ธรรมศึกษา ชั้นโท
ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ระดับมัธยมศึกษา
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗
อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ.
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดมาให้ จำนวน ๕ สุภาษิตข้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๒ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง
ในชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
——————-
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา.
เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ พ้นจากเมฆหมอก ฉะนั้น.
คัมภีร์ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา.
คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ
เมื่อเขาถือตัว มัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ.
คัมภีร์ที่มา : ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปหียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอก ฉะนั้น
คัมภีร์ที่มา : มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ.
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการ
เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.
คัมภีร์ที่มา : อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ
โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส.
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น
เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
คัมภีร์ที่มา : ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิบาต
ธรรมศึกษา ชั้นโท
ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม
ระดับมัธยมศึกษา
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. ปิฎก หมายถึงอะไร ?
ก. คัมภีร์
ข. หลักสูตร
ค. ตำนาน
ง. วรรณคดี
๒. อาคาริยวินัย หมายถึงวินัยของใคร ?
ก. ภิกษุ
ข. สามเณร
ค. ฆราวาส
ง. พระสงฆ์
๓. ปิฎกใดที่ยกบุคคลขึ้นแสดงเป็นตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย ?
ก. พระวินัย
ข. พระสูตร
ค. พระอภิธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๔. พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ เป็นเวลากี่ปี ?
ก. ๒๙ ปี
ข. ๓๕ ปี
ค. ๔๕ ปี
ง. ๘๐ ปี
๕. พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยาด้วยวิธีใด ?
ก. เสด็จบิณฑบาต
ข. แสดงธรรม
ค. ประทานโอวาท
ง. ถูกทุกข้อ
๖. พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติด้วยวิธีใด ?
ก. แสดงธรรม
ข. บัญญัติสิกขาบท
ค. สละทรัพย์
ง. สละยศ
๗. พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธัตถจริยาด้วยวิธีใด ?
ก. สละทรัพย์
ข. บัญญัติสิกขาบท
ค. สละตำแหน่ง
ง. สละยศ
๘. วัฏฏะ หมายถึงอะไร ?
ก. วงจรกิเลส
ข. วงจรกรรม
ค. วงจรวิบาก
ง. ถูกทุกข้อ
๙. กิเลสวัฏฏะ ก่อให้เกิดวัฏฏะใด ?
ก. กิเลสัฏฏะ
ข. กัมมวัฏฏะ
ข. วิปากวัฏฏะ
ง. ถูกทุกข้อ
๑๐. กัมมวัฏฏะ ก่อให้เกิดวัฏฏะใด ?
ก. กิเลสวัฏฏะ
ข. กัมมวัฏฏะ
ค. วิปากวัฏฏะ
ง. ถูกทุกข้อ
๑๑. เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามทำตามท่ทรงอนุญาต จัดเป็นสิกขาใด ?
ก. อธิสีลสิกขา
ข. อธิจิตตสิกขา
ค. อธิปัญญาสิกขา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๒. การฝึกอบรมจิตจนบรรลุณาน จัดเป็นสิกขาใด ?
ก. อธิสีลสิกขา
ข. อธิจิตตสิกขา
ค. อธิปัญญาสิกขา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๓. การพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงแท้ถาวร จัดเป็นสิกขาใด ?
ก. อธิสีลสิกขา
ข. อธิจิตตสิกขา
ค. อธิปัญญาสิกขา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๔. ปฏิบัติตามหลักสิกขาใด จึงจะกำจัดกิเลสอย่างละเอียดได้ ?
ก. อธิสีลสิกขา
ข. อธิจิตตสิกขา
ค. อธิปัญญาสิกขา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๕. ลักษณะที่มีเสมอกันในบุคคลทุกชนชั้น เรียกว่าอะไร ?
ก. อนิจจตา
ข. ทุกขตา
ค. อนัตตตา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๖. ความหิวเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก จัดเป็นสามัญญลักษณะได้ ?
ก. อนิจจตา
ข. ทุกขตา
ค. อนัตตตา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๗. สภาพที่มิใช่ตัวตนเราเขา จัดเป็นสามัญญลักษณะใด ?
ก. อนิจจตา
ข. ทุกขตา
ค. อนัตตตา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๘. อปัสสเสนธรรม พิจารณาแล้วควรทำอย่างไร ?
