ธรรมศึกษา ตรี อุดม พ.ศ. ๒๕๖๖

ธรรมศึกษา ชั้นตรี

ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

ขนฺติ หิตสุขาวหา.

ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข.

คัมภีร์ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรม กำหนดมาให้ จำนวน ๓ สุภาษิตช้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๑ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง

ในชั้นนี้กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

——————-

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

อตฺตนา โจทยตฺตานํ.

จงเตือนตนด้วยตนเอง.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

ททมาโน ปิโย โหติ.

ผูู้ให้ย่อมเป็นที่รัก.

คัมภีร์ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

ขนฺติ สาหสวารณา.

ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน.

ที่มา : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส


ธรรมศึกษา ชั้นตรี

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑.ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
 ก. สติ สัมปชัญญะ
 
ข. หิริ โอตตัปปะ
 ค. ขันติ โสรัจจะ
 ง. กตัญญูู กตเวที
 
 ๒. ความรู้ตัว เป็นความหมายของธรรมข้อใด ?
 ก. สติ
 ข. สัมปชัญญะ
 
ค. โอตตัปปะ
 ง. โสรัจจะ
 
 ๓. คุณธรรมที่ป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว คือข้อใด ?
 ก. สติ สัมปชัญญะ
 ข. ขันติ โสรัจจะ
 ค. หิริ โอตตัปปะ
 
ง. กตัญญูู กตเวที
 
 ๔. ลักษณะของผูู้มีหิริ คือข้อใด ?
 ก. รังเกียจคนชั่ว
 ข. ละอายใจไม่ทำชั่ว
 
ค. กลัวผู้ลบาป
 ง. กลัวคนชั่ว
 
 ๕.ไม่กล้าทำความชั่วเพราะกลัวบาป เป็นลักษณะของผูู้มีธรรมใด ?
 ก. สติ
 ข. ขันติ
 ค. หิริ
 ง. โอตตัปปะ
 
 
๖. เมื่อถูกด่าว่าดูหมิ่น ควรประพฤติธรรมใด ?
 ก. โอตตัปปะ
 ข. สัมปชัญญะ
 ค. ขันติ
 
ง. โสรัจจะ
 
 ๗. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า บุพพการี ?
 ก. ผูู้มีพระคุณ
 ข. ผูู้รู้พระคุณ
 ค. ผูู้เกิดก่อน
 ง. ผูู้ทำอุปการะก่อน
 
 
๘. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า กตัญญููกตเวที ?
 ก. ผูู้มีพระคุณ
 ข. ผูู้รู้บุญคุณแล้วตอบแทน
 
ค. ผูู้เกิดก่อน
 ง. ผูู้ให้
 
 ๙. เกิดเป็นคนไทย ควรกตัญญููกตเวทีต่อใคร ?
 ก. มารดาบิดา
 ข. ชาติศาสนา
 ค. พระมหากษัตริย์
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๑๐. อาศัยพระคุณใดเป็นที่ตั้ง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม ?
 ก. พระปัญญาคุณ
 ข. พระบริสุทธิ์คุณ
 ค. พระกรุณาคุณ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 
  ๑๑. คำว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผูู้บอก เป็นการให้ความสำคัญกับรัตนะใด ?
 ก. พระพุทธ
 ข. พระธรรม
 ค. พระสงฆ์
 ง. พระรัตนตรัย
 
 ๑๒. มรรค ผู้ล นิพพาน เป็นธรรมรัตนะประเภทใด ?
 ก. ปริยัติ
 ข. ปฏิบัติ
 ค. ปฏิเวธ
 
ง. ปาติโมกข์
 
 ๑๓. บุคคลที่ล่วงละเมิดศีลข้ออทินนาทาน จัดได้ว่ามีอกุศลใดเป็นมูล ?
 ก. โลภะ
 
ข. โทสะ
 ค. โมหะ
 ง. ราคะ
 
 ๑๔. บุคคลที่ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต จัดได้ว่ามีอกุศลใดเป็นมูล ?
 ก. โลภะ
 ข. โทสะ
 
ค. โมหะ
 ง. ตัณหา
 
 ๑๕. คนมีปัญญาไม่เชื่อง่าย จัดได้ว่ามีกุศลใดเป็นมูล ?
 ก. อโลภะ
 ข. อโทสะ
 ค. อโมหะ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๑๖. วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนา เรียกว่าอะไร ?
 ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 ง. บุญกิริยาวัตถุ
 
 
๑๗. วิธีทำบุญที่มีอานิสงส์มากที่สุด คือข้อใด ?
 ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 
ง. ปัตติทานมัย
 
