ธรรมศึกษา โท ประถม พ.ศ. ๒๕๖๗

ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ระดับประถมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.

ความสั่งสมซึ่งบุญ นำสุขมาให้.

คัมภีร์ที่มา : ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดมาให้ จำนวน ๕ สุภาษิตข้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๒ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง

ในชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

——————-

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.

บุญอันโจรนำไปไม่ได้.

(คัมภีร์ที่ม : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.

เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น

(คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย อุทาน)

ปุญฺญํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.

บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.

(คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)

ยํ เว เสวติ ตาทิโส.

คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น.

(คัมภีร์ที่มา : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม.

สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.

(คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก ทุกนิบาต)


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม

ระดับประถมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนา เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 ง. บุญกิริยาวัตถุ
 ๒. ชาวพุทธควรบำเพ็ญธรรมใด เพื่อให้เกิดบุญคือความสุข ?
 
ก. ทาน
 ข. ศีล
 ค. ภาวนา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓. บริจาคทรัพย์สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัย จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุใด ?
 ก. ทานมัย
 
ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 ง. ปัตติทานมัย
 ๔. ไม่นอกใจสามีภรรยาของตน จัดเป็นบุญกิริยาวัตถใด ?
 
ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 
ค. ภาวนามัย
 ง. ปัตติทานมัย
 ๕. บันได ๓ ขั้นในการทำบุญ คือข้อใด ?
 
ก. ทานมัย
 ข. สีลมัย
 ค. ภาวนามัย
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๖. วุฑฒิ แปลว่าอะไร ?
 ก. ความเจริญ
 
ข. ความเสื่อม
 ค. ความเพียร
 ง. ความไม่ลำเอียง
 ๗. สัตบุรุษ หมายถึงบุคคลเช่นไร ?
 ก. คนดี
 
ข. คนมีความรู้
 ค. คนพูดจาดี
 ง. คนมีบุคลิกดี
 ๘. ในวุฑฒิธรรม ๔ สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงสำนวนไทยในข้อใด ?
 ก. คบคนดี
 
ข. ฟังวจีโดยเคารพ
 ค. นอบนบด้วยพินิจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๙. ในวุฑฒิธรรม ๔ สัทธัมมัสสวนะ หมายถึงสำนวนไทยในข้อใด ?
 
ก. คบคนดี
 ข. ฟังวจีโดยเคารพ
 
ค. นอบนบด้วยพินิจ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๐. ในวุฑฒิธรรม ๔ โยนิโสมนสิการ หมายถึงสำนวนไทยในข้อใด ?
 
ก. คบคนดี
 ข. ฟังวจีโดยเคารพ
 ค. นอบนบด้วยพินิจ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๑. ข้อใด เป็นความหมายของธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ?
 
ก. คบคนดี
 ข. ฟังธรรม
 ค. คิดไตร่ตรอง
 ง. ลงมือปฏิบัติ
 ๑๒. ธรรมที่เป็นเสมือนล้อรถนำไปสู่จุดหมาย เรียกว่าอะไร ?
 
ก. วุฑฒิ ๔
 ข. จักร ๔
 
ค. ปธาน ๔
 ง. อธิษฐาน ๔
 ๑๓. ปฏิรูปเทสวาสะ แปลว่าอะไร ?
 ก. อยู่ในประเทศอันสมควร
 
ข. คบคนดี
 ค. ตั้งตนดี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๔. ประเทศในคำว่า ปฏิรูปเทสวาสะ องค์ประกอบใดหาได้ยากที่สุด ?
 
ก. มีความเจริญ
 ข. มีคนดีมาก
 ค. มีเศรษฐกิจดี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๕. คำว่า สัปปุริสูปัสสยะ แปลว่าอะไร ?
 ก. คบสัตบุรุษ
 
ข. คบเพื่อน
 ค. คบค้าสมาคม
 ง. คบมิตรประเทศ
 ๑๖. อัตตสัมมาปณิธิ คือการตั้งตนไว้ชอบในอะไร ?
 ก. สุจริต
 
ข. เศรษฐกิจ
 ค. สังคม
 ง. การเมือง
 ๑๗. อัตตสัมมาปณิธิ เป็นข้อยืนยันว่าสังคมจะดีได้ต้องเริ่มที่ใคร ?
 ก. ตนเอง
 
ข. เพื่อน ๆ
 ค. พ่อแม่
 ง. ครูอาจารย์
 ๑๘. ปุพเพกตปุญญตา แปลสั้น ๆ ว่าอย่างไร ?
 ก. มีบุญเก่า
 
ข. มีบุญมาก
 ค. มีบุญน้อย
 ง. มีบุญแต่กรรมบัง
 ๑๙. จักร ๔ ข้อใด สำคัญที่สุด ?
 
