ธรรมศึกษา โท อุดม พ.ศ. ๒๕๖๗

ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหา วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย     ยายตฺตานํ น ตาปเย

ปเร จ น วิหึเสยฺย        สา เว วาจา สุภาสิตา.

บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล โดยใช้สุภาษิตที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดมาให้ จำนวน ๕ สุภาษิตข้างล่างนี้ มาประกอบอ้างอิงเพียง ๒ สุภาษิต และสุภาษิตที่อ้างมานั้น ควรอธิบายเชื่อมความให้สมกับเรื่องในกระทู้ตั้ง

ในชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษใบตอบตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

——————-

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ      กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ

ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ       ตสฺมา สีลํ วิโสธเย.

ศีลเป็นที่พึงเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ควรชําระศีลให้บริสุทธิ์

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย เถรคาถา

โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ       ทิพฺพมายํฃ ยสํ สุขํ

ปาปานิ ปริวชฺเชตฺวา       ติวิธํ ธมฺมมาจเร.

ผู้ใดบริโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง.    

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก มหานบิาต

ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา       กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ

ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ       สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น
การสั่งสมบุญนําความสุขมาให้.   

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย      น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ       มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.

พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.     

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต

นาติเวลํ ปภาเสยฺย      น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา

อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ        ปตฺเต กาเล อุทีริเย.

ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลา
ก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ.

คัมภีร์ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชา ธรรม

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกว่าอะไร ?
 
ก. ภูมิ
 ข. สังสารวัฏ
 
ค. คติ
 ง. ภพ
 ๒. พระพุทธพจน์ว่า “จิตเต อะสังกิลิฏเฐ สุคะติปาฏิกังขา” ยืนยันเรื่องใด ?
 ก. ตายแล้วเกิด
 
ข. ตายแล้วสูญ
 ค. ตายแล้วฟื้น
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓. ข้อใด จัดเป็นทุคติ ?
 
ก. นิรยะ
 ข. ติรัจฉานโยนิ
 ค. ปิตติวิสยะ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔. เทวทูต มิได้หมายถึงใคร ?
 
ก. คนแก่
 ข. คนเจ็บ
 ค. คนตาย
 ง. เยาวชน
 ๕. เทวทูต เป็นสัญญาณเตือนภัยมนุษย์ไม่ให้ประมาทในเรื่องอะไร ?
 ก. การใช้ชีวิต
 
ข. การศึกษา
 ค. การอาชีพ
 ง. การครองเรือน
 ๖. คนที่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ จะปฏิบัติตามหลักธรรมใดได้ง่าย ?
 
ก. กตัญญูกตเวที
 ข. หิริโอตตัปปะ
 ค. สุจริต ๓
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๗. ผู้ที่เกิดในทุคติประเภทใด จะไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ ?
 
ก. นรก
 ข. อสุรกาย
 ค. กำเนิดเดียรัจฉาน
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๘. การทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ เรียกว่าอะไร ?
 ก. ปุพพเปตพลี
 
ข. บุพพกิจ
 ค. บุพพกรณ์
 ง. บุพพการี
 ๙. ภูมิเป็นที่ไปฝ่ายดี หมายถึงข้อใด ?
 
ก. มนุษยโลก
 ข. เทวโลก
 ค. พรหมโลก
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๐. อะไรทำให้รู้ว่าดวงดาวต่างๆ หมุนรอบตัวเองใช้เวลาไม่เท่ากัน ?
 
ก. ไสยศาสตร์
 ข. ภูมิศาสตร์
 ค. โหราศาสตร์
 ง. วิทยาศาสตร์
 ๑๑. หนึ่งวันหนึ่งคืนในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่ากับกี่ปีในโลกมนุษย์ ?
 
ก. ๑๐๐
 ข. ๒๐๐
 ค. ๓๐๐
 ง. ๕๐๐
 ๑๒. ผู้ที่บรรลุปฐมฌาน สิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในเทวโลกชั้นใด ?
 
