ธรรมศึกษา เอก มัธยม พ.ศ. ๒๕๖๗

ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ระดับมัธยมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

นิทฺทาสีลี สภาสีลี   อนุฏฺฐาตา จโย นโร

อลโส โกธปญฺญาโณ    ตํ ปราภวโต มุขํ.

คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน
มีความมุทะลุ ข้อนั้นเป็นเหตุของคนเสื่อม.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดมาให้ จำนวน ๖ สุภาษิตข้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๓ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง

ในชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

——————-

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

อปฺปฺมาทรตา โหถ   สจิตตมนุรกฺขถ

ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตาน     ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.

ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น. 

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺณเมน ทเมน จ

ทีปํ กยิราถ เมธาวี    ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.

คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.   

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

ชีวเตวาปี สปฺปญฺโญ      อปี วิตฺตปริกฺขยา

ปญฺญาย จ อลาเภน      วิตฺตวาปิ น ชีวติ.

ถึงสิ้นทรัพย์ คนมีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย เถรคาถา

โย จ วสฺสสตํ ชีเว   ทุปปญฺโญ อสมาหิโต

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า.  

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

ปริตฺตํ ทารุมารุยฺห     ยถา สีเท มหณฺณเว

เอวํ กุสีตมาคมฺม     สาธุชีวีปิ สีทติ.

คนเกาะไม้ฟืนเล็กๆ พึงจมลงในทะเลฉันใด คนมั่งมีอาศัย
ความเกียจคร้านก็ล่มจมฉันนั้น.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย เถรคาถา

อสาเร สารมติโน    สาเร จาสารทสุสิโน

เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ    มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.

ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระ
ว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม

ระดับมัธยมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. วุฑฒิ แปลว่าอะไร ?
 ก. ความเจริญ
 ข. ความคงที่
 ค. ความสุข
 ง. ความสบาย
 ๒. คบคนดีฟัง วจีเคารพ นอบนบด้วยพินิจ ทำกิจด้วยปฏิบัติ คือข้อใด ?
 ก. วุฑฒิ ๔
 
ข. จักร ๔
 ค. อคติ ๔
 ง. อิทธิบาท ๔
 ๓. ธรรมที่เป็นเสมือนล้อรถนําไปสู่จุดหมาย ได้แก่ข้อใด ?
 ก. วุฑฒิ ๔
 ข. จักร ๔
 
ค. อคติ ๔
 ง. อิทธิบาท ๔
 ๔. ข้อใด เป็นความหมายของ ปุพเพกตปุญญตา ?
 ก. สร้างบุญมาดี
 
ข. คบบุคคลดี
 ค. ตั้งตนชอบ
 ง. อยู่ในปฏิรูประเทศ
 ๕. ลำเอียงเพราะโง่เขลา เรียกว่าอะไร ?
 ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 
ง. ภยาคติ
 ๖. จะแก้ความลำเอียงเพราะโง่เขลาได้ ด้วยหลักธรรมใด ?
 ก. สติ
 ข. ปัญญา
 
ค. ศรัทธา
 ง. ขันติ
 ๗. กิเลสหรืออกุศลที่ครอบงำจิตไม่ให้บรรลุถึงความดี เรียกว่าอะไร ?
 ก. อกุศลมูล
 ข. นิวรณ์
 
ค. อคติ
 ง. ทุจริต
 ๘. ผู้ที่ถูกกามฉันท์ครอบงำ ควรแก้ด้วยการเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. อสุภะ
 
ข. พรหมวิหาร
 ค. อนุสสติ
 ง. มรณัสสติ
 ๙. ผู้ที่ถูกพยาบาทครอบงำจิต ควรแก้ด้วยการเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. อสุภะ
 ข. พรหมวิหาร
 
ค. อนุสสติ
 ง. มรณัสสติ
 ๑๐. บุคคลที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ ควรแก้ด้วยการเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. อสุภะ
 ข. พรหมวิหาร
 ค. อนุสสติ
 
ง. มรณัสสติ
 ๑๑. อะไรไม่จัดอยู่ในขันธ์ ๕ ?
 ก. รูป
 ข. เวทนา
 ค. สัญญา
 ง. นิพพาน
 
๑๒. ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกาย เรียกว่าอะไร ?
 ก. รูป
 
ข. เวทนา
 ค. สังขาร
 ง. วิญญาณ
 ๑๓. วิญญาณในขันธ์ ๕ หมายถึงข้อใด ?
 ก. ภูตผี
 ข. ปีศาจ
 ค. ความจํา
 ง. ความรู้อารมณ์
 