ก. อดกลั้น
ข. เว้น
ค. บรรเทา
ง. ถูกทุกข้อ
๑๙. เมื่อเกิดความร้อนหนาวหิวกระหาย พิจารณาแล้วควรทำอย่างไร ?
ก. บริโภค
ข. อดกลั้น
ค. เว้น
ง. บรรเทา
๒๐. พิจารณาแล้วต้องเว้น ควรใช้ในเรื่องใด ?
ก. คบอันธพาล
ข. เล่นการพนัน
ค. เสพสิ่งเสพติด
ง. ถูกทุกข้อ
๒๑. พิจารณาเห็นอกุศลที่เกิดขึ้นภายในจิตใจแล้ว ควรทำอย่างไร ?
ก. บริโภค
ข. อดกลั้น
ค. เว้น
ง. บรรเทา
๒๒. ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นใด ?
ก. พระโสดาบัน
ข. พระสกทาคามี
ค. พระอนาคามี
ง. พระอรหันต์
๒๓. พระอริยบุคคลชั้นไหน ต้องกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีกหนึ่งครั้ง ?
ก. พระโสดาบัน
ข. พระสกทาคามี
ค. พระอนาคามี
ง. พระอรหันต์
๒๔. พระอริยบุคคลตั้งแต่ชั้นไหน ไม่ต้องกลับมาเกิดในมนุษย์โลก ?
ก. พระโสดาบัน
ข. พระสกทาคามี
ค. พระอนาคามี
ง. ถูกทุกข้อ
๒๕. โสดาปัตติผล ยังละสังโยชน์ใดไม่ได้ ?
ก. สักกายทิฏฐิ
ข. วิจิกิจฉา
ค. กามราคะ
ง. สีลัพพตปรามาส
๒๖. มรรคผลใด ทำราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง ?
ก. โสดาปัตติผล
ข. สกทาคามิผล
ค. อนาคามิผล
ง. อรหัตตผล
๒๗. มรรค ๔ เปรียบเสมือนอะไร ?
ก. โรค
ข. ยารักษาโรค
ค. อาการที่หายจากโรค
ง. ถูกทุกข้อ
๒๘. ผล ๔ เปรียบเสมือนอะไร ?
ก. โรค
ข. ยารักษาโรค
ค. อาการที่หายจากโรค
ง. ถูกทุกข้อ
๒๙. การแสดงธรรมที่อาจเปรียบได้กับการเดินทีละก้าว เรียกว่าอะไร ?
ก. อนุปุพพิกถา
ข. ไตรลักษณ์
ค. อิทธิบาท
ง. อนัตตลักขณสูตร
๓๐. กถาใด ช่วยลดอาชญากรรมด้านร่างกายและทรัพย์สินในสังคมได้ ?
ก. ทานกถา
ข. สีลกถา
ค. สัคคกถา
ง. กามาทีนวกถา
๓๑. กถาใด ช่วยลดอาชญากรรมทางเพศในสังคมได้ ?
ก. ทานกถา
ข. สีลกถา
ค. สัคคกถา
ง. กามาทีนวกถา
๓๒. กถาใด แสดงถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นในกามคุณ ?
ก. ทานกถา
ข. สีลกถา
ค. สัคคกถา
ง. เนกขัมมานิสังสกถา
๓๓. อุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้บุคคลประสบความสำเร็จ เรียกว่าอะไร ?
ก. มาร
ข. ทุจริต
ค. อคติ
ง. อกุศลมูล
๓๔. ขันธมาร หมายถึงอะไร ?
ก. ขันธ์ ๒
ข. ขันธ์ ๓
ค. ขันธ์ ๔
ง. ขันธ์ ๕
๓๕. บุคคลถูกมารใดครอบงำ จึงทุจริตคอร์รัปชัน ?
ก. กิเลสมาร
ข. ขันธมาร
ค. มัจจุมาร
ง. อภิสังขารมาร
๓๖. ในระดับสังคมจะชนะมารได้ ด้วยการบำเพ็ญธรรมใด ?
ก. เบญจศีล
ข. เมตตา
ค. กรุณา
ง. มุทิตา
๓๗. ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึงประโยชน์ในชาติไหน ?
ก. อดีตชาติ
ข. ชาติปัจจุบัน
ค. ชาติหน้า
ง. ชาติต่อ ๆ ไป
๓๘. ข้อใด จัดเป็นอารักขสัมปทา ?