ก. พรหมปาริสัชชา
 ข. พรหมปุโรหิต
 ค. มหาพรหม
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๓. กรรมให้ผลในชาตินี้เรียกว่าอะไร ?
 ก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
 
ข. อโหสิกรรม
 ค. ครุกรรม
 ง. อาสันนกรรม
 ๑๔. กรรมชนิดใด เปรียบเสมือนพืชพันธุ์ธัญญาหารแห้งฝ่อปลูกไม่ขึ้น ?
 ก. อโหสิกรรม
 
ข. ชนกกรรม
 ค. พหุลกรรม
 ง. อาสันนกรรม
 ๑๕. กรรมที่ทำให้สัตว์เกิดในสุคติหรือทุคติหมายถึงกรรมใด ?
 ก. ชนกกรรม
 
ข. อุปัตถัมภกกรรม
 ค. อุปปีฬกกรรม
 ง. อุปฆาตกกรรม
 ๑๖. อนันตริยกรรม จัดเป็นกรรมอะไร ?
 ก. ครุกรรม
 
ข. พหุลกรรม
 ค. อาสันนกรรม
 ง. กตัตตากรรม
 ๑๗. บุคคลมีจิตเช่นไร จึงจะรู้ธาตุ ๔ ตามความเป็นจริงได้ ?
 ก. จิตเป็นสมาธิ
 
ข. จิตปกติ
 ค. จิตคิดนึก
 ง. จิตใฝ่รู้
 ๑๘. กายคตาสติ หมายถึงการพิจารณาอะไรให้เห็นเป็นของไม่สวยงาม ?
 
ก. ผม
 ข. ขน
 ค. เล็บ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๙. บทบริกรรมใดเป็นการเจริญพุทธานุสสติ ?
 
ก. อรหํ
 ข. สุคโต
 ค. พุทฺโธ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๐. การพิจารณาธาตุ ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นการเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. กายคตาสติ
 ข. เมตตา
 ค. พุทธานุสสติ
 ง. จตุธาตุววัตถาน
 ๒๑. จะแก้กามฉันทะความพอใจรักใคร่ในกาม ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. กายคตาสติ
 
ข. เมตตา
 ค. พุทธานุสสติ
 ง. กสิณ
 ๒๒. จะแก้ความอาฆาตพยาบาท ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. กายคตาสติ
 ข. เมตตา
 
ค. พุทธานุสสติ
 ง. กสิณ
 ๒๓. จะแก้ถีนมิทธะรวมไปถึงโรคซึมเศร้า ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. กายคตาสติ
 ข. เมตตา
 ค. พุทธานุสสติ
 
ง. กสิณ
 ๒๔. จะแก้ความฟุ้งซ่าน ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. กายคตาสติ
 ข. เมตตา
 ค. พุทธานุสสติ
 ง. กสิณ
 ๒๕. การกำหนดพิจารณาธาตุ ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม แก้นิวรณ์ใดได้ ?
 ก. กามฉันทะ
 
ข. พยาบาท
 ค. ถีนมิทธะ
 ง. วิจิกิจฉา

 ๒๖. การพิจารณาความแก่บ่อย ๆ เป็นอุบายบรรเทาความประมาทในอะไร ?
 ก. วัย
 
ข. ความไม่มีโรค
 ค. ชีวิต
 ง. ความเศร้าโศก
 ๒๗. กำหนดพิจารณาอะไร จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ?
 
ก. ลมหายใจ
 ข. ธาตุ ๔
 ค. ซากศพ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๘. นวสีวถิกาบรรพที่ถูกต้อง ต้องพิจารณาเป็นกี่ขั้นตอน ?
 
ก. ๖
 ข. ๗
 ค. ๘
 ง. ๙
 ๒๙. การเพ่งดู ดิน น้ำ ไฟ ลม เรียกว่าอะไร ?
 
ก. เพ่งธาตุ
 ข. เพ่งกสิณ
 
ค. เพ่งอสุภะ
 ง. เพ่งอารมณ์
 ๓๐. พิจารณาอะไรเป็นอารมณ์ จัดเป็นอสุภกรรมฐาน ?
 ก. ซากศพจริง
 
ข. ซากศพสมมติ
 ค. ร่างกาย
 ง. อาหารบูด
 ๓๑. ภาวนาว่า พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เป็นการเจริญกรรมฐานอะไร ?
 ก. พุทธานุสสติ
 
ข. ธัมมานุสสติ
 ค. สังฆานุสสติ
 ง. สีลานุสสติ
 ๓๒. ภาวนาว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นการเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. พุทธานุสสติ
 ข. ธัมมานุสสติ
 
ค. สังฆานุสสติ
 ง. สีลานุสสติ
 ๓๓. ภาวนาว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นการเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. พุทธานุสสติ
 ข. ธัมมานุสสติ
 ค. สังฆานุสสติ
 
ง. สีลานุสสติ
 ๓๔. การเจริญเมตตาพรหมวิหาร ท่านสอนให้เริ่มที่ใครก่อน ?
 ก. ตนเอง
 
ข. พ่อแม่
 ค. ครูอาจารย์
 ง. สรรพสัตว์
 ๓๕. การกำหนดรู้ธาตุ ๔ เรียกโดยภาษากรรมฐานว่าอะไร ?
 ก. จตุธาตุววัตถาน
 
ข. ธาตุมนสิการ
 ค. ธาตุกรรมฐาน
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๖. ธาตุ ๔ มีอยู่ที่ไหน ?
 