๑๔. ความสบายใจในเวทนา ๕ หมายถึงข้อใด ?
 ก. สุข
 ข. ทุกข์
 ค. โสมนัส
 
ง. โทมนัส
 ๑๕. จริตของมนุษย์ในโลกนี้ มีกี่ประเภท ?
 ก. ๒ ประเภท
 ข. ๔ ประเภท
 ค. ๖ ประเภท
 
ง. ๘ ประเภท
 ๑๖. บุคคลติดสวยติดงาม จัดได้ว่ามีจริตใด ?
 ก. ราคจริต
 
ข. โทสจริต
 ค. โมหจริต
 ง. สัทธาจริต
 ๑๗. บุคคลมีราคจริต ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. อนุสสติ
 ข. กสิณ
 ค. อสุภะ
 
ง. พรหมวิหาร
 ๑๘. บุคคลมีนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย จัดเป็นบุคคลจริตใด ?
 ก. ราคจริต
 ข. โทสจริต
 
ค. โมหจริต
 ง. สัทธาจริต
 ๑๙. บุคคลมีโทสจริต ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. พรหมวิหาร
 
ข. กายคตาสติ
 ค. อสุภะ
 ง. อนุสสติ
 ๒๐. บุคคลเชื่อง่าย จัดเป็นบุคคลจริตใด ?
 ก. วิตักกจริต
 ข. โทสจริต
 ค. สัทธาจริต
 
ง. พุทธิจริต
 ๒๑. บุคคลมีสัทธาจริต ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. พรหมวิหาร
 ข. กายคตาสติ
 ค. อสุภะ
 ง. พุทธานุสสติ
 
๒๒. คําว่า ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม เป็นคุณของรัตนะใด ?
 ก. พระพุทธ
 ข. พระธรรม
 
ค. พระสงฆ์
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๓. พระธรรมคุณข้อว่า สันทิฏฐิโก หมายถึงข้อใด ?
 ก. ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตัวเอง
 
ข. รู้เฉพาะตน
 ค. เรียกให้มาดู
 ง. น้อมมาในตน
 ๒๔. พระธรรมที่จะเป็นสันทิฏฐิโกได้ ต้องเป็นธรรมประเภทใด ?
 ก. ตรัสไว้ดีแล้ว
 
ข. ไม่ได้ตรัสไว้
 ค. สาวกแสดง
 ง. เกจิแสดง
 ๒๕. เอหิปัสสิโก หมายถึงเรียกให้มาดูธรรมประเภทใด ?
 ก. ส๎วากขาโต
 
ข. สันทิฏฐิโก
 ค. อกาลิโก
 ง. โอปนยิโก

 ๒๖. การบูชาเจติยสถาน จัดเข้าในหลักธรรมใด ?
 ก. วุฑฒิธรรม
 ข. จักรธรรม
 ค. สาราณิยธรรม
 ง. อปริหานิยธรรม
 
๒๗. สัมมาทิฏฐิในมรรค ๘ มีกี่ระดับ ?
 ก. ๒
 
ข. ๓
 ค. ๔
 ง. ๕
 ๒๘. สัมมาสติ ความระลึกชอบ หมายถึงระลึกชอบในอะไร ?
 ก. สติปัฏฐาน ๔
 
ข. อิทธิบาท ๔
 ค. รูปฌาน ๔
 ง. อรูปฌาน ๔
 ๒๙. ผู้ที่จะบรรลุโสดาบันได้ ต้องมีสัมมาสติในองค์ธรรมข้อใด ?
 ก. สติปัฏฐาน ๔
 
ข. อิทธิบาท ๔
 ค. รูปฌาน ๔
 ง. อรูปฌาน ๔
 ๓๐. สัมมาสมาธิ หมายถึงสมาธิระดับใด ?
 ก. ทุติยฌาน
 ข. ตติยฌาน
 ค. จตุตถฌาน
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๑. บทว่า อะระหัง เป็นบทแสดงคุณของข้อใด ?
 ก. พระพุทธ
 ข. พระธรรม
 
ค. พระสงฆ์
 ง. พระรัตนตรัย
 ๓๒. ความรู้คู่คุณธรรม เป็นความหมายของพุทธคุณบทใด ?
 ก. ภควา
 ข. สุคโต
 ค. พุทโธ
 ง. วิชชาจรณสัมปันโน
 
๓๓. ข้อใด มีความหมายว่าทรงฝึกได้เฉพาะบุคคลที่ควรฝึก ?
 ก. ปุริสทัมมสารถิ
 
ข. สุคโต
 ค. พุทโธ
 ง. สัตถา เทวมนุสสานัง
 ๓๔. พุทธคุณบทใด เป็นข้อยืนยันว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นครูผู้ชี้ทาง ?
 ก. ปุริสทัมมสารถิ
 ข. สุคโต
 ค. พุทโธ
 ง. สัตถา เทวมนุสสานัง
 