ก. ขยันหา
ข. รักษาดี
ค. มีกัลยาณมิตร
ง. เลี้ยงชีวิตพอเพียง
๓๙. อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา ตรงกับข้อใด ?
ก. อุฎฐานสัมปทา
ข. อารักขสัมปทา
ค. กัลยาณมิตตตา
ง. สมชีวิตา
๔๐. หลักเศรษฐกิจพอเพียง จัดเป็นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อใด ?
ก. อุฏฐานสัมปทา
ข. อารักขสัมปทา
ค. กัลยาณมิตตตา
ง. สมชีวิตา
๔๑. สัมปรายิกัตถประโยชน์ หมายถึงประโยชน์ในชาติไหน ?
ก. ชาติอดีต
ข. ชาติปัจจุบัน
ค. ชาติหน้า
ง. ถูกทุกข้อ
๔๒. เชื่อว่าทำดีผลไม่เป็นชั่ว ทำชั่วผลไม่เป็นดี จัดเป็นสัมปทาใด ?
ก. สัทธาสัมปทา
ข. สีลสัมปทา
ค. จาคสัมปทา
ง. ปัญญาสัมปทา
๔๓. การสมาทานปฏิบัติตามศีล ๕ จัดเป็นสัมปทาใด ?
ก. สัทธาสัมปทา
ข. สีลสัมปทา
ค. จาคสัมปทา
ง. ปัญญาสัมปทา
๔๔. ในทิศ ๖ มารดาบิดา จัดเป็นทิศใด ?
ก. ทิศเบื้องหน้า
ข. ทิศเบื้องขวา
ค. ทิศเบื้องซ้าย
ง. ทิศเบื้องบน
๔๕. มรดกตกทอดจากพ่อแม่ที่สำคัญที่สุด คืออะไร ?
ก. ทรัพย์สิน
ข. ที่ดิน
ค. ที่พักอาศัย
ง. ชีวิต
๔๖. บุตรธิดา ควรตอบแทนคุณมารดาบิดาด้วยวิธีใด ?
ก. เลี้ยงกาย
ข. เลี้ยงใจ
ค. เป็นลูกที่ดี
ง. ถูกทุกข้อ
๔๗. ควรแสดงความเคารพต่อทิศเบื้องขวาคือครูอาจารย์ด้วยวิธีใด ?
ก. ยืนต้อนรับ
ข. เชื่อฟัง
ค. ตั้งใจศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
๔๘. สามีพึงปฏิบัติหน้าที่ต่อปัจฉิมทิศคือภรรยาอย่างไร ?
ก. ยกย่อง
ข. ไม่ดูหมิ่น
ค. ไม่นอกใจ
ง. ถูกทุกข้อ
๔๙. ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีอย่างไร ?
ก. ดูแลญาติสามี
ข. ดูแลทรัพย์สิน
ค. ไม่นอกใจ
ง. ถูกทุกข้อ
๕๐. บุคคลควรปฏิบัติต่ออุปริมทิศคือพระภิกษุสามเณรอย่างไร ?
ก. พูดดีกับท่าน
ข. ทำดีกับท่าน
ค. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
ง. ถูกทุกข้อ
ธรรมศึกษา ชั้นโท
ปัญหาและเฉลย วิชา อนุพุทธประวัติ
ระดับมัธยมศึกษา
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. ปิปผลิ เป็นชื่อเดิมของพระเถระใด ?
ก. พระวัปปะ
ข. พระสีวลี
ค. พระอุบาลี
ง. พระมหากัสสปะ
๒. บิดาของปิปผลิมาณพ เกิดในวรรณะใด ?
ก. กษัตริย์
ข. พราหมณ์
ค. แพศย์
ง. ศูทร
๓. ปิปผลิมาณพแต่งงานขณะมีอายุกี่ปี ?
ก. ๑๖ ปี
ข. ๑๘ ปี
ค. ๑๙ ปี
ง. ๒๐ ปี
๔. ปิปผลิมาณพแต่งงานแล้ว ไม่ยินดีในเรื่องใด ?
ก. โชคชะตา
ข. กามารมณ์
ค. อาชีพการงาน
ง. ทรัพย์สมบัติ
๕. ปิปผลิมาณพได้พบเห็นอะไร จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ?