ก. สัตว์
 ข. บุคคล
 ค. ตัวตน
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๗. การพิจารณาธาตุ ๔ ให้สำเร็จสมาธิขั้นใด ?
 
ก. อุปจารสมาธิ
 ข. อัปปนาสมาธิ
 
ค. โลกุตตรสมาธิ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๘. คนที่ติดยึดบุคคลหล่อๆ สวยๆ เป็นไอดอล จัดเป็นคนจริตใด ?
 ก. ราคจริต
 
ข. โทสจริต
 ค. โมหจริต
 ง. สัทธาจริต
 ๓๙. บุคคลในข้อที่ ๓๘ ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 ก. อสุภะ
 
ข. กสิณ
 ค. พรหมวิหาร
 ง. ภูตกสิณ
 ๔๐. คนนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย จัดเป็นคนจริตใด ?
 
ก. ราคจริต
 ข. โทสจริต
 
ค. โมหจริต
 ง. สัทธาจริต
 ๔๑. คนนิสัยฉุนเฉียวโกรธง่าย ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. อสุภะ
 ข. กายคตาสติ
 ค. พรหมวิหาร
 
ง. ภูตกสิณ
 ๔๒. คนที่หลงงมงายเชื่อตามกระแสในโลกโซเชียล จัดเป็นคนจริตใด ?
 
ก. ราคจริต
 ข. โทสจริต
 ค. โมหจริต
 
ง. วิตกจริต
 ๔๓. บุคคลในข้อ ๔๒ ควรเจริญกรรมฐานใด ?
 
ก. อสุภะ
 ข. อานาปานสติ
 
ค. กายคตาสติ
 ง. พรหมวิหาร
 ๔๔. คนที่เชื่ออะไรง่าย ๆ จัดเป็นคนจริตใด ?
 
ก. ราคจริต
 ข. โทสจริต
 ค. โมหจริต
 ง. สัทธาจริต
 ๔๕. ก่อนที่จิตจะเกิดอัปปนาสมาธิจะต้องเกิดนิมิตใดก่อน ?
 
ก. บริกรรมนิมิต
 ข. อุคคหนิมิต
 ค. ปฏิภาคนิมิต
 
ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๖. ความชํานาญในการเข้าฌาน เรียกว่าอะไร ?
 
ก. อาวัชชนวสี
 ข. สมาปัชชนวสี
 
ค. อธิษฐานวสี
 ง. วุฏฐานวสี
 ๔๗. กรรมฐานซึ่งเปรียบเสมือนเมนูอาหารของจิต มีกี่ข้อ ?
 
ก. ๔ ข้อ
 ข. ๒๐ ข้อ
 ค. ๓๐ ข้อ
 ง. ๔๐ ข้อ
 ๔๘. สาเหตุที่กรรมฐานมีจำนวนหลายข้อ เนื่องจากบุคคลมีอะไรต่างกัน ?
 ก. จริต
 
ข. บุญ
 ค. กรรม
 ง. วิบาก
 ๔๙. อะไรเป็นความอัศจรรย์ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจว่าตนเองบรรลุธรรม ?
 
ก. โอภาส
 ข. ญาณ
 ค. ปัสสัทธิ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๕๐. บุคคลเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นพระอริยบุคคล เพราะติดยึดในอะไร ?
 ก. วิปัสสนูปกิเลส
 
ข. วิปัสสนา
 ค. วิปัสสนายานิก
 ง. ถูกทุกข้อ


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชา พุทธประวัติ

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. พระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลมีปัญญาไว้หลายระดับ ว่าเหมือนอะไร ?
 
ก. หญ้า ๔ กอ
 ข. จำปา ๔ ต้น
 ค. บัว ๔ เหล่า
 
ง. มาลัย ๔ พวง
 ๒. ผู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลัน เปรียบเหมือนบัวพ้นน้ำ ได้แก่บุคคลใด ?
 ก. อุคฆฏิตัญญู
 
ข. วิปจิตัญญู
 ค. เนยยะ
 ง. ปทปรมะ
 ๓. เนยยะ คือผู้ที่เข้าใจธรรมะเมื่อได้รับการฝึกฝน เปรียบเหมือนอะไร ?
 