๓๕. พุทธคุณบทใด ได้รับการอ้างอิงเป็นสื่อในการสอนมากที่สุด ?
 ก. ปุริสทัมมสารถิ
 
ข. สุคโต
 ค. พุทโธ
 ง. สัตถา เทวมนุสสานัง
 ๓๖. สังฆคุณ บทว่า สุปฏิปันโน แปลว่าอะไร ?
 ก. ปฏิบัติดี
 
ข. ปฏิบัติตรง
 ค. ปฏิบัติเป็นธรรม
 ง. ปฏิบัติสมควร
 ๓๗. สังฆคุณบทว่า อุชุปฏิปันโน แปลว่าอะไร ?
 ก. ปฏิบัติดี
 ข. ปฏิบัติตรง
 
ค. ปฏิบัติเป็นธรรม
 ง. ปฏิบัติสมควร
 ๓๘. สังฆคุณบทว่า ญายปฏิปันโน แปลว่าอะไร ?
 ก. ปฏิบัติดี
 ข. ปฏิบัติตรง
 ค. ปฏิบัติเป็นธรรม
 
ง. ปฏิบัติสมควร
 ๓๙. สังฆคุณบทว่า สามีจิปฏิปันโน แปลว่าอะไร ?
 ก. ปฏิบัติดี
 ข. ปฏิบัติตรง
 ค. ปฏิบัติเป็นธรรม
 ง. ปฏิบัติสมควร
 
๔๐. สังฆคุณบทว่า ทักขิเณยโย แปลว่าอะไร ?
 ก. ปฏิบัติดี
 ข. ปฏิบัติตรง
 ค. ควรของคํานับ
 ง. ผู้ควรของทำบุญ
 
๔๑. การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จัดเป็นการบําเพ็ญบารมีใด ?
 ก. ทานบารมี
 
ข. สีลบารมี
 ค. วิริยบารมี
 ง. สัจจบารมี
 ๔๒. การรักษาศีลข้อที่ ๑ จัดเป็นการบําเพ็ญบารมีใด ?
 ก. ทานบารมี
 ข. สีลบารมี
 
ค. วิริยบารมี
 ง. สัจจบารมี
 ๔๓. ในสถานการณ์ที่ชาวบ้านประสบภัยพิบัติ ควรบําเพ็ญบารมีใด ?
 ก. ทานบารมี
 
ข. สีลบารมี
 ค. วิริยบารมี
 ง. เนกขัมมบารมี
 ๔๔. ในสังคมโซเชียลปัจจุบัน ต้องการผู้บําเพ็ญบารมีใดมากที่สุด ?
 ก. ทานบารมี
 ข. สีลบารมี
 ค. วิริยบารมี
 ง. สัจจบารมี
 
๔๕. บําเพ็ญบารมีใด จึงจะไม่หลงเชื่อข้อมูลข่าวสารปลอม ?
 ก. ทานบารมี
 ข. สีลบารมี
 ค. ปัญญาบารมี
 
ง. สัจจบารมี
 ๔๖. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ เรียกว่าอะไร ?
 ก. บุญ
 ข. บุญกิริยา
 ค. บุญกุศล
 ง. บุญกิริยาวัตถุ
 
๔๗. บุญกิริยาวัตถุข้อใด ส่งเสริมบุคคลให้รักษาศีลข้อ ๒ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ?
 ก. ทานมัย
 
ข. อปจายนมัย
 ค. เวยยาวัจจมัย
 ง. ปัตติทานมัย
 ๔๘. สีลมัยเป็นบันไดขั้นที่เท่าไร ของบุญกิริยาวัตถุ ?
 ก. ๒
 
ข. ๓
 ค. ๔
 ง. ๕
 ๔๙. สีลมัยเป็นบันไดส่งต่อให้บําเพ็ญบุญกิริยาวัตถุใดได้สมบูรณ์?
 ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 
ง. ปัตติทานมัย
 ๕๐. บุญกิริยาวัตถุใด เปรียบเสมือนพวงมาลัยบังคับเรือให้แล่นตรงทาง ?
 ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 ง. ทิฏฐุชุกัมม์


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา อนุพุทธประวัติ

ระดับมัธยมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. สามเณรบัณฑิต เป็นชาวเมืองใด ?
 ก. สาวัตถี
 
ข. กบิลพัสดุ์
 ค. ราชคฤห์
 ง. พาราณสี
 ๒. มารดาของสามเณรบัณฑิต มีความเคารพนับถือพระเถระใด ?
 ก. พระอัสสชิ
 ข. พระสีวลี
 ค. พระสารีบุตร
 