ก. อยู่ถิ่นดี
 ข. คบคนดี
 ค. ตั้งตนไว้ดี
 
ง. ทำบุญมาดี
 ๒๐. ผู้ปกครองหรือผู้นำควรงดเว้นอะไร จึงจะไม่เสียความยุติธรรม ?
 ก. อคติ
 
ข. อรติ
 ค. มติ
 ง. คติ
 ๒๑. ลำเอียงเพราะชอบ เรียกว่าอะไร ?
 ก. ฉันทาคติ
 
ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 ๒๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบ เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 
ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 ๒๓. ลำเอียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 
ง. ภยาคติ
 ๒๔. ลำเอียงเพราะเกรงกลัวอิทธิพล เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ฉันทาคติ
 ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 ๒๕. ข้อใด ไม่ใช่อคติ ๔ ?
 ก. ทุคติ
 
ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ

 ๒๖. ความรักทำให้เกิดอคติใดได้ ?
 ก. ฉันทาคติ
 
ข. โทสาคติ
 ค. โมหาคติ
 ง. ภยาคติ
 ๒๗. ผู้ที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของอคติ จะมีลักษณะเช่นใด ?
 
ก. มีเมตตา
 ข. มีกรุณา
 ค. มีมุทิตา
 ง. มีความยุติธรรม
 ๒๘. ธรรมหมวดใด หมายถึงความเพียร ?
 
ก. วุฑฒิ ๔
 ข. จักร ๔
 ค. ปธาน ๔
 
ง. อิทธิบาท ๔
 ๒๙. เพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ จัดเป็นปธานใด ?
 ก. สังวรปธาน
 
ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๐. เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว จัดเป็นปธานใด ?
 
ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 
คง ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๑. เพียรสร้างความดี จัดเป็นปธานใด ?
 
ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 
ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๒. เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมสิ้นไป จัดเป็นปธานใด ?
 
ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๓. ระวังชั่วกลัวความผิด เป็นความหมายของปธานใด ?
 ก. สังวรปธาน
 
ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๔. ละความชั่วแต่ยังไม่ทำความดี เท่ากับยังไม่มีปธานใด ?
 
ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 
ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๕. รักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม เป็นความหมายของปธานใด ?
 
ก. สังวรปธาน
 ข. ปหานปธาน
 ค. ภาวนาปธาน
 ง. อนุรักขนาปธาน
 ๓๖. ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ เรียกว่าอะไร ?
 
ก. วุฑฒิ
 ข. จักร
 ค. อธิษฐาน
 
ง. ปธาน
 ๓๗. ผู้ที่อธิษฐานอะไรได้สำเร็จ ต้องมีธรรมใด ?
 
ก. ปัญญา
 ข. สัจจะ
 ค. จาคะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๘. เหตุให้เกิดปัญญา มีอะไรบ้าง ?
 
ก. การศึกษา
 ข. การพิจารณา
 ค. ลงมือปฏิบัติ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๙. คนที่มีอธิษฐานธรรมข้อสัจจะ มีลักษณะเช่นไร ?
 
ก. ตั้งใจเรียน
 ข. ตั้งใจทำงาน
 ค. ตั้งใจทำดี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๐. การละความเห็นแก่ตัว จัดเป็นอธิษฐานธรรมข้อใด ?
 
ก. ปัญญา
 ข. สัจจะ
 ค. จาคะ
 
ง. อุปสมะ
 ๔๑. นักเรียนนักศึกษาต้องมีธรรมหมวดใด จึงจะประสบความสำเร็จ ?
 
ก. วุฑฒิ
 ข. จักร
 ค. อิทธิบาท
 
ง. อธิษฐาน
 ๔๒. นักเรียนรักการเรียนมาเรียนไม่ขาด จัดว่ามีธรรมข้อใด ?
 ก. ฉันทะ
 
ข. วิริยะ
 ค. จิตตะ
 ง. วิมังสา
 ๔๓. นักเรียนขยันอ่านหนังสือทำการบ้านส่งงาน จัดว่ามีธรรมข้อใด ?
 