ก. บัวพ้นน้ำ
 ข. บัวเสมอน้ำ
 ค. บัวใต้น้ำ
 
ง. บัวใต้โคลนตม
 ๔. เมื่อแรกตรัสรู้ พระองค์เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดใคร ?
 ก. ปัญจวัคคีย์
 
ข. ยสกุลบุตร
 ค. ภัททวัคคีย์
 ง. ชฎิล ๓ พี่น้อง
 ๕. พระพุทธเจ้าเสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ระหว่างทางทรงพบใคร ?
 ก. ภัททวัคคีย์
 
ข. อุปกาชีวก
 ค. ยสกุลบุตร
 ง. ปิปผลิมาณพ
 ๖. เราได้ตรัสรู้ธรรมโดยชอบเองแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสกับใคร ?
 ก. ปัญจวัคคีย์
 
ข. ยสกุลบุตร
 ค. สารีบุตร
 ง. พระภัททิยะ
 ๗. การแสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธเจ้า เรียกว่าอะไร ?
 ก. ปฐมเทศนา
 
ข. ทุติยเทศนา
 ค. ตติยเทศนา
 ง. จตุตถเทศนา
 ๘. กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกมุ่นหาความสุขในเรื่องใด ?
 
ก. สมาธิ
 ข. วิเวก
 ค. วิปัสสนา
 ง. กาม
 ๙. อัตตกิลมถานุโยค คือการทำความเพียรโดยการทำอย่างไร ?
 
ก. ทรมานสัตว์
 ข. ทรมานตน
 
ค. ทรมานคนอื่น
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๑๐. พระพุทธเจ้าตรัสถึงทุกข์ในอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างไร ?
 ก. กำหนดรู้
 
ข. กำหนดละ
 ค. ทำให้แจ้ง
 ง. ทำให้มีขึ้น
 ๑๑. ใครฟังปฐมเทศนาแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก ?
 ก. โกณฑัญญะ
 
ข. วัปปะ
 ค. ภัททิยะ
 ง. มหานามะ
 ๑๒. ข้อใด ในอนัตตลักขณสูตร ทรงแสดงว่าเป็นอนัตตา ?
 
ก. อินทรีย์ ๕
 ข. พละ ๕
 ค. ขันธ์ ๕
 
ง. กามคุณ ๕
 ๑๓. พระปัญจวัคคีย์ฟังอนัตตลักขณสูตร ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นใด?
 
ก. โสดาบัน
 ข. สกทาคามี
 ค. อนาคามี
 ง. อรหันต์
 ๑๔. ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ เป็นคําพูดของใคร ?
 
ก. อุปกาชีวก
 ข. ยสกุลบุตร
 
ค. ตปุสสะ
 ง. ภัลลิกะ
 ๑๕. ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง พระพุทธเจ้าตรัสกับใคร ?
 
ก. อุปกาชีวก
 ข. ยสกุลบุตร
 
ค. ตปุสสะ
 ง. ภัลลิกะ
 ๑๖. พระพุทธเจ้าโปรดยสกุลบุตรในเบื้องต้น ด้วยพระธรรมเทศนาใด ?
 ก. อนุปุพพิกถา
 
ข. กถาวัตถุ
 ค. สาราณียธรรม
 ง. อปริหานิยธรรม
 ๑๗. วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ เป็นสหายของใคร ?
 ก. ยสะ
 
ข. โกลิตะ
 ค. ภัททิยะ
 ง. อานนท์
 ๑๘. พระสาวกชุดแรกที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศศาสนา มีกี่องค์ ?
 
ก. ๕ องค์
 ข. ๖ องค์
 ค. ๖๐ องค์
 
ง. ๖๑ องค์
 ๑๙. พระพุทธเจ้าส่งสาวกไปประกาศศาสนา กำชับว่าให้ไปทางละกี่องค์ ?
 ก. ๑ องค์
 
ข. ๒ องค์
 ค. ๕ องค์
 ง. ๑๐ องค์
 ๒๐. พวกเธอจะตามหาหญิงหรือตนเองดีกว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับใคร ?
 
ก. ปัญจวัคคีย์
 ข. ภัททวัคคีย์
 
ค. ยสกุลบุตร
 ง. ปิปผลิมาณพ
 ๒๑. ที่ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดชนกลุ่มใด ?
 
ก. ตปุสสะ
 ข. ปัญจวัคคีย์
 ค. ภัททวัคคีย์
 ง. ชฎิล ๓ พี่น้อง
 ๒๒. ชฎิลหรือนักพรตที่เกล้าผมหมุนเป็นมวยสูง นับถือลัทธิบูชาสิ่งใด ?
 
ก. ดิน
 ข. น้ำ
 ค. ไฟ
 
ง. ลม
 ๒๓. พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก ณ สถานที่ใด ?
 