ง. พระโมคคัลลานะ
 ๓. สามเณรบัณฑิตบรรพชา เมื่ออายุกี่ขวบ ?
 ก. ๕ ขวบ
 ข. ๗ ขวบ
 
ค. ๙ ขวบ
 ง. ๑๒ ขวบ
 ๔. เทวดาใด มาอารักขาสามเณรบัณฑิตขณะปฏิบัติสมณธรรม ?
 ก. พระอินทร์
 ข. ท้าวมหาราช
 ค. จันทเทพและสุริยเทพ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๕. เหล่าเทวดามาอารักขาสามเณรบัณฑิต เพื่อให้บรรลุอะไร ?
 ก. ฌาน
 ข. สมาบัติ
 ค. อภิญญา
 ง. มรรคผล
 
๖. สามเณรสังกิจจะ เกิดในตระกูลใด ?
 ก. พราหมณ์
 ข. เศรษฐี
 
ค. พ่อค้า
 ง. ชาวนา
 ๗. เมื่อสัปเหร่อเผาร่างมารดาสามเณรสังกิจจะ ไฟไม่ไหม้อวัยวะส่วนใด ?
 ก. ศีรษะ
 ข. หน้าอก
 ค. ท้อง
 
ง. เท้า
 ๘. สามเณรสังกิจจะไม่เสียชีวิตในขณะถูกไฟเผา เพราะเหตุใด ?
 ก. ฟืนหมด
 ข. ไฟดับก่อน
 ค. ฝนตกหนัก
 ง. เกิดภพสุดท้าย
 
๙. สามเณรสังกิจจะ ถูกหลาวเหล็กแทงส่วนไหนบนใบหน้า ?
 ก. หางตา
 
ข. หน้าผาก
 ค. จมูก
 ง. แก้ม
 ๑๐. พระเถระใด เป็นอุปัชฌาย์บวชให้สามเณรสังกิจจะ ?
 ก. พระสารีบุตร
 
ข. พระโมคคัลลานะ
 ค. พระอานนท์
 ง. พระอนุรุทธะ
 ๑๑. สามเณรสังกิจจะบรรลุอรหัตตผลพร้อมปฏิสัมภิทาในขณะใด ?
 ก. ฟังธรรม
 ข. อุปัฏฐากอาจารย์
 ค. กวาดพื้น
 ง. ปลงผมเสร็จ
 
๑๒. สุขสามเณร เกิดในตระกูลที่อุปัฏฐากพระเถระใด ?
 ก. พระอัสสชิ
 ข. พระสารีบุตร
 
ค. พระโมคคัลลานะ
 ง. พระอานนท์
 ๑๓. ใครเป็นผู้ตั้งชื่อว่า สุข ให้แก่สุขสามเณร ?
 ก. บิดามารดา
 
ข. พระสารีบุตร
 ค. หมอดู
 ง. พราหมณ์
 ๑๔. สุขสามเณร บรรพชาขณะมีอายุเท่าไร ?
 ก. ๗ ขวบ
 
ข. ๘ ขวบ
 ค. ๑๐ ขวบ
 ง. ๑๕ ขวบ
 ๑๕. อาสนะของพระอินทร์เกิดร้อน ในขณะสุขสามเณรจะทำกิจใด ?
 ก. บิณฑบาต
 ข. ฉันอาหาร
 ค. กวาดพื้น
 ง. บําเพ็ญสมณธรรม
 
๑๖. สุขสามเณร สําเร็จอรหัตตผลในเวลาใด ?
 ก. เช้าตรู่
 ข. ก่อนฉันอาหาร
 
ค. หลังเที่ยงวัน
 ง. พลบค่ำ
 ๑๗. สามเณรวนวาสีติสสะ เป็นชาวเมืองใด ?
 ก. ราชคฤห์
 ข. กบิลพัสดุ์
 ค. สาวัตถี
 
ง. พาราณสี
 ๑๘. สามเณรวนวาสีติสสะบรรพชา ขณะมีอายุเท่าไร ?
 ก. ๗ ขวบ
 
ข. ๘ ขวบ
 ค. ๑๐ ขวบ
 ง. ๑๕ ขวบ
 ๑๙. ใครเป็นผู้สอนกรรมฐานให้แก่สามเณรวนวาสีติสสะ ?
 ก. พระพุทธเจ้า
 
ข. พระสารีบุตร
 ค. พระโมคคัลลานะ
 ง. พระอานนท์
 ๒๐. สามเณรได้ชื่อว่า วนวาสีติสสะ เพราะมีปกติอยู่ในที่ใด ?
 ก. ป่า ข. ถ้ำ
 ค. บ้านง. วัด
 ๒๑. สามเณรสุมนะ เคยเป็นอะไรกับพระอนุรุทธะในอดีตชาติ?
 ก. บิดา
 ข. มารดา
 ค. สหาย
 