ก. ฉันทะ
 ข. วิริยะ
 
ค. จิตตะ
 ง. วิมังสา
 ๔๔. นักเรียนสนใจอ่านหนังสือทบทวนบทเรียน จัดว่ามีธรรมข้อใด ?
 
ก. ฉันทะ
 ข. วิริยะ
 ค. จิตตะ
 
ง. วิมังสา
 ๔๕. นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น เพราะมีธรรมข้อใด ?
 
ก. ฉันทะ
 ข. วิริยะ
 ค. จิตตะ
 ง. วิมังสา
 ๔๖. ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหมหรือผู้ใหญ่ เรียกว่าอะไร ?
 
ก. วุฑฒิ
 ข. จักร
 ค. อิทธิบาท
 ง. พรหมวิหาร
 ๔๗. นักเรียนมีความหวังดีต่อเพื่อน ๆ ได้ชื่อว่ามีธรรมใด ?
 ก. เมตตา
 
ข. กรุณา
 ค. มุทิตา
 ง. อุเบกขา
 ๔๘. นักเรียนรู้สึกสงสารช่วยผู้ประสบอุทกภัย ได้ชื่อว่ามีธรรมใด ?
 
ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 
ค. มุทิตา
 ง. อุเบกขา
 ๔๙. นักเรียนดีใจกับเพื่อน ๆ ที่สอบได้คะแนนดี ได้ชื่อว่ามีธรรมใด ?
 
ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 ค. มุทิตา
 
ง. อุเบกขา
 ๕๐. นักเรียนไม่เข้าข้างเพื่อนที่ทำผิดระเบียบ ได้ชื่อว่ามีธรรมใด ?
 
ก. เมตตา
 ข. กรุณา
 ค. มุทิตา
 ง. อุเบกขา


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชา อนุพุทธประวัติ

ระดับประถมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. หลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ ๑ ใต้ต้นไม้ใด ?
 ก. ต้นโพธิ์
 
ข. ต้นไทร
 ค. ต้นเกด
 ง. ต้นมะม่วง
 ๒. สัปดาห์ที่ ๓ สถานที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เรียกว่าอะไร ?
 
ก. อนิมิสสเจดีย์
 ข. รัตนฆรเจดีย์
 
ค. ปฐมเจดีย์
 ง. รัตนจงกรมเจดีย์
 ๓. สัปดาห์ที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นไม้ใด ?
 
ก. ต้นเกด
 ข. ต้นไผ่
 ค. ต้นโพธิ์
 ง. ต้นไทร
 ๔. ต้นมุจลินท์ คือต้นอะไร ?
 
ก. ต้นโพธิ์
 ข. ต้นไทร
 ค. ต้นจิก
 
ง. ต้นมะม่วง
 ๕. สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จไปเสวยวิมุตติสุขทางทิศใดของต้นศรีมหาโพธิ์ ?
 
ก. ทิศเหนือ
 ข. ทิศใต้
 
ค. ทิศตะวันตก
 ง. ทิศตะวันออก
 ๖. ตปุสสะและภัลลิกะได้พบพระพุทธเจ้า ขณะประทับใต้ต้นไม้ใด ?
 ก. ต้นเกด
 
ข. ต้นใต้
 ค. ต้นโพธิ์
 ง. ต้นจิก
 ๗. ใครทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ?
 
ก. เทวดา
 ข. ท้าวสักกะ
 ค. พระอินทร์
 ง. ท้าวสหัมบดีพรหม
 ๘. พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเวไนยสัตว์ด้วยดอกไม้อะไร ?
 
ก. ดอกมะลิ
 ข. ดอกกุหลาบ
 ค. ดอกพิกุล
 ง. ดอกบัว
 ๙. บุคคลผู้มีปัญญาปานกลาง ตรงกับข้อใด ?
 
ก. อุคฆฏิตัญญู
 ข. วิปจิตัญญู
 
ค. เนยยะ
 ง. ปทปรมะ
 ๑๐. เนยยะ คือบุคคลผู้พอแนะนำได้ เปรียบด้วยบัวชนิดใด ?
 