 ๑๘. ประชาธิปไตยล้มเหลว เพราะขาดอธิปไตยใด ?
 ก. อัตตาธิปไตย
 ข. โลกาธิปไตย
 ค. ธัมมาธิปไตย
 
ง. คณาธิปไตย
 
 ๑๙. อธิปไตยใด ก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่สังคมมากที่สุด ?
 ก. อัตตาธิปไตย
 
ข. โลกาธิปไตย
 ค. ธััมมาอธิปไตย
 ง. ประชาอธิปไตย
 
 ๒๐. สามัญญลักษณะ ได้แก่ข้อใด ?
 ก. อนิจจตา
 ข. ทุกขตา
 ค. อนัตตตา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๒๑. จะอยู่กับความทุกข์ได้โดยไม่เดือดร้อน ต้องรู้ความจริงในเรื่องใด ?
 ก. กฎิธรรมชาติ
 
ข. กฎหมาย
 ค. กฎแห่งกรรม
 ง. กฎกติกา
 
 ๒๒. ลำเอียงเพราะเกลียดชัง เรียกว่าอะไร ?
 ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 
ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 
 ๒๓. ตำรวจไม่กล้าจับผูู้ร้าย เพราะเกรงกลัวผูู้มีอิทธิพล ชื่อว่ามีอคติใด ?
 ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 
 
๒๔. เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วในจิต เรียกว่าอะไร ?
 ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 
ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 
 ๒๕. จะรักษาความดี ให้เหมือนเกลือรักษาความเค็ม ต้องมีปธานใด ?
 ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 
 
๒๖. นักธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ต้องมีหลักธรรมใด ?
 ก. อิทธิบาท ๔
 
ข. พรหมวิหาร ๔
 ค. ปธาน ๔
 ง. อคติ ๔

๒๗. นักกีฬาที่ชนะได้ในสถานการณ์ที่เป็นรอง จัดได้ว่ามีอิทธิบาทข้อใด ?
 ก. ฉันทะ
 ข. วิริยะ
 ค. จิตตะ
 ง. วิมังสา
 

 ๒๘. เราควรปฏิบัติพรหมวิหารข้อใดต่อมนุษย์ทุกชาติชั้นวรรณะ ?
 ก. เมตตา
 
ข. กรุณา
 ค. มุทิตา
 ง. อุเบกขา
 
 ๒๙. เราควรปฏิบัติพรหมวิหารข้อใดต่อบุคคลที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติ ?
 ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 ค. มุทิตา
 
ง. อุเบกขา
 
 ๓๐. เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว จะละก็ผิดวิธี ทำอย่างไรจึงจะถูกวิธี ?
 ก. กำหนดรู้
 
ข. ควรละ
 ค. ทำให้ประจักษ์แจ้ง
 ง. ทำให้มีขึ้น
 
 ๓๑. คนเป็นทุกข์ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
 ก. กามตัณหา
 ข. ภวตัณหา
 ค. วิภวตัณหา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๓๒. ไม่อยากจะเป็นทุกข์ ต้องทำอย่างไร ?
 ก. กำหนดรู้ทุกข์
 ข. ละสมุทัย
 
ค. หาเงินไว้มาก ๆ
 ง. ทำประกันชีวิต
 
 ๓๓. ทานกถา ควรแสดงแก่คนประเภทใด ?
 ก. คนริษยา
 ข. คนโหดร้าย
 ค. คนลุ่มหลง
 ง. คนตระหนี่
 

 ๓๔. สีลกถา ควรแสดงแก่คนประเภทใด ?
 ก. คนริษยา
 ข. คนโหดร้าย
 
ค. คนลุ่มหลง
 ง. คนตระหนี่
 
 ๓๕. อนุปุพพีกถาใดมีผู้ลทำให้คนเป็นอิสระจากกามคุณ ?
 ก. ทานกถา
 ข. สีลกถา
 ค. สัคคกถา
 ง. เนกขัมมานิสังสกถา
 
 
๓๖. ข้อปฏิบัติของฆราวาส เรียกว่าอะไร ?
 ก. คิหิปฏิบัติ
 
ข. เบญจศีล
 ค. เบญจธรรม
 ง. กฎหมาย
 
 ๓๗. เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
 ก. มิตรดีแต่พูด
 ข. มิตรปอกลอก
 
ค. มิตรหัวประจบ
 ง. มิตรชวนทำชั่ว
 
 ๓๘. พูดให้ความหวังแต่ไม่ทำตามที่พูด เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
 ก. มิตรดีแต่พูด
 
