺเพว สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ, วุตฺถวสฺสา จ ปน สตฺถารํ ทฏฺฐุกามา หุตฺวา เถรํ อาหํสุ “ภนฺเต สตฺถารํ ทฏฺฐุกามมฺหาติ ฯ เถโร เตสํ วจนํ สุตฺวา จินฺเตสิ “อหํ ทุพฺพโล, อนฺตรามคฺเค จ  อมนุสฺสปริคฺคหิตา อฏวี อตฺถิ, มยิ เอเตหิ สทฺธึ คจฺฉนฺเต, สพฺเพ กิลมิสฺสนฺติ, ภิกฺขํปิ ลภิตุํ น  สกฺขิสฺสนฺติ, อิเม ปุเรตรเมว เปเสสฺสามีติ ฯ อถ เน อาห “อาวุโส ตุมฺเห ปุรโต คจฺฉถาติ ฯ “ตุมฺเห ปน ภนฺเตติ ฯ “อหํ ทุพฺพโล, อนฺตรามคฺเค จ อมนุสฺสปริคฺคหิตา อฏวี อตฺถิ, มยิ ตุมฺเหหิ สทฺธึ  คจฺฉนฺเต, สพฺเพ กิลมิสฺสถ, ตุมฺเห ปุรโต คจฺฉถาติ ฯ “มา ภนฺเต เอวํ กริตฺถ, มยํ ตุมฺเหหิ สทฺธึเยว  คมิสฺสามาติ ฯ “มา โว อาวุโส เอวํ รุจฺจิตฺถ, เอวํ สนฺเต มยฺหํ อผาสุกํ ภวิสฺสติ, มยฺหํ กนิฏฺโฐ ตุมฺเห  ทิสฺวา ปุจฉิสฺสติ, อถสฺส มม จกฺขูนํ ปริหีนภาวํ อาโรเจยฺยาถ, โส มยฺหํ สนฺติกํ กญฺจิเทว ปหิณิสฺสติ, เตน สทฺธึ อาคจฺฉิสฺสามิ, ตุมฺเห มม วจเนน ทสพลญฺจ อสีติมหาเถเร จ วนฺทถาติ เต อุยฺโยเชสิ ฯ  เต เถรํ ขมาเปตฺวา อนฺโตคามํ ปวิสึสุ ฯ มนุสฺสา เต นิสีทาเปตฺวา ภิกฺขํ ทตฺวา “กึ ภนฺเต อยฺยานํ  คมนากาโร ปญฺญายตีติ ฯ “อาม อุปาสกา, สตฺถารํ ทฏฺฐุกามมฺหาติ ฯ เต ปุนปฺปุนํ ยาจิตฺวา เตสํ คมนฉนฺทเมว ญตฺวา อนุคนฺตุวา ปริเทวิตฺวา นิวตฺตึสุ ฯ

เฉลย แปลโดยพยัญชนะ

๑. อ. หมอเห็นแล้ว ถามแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. กรรมคือการนัตถุ์ (การเป่าน้ำมันทางจมูก) อันท่านทำแล้วหรือ ดังนี้ ฯ อ. พระเถระ กล่าวแล้วว่า ดูก่อนอุบาสก เออ อ. กรรมคือการนัตถุ์ อันเราทำแล้ว ดังนี้ ฯ อ. หมอนั้นถามแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. คู่แห่งนัยน์ตา เป็นไร  ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. พระเถระกล่าวแล้วว่า ดูก่อนอุบาสก อ. คู่แห่งนัยน์ตา ปวดอยู่นั่นเทียว  ดังนี้ ฯ อ. หมอนั้น ถามแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. กรรมคือการนัตถุ์ อันท่านนั่งแล้วทำแล้วหรือ หรือว่า อ. กรรมคือการนัตถุ์ อันท่านนอนแล้วทำแล้ว ดังนี้ ฯ อ. พระเถระเป็นผู้นิ่ง ได้เป็นแล้ว แม้ผู้อันหมอนั้นถามแล้วบ่อย ๆ ไม่กล่าวแล้ว ซึ่งคำอะไร ๆ ฯ ครั้งนั้น อ. หมอกล่าวแล้ว  กะพระเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. ท่านย่อมไม่กระทำ ซึ่งความสบาย อ. ท่านอย่ากล่าวแล้วว่า อ. น้ำมันอันหมอโน้นหุงแล้วแก่เรา ดังนี้ แม้ อ. กระผมจักไม่กล่าวว่า อ.น้ำมัน อันกระผมหุงแล้วแก่ท่าน ดังนี้ จำเดิมแต่วันนี้ ดังนี้ ฯ อ. พระเถระนั้น ผู้อันหมอบอกคืนแล้ว ไปแล้วสู่วิหาร คิดแล้วว่า อ. ท่านเป็นผู้แม้อันหมอบอกคืนแล้ว ย่อมเป็น ดูก่อนสมณะ อ. ท่านอย่าสละแล้ว ซึ่งอิริยาบถ ดังนี้ สอนแล้วซึ่งตนด้วยคาถานี้ว่า

อ. ท่าน เป็นผู้อันอันหมอ ปฏิเสธแล้ว เป็นผู้อันหมอ
เว้นแล้วจากอันเยียวยา (การรักษา) ย่อมเป็น อ. ท่าน
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อมัจจุผู้พระราชา ย่อมเป็น ดูก่อนปาลิตะ
อ. ท่านย่อมประมาท เพราะเหตุไร ดังนี้