ก. บุคลิก
ข. รูปร่าง
ค. พระรัศมี
ง. สง่างามและสงบ
๖. พระมหากัสสปะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. บริวารมาก
ข. ตาทิพย์
ค. ทรงธุดงค์
ง. แสดงธรรมพิสดาร
๗. พระมหากัสสปะเป็นประธานทำสังคายนา ณ สถานที่ใด ?
ก. วัดเชตวัน
ข. วัดเวฬุวัน
ค. ถ้ำสุกรขาตา
ง. ถ้ำสัตตบรรณ
๘. พระมหากัสสปะ เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่เท่าไร ?
ก. ครั้งที่ ๑
ข. ครั้งที่ ๒
ค. ครั้งที่ ๓
ง. ครั้งที่ ๔
๙. พระมหากัสสปะนิพพาน ขณะมีอายุกี่ปี ?
ก. ๘๐ ปี
ข. ๙๐ ปี
ค. ๑๐๐ ปี
ง. ๑๒๐ ปี
๑๐. พระมหากัจจายนะ เดิมชื่อว่ากัญจนะ เพราะเหตุใด ?
ก. ผิวดำแดง
ข. ผิวขาว
ค. ผิวเหลือง
ง. ผิวเหมือนทองคำ
๑๑. พระมหากัจจายนะ เป็นชาวเมืองใด ?
ก. ราชคฤห์
ข. พาราณสี
ค. สาวัตถี
ง. อุชเชนี
๑๒. พระมหากัจจายนะ ก่อนออกบวชท่านสำเร็จการศึกษาด้านใด ?
ก. ไตรสิกขา
ข. ไตรลักษณ์
ค. ไตรเพท
ง. ไตรเทพ
๑๓. พระมหากัจจายนะ ก่อนออกบวชเคยทำงานตำแหน่งอะไร ?
ก. ทหาร
ข. ปุโรหิต
ค. แพทย์
ง. ช่วงทำอาวุธ
๑๔. กษัตริย์พระองค์ใด ส่งกัจจายนะไปทูลเชิญพระพุทธเจ้า ?
ก. สุทโธทนะ
ข. จัณฑปัชโชติ
ค. พิมพิสาร
ง. อชาตศัตรู
๑๕. พระมหากัจจายนะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. มีฤทธิ์
ข. ทรงธุดงค์
ค. มีลาภมาก
ง. อธิบายความย่อให้พิสดาร
๑๖. เจ้าชายอานนท์ ประสูติที่เมืองใด ?
ก. กบิลพัสดุ์
ข. พาราณสี
ค. ราชคฤห์
ง. สาวัตถี
๑๗. เจ้าชายอานนท์ประสูติตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอะไร ?
ก. เดือน ๓
ข. เดือน ๖
ค. เดือน ๘
ง. เดือน ๑๒
๑๘. เจ้าชายอานนท์ เป็นพระโอรสของกษัตริย์พระองค์ใด ?
ก. สุทโธทนะ
ข. สุกโกทนะ
ค. อมิโตทนะ
ง. โธโตทนะ
๑๙. พระอานนท์บรรลุพระโสดาปัตติผล เพราะฟังธรรมจากใคร ?
ก. พระอัสสชิ
ข. พระวัปปะ
ค. พระภัททิยะ
ง. พระปุณณมันตานีบุตร
๒๐. พระอานนท์ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฏฐาก เพราะเหตุใด ?
ก. มีสติปัญญาดี
ข. รอบคอบ
ค. เป็นพระญาติ
ง. ถูกทุกข้อ
๒๑. พระอานนท์ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. มีปัญญามาก
ข. มีฤทธิ์มาก
ค. มีบริวารมาก
ง. เป็นพหูสูต
๒๒. คราวปฐมสังคายนา พระอานนท์ทำหน้าที่วิสัชนาเรื่องใด ?
ก. พระวินัย
ข. พระสูตร
ค. พระสูตรและพระอภิธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๒๓. พระอานนท์นิพพาน ณ ที่ใด ?
ก. บนแม่น้ำ
ข. บนอากาศ
ค. บนภูเขา
ง. บนพื้นดิน
๒๔. พระอานนท์นิพพานแล้ว อัฐิธาตุตกลงบนพื้นดิน ๒ ฝั่งแม่น้ำใด ?