ง. พี่น้อง
 ๒๒. สามเณรสุมนะบรรพชาขณะ มีอายุเท่าไร ?
 ก. ๕ ขวบ
 ข. ๗ ขวบ
 
ค. ๙ ขวบ
 ง. ๑๒ ขวบ
 ๒๓. สามเณรสุมนะ ไปสระอโนดาตด้วยวิธีใด ?
 ก. เดินไป
 ข. เหาะไป
 
ค. นั่งเกวียนไป
 ง. ขี่ม้าไป
 ๒๔. อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นชาวเมืองใด ?
 ก. พาราณสี
 ข. กบิลพัสดุ์
 ค. ราชคฤห์
 ง. สาวัตถี
 
๒๕. อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีชื่อเดิมว่าอะไร ?
 ก. ตปุสสะ
 ข. ภัลลิกะ
 ค. สุทัตตะ
 
ง. อชิตะ

 ๒๖. อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังอนุปุพพิกถาแล้ว เป็นอริยบุคคลชั้นใด?
 ก. โสดาบัน
 
ข. สกทาคามี
 ค. อนาคามี
 ง. อรหันต์
 ๒๗. วัดที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายชื่ออะไร ?
 ก. เวฬุวัน
 ข. เชตวัน
 
ค. ลัฏฐิวัน
 ง. อัมพวัน
 ๒๘. อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายด้านใด ?
 ก. ผู้เป็นทายก
 
ข. ผู้มีปัญญา
 ค. ผู้มีฤทธิ์
 ง. ผู้เป็นธรรมกถึก
 ๒๙. จิตตคฤหบดีศรัทธาเลื่อมใสพระเถระใด ในปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ?
 ก. โกณฑัญญะ
 ข. วัปปะ
 ค. มหานามะ
 
ง. อัสสชิ
 ๓๐. วัดที่จิตตคฤหบดีสร้างถวาย ชื่อว่าอะไร ?
 ก. เวฬุวัน
 ข. อัมพวัน
 ค. ลัฏฐิวัน
 ง. อัมพาฏกวัน
 
๓๑. จิตตคฤหบดีได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายด้านใด ?
 ก. ผู้เป็นทายก
 ข. ผู้มีปัญญา
 ค. ผู้มีฤทธิ์
 ง. ผู้เป็นธรรมกถึก
 
๓๒. ธัมมิกอุบาสก หมายถึงอุบาสกผู้มีปกติเช่นไร ?
 ก. ผู้อุปัฏฐาก
 ข. ผู้เป็นทายก
 ค. ผู้สร้างวัด
 ง. ผู้ปฏิบัติธรรม
 
๓๓. พระสงฆ์สวดสาธยายพระสูตรชื่อว่าอะไร แก่ธัมมิกอุบาสก ?
 ก. อนัตตลักขณสูตร
 ข. มงคลสูตร
 ค. รัตนสูตร
 ง. สติปัฏฐานสูตร
 
๓๔. นางวิสาขา เกิดในตระกูลใด ?
 ก. กษัตริย์
 ข. พราหมณ์
 ค. เศรษฐี
 
ง. ชาวนา
 ๓๕. บิดาของนางวิสาขา ชื่อว่าอะไร ?
 ก. ธนัญชัย
 
ข. สุมนะ
 ค. เมณฑกะ
 ง. สุทัตตะ
 ๓๖. เครื่องประดับชนิดพิเศษของนางวิสาขา ชื่อว่าอะไร ?
 ก. หิรัญญปสาธน์
 ข. มหาลดาปสาธน์
 
ค. รัตนปสาธน์
 ง. สุวรรณปสาธน์
 ๓๗. นางวิสาขา สําเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นใด ?
 ก. โสดาบัน
 
ข. สกทาคามี
 ค. อนาคามี
 ง. อรหันต์
 ๓๘. นางวิสาขาได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายด้านใด ?
 ก. มีปัญญามาก
 ข. มีฤทธิ์มาก
 ค. ผู้เป็นธรรมกถึก
 ง. ผู้เป็นทายิกา
 
๓๙. พระนางมัลลิกาเทวี เป็นอัครมเหสีของกษัตริย์พระองค์ใด ?
 ก. สุทโธทนะ
 ข. ปเสนทิโกศล
 
ค. พิมพิสาร
 ง. อชาตศัตรู
 ๔๐. ทานที่ไม่มีผู้ใดเหมือน พระนางมัลลิกาเทวีทำถวาย ชื่อว่าอะไร ?
 ก. ปาฏิบุคลิกทาน
 ข. สังฆทาน
 ค. ไทยทาน
 ง. อสทิสทาน
 
๔๑. พิธีทำบุญเลี้ยงพระ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด ?
 ก. ก่อนพุทธกาล
 ข. พุทธกาล
 
