ธรรมศึกษา เอก อุดม พ.ศ. ๒๕๖๗

ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา     ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ

อายุ ขียติ มจฺจานํ      กุนฺนทีนํว โอทกํ.

วันคืนผ่านไป ชีวิตย่อมสิ้นไป อายุของสัตว์ย่อมปมดไป

เหมือนสายน้ำลำธารเล็กๆ แห้งหายไป ฉะนั้น

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย มหานิทเทส

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดมาให้ จำนวน ๖ สุภาษิตข้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๓ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง

ในชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

——————-

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

อติสีตํ อติอุณฺหํ      อติสายมิทํ อหุ

อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต     อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.

ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้าง ว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.        

คัมภีร์ที่มา : ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

ยาทิสํ วปเต พีชํ       ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ     ปาปการี จ ปาปกํ.

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว

คัมภีร์ที่มา : สังยตุ ตนิกาย สคาถวรรค

ทหรา จ มหนฺตา จ    เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา

สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ    สพฺเพ มจฺจุปรายนา.

ทั้งเด็ก ทั้งใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย
ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า 

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

ยถา วาริวโห ปูโร     วเห รุกฺเข ปกูกเช

เอวํ ชราย มรเณน     วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน.

        ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไป ฉันนั้น.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต

ยถา ทณฺเฑน โคปาโล    คาโว ปาเชติ โคจรํ

เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ     อายํฃ ปาเชนฺติ ปาณินํ.

ผู้เลี้ยงโค ย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไป ฉันนั้น   

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ     อนตฺถํ จรติ อตฺตโน

อตฺตโน จ ปเรสญฺจ      หึสาย ปฏิปชฺชติ.

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. นิพพิทา หมายถึงความหน่ายในเบญจขันธ์ด้วยอะไร ?
 ก. ปัญญา
 
ข. ความเข้าใจ
 ค. ความคิด
 ง. ความสนใจ
 ๒. ในส่วนปรมัตถปฏิปทา โลกโดยตรงหมายถึงอะไร ?
 ก. แผ่นดินเป็นที่อาศัย
 
ข. บ้าน
 ค. หมู่สัตว์
 ง. ที่อยู่อาศัย
 ๓. อาการที่เรียกว่า ผู้หมกอยู่ในโลก เป็นอย่างไร ?
 ก. เพลิดเพลิน
 ข. ระเริงหลง
 ค. ติดสิ่งล่อใจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔. รูป เสียง กลิ่น รส อันน่าใคร่น่าปรารถนา เรียกว่าอะไร ?
 ก. วัตถุกาม
 
ข. กิเลสกาม
 ค. อุปสรรค
 ง. สิ่งชั่วร้าย
 ๕. การสำรวมจิตด้วยระวัง ตา หู จมูก เป็นต้น เรียกว่าอะไร ?
 ก. สำรวมอินทรีย์
 
ข. มนสิการกรรมฐาน
 ค. เจริญวิปัสสนา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๖. เมื่อเห็นสังขารด้วยปัญญาว่าอย่างไร จึงหน่ายในทุกข์ได้ ?
 ก. ไม่เที่ยง
 ข. เป็นทุกข์
 ค. เป็นอนัตตา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๗. เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ เป็นการกล่าวถึงไตรลักษณ์ข้อใด ?
 ก. อนิจจตา
 
ข. ทุกขตา
 ค. อนัตตตา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๘. เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นการกล่าวถึงไตรลักษณ์ข้อใด ?
 ก. อนิจจตา
 ข. ทุกขตา
 
ค. อนัตตตา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๙. ทุกข์ตามสภาพคือ เกิด แก่ ตาย เป็นทุกข์ใด ?
 ก. พยาธิทุกข์
 ข. สภาวทุกข์
 
ค. นิพัทธทุกข์
 ง. สหคตทุกข์
 ๑๐. ทุกข์ใด ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ ?
 ก. โสกะ
 ข. ปริเทวะ
 ค. โทมนัส
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๑. ทุกข์เพราะหนาว ร้อน หิว กระหาย เป็นทุกข์อะไร ?
 ก. พยาธิทุกข์
 ข. สภาวทุกข์
 ค. นิพัทธทุกข์
 
ง. สหคตทุกข์
 ๑๒. ทุกข์ที่เกิดมาจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นทุกข์อะไร ?
 ก. พยาธิทุกข์
 ข. สันตาปทุกข์
 
ค. วิปากทุกข์
 ง. สหคตทุกข์
 ๑๓. ทุกข์เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์อะไร ?
 ก. สภาวทุกข์
 ข. ปกิณณกทุกข์
 ค. สหคตทุกข์
 ง. ทุกขขันธ์
 