ก. โรหิณี
ข. คงคา
ค. ยมุนา
ง. สินธู
๒๕. พระอุบาลี เป็นบุตรนายช่างใด ?
ก. ช่างทอผ้า
ข. ช่างทำอาวุธ
ค. ช่วงทำทอง
ง. ช่างตัดผม
๒๖. เหล่าขัตติยกุมารขอพระพุทธเจ้าให้บวชอุบาลีก่อน เพราะเหตุใด ?
ก. เพื่อลดมานะ
ข. อายุมากกว่า
ค. เป็นที่เคารพ
ง. ถูกทุกข้อ
๒๗. พระอุบาลี ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. ทรงพระสูตร
ข. ทรงพระวินัย
ค. มีฤทธิ์มาก
ง. มีปัญญามาก
๒๘. ในคราวปฐมสังคายนา พระอุบาลีได้รับเลือกให้วิสัชนาเรื่องใด ?
ก. พระวินัย
ข. พระสูตร
ค. พระอภิธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
๒๙. พระสีวลี เกิดในวรรณะใด ?
ก. กษัตริย์
ข. พราหมณ์
ค. แพศย์
ง. ศูทร
๓๐. สีวลีกุมาร เป็นพระโอรสของพระนางใด ?
ก. พิมพา
ข. สุปปวาสา
ค. กีสาโคตมี
ง. สิริมหามายา
๓๑. สีวลีกุมารอยู่ในครรภ์เป็นเวลานาน ทำให้พระมารดาได้รับผลอย่างไร ?
ก. มีลาภมาก
ข. คลอดง่าย
ค. ปลอดภัย
ง. ถูกทุกข้อ
๓๒. พระสีวลี ได้รับการบวชจากใคร ?
ก. พระพุทธเจ้า
ข. พระสารีบุตร
ค. พระอุบาลี
ง. พระอานนท์
๓๓. พระสีวลี ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. ทรงธุดงค์
ข. มีปัญญามาก
ค. มีฤทธิ์มาก
ง. มีลาภมาก
๓๔. ราหุลกุมาร มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะในฐานะใด ?
ก. พระโอรส
ข. พระนัดดา
ค. พระอนุชา
ง. พระเชษฐา
๓๕. ราหุลกุมารบรรพชา ขณะมีพระชันษาเท่าไร ?
ก. ๕ ขวบ
ข. ๖ ขวบ
ค. ๗ ขวบ
ง. ๘ ขวบ
๓๖. พระราหุล ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. ใคร่ในฌาน
ข. ใฝ่การศึกษา
ค. ถือธุดงค์
ง. สันโดษ
๓๗. พระอุบลวรรณาเถรี เดิมเป็นธิดาของใคร ?
ก. กษัตริย์
ข. พราหมณ์
ค. เศรษฐี
ง. พ่อค้า
๓๘. พระอุบลวรรณาเถรี ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. มีปัญญามาก
ข. มีฤทธิ์มาก
ค. มีตาทิพย์
ง. ทรงวินัย
๓๙. ภิกษุณีใด ได้รับยกย่องว่ามีความรู้ความชำนาญในพระวินัย ?
ก. เขมา
ข. อุบลวรรณา
ค. ปฏาจารา
ง. กีสาโคตรมี
๔๐. พระกีสาโคตรมีเถรี ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
ก. ทรงจีวรเศร้าหมอง
ข. มีลาภ
ค. มีปัญญา
ง. มีฤทธิ์
๔๑. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือวันใด ?
ก. มาฆบูชา
ข. วิสาขบูชา
ค. อาสาฬหบูชา
ง. ถูกทุกข้อ
๔๒. วันใด ไม่มีการบูชาพระรัตนตรัยด้วยการเดินเวียนเทียน ?
ก. มาฆบูชา
ข. วิสาขบูชา
ค. อาสาหฬบูชา
ง. เทโวโรหณะ
๔๓. การบำเพ็ญบุญเดือนมาฆปุณณมี ตรงกับเดือนใด ?
ก. เดือน ๓
ข. เดือน ๖
ค. เดือน ๘
ง. เดือน ๑๒
๔๔. พระโอวาทใด ทรงประทานแก่พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันมาฆบูชา ?
ก. อนุปุพพีกถา
ข. โอวาทปาติโมกข์
ค. อริยสัจ ๔
ง. อัปปมาทธรรม
๔๕. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันใด ?