ค. อยุธยา
 ง. รัตนโกสินทร์
 ๔๒. พิธีทำบุญเลี้ยงพระ คือการนิมนต์พระสงฆ์มาทำกิจใด ?
 ก. สวดมนต์
 ข. ฉันอาหาร
 ค. ถวายทาน
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๓. พระสงฆ์ที่นิมนต์มาในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ นิยมจำนวนกี่รูป ?
 ก. ๕ รูป
 ข. ๗ รูป
 ค. ๙ รูป
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๔. อามิสทาน หมายถึงการให้ทานประเภทใด ?
 ก. ให้ความรู้
 ข. ให้อภัย
 ค. ให้วัตถุสิ่งของ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๕. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องทานประเภทใด ว่ามีอานิสงส์มาก ?
 ก. ปาฏิบุคลิกทาน
 ข. สังฆทาน
 
ค. อภัยทาน
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๖. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีขึ้นครั้งแรกในยุคใด ?
 ก. ก่อนพุทธกาล
 ข. พุทธกาล
 ค. อยุธยา
 ง. รัตนโกสินทร์
 
๔๗. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือพิธียอมรับนับถืออะไรเป็นสรณะ ?
 ก. พระรัตนตรัย
 
ข. เทพเจ้า
 ค. บรรพบุรุษ
 ง. ธรรมชาติ
 ๔๘. เครื่องบูชาสักการะเพื่อแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือวัตถุประเภทใด ?
 ก. ผ้าบังสุกุล
 ข. ไตรจีวร
 ค. หมากพลู
 ง. ดอกไม้ธูปเทียน
 
๔๙. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พึงแสดงต่อหน้าบุคคลใด ?
 ก. พ่อแม่
 ข. ครูอาจารย์
 ค. พระสงฆ์
 
ง. พระมหากษัตริย์
 ๕๐. นักเรียนพึงแต่งชุดเช่นใด เพื่อเข้าร่วมพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ?
 ก. ชุดนักเรียน
 
ข. ชุดขาวดำ
 ค. ชุดกีฬา
 ง. ชุดแฟชั่น


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา กรรมบถ (วินัย)

ระดับมัธยมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องใด ?
 ก. กรรม
 
ข. แก้กรรม
 ค. ขมากรรม
 ง. เชื่อมกรรม
 ๒. ข้อใด ทำให้สัตว์โลกเกิดมามีความแตกต่างกัน ?
 ก. เชื้อชาติ
 ข. ผลกรรม
 
ค. ดวงชะตา
 ง. ยศศักดิ์
 ๓. ข้อใด เป็นต้นเหตุให้บาปบุญเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทั้งหลาย ?
 ก. ฐานะ
 ข. การศึกษา
 ค. ตระกูล
 ง. การกระทำ
 
๔. การทำกรรมดีของมนุษย์ทั้งหลาย เรียกว่าอะไร ?
 ก. เวรกรรม
 ข. บาปกรรม
 ค. อกุศลกรรม
 ง. กุศลกรรม
 
๕. การทำกรรมชั่วของมนุษย์ทั้งหลาย เรียกว่าอะไร ?
 ก. ผลกรรม
 ข. บุญกรรม
 ค. อกุศลกรรม
 
ง. กุศลกรรม
 ๖. กรรมนําสัตว์ทั้งหลายไปสู่ทุคติและสุคติเรียกว่าอะไร ?
 ก. กรรมวิบัติ
 ข. กรรมบถ
 
ค. กรรมเวร
 ง. กรรมกิเลส
 ๗. มนุษย์พึงดำเนินไปสู่ทางแห่งความดี ทางแห่งความดีคืออะไร ?
 ก. กุศลจิต
 ข. กุศลมูล
 ค. กุศลกรรมบถ
 
ง. กุศลธรรม
 ๘. มนุษย์ไม่พึงดำเนินไปสู่ทางแห่งความชั่ว ทางแห่งความชั่วคืออะไร ?
 ก. อกุศลจิต
 ข. อกุศลมูล
 ค. อกุศลกรรมบถ
 
ง. อกุศลธรรม
 ๙. ตอนเป็นมนุษย์ทำแต่ความดี เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในที่ใด ?
 ก. สวรรค์
 
ข. นรก
 ค. อบายภูมิ
 ง. เปรตวิสัย
 ๑๐. ตอนเป็นมนุษย์ก่อกรรมทำชั่ว เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในที่ใด ?
 ก. มนุษย์
 ข. นรก
 
ค. สวรรค์
 ง. พรหมโลก
 ๑๑. มนุษย์ทั้งหลายทำแต่เรื่องผิดศีลธรรม เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
 ก. โลภ
 ข. โกรธ
 ค. หลง
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๒. การใช้ร่างกายทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว เรียกว่าอะไร ?
 ก. กายกรรม
 