๑๔. คําสอนเรื่องใด แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธต่างจากศาสนาอื่น ?
 ก. สังสารวัฏฏ์
 ข. อนัตตา
 
ค. บาป-บุญ
 ง. นรก-สวรรค์
 ๑๕. การพิจารณาอนัตตลักขณะ ต้องมีอะไรกำกับจึงจะไม่หลงผิด ?
 ก. สติ
 ข. สัมปชัญญะ
 ค. ขันติ
 ง. โยนิโสมนสิการ
 
๑๖. สมมติสัจจะ ได้แก่ข้อใด ?
 ก. มารดาบิดา
 
ข. ขันธ์
 ค. ธาตุ
 ง. อายตนะ
 ๑๗. พิจารณาสัจจะ ต้องมีอะไรกำกับจึงจะไม่เห็นผิดว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ ?
 ก. สติ
 ข. สัมปชัญญะ
 ค. ขันติ
 ง. โยนิโสมนสิการ
 
๑๘. อะไรปิดบังไว้ ไม่ให้เห็นไตรลักษณ์ ?
 ก. สันตติ
 ข. อิริยาบถ
 ค. ฆนสัญญา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๙. วิราคธรรม หมายถึงธรรมระดับใด ?
 ก. โสดาปัตติผล
 ข. สกทาคมิผล
 ค. อนาคามิผล
 ง. อรหัตตผล
 
๒๐. ความเมาในคําว่า มะทะนิมมะทะโน หมายถึงเมาในอะไร ?
 ก. น้ำกระท่อม
 ข. กัญชา
 ค. ยาไอซ์
 ง. ไม่มีข้อถูก
 
๒๑. ความอยากพ้นไปจากภาวะที่ตนไม่ปรารถนา จัดเป็นตัณหาอะไร ?
 ก. กามตัณหา
 ข. ภวตัณหา
 ค. วิภวตัณหา
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๒. จะตัดกรรมได้ต้องตัดอะไรก่อน ?
 ก. กิเลส
 
ข. กรรม
 ค. วิบาก
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๓. หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกําลังฌาน เป็นการหลุดพ้นด้วยอำนาจอะไร ?
 ก. ตทังควิมุตติ
 ข. วิกขัมภนวิมุตติ
 
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
 ง. นิสรณวิมุตติ
 ๒๔. ปุถุชนหลุดพ้นด้วยวิมุตติใด อาจทำให้เข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ ?
 ก. ตทังควิมุตติ
 ข. วิกขัมภนวิมุตติ
 
ค. สมุจเฉทวิมุตติ
 ง. นิสรณวิมุตติ
 ๒๕. ตามหลักวิสุทธิ คนจะบริสุทธิ์ได้ด้วยวิธีใด ?
 ก. ตัดกรรม
 ข. ล้างบาป
 ค. บวงสรวง
 ง. เจริญปัญญา

๒๖. มรรคใด เปรียบเสมือนจีพีเอสนําทางให้ปฏิบัติถูกต้องตรงทาง ?
 ก. สัมมาทิฏฐิ
 
ข. สัมมาสังกัปปะ
 ค. สัมมาวาจา
 ง. สัมมาสติ
 ๒๗. การประพฤติวจีสุจริต เป็นการปฏิบัติตามมรรคใด ?
 ก. สัมมาทิฏฐิ
 ข. สัมมาสังกัปปะ
 ค. สัมมาวาจา
 
ง. สัมมาสติ
 ๒๘. การพิจารณากาย เวทนา จิต หรือธรรม เป็นการปฏิบัติตามมรรคใด ?
 ก. สัมมาทิฏฐิ
 ข. สัมมาสังกัปปะ
 ค. สัมมาวาจา
 ง. สัมมาสติ
 
๒๙. ผู้ที่จะบรรลุฌานได้ ต้องปฏิบัติตามมรรคใด ?
 ก. สัมมาวาจา
 ข. สัมมากัมมันตะ
 ค. สัมมาอาชีวะ
 ง. สัมมาสมาธิ
 
๓๐. การอ้างว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้นั่งสมาธิเป็นการขัดแย้งกับมรรคใด?
 ก. สัมมาวาจา
 ข. สัมมากัมมันตะ
 ค. สัมมาสติ
 ง. สัมมาสมาธิ
 
๓๑. มรรค ๘ เป็นทางนําไปสู่วิสุทธิ จิตตวิสุทธิเป็นรากฐานของอะไร ?
 ก. สมาธิ
 ข. วิปัสสนา
 