ข. มิตรปอกลอก
 ค. มิตรหัวประจบ
 ง. มิตรชวนทำชั่ว
 
 ๓๙. มิตรที่ชอบชักชวนในเรื่องใด ชื่อว่าชักชวนในทางฉิบหาย ?
 ก. ดื่มน้ำเมา
 ข. เที่ยวกลางคืน
 ค. เล่นการพนัน
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๐. พึ่งพาได้เมื่อมีภัย เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
 ก. มีอุปการะ
 
ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
 ค. แนะประโยชน์
 ง. มีความรักใคร่
 
 ๔๑. เสี่ยงตายแทนเพื่อน เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
 ก. มีอุปการะ
 ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
 
ค. แนะประโยชน์
 ง. มีความรักใคร่
 
 ๔๒. เส้นทางนำไปสู่ความเสื่อมพินาศหายนะ เรียกว่าอะไร ?
 ก. อบายมุข
 
ข. อกุศลมูล
 ค. อคติ
 ง. อกุศลกรรมบถ
 
 ๔๓. เที่ยวกลางคืน มีโทษอย่างไร ?
 ก. ถูกระแวงสงสัย
 ข. มักถูกใส่ร้าย
 ค. เสียทรัพย์
 ง. ถูกทุกข้อ
 

 ๔๔. ติดการพนัน มีโทษอย่างไร ?
 ก. เสียทรัพย์
 ข. ไม่มีคนเชื่อถือ
 ค. เพื่อนดูหมิ่น
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๕. ปุรัตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
 ก. มารดาบิดา
 
ข. ครูอาจารย์
 ค. สมณพราหมณ์
 ง. มิตรสหาย
 
 ๔๖. ควรตอบแทนทิศเบื้องหน้าด้วยวิธีใด ?
 ก. เลี้ยงดูท่าน
 ข. ช่วยงานท่าน
 ค. ทำบุญอุทิศให้
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๗. ทักขิณทิศ คือทิศเบื้องขวา หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
 ก. มารดาบิดา
 ข. มิตรสหาย
 ค. สมณพราหมณ์
 ง. ครูอาจารย์
 
 
๔๘. ควรแสดงความเคารพต่อทิศเบื้องขวา ด้วยวิธีใด ?
 ก. ยืนต้อนรับ
 ข. เชื่อฟัง
 ค. ตั้งใจศึกษา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๙. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน หมายถึงบุคคลในข้อใด ? ก. มารดาบิดา
 ข. มิตรสหาย
 ค. สมณพราหมณ์
 
ง. ครูอาจารย์
 
 ๕๐. ควรแสดงความเคารพต่อทิศเบื้องบน ด้วยวิธีใด ?
 ก. ทำดีกับท่าน
 ข. เต็มใจต้อนรับ
 ค. ให้ความอุปถัมภ์
 ง. ถูกทุกข้อ

ให้เวลา ๕๐ นาที


ธรรมศึกษา ชั้นตรี

ปัญหาและเฉลย วิชา พุทธประวัติ

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑. การประชุมทำปฐมสังคายนา จัดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานกี่เดือน ?
 ก. ๓ เดือน
 
ข. ๔ เดือน
 ค. ๕ เดือน
 ง. ๖ เดือน
 
 ๒. ประธานสงฆ์ ทำปฐมสังคายนา คือใคร ?
 ก. พระสารีบุตร
 ข. พระอานนท์
 ค. พระสีวลี
 ง. พระมหากัสสปะ
 
 
๓. ปฐมสังคายนา ได้ทำ ณ เมืองใด ?
 ก. ราชคฤห์
 
ข. ไวสาลี
 ค. พาราณสี
 ง. กุสินารา
 
 ๔. ในการทำปฐมสังคายนา มีพระอรหันต์เข้าร่วมประชุมกี่องค์ ?
 ก. ๓๐๐ องค์
 ข. ๔๐๐ องค์
 ค. ๕๐๐ องค์
 
ง. ๑,๐๐๐ องค์
 
 ๕. การประชุมทำปฐมสังคายนา จัดขึ้น ณ สถานที่ใด ?
 ก. วัดเวฬุวัน
 ข. วัดเชตุวัน
 ค. ถ้ำสัตตบรรณ
 
ง. เขาคิชฌกูฏ
 
 ๖. กษัตริย์ผู้ถวายการอุปถัมภ์ในการทำปฐมสังคายนา ทรงพระนามว่าอะไร ?
 ก. พิมพิสาร
 ข. สุทโธทนะ
 ค. อชาตศัตรู
 ง. พรหมทัต
 