ก. เชตวัน
 ข. ลัฏฐิวัน
 
ค. เวฬุวัน
 ง. อัมพวัน
 ๒๔. การสร้างวัดเกิดขึ้นครั้งแรก โดยกษัตริย์พระองค์ใด ?
 ก. พิมพิสาร
 
ข. สุทโธทนะ
 ค.อชาตศัตรู
 ง. ปเสนทิโกศล
 ๒๕. พระราชอุทยานใด พระเจ้าพิมพิสารถวายให้เป็นวัด ?
 
ก. เชตวัน
 ข. ลัฏฐิวัน
 ค. เวฬุวัน
 
ง. อัมพวัน

 ๒๖. โกลิตมาณพ เกิดในวรรณะใด ?
 
ก. กษัตริย์
 ข. พราหมณ์
 
ค. แพศย์
 ง. ศูทร
 ๒๗. มาณพใด เป็นเพื่อนสนิทของโกลิตมาณพ ?
 
ก. ยสะ
 ข. สุพาหุ
 ค. ควัมปติ
 ง. อุปติสสะ
 ๒๘. อุปติสสมาณพ บวชเป็นปริพาชกในสำนักอาจารย์ใด ?
 ก. สัญชัย
 
ข. ปูรณกัสสปะ
 ค. มักขลิโคสาล
 ง. อชิตเกสกัมพล
 ๒๙. อุปติสสปริพาชก พบกับพระอัสสชิในขณะที่ท่านกำลังทำกิจวัตรใด ?
 
ก. แสดงธรรม
 ข. สวดมนต์
 ค. กวาดวิหาร
 ง. บิณฑบาต
 ๓๐. อุปติสสปริพาชกฟังธรรมจากพระอัสสชิ ได้บรรลุอริยบุคคลชั้นใด ?
 ก. โสดาบัน
 
ข. สกทาคามี
 ค. อนาคามี
 ง. อรหันต์
 ๓๑. พระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ณ สถานที่ใด ?
 
ก. เวฬุวคาม
 ข. โกลิตคาม
 ค. อุปติสสคาม
 ง. กัลลวาลมุตตคาม
 ๓๒. พระพุทธเจ้า ทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระเถระใด ?
 
ก. พระอัสสชิ
 ข. พระยสะ
 ค. พระสารีบุตร
 ง. พระโมคคัลลานะ
 ๓๓. พระโมคคัลลานะ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
 
ก. ทรงธุดงค์
 ข. มีบริวารมาก
 ค. มีปัญญามาก
 ง. มีฤทธิ์มาก
 ๓๔. พระโมคคัลลานะนิพพาน ณ สถานที่ใด ?
 ก. ถ้ำกาฬศิลา
 
ข. เวภารบรรพต
 ค. ถ้ำสุกรขาตา
 ง. ถ้ำสัตตบรรณ
 ๓๕. พราหมณ์พาวรี เคยเป็นปุโรหิตในราชสำนักของกษัตริย์พระองค์ใด ?
 ก. ปเสนทิโกศล
 
ข. พิมพิสาร
 ค. อชาตศัตรู
 ง. จัณฑปัชโชต
 ๓๖. พราหมณ์พาวรีส่งลูกศิษย์กี่คน ไปทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้า ?
 
ก. ๕ คน
 ข. ๑๐ คน
 ค. ๑๖ คน
 
ง. ๓๐ คน
 ๓๗. ราธพราหมณ์เคยถวายอะไร แด่พระสารีบุตร ?
 ก. ข้าวสุก
 
ข. บาตร
 ค. จีวร
 ง. เภสัช
 ๓๘. ใครเป็นอุปัชฌาย์องค์แรกในการบวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา ?
 
ก. พระวัปปะ
 ข. พระอัสสชิ
 ค. พระสารีบุตร
 
ง. พระอนุรุทธะ
 ๓๙. ปุณณมาณพเกี่ยวข้องกับพระอัญญาโกณฑัญญะในฐานะใด ?
 
ก. เป็นน้อง
 ข. เป็นลูก
 ค. เป็นหลาน
 
ง. เป็นเหลน
 ๔๐. พระพุทธเจ้า ทรงยกย่องพระปุณณมันตานีบุตรว่าเป็นผู้เลิศด้านใด ?
 ก. แสดงธรรม
 
ข. มีบริวารมาก
 ค. มีปัญญามาก
 ง. มีฤทธิ์มาก
 ๔๑. ข้อใด จัดเป็นประเภทของศาสนพิธี ?
 
ก. กุศลพิธี
 ข. บุญพิธี
 ค. ทานพิธี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๒. การเจริญพระพุทธมนต์ มีมาตั้งแต่สมัยใด ?
 
ก. ก่อนพุทธกาล
 ข. พุทธกาล
 
ค. สุโขทัย
 ง. อยุธยา
 ๔๓. ในครั้งพุทธกาล การเจริญพระพุทธมนต์มีขึ้นครั้งแรกที่เมืองใด ?
 