ค. กรรมฐาน
 ง. ปัญญา
 ๓๒. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในวิสุทธิใด ?
 ก. สีลวิสุทธิข. จิตตวิสุทธิ
 ค. ทิฏฐิวิสุทธิง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
 ๓๓. สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิจัดเข้าในวิสุทธิใด ?
 ก. สีลวิสุทธิ
 ข. จิตตวิสุทธิ
 
ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
 ง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
 ๓๔. หากจะเปรียบภูมิพระโสดาบันเป็นบ้าน สีลวิสุทธิคือส่วนใดของบ้าน ?
 ก. ฐานราก
 
ข. คาน
 ค. เสา
 ง. หลังคา
 ๓๕. วิสุทธิใด ทำให้ผู้ปฏิบัติทราบได้ว่าตนบรรลุพระโสดาบันแล้ว ?
 ก. สีลวิสุทธิ
 ข. จิตตวิสุทธิ
 ค. ทิฏฐิวิสุทธิ
 ง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
 
๓๖. ผู้มุ่งความสงบต้องละอะไร ?
 ก. กามคุณ
 
ข. กายทุจริต
 ค. วจีทุจริต
 ง. มโนทุจริต
 ๓๗. นิพพาน หมายถึงสภาวะใด ?
 ก. ความคงที่
 ข. ความขาดสูญ
 ค. ความไม่มีเหตุ
 ง. ความสิ้นกิเลส
 
๓๘. ข้อใด เป็นความหมายของสอุปาทิเสสนิพพาน ?
 ก. กิเลสดับ
 ข. กิเลสดับแต่ยังมีชีวิต
 
ค. ชีวิตดับ
 ง. สิ้นทั้งกิเลสทั้งชีวิต
 ๓๙. ข้อใด เป็นความหมายของอนุปาทิเสสนิพพาน ?
 ก. กิเลสดับ
 ข. กิเลสดับแต่ยังมีชีวิต
 ค. ชีวิตดับ
 ง. สิ้นทั้งกิเลสทั้งชีวิต
 
๔๐. ภิกษุเคารพในอะไร จึงชื่อว่าได้เข้าใกล้พระนิพพาน ?
 ก. สมาธิ
 ข. สิกขา
 ค. ความไม่ประมาท
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๑. ฌานไม่มีแก่ผู้ไร้ปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไร้ฌาน มีความหมายอย่างไร ?
 ก. ฌานสำคัญ
ข. ปัญญาสำคัญ
 ค. สำคัญทั้ง ๒
ง. ไม่มีข้อถูก
 ๔๒. คําว่า เรือ ในพระดํารัสว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ หมายถึงอะไร ?
 ก. อัตภาพ
 
ข. มรรค ๘
 ค. อริยสัจ ๔
 ง. โลกุตตรธรรม ๙
 ๔๓. คําว่า วิดเรือ ในพุทธดํารัสว่า สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ มีความหมายว่าอย่างไร ?
 ก. บรรเทากิเลส
 
ข. บรรเทากรรม
 ค. บรรเทาวิบาก
 ง. ไม่มีข้อถูก
 ๔๔. นาวาคือเรือจักแล่นถึงท่าคือพระนิพพานได้เพราะตัดอะไร ?
 ก. กรรม
 ข. วิบาก
 ค. กิเลส
 
ง. ไม่มีข้อถูก
 ๔๕. ข้อใด เป็นฆราวาสธรรม ?
 ก. สัจจะ
 ข. ทมะ
 ค. ขันติ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๖. งานหนักไม่เอา งานเบาไม่สู้ เพราะขาดธรรมข้อใด ?
 ก. สัจจะ
 ข. ทมะ
 ค. ขันติ
 
ง. จาคะ
 ๔๗. การค้าขายอะไร เป็นข้อห้ามสำหรับอุบาสกอุบาสิกา ?
 ก. อาวุธ
 ข. มนุษย์
 ค. สุรายาเมา
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๘. การค้าขายไซยาไนด์จัดเข้าในมิจฉาวณิชชาข้อที่เท่าไร ?
 ก. ข้อที่ ๒
 ข. ข้อที่ ๓
 ค. ข้อที่ ๔
 ง. ข้อที่ ๕
 
๔๙. คุณสมบัติอุบาสกข้อใดต้องใช้คู่กับปัญญาจึงจะไม่ถูกคนลวงโลกหลอก ?
 ก. ศรัทธา
 
ข. ศีล
 ค. ไม่แสวงเขตบุญภายนอก
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๕๐. คุณสมบัติของอุบาสกข้อใด เป็นรากฐานให้จิตใจมีสัมมาสมาธิ ?
 ก. ศรัทธา
 ข. ศีล
 