ข. กุศลกรรม
 ค. กรรมบถ
 ง. กรรมวิบัติ
 ๑๓. การใช้ปากพูดถึงเรื่องดีหรือเรื่องชั่ว เรียกว่าอะไร ?
 ก. มุสาวาท
 ข. กายกรรม
 ค. วจีกรรม
 
ง. มโนกรรม
 ๑๔. การใช้ใจคิดถึงเรื่องดีหรือเรื่องชั่ว เรียกว่าอะไร ?
 ก. มโนทัศน์
 ข. มโนธรรม
 ค. มโนกรรม
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๕. ปาณาติบาต คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นความชั่วทางใด ?
 ก. ทางกาย
 
ข. ทางวาจา
 ค. ทางใจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๖. ผรุสวาจา คือพูดคําหยาบคาย เป็นความชั่วทางใด ?
 ก. ทางกาย
 ข. ทางวาจา
 
ค. ทางใจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๗. พยาบาท คืออาฆาตจองเวรผู้อื่น เป็นความชั่วทางใด ?
 ก. ทางกาย
 ข. ทางวาจา
 ค. ทางใจ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๘. ข้อใด แค่คิดอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ ?
 ก. ฆ่าสัตว์
 
ข. จองเวร
 ค. อิจฉา
 ง. ละโมบ
 ๑๙. ข้อใด เพียงแค่คิดในใจ ก็ถือว่าก่อกรรมทำเวรแล้ว ?
 ก. ลักขโมย
 ข. พยาบาท
 
ค. โกหก
 ง. ล้างผลาญ
 ๒๐. คนหรือสัตว์ต่างก็รักชีวิตของตน ทำให้เกิดกุศลกรรมบถข้อใด ?
 ก. เว้นฆ่าสัตว์
 
ข. เว้นลักขโมย
 ค. เว้นโกหก
 ง. เว้นส่อเสียด
 ๒๑. ข้อใด เข้าลักษณะการทำบาปข้อปาณาติบาต ?
 ก. คิดจะขโมย
 ข. คิดจะโกหก
 ค. คิดจะฆ่า
 
ง. คิดจะด่า
 ๒๒. การฆ่าสัตว์เป็นการก่อเวรให้ตนเอง ผู้กระทำย่อมได้รับผลใด ?
 ก. ตกนรก
 ข. ตกอบาย
 ค. อายุสั้น
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๓. คําว่า ถือเอา ในอทินนาทานหมายถึงถือเอาด้วยอาการใด ?
 ก. ขโมย
 
ข. ทำร้าย
 ค. โกรธ
 ง. อาฆาต
 ๒๔. ของมีเจ้าของ ถ้าเจ้าของไม่ให้ ใครนําไปเป็นความผิดใด ?
 ก. ฆ่าสัตว์
 ข. ลักทรัพย์
 
ค. พูดเท็จ
 ง. จองเวร
 ๒๕. นําของส่วนรวมไปใช้ส่วนตัว ไม่ยอมคืน ถือเป็นความผิดใด ?
 ก. เห็นแก่ตัว
 ข. หนีโรงเรียน
 ค. โกหกครู
 ง. ลักทรัพย์

 ๒๖. คนหากินทุจริตผิดศีลธรรม ตายไปต้องได้รับโทษสถานใด ?
 ก. ตกนรก
 
ข. ถูกธรณีสูบ
 ค. ปีนต้นงิ้ว
 ง. ปากเท่ารูเข็ม
 ๒๗. กาเมสุมิจฉาจาร คือการทำผิดศีลธรรมเรื่องใด ?
 ก. ยาเสพติด
 ข. กามารมณ์
 
ค. ลักขโมย
 ง. คอร์รัปชัน
 ๒๘. บุคคลต้องห้ามในการทำผิดกาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่ข้อใด ?
 ก. ลูกเขา
 ข. ภรรยาเขา
 ค. สามีเขา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๙. กาเมสุมิจฉาจารเป็นกรรมชั่ว ใครทำเป็นบาป ต้องได้รับโทษใด ?
 ก. ถูกกาจิกไส้
 ข. มีมือเท่าใบตาล
 ค. มีศัตรูคู่เวร
 
ง. วิกลจริต
 ๓๐. พูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เรียกว่าอะไร ?
 ก. พูดเท็จ
 
ข. พูดคําหยาบ
 ค. พูดส่อเสียด
 ง. พูดเพ้อเจ้อ
 ๓๑. พูดยุยงให้สังคมแตกแยก ขาดความสามัคคีเรียกว่าอะไร ?
 ก. พูดเท็จ
 ข. พูดส่อเสียด
 