ก. บัวพ้นน้ำ
 ข. บัวเสมอน้ำ
 ค. บัวจมน้ำ
 
ง. บัวในโคลนตม
 ๑๑. บุคคลอับปัญญาไม่สามารถจะรู้แจ้งธรรมได้ เปรียบด้วยบัวชนิดใด ?
 
ก. บัวพ้นน้ำ
 ข. บัวเสมอน้ำ
 ค. บัวจมน้ำ
 ง. บัวในโคลนตม
 ๑๒. บุคคลใด พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่าควรได้รับฟังธรรมก่อน ?
 
ก. สัญชัย
 ข. ปัญจวัคคีย์
 ค. อสิตดาบส
 ง. อาฬารดาบส
 ๑๓. พระพุทธเจ้าเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา บุคคลกลุ่มใด ทิ้งพระองค์ไป ?
 ก. ปัญจวัคคีย์
 
ข. ภัททวัคคีย์
 ค. สหายพระยสะ
 ง. ชฎิล ๓ พี่น้อง
 ๑๔. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตั้งอยู่ในแคว้นอะไร ?
 
ก. มคธ
 ข. กาสี
 
ค. โกศล
 ง. วัชชี
 ๑๕. พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาแก่บุคคลกลุ่มใด ?
 ก. ปัญจวัคคีย์
 
ข. ภัททวัคคีย์
 ค. สหายพระยสะ
 ง. ชฎิล ๓ พี่น้อง
 ๑๖. พระเถระรูปใด เป็นสาวกองค์แรก ?
 ก. โกณฑัญญะ
 
ข. วัปปะ
 ค. ภัททิยะ
 ง. อัสสชิ
 ๑๗. เราได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เป็นคำพูดของใคร ?
 
ก. เทวดา
 ข. พรหม
 ค. ปัญจวัคคีย์
 ง. พระพุทธเจ้า
 ๑๘. ทางสายกลาง หมายถึงคำตอบในข้อใด ?
 
ก. ปฐมาปฏิปทา
 ข. มัชฌิมาปฏิปทา
 
ค. ปัจฉิมาปฏิปทา
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๙. โกณฑัญญะ ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ได้บรรลุอริยบุคคลชั้นใด ?
 ก. พระโสดาบัน
 
ข. พระสกทาคามี
 ค. พระอนาคามี
 ง. พระอรหันต์
 ๒๐. เหล่านางบำเรอและบริวารปรากฏแก่ยสกุลบุตรเหมืออะไร ?
 
ก. หญิงชาววัง
 ข. นางฟ้า
 ค. นางงาม
 ง. ซากศพ
 ๒๑. พระพุทธเจ้าได้พบกับกุลบุตรใด ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ?
 ก. ยสะ
 
ข. อุปติสสะ
 ค. โกลิตะ
 ง. กัสสปะ
 ๒๒. ยสกุลบุตร เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองใด ?
 
ก. ราชคฤห์
 ข. ไพศาล
 ค. พาราณสี
 
ง. สาวัตถี
 ๒๓. ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ เป็นคำพูดของใคร ?
 
ก. อุปกาชีวก
 ข. โกณฑัญญะ
 ค. อัสสชิ
 ง. ยสกุลบุตร
 ๒๔. ยสกุลบุตรได้ฟังธรรมกถาใด จากพระพุทธเจ้า ?
 
ก. กถาวัตถุ
 ข. เมตตากถา
 ค. มงคลกถา
 ง. อนุปุพพิกถา

 ๒๕. วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ และควัมปติ เป็นสหายของพระเถระใด ?
 ก. พระยสะ
 
ข. พระกัสสปะ
 ค. พระอานนท์
 ง. พระอุบาลี
๒๖. ชฎิล ๓ พี่น้อง ตั้งอาศรมอยู่ในแคว้นใด ?
 ก. แคว้นมคธ
 
ข. แคว้นโกศล
 ค. แคว้นกาสี
 ง. แคว้นอวันตี
 ๒๗. ชฎิล ๓ พี่น้อง คนเล็กชื่อว่าอะไร ?
 
ก. อุรุเวลกัสสปะ
 ข. นทีกัสสปะ
 ค. คยากัสสปะ
 
ง. มหากัสสปะ
 ๒๘. ชฎิลท่านใด มีบริวาร ๓๐๐ คน ?
 