ค. ไม่แสวงเขตบุญภายนอก
 ง. ถูกทุกข้อ


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชา พุทธประวัติ

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์หลังตรัสรู้ เพื่อโปรดใคร ?
 ก. พระบิดา
 
ข. พระมารดา
 ค. พระอนุชา
 ง. พระน้านาง
 ๒. พระเจ้าสุทโธทนะส่งใครไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเป็นครั้งที่ ๑๐ ?
 ก. ฉันนะ
 ข. กาฬุทายี
 
ค. อานนท์
 ง. นันทะ
 ๓. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระกาฬุทายีว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. ทำผู้ไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส
 
ข. มีปัญญา
 ค. มีฤทธิ์
 ง. มีลาภมาก
 ๔. พระพุทธเจ้าเสด็จกลับถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว ประทับอยู่ที่วัดใด ?
 ก. เวฬุวัน
 ข. เชตวัน
 ค. นิโครธาราม
 
ง. บุพพาราม
 ๕. พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เดินบนอากาศโปรดพระญาติเพื่ออะไร ?
 ก. ให้ละโลภะ
 ข. ให้ละโทสะ
 ค. ให้ละโมหะ
 ง. ให้ละมานะ
 
๖. ฝนโบกขรพรรษ เป็นเม็ดฝนสีอะไร ?
 ก. สีเขียว
 ข. สีเหลือง
 ค. สีแดง
 ง. สีขาว
 ๗. พระเจ้าสุทโธทนะฟังธรรมครั้งแรก สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นใด ?
 ก. พระโสดาบัน
 
ข. พระสกทาคามี
 ค. พระอนาคามี
 ง. พระอรหันต์
 ๘. พระนางพิมพาฟังจันทกินนรชาดกแล้ว ได้บรรลุธรรมชั้นใด ?
 ก. โสดาปัตติผล
 
ข. สกทาคามิผล
 ค. อนาคามิผล
 ง. อรหัตตผล
 ๙. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระนันทะว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. ทรงวินัย
 ข. ทรงธุดงค์
 ค. ปรารภความเพียร
 ง. สรวมอินทรีย์
 
๑๐. พระพุทธเจ้าทรงประทานทรัพย์ประเภทใด ให้แก่ราหุลกุมาร ?
 ก. โลกิยทรัพย์
 ข. อริยทรัพย์
 
ค. ทองคํา
 ง. แก้วมุกดา
 ๑๑. สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา มีนามว่าอะไร ?
 ก. ราหุล
 
ข. บัณฑิต
 ค. สังกิจจะ
 ง. นิโครธ
 ๑๒. พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพรว่า ผู้จะบวชควรได้รับอนุญาตจากใคร ?
 ก. บิดา มารดา
 
ข. ปู่ย่า
 ค. ตา ยาย
 ง. พี่ น้อง
 ๑๓. สามเณรใด อธิษฐานว่าขอให้ได้ฟังคําสอนมากเท่าเมล็ดทรายในกํามือ ?
 ก. สานุ
 ข. ราหุล
 
ค. สังกิจจะ
 ง. นิโครธ
 ๑๔. อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดถวายในพระศาสนา มีชื่อว่าอะไร ?
 ก. เวฬุวัน
 ข. ลัฏฐิวัน
 ค. เชตวัน
 
ง. อัมพวัน
 ๑๕. พระเจ้าสุทโธทนะ ก่อนเสด็จสวรรคตได้บรรลุธรรมชั้นใด ?
 ก. โสดาปัตติผล
 ข. สกทาคามิผล
 ค. อนาคามิผล
 ง. อรหัตตผล
 
๑๖. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. ทรงวินัย
 
ข. ทรงธรรม
 ค. ทรงธุดงค์
 ง. ทรงศีล
 ๑๗. พระเถระใด มักเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ ?
 ก. พระสารีบุตร
 ข. พระโมคคัลลานะ
 ค. พระกัสสปะ
 ง. พระภัททิยะ
 
๑๘. พระเทวทั มุ่งปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ได้กลิ้งหินลงจากภูเขาใด ?
 ก. คิชฌกูฏ
 
ข. เวภาระ
 ค. อิสิคิลิ
 ง. หิมาลัย
 ๑๙. ช้างที่พระเทวทัตสั่งให้ปล่อยไปเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า มีชื่อว่าอะไร ?
 ก. เอราวัณ
 ข. นาฬาคีรี
 
ค. ราชกุญชร
 ง. คชรัตน์
 ๒๐. ภิกษุใด ยกเข่ากระทุ้งยอดอกพระเทวทัตจนกระอักเลือด ?
 ก. ฉันนะ
 ข. กาฬุทายี
 ค. โกกาลิกะ
 