ก. มาฆบูชา
ข. วิสาขบูชา
ค. อัฏฐมีบูชา
ง. อาสาฬหบูชา
๔๖. วันวิสาขบูชา เป็นวันน้อมระลึกถึงพระรัตนะใด ?
ก. พุทธรัตนะ
ข. ธรรมรัตนะ
ค. สังฆรัตนะ
ง. ถูกทุกข้อ
๔๗. วันอัฏฐมีบูชา มีความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
ก. ประสูติ
ข. ตรัสรู้
ค. ปรินิพพาน
ง. ถวายพระเพลิง
๔๘. วันอัฏฐมีบูชา มีขึ้นหลังพุทธปรินิพพานกี่วัน ?
ก. ๕ วัน
ข. ๗ วัน
ค. ๘ วัน
ง. ๑๕ วัน
๔๙. พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกในวันใด ?
ก. มาฆบูชา
ข. วิสาขบูชา
ค. อัฏฐมีบูชา
ง. อาสาฬหบูชา
๕๐. วันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่าอะไร ?
ก. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข. มงคลสูตร
ค. รัตนสูตร
ง. อัคคัญญสูตร
ธรรมศึกษา ชั้นโท
ปัญหาและเฉลย วิชา อุโบสถศีล (วินัย)
ระดับมัธยมศึกษา
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. อุโบสถศีลปลูกฝังให้ผู้ปฏิบัติมีชีวิตเช่นไร ?
ก. เด็ดเดี่ยว
ข. เจ้าระเบียบ
ค. เข้ากับคนง่าย
ง. เรียบง่าย
๒. ข้อปฏิบัติใด ตรงกับอุโบสถก่อนพุทธกาล ?
ก. อดนอน
ข. อดยา
ค. อดอาหาร
ง. อดน้ำ
๓. พระพุทธเจ้าทรงให้ชาวพุทธประชุมกันในวันพระ เพื่อประโยชน์ใด ?
ก. ถวายทาน
ข. ฟังธรรม
ค. ถวาดวัด
ง. พบปะกัน
๔. ข้อใด ไม่มีในการรักษาอุโบสถก่อนพุทธกาล ?
ก. รับสรรณคมน์
ข. ขอศีล
ค. รักษาศีล
ง. อดอาหาร
๕. การรักษาอุโบสถ เป็นการสั่งสมบุญกุศลของใคร ?
ก. ภิกษุ
ข. สามเณร
ค. นักพรต
ง. ผู้ครองเรือน
๖. คำว่า อุโบสถ หมายถึงข้อใด ?
ก. การเข้าสมาธิ
ข. การเข้าจำ
ค. การเข้าวัด
ง. การเข้าพรรษา
๗. ข้อใด เป็นการรักษาอุโบสถที่ไม่ตรงจุดประสงค์ ?
ก. ละบาป
ข. เพิ่มบุญ
ค. ขัดเกลากิเลส
ง. แก้เคราะห์กรรม
๘. พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงกำหนดให้รักษาอุโบสถในวันใด ?
ก. ๔ ค่ำ
ข. ๘ ค่ำ
ค. ๑๔ ค่ำ
ง. ๑๕ ค่ำ
๙. การรักษาอุโบสถเป็นการปฏิบัติตามข้อใด ?
ก. พุทธบัญญัติ
ข. รัฐธรรมนูญ
ค. กฎหมาย
ง. กฎโรงเรียน
๑๐. นักเรียนควรถึงไตรสรณคมน์ในฐานะอะไร ?
ก. เป็นที่พึ่ง
ข. สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ค. ให้โชคลาภ
ง. แก้กรรม
๑๑. ไตรสรณคมน์ คือการถึงสรณะ ๓ มีความหมายตามข้อใด ?
ก. เข้าใกล้
ข. อยู่ใกล้
ค. นั่งใกล้
ง. นับถือ
๑๒. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรียกรวมกันว่าอะไร ?
ก. พระรัตนตรัย
ข. พระประธาน
ค. พระประจำวัน
ง. พระบูชา
๑๓. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของคำว่า พุทธะ ?
ก. ผู้รู้
ข. ผู้ตื่น
ค. ผู้เบิกบาน
ง. ผู้แนะนำ
๑๔. พระพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นสรณะของชาวโลก เนื่องด้วยสาเหตุใด ?