 ๗. พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่เท่าไร ?
 ก. ครั้งที่ ๑
 ข. ครั้งที่ ๒
 ค. ครั้งที่ ๓
 ง. ครั้งที่ ๔
 
 ๘. คัมภีร์ที่รวบรวมพระพุทธบัญญัติ คือข้อใด ?
 ก. วินัยปิฎก
 
ข. สุตตันตปิฎก
 ค. อภิธรรมปิฎก
 ง. ไม่มีข้อถูก
 
 ๙. คัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมเทศนา คือข้อใด ?
 ก. วินัยปิฎก
 ข. สุตตันตปิฎก
 
ค. อภิธรรมปิฎก
 ง. ไม่มีข้อถูก
 
 ๑๐. ผูู้มีใจมุ่งมั่นในโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว เป็นลักษณะพิเศษของใคร ?
 ก. พระมหาสาวก
 ข. พระสาวก
 ค. พระโพธิสัตว์
 
ง. พระราชา
 
 ๑๑. ก่อนปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา พระโพธิสัตว์สถิตอยู่สวรรค์ชั้นใด ?
 ก. จาตุมหาราชิกา
 ข. ดาวดึงส์
 ค. ยามา
 ง. ดุสิต
 
 
๑๒.  พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในทวีปใด ?
 ก. ชมพูทวีป
 
ข. อุตตรกุรุทวีป
 ค. อมรโคยานทวีป
 ง. บุพวิเทหทวีป
 
 ๑๓. ชมพูทวีป มีต้นไม้ใดเป็นสัญลักษณ์ ?
 ก. ต้นหว้า
 
ข. ต้นมะม่วง
 ค. ต้นสาละ
 ง. ต้นไผู้่
 
 ๑๔. ชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็นแคว้นใหญ่ๆ กี่แคว้น ?
 ก. ๑๖ แคว้น
 
ข. ๑๒ แคว้น
 ค. ๑๓ แคว้น
 ง. ๑๔ แคว้น
 
 ๑๕. ประชาชนในชมพูทวีปแบ่งเป็นกี่วรรณะ ?
 ก. ๑ วรรณะ
 ข. ๒ วรรณะ
 ค. ๓ วรรณะ
 ง. ๔ วรรณะ
 
 
๑๖. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะเรียกว่า อะไร ?
 ก. พราหมณ์
 ข. จัณฑาล
 
ค. ศูทร
 ง. แพศย์
 
 ๑๗. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ครบบริบูรณ์เมื่อเสวยพระชาติ เป็นใคร ?
 ก. พระเนมิราช
 ข. พระมหาชนก
 ค. พระเตมีย์
 ง. พระเวสสันดร
 
 
๑๘. พระโพธิสัตว์ประสูติในวงศ์ใด ?
 ก. ศากยวงศ์
 
ข. โกลิยวงศ์
 ค. อาทิตยวงศ์
 ง. โคตมวงศ์
 
 ๑๙. กษัตริย์พระองค์ใด เป็นต้นกำเนิดของศากยวงศ์ ?
 ก. โอกกากราช
 
ข. ชยเสนะ
 ค. สีหหนุ
 ง. สุทโธทนะ
 
 ๒๐. พระโพธิสัตว์ ปฏิสนธิในครรภ์ของพระนางใด ?
 ก. สิริมหามายา
 
ข. มหาปชาบดี
 ค. อมิตา
 ง. ปมิตา
 
 ๒๑. พระโพธิสัตว์ อยู่ในครรภ์พระมารดากี่เดือน ?
 ก. ๙ เดือน
 ข. ๑๐ เดือน
 
ค. ๑๑ เดือน
 ง. ๑๒ เดือน
 
 ๒๒. พระโพธิสัตว์ ประสูติก่อนพุทธศักราชกี่ปี ?
 ก. ๒๙ ปี
 ข. ๓๕ ปี
 ค. ๔๕ ปี
 ง. ๘๐ ปี
 

 ๒๓. พระโพธิสัตว์ ประสูติ ณ ที่ใด ?
 ก. ลุมพินีวัน
 
ข. สวนลัฏฐิวัน
 ค. สวนอัมพวัน
 ง. สวนเวฬุวัน
 
 ๒๔. บุคคลและสิ่งของกำเนิดขึ้นพร้อมกันกับพระโพธิสัตว์ เรียกว่าอะไร ?
 ก. สหาย
 ข. กัลยาณมิตร
 ค. สหชาติ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๒๕. บุคคลใด เกิดในวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ ?
 ก. อานนท์
 