ง. องคุลีมาล
 ๒๑. ขณะพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยสิ่งใด ?
 ก. ธูปเทียนแพ
 ข. พวงมาลัย
 ค. ผ้าไตร
 ง. กระดูกคาง
 
๒๒. ในอนาคตพระเทวทัตจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีนามว่าอะไร?
 ก. ติสสะ
 ข. อัฏฐิสสระ
 
ค. โกนาคมนะ
 ง. กัสสปะ
 ๒๓. พระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล เพราะฟังธรรมจากพระเถระใด ?
 ก. พระยสะ
 ข. พระวัปปะ
 ค. พระอัสสชิ
 ง. ปุณณมันตานีบุตร
 
๒๔. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอานนท์ว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. ตาทิพย์
 ข. อุปัฏฐาก
 
ค. ลาภมาก
 ง. ปัญญามาก
 ๒๕. ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่าอะไร ?
 ก. ปชาบดีโคตรมีเถรี
 
ข. เขมาเถรี
 ค. กีสาโคตรมีเถรี
 ง. อุบลวรรณาเถรี

 ๒๖. สตรีผู้จะบวชเป็นภิกษุณีได้ ต้องยอมรับธรรมใด ?
 ก. ศีล ๘
 ข. มรรค ๘
 ค. ครุธรรม ๘
 
ง. สมาบัติ ๘
 ๒๗. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปชาบดีโคตมีเถรีว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. รัตตัญญู
 
ข. ปัญญามาก
 ค. ฤทธิ์มาก
 ง. ทรงวินัย
 ๒๘. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปฏาจาราเถรีว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. รัตตัญญู
 ข. ปัญญามาก
 ค. ฤทธิ์มาก
 ง. ทรงวินัย
 
๒๙. พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองใด ?
 ก. ราชคฤห์
 ข. ไพสาลี
 ค. พาราณสี
 ง. สาวัตถี
 
๓๐. พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนใด ?
 ก. เดือน ๓
 ข. เดือน ๖
 ค. เดือน ๘
 
ง. เดือน ๑๒
 ๓๑. พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาและจำพรรษาสวรรค์ชั้นใด ?
 ก. ดาวดึงส์
 
ข. ยามา
 ค. ดุสิต
 ง. นิมมานรดี
 ๓๒. ธรรมใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระพุทธมารดา ?
 ก. พระสูตร
 ข. พระวินัย
 ค. พระอภิธรรม
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๓. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์นานเท่าไร ?
 ก. ๑ เดือน
 ข. ๒ เดือน
 ค. ๓ เดือน
 
ง. ๔ เดือน
 ๓๔. พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก ณ ที่ใกล้ประตูเมืองใด ?
 ก. สังกัสสะ
 
ข. สาวัตถี
 ค.ราชคฤห์
 ง. พาราณสี
 ๓๕. พระเถระใด ทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตก แต่ยังไม่บรรลุ ?
 ก. พระอนุรุทธะ
 ข. พระโสณโกฬิวิสะ
 
ค. พระกาฬุทายี
 ง. พระสีวลี
 ๓๖. พระเถระใด ปรารภว่าถ้าไม่ได้ออกบวชจะยอมอดอาหารจนตัวตาย ?
 ก. พระสีวลี
 ข. พระอัสสชิ
 ค. พระองคุลีมาล
 ง. พระรัฐบาล
 
๓๗. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระรัฐบาลว่า เป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. บวชด้วยศรัทธา
 
ข. พหูสูต
 ค. ทรงวินัย
 ง. ทรงธุดงค์
 ๓๘. ผู้ใดถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแด่พระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน ?
 ก. สุชาดา
 ข. วิสาขา
 ค. อนาถบิณฑิกะ
 ง. จุนทะ
 
๓๙. พระพุทธเจ้าทรงประทานปัจฉิมโอวาท ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
 ก. ความกตัญญู
 ข. ความอดทน
 ค. ความสันโดษ
 ง. ความไม่ประมาท
 
๔๐. สิ่งใด พระพุทธเจ้าประทานไว้เป็นตัวแทนพระองค์เมื่อปรินิพพานแล้ว ?
 ก. ธรรมวินัย
 
ข. สติปัฏฐาน
 ค. สังเวชนียสถาน
 ง. เจดีย์
 ๔๑. วันสงกรานต์ในเดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ตรงกับวันที่เท่าไร ?
 ก. ๑๒
 ข. ๑๓
 