ค. พูดคําหยาบ
 ง. พูดเพ้อเจ้อ
 ๓๒. พูดคะนองปากไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง เรียกว่าอะไร ?
 ก. พูดเท็จ
 ข. พูดส่อเสียด
 ค. พูดเพ้อเจ้อ
 
ง. พูดคําหยาบ
 ๓๓. คําหยาบคายทำให้ไม่เป็นที่รักของคนรอบข้าง ได้แก่ข้อใด ?
 ก. คําด่า
 
ข. คําสาปแช่ง
 ค. คําประชด
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๔. คนชอบโกหกเกลียดความจริง ควรปรับนิสัยตามข้อใด ?
 ก. งดพูดเท็จ
 
ข. งดพูดยุยง
 ค. งดพูดเหลวไหล
 ง. งดด่า
 ๓๕. นักเรียนควรพูดแต่ความจริง เพราะเกิดผลดีต่อตัวเองอย่างไร ?
 ก. มีคนเชื่อถือ
 ข. มีคนคบหา
 ค. มีคนเมตตา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๖. การโกหกเป็นกรรมชั่วเป็นบาป ผู้ตั้งใจงดเว้น ชื่อว่าตั้งอยู่ในอะไร ?
 ก. กายสุจริต
 ข. วจีสุจริต
 
ค. มโนสุจริต
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๗. ข้อใด เป็นกรรมชั่วเป็นบาปทางใจเท่านั้น ?
 ก. เมตตา
 ข. สงสาร
 ค. เห็นผิด
 
ง. เห็นถูก
 ๓๘. คิดเอาโทรศัพท์เพื่อนมาเป็นของตัว เป็นบาปตามข้อใด ?
 ก. พยาบาท
 ข. อภิชฌา
 
ค. ลักทรัพย์
 ง. เพ้อเจ้อ
 ๓๙. จิตอาฆาตผูกใจเจ็บมุ่งแก้แค้นเขา เป็นบาปเพราะเหตุใด ?
 ก. ขัดใจเรา
 ข. เขาไม่รู้ตัว
 ค. กลัวถูกฆ่า
 ง. ปิดกั้นความดี
 
๔๐. มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดจากคลองธรรม ได้แก่ข้อใด ?
 ก. ไม่ละชั่ว
 ข. ไม่กลัวบาป
 ค. ไม่ทำความดี
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๑. สัมมาทิฏฐิคือความเห็นถูกตามคลองธรรม ได้แก่ข้อใด ?
 ก. ทำบาปไม่ดี
 
ข. ทำบุญไม่ดี
 ค. เมตตาไม่ดี
 ง. กตัญญูไม่ดี
 ๔๒. อนภิชฌา คือไม่คิดอยากได้ของใคร ป้องกันไม่ให้คนทำกรรมชั่วใด ?
 ก. ปองร้าย
 ข. แก้แค้น
 ค. ลักขโมย
 
ง. ผูกอาฆาต
 ๔๓. คนดีไม่คิดละโมบอยากได้ของใคร เพราะในใจไม่มีกิเลสใด ?
 ก. โลภะ
 
ข. โทสะ
 ค. โมหะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๔. คนดีไม่ผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้นใคร เพราะในใจไม่มีกิเลสใด ?
 ก. โลภะ
 ข. โทสะ
 
ค. โมหะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๕. ครูผูกใจว่าจะลงโทษเด็กที่ทำผิด ไม่จัดเป็นพยาบาทเพราะเหตุใด ?
 ก. ให้กลับตัว
 ข. ให้เป็นคนดี
 ค. ให้เจริญ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๖. เมื่อเราผูกพยาบาทเพื่อน ใครได้รับความเสียหายก่อน ?
 ก. ตัวเรา
 
ข. เพื่อน
 ค. ครู
 ง. ผู้ปกครอง
 ๔๗. ผู้มีความพยาบาทอยู่ในใจควรทำอย่างไร เพื่อให้ชีวิตสงบสุข ?
 ก. เลิกคบ
 ข. เลิกเห็น
 ค. เลิกคุย
 ง. เลิกผูกเวร
 
๔๘. การทำความดีหรือทำบุญ ผู้ทำได้รับผลดีในปัจจุบันอย่างไร ?
 ก. เกิดในสุคติ
 ข. อยู่เป็นสุข
 
ค. เป็นเทวดา
 ง. เป็นพรหม
 ๔๙. กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
 ก. ทุจริต
 ข. สุจริต
 
ค. สุคติ
 ง. ทุคติ
 ๕๐. กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีประโยชน์แก่ผู้นําไปปฏิบัติอย่างไร ?
 ก. ละชั่ว
 ข. ทำดี
 ค. มีใจบริสุทธิ์
 ง. ถูกทุกข้อ