ข. สารีบุตร
 ค. โมคคัลลานะ
 ง. เทวทัต
 
 ๒๖. ใครเข้าเยี่ยมพระโพธิสัตว์หลังประสูติได้ ๓ วัน ?
 ก. กบิลดาบส
 
ข. กาฬเทวิลดาบส
 ค. อาฬารดาบส
 ง. อุททกดาบส

๒๗. พราหมณ์ใด ทำนายว่า “พระโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้ตรัสรู้แน่นอน” ?
 ก. โกณฑัญญะ
 
ข. วัปปะ
 ค. ภัททิยะ
 ง. มหานามะ

 ๒๘. พระนางสิริมหามายา สิ้นพระชนม์ หลังจากพระโพธิสัตว์ประสูติได้กี่วัน ?
 ก. ๓วัน
 ข. ๕ วัน
 ค. ๗ วัน
 
ง. ๙ วัน
 
 ๒๙. ครูคนแรกของเจ้าชายสิทธััตถะ คือใคร ?
 ก. วิศวามิตร
 
ข. อสิตดาบส
 ค. โกณฑัญญะ
 ง. อุททกดาบส
 
 ๓๐. เจ้าชายสิทธััตถะ อภิเษกสมรสเมื่ออายุกี่ปี ?
 ก. ๑๕ ปี
 ข. ๑๖ ปี
 
ค. ๒๙ ปี
 ง. ๓๕ ปี
 
 ๓๑. เจ้าชายสิทธััตถะ ออกผนวชเมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
 ก. ๒๙ พรรษา
 
ข. ๓๕ พรรษา
 ค. ๔๕ พรรษา
 ง. ๘๐ พรรษา
 
 ๓๒. ข้อใด จัดเข้าในเทวทูต ๔ ?
 ก. คนแก่
 ข. คนเจ็บ
 ค. คนตาย
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๓๓. ใครตามเสด็จเจ้าชายสิทธััตถะในวันออกผนวช ?
 ก. นายฉันนะ
 
ข. นายกาฬุทายี
 ค. นันทกุมาร
 ง. โกณฑัญญะ
 
 ๓๔. เจ้าชายสิทธัตถะ อธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ริมส่งแม่น้ำใด?
 ก. คงคา
 ข. อโนมา
 
ค. ยมุนา
 ง. เนรัญชรา
 
 ๓๕. พระมหาบุรุษ สำเร็จสมาบัติ ๘ ในสำนักของใคร ?
 ก. กบิลดาบส
 ข. กาฬเทวิลดาบส
 ค. อาฬารดาบส
 ง. อุททกดาบส
 

 ๓๖. พระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีใด ?
 ก. กลั้นลมหายใจ
 ข. อดอาหาร
 ค. กดพระทนต์
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๓๗. สตรีผูู้ที่ถวายข้าวมธุปายาส แก่พระมหาบุรุษคือใคร ?
 ก. สุชดา
 
ข. วิสาขา
 ค. มัลลิกา
 ง. พิมพา
 
 ๓๘. ข้าวที่พระมหาบุรุษเสวยในวันตรัสรู้ คือข้อใด ?
 ก. ข้าวยาคู
 ข. ข้าวมธุปายาส
 
ค. ข้าวสัตตุผู้ง
 ง. ข้าวสัตตุก้อน
 
 ๓๙. พระมหาบุรุษ ทรงอธิษฐานลอยถาดทองในแม่น้ำใด ?
 ก. คงคา
 ข. เนรัญชรา
 
ค. อจิรวดี
 ง. อโนมา
 
 ๔๐. ผูู้ใด ถวายหญ้าคา ๘ กำมือแก่พระมหาบุรุษ ?
 ก. โสตถิยะ
 
ข. สิงคาลิกะ
 ค. ปิปผลิ
 ง. โกลิตะ
 
 ๔๑. ใครตามขัดขวางการตรัสรู้พระโพธิญาณของพระมหาบุรุษ ?
 ก. พญายมราช
 ข. พญานาคราช
 ค. พญาวสวัตตีมาร
 
ง. ธิดามาร
 
 ๔๒. ญาณที่เกิดแก่พระมหาบุรุษในมัชฌิมยาม คือข้อใด ?
 ก. ปุพเพนิวาสญาณ
 ข. จุตูปปาตญาณ
 
ค. อาสวักขยญาณ
 ง. ทศพลญาณ
 
 ๔๓. พระพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
 ก. ๒๙ พรรษา
 ข. ๓๕ พรรษา
 
ค. ๔๕ พรรษา
 ง. ๘๐ พรรษา
 
 ๔๔. หลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข กี่สัปดาห์ ?
 ก. ๕ สัปดาห์
 ข. ๖ สัปดาห์
 ค. ๗ สัปดาห์
 