ก. อุรุเวลกัสสปะ
 ข. นทีกัสสปะ
 
ค. คยากัสสปะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๙. ชฎิล ๓ พี่น้อง ตั้งอาศรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใด ?
 
ก. คงคา
 ข. ยมุนา
 ค. สรภู
 ง. เนรัญชรา
 ๓๐. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ใคร ?
 
ก. ปัญจวัคคีย์
 ข. พระยสะ
 ค. ภัททวัคคีย์
 ง. ชฎิล ๓ พี่น้อง
 ๓๑. คยากัสสปะ มีบริวารกี่คน ?
 
ก. ๑๐๐
 ข. ๒๐๐
 
ค. ๓๐๐
 ง. ๕๐๐
 ๓๒. ชฎิล ๓ พี่น้อง ลอยบริขารและเครื่องบูชาไฟในแม่น้ำชื่อว่าอะไร ?
 
ก. คงคา
 ข. ยมุนา
 ค. สรภู
 ง. เนรัญชรา
 ๓๓. พระสูตรใด ภิกุ ๑,๐๐๓ รูป ฟังแล้วบรรลุพระอรหันต์ ?
 
ก. อนัตตลักขณสูตร
 ข. อาทิตตปริยายสูตร
 
ค. มงคลสูตร
 ง. รตนสูตร
 ๓๔. แคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อว่าอะไร ?
 ก. ราชคฤห์
 
ข. สาวัตถี
 ค. ไพศาลี
 ง. กบิลพัสดุ์
 ๓๕. กษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ ชื่อว่าอะไร ?
 
ก. ราหุล
 ข. พิมพิสาร
 
ค. สุทโธทนะ
 ง. ปเสนทิโกศล
 ๓๖. ลัฏฐิวัน ตั้งอยู่ในเมืองอะไร ?
 ก. ราชคฤห์
 
ข. สาวัตถี
 ค. ไพศาลี
 ง. กบิลพัสดุ์
 ๓๗. พระเจ้าพิมพิสารสดับธรรมครั้งแรก บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใด ?
 ก. พระโสดาบัน
 
ข. พระสกทาคามี
 ค. พระอนาคามี
 ง. พระอรหันต์
 ๓๘. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อว่าอะไร ?
 
ก. วัดเชตวัน
 ข. วัดเวฬุวัน
 
ค. วัดลัฏฐิวัน
 ง. วัดอัมพวัน
 ๓๙. กษัตริย์พระองค์ใด ทรงสร้างวัดแห่งแรกไว้ในพระพุทธศาสนา ?
 ก. พิมพิสาร
 
ข. สุทโธทนะ
 ค. คชาตศัตรู
 ง. ปเสนทิโกศล
 ๔๐. อุปติสสมาณพ เป็นชื่อเดิมของพระสาวกองค์ใด ?
 
ก. พระยสะ
 ข. พระอานนท์
 ค. พระสารีบุตร
 
ง. พระนันทะ
 ๔๑. อุปติสสคาม เป็นบ้านเกิดของใคร ?
 
ก. โกลิตะ
 ข. ยสะ
 ค. อานนท์
 ง. อุปติสสะ
 ๔๒. มารดาของอุปติสสมาณพ ชื่อว่าอะไร ?
 ก. สารี
 
ข. ปชาบดี
 ค. โมคคัลลี
 ง. ยโสธรา
 ๔๓. อุปติสสมาณพ มีเพื่อนสนิทชื่อว่าอะไร ?
 ก. โกลิตมาณพ
 
ข. ปิงคิยมาณพ
 ค. นันทมาณพ
 ง. สิงคาลกมาณพ
 ๔๔. นางโมคคัลลี เป็นมารดาของใคร ?
 
ก. อุปติสสมาณพ
 ข. โกลิตมาณพ
 
ค. อานนท์
 ง. นันทกุมาร
 ๔๕. อุปติสสะและโกลิตะ ดูอะไรแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ?
 