ก. สาวัตถี
 ข. อุชเชนี
 ค. เวสาลี
 
ง. พาราณสี
 ๔๔. พระเถระใด ประพรมน้ำพระพุทธมนต์เป็นรูปแรก ?
 
ก. พระสีวลี
 ข. พระอานนท์
 
ค. พระอุบาลี
 ง. พระโมคคัลลานะ
 ๔๕. การเจริญพระพุทธมนต์ ใช้ในพิธีทำบุญอะไร ?
 ก. ทำบุญอายุ
 
ข. ฌาปนกิจ
 ค. เก็บอัฐิ
 ง. ทำบุญอุทิศ
 ๔๖. การสวดพระอภิธรรม นิยมสวดในงานใด ?
 
ก. ทำบุญอายุ
 ข. มงคลสมรส
 ค. ขึ้นบ้านใหม่
 ง. บําเพ็ญกุศลศพ
 ๔๗. สัตตมวาร คือการบําเพ็ญกุศลครบกี่วัน ?
 
ก. ๕ วัน
 ข. ๗ วัน
 
ค. ๕๐ วัน
 ง. ๑๐๐ วัน
 ๔๘. การฌาปนกิจ หมายถึงข้อใด ?
 ก. เผาศพ
 
ข. เก็บอัฐิ
 ค. ทำบุญอัฐิ
 ง. ทอดผ้าบังสุกุล
 ๔๙. พิธีสามหาบ จัดให้มีในการทำบุญงานอะไร ?
 
ก. มงคลสมรส
 ข. ขึ้นบ้านใหม่
 ค. เก็บอัฐิ
 
ง. ฌาปนกิจศพ
 ๕๐. การทอดผ้าบังสุกุล จัดขึ้นในงานบุญอะไร ?
 
ก. มงคลสมรส
 ข. ขึ้นบ้านใหม่
 ค. บวชนาค
 ง. ฌาปนกิจศพ


ธรรมศึกษา ชั้นโท

ปัญหาและเฉลย วิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย)

ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๖๗

 ๑. อุโบสถศีล บัญญัติขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด ?
 
ก. ทำกิจพระศาสนา
 ข. พักการงาน
 ค. ขัดเกลากิเลส
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒. อุโบสถศีล บัญญัติขึ้นเพื่อบุคคลกลุ่มใด ?
 
ก. พระสงฆ์
 ข. คนทั่วไป
 
ค. เจ้าลัทธิ
 ง. นักบวช
 ๓. ธรรมเนียมการรักษาอุโบสถ ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
 ก. ก่อนพุทธกาล
 
ข. สมัยพุทธกาล
 ค. กึ่งพุทธกาล
 ง. หลังพุทธกาล
 ๔. ข้อใด เป็นวิธีรักษาอุโบสถแบบดั้งเดิม ?
 
ก. อดนอน
 ข. อดยา
 ค. อดอาหาร
 
ง. อดน้ำ
 ๕. ข้อใด พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มจากวิธีรักษาอุโบสถแบบดั้งเดิม ?
 ก. รับสรณคมน์
 
ข. บําเพ็ญตบะ
 ค. ทรมานตน
 ง. อดอาหาร
 ๖. พระพุทธเจ้าทรงให้ชาวพุทธประชุมกันทุกวันพระ เพื่อประโยชน์ใด ?
 
ก. เข้าวัด
 ข. ฟังธรรม
 
ค. ถวายทาน
 ง. พบปะกัน
 ๗. การรักษาอุโบสถ เป็นการสั่งสมบุญของใคร ?
 
ก. พระสงฆ์
 ข. สามเณร
 ค. นักบวช
 ง. คฤหัสถ์
 ๘. ข้อใด ไม่ตรงกับจุดประสงค์การรักษาอุโบสถ ?
 
ก. ละบาป
 ข. ทำบุญ
 ค. ขัดเกลากิเลส
 ง. แก้เคราะห์กรรม
 ๙. การรักษาอุโบสถเช่นทุกวันนี้ นิยมรักษากันในวันใด ?
 ก. วันพระ
 
ข. วันหยุด
 ค. วันอาทิตย์
 ง. วันนักขัตฤกษ์
 ๑๐. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของการรักษาอุโบสถศีล ?
 ก. สถานที่
 
ข. พระรัตนตรัย
 ค. ไตรสรณคมน์
 ง. ศีล ๘
 ๑๑. การถึงไตรสรณคมน์หมายถึงข้อใด ?
 ก. ถือเป็นที่พึ่ง
 
ข. นั่งใกล้
 ค. อยู่ใกล้ชิด
 ง. ปรนนิบัติ
 ๑๒. คนทั่วไปจะเข้าถึงไตรสรณคมน์ได้ด้วยวิธีใด ?
 ก. สมาทาน
 
ข. ครอบครู
 ค. เซ่นไหว้
 ง. บวงสรวง
 ๑๓. พระพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นสรณะของชาวโลก เพราะเหตุใด ?
 