ง. ๘ สัปดาห์
 
 ๔๕. สัปดาห์ที่ ๒ พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข ณ ที่ใด ?
 ก. ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
 ข. อนิมิสเจดีย์
 
ค. รัตนจงกรมเจดีย์
 ง. รัตนฆรเจดีย์
 
 ๔๖. ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธัควรปฏิบัติตนเช่นใด ?
  ก. ถวายทาน
 ข. รักษาศีล
 ค. เจริญจิตภาวนา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๗. พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานเข้าอยู่จำพรรษา เป็นเวลากี่เดือน ?
 ก. ๓ เดือน
 
ข. ๔ เดือน
 ค. ๕ เดือน
 ง. ๖ เดือน
 
 ๔๘. วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันในข้อใด ?
 ก. วันมาฆบูชา
 ข. วันเข้าพรรษา
 
ค. วันออกพรรษา
 ง. วันลอยกระทง
 
 ๔๙. พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันใด ?
 ก. วันเทโวโรหณะ
 
ข. วันมาฆะ
 ค. วันวิสาขะ
 ง. วันอาสาฬหะ
 
 ๕๐. พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ.เป็นคำอาราธนาอะไร ?
 ก. ศีล ๕
 ข. ศีล ๘
 ค. พระปริตร
 ง. พระธรรม

ให้เวลา ๕๐ นาที


ธรรมศึกษา ชั้นตรี

ปัญหาและเฉลย วิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย)

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑. ข้อใด เป็นบรรทัดในการเริ่มทำความดีของมนุษย์ทั้งหลาย ?
 ก. ศีล
 
ข. สมาธิ
 ค. ฌาน
 ง. ปัญญา
 
 ๒. ข้อใด ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ?
 ก. เศรษฐกิจดี
 ข. ประเทศมั่นคง
 ค. ไม่ละเมิดศีล
 
ง. ไม่มีสงคราม
 
 ๓. หลักธรรมใด เป็นข้อห้ามมิให้มนุษย์ประพฤติเบียดเบียนกันและกัน ?
 ก. เบญจศีล
 
ข. เบญจธรรม
 ค. ไตรภูมิ
 ง. ไตรสิกขา
 
 ๔. การสำรวมกายวาจามิให้ละเมิดข้อห้ามทั้ง ๕ เรียกว่าอะไร ?
 ก. ให้ทาน
 ข. รักษาศีล
 ค. เจริญกรรมฐาน
 ง. เจริญวิปัสสนา
 
 ๕. ศีล ๕ บัญญัติไว้สำหรับใคร ?
 ก. เด็ก
 ข. วัยรุ่น
 ค. ผูู้ใหญ่
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๖. การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ตรงกับคำใด ?
 ก. ปาณาติบาต
 
ข. อทินนาทาน
 ค. กาเมสุมิจฉาจาร
 ง. มุสาวาท


 ๗. ชีวิตของคนและสัตว์ล้วนมีค่า ควรรักษาไว้ด้วยการถือศีลข้อใด ?
 ก. ข้อที่ ๑
 
ข. ข้อที่ ๒
 ค. ข้อที่ ๓
 ง. ข้อที่ ๕
 
 ๘. ฆ่าใคร เป็นการละเมิดศีลข้อที่ ๑ ?
 ก. ฆ่าสัตว์
 ข. ฆ่าคน
 ค. ฆ่าตัวตาย
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๙. อะไรเป็นข้อห้ามของศีลข้อที่ ๑ ?
 ก. ฆ่า
 ข. ประทุษร้าย
 ค. ทรกรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๑๐. ทำให้เสียโฉม ในศีลข้อที่ ๑ จัดเข้าในความผิดใด ?
 ก. ฆ่า
 ข. ทำร้ายร่างกาย
 
ค. ทรกรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๑๑. คำว่า ทรกรรม เป็นข้อห้ามไม่ให้ทำผิดกับใคร ?
 ก. คนชรา
 ข. คนพิการ
 ค. สัตว์
 
ง. นักบวช
 
 ๑๒. ข้อใด เป็นการทำร้ายสัตว์เบียดเบียนสัตว์ตามศีลข้อที่ ๑ ?
 ก. ใช้งานหนัก
 ข. กักขัง
 ค. เล่นสนุก
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๑๓. ศีลข้อที่ ๒ บัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้ทำความผิดเรื่องใด ?
 ก. ทารุณกรรม
 ข. ฆาตกรรม
 ค. โจรกรรม
 