ก. ของสะสม
 ข. สัตว์ป่า
 ค. แม่น้ำ
 ง. มหรสพ
 ๔๖. พระเถระองค์ใด แสดงธรรมแก่อุปติสสมาณพ ?
 ก. พระอัสสชิ
 
ข. พระยสะ
 ค. พระนทีกัสสปะ
 ง. พระคยากัสสปะ
 ๔๗. พระสารีบุตร ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
 
ก. มีฤทธิ์มาก
 ข. มีปัญญามาก
 
ค. มีศรัทธามาก
 ง. มีความรู้มาก
 ๔๘. พระโมคคัลลานะ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. มีฤทธิ์มาก
 
ข. มีปัญญามาก
 ค. มีลาภมาก
 ง. มีศรัทธามาก
 ๔๙. พระอัครสาวกเบื้องขวา ชื่อว่าอะไร ?
 
ก. พระยสะ
 ข. พระนทีกัสสปะ
 ค. พระสารีบุตร
 
ง. พระโมคคัลลานะ
 ๕๐. พระอัครสาวกเบื้องช้าย ชื่อว่าอะไร ?
 
ก. พระยสะ
 ข. พระอานนท์
 ค. พระสารีบุตร
 ง. พระโมคคัลลานะ


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชา อุโบสถศีล (วินัย)

ระดับประถมศึกษา

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. นักเรียนฝึกตนตามข้อใด จึงจะมีชีวิตแบบเรียบง่าย ?
 
ก. เล่นกีฬา
 ข. ฝึกลูกเสือ
 ค. ฝึกเนตรนารี
 ง. ถืออุโบสถ
 ๒. ข้อใด ควบคุมกายวาจาและขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง ?
 
ก. ตักบาตร
 ข. ถืออุโบสถ
 
ค. สวดมนต์
 ง. ฟังเทศน์
 ๓. ในคังคมาลชาดก ลูกจ้างเศรษฐีได้เกิดเป็นพระราชกุมารด้วยสาเหตุใด ?
 
ก. ไหว้เจดีย์
 ข. แจกทาน
 ค. รักษาอุโบสถ
 
ง. ปิดทองพระ
 ๔. สิ่งควรเคารพบูชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือข้อใด ?
 ก. พระรัตนตรัย
 
ข. พระพุทธรูป
 ค. ศาลพระภูมิ
 ง. ต้นโพธิ์
 ๕. การรักษาอุโบสถศีลเกี่ยวข้องกับข้อใด ?
 
ก. ดูดวง
 ข. เข้าทรง
 ค. สรณคมน์
 
ง. นับถือผี
 ๖. การถึงไตรสรณะหมายถึงการนับถืออะไร ?
 
ก. พระพุทธ
 ข. พระธรรม
 ค. พระสงฆ์
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๗. การถึงไตรสรณะ หมายถึงนับถืออย่างไร ?
 
ก. เป็นเทพเจ้า
 ข. เป็นที่พึ่ง
 
ค. เป็นของขลัง
 ง. เป็นลัทธิ
 ๘. ข้อใด ทำให้ทุกคนเป็นพุทธศาสนิกขนโดยสมบูรณ์ ?
 
ก. ถือตัว
 ข. ถือยศ
 ค. ถือศักดิ์
 ง. ถือสรณคมน์
 ๙. สรณคมน์ของพระอริยบุคคลไม่ขาดหรือเศร้าหมองด้วยเหตุใด ?
 ก. หมดสงสัย
 
ข. หมดความผูกพัน
 ค. หมดกังวล
 ง. หมดห่วง
 ๑๐. ปุถุชนขาดข้อใด จึงเกิดความลังเลใจในพระรัตนตรัย ?
 
ก. ขันติ
 ข. สัจจะ
 ค. วิริยะ
 ง. ปัญญา
 ๑๑. นักเรียนจะถึงไตรสรณคมน์ ด้วยการแสดงออกโดยวิธีใด ?
 
ก. ประนมมือ
 ข. เปล่งวาจา
 
ค. ไหว้พระ
 ง. กราบพระ
 ๑๒. ข้อใด ไม่ใช่วิธีถึงไตรสรณคมน์ ?
 
ก. ศึกษาคำสอน
 ข. ปฏิบัติธรรม
 ค. ถือโชคลาง
 
ง. พุทธมามกะ
 ๑๓. ข้อใด มีความสำคัญในการรักษาอุโบสถศีล ?
 
ก. แต่งชุดขาว
 ข. ถวายทาน
 ค. รับสรณคมน์
 
ง. สวดมนต์
 ๑๔. ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุทำให้สรณคมน์ขาด ?
 