ก. กำจัดภัย
ข. กำจัดกิเลส
ค. กำจัดมาร
ง. กำจัดศัตรู
๑๕. พระธรรมปกป้องผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ที่เช่นใด ?
ก. นรก
ข. เปรต
ค. อสุรกาย
ง. ถูกทุกข้อ
๑๖. พระธรรมได้ถูกบันทึกไว้ในรูปแบบที่เรียกว่าอะไร ?
ก. ไตรสิกขา
ข. ไตรเพท
ค. ไตรปิฎก
ง. ไตรภูมิ
๑๗. พระสงฆ์เป็นสรณะของชาวโลก เนื่องด้วยสาเหตุใด ?
ก. เป็นผู้นำ
ข. เป็นเนื้อนาบุญ
ค. เป็นผู้ทรงศีล
ง. เป็นผู้วิเศษ
๑๘. ข้อใด เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นพุทธศาสนิกชน ?
ก. ถือสรณคมน์
ข. ถือผ้าไตร
ค. ถือศีล
ง. ถือพรหมจรรย์
๑๙. การรับสรณคมน์ ถ้าไม่ทำต่อหน้าพระพุทธเจ้า นิยมทำต่อหน้าใคร ?
ก. เทวรูป
ข. พระสงฆ์
ค. เจ้าสำนัก
ง. เจ้าลัทธิ
๒๐. นักเรียนทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ดียิ่งขึ้น ?
ก. เข้าห้องสมุด
ข. เข้าวัด
ค. ทำตามคำสอน
ง. ห้อยของขลัง
๒๑. เมื่อรับไตรสรณคมน์แล้ว นักเรียนควรปฏิบัติตนตามข้อใด ?
ก. ดูดวง
ข. สืบชะตา
ค. บูชาพญานาค
ง. ขัดเกลากิเลส
๒๒. คนทั่วไปเข้าเป็นพุทธบริษัทด้วยวิธีใด ?
ก. สมาทานศีล
ข. รับศีล
ค. พุทธมามกะ
ง. อุปสมบท
๒๓. ข้อใด ไม่ใช่การเข้าถึงไตรสรณคมน์ ?
ก. นึกถึงยามมีภัย
ข. ศึกษาธรรมะ
ค. บวชพระ
ง. สะสมเครื่องราง
๒๔. สาเหตุใด ทำให้ความเป็นพุทธศาสนิกชนสิ้นสุดลง ?
ก. เปลี่ยนศาสนา
ข. ไม่รู้คำสอน
ค. ไม่ทำบุญ
ง. ให้ร้ายพระสงฆ์
๒๕. “พระสงฆ์ปฏิบัติชอบจริงหรือ” เป็นความเศร้าหมองสรณคมน์ข้อใด ?
ก. ความไม่รู้
ข. ความรู้ผิด
ค. ความเฉยเมย
ง. ความลังเล
๒๖. “พระรัตนตรัยช่วยให้สอบได้” เป็นความเศร้าหมองสรณคมน์ข้อใด ?
ก. ความลังเล
ข. ความสงสัย
ค. ความเข้าใจผิด
ง. ความดูแคลน
๒๗. ข้อใด ปฏิบัติตนผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ?
ก. บูชาเทพ
ข. บูชาราหู
ค. บูชาไฟ
ง. ถูกทุกข้อ
๒๘. ข้อใด ควรเคารพนับถือเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ?
ก. ศาลเจ้า
ข. เทวรูป
ค. ของขลัง
ง. พระพุทธรูป
๒๙. การปฏิบัติตนให้ถูกตามคำสอนพระพุทธเจ้า สรณคมน์จะเป็นเช่นไร ?
ก. ขาด
ข. เศร้าหมอง
ค. บริสุทธิ์
ง. ถูกทุกข้อ
๓๐. อุโบสถศีล เมื่อข้อใดข้อหนึ่งขาด จะมีผลอย่างไร ?
ก. ขาดทุกข้อ
ข. ขาดบางข้อ
ค. ขาดข้อเดียว
ง. ขาดทีละข้อ
๓๑. องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาด ?
ก. สัตว์มีชีวิต
ข. เจตนาฆ่า
ค. พยายามฆ่า
ง. สัตว์นั้นตาย
๓๒. องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๒ ขาด ?