ก. กำจัดภัย
 ข. กำจัดกิเลส
 
ค. กำจัดมาร
 ง. กำจัดศัตรู
 ๑๔. ในไตรสรณคมน์ พระธรรม หมายถึงอะไร ?
 
ก. คัมภีร์
 ข. คำสั่งสอน
 
ค. ใบลาน
 ง. พระไตรปิฎก
 ๑๕. พระธรรมปกป้องผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว ได้แก่ข้อใด ?
 ก. สัตว์นรก
 
ข. มนุษย์
 ค. เทวดา
 ง. พรหม
 ๑๖. พระสงฆ์ได้ชื่อว่าเป็นสรณะของชาวโลก เพราะเหตุใด ?
 
ก. เป็นบรรพชิต
 ข. เป็นเนื้อนาบุญ
 
ค. เป็นผู้ทรงศีล
 ง. เป็นผู้วิเศษ
 ๑๗. ข้อใด เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นพุทธศาสนิกชน ?
 
ก. เข้าวัด
 ข. ไหว้พระ
 ค. ถือศีล
 ง. ถือสรณคมน์
 ๑๘. หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน การรับสรณคมน์นิยมทำต่อหน้าใคร ?
 
ก. พระพุทธรูป
 ข. พระสงฆ์
 
ค. เจ้าสำนัก
 ง. คนทรงเจ้า
 ๑๙. ใครเป็นตัวอย่างการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะแบบพระอริยบุคคล ?
 ก. บุรุษเรื้อน
 
ข. ตปุสสะ
 ค. ภัลลิกะ
 ง. บิดาพระยสะ
 ๒๐. สรณคมน์ของพระอริยบุคคลต่างกับของปุถุชนอย่างไร ?
 
ก. ไม่ขาด
 ข. ไม่เศร้าหมอง
 ค. ไม่สงสัย
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๑. การบวชเป็นพระภิกษุ ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนด้วยวิธีใด ?
 
ก. พุทธมามกะ
 ข. บรรพชา
 ค. อุปสมบท
 
ง. ถือพรต
 ๒๒. ผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ควรปฏิบัติตามข้อใด ?
 
ก. ดูดวง
 ข. แก้ปีชง
 ค. ลงนะหน้าทอง
 ง. ศึกษาคําสอน
 ๒๓. ตําหนิติเตียนใคร ทำให้ไตรสรณคมน์เศร้าหมอง ?
 ก. พระรัตนตรัย
 
ข. บุพพการี
 ค. เทพเทวา
 ง. สิ่งศักดิ์สิทธิ์
 ๒๔. สงสัยเรื่องใด ทำให้ไตรสรณคมน์เศร้าหมอง ?
 
ก. พญานาค
 ข. ดาวอังคาร
 ค. พระพุทธเจ้า
 
ง. นรกสวรรค์
 ๒๕. ข้อใด ทำให้ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน ?
 
ก. ติดการพนัน
 ข. ติดเหล้า
 ค. เล่นหวย
 ง. ตาย

 ๒๖. ข้อใด เป็นการปฏิบัติผิดจากคําสอนของพระพุทธเจ้า ?
 
ก. ถือของขลัง
 ข. ถือเลขยันต์
 ค. ถือไสยศาสตร์
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๒๗. ปัจจุบันชาวพุทธนับถืออะไร เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ?
 ก. พระพุทธรูป
 
ข. เทวรูป
 ค. พญานาค
 ง. คาถาอาคม
 ๒๘. อุโบสถศีล หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง จะมีผลตามข้อใด ?
 ก. ขาดทุกข้อ
 
ข. ขาดบางข้อ
 ค. ขาดข้อเดียว
 ง. ขาดทีละข้อ
 ๒๙. ข้อใด เป็นความผิดสำเร็จของอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
 
ก. สัตว์มีชีวิต
 ข. เจตนาฆ่า
 ค. พยายามฆ่า
 ง. สัตว์นั้นตาย
 ๓๐. ข้อใด เป็นความผิดสำเร็จของอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ?
 