ก. เปลี่ยนศาสนา
 ข. ให้ร้ายพระรัตนตรัย
 ค. เสียชีวิต
 ง. เจ็บป่วย
 ๑๕. สงสัยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงหรือ มีผลต่อการถือสรณคมน์อย่างไร ?
 ก. เศร้าหมอง
 
ข. ไม่สมบูรณ์
 ค. บกพร่อง
 ง. ขาดทันที
 ๑๖. ข้อใด เป็นความเข้าใจผิดเรื่องพระรัตนตรัย ?
 
ก. เป็นเทพเจ้า
 ข. ให้โชคลาภ
 ค. ช่วยแก้กรรม
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๗. คนที่นับถือพระรัตนตรัย ไม่ควรเชื่อเรื่องใด ?
 
ก. เชื่อบุญ
 ข. เชื่อบาป
 ค. เชื่อไสยศาสตร์
 
ง. เชื่อผลกรรม
 ๑๘. ข้อใด ถือว่าขาดความเคารพในพระรัตนตรัย ?
 
ก. ไม่สวดมนต์
 ข. ไม่ทำบุญ
 ค. ไม่ฟังเทศน์
 ง. ไม่เอื้อเฟื้อ
 ๑๙. นักเรียนพูดคุยกันในขณะฟังเทศน์ ถือว่าขาดความเคารพในข้อใด ?
 
ก. พระพุทธเจ้า
 ข. พระธรรม
 
ค. พระสงฆ์
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๐. นักเรียนติเตียนพระภิกษุผู้ปฏิบัติดี ถือว่าขาดความเคารพในข้อใด ?
 
ก. พระพุทธเจ้า
 ข. พระธรรม
 ค. พระสงฆ์
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๑. การรักษาอุโบสถศีลในวันพระของคนทั่วไป ตรงกับข้อใด ?
 ก. ศีล ๘
 
ข. ศีล ๕
 ค. ศีลสามเณร
 ง. ศีลพระภิกษุ
 ๒๒. การรักษาอุโบสถศีล นักเรียนต้องระมัดระวังเรื่องใด ?
 
ก. กาย
 ข. วาจา
 ค. ใจ
 ง. กาย วาจา
 ๒๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๑ นักเรียนต้องงดเว้นเรื่องใด ?
 ก. ฆ่าสัตว์
 
ข. ลักทรัพย์
 ค. พูดปด
 ง. ดื่มเหล้า
 ๒๔. ข้อใด ถือว่าทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
 
ก. ตบยุง
 ข. ขังนก
 ค. ชนไก่
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๕. อุโบสถศีลข้อที่ ๒ นักเรียนต้องงดเว้นเรื่องใด ?
 
ก. ตกปลา
 ข. ชกต่อย
 ค. ขโมยของ
 
ง. เล่นเกมส์
๒๖. ขณะรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๔ นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร ?
 
ก. ไม่พูดคำหยาบ
 ข. ไม่พูดส่อเสียด
 ค. ไม่พูดโกหก
 ง. ถูกทุกข้อ

  ๒๗. การพูดไม่ตรงความจริงในอุโบสถศีลข้อที่ ๔ เรียกว่าอะไร ?
 ก. พูดปด
 
ข. พูดลามปาม
 ค. พูดหยาบคาย
 ง. พูดเหลวไหล
 ๒๘. ข้อใด เป็นความผิดในการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
 
ก. ทาแป้ง
 ข. ดื่มน้ำอัดลม
 ค. สูบกัญชา
 
ง. เคี้ยวหมากฝรั่ง
 ๒๙. สิ่งต้องห้ามในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ นอกจากสุราเมรัย คืออะไร ?
 ก. ยาบ้า
 
ข. ยาดม
 ค. ยาหม่อง
 ง. ยาหอม
 ๓๐. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ นักเรียนต้องกินอาหารให้เสร็จก่อนเวลาใด ?
 
ก. เข้ามืด
 ข. เที่ยงวัน
 
ค. บ่าย
 ง. ค่ำ
 ๓๑. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ หลังเที่ยงวันถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ชั่วโมง
 ข. เวลา
 ค. กาล
 ง. วิกาล
 ๓๒. ขณะรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ นักเรียนควรงดทำอะไร ?
 