ง. ค้าประเวณี
 
 ๑๔. ลัก จี้ ปล้น ในศีลข้อที่ ๒ เป็นความผิดเรื่องใด ?
 ก. โจรกรรม
 
ข. อนุโลมโจรกรรม
 ค. ฉายาโจรกรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๑๕. กู้หนี้ไปแล้วไม่ยอมใช้คืนทั้งต้นและดอกเบี้ย ตรงกับข้อใด ?
 ก. ตู่
 ข. ฉ้อ
 ค. ตระบัด
 
ง. ยักยอก
 
 ๑๖. อสังหาริมทรัพย์ในศีลข้อที่ ๒ ตรงกับข้อใด ?
 ก. บ้าน
 
ข. รถยนต์
 ค. สัตว์เลี้ยง
 ง. เครื่องประดับ
 
 ๑๗. แอบนำสินค้าหนีภาษีเข้าประเทศ เรียกว่าอะไร ?
 ก. ลักลอบ
 
ข. สับเปลี่ยน
 ค. เบียดบัง
 ง. ยักยอก
 
 ฃ๑๘. ใช้เอกสารเท็จครอบครองที่ดินสาธารณะ จัดเข้าในข้อใด ?
 ก. ปลอม
 
ข. ลวง
 ค. หลอก
 ง. ตู่
 
 ๑๙. การกระทำในข้อใด เรียกว่า สมโจร ?
 ก. ส่วยสติ๊กเกอร์
 ข. ซื้อของโจร
 
ค. ค้าของเถื่อน
 ง. โกงค่าแรง
 
 ๒๐. การกระทำใด อนุโลมเข้าในโจรกรรม ?
 ก. ซื้อของโจร
 ข. ปอกลอก
 ค. รับสินบน
 
ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๒๑. ภรรยาสามีของใคร ใครก็รักก็สงวน เป็นข้อห้ามของศีลข้อใด ?
 ก. ข้อที่ ๑
 ข. ข้อที่ ๒
 ค. ข้อที่ ๓
 
ง. ข้อที่ ๔
 
 ๒๒. หญิงรับหมั้นไว้กับชาย อยู่ในพิทักษ์รักษาของใคร ?
 ก. พ่อแม่
 ข. กำนัน
 ค. ผูู้ใหญ่บ้าน
 ง. คู่หมั้น
 

 ๒๓. ชายที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติพระศาสนา ตรงกับข้อใด ?
 ก. ภิกษุ
 
ข. อุบาสก
 ค. อุบาสิกา
 ง. เด็กวัด

 ๒๔. ข้อใด เป็นความผิดเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศ ?
 ก. ปาณาติบาต
 ข. อทินนาทาน
 ค. กาเมสุมิจฉาจาร
 
ง. มุสาวาท
 
 ๒๕. คนทำผิดศีลข้อที่ ๓ เขาเรียกกันว่าอะไร ?
 ก. คนคบชู้
 
ข. คนโหดร้าย
 ค. คนโกง
 ง. คนเจ้าเล่ห์
 
 ๒๖. พูดโกหก เป็นข้อห้ามของศีลข้อใด ?
 ก. ข้อที่ ๑
 ข. ข้อที่ ๒
 ค. ข้อที่ ๓
 ง. ข้อที่ ๔

๒๗. ข้อใด เป็นผู้ลเสียของการทำผู้ิดศีลข้อที่ ๔ ?
 ก. ขาดความเชื่อถือ
 
ข. ขาดสติ
 ค. ขาดเมตตา
 ง. ขาดความอดทน
 
 ๒๘. พลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ พูดเหน็บให้เจ็บใจ ตรงกับข้อใด ?
 ก. อำความ
 ข. เสียดแทง
 
ค. เสริมความ
 ง. สับปลับ
 
 ๒๙. รู้บอกว่าไม่รู้ เห็นบอกว่าไม่เห็น เป็นมุสาประเภทใด ?
 ก. ปด
 
ข. เสียสัตย์
 ค. เสริมความ
 ง. สับปลับ
 
 ๓๐. คำพูดประเภทใด ไม่ถือเป็นความผิดตามศีลข้อที่ ๔ ?
 ก. คืนคำ
 ข. ทนสาบาน
 ค. โวหาร
 
ง. เสียสัตย์
 
 ๓๑. เทเหล้า เผู้าบุหรี่ ทำความดีถวายในหลวง เกี่ยวข้องกับศีลข้อใด ?
 ก. ข้อที่ ๑
 ข. ข้อที่ ๒
 ค. ข้อที่ ๓
 ง. ข้อที่ ๕
 