ได้กระทำแล้ว ซึ่งสมณธรรม ฯ ครั้งนั้น ครั้นเมื่อยามอันมีในท่ามกลาง เป็นกาลสักว่าก้าวล่วงแล้ว มีอยู่ อ. นัยน์ตา ท. ด้วยนั่นเทียว อ. กิเลส ท. ด้วย ของพระเถระนั้นแตกทั่วแล้ว ไม่ก่อน ไม่หลัง ฯ อ. พระเถระนั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง เป็น เข้าไปแล้วสู่ห้องนั่งแล้ว ฯ  อ. ภิกษุ ท. ไปแล้วในเวลาอันเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. กาลนี้ เป็นกาลอันเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. พระเถระถามแล้วว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท.

อ. กาลนี้ เป็นกาล ย่อมเป็นหรือ ดังนี้ ฯ อ. ภิกษุ ท. กล่าวแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอรับ อ. กาลนี้ เป็นกาล ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. พระเถระกล่าวแล้วว่า ถ้าอย่างนั้น อ. ท่าน ท. จงไปเถิด ดังนี้ ฯ  อ. ภิกษุ ท. ถามแล้วว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ อ. ท่านเล่า ดังนี้ ฯ อ. พระเถระกล่าวแล้วว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท. อ. นัยน์ตา ท. ของผม เสื่อมรอบแล้ว ดังนี้ฯ อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น แลดูแล้วซึ่งนัยน์ตา ท. ของพระเถระนั้น เป็นผู้มีดวงตาอันเต็มแล้วด้วยน้ำตา เป็น ยังพระเถระให้หายใจออกแล้ว (ให้โล่งใจ) ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ. ท่าน อย่าคิดแล้ว อ. กระผม ท. จักปฏิบัติซึ่งท่าน ดังนี้ กระทำแล้ววัตรและวัตรดอบ อันสมควรแล้วแก่ควานเป็นวัตรอันตนพึ่งทำ เข้าไปแล้วสู่บ้าน ฯ

แปลว่า อ. ลม เสียดแทงอยู่นั่นเทียว ก็ได้
แปลว่า อ. น้ำมันอันหมอโน้นให้สุกแล้วเพื่อเรา ก็ได้

เฉลย แปลโดยอรรถ

๒. แม้พระเถระย่อมสั่งสอนภิกษุ ๖๐ รูปนอกนี้มิได้ขาด ฯ พวกเธอตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ครั้นใกล้ดิถีปวารณา ทุกรูปเทียวบรรลุพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทา ก็แลเธอทั้งหลายผู้ออกพรรษาแล้ว เป็นผู้ประสงค์จะเฝ้าพระบรมศาสดา จึงเรียนพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมทั้งหลาย เป็นผู้ประสงค์จะเฝ้าพระบรมศาสดา ฯ พระเถระฟังคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว คิดว่า เราเป็นผู้ทุพพลภาพ และในระหว่างทาง ดงที่ถูกอมนุษย์ยึดครองก็มี เมื่อเราไปกับภิกษุเหล่านี้ เธอทั้งหมดจักลำบาก จักไม่อาจเพื่อจะได้ภิกษาอีกด้วย เราจักส่งภิกษุเหล่านี้ไปก่อนกว่าทีเดียว ฯ ลำดับนั้น พระกล่าวกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายล่วงหน้าไปก่อนเถิด ฯ ภิกษุเหล่านั้นถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ท่านเล่า ฯ พระเถระตอบว่า ผมเป็นผู้ทุพพลภาพ และในระหว่างทาง ดงที่ถูกอมนุษย์ยึดครองก็มี เมื่อผมไปกับท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหมดจะลำบาก ขอท่านทั้งหลายจงล่วงหน้าไปก่อนเถิด ฯ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าทำอย่างนี้เลย ปวงกระผมจะไปพร้อมกับท่านนั่นแหละ ฯ พระเถระกล่าวว่า  ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายอย่าชอบใจอย่างนี้เลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ความไม่ผาสุกจักมีแก่ผม  น้องชายของผมเห็นท่านทั้งหลายจะถาม (ถึงผม) เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงบอกความเสียจักษุทั้งสองของผมแก่เขา เขาจะส่งใครสักคนมายังสำนักของผม ผมจะมากับคนนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระทศพล และไหว้พระอสีติมหาเถระ ตามคำของผมเถิด ดังนี้แล้ว ส่งภิกษุหล่านั้นไปแล้ว ฯ เธอทั้งหลายขอขมาพระเถระแล้ว เข้าไปภายในบ้าน ฯ มนุษย์ทั้งหลายนิมนต์ให้ภิกษุเหล่านั้นนั่งแล้วถวายภิกษาแล้ว ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาการคือการไปแห่งพระผู้เป็นเจ้า ย่อมปรากฏ หรือ ฯ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ใช่แล้ว อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ปวงอาตมภาพ เป็นผู้ประสงค์จะเฝ้าพระบรมศาสดา ฯ มนุษย์เหล่านั้นอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนอีก ครั้นทราบฉันทะคือการไปให้ได้ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตามไปส่ง คร่ำครวญกลับมา ฯ