ก. กวาดบ้าน
 ข. ทำการบ้าน
 ค. ร้องเพลง
 
ง. อาบน้ำ
 ๓๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ ห้ามนักเรียนใช้อะไร ?
 ก. เครื่องสำอาง
 
ข. ยากันยุง
 ค. แป้งแก้คัน
 ง. ยาหม่อง
 ๓๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ ฝึกตนเพื่อตัดความกังวลในเรื่องใด ?
 
ก. การกิน
 ข. การเดิน
 ค. การยืน
 ง. การนั่งนอน
 ๓๕. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ ฝึกตนเพื่อไม่ให้ติดความสบายในเรื่องใด ?
 
ก. การกิน
 ข. การนอน
 
ค. การเล่น
 ง. การเรียน
 ๓๖. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ ไม่อนุญาตให้ผู้รักษานอนบนที่นอนชนิดใด ?
 
ก. ที่นอนสูงใหญ่
 ข. ที่นอนยัดนุ่น
 ค. ที่นอนยัดสำลี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๗. การรักษาอุโบสถศีล ควรเริ่มตั้งแต่เวลาใด ?
 ก. ตอนเช้า
 
ข. ตอนสาย
 ค. ตอนเที่ยง
 ง. ตอนเย็น
 ๓๘. อุโบสถประเภทใด กำหนดให้รักษาในวันพระเดือนละ ๔ วัน ?
 ก. ปกติอุโบสถ
 
ข. ปฏิชาครอุโบสถ
 ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๙. หนึ่งวันหนึ่งคือ เป็นระยะเวลารักษาอุโบสถประเภทใด ?
 ก. ปกติอุโบสถ
 
ข. ปฏิชาครอุโบสถ
 ค. ปาฏิหาริยอุโปสถ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๐. อุโบสถประเภทใด กำหนดให้รักษาต่ำสุด ๑๕ วัน หรือครึ่งเดือน ?
 
ก. ปกติอุโบสถ
 ข. ปฏิชาครอุโบสถ
 ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๑. การถือศีลในวันพระ ปัจจุบันนิยมรักษากันในที่ใด ?
 ก. วัด
 
ข. โรงเรียน
 ค. บ้าน
 ง. ค่ายคุณธรรม
 ๔๒. การถือศีลในวันพระ ปัจจุบันนิยมรับศีลกับใคร ?
 
ก. พระพุทธเจ้า
 ข. พระภิกษุ
 
ค. พ่อแม่
 ง. ครู
 ๔๓. ขั้นตอนแรกของพิธีรักษาอุโบสถศีล คืออะไร ?
 ก. บูชาพระรัตนตรัย
 
ข. นุ่งชุดขาว
 ค. ตักบาตร
 ง. กวาดวัด
 ๔๔. การรักษาอุโบสถศีล มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอะไรให้น้อยลง ?
 
ก. ความง่วง
 ข. ความเกียจคร้าน
 ค. ความโง่เขลา
 ง. กิเลส
 ๔๕. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร ในขณะรักษาอุโบสถศีล ?
 
ก. คุยโทรศัพท์
 ข. ตั้งใจใส่ใจ
 
ค. เล่นกับเพื่อน
 ง. นั่งหลับ
 ๔๖. กิจกรรมใด นักเรียนควรทำเสริมนอกจากรักษาอุโบสถศีล ?
 
ก. สวดมนต์
 ข. นั่งสมาธิ
 ค. ฟังเทศน์
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๗. โคปาลกอุโบสถ เปรียบผู้รักษาเหมือนคนเลี้ยงสัตว์ประเภทใด ?
 
ก. แกะ
 ข. วัว
 
ค. ช้าง
 ง. ม้า
 ๔๘. การรักษาอุโบสถศีล ได้รับบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับใคร ?
 
ก. พ่อแม่
 ข. ครู
 ค. พระอาจารย์
 ง. ตนเอง
 ๔๙. นักเรียนรักษาอุโบสถศีลในวันพระ ถือว่าปฏิบัติตามคำสอนของใคร ?
 ก. พระพุทธเจ้า
 
ข. พระสงฆ์
 ค. พระสารีบุตร
 ง. พระเทวทัต
 ๕๐. นักเรียนตั้งใจรักษาอุโบสถศีล ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ?
 
ก. ยักษ์
 ข. เปรต
 ค. อสุรกาย
 ง. เทวดา