 
๓๒. การรักษาศีลข้อที่ ๕ ต้องงดเว้นอะไร ?
 ก. เหล้า
 ข. กัญชา
 ค. ใบกระท่อม
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๓๓. ข้อใด จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวในการละเมิดศีลไม่ได้ ?
 ก. เมาสุรา
 
ข. ป้องกันตัว
 ค. วิกลจริต
 ง. บันดาลโทสะ
 
  ๓๔. ความตั้งใจงดเว้นจากการละเมิดศีล เรียกว่าอะไร ?
 ก. ศีล
 ข. วิรัติ
 
ค. ปฏิบัติ
 ง. ปฏิเวธ
 
 ๓๕. แม้ไม่ได้รับศีลจากพระ ก็ไม่เคยละเมิดศีล ตรงกับวิรัติใด ?
 ก. สัมปัตตวิรัติ
 
ข. สมาทานวิรัติ
 ค. สมุจเฉทวิรัติ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๓๖. บุคคลในข้อใด แม้สละชีวิตก็ไม่ละเมิดศีลโดยเด็ดขาด ?
 ก. ปุถุชน
 ข. อริยบุคคล
 
ค. คนทุศีล
 ง. ขุนศึก
 
 ๓๗. เบญจธรรม กำหนดให้ปฏิบัติควบคู่กับศีลอะไร ?
 ก. ศีล ๕
 
ข. ศีล ๘
 ค. ศีล ๑๐
 ง. ศีล ๒๒๗
 
 ๓๘. เบญจธรรมข้อใด ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข และไม่ฝันร้าย ?
 ก. เมตตา กรุณา
 
ข. สัมมาอาชีวะ
 ค. กามสังวร
 ง. สัจจะ
 
 ๓๙. การช่วยเหลือสัตว์บาดเจ็บ จัดเข้าในเบญจธรรมข้อใด ?
 ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 
ค. สัมมาอาชีวะ
 ง. สัจจะ
 
 ๔๐. เบญจธรรมข้อใด ส่งเสริมการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ?
 ก. สัมมาอาชีวะ
 
ข. กามสังวร
 ค. สัจจะ
 ง. สติสัมปชัญญะ
 
 ๔๑. ลูกจ้างมีวินัย ตรงต่อเวลา รักษาคำพูด เป็นความชอบธรรมในเรื่องใด ?
 ก. กิจการ
 ข. บุคคล
 
ค. วัตถุ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 ๔๒. เบญจธรรมข้อใด เป็นข้อปฏิบัติคู่กับศีลข้อที่ ๓ ?
 ก. เมตตา
 ข. สัจจะ
 ค. กามสังวร
 
ง. สติสัมปชัญญะ
 
 ๔๓. เบญจธรรมข้อที่ ๓ เป็นผู้ลดีแก่ภรรยาสามีอย่างไร ?
 ก. เมตตาต่อกัน
 ข. ไว้วางใจกัน
 
ค. กตัญญููต่อกัน
 ง. ภักดีต่อกัน
 
 ๔๔. ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง หมายถึงเบญจธรรมข้อใด ?
 ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 ค. กามสังวร
 ง. สัจจะ
 
 
๔๕. ข้อใด เป็นคุณลักษณะของคนมีสัจจะ ?
 ก. เที่ยงธรรม
 ข. กตัญญูู
 ค. ภักดี
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๔๖. เจ้าหน้าที่กลัวอิทธิพล ขาดความเที่ยงธรรม เพราะตกอยู่ในอคติใด ?
 ก. ฉัันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 ค. ภยาคติ
 
ง. โมหาคติ
 
 ๔๗. เบญจธรรมข้อใด ทำให้เกิดความรอบคอบและไม่ประมาท ?
 ก. สติสัมปชัญญะ
 
ข. สัมมาอาชีวะ
 ค. กามสังวร
 ง. สัจจะ
 
 ๔๘. คนตั้งใจทำบุญไหว้พระตักบาตรทุกวัน มีความรอบคอบในเรื่องใด ?
 ก. การบริโภค
 ข. โลกธรรม
 ค. การทำงาน
 ง. การปฏิบัติธรรม
 
 
๔๙. เบญจศีลเบญจธรรม มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศด้านใด ?
  ก. คุณธรรม
 ข. เศรษฐกิจ
 ค. การปกครอง
 ง. ถูกทุกข้อ
 
 
๕๐. การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรมมีผู้ลดีต่อประเทศชาติอย่างไร ?
 ก. มั่นคง
 ข. มั่งคั่ง
 ค. ยั่งยืน
 ง. ถูกทุกข้อ

ให้เวลา ๕๐ นาที