ค. ๑๔
 ง. ๑๕
 ๔๒. วันสงกรานต์ นิยมทำบุญเกี่ยวกับเรื่องใด ?
 ก. ก่อเจดีย์ทราย
 ข. สรงน้ำพระ
 ค. บังสุกุลอัฐิ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๓. นับแต่วันออกพรรษาไป ถวายผ้ากฐินได้นานเท่าไร ?
 ก. ๑ เดือน
 
ข. ๒ เดือน
 ค. ๓ เดือน
 ง. ๔ เดือน
 ๔๔. ผู้ใด ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา ?
 ก. นางสุชาดา
 ข. นางวิสาขา
 
ค. นางมัลลิกา
 ง. นางรูปนันทา
 ๔๕. ในหลวงเสด็จไปถวายกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดราษฎร์ คือกฐินอะไร ?
 ก. กฐินต้น
 
ข. มหากฐิน
 ค. กฐินสามัคคี
 ง. จุลกฐิน
 ๔๖. ผ้าบังสุกุล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ?
 ก. ผ้าป่า
 
ข. ผ้ากฐิน
 ค. ผ้าดาม
 ง. ผ้าปะ
 ๔๗. วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอะไร ?
 ก. เดือน ๓
 ข. เดือน ๖
 ค. เดือน ๘
 ง. เดือน ๑๒
 
๔๘. ปัจจุบันผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้นั้น ต้องมีอายุกี่ปีขึ้นไป ?
 ก. ๕ ปี
 ข. ๗ ปี
 
ค. ๑๐ ปี
 ง. ๒๐ ปี
 ๔๙. สามเณรจะต้องรักษาศีลจำนวนกี่ข้อ ?
 ก. ๕ ข้อ
 ข. ๘ ข้อ
 ค. ๑๐ ข้อ
 
ง. ๒๒๗ ข้อ
 ๕๐. กุลบุตรผู้จะอุปสมบทเป็นภิกษุได้นั้น ต้องมีอายุครบบริบูรณ์กี่ปี ?
 ก. ๑๘ ปี
 ข. ๒๐ ปี
 
ค. ๒๙ ปี
 ง. ๓๕ ปี


ธรรมศึกษา ชั้นเอก

ปัญหาและเฉลย วิชากรรมบถ (วินัย)

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. พระพุทธศาสนามีลักษณะตามข้อใด ?
 ก. เทวนิยม
 ข. เอกเทวนิยม
 ค. กรรมนิยม
 
ง. พหุเทวนิยม
 ๒. พระพุทธศาสนามีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด ?
 ก. ผลกรรม
 
ข. ทรมานตน
 ค. บําเพ็ญตบะ
 ง. บูชาเทพ
 ๓. เส้นทางสำหรับให้คนทำกรรมดีและกรรมชั่ว เรียกว่าอะไร ?
 ก. กรรมฐาน
 ข. กรรมบถ
 
ค. กรรมกิเลส
 ง. กรรมวิบาก
 ๔. ข้อใด เป็นเครื่องตัดสินการกระทำของสัตว์ทั้งหลายว่าดีหรือชั่ว ?
 ก. ทรัพย์
 ข. ยศ
 ค. อำนาจ
 ง. เจตนา
 
๕. มนุษย์สามารถทำความดีความชั่วได้ทางใด ?
 ก. กายทวาร
 ข. วจีทวาร
 ค. มโนทวาร
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๖. คําพูดต่าง ๆ ที่เปล่งออกมาทางปากทั้งดีและไม่ดี จัดเข้าในทวารใด ?
 ก. กายทวาร
 ข. วจีทวาร
 
ค. มโนทวาร
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๗. กรรมใด เกิดขึ้นทางมโนทวาร กรรมนั้น เรียกว่าอะไร ?
 ก. กายกรรม
 ข. วจีกรรม
 ค. มโนกรรม
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๘. นาย ก. ลงมือฆ่านาย ข. จนเสียชีวิต จัดลงในกรรมใด ?
 ก. กายกรรม
 
ข. วจีกรรม
 ค. มโนกรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๙. นาย ก. พูดให้ร้ายนาย ข. จนเสียชื่อเสียง จัดลงในกรรมใด ?
 ก. กายกรรม
 ข. วจีกรรม
 
ค. มโนกรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๐. นาย ก. ผูกเวรนาย ข. หมายจะทำให้เสียหาย จัดลงในกรรมใด ?
 ก. กายกรรม
 ข. วจีกรรม
 ค. มโนกรรม
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๑. การทำบาปทางกาย เรียกว่ากายทุจริต มี ๓ อย่าง ยกเว้นข้อใด ?
 ก. มุสาวาท
 
ข. ปาณาติบาต
 ค. อทินนาทาน
 ง. กาเมสุมิจฉาจาร
 ๑๒. ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่าอะไร ?
 ก. เว้นจองเวร
 ข. เว้นฆ่าสัตว์
 