ก. มีเจ้าของ
ข. ลักของมาได้
ค. คนเชื่อ
ง. กลืนลงคอ
๓๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ ขาดลงเพราะประพฤติผิดเรื่องใด ?
ก. กามารมณ์
ข. ติดเกมส์
ค. ติดกัญชา
ง. ติดเพื่อน
๓๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ฝึกให้เป็นคนมีนิสัยเช่นไร ?
ก. กินง่าย
ข. นอนง่าย
ค. ไม่ถือตัว
ง. พูดจริง
๓๕. อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ป้องกันนักเรียนให้ห่างไกลจากอะไร ?
ก. หนีเรียน
ข. พนันบอล
ค. เล่นเกมส์
ง. สิ่งเสพติด
๓๖. เมื่อนักเรียนรักษาอุโบสถศีล ต้องงดเครื่องดื่มประเภทใด ?
ก. น้ำผลไม้
ข. โกโก้
ค. เหล้า
ง. กาแฟ
๓๗. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ หลังเที่ยงวันแล้ว ต้องงดอาหารมื้อใด ?
ก. มื้อเช้า
ข. มื้อสาย
ค. มื้อกลางวัน
ง. มื้อเย็น
๓๘. ข้อห้ามของอุโบสถศีลข้อที่ ๗ คืออะไร ?
ก. แต่งหน้า
ข. ทาปาก
ค. ทาเล็บ
ง. ถูกทุกข้อ
๓๙. ข้อใด ไม่ขัดต่อการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก. ฟังธรรมะ
ข. ฟังเพลง
ค. ฟังลิเก
ง. ฟังนิยาย
๔๐. ข้อใด ถือว่าไม่ปฏิบัติตามวิธีรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก. ใส่ชุดขาว
ข. ใส่น้ำหอม
ค. ใส่นาฬิกา
ง. ใส่แว่น
๔๑. ข้อใด ถือว่าไม่ปฏิบัติตามวิธีรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ?
ก. ดูดวง
ข. ทรงเจ้า
ค. เสริมสวย
ง. นอนเตียงสูง
๔๒. ขั้นตอนใด ไม่ปรากฏในระเบียบพิธีรักษาอุโบสถ ?
ก. ขอศีล
ข. รับศีล
ค. รับสรณคมน์
ง. ลาศีล
๔๓. การรักษาอุโบสถศีล ปัจจุบันนิยมรับศีลกับใคร ?
ก. พระพุทธเจ้า
ข. พระสงฆ์
ค. พ่อแม่
ง. ครู
๔๔. อุโบสถศีล ปัจจุบันนิยมรักษากันในสถานที่ใด ?
ก. วัด
ข. โรงเรียน
ค. โรงเจ
ง. ศาลเจ้า
๔๕. ขณะรักษาอุโบสถศีล นักเรียนควรระมัดระวังอะไร ?
ก. ไม่ให้ศีลขาด
ข. ไม่ให้เครียด
ค. ไม่ให้ง่วง
ง. ไม่ให้หลับ
๔๖. ขณะรักษาอุโบสถศีล นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก. นั่งเล่น
ข. เล่นโทรศัพท์
ค. เล่นเกมส์
ง. นั่งสมาธิ
๔๗. อุโบสถประเภทใด เป็นการปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ ?
ก. โคปาลกอุโบสถ
ข. นิคคัณฐอุโบสถ
ค. อริยอุโบสถ
ง. ถูกทุกข้อ
๔๘. อุโบสถประเภทใด เป็นการเลือกปฏิบัติตามความชอบใจของตน ?
ก. โคปาลกอุโบสถ
ข. นิคคัณฐอุโบสถ
ค. อริยอุโบสถ
ง. ถูกทุกข้อ
๔๙. การรักษาอุโบสถศีลจะได้บุญและอานิสงส์มาก เพราะทำตามข้อใด ?
ก. เว้นข้อห้าม
ข. เว้นทำผิด
ค. เว้นทำบาป
ง. ถูกทุกข้อ
๕๐. ข้อใด เป็นสาเหตุให้การรักษาอุโบสถศีลในพระพุทธศาสนาเสื่อมสูญ ?
ก. คนเกิดน้อย
ข. คนแก่มีน้อย
ค. คนสนใจมีน้อย
ง. คนตายมาก