ก. มีเจ้าของ
 ข. คิดจะลัก
 ค. พยายามลัก
 ง. ลักของมาได้
 ๓๑. ขณะรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องใด ?
 ก. เสพกาม
 
ข. กินเนื้อสัตว์
 ค. เสริมสวย
 ง. สักยันต์
 ๓๒. อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ผู้รักษาต้องสำรวมระวังเรื่องใด ?
 ก. การพูด
 
ข. การกิน
 ค. การนอน
 ง. การแต่งตัว
 ๓๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ขัดเกลาผู้รักษาให้มีนิสัยเช่นไร ?
 
ก. กินง่าย
 ข. อยู่ง่าย
 ค. พูดง่าย
 ง. พูดจริง
 ๓๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ป้องกันผู้รักษาให้ห่างไกลจากอะไร ?
 ก. สิ่งเสพติด
 
ข. อบายมุข
 ค. คอรัปชั่น
 ง. กามารมณ์
 ๓๕. คําว่า วิกาลโภชนา ในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ หมายถึงอาหารมื้อใด ?
 
ก. มื้อเช้า
 ข. มื้อสาย
 ค. มื้อกลางวัน
 ง. มื้อค่ำ
 ๓๖. การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๖ เพื่อตัดความกังวลเรื่องใด ?
 
ก. การเดินทาง
 ข. การนอนหลับ
 ค. การกิน
 
ง. สุขภาพ
 ๓๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี หมายถึงงดเว้นอะไร ?
 
ก. ฟ้อนรํา
 ข. ขับร้อง
 ค. ประโคมดนตรี
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๘. ขณะรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ผู้สมาทานรักษาต้องงดอะไร ?
 
ก. แต่งหน้า
 ข. ทาปาก
 ค. ทาเล็บ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๓๙. ข้อใด ถือว่าไม่ปฏิบัติตามข้องดเว้นของอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
 
ก. แต่งชุดขาว
 ข. ใส่น้ำหอม
 
ค. กินของแพง
 ง. นั่งรถหรู
 ๔๐. ข้อใด ถือว่าไม่ปฏิบัติตามข้องดเว้นของอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ?
 
ก. นอนกลางวัน
 ข. นอนดึก
 ค. นอนตื่นสาย
 ง. นอนเตียงสูง
 ๔๑. ข้อใด เป็นขั้นตอนแรกของพิธีรักษาอุโบสถศีล ?
 ก. บูชาพระรัตนตรัย
 
ข. ขอศีล
 ค. รับสรณคมน์
 ง. รับศีล
 ๔๒. ในพิธีรักษาอุโบสถศีล ปัจจุบันนิยมรับศีลกับใคร ?
 
ก. พระพุทธเจ้า
 ข. พระภิกษุ
 
ค. ฆราวาส
 ง. คนทรงเจ้า
 ๔๓. การรักษาอุโบสถศีล ถ้าไม่นอนวัด ยังมีสถานที่ใดอีก ?
 
ก. บ้าน
 ข. สำนักสงฆ์
 ค. สำนักปฏิบัติ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๔. มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ ยาจาม คือข้อใด ?
 
ก. บูชาพระ
 ข. ขอศีล
 
ค. รับสรณคมน์
 ง. ประกาศอุโบสถ
 ๔๕. ขณะรักษาอุโบสถศีล ควรให้เวลาผ่านไปด้วยการทำอะไร ?
 
ก. นั่งเล่น
 ข. ดูโทรศัพท์
 ค. พูดคุยกัน
 ง. นั่งสมาธิ
 ๔๖. หากรักษาปฏิชาครอุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ วันส่งจะเป็นวันกี่ค่ำ ?
 
ก. ๑๔ ค่ำ
 ข. ๑๕ ค่ำ
 ค. ๑ ค่ำ
 
ง. ๘ ค่ำ
 ๔๗. อุโบสถประเภทใด ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ?
 ก. โคปาลกอุโบสถ
 
ข. นิคคัณฐอุโบสถ
 ค. อริยอุโบสถ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๘. อุโบสถประเภทใด เป็นการเลือกปฏิบัติตามความชอบใจของตน ?
 
ก. โคปาลกอุโบสถ
 ข. นิคคัณฐอุโบสถ
 
ค. อริยอุโบสถ
 ง. ถูกทุกข้อ
 ๔๙. การรักษาอุโบสถศีลตามอย่างใคร ได้บุญมากอานิสงส์มาก ?
 
ก. หมอดู
 ข. หมอผี
 ค. นิครนถ์
 ง. อริยบุคคล
 ๕๐. การถืออุโบสถศีลในพระพุทธศาสนาเสื่อมความนิยมด้วยสาเหตุใด ?
 
ก. คนเกิดน้อย
 ข. คนแก่น้อย
 ค. คนสนใจน้อย
 
ง. คนบวชน้อย