ค. เว้นลักทรัพย์
 ง. เว้นพูดเท็จ
 ๑๓. ฆ่าใครเป็นบาปหนัก ตามนัยพระพุทธศาสนา ?
 ก. พ่อแม่
 
ข. พระสงฆ์
 ค. ครูอาจารย์
 ง. คู่ครอง
 ๑๔. คนฆ่าสัตว์ตัดชีวิตต้องตกนรก เศษกรรมจะได้รับโทษตามข้อใด ?
 ก. ไร้ญาติ
 ข. ขาดมิตร
 ค. โรครุมเร้า
 
ง. วิกลจริต
 ๑๕. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยอาการขโมย เรียกว่าอะไร ?
 ก. ลักทรัพย์
 
ข. รักษาทรัพย์
 ค. ออมทรัพย์
 ง. ตบทรัพย์
 ๑๖. สิ่งของประเภทใด ถือว่ามีเจ้าของทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ?
 ก. ของสงฆ์
 ข. ของราชการ
 ค. ของส่วนรวม
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๗. การหากินทุจริตผิดศีลธรรม เกิดจากกรรมบถใด ?
 ก. พยาบาท
 ข. ปาณาติบาต
 ค. อทินนาทาน
 
ง. ผรุสวาจา
 ๑๘. พฤติกรรม “มือไว” เป็นอาการของคนประพฤติชั่วข้อใด ?
 ก. ปาณาติบาต
 ข. พยาบาท
 ค. อทินนาทาน
 
ง. ผรุสวาจา
 ๑๙. ถ้าทุกคนงดเว้นอทินนาทาน โลกนี้จะไม่มีคนประเภทใด ?
 ก. ฆาตกร
 ข. โจร
 
ค. โสเภณี
 ง. นักเลง
 ๒๐. ข้อใด เป็นผลกรรมในปัจจุบันเกิดจากอทินนาทาน ?
 ก. ถูกปรับ
 ข. ถูกจับ
 ค. ถูกจองจำ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. ความประพฤติผิดในเรื่องกาม เป็นการทำผิดอะไร ?
 ก. ประเพณี
 ข. ประเวณี
 
ค. วัฒนธรรม
 ง. จารีต
 ๒๒. สทารสันโดษ หมายถึงความยินดีพอใจเฉพาะบุคคลในข้อใด ?
 ก. ภรรยาตน
 
ข. สามีตน
 ค. ญาติตน
 ง. ลูกตน
 ๒๓. พฤติกรรม “สองใจ” เป็นอาการของคนประพฤติชั่วข้อใด ?
 ก. พยาบาท
 ข. ปิสุณวาจา
 ค. ผรุสวาจา
 ง. กาเมสุมิจฉาจาร
 
๒๔. ข้อใด เป็นความเสียหายเกิดจากกาเมสุมิจฉาจาร ?
 ก. ถูกล่อลวง
 ข. ถูกละเมิด
 ค. ถูกนอกใจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๕. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นบาปมากหรือบาปน้อย พิจารณาจากอะไร ?
 ก. คุณธรรม
 ข. ความพยายาม
 ค. กิเลส
 ง. ถูกทุกข้อ

 ๒๖. คําว่า “บาปปาก” หมายถึงการทำผิดเกี่ยวกับทุจริตใด ?
 ก. กายทุจริต
 ข. วจีทุจริต
 
ค. มโนทุจริต
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๗. สํานวนว่า “พูดจาขวานผ่าซาก” หมายถึงกรรมบถใด ?
 ก. มุสาวาท
 ข. ปิสุณวาจา
 ค. ผรุสวาจา
 
ง. สัมผัปปลาปะ
 ๒๘. สํานวนว่า “พูดจาภาษาดอกไม้” หมายถึงงดเว้นกรรมบถใด ?
 ก. มุสาวาท
 ข. ปิสุณวาจา
 
ค. ผรุสวาจา
 ง. สัมผัปปลาปะ
 ๒๙. คนนี้พูดเรื่อยเปื่อย ต้องการสื่อถึงกรรมบถใด ?
 ก. มุสาวาท
 ข. ปิสุณวาจา
 ค. ผรุสวาจา
 ง. สัมผัปปลาปะ
 
๓๐. พูดอย่างไร เรียกว่าเว้นจากมุสาวาท ?
 ก. พูดจริง
 
ข. พูดแก้ต่าง
 ค. พูดสบถ
 ง. พูดถูกใจ
 ๓๑. พูดอย่างไร เรียกว่าเว้นจากสัมผัปปลาปะ ?
 ก. พูดยุแหย่
 ข. พูดมีสาระ
 
ค. พูดโน้มน้าว
 ง. พูดถูกใจ
 ๓๒. คําว่า “ตระบัดสัตย์” ใช้เรียกคนประเภทใด ?
 ก. พูดเท็จ
 
ข. พูดตลก
 ค. พูดขำขัน
 ง. พูดยุยง
 ๓๓. คําว่า “ปากพระร่วง” ใช้เรียกคนประเภทใด ?
 ก. พูดพล่อย
 ข. พูดไม่คิด
 ค. พูดเหลวไหล
 ง. พูดจริง
 
๓๔. ข้อใด เป็นเศษกรรมของคนพูดมุสาวาท ?
 ก. ถูกใส่ร้าย
 
ข. เสียทรัพย์
 ค. ศัตรูมาก
 ง. โรครุมเร้า
 ๓๕. วางแผนเอามรดกหลานมาเป็นของตัว เป็นกรรมบถใด ?
 ก. อภิชฌา
 
ข. อนภิชฌา
 ค. พยาบาท
 ง. อพยาบาท
 ๓๖. วางแผนแก้แค้นคู่อริให้เสียหาย เป็นกรรมบถใด ?
 ก. อภิชฌา
 ข. พยาบาท
 
ค. อพยาบาท
 ง. มิจฉาทิฏฐิ
 ๓๗. เห็นว่า “พ่อแม่ไม่มีพระคุณต่อลูก” เป็นกรรมบถใด ?
 ก. อภิชฌา
 ข. พยาบาท
 ค. สัมมาทิฏฐิ
 ง. มิจฉาทิฏฐิ
 
๓๘. กรรมบถใด เป็นบาปกรรม ไม่สามารถส่งผลให้บรรลุธรรมได้ ?
 ก. สัมมาทิฏฐิ
 
ข. มิจฉาทิฏฐิ
 ค. พยาบาท
 ง. ปาณาติบาต
 ๓๙. กรรมบถใด ถือว่ามีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ?
 ก. มิจฉาทิฏฐิ
 
ข. พยาบาท
 ค. ปาณาติบาต
 ง. มุสาวาท
 ๔๐. กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเข้าในหลักธรรมใด ?
 ก. ศีล
 
ข. สมาธิ
 ค. ปัญญา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๑. กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
 ก. ทุจริต
 ข. สุจริต
 
ค. สุคติ
 ง. ทุคติ
 ๔๒. อนภิชฌา คือไม่คิดอยากได้ของใคร ป้องกันไม่ให้คนทำกรรมชั่วใด ?
 ก. ปองร้าย
 ข. แก้แค้น
 ค. ลักขโมย
 
ง. ผูกอาฆาต
 ๔๓. คนดีไม่คิดละโมบอยากได้ของใคร เพราะในใจไม่มีอกุศลมูลใด ?
 ก. โลภะ
 
ข. โทสะ
 ค. โมหะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๔. คนดีไม่ผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้นใคร เพราะในใจไม่มีอกุศลมูลใด ?
 ก. โลภะ
 ข. โทสะ
 
ค. โมหะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๕. เมื่อเราผูกพยาบาทคนอื่น ใครได้รับความเสียหายก่อน ?
 ก. ตัวเรา
 
ข. คนอื่น
 ค. คนรู้จัก
 ง. คนรู้ใจ
 ๔๖. ถ้ามีความพยาบาทอยู่ในใจ ควรทำอย่างไร เพื่อให้ชีวิตสงบสุข ?
 ก. เลิกคบ
 ข. เลิกคุย
 ค. เลิกไปหา
 ง. เลิกผูกเวร
 
๔๗. ความรู้จักว่าอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป เป็นกรรมบถใด ?
 ก. อนภิชฌา
 ข. สัมมาทิฏฐิ
 
ค. มิจฉาทิฏฐิ
 ง. อพยาบาท
 ๔๘. สัมมาทิฏฐิคือความเห็นถูกตามคลองธรรม ได้แก่ข้อใด ?
 ก. ทำบาปไม่ดี
 
ข. ทำบุญไม่ดี
 ค. ให้ทานไม่ดี
 ง. กตัญญูไม่ดี
 ๔๙. “รักตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว” หมายถึงให้เลือกทำแต่กรรมใด ?
 ก. บาปกรรม
 ข. อกุศลกรรม
 ค. กรรมดี
 
ง. กรรมชั่ว
 ๕๐. กรรมบถ ๑๐ ประการ มีประโยชน์แก่ผู้นําไปปฏิบัติอย่างไร ?
 ก. ละชั่ว
 ข. กลัวบาป
 ค. ใจบริสุทธิ์
 ง. ถูกทุกข้อ